บัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

19 ก.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial Accounting Tax Accounting วัตถุประสงค์ บัญชีการเงิน บัญชีภาษี เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษี มาตรฐาน/กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร  ความรู้ที่ใช้ บัญชีตามมาตรฐาน กฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 มิ.ย. 2024

จักรพงษ์

18 min

ผู้ประกอบการแยกบัญชีให้ชัด! เงินกิจการ ไม่เท่ากับ เงินของคุณ

“ธุรกิจของฉันต้องขาดทุนอยู่แน่” เป็นเสียงของผู้ประกอบการคนหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังสงสัยในใจว่าธุรกิจก็เหมือนจะขายได้ดี แต่ทำไมเงินไหลออกไปเร็ว เหมือนไม่มีเงินเก็บ  และจากประสบการณ์ของผม ความสงสัยนี้ก็คงไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการท่านนี้เท่านั้น แต่มักเกิดกับผู้ประกอบการที่ไม่แยกบัญชี หรือใช้เงินส่วนตัวกับเงินกิจการปะปนกัน จนแยกไม่ได้ว่าได้รับเงินมาแล้ว จ่ายค่าใช้จ่ายของธุรกิจ หรือใช้จ่ายส่วนตัวไปเท่าไหร่ ซีรีส์ “10 กฎพื้นฐานด้านการเงินสำหรับ SMEs” จะพาทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ มือเก่า รวมถึงคนที่สนใจ ไปค้นพบคำตอบของคำถามพื้นฐานทางการเงินที่ผู้ประกอบการทุกคน “ไม่รู้ไม่ได้” และในบทความนี้จะเราเริ่มต้นด้วยความสำคัญการแยกกระเป๋าเงินที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สร้างผลกระทบเชิงลบและเชิงบวกต่อตัวผู้ประกอบการเองอย่างมหาศาลครับ ทำไมเงินกิจการ ไม่เท่ากับ เงินของคุณ? สมมติว่าเราเปิดร้านขายของชำ ใน 1 เดือน ขายขนมได้เงิน 1,000 บาท แต่มีรายจ่ายทั้งธุรกิจและส่วนตัว 1,500 บาท ถามว่า “ธุรกิจนี้กำไรหรือขาดทุนครับ?” คำตอบคือ อาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้ เพราะเราไม่เคยมีการแยกกระเป๋าเงินของธุรกิจกับเงินส่วนตัวออกจากกัน ถ้าเรามีการแยกบัญชีการเงินที่ระหว่างเงินที่รับจ่ายจากธุรกิจ และเงินที่จ่ายเพื่อเรื่องส่วนตัวได้อย่างถูกต้อง คำตอบอาจเป็นได้ 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 800 บาท แปลว่าธุรกิจมีกำไร 200 บาทกรณีที่ 2 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 1,000 บาทเท่ากัน แปลว่าธุรกิจไม่มีกำไรหรือขาดทุนกรณีที่ 3 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 1,100 บาท แปลว่าธุรกิจมีขาดทุน 100 บาท สรุป คือ ถ้าเป็นกรณีแรกธุรกิจจริงไปได้สวย มีกำไร 200 บาท แต่ที่เงินไม่พอเพราะจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าอาหาร ค่าเที่ยว เกินกำไรที่ธุรกิจทำมาได้ หรือในกรณีที่สาม นอกจากธุรกิจขาดทุนโดยไม่รู้ตัว ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนตัว ทำให้เงินสดยิ่งติดลบจนต้องเอาเก็บเงินมาใช้แทน  PEAK ขอเล่า : ตรรกะก็ดูเข้าใจง่ายนะ แต่ทำไมเราไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้องล่ะ?   ก็เพราะเราไม่แยกเงินธุรกิจกับเงินส่วนตัวให้ชัดเจน เพราะมันมั่ว ปนกัน ตอนทำบัญชีรับรองว่าผิดแน่นอน ยิ่งถ้าบัญชีผิด แล้วเอาข้อมูลทางบัญชีไปตัดสินใจอีก รับรองว่าอนาคตพังแน่นอน จะคาดหวังให้นักบัญชีทำให้ถูกต้องก็ไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการบอกไม่ได้ว่าจ่ายเงินเป็นค่าอะไรไปบ้าง หรือรายรับนี้มาจากรายได้บริษัทหรือเงินส่วนตัว ถามไปทีหลังผู้ประกอบการก็ลืมที่ไปที่มาไปหมดแล้ว สิ่งที่นักบัญชีทำได้คือลงบัญชีตามเงินที่เข้าและออก โดยไม่รู้ที่ไปที่มาของเงินเหล่านั้น และปัดไปเข้าบัญชีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการที่เป็นปัญหาระดับชาติในปัจจุบันนี้ 4 ปัญหาจากการไม่แยกเงินธุรกิจ และเงินส่วนตัว ในเชิงการตัดสินใจ พอเราไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง เราอาจพบความผิดพลาดได้ 2 กรณี คือ หนึ่ง ธุรกิจมีกำไร แต่เราใช้จ่ายส่วนตัวมากกว่ากำไรจึงคิดว่าธุรกิจขาดทุน จึงปิดกิจการไป หรือ สอง ธุรกิจขาดทุน แต่เราไม่รู้ตัว คิดว่ายังได้กำไรและทำธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ ไม่ว่าแบบไหนก็ไม่ดีทั้งสองกรณี เราจะคงโชคดีมากๆ ถ้าเราตัดสินใจได้ตรงกับสิ่งที่เราไม่รู้ เช่น คิดไปเองว่าธุรกิจมีกำไรและธุรกิจก็มีกำไรจริงๆ อันนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนใหญ่เราไม่ได้โชคดีแบบนั้น แต่กลับตัดสินใจตรงข้ามกับความเป็นจริงมากกว่า ดังนั้น4 สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ 1. ข้อมูลทางบัญชีผิดพลาด ไม่ถูกต้อง  ไม่สามารถนำไปใช้ตัดสินใจอะไรเลย และผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้เรื่องนี้อยู่แล้ว จึงมักไม่สนใจที่จะดูหรืออ่านงบการเงินของตัวเองเลย พอถึงรอบการส่งงบการเงินที่เซ็นตามที่นักบัญชีให้เซ็นเพื่อส่งภาครัฐเท่านั้น 2. โดนปรับภาษีย้อนหลัง  เมื่อข้อมูลทางบัญชีผิด ก็ยื่นภาษีก็มักจะผิดตาม เพราะข้อมูลเพื่อยื่นภาษีปกติจะอิงข้อมูลที่บันทึกบัญชีอยู่แล้ว ซึ่งเกือบ 100% ถ้าสรรพากรลงตรวจกิจการเมื่อไหร่ ผู้ประกอบการมักจะโดนปรับเสมอ บางรายไม่มีเงินจ่ายภาษีถึงขั้นต้องปิดกิจการไปเลย 3. เข้าถึงแหล่งเงินทุน เงินกู้ยาก ข้อมูลทางบัญชีที่บอกแหล่งที่มาไม่ได้ หรือมีอัตราส่วนทางการเงินที่แปลกประหลาด ธนาคารหรือผู้ลงทุนสามารถพบเห็นข้อสังเกตเหล่านี้ได้ไม่ยาก ถ้าผู้ประกอบไม่สามารถตอบหรือชี้แจงได้ จะถือว่างบการเงินขาดความน่าเชื่อถือ และโอกาสมีน้อยมากที่จะได้รับเงินทุนหรือเงินกู้ 4.  ปิดกิจการไม่ได้  ถ้าสังเกตในงบการเงินของธุรกิจที่ไม่แยกกระเป๋าเงินจะพบว่า มักมีบัญชีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการจำนวนมาก ที่เกิดจากการปัดตัวเลขของนักบัญชีมาใส่ที่บัญชีนี้ เพราะไม่รู้ว่ารายจ่ายหรือรายรับมาจากแหล่งไหน ไม่มีเอกสารประกอบเพราะผู้ประกอบการไม่รู้ ตอบคำถามไม่ได้ ผลอย่างหนักที่ตามมา คือ บางกิจการยอดบัญชีเหล่านี้สูงมาก เมื่อถึงวันเลิกกิจการ จะไม่สามารถปิดกิจการได้ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำเรื่องเงินธุรกิจและเงินส่วนตัว  ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า นิสัยทางการเงินที่ไม่ดี อย่างการไม่แยกกระเป๋าเงินธุรกิจและส่วนตัวส่งผลเสียอย่างไร ต่อไปเราก็ต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งสรุปออกได้ 5 ข้อ ดังนี้ 1. จ่ายค่าใช้จ่ายด้วยเงินสด ปัญหาสุดคลาสิกที่ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง คือ การจ่ายค่าใช้จ่ายด้วยเงินสด ลองจินตนาการว่าเอาเงินกิจการและเงินส่วนตัวไว้ในกระเป๋าเดียวกัน คำถามคือ เงินที่เราควักจ่ายไปแต่ละครั้งเป็นเงินส่วนตัวหรือเงินบริษัท ยิ่งถ้าจ่ายไปโดยไม่จดรายละเอียดทันที รับรองว่างง! หนึ่ง เราจะจำไม่ได้ว่าเงินหายไปไหนจ่ายค่าอะไร และสอง จะตอบไม่ได้ว่าเงินที่เหลืออยู่ 500 บาท เหลือเป็นของกิจการและส่วนตัวกี่บาท 2. โอนเงินบริษัท เข้าบัญชีส่วนตัว เมื่อเงินของกิจการเข้ามาปะปนในบัญชีเงินฝากส่วนตัว ทำให้พิสูจน์ได้ยากทั้งขารายรับและรายจ่ายว่า บรรทัดในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของกิจการหรือของส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะลืมและตอบไม่ได้ 3. นำค่าใช้จ่ายส่วนตัว มาเบิกกิจการ มีความเชื่อผิดๆ ของผู้ประกอบการบางคนที่คิดว่าการเอาเงินกิจการจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัว จะทำให้งบการเงินมีกำไรน้อยลง ทำให้เราเสียภาษีน้อยลงไปด้วย อย่างแรกถูกที่งบการเงินจะมีกำไรน้อยลง แต่อย่าลืมว่าตอนที่คำนวณภาษี ตัวค่าใช้จ่ายส่วนตัวจะถูกบวกกลับทำให้กำไรกลับมาสูงเหมือนเดิม ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ได้ช่วยประหยัดภาษีใดๆเลย ข้อเสียที่สอง คือ แม้กำไรจะน้อยลง แต่งบการเงินจะไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงของธุรกิจว่าจริงๆแล้วมีกำไรหรือขาดทุน เพราะรายจ่ายทั้งธุรกิจและส่วนตัวจะไปรวมเป็นของธุรกิจ ทำให้งบการเงินมีโอกาสขาดทุนสูงมากจนอาจทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดได้ 4. ใช้เงินส่วนตัวจ่ายให้กิจการ ผู้ประกอบการสามารถสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายบางประเภทแทนกิจการไปก่อนได้ การทำแบบนี้ต้องมีการจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่ดีว่ากรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรไปแทนบ้าง และมีการเบิกคืนครบถ้วนหรือไม่ กรณีที่ผู้ประกอบการจ่ายไปไม่ได้จดบันทึก ส่งผลให้เงินส่วนตัวลดลง และค่าใช้จ่ายของกิจการน้อยไปอีกเพราะไม่ได้บันทึกบัญชี 5. ไม่จ่ายเงินเดือนให้ตัวเองเลย บางคนมองว่าเงินกิจการก็เงินของเรา เพราะเราก็เป็นเจ้าของธุรกิจเอง ในแง่ความเป็นจริงการคิดแบบนั้นก็ถูกครับ แต่จะคิดแบบนั้นในทางบัญชีและภาษีไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำในรูปแบบนิติบุคคล เพราะผู้ประกอบการกับกิจการเป็นคนละบุคคลแยกต่างหากจากกันจึงต้องทำบัญชีและส่งภาษีของใครของมัน ถ้าเราอยากได้เงินส่วนแบ่งของธุรกิจมานั้น จริงๆมีหลายวิธี แต่พื้นฐานที่เราควรทำคือ การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง ซึ่งหลายคนลืมไปว่าการที่เราลงมาทำธุรกิจเองก็มีต้นทุนเหมือนกัน การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองนอกจากจะช่วยให้เราดึงเงินออกจากกิจการได้อย่างถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้กิจการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเสียภาษีน้อยลงด้วยครับ 3 เครื่องมือใช้จัดการเงินเพื่อความสะดวก  “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” ไม่ต้องกลัวว่าทำผิดมาแล้วจะกลับตัวไม่ทัน สบายใจได้เลย เรื่องเหล่านี้แก้ไขได้ครับ ยิ่งแก้ไขเร็วยิ่งดี เพราะเราจะสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ไม่พอยังลดความเสี่ยงค่าปรับภาษีย้อนหลังอีกด้วย สำหรับเครื่องมือที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาความปะปนเงินธุรกิจกับเงินสดส่วนตัว มี 3 เครื่องมือที่น่าสนใจ และมีประโยชน์มากๆ ได้แก่ 1. เปิดบัญชีธนาคารเพื่อกิจการ แนะนำให้กิจการมีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตัวเอง ไม่ควรเก็บเงินในรูปของเงินสด เพราะมีความเสี่ยงมากมายตามที่ได้พูดไว้ก่อนหน้า นอกจากเรื่องของระบบบัญชีที่ดีแล้ว ช่วยในเรื่องของควบคุมภายในที่ดีและ และยังได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินอีกด้วย บางกรณีบัญชีธนาคารในชื่อกิจการอาจทำธุรกรรมไม่สะดวก เช่น จ่ายเงินด้วย QR Code ไม่ได้ การจ่ายเงินทำหลายขั้นตอนมากขึ้น ถ้ากิจการยังขนาดเล็กต้องการความคล่องตัวอาจเลือกวิธีเปิดบัญชีธนาคารเป็นชื่อกรรมการ แต่มีไว้ใช้เพื่อรับหรือจ่ายเงินของกิจการแทนได้ 2. บัตรเครดิตบุคคลเพื่อกิจการ หลายครั้งกิจการไม่ต้องการจ่ายเป็นเงินสด เพราะเป็นเงินก้อนใหญ่ หรือสะดวกต่อการชำระเงินในต่างประเทศ อาจจะใช้บัตรเครดิตมาเป็นเครื่องมือช่วยจัดการ ซึ่งเกือบทุกธนาคารในไทยเปิดให้สมัครบัตรเครดิตในนามนิติบุคคลได้เช่นกัน เช่นเดียวกับบัญชีธนาคาร ถ้ากิจการยังขนาดเล็กต้องการความคล่องตัวอาจเลือกใช้บัตรเครดิตเป็นชื่อกรรมการ แต่มีไว้ใช้เพื่อรับหรือจ่ายเงินของกิจการเพียงเท่านั้นได้ 3. เงินสดย่อย กรณีที่หลีกเลี่ยงการใช้เงินสดไม่ได้เลย แนะนำให้มีระบบเงินสดย่อย เป็นการจัดสรรการใช้เงินสดให้ชัดเจน เช่น ให้พนักงานถือเงินสดได้สูงสุดไม่เกิน 5 พันบาท ซึ่งเรียกว่า “เงินสดย่อย” เมื่อไหร่ที่ใช้เงินจนหมด ให้เบิกเงินจากธนาคารมาเติมวงเงินให้เต็ม 5 พันบาทเหมือนเดิม โดยการเบิกนี้ต้องมีเอกสารรายจ่ายประกอบด้วยว่า 5 พันบาทนั้นจ่ายค่าอะไรไปและมีมูลค่ากี่บาทเพื่อข้อมูลทางบัญชีที่ถูกต้อง ครบถ้วน ถ้าลองสังเกตดูจะเห็นว่า ไม่ว่าเราจะใช้เครื่องมือใดๆ ก็ตาม วัตถุประสงค์จะเหมือนกัน คือ เพื่อแยกเงินธุรกิจไม่ให้ปนกับเงินส่วนตัว แปลว่าท่านผู้อ่านอาจใช้วิธีง่ายๆ อย่างอื่นมาใช้แทนก็ได้ ถ้าตราบใดที่ทำให้เงินมีความถูกต้อง แบ่งแยกได้ครับ การแยกกระเป๋าเงินธุรกิจและเงินส่วนตัวออกจากกันเป็นสิ่งที่ต้องทำ! หลายธุรกิจเจ๊งเพราะไม่เคยให้สำคัญกับเงินสดมากนักต่อนักแล้ว เพราะชอบคิดว่ามันก็คือเงินของเราทั้งคู่ แต่ถ้าเราไม่แยกให้ชัดเจน เราจะไม่รู้เลยว่าธุรกิจกำไรหรือขาดทุน สภาพคล่องเงินสดเพียงพอหรือไม่  สำหรับ EP ถัดไป ผมจะไขข้อสงสัยแก่ผู้ประกอบการที่เคยสงสัยว่าธุรกิจกำไรน้อย ทำไมเสียภาษีเยอะ หรือขาดทุนแต่ก็ยังต้องเสียภาษี ขอแง้มๆไว้ก่อนว่า เพราะ “เรื่องบัญชีไม่เท่ากับภาษี” ถ้าอยากรู้มากกว่านี้แล้วรอติดตามตอนถัดไปได้เลยครับ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

