ภาษีทั่วไป

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

23 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

นักบัญชีเฮ! สรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีออนไลน์จนถึงปี 2570

รู้หรือไม่ว่าการยื่นแบบภาษีทั้งหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(ออนไลน์) ที่ได้สิทธิขยายเวลาเพิ่มเติมอีก 8 วัน จากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนั้น มีวันหมดอายุ แปลว่าถ้าสรรพากรไม่ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่มาต่ออายุการขยายเวลา เราก็จะไม่สามารถยืดระยะเวลาออกไปอีก 8 วันได้เลย ถ้ายืดเวลายื่นแบบไม่ได้ เท่ากับนักบัญชีต้องรีบทำบัญชีและภาษีให้เร็วขึ้นตามวันสิ้นสุดการยื่นแบบกระดาษเหมือนเดิมนั่นเอง การประกาศขยายเวลาการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต แต่ๆ ข่าวดีมาแล้ว กรมสรรพากรได้ออกประกาศกระทรวงการคลังมาเพื่อขยายระยะเวลาสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี โดยมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จนถึง 31 มกราคม 2570 รวมเป็นระยะเวลาถึง 3 ปีเลยครับ เชื่อว่ามีบางคนที่อ่านมาถึงจุดนี้ โดยเฉพาะมือใหม่ที่กำลังหัดยื่นภาษีว่าสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี นับยังไง เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ผมทำตารางสรุปมาให้แล้ว ตารางสรุปวันสิ้นสุดการยื่นแบบภาษี สิ่งที่ต้องทราบคือ กรณีที่บวกวันเพิ่มไปอีก 8 วันแล้วตกวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันสิ้นสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีออนไลน์จะขยับไปเป็นวันทำการถัดไปแทนครับ นักบัญชีที่เคยยื่นภาษีมาสักพักก็จะทราบดีว่า การยื่นแบบภาษีรอบแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นปกติ” แต่ถ้ามาตรวจพบทีหลังว่าทำแบบภาษีผิด เช่น มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีรายการมากเกินไป อาจต้องปรับปรุงแบบ ทำให้แบบที่ยื่นหลังครั้งแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นเพิ่มเติม” โอเคถ้าเข้าใจแล้ว ล่ะยังไงต่อ? ผมตอบว่าก็ไม่มีอะไรครับ แต่ๆๆ ปัญหาจะเกิดทันทีถ้าการยื่นครั้งแรกเป็นการยื่นแบบกระดาษ และต่อมามีการปรับปรุงจึงยื่นเพิ่มเติมไปเป็นแบบออนไลน์ แบบนี้จะยังได้สิทธิเพิ่มอีก 8 วันหรือไม่? จะสังเกตว่าการวิธีที่ใช้ยื่นแบบไม่เหมือนกันนั้น ส่งผลต่อการที่เราจะได้สิทธิหรือไม่ได้สิทธิขยายระยะเวลายื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน ผมได้สรุปเป็นตารางเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้ครับ ตารางเปรียบเทียบการยื่นแบบกระดาษ vs ยื่นแบบออนไลน์ การขยายเวลาการยื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน เท่ากับว่านักบัญชีจะมีระยะเวลาทำบัญชีและตรวจสอบภาษีได้ละเอียดมากขึ้น แต่ทำไมขยายเวลาแล้ว นักบัญชีก็ยังทำจนถึงวันสุดท้ายอยู่ดี อันนี้ก็ลองสอบถามนักบัญชีดูเล่นๆ ก็ได้นะครับ🤣 สรุป ตอนนี้นักบัญชีคงโล่งใจไปมากแล้วใช่ไหมครับ เรายังได้รับสิทธิขยายอีก 8 วันเหมือนเดิม และยังไม่พอสิทธินี้มีผลบังคับไปจนถึงเดือนมกราคม 2570 พูดง่ายๆ ก็คือ อีก 3 ปี คุณคือผู้โชคดี ขอแสดงความยินดีด้วยคร๊าบบ แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าจะได้สิทธิต้องเป็นการยื่นแบบภาษีผ่านทางออนไลน์เท่านั้นนะครับ เอ้า ทำไมล่ะ! ก็เพราะสรรพากรต่ออายุกฎหมายนี้เพื่อจูงใจให้คนหันมายื่นแบบภาษีทางออนไลน์แทนแบบกระดาษครับ ถือได้ว่าได้ทั้งประหยัดเวลา ไม่เปลืองกระดาษ เหมือนรักษ์โลกร้อนไปในตัวเลยยย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK มีฟังก์ชั่น PEAK Tax ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีจัดการภาษีให้เป็นเรื่องง๊าย ง่าย ช่วยทั้งทำแบบฟอร์มภาษี ปิดภาษีอัตโนมัติได้ทันที ช่วยประหยัดการทำภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

2 พ.ค. 2024

PEAK Account

30 min

เรื่องสำคัญของ “ใบกำกับภาษี” ที่เจ้าของกิจการควรรู้ และใครออกได้บ้าง?

ประเด็นสำคัญ : ใบกำกับภาษีคืออะไร ใบกำกับภาษี (Tax invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยใบกำกับภาษีจะแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง  โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ย่อมาจาก Value added tax) เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต ทั้งที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติผู้ประกอบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรโดยการยื่นแบบภ.พ.30  ใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษีแต่ละประเภท กรมสรรพากรได้แบ่งประเภทของใบกำกับภาษีออกเป็น 7 ประเภทดังนี้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดของใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเท่านั้น เนื่องจากเป็นประเภทใบกำกับภาษีที่กิจการส่วนใหญ่ใช้งาน การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไปมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ (เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายการดังต่อไปนี้ 1. ตำแหน่งที่แสดงคำว่า “ใบกำกับภาษี” คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน โดยใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังนี้ 2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบกำกับภาษี 2.1 ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้ แต่กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้ได้รับใบกำกับภาษีที่เป็นนิติบุคคล สามารถใช้คำย่อสำหรับบอกสถานะได้ เช่น บริษัทจำกัด ใช้คำว่า บ. ……จก. หรือ บจ., ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำว่า หจก. เป็นต้น 2.2 ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) กรณีที่เป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือ “HO” หรือ “HQ” หรือ ระบุเป็น ตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย กรณีที่เป็นสาขา ให้ระบุคำว่า “สาขาที่…”, “Branch No. …”, ”br.no. …” หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่…” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย ข้อสังเกต 2.3 เลขประจำตัวผู้เสียอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี       ข้อสังเกต ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เฉพาะกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แต่ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเมื่อออกใบกำกับภาษี 3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3.1 ชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.2 ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อสังเกต การระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จะตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับตราด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ 4. รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม  (ถ้ามี)” ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับ จะไม่สามารถนำไปคำนวณภาษีซื้อได้ 5. รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ” ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษีด้วย ให้กระทําได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้า หรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 6. รายการ “จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง” 7. รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี” วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสําคัญที่ประมวลรัษฎากรกําหนดให้ต้องมีในใบกํากับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น คือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ได้รับชําระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกํากับภาษี โดยวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้ ภาพตัวอย่างใบกำกับภาษี วิธีการจัดทํารายการของใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ออกใบกำกับภาษีได้เมื่อไร หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีมีการกำหนดจุดรับรู้ภาษีซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิ์และหน้าที่ในการเรียกเก็บ VATจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการรวมไปถึงการออกใบกำกับภาษีตามมา ซึ่งจุดรับรู้ภาษีแบ่งออกตามกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การขายสินค้า ในการขายสินค้า โดยส่วนใหญ่มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่ หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการขายสินค้า แบ่งออกเป็น 3 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 1.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ในการขายสินค้าทั่วไป กิจการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าผู้ขายยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้า กรณีนี้พบมากที่สุดในการขายสินค้า 1.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการรับชำระเงินสำหรับค่าสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ยังไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าก็ตาม กิจการก็ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า กรณีนี้เกิดจากการรับชำระค่าสินค้าใน รูปแบบเงินมัดจำก่อนส่งมอบสินค้า 1.3 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ก็ต้องออกใบกำกับภาษีทันทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการส่งมอบสินค้า หรือยังไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าก็ตาม 2. การให้บริการ ในการให้บริการของกิจการ มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่  หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 2.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการก่อนการให้บริการ   เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการให้บริการ 2.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการก่อนการรับชำระค่าบริการ เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการรับชำระเงินก็ตาม ในทางปฏิบัติ การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการมักจะออกใบกำกับภาษีเมื่อรับชำระค่าบริการ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการให้บริการก็ตาม ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการควรออกใบกำกับภาษีถึงแม้ว่ากิจการจะยังไม่ได้รับชำระเงิน แต่มีการให้บริการก่อนรับชำระเงิน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป การให้บริการและการรับชำระเงินมักจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยมากจะเป็นการรับชำระเงิน ก่อนการให้บริการ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าในการให้บริการ การออกใบกำกับภาษี กิจการจะออกเมื่อมีการรับชำระเงิน สิ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำ ก็คือ การจัดทำทั้งต้นฉบับใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ตลอดจนเก็บรักษาเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) โดยเก็บไว้ที่สถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้จัดทำใบกำกับภาษี “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีหรือไม่ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีอย่างแน่นอน เนื่องจากใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกให้ลูกค้า โดยใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีดังนี้ จุดที่ต้องระวังในการออกใบกำกับภาษี ในการออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนดนั้นมีจุดที่ควรระวัง ดังต่อไปนี้ 1. สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี สิ่งที่ต้องระวังเป็นอันดับแรกในการออกใบกำกับภาษี ก็คือ สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี กิจการใดที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการนั้นสามารถออกใบกำกับภาษีได้ แต่หากกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีการออกใบกำกับภาษี จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย 2. ระบุรายละเอียดในใบกำกับภาษีให้ครบถ้วน ในการออกใบกำกับภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นชื่อที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าและบริการ รายละเอียดราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น 3. ออกใบกำกับภาษีให้ทันต่อสถานการณ์ ทุกครั้งเมื่อเกิดจุดความรับผิดในการเสียมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ในการขายสินค้าและบริการขึ้นมา ผู้ประกอบการจะต้องมีการออกใบกำกับภาษีเพื่อส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าและบริการนั้นทันที หากละเลย หรือฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. ไม่หลงลืมการเสียภาษี เมื่อมีการออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าและบริการขึ้นมาแล้วนั้น กิจการต้องไม่ลืมที่จะลงรายงานภาษีขาย และจ่ายภาษีให้ถูกต้องเป็นประจำ มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมายเช่นเดียวกัน 5. แสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้า ในกรณีที่ใบกำกับภาษีเกิดมีความผิดพลาดใดๆ ที่ทำให้ต้องมีการแก้ไขข้อมูล หรือยกเลิกใบกำกับภาษีดังกล่าวนั้น กิจการต้องดำเนินการให้เรียบร้อยโดยไม่ขาดตกบกพร่อง การขายสินค้าและบริการที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามปกติแล้วผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการขายสินค้าและบริการ จะต้องมีการออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แต่ในบางกรณีกรมสรรพากรก็มีการยกเว้นเช่นกัน สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีการขายสินค้าหรือบริการครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องออกใบกำกับภาษีนั้นจะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ สรุป จากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าต้องออกใบกำกับภาษีกิจการก็จะมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษี จุดที่ต้องออกใบกำกับภาษี มีความเข้าใจว่าต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไร ซึ่งมีผลต่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตรงตามงวดเวลาในการขายสินค้าหรือให้บริการ PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยกิจการเตรียมเอกสารทางบัญชีและสร้างเอกสารทางออนไลน์ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ในแบบที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นใบเสนอราคา ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ทั้งยังรองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการรับชำระเงินผ่าน QR CODE เมื่อสร้างเอกสารแล้ว ระบบจะบันทึกรายการบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้กิจการออกใบกำกับภาษี ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามงวดเวลาและยื่นแบบได้ภายในกำหนดเวลา รวมทั้งบันทึกบัญชีได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม อ้างอิง:ประเภทของใบกำกับภาษี | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? (peakaccount.com),7 ตุลาคม 2564taxinvoice.pdf (rd.go.th), คู่มือใบกำกับภาษี, กรมสรรพากร