13 มิ.ย. 2024

PEAK Account

10 min

ปิดงบการเงินเสร็จแล้ว…ต้องขอเอกสารอะไรบ้างจากสำนักงานบัญชี?

การปิดงบการเงินถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการปิดงบของงานบัญชี แต่ยังมีเอกสารสำคัญอีกหลายรายการที่ผู้ประกอบการควรขอคืนจากสำนักงานบัญชีเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้นในบทความนี้จะพาผู้ประกอบการมาเช็กลิสต์เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ทำไมต้องขอเอกสารคืนจากสำนักงานบัญชี? โดยทั่วไป การปิดงบการเงินจะดำเนินการโดยการจ้างสำนักงานบัญชีหรือนักบัญชีที่รับทําบัญชีปิดงบ ซึ่งจะทำการบันทึกรายการธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในช่วงรอบบัญชี ปรับปรุงบัญชี ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และจัดทำงบการเงิน  แต่หลังจากปิดงบแล้ว ผู้ประกอบการควรขอเอกสารคืนด้วย การขอเอกสารคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบ มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการหลายประการ ช่วยให้มีหลักฐานครบถ้วน ป้องกันความเสี่ยง และประกอบการทำธุรกรรมอื่นๆ ได้สะดวก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรเก็บเอกสารทางบัญชีไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงและเพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบในอนาคต นอกจากเอกสารที่ระบุข้างต้นแล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมจากสำนักงานบัญชีได้ตามความต้องการ 1. เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน เอกสารทางบัญชีเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ประกอบการตรวจสอบภาษี หรือใช้ประกอบธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ 2. เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางบัญชี เปรียบเทียบกับเอกสารต้นฉบับ เผื่อมีข้อผิดพลาด 3. เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ข้อมูลในเอกสารทางบัญชีสามารถนำมาวิเคราะห์ ประเมินผลการดำเนินงาน วางแผนธุรกิจ และติดตามความก้าวหน้า 4. เพื่อป้องกันกรณีเกิดข้อพิพาท เอกสารทางบัญชีสามารถใช้เป็นหลักฐานในกรณีเกิดข้อพิพาททางการเงิน เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังจากปิดงบการเงิน เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบ บริษัท มีความสำคัญต่อทั้งทางบัญชีและภาษี การเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบการเงิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 1. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี 1.1 สมุดรายวัน (JV)  สมุดรายวัน เป็นเอกสารที่ใช้บันทึกรายการค้าทุกอย่างของกิจการ มีทั้งหมด 5 เล่ม ประกอบด้วย 1.2 บัญชีแยกประเภท(GL)  บัญชีแยกประเภท คือ บัญชีที่รวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ หลังจากการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป เรียบร้อยแล้ว จัดเรียงลำดับผังบัญชีของกิจการ เช่น บัญชีเงินสด เป็นบัญชีที่รวบรวมรายการค้าที่เกี่ยวกับเงินสด บัญชีลูกหนี้ เป็นบัญชีที่รวบรวม รายการค้าที่เกี่ยวกับลูกหนี้ การบันทึกรายการในแต่ละบัญชี จะบันทึกไม่ปะปนกันเพื่อให้ตรงตามข้อเท็จจริง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวก ในการค้นหาหรือแก้ไขข้อผิดพลาด 1.3 งบทดลอง(TB)  งบทดลอง คือ รายงานที่สรุปยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี ใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปจัดทำงบการเงิน เป็นเอกสารที่แสดงภาพรวมของสถานะทางการเงิน ณ สิ้นงวด 1.4 งบการเงิน งบการเงิน เอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ประกอบด้วย งบฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด(ถ้ามี) และหมายเหตุประกอบงบการเงิน 1.5 หน้ารายงานผู้สอบบัญชี หน้ารายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบจะแสดงความเห็นว่างบการเงินของกิจการถูกต้อง ผิดเฉพาะบางส่วน หรือไม่ถูกต้องเลย รายงานความเห็นผู้สอบบัญชีจึงเป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญที่แสดงไว้ในงบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลตามมาตรการบัญชีที่รับรองทั่วไป 1.6 เอกสารรายรับ-รายจ่าย เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ รวมถึงสัญญาต่างๆ 1.7 รายละเอียดประกอบยอดสินทรัพย์ หนี้สินคงเหลือ เช่น ทะเบียนทรัพย์สิน ทะเบียนสินค้า รายละเอียดลูกหนี้ และเจ้าหนี้คงเหลือ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี 2.1 แบบนำส่งภาษี แบบนำส่งภาษี เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับรายงานข้อมูลรายรับ-รายจ่าย และเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร มีหลายแบบสำหรับประเภทของภาษี เช่น ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53 , ภ.ง.ด. 51, ภ.ง.ด.51, ภ.พ. 30 2.2 ใบแนบแบบภาษี  ใบแนบแบบภาษี คือ เอกสารเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบแบบนำส่งภาษี เพื่อแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษี 2.3 ใบเสร็จรับเงินค่าภาษี นอกจากเอกสารที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว อาจมีเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมที่อาจจำเป็น ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและความต้องการของผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการ ควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากสำนักงานบัญชีที่รับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับเอกสารครบถ้วนและตรงตามความต้องการ จะเห็นว่ามีเอกสารบัญชีหลากหลายประเภทจนอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดการด้วยตนเอง สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดการเอกสารบัญชีด้วยตนเอง ทาง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยจัดการเอกสารธุรกิจได้ง่ายๆ ให้คุณทำธุรกิจ อย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโตให้ธุรกิจของคุณก้าวไปสู่ความสำเร็จ

17 พ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นสำคัญ : ใบเสร็จรับเงินคืออะไร? ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่มีการออกโดยผู้รับเงินหรือเจ้าของกิจการทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้นไป เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในใบเสร็จรับเงินนั้นจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันตลอดจนราคาที่ตกลงกันให้ครบถ้วน เพราะการออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำทันทีที่มีการรับเงินมาไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากบิลเงินสดอย่างไร? หลายคนมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินว่าเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ นั้นมีอยู่ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นเอกสารที่มักออกเมื่อมีรายการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีราคาสูง มีบริการดูแลหลังการขาย ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้โดยนำชื่อและที่อยู่ให้กับทางร้านค้าหรือบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั้น เพื่อให้ร้านค้านั้นออกใบเสร็จรับเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง 2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นใบเสร็จที่ได้รับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใบเสร็จรูปแบบนี้จะมีการแสดงรายการสินค้าและบริการคล้ายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี แต่จะไม่มีการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบเสร็จรับเงินต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ หากเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ควรมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” เด่นชัด และมีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าและบริการระบุอยู่ในใบเสร็จรับเงินด้วย ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ 1. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีบุคคลธรรมดาใช้บิลเงินสด/ใบเสร็จรับเงิน 2. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีนิติบุคคล ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี 3. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีไม่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินไม่ได้ หากไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า มีบทลงโทษอย่างไร? ในกรณีผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ไม่ยอมออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบเสร็จรับเงินและตัวอย่างใบเสร็จรับเงินที่สร้างจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสร็จรับเงิน สรุป ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันการชำระเงินของเจ้าของธุรกิจ ควรทำการตรวจสอบข้อมูลในใบเสร็จรับเงินและเก็บใบเสร็จรับเงินไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

15 พ.ค. 2024

PEAK Account

13 min

ทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าได้ง่ายๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่

ประเด็นสำคัญ : บัญชีรายรับรายจ่ายคืออะไร? บัญชีรายรับรายจ่าย คือ กระบวนการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายสำหรับกิจการที่มีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เหตุผลที่ร้านค้าควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย การเปิดร้านค้าเป็นของตนเองไม่ว่าจะร้านค้าที่มีหน้าร้านหรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เห็นผลประกอบการระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เมื่อทางร้านค้าเห็นตัวเลขบัญชีที่เกิดขึ้นจะทำให้วางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ว่าค่าใช้จ่ายใดควรลดลงเพื่อประหยัดต้นทุน สร้างผลกำไรสูงขึ้น หรือควรไปลงทุนกับสินค้าใดจึงจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นต้น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้ามีประโยชน์อย่างไร? เมื่อร้านค้ามีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประการ ดังนี้ ควรเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องมีในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ก็คือ “แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้นประกอบไปด้วย “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ รายละเอียดในแบบฟอร์มรายงานเงินสดรายรับ-รายจ่าย แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้  ตัวอย่างการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าแพลตฟอร์มต่างๆ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง e-Commerce e-Commerce คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดีจะช่วยสร้างความสะดวกให้ผู้ประกอบการธุรกิจ e-Commerce หลายๆ ประการ เช่น “ข้อมูลเยอะมาก นักบัญชีทำไม่ทัน ลองเชื่อมระบบดู” การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Marketplace Marketplace ก็คือ แพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมาก ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะได้มาเจอกัน ตัวอย่าง Marketplace ยอดนิยมที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ก็คือ Shopee Lazada  โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้คนขายของออนไลน์ออกใบเสร็จรับเงินได้ง่ายๆ จัดการงานบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Social Commerce Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ LINE Shopping เป็นต้น การขายในลักษณะนี้ลูกค้าจะได้ปฏิสัมพันธ์กับทางร้านค้าโดยตรง ทำให้ธุรกิจสามารถทราบความต้องการ และเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีการเชื่อมต่อหลากหลายโปรแกรมพันธมิตร เพื่อจัดการงานขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการรายการสั่งซื้อ การบันทึกบัญชี หรือการจัดการสต็อกสินค้า เป็นต้น  ต้องการนักบัญชีช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร? สำหรับร้านค้าที่ต้องการนักบัญชีเข้ามาช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร PEAK ให้บริการรับทำบัญชีที่แตกต่าง เน้นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ธุรกิจมีบัญชีที่เป็นระบบ สามารถใช้ข้อมูลงบการเงินเพื่อการตัดสินใจได้ และประสบความสำเร็จในระยะยาว เราดูแลงานจดทะเบียนบริษัท งานจัดการภาษี และการทำบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นรากฐาน สำหรับการเติบโตของธุรกิจคุณ พร้อมทั้งช่วยให้คุณเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจของคุณ แล้วให้เราดูแลเรื่องบัญชี“ สรุป การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจร้านค้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยให้ได้เห็นสถานะทางการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจในระยะยาว หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่ควรละเลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

13 พ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

ตัวอย่างแบบฟอร์มใบเสนอราคา และรายละเอียดที่ต้องมีในเอกสาร

ประเด็นสำคัญ ทำความรู้จัก “ใบเสนอราคา” ใบเสนอราคาเป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้กับลูกค้าหรือผู้ที่สนใจสินค้าหรือบริการนั้นๆ เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลที่ควรมีในใบเสนอราคาจะประกอบไปด้วยรายการสินค้าและบริการที่ชัดเจน มีรายละเอียดเงื่อนไข ค่าใช้จ่าย ครบถ้วน เพื่อให้ผู้สนใจนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ อีกทั้งยังช่วยส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย ความสำคัญของใบเสนอราคา ใบเสนอราคามีความสำคัญต่อใบเสนอราคาทั้งในแง่ของการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และความน่าเชื่อถือของบริษัท ดังนี้ รูปแบบการทำฟอร์มใบเสนอราคา การจัดทำใบเสนอราคาโดยทั่วไปนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาแบบ Manual 2. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชี รายละเอียดที่ต้องมีในฟอร์มใบเสนอราคา ใบเสนอราคาประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่  ส่วน Header ประกอบด้วย ส่วน Description ประกอบด้วย ส่วน Footer ประกอบด้วย  ตัวอย่างเอกสารแบบฟอร์มใบเสนอราคา ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาไทย ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาอังกฤษ การสร้างใบเสนอราคา ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถสร้างใบเสนอราคาได้ง่ายๆ ในไม่กี่นาที ครบถ้วน ถูกต้องในทุกรายละเอียด พบกับขั้นตอนสร้างใบเสนอราคาจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสนอราคา สรุป ใบเสนอราคาเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ออกให้กับลูกค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลในใบเสนอราคาควรมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

10 พ.ค. 2024

PEAK Account

11 min

ความสำคัญของใบแจ้งหนี้คืออะไร? ต่างจากใบวางบิลอย่างไร?

ประเด็นสำคัญ ก่อนอื่นต้องขอแนะนำใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ก่อน… ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ รวมไปถึงบริษัทต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดของสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายและกำหนดวันที่ลูกค้าต้องจ่ายชำระกับทางบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้นี้ส่วนใหญ่มักจะใช้กับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ หรือธุรกิจที่มีการใช้เครดิตในการชำระเงิน รวมไปถึงพ่อค้า – แม่ค้าที่มีธุรกิจขายส่งสินค้าจำนวนมาก เพื่อให้ร้านค้ามีความน่าเชื่อถือ ใบแจ้งหนี้คืออะไร? ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว บริษัทหรือผู้ประกอบการจะออกใบแจ้งหนี้ทุกครั้ง เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่ามีสินค้าที่ซื้อไปทั้งหมดเท่าไหร่? ต้องชำระเงินเท่าไหร่? และกำหนดชำระเงินเมื่อไหร่? พูดง่ายๆ ใบแจ้งหนี้ก็เปรียบเสมือนใบสรุปรายการ เมื่อมีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น ใบแจ้งหนี้จะบอกรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้ขาย และลูกค้าเข้าใจตรงกัน โดยไม่เกิดความเข้าใจผิด ใบวางบิลคืออะไร? ใบวางบิล (Billing Note) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีใบแจ้งหนี้ แจ้งค่าใช้จ่าย และระยะเวลากำหนดวันที่เรียกเก็บเงินแล้ว ใบวางบิลจะถูกออกเมื่อถึงกำหนดชำระเงินตามที่ใบแจ้งหนี้ได้บอกไว้ โดยจะรวมยอดคงเหลือที่ต้องชำระทั้งหมด และสรุปค่าใช้จ่ายรายการสินค้าต่างๆ ดังนั้นหลายบริษัทมักใช้ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้เป็นใบเดียวกัน เพื่อความชัดเจน และความสะดวกในการใช้งาน ใบแจ้งหนี้และใบวางบิลต่างกันอย่างไร? “ใบแจ้งหนี้” และ “ใบวางบิล” เป็นเอกสารที่ระบุยอดชำระให้แก่คู่ค้าเช่นเดียวกัน แต่ “ใบแจ้งหนี้” เป็นเอกสารที่เราแจ้งให้คู่ค้าทราบหลังจบงาน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายว่ามีค่าสินค้า ค่าบริการอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่ และคู่ค้าควรชำระเมื่อใด ส่วน “ใบวางบิล” จะออกมาเมื่อถึงเวลาชำระเงิน โดยจะรวมยอดคงค้างทั้งหมด และสรุปว่ามีรายการค่าใช้จ่ายใดบ้าง และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งบางทีบริษัทคู่ค้าจะแจ้งมาว่าต้องการให้ออกใบวางบิลโดยรวมค่าใช้จ่ายใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นกับการตกลงของเราและคู่ค้าด้วย  ข้อควรระวังเกี่ยวกับใบแจ้งหนี้และใบวางบิล สิ่งที่สำคัญมากๆ ของการออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ ความชัดเจน และความถูกต้อง สิ่งที่มักจะผิดพลาดในการออกเอกสารนี้คือ การกรอกรายละเอียดต่างๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา จนต้องนำกลับไปแก้ไขใหม่ รวมไปถึงเรื่องของการลืมส่งเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับเงินล่าช้ากว่ากำหนด จะทำให้มีปัญหาในการชำระเงิน และอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่หลายบริษัทมักจะพบเจอกันบ่อยๆ คือ วันรับวางบิลของลูกค้า ใบวางบิลต้องไปถึงมือลูกค้าในช่วงเวลาที่บริษัทของลูกค้ามีกำหนดการวางบิล หากล่าช้า หรือติดวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ อาจจะทำให้บริษัทไม่ได้รับเงินจากลูกค้าในเดือนนั้นๆ ทำให้ต้องรออีก 1 เดือน หรือจนกว่าจะถึงรอบวางบิลใหม่  และแน่นอนมันต้องมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นตามมา เช่น กำหนดวางบิลของลูกค้าคือวันที่ 1 – 5 ของทุกเดือน แต่เอกสารวางบิลของเราใส่รายละเอียดผิด ต้องนำไปแก้ไขแล้วส่งถึงมือลูกค้าในวันที่ 6 ก็จำเป็นที่จะต้องรอลูกค้าทำเรื่องชำระอีกทีในช่วงวันที่ 1 – 5 ของเดือนต่อไป แล้วค่าสินค้า ค่าพนักงาน ค่าภาษี ค่าบริการที่ลูกค้าได้รับหรือใช้ไปแล้วล่ะ ใครจะเป็นคนจ่ายก่อน? แน่นอนว่าคำตอบก็คือเรา ถ้าวางบิลไม่ทันค่าใช้จ่ายต่างๆ เราต้องเป็นคนจัดการรับผิดชอบออกไปก่อนทั้งหมด และนั้นอาจจะทำให้บริษัทของเราเกิดปัญหสทางการเงินได้ ดังนั้นเรื่องระยะเวลา และความถูกต้องในใบวางบิลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   เช็กให้ชัวร์ก่อนออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ ข้อมูลต้องชัวร์! ข้อมูลผู้ออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ ข้อมูลผู้รับใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ 5 สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นตอนของการออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ทั้งหมด การสร้างใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK ได้ที่การสร้างใบแจ้งหนี้  และการสร้างใบวางบิล “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ สรุป ใบแจ้งหนี้และใบวางบิล เอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดราคาของสินค้า หรือบริการ ให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินและวันครบกำหนดที่ต้องจ่าย ดังนั้นในการจัดทำใบแจ้งหนี้และใบวางบิล จึงควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า เพื่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