31 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร

ประเด็นสำคัญ  เรียกได้ว่าเหล่าร้านค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างหนักเลยทีเดียว เมื่อกรมสรรพากรได้ออกกฎหมายบังคับให้กลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Line, Grab และอื่นๆ ต้องนำส่งข้อมูลรายได้ บัญชีธนาคาร เลขบัตรประชาชน ทั้งหมดของร้านค้าที่ขายสินค้าหรือให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นให้แก่กรมสรรพากรทุกปี มีผลบังคับใช้เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 รายละเอียดเชิงลึกมีอะไรบ้าง เรามาดูกันต่อครับ ทำไมกรมสรรพากรต้องบังคับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ส่งรายได้ของร้านค้าออนไลน์? ก่อนหน้านี้สรรพากรเคยออกกฎหมาย E-payment ที่บังคับให้เหล่าธนาคาร หรือผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ต้องนำส่งรายการบัญชีของผู้ฝากเงินที่เข้าเงื่อนไขที่มีเงินเข้า 3,000 ครั้ง หรือเงินเข้า 400 ครั้งและมียอดเกิน 2 ล้านบาทให้แก่กรมสรรพากร เพื่อตรวจจับบุคคลที่หลีกเลี่ยงภาษีหรือส่งภาษีไม่ครบ ส่วนตัวเชื่อว่าวิธีการดังกล่าว บางครั้งก็พิสูจน์ได้ยากว่าเงินรับมาจากรายได้หรือเงินโอนทั่วไป และยังมีช่องโหว่ในการหลบหลีกเพื่อไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว กรมสรรพากรจึงหาแนวทางใหม่เพิ่มเติมที่ตรงประเด็นมากขึ้น โดยเล็งเป้าไปยังกลุ่มผู้ค้าขายออนไลน์ที่ยังมีแนวโน้มว่าส่งภาษีไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง  แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร รายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดอยู่ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องนำส่งข้อมูลร้านค้าออนไลน์ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ได้แก่ 1. จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย และ 2. มีรายได้เกิน 1 พันล้านบาทต่อปี PEAK ขอเล่า : ร้านค้าออนไลน์จะต้องถูกนำส่งข้อมูลอะไรบ้าง? จากเอกสารแนบที่กรมสรรพากรกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำส่ง ผมขอสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องถูกนำส่งไว้ ดังนี้ครับ 1. เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล 2. ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อนิติบุคคล 3. จำนวนรายได้ที่ใช้คิดฐานคำนวณค่านายหน้าและค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (พูดง่ายๆ คือ รายได้ทั้งหมดของร้านค้าแต่ละร้าน) 4. ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ นั่นแปลว่ากรมสรรพากรจะรู้รายได้ของร้านค้าอย่างละเอียด ทุกบาท ทุกสตางค์ และรู้ว่าร้านค้าชื่ออะไร และใช้บัญชีอะไรในการรับรายได้อีกด้วย พออ่านมาถึงตรงนี้ผู้ประกอบการคงเริ่มขนลุกกันแล้วใช่ไหมละคร๊าบบ ข้อมูลจะถูกส่งให้กรมสรรพากรเมื่อไหร่? กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้อมูลรายได้ที่ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าหรือให้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นรอบบัญชีของแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตัวอย่าง เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์ S จะต้องนำส่งข้อมูลรายได้ของร้านค้าทุกร้านที่ขายบนแพลตฟอร์ม S ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 (150 วัน) PEAK ขอเล่า : กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร? เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนคงมีคำถามในใจกันแล้ว แต่คำตอบนั้นก็อาจจะไม่ได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองในฝั่งไหน เช่น ในมุมของคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องมาโดยตลอด เขาจะเชื่อว่ากฎหมายนี้จะส่งเสริมความเป็นธรรมในการค้าขายมากขึ้น เพราะเดิมคู่แข่งไม่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ทำให้คู่แข่งขายสินค้าได้ดีกว่าเพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และเกิดกระแสเงินสดที่มากกว่า แต่ในมุมของคนที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนหรือหลีกเลี่ยง กฎหมายตัวนี้จะเข้ามาปิดช่องโหว่แทบทุกด้านที่เคยมีอยู่ ทำให้การหลีกเลี่ยงยากมากขึ้น  สุดท้ายนี้กฎหมายฉบับนี้จะบังคับให้ทุกคนทำบัญชี ภาษีได้ถูกต้องมากขึ้น ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อม โดยเริ่มจากเก็บเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้อง หรือหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือมาช่วยจัดการ รวมถึงการหาโปรแกรมจัดการด้านบัญชีที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์มาลงบันทึกบัญชีได้แบบเรียลไทม์  ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก หรือสนใจโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Shopee Lazada TikTok ทดลองใช้ฟรี 30 วัน คลิก 

24 ม.ค. 2024

PEAK Account

12 min

เช็กลิสต์มาตรการรัฐ สร้างการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล

เมื่อโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันก็ต้องมีการปรับตัวให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น เรื่องช่องทางการขาย การชำระเงิน การจัดการบัญชี ภาษีต่างๆ ก็มีการนำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยรัฐบาลเองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างของมาตรการภาครัฐต่อไปนี้ที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ e-Payment ชำระเงิน สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ทุกธุรกิจ    ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มาตรการภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการการเงินและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการที่นำระบบ e-Payment มาใช้ในธุรกิจ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าแล้ว ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินของธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  สำหรับเงื่อนไขของกฎหมายภาษี  e-Payment เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการ ร้านค้าต่างๆ ควรศึกษารายละเอียดอย่างแม่นยำ เพื่อการปฏิบัติทางกฎหมายที่ถูกต้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ที่มีสาระสำคัญคือการกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล โดยมีเงื่อนไขดังนี้       e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมาตรการภาครัฐในการออกใบกํากับภาษีในรูปแบบใหม่ที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาใช้แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยจะปรับเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางอีเมล หรือเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ในทันท่วงที ไม่ต้องจัดเตรียม และรวบรวมใบกํากับภาษีแบบกระดาษอีกต่อไป นอกจากนั้นการจัดทำใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจอีกหลายประการ ได้แก่ การลดต้นทุนแฝงอย่างเช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าจัดส่ง ค่าจัดเก็บใบกำกับภาษี การป้องกันเอกสารสูญหายหรือได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น e-Tax Invoice ยังรองรับสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐ อย่างโครงการ การช้อปดีมีคืนในปี 2566 และล่าสุดกับโครงการ Easy E-Receipt เป็นต้น โดย e-Tax Invoice นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. e-Tax Invoice by Time Stamp เป็นระบบการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรมสรรพากรกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้ ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี หรือมีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ได้ตระหนักถึงความสะดวกของการออกและใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต  2. e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินในรููปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ตกลงกัน รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดด้วย Easy E-Receipt  โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล Easy E-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท นับเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสร้างการขายสินค้าและบริการตามที่โครงการกำหนด 2 มาตรการภาษี  โอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการ เป็นการขยายเวลาต่อเนื่องสำหรับมาตรการภาครัฐที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักรายจ่ายการลงทุนในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax รวมถึงหักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 -31 ธันวาคม 2568” จะมีการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เหลืออัตราร้อยละ 1 ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนในการจัดทำและการจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย PromptBiz  ตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัล สร้างระบบการทำงานแบบมืออาชีพ PromptBiz คือ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินกลางสำหรับภาคธุรกิจ ทำให้เกิดการทำธุรกิจแบบดิจิทัลที่สามารถข้ามธนาคารได้อย่างครบวงจร โดยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าและการชำระเงิน ตั้งแต่ข้อมูลใบแจ้งหนี้ การวางบิล การชำระเงิน จนถึงการออกใบเสร็จ โดย PromptBiz จะมีบริการ 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ บริการด้านการค้าและการชำระเงิน และบริการด้านสินเชื่อ PromptBiz จะเปลี่ยนเอกสารทางการค้าจากรูปแบบกระดาษมาเป็นเอกสารดิจิทัลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางบิล รับวางบิล ตรวจสอบความถูกต้อง และชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมไปถึงการทำรายการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ  ขณะเดียวกันระบบ PromptBiz จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ได้เป็นอย่างดี

31 พ.ค. 2023

PEAK Account

6 min

ช้อปดีมีคืน 2566 ลดหย่อนภาษีอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

ใกล้ก้าวเข้าสู่กลางปีกันแล้ว แม้จะยังไม่ถึงเวลาที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอสำหรับโครงการช้อปดีมีคืนประจำปี 2566 โดยเฉพาะการออกใบกำกับภาษีที่จะต้องดำเนินการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทั้งในรูปแบบของกระดาษและอิเล็กทรอนิกส์ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 โดยเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ช้อปดีมีคืน ถูกกำหนดไว้ดังนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ จำนวน 30,000 บาทแรก สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ค่าซื้อสินค้าหรือบริการ เพิ่มอีกจำนวน 10,000 บาท สำหรับผู้มีหลักฐานใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Tax Invoice by Email ของกรมสรรพากรเท่านั้น ซึ่งใบกำกับภาษีแบบกระดาษนั้นไม่สามารถใช้ได้ หมายความว่า หากผู้ประกอบการสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าสามารถใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ซึ่งอาจส่งผลให้มีลูกค้ามาซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นได้ ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์คุณ เพราะ PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยลดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารแบบกระดาษ และที่สำคัญยังเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้จากโครงการช้อปดีมีคืนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย โดยขั้นตอนการดำเนินการผ่านโปรแกรม PEAK นั้นไม่ยากอย่างที่คิด ผู้ประกอบการสามารถสมัครใช้งานโปรแกรม PEAK ได้ที่เว็บไซต์ www.peakaccount.com แล้วสมัครเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ที่เว็บไซต์ etax.rd.go.th เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างใบกำกับภาษีเต็มรูปในแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างถูกต้อง ลูกค้าที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 สำหรับลูกค้า ที่ต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้ได้จำนวนสูงสุดถึง 40,000 บาท มีรายละเอียดและข้อปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ถูกต้อง ดังนี้ ☑️ เลือกร้านค้าที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เนื่องจากใบกำกับภาษีแบบกระดาษไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้หากจำนวนเกิน 30,000 บาทแรก หมายความว่า เมื่อลูกค้าเลือกซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ใช้โปรแกรมบัญชีที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ก็จะสามารถได้รับใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 40,000 บาท ☑️ ตรวจสอบหลักฐานให้ถูกต้อง หากต้องการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้โดยไม่เกิดปัญหานั้น การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะส่วนของใบกำกับภาษี จากเดิมที่ผู้ประกอบการนำส่งใบกำกับภาษีรูปแบบกระดาษนั้น จะต้องแสดงรายละเอียดใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 โดยมีข้อความครบถ้วน และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการแสดงรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ดังนั้น เมื่อเราได้รับข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ประกอบการแล้ว ลูกค้าต้องตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีของตนเอง PEAK สามารถสร้างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก พร้อมเอกสารที่มีดีไซน์สวยงาม อ่านง่ายถูกใจลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจของคุณเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น