27 มี.ค. 2024

PEAK Account

12 min

“นักบัญชี” บทบาทสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้

ประเด็นสำคัญ  ในยุคสมัยที่ธุรกิจมีความซับซ้อน การเงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนความสำเร็จ เจ้าของธุรกิจหลายคนจึงมองหานักบัญชีมืออาชีพเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ  แล้วธุรกิจขนาดเล็กล่ะ? จำเป็นต้องจ้างนักบัญชีด้วยหรือ? ก็ต้องบอกว่าหากเจ้าของธุรกิจที่ต้องการข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ควรมีนักบัญชีมืออาชีพมาช่วยจัดการ แต่การจ้างนักบัญชีสักคน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติหลายประการด้วยเช่นกัน นักบัญชีกับบทบาทในกิจการ บทความนี้ PEAK ร่วมกับ OfficeMate จะพาคุณไปรู้จักกับบทบาทที่หลากหลาย ทักษะที่จำเป็น รวมถึงประเภทของนักบัญชี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ประกอบการที่กำลังมองหานักบัญชี นักบัญชีเปรียบเสมือนผู้ดูแลด้านการเงินของธุรกิจ หน้าที่หลักของพวกเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่การบันทึกรายรับรายจ่ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องสำคัญต่างๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน 1. การจัดทำบัญชี นักบัญชีทำหน้าที่จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และรายงานทางการเงินอื่นๆ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนสถานะทางการเงินของธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจถึงสถานะทางการเงิน สามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การเสียภาษี นักบัญชีจะคำนวณภาษี เตรียมเอกสาร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้ครบถ้วน ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยให้ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าปรับ เงินเพิ่มจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องโดยไม่จำเป็นได้ 3. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน นักบัญชีจะวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น อัตราส่วนทางการเงิน จุดคุ้มทุน กระแสเงินสด เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง ช่วยให้เจ้าของธุรกิจทราบว่าธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ หรือหากมีความผิดปกติทางการเงินเกิดขึ้น นักบัญชีจะได้นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที  4. การให้คำปรึกษาทางการเงิน นักบัญชีสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี การจัดการเงินทุน การลงทุน และอื่นๆ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจบริหารจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักบัญชีมืออาชีพควรมีทักษะอะไรบ้าง นอกเหนือจากความรู้ด้านบัญชีซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญแล้ว นักบัญชีจำเป็นจะต้องมีทักษะบางประการที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับ ทีมอื่นๆ ในบริษัทได้เป็นอย่างดี ได้แก่ 1. การใช้โปรแกรมบัญชี นักบัญชีควรมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานโปรแกรมบัญชีที่รองรับระบบบัญชีของบริษัท ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และลดความผิดพลาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ 2. การสื่อสาร หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักบัญชี ก็คือ การอธิบายข้อมูลทางการเงินให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจได้อย่างชัดเจน เช่น การนำเสนอผลประกอบการ อธิบายสาเหตุของกำไรหรือขาดทุน ดังนั้น นักบัญชีจึงควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดี เพื่อถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กฎหมาย นักบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายธุรกิจ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 4. การคิดวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน หาสาเหตุของปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข เช่น การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางแก้ไขที่ควรปฏิบัติ เป็นต้น  นักบัญชีกับประเภทงานบัญชีของกิจการ การจัดการงานบัญชีนั้นจะเกี่ยวข้องกับงานหลายส่วน จึงสามารถแบ่งงานบัญชีออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งมีความรับผิดชอบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. การบัญชีการเงิน เป็นงานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและนำเสนอรายงานทางการเงิน ตลอดจนงบการเงินของกิจการที่จัดทำขึ้นภายใต้มาตรฐานบัญชี เพื่อนำข้อมูลต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและนอกองค์กร 2. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินขององค์กรต่อฝ่ายบริหารเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การบัญชีต้นทุน เป็นวิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต้นทุนของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุนของกิจการ เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิต ต้นทุนขาย ตลอดจนตีราคาสินค้าคงเหลือ เพื่อนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการต้นทุนต่อไป 4. การตรวจสอบบัญชี เป็นกระบวนการตรวจสอบรายการทางบัญชี ตลอดจนหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชีของบุคคลหรือองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่ารายการต่างๆ ได้มีการถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้อง เหมาะสม  เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และข้อบังคับของกฎหมาย โดยปกติการตรวจสอบบัญชีจะทำโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) เพื่อขจัดปัญหาความลำเอียงในการปฏิบัติงานตรวจสอบ 5. การบัญชีภาษี เป็นกระบวนการจัดทำบัญชีของกิจการ โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนข้อมูลทางบัญชีบางรายการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ รวมทั้งการจัดทำรายการที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร  6. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ติดตั้ง ใช้งาน และตรวจสอบขั้นตอนการบัญชี ตลอดจนระบบที่ใช้ในกระบวนการบัญชี รวมถึงทิศทางบุคลากรทางการบัญชี และการจัดการซอฟต์แวร์ ข้อดี vs ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี ข้อดีของการจ้างนักบัญชี ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี สรุป ข้อมูลข้างต้น เป็นการวิเคราะห์เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังวางแผนจัดการด้านการเงิน หรือพัฒนาระบบบัญชีของกิจการ อย่าลืมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ หากเป็นเรื่องอุปกรณ์จำเป็นในการจัดการบัญชี ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มเก็บเอกสาร แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ หรือแบบฟอร์มเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ แนะนำที่ มีสินค้าที่ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

29 พ.ย. 2023

จักรพงษ์

16 min

รายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท?

เราควรจดบริษัทเมื่อไหร่ ในแง่ตัวเลขจะดูได้ 2 มุม คือ 1. ด้านภาษี ต้องคำนวณเปรียบเทียบภาษีของบุคคลที่มีอัตราขั้นบันไดที่ 0-35% และภาษีบริษัทที่ 0-20% ถ้าดูที่เพดานภาษีไม่ใช่ว่าบริษัทจะมีภาษีที่ถูกกว่าเพราะวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกัน 2. ด้านบัญชี การเป็นบริษัทจะมีต้นทุนจัดการธุรกิจที่เพิ่มมาก เช่น ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี และค่าจัดตั้งบริษัท ในเชิงตัวเลขเราต้องมาพิจารณาว่าถ้าเป็นบริษัทแล้ว ภาษีที่ประหยัดได้จะคุ้มค่ากับต้นทุนในการจัดการธุรกิจที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อทำธุรกิจมาระยะหนึ่ง คำถามที่จะปึ๊งขึ้นมาในหัวของผู้ประกอบการหลายคน คือ เมื่อไหร่ที่เราต้องจดบริษัท? รายได้หรือกำไรเท่านี้ถือว่าเยอะพอที่จะจดบริษัทแล้วหรือยัง? ผมเคยได้ทำบทความเรื่อง ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแบบไหนดีที่สุด? แนะนำให้อ่านก่อนจะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นครับ แต่ถ้าอยากมองแบบง่ายๆ บทความนี้ผมจะพาทุกคนมาดูในมุมของตัวเลขกันครับว่าตัวเลขเท่าไหร่ที่ควรจดบริษัทดีครับ สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หลักคิดที่เราจะนำมาพิจารณาจะเน้นในเรื่องของตัวเลขทางการเงินทั้งด้านบัญชีและภาษีที่จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการ โดยผมได้แบ่งออกมาเป็น 6 หัวข้อย่อย ดังนี้ครับ 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง 6. ค่าใช้จ่ายแฝง 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน เบื้องต้นต้องดูว่าในนามบุคคลธรรมดาคุณเสียภาษีสูงสุดที่อัตราเท่าใดในช่วง 5%-35% จากนั้นเอามาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดที่ 20% ถ้าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่า 20% ก็เป็นอาจสัญญาณแรกแล้วว่าคุณต้องเริ่มจดทะเบียนบริษัท แต่ยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย เรามาดูข้อต่อไปกันครับ 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs กรมสรรพากรมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของ SMEs ขึ้นมาเพื่อบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจให้เกิดการลงทุน โดยเงื่อนไขการเป็น SMEs มี 2 ข้อ คือ กำไรสุทธิทางภาษี อัตราภาษี 0 -300,000 บาท ยกเว้นภาษี 300,0001 – 3,000,000 บาท 15% มากกว่า 3,000,000 ขึ้นไป 20% 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ การที่มีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาสูงกว่านิติบุคคลอาจไม่ได้สรุปว่าควรต้องจดเป็นบริษัทเพราะอัตราภาษีที่ต่างกันมาจากวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกันนั่นเองครับ เราลองมาดูวิธีคำนวณภาษีทั้งสองประเภทกันครับ 1. การคำนวณภาษีของบุคคลธรรมดา Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ Step 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 2. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย* = กำไรทางบัญชี Step 2 : กำไรทางบัญชี บวก/หัก รายการปรับปรุงทางภาษี = กำไรทางภาษี Step 3 : กำไรทางภาษี คูณ อัตราภาษีนิติบุคคลสูงสุด 20% = ภาษีที่ต้องจ่าย สรุปแล้วเราไม่ได้ดูแค่อัตราภาษี แต่ให้ดูที่จำนวนเงินที่เสียภาษีเพื่อเปรียบกัน แม้อัตราภาษีจะสูงกว่าแต่อาจพบว่าจำนวนภาษีที่เสียน้อยกว่าก็ได้ครับ เพราะขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น อัตราการหักค่าใช้จ่ายของเราได้มากแค่ไหน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เยอะไหม หรือว่าเรามีรายการปรับปรุงภาษีที่ให้ประโยชน์ต่อเราไหม ผมขอยกตัวอย่างการคำนวณเปรียบเทียบความประหยัดทางภาษีเงินได้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น โดยเงื่อนไขคือบุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายตามจริง และมีเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัวเท่านั้น ขณะที่นิติบุคคลมีรายได้ไม่ถึง 30 ล้าน และทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทจึงเข้าเงื่อนไขอัตราภาษีของ SMEs และไม่มีรายการปรับปรุงทางภาษีใดๆ เกิดขึ้น ตัวอย่างที่ 1 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสน Step 2 : เงินได้สุทธิ 4.4 แสน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน = กำไรทางบัญชี 5 แสนบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 5 แสน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 5 แสนบาท  Step 3 : กำไรทางภาษี 5 แสน * อัตราภาษีSMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 30,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1 ล้านบาท บุคคลธรรมดาจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบริษัท ตัวอย่างที่ 2 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 2 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 1.44 ล้านบาท Step 2 : เงินได้สุทธิ 1.44 ล้าน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 225,000 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1 : รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสนบาท = กำไรทางบัญชี 1.5 ล้านบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 1.5 ล้าน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 1.5 ล้านบาท Step 3 : กำไรทางภาษี 1.5 ล้าน * อัตราภาษี SMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 180,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1.5 ล้านบาท บริษัทจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบุคคลธรรมดา 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร เอ๊ะ เราดูเรื่องตัวเลขทำไมต้องคุยเรื่องของเอกสารกันนะ! หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยขึ้นมา ผมจะบอกว่ามันสัมพันธ์กันครับ เพราะบุคคลธรรมดาที่จ่ายค่าใช้จ่ายแล้วขอเอกสารจากผู้ขายไม่ได้ หรือไม่อยากยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสาร รายได้บางประเภทสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ทำให้ไม่ต้องเก็บเอกสารเป็นหลักฐานรายจ่าย แต่ถ้าเกิดว่ารายจ่ายที่จ่ายจริงมันสูงกว่าอัตราเหมาล่ะ เช่น จ่ายจริง 1 แสน แต่หักเหมาได้เพียง 6 หมื่น? แบบนี้ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสารมากขึ้น เพราะทุกรายจ่ายต้องมีเอกสารพิสูจน์จึงจะใช้รายจ่ายแบบตามจริงได้ รวมถึงเป็นการเตรียมตัวจดบริษัทในอนาคตด้วย เพราะว่ารายจ่ายของบริษัทต้องมีเอกสารทุกอย่างครับ 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง เวลาเสียภาษีเงินได้จะดูที่กำไรของธุรกิจ แต่เคยได้ยินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กันไหมครับ เป็นภาษีอีกตัวที่เราที่ต้องสนใจ เพราะมันจะพิจารณาจากยอดรายได้ไม่ใช่กำไรของธุรกิจ ถามว่าทำไมต้องให้ความสนใจมัน กล่าวๆง่ายคือ ตอนจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มทำได้ง่าย แต่ตอนจะเลิกบริษัทจะมีขั้นตอนที่ต้องรอตรวจสอบนานและอาจถูกปรับเงินเพิ่มจากการทำผิดได้ เรียกว่าเข้าง่ายออกยากนั่นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือบริษัทเมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในปีเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งส่งผลต่อภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายสินค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ต้องนำส่งแบบ ภ.พ.30 ให้กรมสรรพากรทุกเดือน เมื่อไม่ว่าบุคคลหรือบริษัทต้องก็ต้องทำ แล้วเราจะพิจารณาเรื่องนี้กันทำไมละ? มีเหตุผลอยู่ 2 ข้อ คือ 6. ค่าใช้จ่ายแฝง ที่กล่าวมาข้างต้นจะเน้นเรื่องของความประหยัดในมุมภาษีเป็นหลัก ซึ่งเมื่อบริษัทมีกำไรสูงมากจนถึงจุดหนึ่งการเป็นบริษัทจะคุ้มค่ามากกว่าในด้านภาษี แต่เราลองมองกันในอีกด้านหนึ่งคือ การจดบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายตามมาเพิ่ม คือ ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดทุกๆ ปี เช่น ค่าบริการทำบัญชีและค่าตรวจสอบบัญชี ซึ่งมูลค่ารวมๆ แล้วก็อาจสูงถึง 1 แสนบาทต่อปี ดังนั้นเราต้องเปรียบเทียบเพิ่มด้วยว่าภาษีที่เราประหยัดไปคุ้มค่ากับเงิน (กระแสเงินสด) ที่เราต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ เช่น เมื่อจดบริษัทสามารถประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น 50,000 บาท แต่เรามีค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพิ่มขึ้นอีก 100,000 บาท แบบนี้ก็อาจไม่คุ้มค่าใช่ไหมครับ สรุปแล้วรายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท? สรุปแล้วการพิจารณาว่าจะจดบริษัทไหมในมุมของจำนวนเงินจะดูได้ 2 มุม คือ ด้านภาษี และการจัดการธุรกิจ ในส่วนของภาษีจะพิจารณาการประหยัดภาษีเงินได้เป็นหลัก ซึ่งรูปแบบไหนประหยัดกว่าคงตอบได้ยากอยู่เพราะขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ การหักค่าใช้จ่าย ในส่วนด้านต้นทุนของการบริหารจัดการธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นก็อาจเป็นอีกการตัดสินใจว่าถ้าเราจดบริษัทแล้วประหยัดภาษีได้มากขึ้น และมันคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายเพิ่มเป็นค่าจดบริษัท ค่าทำบัญชีรายเดือน และค่าสอบบัญชีรายปีหรือไม่ ดังนั้นผมไม่อาจฟันธงได้ว่ารายได้หรือกำไรเท่าไหร่ควรจดบริษัท แต่ผู้ประกอบต้องลองคำนวณและเปรียบเทียบเองตามขั้นตอนที่ได้ให้ตัวอย่างไว้เบื้องต้น ซึ่งจะได้คำตอบที่ดีที่สุดครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจหรืออยากได้ความมั่นใจเพิ่มว่าควรต้องจดเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลแล้วหรือยัง ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