4 เม.ย. 2023

PEAK Account

23 min

เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการจัดการภาษีซื้อที่ควรรู้

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีซื้อ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในการจัดการเรื่องภาษีซื้อได้อย่างถูกต้อง ภาษีซื้อ (Input Tax) คืออะไร ภาษีซื้อ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้จ่ายให้กับผู้ขายหรือผู้ให้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมี 4 กรณีดังนี้ ข้อควรรู้เกี่ยวกับภาษีซื้อ ภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. กรณีไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ 1.1 กรณีไม่มีใบกำกับภาษี เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษี หรือออกใบกำกับภาษีแต่ระบุชื่อบุคคลอื่น1.2 ใบกำกับภาษีสูญหายหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ ในกรณีที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง แต่ไม่อาจแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรได้ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการร้องขอใบแทนใบกำกับภาษีจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการที่ออกใบกำกับภาษี เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการนำภาษีซื้อไปหักจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ                                                                                                                     2. กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่นำมาหักภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป โดยต้องมีรายการดังต่อไปนี้2.1 คำว่า “ใบกำกับภาษี” สามารถมองเห็นได้ชัดเจน2.2 รายการ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ออกใบกำกับภาษี2.3 รายการ ชื่อ และที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ2.4 รายการ และหมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี2.5 รายการ ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ2.6 รายการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยแยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน2.7 รายการ วัน เดือน และปีที่ออกใบกำกับภาษี หากใบกำกับภาษีฉบับใดมีข้อความไม่ครบถ้วนดังที่กฎหมายกำหนดข้างต้น ภาษีซื้อนั้นจะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม 3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือนำมาขอคืนได้นั้น ต้องเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อกิจการหรือเพื่อแสวงหากำไรของกิจการ หากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการจะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม 4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน รายจ่ายเพื่อการรับรอง หรือเพื่อการอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ได้แก่ ค่ารับรองหรือค่าบริการ ไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรอง หรือให้บริการแก่บุคคลใดก็ตาม และไม่ว่าจะเป็นการให้ประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม ได้แก่ ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าที่พัก ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา รวมถึงค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลที่ได้รับการรับรองหรือรับบริการ หรือที่ให้บุคคลอื่น 5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษี ผู้ไม่มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีมีดังต่อไปนี้5.1 บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม5.2 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนออกใบกำกับภาษีในนามผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม5.3 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกขายทอดตลาด หรือขายโดยวิธีอื่น โดยบุคคลอื่น 6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ซึ่งเป็นภาษีซื้อต้องห้ามมีดังนี้6.1 ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต6.2 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ6.3 ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม6.4 ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปี นับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์6.5 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษี ไม่ได้พิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ6.6 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้ทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร6.7 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปตาม 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย6.8 ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร6.9 ภาษีที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ นำมาใช้ หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิ์เลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด6.10 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งรายการได้ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด6.11 ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งเกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง ได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต6.12 ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ตามมาตรา 86/4 (2)  แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ กรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ                    ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้ามนั้นกฎหมายไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ นำมาหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืน แต่ภาษีซื้อต้องห้ามมีทั้งประเภทที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณกำไรสุทธิ และประเภทที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณกำไรสุทธิ  สำหรับภาษีซื้อต้องห้ามที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณกำไรสุทธิ ได้แก่ การเฉลี่ยภาษีซื้อ สำหรับการเฉลี่ยภาษีซื้อโดยทั่วไป มีวิธีการเฉลี่ยภาษีซื้อ 2 วิธี ดังนี้ 1. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนเพิ่งเริ่มประกอบการ หรือประกอบกิจการแล้วแต่ยังไม่มีรายได้ มีหลักเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีซื้อดังต่อไปนี้                                                                              1.1 การประมาณการรายได้ของกิจการของปีที่เริ่มมีรายได้ ทั้งกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคาดการณ์ว่าปีใดจะเป็นปีที่เริ่มมีรายได้ และแต่ละประเภทกิจการจะมีรายได้เท่าไร ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามสัดส่วนของรายได้ สำหรับ “ปีที่เริ่มมีรายได้” หมายถึง ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริง โดยมีระยะเวลาในปีแรกไม่น้อยกว่า 6 เดือนขึ้นไป โดยมีวิธีพิจารณาดังนี้ก. ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ เป็นบุคคลธรรมดา ต้องมีรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทอย่างน้อยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมขึ้นไป จึงจะถือว่าเป็นปีที่เริ่มมีรายได้ข. ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ เป็นนิติบุคคล ต้องมีรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทอย่างน้อย 6 เดือนภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน เช่น บริษัท กขค จำกัด มีรอบระยะเวลาบัญชี 1 เมษายน 2564 ถึง 31 มีนาคม 2565 ต้องเริ่มมีรายได้อย่างน้อยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป จึงจะถือว่ารอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวเป็น “ปีที่เริ่มมีรายได้”       ทั้งนี้แม้จะประมาณการรายได้เท่าไรก็ตาม ในการเฉลี่ยภาษีซื้อดังกล่าวจะนำภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเกินกึ่งหนึ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ยไม่ได้                                                                      1.2 การปรับปรุงภาษีซื้อ เมื่อทราบว่าปีใดเป็นปีที่เริ่มมีรายได้แล้วก. การปรับปรุงภาษีซื้อ ให้ทำในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ข. ให้ปรับปรุงภาษีซื้อตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้เฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้                   ค. ในการปรับปรุงภาษีซื้อ ให้ปรับปรุงโดยการนำภาษีซื้อจำนวนที่เฉลี่ยตามประมาณการมาเปรียบเทียบกับการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของฐานรายได้ที่เกิดขึ้นจริงง. ยื่นปรับปรุงด้วยแบบ ภ.พ.30.2 โดยยื่นเพียงฉบับเดียว โดยปรับปรุงเป็นยอดรวมตั้งแต่เดือนแรกที่มีภาษีซื้อที่ต้องเฉลี่ยเกิดขี้น (ไม่ต้องแยกยื่นเป็นรายเดือน) และให้ยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อ  2. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนฯ ประกอบการแล้ว มีรายได้ของปีที่ผ่านมา (รายได้ของปีก่อนปีปัจจุบัน 1 ปี) เมื่อผู้ประกอบการเริ่มมีรายได้แล้ว ปีถัดจากปีที่เริ่มมีรายได้เป็นต้นไป ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้                                                                                                                                                                            2.1 เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้อเมื่อสิ้นปีอีก หรือ                               2.2 เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมา แล้วปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภทตอนสิ้นปี โดยนำหลักเกณฑ์ของการปรับปรุงภาษีซื้อของปีที่ยังไม่มีรายได้ หรือปีที่เริ่มมีรายได้มาใช้     2.3 เมื่อได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้วให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไปเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้        แนวปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้ามและการเฉลี่ยภาษีซื้อดังที่กล่าวมา จะช่วยเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการในการวางแผนและบริหารจัดการภาษีของกิจการให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ                                                    ติดตามความรู้ภาษีและบัญชีจากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK อ้างอิง: ภาษีซื้อ คืออะไรอ่านบทความนี้ไม่ปวดหัวแน่ๆ | Station Account (station-account.com)เรื่องน่ารู้ของการ “เฉลี่ยภาษีซื้อ” | getInvoiceเอกสารกรมสรรพากร: การเฉลี่ยภาษีซื้อ โดยนางสาว กัลยานี ยิ้มย่อง เอกสารกรมสรรพากร : ภาษีซื้อต้องห้าม

9 ต.ค. 2022

PEAK Account

20 min

ภาษีป้าย ประเด็นสำคัญที่เจ้าของกิจการควรรู้

ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ในฐานะลูกค้าเราคงจะไม่ปฏิเสธกันว่า สิ่งที่ทำให้ลูกค้าสะดุดตาและอยากเข้าไปซื้อสินค้าหรือใช้บริการ นอกเหนือไปจากการตกแต่งร้านหรือการจัดโปรโมชั่นแล้ว ก็คือ ป้ายหน้าร้านค้าซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้คนผ่านไปผ่านมาจะสังเกตเห็นและมองเป็นอันดับแรก แต่ทราบกันหรือไม่ว่า ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับป้ายไม่ใช่แค่ค่าออกแบบป้ายหรือค่าติดตั้งเท่านั้น แต่ยังมีภาษีป้ายซึ่งเจ้าของธุรกิจรวมทั้งนักบัญชีต้องศึกษาทำความเข้าใจเนื่องจากภาษีป้ายถือเป็นค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจด้วย ลักษณะของป้ายที่ดี ในการทำธุรกิจ ป้ายหน้าร้านมีส่วนทำให้ร้านค้าน่าสนใจและดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการ โดยลักษณะของการออกแบบป้ายที่ดีที่เจ้าของกิจการควรจัดทำนั้น ประกอบไปด้วย 1. การจัดวางภาพรวมของป้าย ในการจัดทำป้ายของกิจการ ภาพรวมของป้ายเป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการควรใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะข้อความที่ดึงดูดและเป็นที่จดจำของลูกค้า รวมทั้งการเลือกใช้สี การจัดวางตัวอักษรที่เหมาะสมที่ทำให้ลูกค้าสามารถอ่านและเข้าใจได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ระยะในการมองเห็นป้ายกิจการของลูกค้าก็มีความสำคัญ ในการจัดวางตัวอักษรหรือแผ่นป้ายควรคำนึงระดับการมองเห็นของคนทั่วไปด้วย โดยระยะการมองของคนทั่วไปโดยพื้นฐาน มุมมองสูงสุดระดับสายตาจะอยู่ที่ 50 องศา การเคลื่อนระดับสายตาระดับสูงจะอยู่ที่ 30 องศา ระดับการมองเห็นฉับพลันจะอยู่ที่ 15 องศา ระดับการมองเห็นปกติจะอยูที่ 10 องศา เป็นต้น  2. การเลือกใช้สีป้ายร้าน เจ้าของกิจการส่วนใหญ่มักจะเลือกสีที่ชอบเป็นการส่วนตัว หรือเลือกสีที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ แต่นอกจากนั้นสิ่งที่ควรคำนึงอีกประการหนึ่ง ก็คือ การปรับโทนสีให้เหมาะสมและเน้นการใช้งานในระยะยาว โดยมีแนวทางในการเลือกสีของป้ายร้านดังต่อไปนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกใช้สีโทนเดียว โดยปกติสีแบ่งออกเป็น 2 โทนคือ สีโทนร้อนและสีโทนเย็น สีโทนร้อนได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง  ซึ่งมีผลต่อความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ  กระฉับกระเฉง สีโทนเย็น ได้แก่ สีน้ำเงิน  สีเขียว ซึ่งให้ความรู้สึกสดชื่น สงบ เย็นตา ในการใช้สีโทนเดียวกันของป้ายจะทำให้เกิดความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน ทำให้เกิดความกลมกลืนและมีแรงจูงใจให้เกิดการคล้อยตามได้ การเลือกใช้สีดังที่กล่าวมาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับคอนเซ็ปต์ของร้านหรือตัวตนของแบรนด์ จะช่วยสร้างความน่าสนใจ ช่วยสร้างการรับรู้และจดจำของลูกค้า 3. วัสดุที่ใช้ในการทำป้าย วัสดุที่ใช้ในการทำป้าย ได้แก่ อะคริลิก ไวนิล อะลูมิเนียม สแตนเลส พลาสวูด เป็นต้น นอกเหนือจากประเภทของวัสดุควรคำนึงถึง ระยะเวลาในการใช้งานและความทนทานของวัสดุ เมื่อจัดทำป้ายร้านค้าแล้ว สิ่งสำคัญที่เจ้าของจะลืมไม่ได้คือเรื่องของภาษีป้าย ที่จะต้องยื่นแบบเสียภาษีให้ ถูกต้องตามอัตราภาษีป้ายที่กำหนด ภาษีป้ายคืออะไร ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 6 ป้าย หมายความว่าป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น  ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายชื่อ ยี่ห้อ หรือ ในรูปของเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเพื่อหารายได้ หรือ ในรูปของโลโก้บนวัตถุต่างๆ ที่ประกอบด้วยอักษร ภาพ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของป้ายทั่วไป ป้ายบนทางด่วน ป้ายผ้าใบ รวมทั้งป้ายไฟที่ใช้ในการหารายได้หรือการโฆษณา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย เจ้าของป้ายเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบภาษีป้าย หรือเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีไม่สามารถหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับ หน่วยงานที่จัดเก็บ หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่จัดเก็บภาษีป้าย หน่วยราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า เทศบาล สุขาภิบาล องค์กรบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย เขตราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ 1. เขตเทศบาล 2. เขตสุขาภิบาล 3. เขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4. เขตกรุงเทพมหานคร 5. เขตเมืองพัทยา 6. เขตองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น อัตราภาษีป้าย อัตราภาษีป้ายตามกฎกระทรวงอัตราภาษีป้าย พ.ศ. 2563 บังคับใช้สำหรับป้ายที่ต้องเสียภาษีป้ายตั้งแต่   วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป มีดังนี้ การคำนวณภาษีป้าย ในการคำนวณภาษีป้าย ผู้ประกอบการสามารถคำนวณจากสูตรนี้  ภาษีป้าย = พื้นที่ป้าย(ตร.ซม.) x อัตราภาษีป้าย/ 500 ตร.ซม. 1. การคำนวณหาพื้นที่ป้าย ให้พิจารณาจาก 1.1 ป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้  โดยพื้นที่ป้าย คำนวณจากส่วนที่กว้างที่สุด คูณด้วยส่วนที่ยาวที่สุดของขอบเขตป้าย 1.2 ป้ายที่ไม่มีขอบเขตที่กำหนดได้ ให้ถือตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตเพื่อกำหนดส่วนที่กว้างที่สุด และยาวที่สุดและนำมาคำนวณหาพื้นที่ป้ายแบบเดียวกับข้อ 1. เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีเศษเกินกึ่งหนึ่งของ 500 ตารางเซนติเมตร ให้นับเป็น 500 ตารางเซนติเมตร ถ้าไม่เกินกึ่งหนึ่งให้ปัดทิ้ง  2. จากนั้นจึงคำนวณหาภาษีป้ายจากตารางอัตราภาษีป้ายข้างต้นโดยพิจารณาตามประเภทของป้าย กรณีที่คำนวณภาษีป้ายได้ต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้กิจการเสียภาษีป้ายละ 200 บาท ตัวอย่าง การคำนวณภาษีป้าย            1. การคำนวณพื้นที่ป้าย   เช่น กรณีเป็นป้ายประเภทที่1 ที่มีตัวอักษรไทยล้วน อัตราภาษี 10 บาทต่อ 500 ตร.ซม. พื้นที่ป้ายที่คำนวณ               ได้จากข้อ 1 พื้นที่ป้าย เท่ากับ 57,600 ตร.ซม.                             จากสูตร           ภาษีป้าย= พื้นที่ป้าย (ตร.ซม.) x อัตราภาษีป้าย/ 500 ตร.ซม.                                                     ภาษีป้าย = 57,600 x 10 /500                                                                           = 1,152 บาท ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษีป้าย มีดังนี้ ที่จริงแล้วไม่ใช่ว่าทุกป้ายโฆษณาจะต้องเสียภาษีป้ายทั้งหมด ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย ได้ระบุป้ายที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย 2.1 ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้น เพื่อโฆษณามหรสพ 2.2 ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า 2.3 ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว 2.4 ป้ายที่แสดงไว้ที่คน หรือสัตว์ 2.5 ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น หรือภายในอาคารซึ่ง เป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึง ป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ 2.6 ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2.7 ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตาม กฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ 2.8 ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการ สหกรณ์ 2.9 ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตาม กฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชนหรือ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น 2.10 ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน 2.11 ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ 2.12 ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ 2.13 ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง 2.14 ป้ายที่ติดหรือที่แสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล 2.15 ป้ายที่ติดหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ หรือรถแทรกเตอร์ 2.16 ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะ นอกเหนือจากข้อ 2.17 โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม. การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีป้าย – เจ้าของป้าย ที่มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี ในกรณีที่ติดตั้งหรือแสดงป้ายภายหลังเดือนมีนาคมหรือติดตั้งป้ายใหม่แทนป้ายเดิม หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายอันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ติดตั้งป้ายหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้าย – สำหรับผู้ยื่นเสียภาษีป้ายรายใหม่ เมื่อผู้ประกอบการทำการจัดทำป้ายร้านค้าที่ต้องเสียภาษีป้ายร้านค้าแล้ว ก่อนการติดตั้งจะต้องแจ้ง         เจ้าหน้าที่สำนักงานเขต เทศบาลหรือหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่จัดเก็บภาษีป้าย ซึ่งระยะเวลาในการยื่นประเมินเพื่อเสียภาษีป้ายไม่เกินวันที่ 31 มีนาคมของปี ถ้ามีการติดตั้ง แก้ไข หรือเพิ่มป้าย หลังจากวันที่ 31 มีนาคม ของปีนั้น ให้ยื่นแบบประเมินเพื่อเสียภาษีป้ายภายใน 15 วัน หลังจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงป้าย เอกสารที่ใช้ในการยื่นประเมิน สำหรับเอกสารที่ใช้ในการยื่นประเมินเพื่อเสียภาษีป้ายกรณีเป็นผู้ยื่นรายใหม่ มีดังนี้ 1. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย ใบเสร็จรับเงินค่าทำป้าย 2. รูปป้าย พร้อมขนาด กว้างxสูง 3. สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน 4. กรณีเจ้าของป้ายเป็นนิติบุคคล ต้องแนบหนังสือรับรองนิติบุคคล เอกสารการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ ภ.พ.20 ภ.พ.09 เป็นต้น 5. หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่เจ้าของกิจการไม่สามารถยื่นเอกสารได้ด้วยตนเอง เงินเพิ่ม ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย จะต้องชำระเงินเพิ่มในกรณีและอัตราดังต่อไปนี้ 1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของจำนวนที่ต้องเสียภาษีป้าย เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งให้ทราบถึงการละเว้นนั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 5 ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย 2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติม เว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน 3. ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดิอนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้าย เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน ทั้งนี้ไม่ให้นำเงินเพิ่มตาม (1) และ (2) มาคำนวณเป็นเงินเพิ่มตามข้อนี้ด้วย บทลงโทษ 1. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 2. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท 3. ผู้ใดไม่เสียภาษีป้ายภายในวันที่กำหนด ต้องระวางโทษปรับวันละ 100 4. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย หรือไม่แสดงหลักฐานการเสียภาษีป้าย ณ สถานประกอบการค้า หรือสถานประกอบการ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000-10,000 บาท ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชึ PEAK ได้ที่  สอบถามเพิ่มเติม คลิก  อ้างอิง : พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2534 กฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้าย พ.ศ.2563 6 เรื่องควรรู้ก่อนทำป้ายหน้าร้าน (rantiddao.com) องค์ประกอบของป้ายร้านที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร? – HLVISION (hlvisioninkjet.com)