24 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

12 min

บุคคลธรรมดากับการจัดทำบัญชีเงินสดรับจ่าย

ปกติบุคคลธรรมดาไม่ต้องจัดทำบัญชี แต่ในทางภาษีถ้าใครที่มีที่มีรายได้ประเภท 40(5)-(8) จะถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” ตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไม่จัดทำรายงานดังกล่าวจะมีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท รู้หรือไม่ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกัน ถ้าใครยังไม่รู้ก็ไม่แปลก เพราะจริงๆ กฎหมายบัญชีก็ไม่ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาทำบัญชี แต่จริงๆ แล้วทางภาษีจะมีการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลที่มีรายได้บางประเภทต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายด้วยครับ ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักกับ 2 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีกันก่อน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development: DBD) และกรมสรรพากร (Revenue Department: RD) ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีแตกต่างกัน ดังนี้ครับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (The Department of Business Development :DBD) พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ไม่ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาต้องจัดทำบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ว่าอยากให้บุคคลธรรมดาประเภทใดที่ต้องจัดทำบัญชี ในปัจจุบันมีกำหนดขึ้นมาเพียง 2 ประเภทเท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ ดังนั้นบุคคลที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจข้างต้น จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีใดๆ เพื่อส่งให้ DBD ครับ กรมสรรพากร (The Revenue Department :RD) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือพูดง่ายๆ ว่าคนที่ไม่ได้จด VAT ที่มีรายได้ประเภท 40(5) – (8) เช่น รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ รับเหมาก่อสร้าง หรือธุรกิจพาณิชย์อื่นๆ ต้องจัดทำบัญชีหรือรายงานที่แสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน ที่เรียกว่า “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” โดย คนที่เคยยื่นภาษีบุคคลธรรมดาแล้ว จะคุ้นชินกับการเลือกหักรายจ่ายหักตามจริงและหักแบบเหมา และอาจคิดว่าถ้าหักแบบเหมาไม่ต้องทำรายงานนี้ได้ บอกเลยไม่ว่าเราจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบใด ก็ต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างคือถ้าหักรายจ่ายตามจริงต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบทุกรายการที่จ่ายเงิน แต่ถ้าหักแบบเหมาไม่จำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบทุกรายการก็ได้ครับ สรุปแล้ว ในทางภาษีได้กำหนดให้คนที่มี รายได้ประเภท 40(5) – (8) ต้องจัดทำรายงานแสดงรายรับ-รายจ่ายเก็บไว้ แต่ไม่ต้องกังวลว่าการจัดทำรายงานต้องทำอย่างไร จะยุ่งยากหรือไม่นะครับ เพราะทางกรมสรรพากรก็ได้ให้แบบฟอร์ม และตัวอย่างการกรอกมาให้เราด้วยครับ คำอธิบายการกรอกรายละเอียด 1. วัน/ เดือน/ปี : บันทึกวันที่เกิดรายการรับเงินหรือจ่ายเงิน 2. รายการ : บันทึกรายละเอียด เช่น ยอดขายสินค้า ค่าซื้อสินค้า ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงินเดือน เป็นต้น 3. รายรับ : บันทึก “จำนวนเงิน” ที่ได้รับเข้ามาตามรายละเอียดในช่องรายการ 4. รายจ่ายซื้อสินค้า : บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายซื้อสินค้า กรณีขายเชื่อให้อธิบายเพิ่มในช่องหมายเหตุ 5. รายจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น : ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เราจะเห็นได้ว่าการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เพราะบันทึกตามเกณฑ์เงินสด ส่วนเหตุผลที่ต้องจัดทำ ก็เพื่อเป็นรายละเอียดประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตัวรายงานนี้ไม่ถูกกำหนดให้นำส่งกรมสรรพากร แต่ต้องจัดทำและเก็บไว้เพื่อการเรียกตรวจสอบประเมินของ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบไม่จัดทำรายงานแสดงรายได้-รายจ่าย จะมีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาทครับ อีกด้านหนึ่งการทำรายงานรับ-จ่ายไม่ใช่แค่เพียงเอื้ออำนวยการยื่นภาษีเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่จะได้ประโยชน์ทางอ้อมไปด้วย ข้อดีของทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย  สรุปแล้วบุคคลธรรมดาต้องทำบัญชีหรือไม่? ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาถ้ามีรายได้จากการทำธุรกิจตาม 40(5)-(8) เช่น รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ รับเหมาก่อสร้าง หรือธุรกิจพาณิชย์อื่นๆ มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายประจำวันจัดเก็บไว้ และการทำรายงานดังกล่าวจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ว่าในแต่ละเดือน เรามีกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกิจกันแน่ เพราะผู้ประกอบการหลายคนมักคิดว่าตัวเองทำธุรกิจมีกำไรทั้งๆที่ขายขาดทุนมาตลอด นอกจากนี้เราจะรู้ว่ารายได้ส่วนใหญ่ของเรามาจากการขายสินค้าหรือให้บริการตัวไหน และเห็นรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ได้ว่าต้นทุนไหนที่สามารถลดได้เพื่อเพิ่มกำไรในระยะยาวได้ครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นทำบัญชีอย่างไร และอยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก ที่มา: ??ู่มือ-การจัดบันทึกเงินสดรับ-จ่าย.pdf จักรพงษ์ ทรงกำพลพันธุ์ PEAK’s Assistant to CEO นักบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA) และผู้สอบบัญชีภาษีอากร(TA) ประสบการณ์สอบบัญชีจาก Big4 เพื่อต่อยอดและถ่ายทอดความรู้บัญชี ภาษีที่ถูกต้องให้แก่นักบัญชี ผู้สอบบัญชี รวมถึงผู้ประกอบการที่ใช้ข้อมูลการเงินเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ

5 ต.ค. 2023

PEAK Account

11 min

การเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ให้เหมาะสมกับองค์กร

ในยุคที่ HR หลายๆ คน ได้รู้จักกับโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์กันแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่าองค์กรหรือบริษัท ต้องเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนอันไหนดี เพราะการเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนนั้นเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนและการบริหารจัดการข้อมูลพนักงานขององค์กร และในปัจจุบัน ก็มีโปรแกรมให้เลือกใช้มากมาย หลากหลายรูปแบบอีกด้วย จึงต้องพิจารณาจากปัจจัยสำคัญต่างๆ เพื่อให้ได้โปรแกรมที่เหมาะสมทั้งในด้านการใช้งานและงบประมาณขององค์กร โดยวิธีการเลือกนั้น มีหลักการสำคัญๆ ดังนี้ 1. ค้นหาเป้าหมายในการใช้งาน ขั้นแรกในการตามหาโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เหมาะสมกับองค์กร HR จะต้องทราบปัญหาในการทำงานต่างๆ พร้อมกับ List ปัญหานั้นๆ ไว้เป็นข้อๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการคิดเงินเดือน การสรรหา หรือการบริหารจัดการด้านต่างๆ เช่น       จาก List ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ทราบว่า องค์กรนี้ต้องการโปรแกรมเงินเดือนแบบไหน มีฟังก์ชันที่สามารถรองรับปัญหาต่างๆ นี้ได้ครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้โปรแกรมที่เลือกใช้ตอบโจทย์และคุ้มค่าให้มากที่สุด 2. ความเหมาะสมกับขนาดและรูปแบบธุรกิจ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีที่สุด ไม่ได้แปลว่าจะเหมาะกับทุกๆ องค์กรหรือธุรกิจเสมอไป เพราะในแต่ละองค์กรจะมีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านวัฒนธรรม ขนาดองค์กร หรือรูปแบบธุรกิจ ทำให้ความเหมาะสมในการใช้งานโปรแกรมเงินเดือนนั้น แตกต่างกันไป เช่น องค์กรที่มีขนาดเล็ก ก็จะมีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับองค์กรใหญ่ๆ จึงไม่จำเป็นต้องเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนที่มีฟังก์ชันหลากหลายจนใช้งานได้ไม่คุ้มค่า หรือเป็นองค์กรที่มีพนักงานเป็นวัยสูงอายุ ก็ควรเลือกโปรแกรมที่เน้นความใช้งานง่าย รูปแบบสบายตา เป็นต้น 3. ความสามารถในการปรับแต่ง  เพราะมีระบบการจัดการที่แตกต่างกัน โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เลือกใช้ควรมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งตามข้อจำกัด เงื่อนไขและสิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจ เช่น มีการคำนวณเบี้ยขยันแบบพิเศษ การแบ่งงวดคำนวณเงินเดือนหลายงวด เป็นต้น และที่สำคัญคือ การปรับแต่งในรูปแบบต่างๆ นั้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ จะได้มีการวางแผนการใช้งานให้คุ้มค่ามากที่สุด 4. ความปลอดภัย หนึ่งในเรื่องสำคัญของทุกๆ องค์กร คือเรื่องความปลอดภัยของโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ เพราะข้อมูลเงินเดือนและข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน จึงควรเลือกโปรแกรมที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง อยู่บนระบบที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการรั่วไหลข้อมูลสำคัญขององค์กร 5. การบริการหลังการขาย สำหรับการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงโปรแกรมเงินเดือนนั้น หากมีปัญหาระหว่างการใช้งาน ก็จำเป็นต้องมีช่องทางให้ติดต่อสำหรับช่วยแก้ปัญหาหรือขอคำแนะนำต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น การบริการหลังการขายจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะหาก HR ติดปัญหาในการใช้งานแล้ว อาจเพิ่มปัญหาด้านอื่นๆ ในองค์กรตามมาได้เช่นกัน จึงควรเลือกโปรแกรมเงินเดือนที่มีบริการหลังการขายที่ดี มีช่องทางให้ติดต่อง่าย สะดวก และมีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ 6. งบประมาณ เรื่องสำคัญอีกเรื่องในการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ คือ เรื่องงบประมาณในการซื้อโปรแกรมนั่นเอง ควรพิจารณาความเหมาะสมของราคาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งความคุ้มค่าของบริการ เพื่อให้เลือกโปรแกรมที่มีคุณภาพ บริการดีและไม่เกินจากงบประมาณตั้งไว้ แต่ก็ไม่ควรใช้ราคาเป็นตัวตั้งในการเลือกโปรแกรมเพียงอย่างเดียว เพราะอาจทำให้ได้โปรแกรมที่ไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร ไม่สามารถแก้ปัญหารการทำงานบางอย่างได้ สุดท้ายก็จะทำให้การใช้งานโปรแกรมไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปในที่สุด 7. การพัฒนาอยู่เสมอ เรื่องสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ นั่นคือ ควรเลือกโปรแกรมที่มีการปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงตามคำแนะนำจากลูกค้า หรือการพัฒนาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และทุกองค์กร ทุกบริษัทก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปข้างอยู่เสมอเช่นเดียวกัน สรุปการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ การเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เหมาะสม และตอบโจทย์จะช่วยให้การบริหารองค์กรดำเนินไปตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น ดังนั้นการเลือกโปรแกรมเงินเดือนจึงเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามความต้องการ และสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในการทำงานของ HR ได้จริง เช่น HumanSoft โปรแกรมบริหารงานบุคคล ที่เป็นระบบออนไลน์ 100% รองรับการใช้งานครอบคลุมทุกการทำงานของ HR มีความยืดหยุ่นสูง ทำงานบนระบบที่มีความปลอดภัยระดับโลก  มีบริการหลังการขาย และพัฒนาโปรแกรมอยู่เสมอ อีกทั้งยังสามารถเลือกราคาเป็นแพ็คเก็จเพื่อแยกการใช้สำหรับแต่ละองค์กรได้ ทำให้ได้ใช้โปรแกรมที่เหมาะสม ในราคาที่แสนจะคุ้มค่าอีกด้วย นอกจากนี้ HumanSoft ยังสามารถทำงานเชื่อมต่อกับ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ทำให้จัดการงานด้านภาษีได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้นไปอีก โดยเมื่อองค์กรจ่ายเงินเดือนจากระบบ HumanSoft ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งมายัง PEAK โดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเงินเดือนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โปรโมชั่น สุด wow! สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สมัครใช้งาน โปรแกรมคิดเงินเดือน HumanSoft วันนี้ เฉพาะผู้ที่สมัครแพ็กเกจ Professional แบบรายปี มูลค่ามากกว่า 49,000 บาท ( รายละเอียดแพ็กเกจ เพิ่มเติม  nbsp;) คุ้ม 3 ต่อ ต่อที่ 1 รับเครื่องสแกนลายนิ้วมือและใบหน้า รุ่นใหม่ล่าสุด มูลค่า 11,900 บาท ทันที ต่อที่ 2 ทดลองใช้งาน โปรแกรม HumanSoft ฟรี 30 วัน ครบทุกฟังก์ชัน ต่อที่ 3 แถมฟรี ฟังก์ชั่น E-learning & E-library จำนวน 5 บทเรียน เงื่อนไขการรับสิทธิ์ 1. สิทธิพิเศษนี้ สำหรับลูกค้าปัจจุบัน ของโปรแกรม PEAK เท่านั้น 2. ลูกค้า 1 ท่าน สามารถใช้สิทธิ์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น 3. ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ 4. ส่วนลดไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ 5. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไขโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2566 นี้เท่านั้น หรือจนกว่าสินค้าจะหมด

21 ก.ค. 2023

PEAK Account

21 min

เรื่องสำคัญ ในการจัดทำงบการเงิน

งบการเงินของกิจการมีความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสียของกิจการ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ให้กู้ นักลงทุน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงมีข้อควรระวังที่นักบัญชีและผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจในการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้อง เป็นที่น่าเชื่อถือ ซึ่งข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงินมีอะไรบ้างนั้น จะนำเสนอในบทความนี้ งบการเงินคืออะไร งบการเงินเป็นรายงานทางบัญชีที่แสดงผลประกอบการและสถานะในการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ส่วนประกอบของงบการเงิน งบการเงินนั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญดังต่อไปนี้  1. งบแสดงฐานะการเงินหรืองบดุล เป็นงบที่แสดงสถานะทางการเงินของกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ประกอบด้วยสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ  2. งบกำไรขาดทุน เป็นงบที่แสดงผลประกอบการของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ เช่น ทุกรอบปี หรือรอบไตรมาส เป็นต้น งบกำไรขาดทุนประกอบด้วยรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่าย กำไร (ขาดทุน) ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น เป็นงบที่แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนของกิจการตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปี ประกอบด้วยทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำระแล้ว กำไรสะสม  4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่แสดงให้ผู้อ่านงบการเงินเห็นรายละเอียดของรายการในงบการเงิน นอกจากนี้ยังประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของกิจการ เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่กิจการใช้ เป็นต้น ข้อควรระวังในการจัดทำงบการเงิน ในการจัดทำงบการเงินให้มีความถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาด มีข้อควรระวังสำหรับรายการที่สำคัญด้านสินทรัพย์และด้านผลการดำเนินงานดังต่อไปนี้ ด้านสินทรัพย์ ในการจัดทำงบการเงินมีข้อควรระวังสำหรับรายการทางด้านสินทรัพย์ ในที่นี้จะขอยกประเด็นที่สำคัญ 2 ประการดังนี้ 1. ลูกหนี้ค้างนาน ข้อควรระวัง กิจการที่มีรายการลูกหนี้ค้างนาน ตัวเลขลูกหนี้ในงบการเงินจะไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงที่กิจการได้รับชำระ สิ่งที่ต้องระวังในการจัดทำงบการเงิน ก็คือ กิจการมีการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เพียงพอหรือไม่ รวมทั้งวิธีการประมาณการมีความเหมาะสมหรือไม่  สิ่งที่พึงปฏิบัติ การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอย่างเพียงพอและเหมาะสม บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นบัญชีปรับมูลค่าของลูกหนี้ที่มีอยู่เพื่อแสดงมูลค่าสุทธิที่ใกล้เคียงกับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับชำระ ในการประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นการประมาณจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเก็บไม่ได้ ซึ่งคำนวณเป็นร้อยละของยอดขายหรือร้อยละของลูกหนี้ โดยเป็นการวิเคราะห์จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับจำนวนลูกหนี้ที่ยังเก็บไม่ได้ ในการดำเนินธุรกิจแม้ลูกหนี้โดยส่วนใหญ่จะชำระหนี้เมื่อถึงกำหนด แต่ก็มีลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ และในทางปฏิบัติจะไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าลูกหนี้รายใดจะไม่ชำระหนี้จนกว่าจะถึงกำหนดชำระ หรือได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว ทำให้มูลค่าของลูกหนี้ที่จะแสดงในงบการเงินมีจำนวนสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นการประมาณการจำนวนหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ขึ้นจำนวนหนึ่ง โดยกันไว้เป็นค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งมีลักษณะเป็นบัญชีปรับมูลค่านำไปลดบัญชีลูกหนี้ทำให้กิจการทราบมูลค่าของลูกหนี้ที่แสดงมูลค่าสุทธิที่ใกล้เคียงกับมูลค่าตามความเป็นจริง 2. ตัวเลขสินค้าคงเหลือในงบการเงินไม่ตรงกับสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริง ข้อควรระวัง ตัวเลขสินค้าคงเหลือที่แสดงในงบการเงินไม่ตรงกับตัวเลขสินค้าคงเหลือที่มีอยู่จริง หรือที่เรียกว่า Stock Diff ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด Stock Diff ส่วนใหญ่เกิดจาก 1. กิจการไม่มีแนวปฏิบัติในการจัดการสินค้าคงเหลือ ทำให้พนักงานขาดมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เกิดสภาวะต่างคนต่างทำ การจัดเก็บสินค้าไม่เป็นที่เป็นทางทำให้หาสินค้าไม่เจอ  2. Human Error หรือความผิดพลาดที่เกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงาน Human Error ที่ทำให้เกิด Stock Diff ได้แก่ การนับสินค้าคงเหลือผิด การบันทึกข้อมูลสินค้าคงเหลือผิด พนักงานคลังสินค้ารับของเข้าคลังสินค้าแล้วไม่บันทึกตัวเลขในระบบ พนักงานคลังสินค้าเบิกสินค้าออกไปแล้วแต่ยังไม่ตัดสต็อกออกจากระบบ เป็นต้น 3. พื้นที่คลังสินค้าไม่เพียงพอและขาดการกำหนดแผนผังคลังสินค้า สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิด Stock Diff คือ พื้นที่คลังสินค้าไม่เพียงพอในการจัดเก็บสินค้า ทำให้พนักงานคลังสินค้านำสินค้าไปจัดเก็บใน Location ไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในระบบ สินค้าจึงถูกวางไว้ไม่ ถูกที่ นอกจากนี้การขาดการจัดแผนผังคลังสินค้า ทำให้สถานที่จัดเก็บสินค้าไม่เหมาะสมกับปริมาณสินค้าที่จะจัดเก็บ กิจการจึงไม่สามารถระบุ Location ที่แน่นอนของสินค้าได้  สิ่งที่พึงปฏิบัติ  1. กำหนดแนวการปฏิบัติงานสำหรับระบบสินค้าคงเหลือ เพื่อให้การทำงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน ควรระบุขั้นตอนการทำงานและมีการตรวจสอบการทำงานโดยผู้บังคับบัญชา นอกจากควรจัดทำเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน 2. จัดฝึกอบรมพนักงานให้เข้าใจขั้นตอนการทำงานตามแนวปฏิบัติงานของระบบสินค้าคงเหลือและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้พนักงานตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อกิจการและลูกค้าถ้าพนักงานไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติงาน 3. กำหนดให้มีการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างสม่ำเสมอ  กิจการควรกำหนดให้มีการตรวจนับสินค้าคงเหลืออย่างสม่ำเสมอ นอกจากการตรวจนับสินค้าคงเหลือปีละครั้ง กิจการควรกำหนดให้มีการตรวจนับสินค้าคงเหลือแบบ Cycle Count (แบบวนรอบ) ซึ่งเป็นการตรวจนับสินค้าบ่อยๆ เช่น กำหนดตรวจนับสินค้าที่ขายดีของกิจการสัปดาห์ละครั้ง ตรวจนับสินค้าที่ขายไม่ค่อยดีเดือนละครั้ง ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาสินค้าที่ Diff ได้เพราะจะทราบสถานะที่เป็นปัจจุบันของสินค้าได้ดีกว่าการตรวจนับปีละครั้ง และช่วยกิจการในการวางแผนสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยกำหนดระดับของสินค้าที่เหมาะสม(Max-Min) ระดับสินค้าคงคลังสำรอง (Safety Stock) ระดับการสั่งซื้อใหม่ (Reorder Point)   นอกจากนี้ควรกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้รับผิดชอบ ผู้มีอำนาจอนุมัติในการตรวจนับสินค้า ขั้นตอนในการปรับตัวเลขสต็อกเมื่อมี Stock Diff  4. การจัดแผนผังคลังสินค้า โดยผู้จัดการคลังสินค้าควรทำการวิเคราะห์ประเภทของสินค้าคงคลัง จำนวนสินค้าเข้า-ออกในแต่ละวัน การจัดพื้นที่ในการวางสินค้าให้เหมาะสม จะช่วยให้การจัดวางสินค้าเป็นระเบียบสามารถกำหนด location ของสินค้าได้แน่นอน พนักงานคลังสินค้าสามารถจัดเก็บ ค้นหา ตรวจนับสินค้าได้ง่าย  ด้านผลการดำเนินงาน ในการจัดทำงบการเงินมีข้อควรระวังสำหรับรายการด้านรายได้และค่าใช้จ่าย ในที่นี้จะขอยกประเด็นที่สำคัญ ดังนี้ ด้านรายได้ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรายได้มี 3 ประเด็นดังนี้  1. การบันทึกรายได้ให้ตรงตามงวดเวลาที่เกิดรายการ ข้อควรระวัง กรณีที่กิจการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าในงวดปัจจุบัน โดยตามหลักฐานใบส่งของระบุวันที่ส่งของและวันที่ลูกค้าลงลายมือชื่อรับสินค้าในงวดปัจจุบัน แต่บันทึกบัญชีรับรู้รายได้ในปีถัดไป ทำให้รายได้ของปีปัจจุบันต่ำไปและรายได้ของปีถัดมาสูงไป  สิ่งที่พึงปฏิบัติ นักบัญชีควรตรวจสอบรายการส่งมอบสินค้าโดยเฉพาะในช่วงสิ้นปีเพื่อให้บันทึกรายได้กิจการได้ครบถ้วนถูกต้องตามงวดเวลาที่เหมาะสม 2. การบันทึกรายได้ให้สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริง ข้อควรระวัง กรณีที่กิจการจัดทำเอกสารใบส่งของ ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี และบันทึกรายได้โดยยังไม่มีการส่งสินค้าหรือการให้บริการเกิดขึ้น  สิ่งที่พึงปฏิบัติ นักบัญชีควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งสินค้าหรือให้บริการว่ามีการส่งสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้นหรือยัง มิใช่บันทึกรายการตามเอกสารที่ได้รับเท่านั้น 3. การบันทึกรายได้จากการขายสินค้าส่งออกให้เป็นไปตามเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า ข้อควรระวัง ในการรับรู้รายได้สำหรับการขายสินค้าส่งออกสำหรับกิจการขายสินค้าส่งออก กิจการจะว่าจ้างบริษัทเดินเรือเพื่อดำเนินการส่งออกและเคลียร์เอกสารต่างๆ ซึ่งมีเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้า (INCOTERM) ได้แก่ CIF, CFR, FOB เป็นต้น  สิ่งที่พึงปฏิบัติ นักบัญชีควรรับรู้รายได้และบันทึกตัดสต็อกสินค้าออกจากบัญชีเมื่อกิจการปราศจากความเสี่ยงและผลตอบแทนในตัวสินค้านั้นแล้ว โดยความเสี่ยงและผลตอบแทนได้ถูกโอนไปยังผู้ซื้อตาม INCOTERM ที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่การบันทึกรายได้ตามวันที่ในเอกสารใบขนขาออก ด้านค่าใช้จ่าย ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายมี 2 ประเด็นดังนี้  1. การบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ (ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์) แบ่งออกได้เป็น 3 กรณีดังนี้ 1. กรณีค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา ข้อควรระวัง กิจการควรบันทึกค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาเป็นสินทรัพย์ของกิจการ หรือบันทึก เป็นค่าใช้จ่าย สิ่งที่พึงปฏิบัติ ในทางบัญชี การซ่อมแซมและบำรุงรักษาเพื่อให้ทรัพย์สินใช้ได้ตามปกติที่เกิดขึ้นประจำปี ซึ่งองค์ประกอบหลักๆ ได้แก่ ค่าแรงงาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง รวมถึงค่าชิ้นส่วนอะไหล่ขนาดเล็ก เป็นต้น ให้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประจำปี ในทางภาษี การซ่อมแซมให้คงสภาพเดิมเพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ ให้กิจการรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ 2. กรณีการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบของสินทรัพย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ข้อควรระวัง กิจการควรบันทึกต้นทุนการเปลี่ยนแทนส่วนประกอบของสินทรัพย์เป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย สิ่งที่พึงปฏิบัติ  ในทางบัญชีหากสินทรัพย์ที่นำมาเปลี่ยนแทนมีอายุการให้ประโยชน์แก่กิจการมากกว่า 1 ปีให้รับรู้ส่วนของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ และให้ตัดรายการสินทรัพย์เดิมที่ถูกเปลี่ยนแทนด้วยมูลค่าตามบัญชีที่ยังเหลืออยู่ออก ในทางภาษี หลักในการพิจารณากรณีเปลี่ยนแทนที่อาจเข้าเงื่อนไขมี 3 กรณีดังต่อไปนี้ 2.1 การเปลี่ยนแปลงซึ่งทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือทำให้ได้รับประโยชน์มากกว่าเดิมให้ถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์และคิดค่าเสื่อมราคา 2.2 รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนหรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินถือเป็นรายจ่ายลงทุน  2.3 รายจ่ายค่าซ่อมแซมอาคาร ซึ่งเป็นการซ่อมแซมสถานที่บริการให้ดีขึ้นไม่ใช่รายจ่ายในการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65ตรี (5) 3. การตรวจสอบสภาพสินทรัพย์ตามกำหนดระยะเวลา  ข้อควรระวัง การบันทึกรายการต้นทุนการตรวจสอบสภาพสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ สิ่งที่พึงปฏิบัติ ในทางบัญชี การรับรู้ต้นทุนการตรวจสอบสภาพสินทรัพย์ครั้งใหญ่ในแต่ละครั้งตามกำหนดระยะเวลา เพื่อให้สินทรัพย์สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแทนชิ้นส่วนใดหรือไม่     ให้บันทึกเป็นมูลค่าสินทรัพย์ ในทางภาษี ถ้าเป็นการตรวจสอบสภาพการใช้งานโดยทั่วไป ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแทนที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือทำให้ทรัพย์สินมีสภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิมให้ใช้การพิจารณาตามกรณีการเปลี่ยนแทนสินทรัพย์ในข้อ 2  2. กิจการมีรายจ่ายส่วนตัวปะปนอยู่ในรายจ่ายของกิจการเป็นจำนวนมาก ข้อควรระวัง กิจการ SMEs มักจะมีรายจ่ายส่วนตัวของเจ้าของกิจการรวมอยู่ในรายจ่ายของกิจการ เพราะไม่ได้มีการแยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีของกิจการ ทำให้เจ้าของกิจการมาเบิกรายจ่ายส่วนตัวจากบัญชีของกิจการ ซึ่งเป็นข้อควรระวังเพราะค่าใช้จ่ายในงบการเงินมิได้สะท้อนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการซึ่งมีผลต่อตัวเลขผลประกอบการของกิจการด้วย สิ่งที่พึงปฏิบัติ กิจการควรแยกบัญชีเงินฝากธนาคารระหว่างบัญชีส่วนตัวและบัญชีของธุรกิจ บัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิตและการใช้วงเงินต่างๆ ระหว่างบัญชีที่ใช้ซื้อสินค้ากับบัญชีสำหรับใช้จ่ายส่วนตัวของเจ้าของกิจการ รวมทั้งการกำหนดให้มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่เจ้าของกิจการในจำนวนที่เหมาะสม การบริหารจัดการด้านสินทรัพย์ การรับรู้รายได้ให้เหมาะสมตามงวดเวลาและเงื่อนไข สอดคล้องกับข้อเท็จจริง การบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ให้ถูกต้องรวมถึงการแยกบัญชีส่วนตัวของผู้ประกอบการออกจากบัญชีของกิจการ ดังที่กล่าวมาจะช่วยให้กิจการจัดทำงบการเงินได้อย่างถูกต้อง ติดตามความรู้ภาษีและบัญชีจากโปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้งานบัญชีภาษีง่ายสำหรับทุกคน มีระบบจัดการธุรกิจแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างเป็นระบบสมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อ้างอิง:                                                              งบการเงินบอกอะไรของบริษัทบ้าง – PEAK Blog (peakaccount.com) การบันทึกรายได้กับหลักเกณฑ์สำคัญที่ช่วยให้กิจการเติบโต – PEAK Blog (peakaccount.com) 3 สาเหตุหลักที่ทำให้ “สินค้าคงคลังไม่ตรง” หรือ “สต๊อกดิฟ” – Supply Chain Guru 4 วิธีแก้ไขปัญหาสินค้าคงคลังไม่ตรง (สต๊อกดิฟ) – Supply Chain Guru

19 ก.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial Accounting Tax Accounting วัตถุประสงค์ บัญชีการเงิน บัญชีภาษี เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษี มาตรฐาน/กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร  ความรู้ที่ใช้ บัญชีตามมาตรฐาน กฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 มิ.ย. 2024