29 ส.ค. 2022

PEAK Account

20 min

Checklist ภาษีนิติบุคคลครึ่งปี มีอะไรต้องรู้บ้าง

กิจการที่มีรอบบัญชี สิ้นสุด 31 ธันวาคมมีกำหนดต้องยื่นแบบภ.ง.ด.51 ภายใน 31 สิงหาคมของทุกปี เพื่อเป็นการทบทวนเรื่องของภาษีนิติบุคคลครึ่งปีก่อนถึงกำหนดการยื่นภาษี ผู้ประกอบการต้องเตรียมการอย่างไรบ้าง มาติดตามเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรู้กันในบทความนี้ ภ.ง.ด.51 คืออะไร ภ.ง.ด.51 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีหรือรอบ 6 เดือน โดยกรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการภายในระยะเวลา 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี  ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากิจการมีรอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี  กรณียื่นแบบกระดาษ  กิจการมีหน้าที่ต้องยื่นแบบภายใน 31 สิงหาคม ของทุกปี กรณียื่นแบบทางอินเทอร์เน็ต กิจการได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบ ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันหยุดราชการ จะได้รับการขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีออกไปอีก 1 วัน  ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภ.ง.ด.51 ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบภ.ง.ด.51 ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ไม่ว่าจะมีทุนจดทะเบียน หรือยอดขายจำนวนเท่าใดก็ตาม ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภ.ง.ด. 51 แยกตามประเภทของวิธีคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้แบ่งออกได้เป็น   2 ประเภท ดังนี้ 1. กรณีเสียภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิทั้งปี ประกอบด้วย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้แก่     1.1 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภท ใดหรืออยู่ ณ ที่ใด ได้แก่ กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ กิจการ SMEs   กิจการ Start-up ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์  1.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทยในกิจการที่ไม่ใช่การขนส่งระหว่างประเทศ 1.3 กิจการที่เป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและเข้ามาประกอบกิจการในไทย ในกิจการอื่นใดที่มิใช่การขนส่งระหว่างประเทศ 1.4 กิจการร่วมค้า (Joint Venture)  2. กรณีเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริงของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรกได้แก่ 2.1 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2.2 ธนาคารพาณิชย์  2.3 บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์  2.4 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีตามหลักเกณฑ์ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ธนาคารพาณิชย์, บริษัทเงินทุน, บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ตามมาตรา 67ทวิ  (แห่งประมวลรัษฎากร ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงิน การคำนวณประมาณการกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี   (ภ.ง.ด.51) เป็นการประมาณการผลประกอบการในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สาเหตุที่ต้องมีการประมาณการกำไรสุทธิ 1. เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องจ่ายปีละครั้งลงเหลือกึ่งหนึ่ง 2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสมัครใจในการเสียภาษีของผู้ประกอบการ 3. เพื่อให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รวดเร็วขึ้น 4. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีประมาณการกำไรสุทธิ ขั้นตอนที่1 กิจการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 12 เดือนปีปัจจุบัน โดยนำตัวเลขผลประกอบการที่เกิดจริงในช่วง 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี บวกกับประมาณการผลประกอบการในช่วง 6 เดือนหลัง ซึ่งพิจารณาจากข้อเท็จจริงและแนวโน้มของปีปัจจุบันที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยกิจการควรเก็บข้อมูลตัวเลขดังต่อไปนี้        1. ข้อมูลรายได้  ประกอบด้วย รายได้หลักของกิจการ และรายได้อื่น ได้แก่ กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน, กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น        2. ข้อมูลรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น ได้แก่ ขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน, ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น รวมทั้งควรพิจารณารายการรายจ่ายต้องห้าม ซึ่งไม่สามารถนำมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายทางภาษีในการคำนวณประมาณการกำไรสุทธิได้ เช่นเดียวกับการคำนวณกำไรสุทธิในการยื่นแบบภ.ง.ด.50 โดยกรมสรรพากรได้จัดทำตารางการจัดทำประมาณการกำไรสุทธิที่เหมาะสมซึ่งกิจการสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนที่2 เมื่อได้ตัวเลขประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องคำนวณภาษีแล้ว จึงนำมาคำนวณภาษีเพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ซึ่งกิจการอาจใช้เกณฑ์การพิจารณาภาษีที่คำนวณได้ให้มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่คำนวณได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีล่าสุดที่ผ่านมา กรณีประมาณการกำไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่ ตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฏากร ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจํานวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระ ภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (2) ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทําให้จํานวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามมาตรา 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.8/2542 ข้อผ่อนปรนกรณีการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ในการพิจารณาการประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการ กรมสรรพากรมีข้อผ่อนปรนสำหรับกิจการดังนี้ 1. คําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537 เรื่อง แนวทางการพิจารณา “เหตุอันสมควร” กรณีแสดงประมาณการกําไรสุทธิขาดไป ตาม มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยคําสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558 “ข้อ ๑ กรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร” (๑) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว (๒) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทําประมาณการกําไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทําหรือจะได้กระทําในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นไม่น้อยกว่ากําไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วเนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี” (แก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 152/2558 ใช้บังคับในการคํานวณภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป) 2. เหตุอันสมควรอื่นตามที่กรมสรรพากรกําหนด (ผู้เสียภาษีอากรทําหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงที่ทําให้ประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกําไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการ) 3. คําสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ กรณีลดเงินเพิ่ม  (ผู้เสียภาษีอากรต้องทําคําร้องยื่นต่อกรมสรรพากร) การยื่นแบบภ.ง.ด.51  นอกจากการยื่นแบบด้วยกระดาษ ปัจจุบันกรมสรรพากรอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ได้ทางอินเทอร์เน็ตซึ่งมีข้อดีหลายประการดังต่อไปนี้ 1.  ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ ในการยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ต ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการในการจัดเตรียมเอกสารและการเดินทางไปยื่นแบบและชำระภาษีที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 2. โปรแกรมการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ช่วยผู้ประกอบการตรวจสอบข้อมูลขั้นต้น ในการกรอกแบบแสดงรายการภ.ง.ด.51 ในโปรแกรมการยื่นแบบ หากโปรแกรมพบข้อมูลผิดพลาด ในบางกรณีระบบจะแจ้งรายการเตือนให้ทราบทันที 3. การได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการ ในการยื่นแบบผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะได้รับสิทธิให้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก   8 วัน การยื่นแบบภ.ง.ด.51 ทางออนไลน์  ปัจจุบันมีความสะดวกรวดเร็วและง่ายสำหรับผู้ประกอบการ เพียงไม่กี่คลิกก็สามารถยื่นแบบได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและทันเวลา โดยกิจการสามารถศึกษาวิธีการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ได้จากลิงก์นี้ CMS-Manual-51-V4.pdf (rd.go.th) ข้อดีของการยื่นแบบภาษีตรงเวลา  1. กิจการไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับ ได้แก่ ค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่ม    ถ้ากิจการยื่นแบบภ.ง.ด. 51 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว กิจการจะต้องชำระค่าปรับดังนี้ 1.1  ค่าปรับอาญา ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร กรณียื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ค่าปรับอาญา  1,000 บาท  กรณียื่นแบบภายหลัง 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดการยื่นรายการไปแล้ว ค่าปรับอาญา  2,000 บาท  1.2 . เงินเพิ่ม ตามมาตรา 65  กรณีกิจการมีภาษีที่ต้องชำระ กิจการจะต้องเสียเงินเพิ่มตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ (1)  กรณีกิจการยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วัน  เสียเงินเพิ่มในอัตรา  0.1%   ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ        (2)   กรณีกิจการยื่นแบบแสดงรายการล่าช้า เกิน 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ        (3)   กรณีกิจการยื่นแบบแสดงรายการเกิน 7 วัน เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) จนกว่าจะชำระครบ 20%ของเงินภาษีที่ค้างไว้ทั้งหมด 2.    กิจการยื่นแบบภ.ง.ด.51 ภายในกำหนดเวลาแต่ข้อมูลไม่ครบถ้วนถูกต้อง  ถ้ากิจการยื่นแบบเพิ่มเติม ในช่วงที่ยังไม่พ้นกำหนดการยื่นแบบดังกล่าว กิจการก็ไม่ต้องเสียค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่ม แต่ถ้ากิจการยื่นแบบเพิ่มเติม หลังจากพ้นกำหนดการยื่นแบบดังกล่าวแล้ว กิจการก็ต้องเสียค่าปรับทางอาญาและเงินเพิ่มในกรณีมีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม  ความรับผิดในการเสียภาษี ความรับผิดในการเสียภาษี สำหรับผู้เสียภาษีแยกตามวิธีการคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ดังนี้ 1. กรณีประมาณการกำไรสุทธิ ความรับผิดในการเสียภาษีแสดงดังรูป      ที่มา: เอกสารสัมมนาเรื่อง ภ.ง.ด.51 พ.ศ.2562, กรมสรรพากร 2. กรณีเสียจากกำไรสุทธิ 6 เดือนแรก ความรับผิดในการเสียภาษีแสดงดังรูป ที่มา: เอกสารสัมมนาเรื่อง ภ.ง.ด.51 พ.ศ.2562, กรมสรรพากร กิจการต้องไปยื่นแบบภ.ง.ด.51 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยื่นประมาณการกำไรสุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ เพื่อจะได้ไม่ต้องเสี่ยงต่อความรับผิดทางภาษี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อยื่นแบบภ.ง.ด.51ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ช่วยให้ผู้ประกอบการยื่นแบบได้ทันตามกำหนดเวลา ไม่เสี่ยงต่อการเสียค่าปรับทางภาษี ติดตามความรู้ภาษีและบัญชีจากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK อ้างอิง: การประมาณการกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51) ให้ถูกต้องและถูกใจกรมสรรพากร,กรมสรรพากร เอกสารการสัมมนาภ.ง.ด.51 ปี2562, กรมสรรพากร สรุป – แบบภาษีครึ่งปี (ภงด51) ปี 64 – ยื่นเมื่อใด? / คำนวณอย่างไร? (accountworks.co.th) ถ้ายื่นภาษีไม่ทัน…จะเกิดอะไรขึ้น | Prosoft HCM ภ.ง.ด. 51 คืออะไรและระยะเวลายื่นแบบเป็นอย่างไร | getInvoice เตรียมพร้อมยื่น ภ.ง.ด.51 ประจำปีกันเถอะ (businessplus.co.th)

17 ส.ค. 2022

PEAK Account

19 min

ทำความรู้จัก Tax Point จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ในการขายสินค้าหรือบริการ ภาระภาษีของผู้ประกอบการที่จด VAT ของแต่ละประเภทกิจการ ไม่ว่าจะเป็น กิจการขายสินค้า กิจการให้บริการ กิจการนำเข้า มีความแตกต่างกัน เมื่อมีภาระภาษี ถือว่ากิจการมีสิทธิและหน้าที่ในการจัดเก็บ VAT จากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ   หลักในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ย่อมาจาก Value Added Tax) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้า หรือการให้บริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ กิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. การขายสินค้าในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ 2. การให้บริการในราชอาณาจักรโดยผู้ประกอบการ ซึ่งครอบคลุมการให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการภายในราชอาณาจักร ได้แก่ การให้บริการแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ของบริษัทต่างประเทศที่มีการใช้บริการในประเทศไทย เป็นต้น รวมทั้งบริการที่ทำในราชอาณาจักรแต่ใช้บริการในต่างประเทศ ได้แก่ งานรับจ้างเขียนซอฟต์แวร์ในประเทศไทย แต่บริษัทผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทต่างชาติซึ่งนำซอฟต์แวร์ไปใช้ในต่างประเทศ 3. การนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผู้นำเข้า ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและกำหนดเวลาการจดทะเบียน หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วผู้ประกอบการมีหน้าที่ดังนี้ 1. การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 2. การออกใบกำกับภาษี เมื่อมีการขายสินค้าและบริการ 3. การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ 4. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยช่องทางการยื่นแบบและชำระภาษีมีทั้งที่ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่สรรพากรสาขา ที่ธนาคารพาณิชย์ จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) Tax Point หมายถึง จุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดโดยกฎหมายว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ในการเรียกเก็บ VAT จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ Tax Point ของกิจการมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของกิจการ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ 1. ธุรกิจการขายสินค้า  การขาย หมายถึง จำหน่าย จ่าย โอนสินค้า ไม่ว่าจะมีประโยชน์หรือค่าตอบแทนหรือไม่ ธุรกิจขายสินค้าได้แก่ 1.1 การขายสินค้าทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ยกเว้นมีการกระทำต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนการส่งมอบสินค้า Tax Point จะเกิดขึ้นทันที ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า ข. ได้รับชำระค่าสินค้า หรือ ค. ได้ออกใบกำกับภาษี 1.2  การขายสินค้าตามสัญญาเช่าหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ ซึ่งกรรมสิทธิ์ของสินค้ายังไม่ได้โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้า Tax Point เกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระตามงวดแต่ละงวด ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนกำหนดชำระราคาแต่ละงวด ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว ก. ได้รับชำระค่าสินค้า หรือ ข. ได้ออกใบกำกับภาษี 1.3 การขายสินค้าโดยมีการแต่งตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้มีการส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว Tax Point เกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ให้ถือว่า Tax point เกิดขึ้นแล้ว  ก. ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าให้ผู้ซื้อ ข. ตัวแทนได้รับชำระราคาสินค้า ค. ตัวแทนได้ออกใบกำกับภาษี หรือ ง. ได้มีการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าโดยตัวแทนหรือบุคคลอื่น 1.4 การขายสินค้าโดยการส่งออก Tax Point เกิดขึ้นในแต่ละกรณีดังนี้ ก. การส่งออกสินค้า เมื่อมีการชำระอากรขาออก วางหลักประกันขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันขาออกเว้นแต่ในกรณีที่ไม่เสียอากรขาออก หรือได้รับการยกเว้นอากรขาออก ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออก ข. กรณีที่มีการส่งออกที่นำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการนำสินค้าใน ราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร ค. กรณีที่มีการส่งออกที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน Tax Point เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร 1.5 การขายสินค้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80(1)/5 โดยภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า ซึ่งทำให้ผู้รับโอนสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/1(2) Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้า  2. ธุรกิจบริการ 2.1 การให้บริการทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนชำระค่าบริการ ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว ก. ได้ออกใบกำกับภาษี ข. ได้ใช้บริการนั้น ไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น 2.2 การให้บริการตามสัญญาที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการ  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลง ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการตามส่วนของบริการที่สิ้นสุดลงให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว ก. ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ ข. ได้ใช้บริการไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น 2.3 การให้บริการที่ทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการในประเทศไทย  Tax Point ทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นเมื่อมีการชำระค่าบริการทั้งหมด หรือบางส่วน แล้วแต่กรณี 2.4 การให้บริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 (ตามมาตรา 80/1(5)) และในภายหลังมีการโอนสิทธิในบริการให้แก่ผู้รับโอนสิทธิในบริการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ตามมาตรา 82/1(2)) Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการกรณีที่รับชำระราคาค่าบริการ ข้อสังเกต คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537 กรณีกิจการขายสินค้าได้รับชำระค่าสินค้าด้วยเช็ค ซึ่งเช็คลงวันที่ก่อน        ส่งมอบสินค้าหรือก่อนโอนกรรมสิทธิ์สินค้า หรือเป็นกิจการให้บริการ Tax Point คือวันที่ที่ลงในเช็ค โดย         ผู้ประกอบการต้องออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ที่ลงในเช็ค กรณีกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ได้รับชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยเช็ค ที่ได้รับมอบเช็คลงวันที่ที่ผ่านมาแล้ว ให้ผู้ประกอบการออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ที่ลงในเช็คใบนั้น ยกเว้นในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ออกใบกำกับภาษีและใบรับตามวันที่ที่ได้รับมอบเช็คนั้น ก. กรณีรัฐบาล องค์การรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ออกเช็ค ข. กรณีผู้ออกเช็คเป็นบุคคลธรรมดา บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งได้ออกเอกสารรับรองว่าได้มีการส่งมอบเช็คให้แก่ผู้ประกอบการในวันเดือนปีใด และได้ส่งมอบเอกสารดังกล่าวในวันเดียวกันกับที่ส่งมอบเช็ค โดยผู้ประกอบการต้องมีเอกสารดังกล่าวพร้อมให้เจ้าหน้าที่สรรพากรตรวจสอบได้ทันที 3. ธุรกิจนำเข้า 3.1 การนำเข้าสินค้าทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการชำระอากรขาเข้า วางหลักประกันอากรขาเข้า หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาเข้า ยกเว้นกรณีไม่ต้องเสียอากรขาเข้า Tax Point เกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าของกรมศุลกากร 3.2 การนำเข้าสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร แล้วนำสินค้าออกจากเขตปลอดอากร โดยมิใช่เพื่อการส่งออก Tax Point เกิดขึ้นในวันที่นำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากร โดยมิใช่เพื่อการส่งออก 3.3 การนำเข้าสินค้าในกรณีของตกค้างตามกฎหมายศุลกากร  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อทางราชการได้ทำการขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น เพื่อนำเงินดังกล่าวมาชำระภาษี ค่าเก็บรักษา ค่าขนย้าย หรือค่าภาระติดพันตามวิธีการตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร 3.4 การนำเข้าสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าภายหลังสินค้านั้นต้องเสียอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ทำให้มีผู้ที่มีความรับผิดตามกฎหมายดังกล่าวหรือผู้รับโอนสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม Tax Point เกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร 4.  การขายสินค้าหรือให้บริการอื่นๆ  ดังต่อไปนี้ 4.1  การขายกระแสไฟฟ้า น้ำประปา หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าสินค้า หรือถ้ามีการออกใบกำกับภาษีก่อนการได้รับชำระค่าสินค้า ให้ Tax Point จะเกิดขึ้นเมื่อออกใบกำกับภาษี 4.2  การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง เช่น สิทธิในสิทธิบัตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สัมปทาน ค่าสิทธิ หรือการขายสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือการขายสินค้าที่ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนว่ามีการส่งมอบเมื่อใด   Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาสินค้ายกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนได้รับชำระค่าสินค้า ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นแล้ว      ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้าหรือ      ข. ได้ออกใบกำกับภาษี 4.3  การขายสินค้าหรือให้บริการด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยการชำระค่าสินค้าและบริการ โดยการหยอดเหรียญ หรือบัตรหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้นำเหรียญ บัตร หรือสิ่งอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันออกจากเครื่องอัตโนมัติ 4.4  การขายสินค้าโดยชำระค่าสินค้าด้วยบัตรเครดิต หรือในลักษณะทำนองเดียวกัน  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ดังต่อไปนี้      ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า      ข. เมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิต หรือ      ค. ได้ออกใบกำกับภาษี 4.5 การให้บริการโดยการชำระราคาค่าบริการด้วยการใช้บัตรเครดิตหรือในลักษณะทำนองเดียวกัน   Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการออกหลักฐานการใช้บัตรเดรดิต ยกเว้นได้มีการออกใบกำกับภาษีก่อนการออกหลักฐานการใช้บัตรเครดิตก็ให้ Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้ออกใบกำกับภาษีนั้น 4.6  การขายสินค้าตามสัญญาจะขายสินค้า ตามมาตรา 77/1 (8) (ก)  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า ยกเว้นได้มีการกระทำดังต่อไปนี้เกิดขึ้นให้ถือว่า Tax Point เกิดขึ้นเมื่อได้กระทำการนั้นๆ ดังต่อไปนี้      ก. โอนกรรมสิทธิ์สินค้า      ข. ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ      ค. ได้ออกใบกำกับภาษี 4.7  การนำเข้าสินค้าโดยผู้ประกอบการ โดยนำสินค้าไปใช้โดยตนเองหรือบุคคลอื่น ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการโดยตรง  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อนำสินค้าไปใช้หรือส่งมอบสินค้าให้บุคคลอื่นไปใช้ 4.8  ในกรณีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ  Tax Point เกิดขึ้นเมื่อมีการตรวจพบ 4.9 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ ณ วันที่เลิกประกอบกิจการ Tax Point เกิดขึ้นเมื่อเลิกประกอบกิจการหรือแจ้งเลิกประกอบกิจการ ยกเว้นผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปอีกเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการหยุดประกอบกิจการ ให้Tax Point เกิดขึ้นเป็นไปตามมาตรา 78 ตามประมวลรัษฎากร 4.10 ในกรณีผู้ประกอบการมีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สิน ที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการ  Tax Point เกิดขึ้นแล้วแต่กรณีใดดังต่อไปนี้ ก. ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม Tax Point จะเกิด ณ วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข. ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม Tax Point จะเกิด ณ วันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยกเว้นผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้ต่อไปอีกเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการหยุดประกอบกิจการให้ Tax Point เป็นไปตามมาตรา 78 ตามประมวลรัษฎากร  จากรายละเอียดของจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มดังที่กล่าวมา จะช่วยให้ผู้ประกอบการกิจการที่จดVAT มีความเข้าใจและนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติที่ถูกต้องกับประเภทของกิจการ ติดตามความรู้ทางบัญชี ภาษี ได้ที่ บทความ – PEAK Blog (peakaccount.com)  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดทำบัญชีและภาษีได้อย่างมืออาชีพ ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK   ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ สอบถามเพิ่มเติม คลิก อ้างอิง: มาตรา 77_79 | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th) จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) (greenprokspforsme.com) TAX POINT จุดรับผิดทางภาษี | Prosoft ERP Tax point คือ อะไร เกิดขึ้นตอนไหน | Prosoft ERP

16 มี.ค. 2022

PEAK Account

19 min

เรื่องควรรู้! กฎหมายภาษีที่ส่งผลกระทบต่องานบัญชี

งานบัญชีมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งกฎหมายที่ใกล้ตัวนักบัญชีที่สุดคือ ประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากร รวมทั้งกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายศุลกากร, พระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และพระราชบัญญัติภาษีป้าย นอกจากนี้ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (บรรพ3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและบริษัท), พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 และพ.ศ.2547, พระราชบัญญัติประกันสังคม, พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น กฎหมายภาษีเป็นกฎหมายที่สำคัญ โดยเฉพาะประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นกฎหมายภาษีที่นักบัญชีทั้งในองค์กรและสำนักงานบัญชี ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ ลึกซึ้ง จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะมีความเกี่ยวพันกับงานบัญชีอย่างแยกไม่ออก ส่วนกฎหมายอื่นๆ นักบัญชีควรทราบถึงหลักการและแนวทาง พร้อมที่สืบค้นเพิ่มเติมเมื่อจำเป็น กฎหมายภาษีที่สำคัญที่มีผลกระทบต่องานบัญชีแบ่งออกเป็น  4 ประเภท โดย 3 ประเภทแรกเป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรและอีกประเภทหนึ่งเป็นกฎหมายภาษีอื่นๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากธุรกิจที่ต้องอาศัยนักบัญชี หรือจ้างสำนักงานบัญชีเป็นกิจการนิติบุคคล ได้แก่ ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นกฎหมายภาษีที่ส่งผลกระทบต่องานบัญชีในอันดับแรก ความหมาย ภาษีที่เก็บจากเงินได้ของผู้ประกอบการนิติบุคคลในรูปบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บตามประมวลรัษฎากร ฐานภาษี ฐานภาษี หมายถึง เงินได้ที่นำมาคำนวณภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจทั่วไปที่เป็นบริษัทจำกัด หรือ             ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ฐานภาษีได้แก่ กำไรสุทธิ ผู้ประกอบการต้องคำนวณกำไรสุทธิจากรายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีที่ผ่านมา โดยปกติเท่ากับ 12 เดือน ยกเว้น กรณีที่กฎหมายยอมให้มีรอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เพิ่งตั้งกิจการ รอบระยะเวลาบัญชีแรกจะน้อยกว่า 12 เดือน หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกิจการ ซึ่งถือวันที่เลิกกิจการเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี รอบระยะเวลาบัญชีก็จะน้อยกว่า 12 เดือน เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ ประมวลรัษฏากรได้กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิผู้ประกอบการต้องคำนวณกำไรสุทธิโดยใช้เกณฑ์สิทธิ จากรายได้ของกิจการที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี (แม้ว่าจะไม่ได้รับชำระเงินในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น) หักด้วยรายจ่าย ตามเงื่อนไขที่ระบุในมาตรา 65 ทวิและมาตรา 65 ตรี ดังนี้ ก. มาตรา 65 ทวิ เป็นการกำหนดเงื่อนไขในการหักค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ถาวร การตีราคาทรัพย์สิน การตีราคาสินค้าคงเหลือ  การจำหน่ายหนี้สูญ การคำนวณเงินปันผลเป็นรายได้ เป็นต้น ข. มาตรา 65 ตรี เป็นรายการที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ หรือเรียกว่ารายจ่ายต้องห้าม ได้แก่ รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว รายจ่ายที่กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง รายจ่ายที่ผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ เป็นต้น อัตราภาษี โดยปกติอัตราภาษีเงินได้สำหรับกิจการนิติบุคคลทั่วไปสำหรับ เท่ากับ 20% ของกำไรสุทธิ สำหรับธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและให้บริการ ในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ใช้อัตราภาษี ดังนี้ การยื่นแบบ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิจะต้องยื่นแบบแสดงรายการดังนี้ 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ กิจการจะต้องยื่นแบบภ.ง.ด.51 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี 2. ภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี กิจการจะต้องยื่นแบบภ.ง.ด.50 พร้อมชำระภาษี (ถ้ามี) ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax หรือ VAT) ความหมาย ภาษีที่เกิดจากการขายสินค้าหรือให้บริการ ในแต่ละขั้นตอนการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นภาษีที่จัดเก็บโดยกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร โดยผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านปีต่อปี มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีรายรับเกินดังกล่าว หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังจากจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. การจัดทำใบกำกับภาษี และออกใบกำกับภาษีทุกครั้งเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการ หรือเมื่อเกิดจุดรับผิดทางภาษี (Tax Point) 2. การจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ ฐานภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากฐานมูลค่าสินค้าหรือบริการหลังหักส่วนลดแล้ว โดยมีจุดความรับผิดทางภาษี มูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ดังนี้ ก. ธุรกิจขายสินค้า สำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าทั่วไป จุดความรับผิดทางภาษีเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้า แต่ถ้ากิจการได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ก่อนที่จะส่งมอบสินค้าก็ให้ถือว่าจุดรับผิดเกิดทางภาษีขึ้นทันที ได้แก่ 1. การโอนกรรมสิทธิ์สินค้า 2. ได้รับชำระค่าสินค้า 3. ได้ออกใบกำกับภาษี ข. ธุรกิจให้บริการ ธุรกิจที่ให้บริการทั่วไป Tax Point เกิดขึ้นเมื่อกิจการได้รับชำระค่าบริการ แต่ถ้ามีการดำเนินการต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนให้ Tax Point เกิดทันที 1. ได้ออกใบกำกับภาษี หรือ 2. ได้ใช้บริการนั้น ไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือบุคคลอื่น อัตราภาษี อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มปัจจุบัน ได้แก่ 1. อัตรา7% สำหรับธุรกิจขายสินค้าหรือบริการทุกประเภท รวมทั้งการนำเข้า 2. อัตรา0% สำหรับธุรกิจส่งออก การยื่นแบบ ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) ทุกเดือน ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป 3.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ความหมาย ภาษีที่ผู้จ่ายเงินที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักออกจากจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา โดยผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักและนำส่งภาษีที่ได้หัก ณ ที่จ่ายไว้ให้แก่กรมสรรพากรและออกหลักฐานหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงิน ฐานภาษีและอัตราภาษี ฐานภาษีของภาษีหัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ เงินได้ดังต่อไปนี้ (ในที่นี้จะกล่าวถึงประเภทค่าใช้จ่ายโดยทั่วไปที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของกิจการส่วนใหญ่ ตามมาตรา 3 เตรส) สำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวข้างต้น ถ้าการจ่ายเงินในครั้งนั้นๆ ไม่เกิน 1,000 บาท กรมสรรพากรกำหนดว่าไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้ามูลค่าการจ่ายเงินในแต่ละครั้งไม่เกิน 1,000 บาท มีสัญญาต่อเนื่อง เช่น ค่าบริการโทรศัพท์รายเดือน ค่าบริการอินเทอร์เน็ตรายเดือน เป็นต้น ผู้จ่ายเงินก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกงวด การยื่นแบบ 1. ภ.ง.ด.3 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกิจการที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 2. ภ.ง.ด.53 เป็นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้รับเงินเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้          นิติบุคคล โดยกิจการที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป 4.ภาษีอื่นๆ นอกจากประมวลรัษฎากร กฎหมายภาษีอื่นๆ ที่มีผลกระทบต่องานบัญชี ได้แก่ 4.1 ภาษีศุลกากร ความหมาย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าและผู้ส่งออก มีการกำหนดพิกัดอัตราศุลกากรตามประเภทสินค้า สำหรับโครงสร้างอัตราภาษีศุลกากร ประกอบด้วยพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า พิกัดอัตราศุลกากรขาออกและของที่ได้รับยกเว้นอากร โดยมีกรมศุลกากรเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบในการจัดเก็บ ฐานภาษีและอัตราภาษี สำหรับการจัดเก็บภาษีศุลกากร มีด้วยกัน 3 วิธี 1. ภาษีตามมูลค่า เป็นการจัดเก็บตามราคาหรือมูลค่า โดยจัดเก็บตามอัตราร้อยละของราคาสินค้า อากรขาเข้าเก็บจากราคา CIF (Cost Insurance and Freight) ส่วนอากรขาออก ใช้ราคา FOB (Free on Board) ประกอบด้วยราคาสินค้า บวกค่าระวางบวกค่าขนส่งลงเรือ 2. ภาษีต่อหน่วยหรือปริมาตร เป็นการจัดเก็บตามสภาพ โดยจัดเก็บตามน้ำหนัก ปริมาณ ปริมาตรหรือความยาวของสินค้า 3. การจัดเก็บตามราคาหรือสภาพแล้วแต่วิธีใดค่าอากรจะสูงกว่า 4.2 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ความหมาย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกนำมาใช้แทนการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เป็นภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคารโกดัง ที่ครอบครอง เป็นต้น โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล อบต.เป็นหน่วยงานที่จัดเก็บ สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือว่าเป็นประเภทที่เข้าข่ายการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นประโยชน์อื่น ได้แก่ ในเชิงพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม อาคารสำนักงาน โรงแรม ร้านอาหารและอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่การประกอบเกษตรกรรมและเป็นที่อยู่อาศัย ฐานภาษีและอัตราภาษี มูลค่าฐานภาษีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คือ มูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การนำส่งภาษี สำหรับการนำส่งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปี 2565 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทางองค์กรปกครองท้องถิ่นจะมีการออกหนังสือแจ้งครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและจะแจ้งการประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษีได้ชำระภาษีภายในเดือนเมษายน 2565 เมื่อกิจการได้รับหนังสือฯ ดังกล่าวควรตรวจสอบประเภทของการใช้ประโยชน์และอัตราภาษี ถ้าพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง สามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือฯ ถ้าไม่มีการคัดค้านการประเมินภายในกำหนดเวลา จะถือว่ากิจการยอมรับการประเมินดังกล่าวของเจ้าพนักงานและต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่ระบุไว้ในหนังสือฯ 4.3 ภาษีป้าย ความหมาย ภาษีป้ายคือภาษีที่จัดเก็บจากป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือ เครื่องหมายการค้า หรือประกอบกิจการอื่นๆ เช่น โฆษณาการค้าเพื่อหารายได้ โดยแสดงเป็นอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก บนวัสดุต่างๆ สำหรับป้ายที่ได้รับการยกเว้นภาษี ได้แก่ ก. ป้ายที่ติดภายในอาคาร ข. ป้ายที่มีล้อเลื่อน (โดยต้องมีการเลื่อนย้ายเข้าออก) ค. ป้ายชั่วคราว เช่น ป้ายตามงานอีเวนท์ที่จัดงานเป็นครั้งคราว ง .ป้ายของทางราชการ โรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน วัด สมาคม มูลนิธิ การยื่นแบบเสียภาษี เจ้าของป้ายเป็นผู้เสียภาษี ในกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ให้ผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็น         ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้ ภาษีป้าย กำหนดให้ยื่นแบบเสียภาษี ตั้งแต่เดือนมกราคม-31 มีนาคม ของทุกปี โดยชำระภาษีได้ที่สำนักงานเขตหรือผ่านธนาคารกรุงไทย นักบัญชีทั้งในองค์กรและสำนักงานบัญชีจึงควรศึกษากฎหมายภาษี โดยเฉพาะภาษีตามประมวลรัษฎากรให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ มีการอัปเดตความรู้กฎหมายภาษีอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยกิจการลดความเสี่ยงในการจ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่ม PEAK โปรแกรมบัญชี ช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้อง ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน! คลิก อ้างอิง: www.rd.go.th ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย กฎหมายที่นักบัญชีควรรู้ | โปรซอฟท์ คอมเทค (prosoft.co.th) ch14.pdf (udru.ac.th) ภาษีศุลกากร 5 ขั้นตอนเสียภาษีป้าย : รู้หรือไม่ครับว่า ป้ายที่ใช้ในธุรกิจนั้นต้องมีการเสียภาษีด้วย (dharmniti.co.th)

23 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

นักบัญชีเฮ! สรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีออนไลน์จนถึงปี 2570

รู้หรือไม่ว่าการยื่นแบบภาษีทั้งหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(ออนไลน์) ที่ได้สิทธิขยายเวลาเพิ่มเติมอีก 8 วัน จากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนั้น มีวันหมดอายุ แปลว่าถ้าสรรพากรไม่ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่มาต่ออายุการขยายเวลา เราก็จะไม่สามารถยืดระยะเวลาออกไปอีก 8 วันได้เลย ถ้ายืดเวลายื่นแบบไม่ได้ เท่ากับนักบัญชีต้องรีบทำบัญชีและภาษีให้เร็วขึ้นตามวันสิ้นสุดการยื่นแบบกระดาษเหมือนเดิมนั่นเอง การประกาศขยายเวลาการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต แต่ๆ ข่าวดีมาแล้ว กรมสรรพากรได้ออกประกาศกระทรวงการคลังมาเพื่อขยายระยะเวลาสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี โดยมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จนถึง 31 มกราคม 2570 รวมเป็นระยะเวลาถึง 3 ปีเลยครับ เชื่อว่ามีบางคนที่อ่านมาถึงจุดนี้ โดยเฉพาะมือใหม่ที่กำลังหัดยื่นภาษีว่าสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี นับยังไง เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ผมทำตารางสรุปมาให้แล้ว ตารางสรุปวันสิ้นสุดการยื่นแบบภาษี สิ่งที่ต้องทราบคือ กรณีที่บวกวันเพิ่มไปอีก 8 วันแล้วตกวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันสิ้นสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีออนไลน์จะขยับไปเป็นวันทำการถัดไปแทนครับ นักบัญชีที่เคยยื่นภาษีมาสักพักก็จะทราบดีว่า การยื่นแบบภาษีรอบแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นปกติ” แต่ถ้ามาตรวจพบทีหลังว่าทำแบบภาษีผิด เช่น มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีรายการมากเกินไป อาจต้องปรับปรุงแบบ ทำให้แบบที่ยื่นหลังครั้งแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นเพิ่มเติม” โอเคถ้าเข้าใจแล้ว ล่ะยังไงต่อ? ผมตอบว่าก็ไม่มีอะไรครับ แต่ๆๆ ปัญหาจะเกิดทันทีถ้าการยื่นครั้งแรกเป็นการยื่นแบบกระดาษ และต่อมามีการปรับปรุงจึงยื่นเพิ่มเติมไปเป็นแบบออนไลน์ แบบนี้จะยังได้สิทธิเพิ่มอีก 8 วันหรือไม่? จะสังเกตว่าการวิธีที่ใช้ยื่นแบบไม่เหมือนกันนั้น ส่งผลต่อการที่เราจะได้สิทธิหรือไม่ได้สิทธิขยายระยะเวลายื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน ผมได้สรุปเป็นตารางเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้ครับ ตารางเปรียบเทียบการยื่นแบบกระดาษ vs ยื่นแบบออนไลน์ การขยายเวลาการยื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน เท่ากับว่านักบัญชีจะมีระยะเวลาทำบัญชีและตรวจสอบภาษีได้ละเอียดมากขึ้น แต่ทำไมขยายเวลาแล้ว นักบัญชีก็ยังทำจนถึงวันสุดท้ายอยู่ดี อันนี้ก็ลองสอบถามนักบัญชีดูเล่นๆ ก็ได้นะครับ🤣 สรุป ตอนนี้นักบัญชีคงโล่งใจไปมากแล้วใช่ไหมครับ เรายังได้รับสิทธิขยายอีก 8 วันเหมือนเดิม และยังไม่พอสิทธินี้มีผลบังคับไปจนถึงเดือนมกราคม 2570 พูดง่ายๆ ก็คือ อีก 3 ปี คุณคือผู้โชคดี ขอแสดงความยินดีด้วยคร๊าบบ แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าจะได้สิทธิต้องเป็นการยื่นแบบภาษีผ่านทางออนไลน์เท่านั้นนะครับ เอ้า ทำไมล่ะ! ก็เพราะสรรพากรต่ออายุกฎหมายนี้เพื่อจูงใจให้คนหันมายื่นแบบภาษีทางออนไลน์แทนแบบกระดาษครับ ถือได้ว่าได้ทั้งประหยัดเวลา ไม่เปลืองกระดาษ เหมือนรักษ์โลกร้อนไปในตัวเลยยย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK มีฟังก์ชั่น PEAK Tax ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีจัดการภาษีให้เป็นเรื่องง๊าย ง่าย ช่วยทั้งทำแบบฟอร์มภาษี ปิดภาษีอัตโนมัติได้ทันที ช่วยประหยัดการทำภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

2 พ.ค. 2024

PEAK Account

30 min

เรื่องสำคัญของ “ใบกำกับภาษี” ที่เจ้าของกิจการควรรู้ และใครออกได้บ้าง?

ประเด็นสำคัญ : ใบกำกับภาษีคืออะไร ใบกำกับภาษี (Tax invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยใบกำกับภาษีจะแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง  โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ย่อมาจาก Value added tax) เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต ทั้งที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติผู้ประกอบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรโดยการยื่นแบบภ.พ.30  ใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษีแต่ละประเภท กรมสรรพากรได้แบ่งประเภทของใบกำกับภาษีออกเป็น 7 ประเภทดังนี้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดของใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเท่านั้น เนื่องจากเป็นประเภทใบกำกับภาษีที่กิจการส่วนใหญ่ใช้งาน การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไปมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ (เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายการดังต่อไปนี้ 1. ตำแหน่งที่แสดงคำว่า “ใบกำกับภาษี” คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน โดยใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังนี้ 2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบกำกับภาษี 2.1 ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้ แต่กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้ได้รับใบกำกับภาษีที่เป็นนิติบุคคล สามารถใช้คำย่อสำหรับบอกสถานะได้ เช่น บริษัทจำกัด ใช้คำว่า บ. ……จก. หรือ บจ., ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำว่า หจก. เป็นต้น 2.2 ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) กรณีที่เป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือ “HO” หรือ “HQ” หรือ ระบุเป็น ตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย กรณีที่เป็นสาขา ให้ระบุคำว่า “สาขาที่…”, “Branch No. …”, ”br.no. …” หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่…” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย ข้อสังเกต 2.3 เลขประจำตัวผู้เสียอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี       ข้อสังเกต ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เฉพาะกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แต่ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเมื่อออกใบกำกับภาษี 3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3.1 ชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.2 ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อสังเกต การระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จะตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับตราด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ 4. รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม  (ถ้ามี)” ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับ จะไม่สามารถนำไปคำนวณภาษีซื้อได้ 5. รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ” ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษีด้วย ให้กระทําได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้า หรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 6. รายการ “จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง” 7. รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี” วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสําคัญที่ประมวลรัษฎากรกําหนดให้ต้องมีในใบกํากับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น คือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ได้รับชําระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกํากับภาษี โดยวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้ ภาพตัวอย่างใบกำกับภาษี วิธีการจัดทํารายการของใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ออกใบกำกับภาษีได้เมื่อไร หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีมีการกำหนดจุดรับรู้ภาษีซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิ์และหน้าที่ในการเรียกเก็บ VATจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการรวมไปถึงการออกใบกำกับภาษีตามมา ซึ่งจุดรับรู้ภาษีแบ่งออกตามกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การขายสินค้า ในการขายสินค้า โดยส่วนใหญ่มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่ หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการขายสินค้า แบ่งออกเป็น 3 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 1.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ในการขายสินค้าทั่วไป กิจการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าผู้ขายยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้า กรณีนี้พบมากที่สุดในการขายสินค้า 1.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการรับชำระเงินสำหรับค่าสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ยังไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าก็ตาม กิจการก็ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า กรณีนี้เกิดจากการรับชำระค่าสินค้าใน รูปแบบเงินมัดจำก่อนส่งมอบสินค้า 1.3 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ก็ต้องออกใบกำกับภาษีทันทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการส่งมอบสินค้า หรือยังไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าก็ตาม 2. การให้บริการ ในการให้บริการของกิจการ มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่  หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 2.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการก่อนการให้บริการ   เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการให้บริการ 2.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการก่อนการรับชำระค่าบริการ เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการรับชำระเงินก็ตาม ในทางปฏิบัติ การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการมักจะออกใบกำกับภาษีเมื่อรับชำระค่าบริการ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการให้บริการก็ตาม ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการควรออกใบกำกับภาษีถึงแม้ว่ากิจการจะยังไม่ได้รับชำระเงิน แต่มีการให้บริการก่อนรับชำระเงิน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป การให้บริการและการรับชำระเงินมักจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยมากจะเป็นการรับชำระเงิน ก่อนการให้บริการ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าในการให้บริการ การออกใบกำกับภาษี กิจการจะออกเมื่อมีการรับชำระเงิน สิ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำ ก็คือ การจัดทำทั้งต้นฉบับใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ตลอดจนเก็บรักษาเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) โดยเก็บไว้ที่สถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้จัดทำใบกำกับภาษี “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีหรือไม่ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีอย่างแน่นอน เนื่องจากใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกให้ลูกค้า โดยใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีดังนี้ จุดที่ต้องระวังในการออกใบกำกับภาษี ในการออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนดนั้นมีจุดที่ควรระวัง ดังต่อไปนี้ 1. สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี สิ่งที่ต้องระวังเป็นอันดับแรกในการออกใบกำกับภาษี ก็คือ สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี กิจการใดที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการนั้นสามารถออกใบกำกับภาษีได้ แต่หากกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีการออกใบกำกับภาษี จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย 2. ระบุรายละเอียดในใบกำกับภาษีให้ครบถ้วน ในการออกใบกำกับภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นชื่อที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าและบริการ รายละเอียดราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น 3. ออกใบกำกับภาษีให้ทันต่อสถานการณ์ ทุกครั้งเมื่อเกิดจุดความรับผิดในการเสียมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ในการขายสินค้าและบริการขึ้นมา ผู้ประกอบการจะต้องมีการออกใบกำกับภาษีเพื่อส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าและบริการนั้นทันที หากละเลย หรือฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. ไม่หลงลืมการเสียภาษี เมื่อมีการออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าและบริการขึ้นมาแล้วนั้น กิจการต้องไม่ลืมที่จะลงรายงานภาษีขาย และจ่ายภาษีให้ถูกต้องเป็นประจำ มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมายเช่นเดียวกัน 5. แสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้า ในกรณีที่ใบกำกับภาษีเกิดมีความผิดพลาดใดๆ ที่ทำให้ต้องมีการแก้ไขข้อมูล หรือยกเลิกใบกำกับภาษีดังกล่าวนั้น กิจการต้องดำเนินการให้เรียบร้อยโดยไม่ขาดตกบกพร่อง การขายสินค้าและบริการที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามปกติแล้วผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการขายสินค้าและบริการ จะต้องมีการออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แต่ในบางกรณีกรมสรรพากรก็มีการยกเว้นเช่นกัน สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีการขายสินค้าหรือบริการครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องออกใบกำกับภาษีนั้นจะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ สรุป จากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าต้องออกใบกำกับภาษีกิจการก็จะมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษี จุดที่ต้องออกใบกำกับภาษี มีความเข้าใจว่าต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไร ซึ่งมีผลต่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตรงตามงวดเวลาในการขายสินค้าหรือให้บริการ PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยกิจการเตรียมเอกสารทางบัญชีและสร้างเอกสารทางออนไลน์ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ในแบบที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นใบเสนอราคา ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ทั้งยังรองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการรับชำระเงินผ่าน QR CODE เมื่อสร้างเอกสารแล้ว ระบบจะบันทึกรายการบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้กิจการออกใบกำกับภาษี ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามงวดเวลาและยื่นแบบได้ภายในกำหนดเวลา รวมทั้งบันทึกบัญชีได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม อ้างอิง:ประเภทของใบกำกับภาษี | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? (peakaccount.com),7 ตุลาคม 2564taxinvoice.pdf (rd.go.th), คู่มือใบกำกับภาษี, กรมสรรพากร

31 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร

ประเด็นสำคัญ  เรียกได้ว่าเหล่าร้านค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างหนักเลยทีเดียว เมื่อกรมสรรพากรได้ออกกฎหมายบังคับให้กลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Line, Grab และอื่นๆ ต้องนำส่งข้อมูลรายได้ บัญชีธนาคาร เลขบัตรประชาชน ทั้งหมดของร้านค้าที่ขายสินค้าหรือให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นให้แก่กรมสรรพากรทุกปี มีผลบังคับใช้เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 รายละเอียดเชิงลึกมีอะไรบ้าง เรามาดูกันต่อครับ ทำไมกรมสรรพากรต้องบังคับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ส่งรายได้ของร้านค้าออนไลน์? ก่อนหน้านี้สรรพากรเคยออกกฎหมาย E-payment ที่บังคับให้เหล่าธนาคาร หรือผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ต้องนำส่งรายการบัญชีของผู้ฝากเงินที่เข้าเงื่อนไขที่มีเงินเข้า 3,000 ครั้ง หรือเงินเข้า 400 ครั้งและมียอดเกิน 2 ล้านบาทให้แก่กรมสรรพากร เพื่อตรวจจับบุคคลที่หลีกเลี่ยงภาษีหรือส่งภาษีไม่ครบ ส่วนตัวเชื่อว่าวิธีการดังกล่าว บางครั้งก็พิสูจน์ได้ยากว่าเงินรับมาจากรายได้หรือเงินโอนทั่วไป และยังมีช่องโหว่ในการหลบหลีกเพื่อไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว กรมสรรพากรจึงหาแนวทางใหม่เพิ่มเติมที่ตรงประเด็นมากขึ้น โดยเล็งเป้าไปยังกลุ่มผู้ค้าขายออนไลน์ที่ยังมีแนวโน้มว่าส่งภาษีไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง  แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร รายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดอยู่ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องนำส่งข้อมูลร้านค้าออนไลน์ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ได้แก่ 1. จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย และ 2. มีรายได้เกิน 1 พันล้านบาทต่อปี PEAK ขอเล่า : ร้านค้าออนไลน์จะต้องถูกนำส่งข้อมูลอะไรบ้าง? จากเอกสารแนบที่กรมสรรพากรกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำส่ง ผมขอสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องถูกนำส่งไว้ ดังนี้ครับ 1. เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล 2. ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อนิติบุคคล 3. จำนวนรายได้ที่ใช้คิดฐานคำนวณค่านายหน้าและค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (พูดง่ายๆ คือ รายได้ทั้งหมดของร้านค้าแต่ละร้าน) 4. ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ นั่นแปลว่ากรมสรรพากรจะรู้รายได้ของร้านค้าอย่างละเอียด ทุกบาท ทุกสตางค์ และรู้ว่าร้านค้าชื่ออะไร และใช้บัญชีอะไรในการรับรายได้อีกด้วย พออ่านมาถึงตรงนี้ผู้ประกอบการคงเริ่มขนลุกกันแล้วใช่ไหมละคร๊าบบ ข้อมูลจะถูกส่งให้กรมสรรพากรเมื่อไหร่? กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้อมูลรายได้ที่ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าหรือให้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นรอบบัญชีของแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตัวอย่าง เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์ S จะต้องนำส่งข้อมูลรายได้ของร้านค้าทุกร้านที่ขายบนแพลตฟอร์ม S ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 (150 วัน) PEAK ขอเล่า : กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร? เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนคงมีคำถามในใจกันแล้ว แต่คำตอบนั้นก็อาจจะไม่ได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองในฝั่งไหน เช่น ในมุมของคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องมาโดยตลอด เขาจะเชื่อว่ากฎหมายนี้จะส่งเสริมความเป็นธรรมในการค้าขายมากขึ้น เพราะเดิมคู่แข่งไม่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ทำให้คู่แข่งขายสินค้าได้ดีกว่าเพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และเกิดกระแสเงินสดที่มากกว่า แต่ในมุมของคนที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนหรือหลีกเลี่ยง กฎหมายตัวนี้จะเข้ามาปิดช่องโหว่แทบทุกด้านที่เคยมีอยู่ ทำให้การหลีกเลี่ยงยากมากขึ้น  สุดท้ายนี้กฎหมายฉบับนี้จะบังคับให้ทุกคนทำบัญชี ภาษีได้ถูกต้องมากขึ้น ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อม โดยเริ่มจากเก็บเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้อง หรือหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือมาช่วยจัดการ รวมถึงการหาโปรแกรมจัดการด้านบัญชีที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์มาลงบันทึกบัญชีได้แบบเรียลไทม์  ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก หรือสนใจโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Shopee Lazada TikTok ทดลองใช้ฟรี 30 วัน คลิก 

24 ม.ค. 2024

PEAK Account

12 min

เช็กลิสต์มาตรการรัฐ สร้างการเติบโตของธุรกิจในยุคดิจิทัล

เมื่อโลกเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันก็ต้องมีการปรับตัวให้รองรับกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เช่น เรื่องช่องทางการขาย การชำระเงิน การจัดการบัญชี ภาษีต่างๆ ก็มีการนำเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยสร้างการทำงานในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยรัฐบาลเองมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านดิจิทัลอย่างเป็นระบบ ดังตัวอย่างของมาตรการภาครัฐต่อไปนี้ที่จะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ e-Payment ชำระเงิน สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ทุกธุรกิจ    ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์มาตรการภาครัฐที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มีระบบรองรับการชำระเงินทางออนไลน์ที่ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับการใช้งานเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการการเงินและทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำธุรกรรม โดยเฉพาะในส่วนของผู้ประกอบการที่นำระบบ e-Payment มาใช้ในธุรกิจ นอกจากจะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายแก่ลูกค้าแล้ว ยังเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินของธุรกิจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย  สำหรับเงื่อนไขของกฎหมายภาษี  e-Payment เป็นสิ่งที่เจ้าของกิจการ ร้านค้าต่างๆ ควรศึกษารายละเอียดอย่างแม่นยำ เพื่อการปฏิบัติทางกฎหมายที่ถูกต้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 ที่มีสาระสำคัญคือการกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล โดยมีเงื่อนไขดังนี้       e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัล e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นมาตรการภาครัฐในการออกใบกํากับภาษีในรูปแบบใหม่ที่กรมสรรพากรได้พัฒนาขึ้นมาใช้แทนการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ โดยจะปรับเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดเป็นในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางระบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถึงกรมสรรพากรได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านช่องทางอีเมล หรือเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ในทันท่วงที ไม่ต้องจัดเตรียม และรวบรวมใบกํากับภาษีแบบกระดาษอีกต่อไป นอกจากนั้นการจัดทำใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจอีกหลายประการ ได้แก่ การลดต้นทุนแฝงอย่างเช่น ค่ากระดาษ ค่าหมึกพิมพ์ ค่าจัดส่ง ค่าจัดเก็บใบกำกับภาษี การป้องกันเอกสารสูญหายหรือได้รับความเสียหาย นอกจากนั้น e-Tax Invoice ยังรองรับสิทธิประโยชน์จากทางภาครัฐ อย่างโครงการ การช้อปดีมีคืนในปี 2566 และล่าสุดกับโครงการ Easy E-Receipt เป็นต้น โดย e-Tax Invoice นั้นแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. e-Tax Invoice by Time Stamp เป็นระบบการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เกิดขึ้นจากความร่วมมือของกรมสรรพากรกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้ ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี หรือมีการออกใบกำกับภาษีจำนวนไม่มาก ได้ตระหนักถึงความสะดวกของการออกและใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนสำหรับผู้ประกอบการที่จะพัฒนาไปสู่ระบบการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์แบบในอนาคต  2. e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นระบบที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ประกอบการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบเสร็จรับเงินในรููปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการด้วยช่องทางทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ตกลงกัน รวมถึงการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรผ่านช่องทางที่กรมสรรพากรกำหนดด้วย Easy E-Receipt  โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล Easy E-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท นับเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จะสร้างการขายสินค้าและบริการตามที่โครงการกำหนด 2 มาตรการภาษี  โอกาสดีๆ สำหรับผู้ประกอบการ เป็นการขยายเวลาต่อเนื่องสำหรับมาตรการภาครัฐที่กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์และส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักรายจ่ายการลงทุนในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax รวมถึงหักรายจ่ายค่าบริการระบบดังกล่าวได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568  มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 -31 ธันวาคม 2568” จะมีการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เหลืออัตราร้อยละ 1 ทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดต้นทุนในการจัดทำและการจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งยังช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย PromptBiz  ตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัล สร้างระบบการทำงานแบบมืออาชีพ PromptBiz คือ โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินกลางสำหรับภาคธุรกิจ ทำให้เกิดการทำธุรกิจแบบดิจิทัลที่สามารถข้ามธนาคารได้อย่างครบวงจร โดยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าและการชำระเงิน ตั้งแต่ข้อมูลใบแจ้งหนี้ การวางบิล การชำระเงิน จนถึงการออกใบเสร็จ โดย PromptBiz จะมีบริการ 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ บริการด้านการค้าและการชำระเงิน และบริการด้านสินเชื่อ PromptBiz จะเปลี่ยนเอกสารทางการค้าจากรูปแบบกระดาษมาเป็นเอกสารดิจิทัลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางบิล รับวางบิล ตรวจสอบความถูกต้อง และชำระเงินผ่านแพลตฟอร์ม พร้อมจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมไปถึงการทำรายการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ  ขณะเดียวกันระบบ PromptBiz จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SMEs ได้เป็นอย่างดี