จักรพงษ์

18 min

ผู้ประกอบการแยกบัญชีให้ชัด! เงินกิจการ ไม่เท่ากับ เงินของคุณ

“ธุรกิจของฉันต้องขาดทุนอยู่แน่” เป็นเสียงของผู้ประกอบการคนหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังสงสัยในใจว่าธุรกิจก็เหมือนจะขายได้ดี แต่ทำไมเงินไหลออกไปเร็ว เหมือนไม่มีเงินเก็บ  และจากประสบการณ์ของผม ความสงสัยนี้ก็คงไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการท่านนี้เท่านั้น แต่มักเกิดกับผู้ประกอบการที่ไม่แยกบัญชี หรือใช้เงินส่วนตัวกับเงินกิจการปะปนกัน จนแยกไม่ได้ว่าได้รับเงินมาแล้ว จ่ายค่าใช้จ่ายของธุรกิจ หรือใช้จ่ายส่วนตัวไปเท่าไหร่ ซีรีส์ “10 กฎพื้นฐานด้านการเงินสำหรับ SMEs” จะพาทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ มือเก่า รวมถึงคนที่สนใจ ไปค้นพบคำตอบของคำถามพื้นฐานทางการเงินที่ผู้ประกอบการทุกคน “ไม่รู้ไม่ได้” และในบทความนี้จะเราเริ่มต้นด้วยความสำคัญการแยกกระเป๋าเงินที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สร้างผลกระทบเชิงลบและเชิงบวกต่อตัวผู้ประกอบการเองอย่างมหาศาลครับ ทำไมเงินกิจการ ไม่เท่ากับ เงินของคุณ? สมมติว่าเราเปิดร้านขายของชำ ใน 1 เดือน ขายขนมได้เงิน 1,000 บาท แต่มีรายจ่ายทั้งธุรกิจและส่วนตัว 1,500 บาท ถามว่า “ธุรกิจนี้กำไรหรือขาดทุนครับ?” คำตอบคือ อาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้ เพราะเราไม่เคยมีการแยกกระเป๋าเงินของธุรกิจกับเงินส่วนตัวออกจากกัน ถ้าเรามีการแยกบัญชีการเงินที่ระหว่างเงินที่รับจ่ายจากธุรกิจ และเงินที่จ่ายเพื่อเรื่องส่วนตัวได้อย่างถูกต้อง คำตอบอาจเป็นได้ 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 800 บาท แปลว่าธุรกิจมีกำไร 200 บาทกรณีที่ 2 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 1,000 บาทเท่ากัน แปลว่าธุรกิจไม่มีกำไรหรือขาดทุนกรณีที่ 3 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 1,100 บาท แปลว่าธุรกิจมีขาดทุน 100 บาท สรุป คือ ถ้าเป็นกรณีแรกธุรกิจจริงไปได้สวย มีกำไร 200 บาท แต่ที่เงินไม่พอเพราะจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าอาหาร ค่าเที่ยว เกินกำไรที่ธุรกิจทำมาได้ หรือในกรณีที่สาม นอกจากธุรกิจขาดทุนโดยไม่รู้ตัว ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนตัว ทำให้เงินสดยิ่งติดลบจนต้องเอาเก็บเงินมาใช้แทน  PEAK ขอเล่า : ตรรกะก็ดูเข้าใจง่ายนะ แต่ทำไมเราไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้องล่ะ?   ก็เพราะเราไม่แยกเงินธุรกิจกับเงินส่วนตัวให้ชัดเจน เพราะมันมั่ว ปนกัน ตอนทำบัญชีรับรองว่าผิดแน่นอน ยิ่งถ้าบัญชีผิด แล้วเอาข้อมูลทางบัญชีไปตัดสินใจอีก รับรองว่าอนาคตพังแน่นอน จะคาดหวังให้นักบัญชีทำให้ถูกต้องก็ไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการบอกไม่ได้ว่าจ่ายเงินเป็นค่าอะไรไปบ้าง หรือรายรับนี้มาจากรายได้บริษัทหรือเงินส่วนตัว ถามไปทีหลังผู้ประกอบการก็ลืมที่ไปที่มาไปหมดแล้ว สิ่งที่นักบัญชีทำได้คือลงบัญชีตามเงินที่เข้าและออก โดยไม่รู้ที่ไปที่มาของเงินเหล่านั้น และปัดไปเข้าบัญชีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการที่เป็นปัญหาระดับชาติในปัจจุบันนี้ 4 ปัญหาจากการไม่แยกเงินธุรกิจ และเงินส่วนตัว ในเชิงการตัดสินใจ พอเราไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง เราอาจพบความผิดพลาดได้ 2 กรณี คือ หนึ่ง ธุรกิจมีกำไร แต่เราใช้จ่ายส่วนตัวมากกว่ากำไรจึงคิดว่าธุรกิจขาดทุน จึงปิดกิจการไป หรือ สอง ธุรกิจขาดทุน แต่เราไม่รู้ตัว คิดว่ายังได้กำไรและทำธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ ไม่ว่าแบบไหนก็ไม่ดีทั้งสองกรณี เราจะคงโชคดีมากๆ ถ้าเราตัดสินใจได้ตรงกับสิ่งที่เราไม่รู้ เช่น คิดไปเองว่าธุรกิจมีกำไรและธุรกิจก็มีกำไรจริงๆ อันนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนใหญ่เราไม่ได้โชคดีแบบนั้น แต่กลับตัดสินใจตรงข้ามกับความเป็นจริงมากกว่า ดังนั้น4 สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ 1. ข้อมูลทางบัญชีผิดพลาด ไม่ถูกต้อง  ไม่สามารถนำไปใช้ตัดสินใจอะไรเลย และผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้เรื่องนี้อยู่แล้ว จึงมักไม่สนใจที่จะดูหรืออ่านงบการเงินของตัวเองเลย พอถึงรอบการส่งงบการเงินที่เซ็นตามที่นักบัญชีให้เซ็นเพื่อส่งภาครัฐเท่านั้น 2. โดนปรับภาษีย้อนหลัง  เมื่อข้อมูลทางบัญชีผิด ก็ยื่นภาษีก็มักจะผิดตาม เพราะข้อมูลเพื่อยื่นภาษีปกติจะอิงข้อมูลที่บันทึกบัญชีอยู่แล้ว ซึ่งเกือบ 100% ถ้าสรรพากรลงตรวจกิจการเมื่อไหร่ ผู้ประกอบการมักจะโดนปรับเสมอ บางรายไม่มีเงินจ่ายภาษีถึงขั้นต้องปิดกิจการไปเลย 3. เข้าถึงแหล่งเงินทุน เงินกู้ยาก ข้อมูลทางบัญชีที่บอกแหล่งที่มาไม่ได้ หรือมีอัตราส่วนทางการเงินที่แปลกประหลาด ธนาคารหรือผู้ลงทุนสามารถพบเห็นข้อสังเกตเหล่านี้ได้ไม่ยาก ถ้าผู้ประกอบไม่สามารถตอบหรือชี้แจงได้ จะถือว่างบการเงินขาดความน่าเชื่อถือ และโอกาสมีน้อยมากที่จะได้รับเงินทุนหรือเงินกู้ 4.  ปิดกิจการไม่ได้  ถ้าสังเกตในงบการเงินของธุรกิจที่ไม่แยกกระเป๋าเงินจะพบว่า มักมีบัญชีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการจำนวนมาก ที่เกิดจากการปัดตัวเลขของนักบัญชีมาใส่ที่บัญชีนี้ เพราะไม่รู้ว่ารายจ่ายหรือรายรับมาจากแหล่งไหน ไม่มีเอกสารประกอบเพราะผู้ประกอบการไม่รู้ ตอบคำถามไม่ได้ ผลอย่างหนักที่ตามมา คือ บางกิจการยอดบัญชีเหล่านี้สูงมาก เมื่อถึงวันเลิกกิจการ จะไม่สามารถปิดกิจการได้ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำเรื่องเงินธุรกิจและเงินส่วนตัว  ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า นิสัยทางการเงินที่ไม่ดี อย่างการไม่แยกกระเป๋าเงินธุรกิจและส่วนตัวส่งผลเสียอย่างไร ต่อไปเราก็ต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งสรุปออกได้ 5 ข้อ ดังนี้ 1. จ่ายค่าใช้จ่ายด้วยเงินสด ปัญหาสุดคลาสิกที่ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง คือ การจ่ายค่าใช้จ่ายด้วยเงินสด ลองจินตนาการว่าเอาเงินกิจการและเงินส่วนตัวไว้ในกระเป๋าเดียวกัน คำถามคือ เงินที่เราควักจ่ายไปแต่ละครั้งเป็นเงินส่วนตัวหรือเงินบริษัท ยิ่งถ้าจ่ายไปโดยไม่จดรายละเอียดทันที รับรองว่างง! หนึ่ง เราจะจำไม่ได้ว่าเงินหายไปไหนจ่ายค่าอะไร และสอง จะตอบไม่ได้ว่าเงินที่เหลืออยู่ 500 บาท เหลือเป็นของกิจการและส่วนตัวกี่บาท 2. โอนเงินบริษัท เข้าบัญชีส่วนตัว เมื่อเงินของกิจการเข้ามาปะปนในบัญชีเงินฝากส่วนตัว ทำให้พิสูจน์ได้ยากทั้งขารายรับและรายจ่ายว่า บรรทัดในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของกิจการหรือของส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะลืมและตอบไม่ได้ 3. นำค่าใช้จ่ายส่วนตัว มาเบิกกิจการ มีความเชื่อผิดๆ ของผู้ประกอบการบางคนที่คิดว่าการเอาเงินกิจการจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัว จะทำให้งบการเงินมีกำไรน้อยลง ทำให้เราเสียภาษีน้อยลงไปด้วย อย่างแรกถูกที่งบการเงินจะมีกำไรน้อยลง แต่อย่าลืมว่าตอนที่คำนวณภาษี ตัวค่าใช้จ่ายส่วนตัวจะถูกบวกกลับทำให้กำไรกลับมาสูงเหมือนเดิม ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ได้ช่วยประหยัดภาษีใดๆเลย ข้อเสียที่สอง คือ แม้กำไรจะน้อยลง แต่งบการเงินจะไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงของธุรกิจว่าจริงๆแล้วมีกำไรหรือขาดทุน เพราะรายจ่ายทั้งธุรกิจและส่วนตัวจะไปรวมเป็นของธุรกิจ ทำให้งบการเงินมีโอกาสขาดทุนสูงมากจนอาจทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดได้ 4. ใช้เงินส่วนตัวจ่ายให้กิจการ ผู้ประกอบการสามารถสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายบางประเภทแทนกิจการไปก่อนได้ การทำแบบนี้ต้องมีการจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่ดีว่ากรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรไปแทนบ้าง และมีการเบิกคืนครบถ้วนหรือไม่ กรณีที่ผู้ประกอบการจ่ายไปไม่ได้จดบันทึก ส่งผลให้เงินส่วนตัวลดลง และค่าใช้จ่ายของกิจการน้อยไปอีกเพราะไม่ได้บันทึกบัญชี 5. ไม่จ่ายเงินเดือนให้ตัวเองเลย บางคนมองว่าเงินกิจการก็เงินของเรา เพราะเราก็เป็นเจ้าของธุรกิจเอง ในแง่ความเป็นจริงการคิดแบบนั้นก็ถูกครับ แต่จะคิดแบบนั้นในทางบัญชีและภาษีไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำในรูปแบบนิติบุคคล เพราะผู้ประกอบการกับกิจการเป็นคนละบุคคลแยกต่างหากจากกันจึงต้องทำบัญชีและส่งภาษีของใครของมัน ถ้าเราอยากได้เงินส่วนแบ่งของธุรกิจมานั้น จริงๆมีหลายวิธี แต่พื้นฐานที่เราควรทำคือ การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง ซึ่งหลายคนลืมไปว่าการที่เราลงมาทำธุรกิจเองก็มีต้นทุนเหมือนกัน การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองนอกจากจะช่วยให้เราดึงเงินออกจากกิจการได้อย่างถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้กิจการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเสียภาษีน้อยลงด้วยครับ 3 เครื่องมือใช้จัดการเงินเพื่อความสะดวก  “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” ไม่ต้องกลัวว่าทำผิดมาแล้วจะกลับตัวไม่ทัน สบายใจได้เลย เรื่องเหล่านี้แก้ไขได้ครับ ยิ่งแก้ไขเร็วยิ่งดี เพราะเราจะสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ไม่พอยังลดความเสี่ยงค่าปรับภาษีย้อนหลังอีกด้วย สำหรับเครื่องมือที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาความปะปนเงินธุรกิจกับเงินสดส่วนตัว มี 3 เครื่องมือที่น่าสนใจ และมีประโยชน์มากๆ ได้แก่ 1. เปิดบัญชีธนาคารเพื่อกิจการ แนะนำให้กิจการมีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตัวเอง ไม่ควรเก็บเงินในรูปของเงินสด เพราะมีความเสี่ยงมากมายตามที่ได้พูดไว้ก่อนหน้า นอกจากเรื่องของระบบบัญชีที่ดีแล้ว ช่วยในเรื่องของควบคุมภายในที่ดีและ และยังได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินอีกด้วย บางกรณีบัญชีธนาคารในชื่อกิจการอาจทำธุรกรรมไม่สะดวก เช่น จ่ายเงินด้วย QR Code ไม่ได้ การจ่ายเงินทำหลายขั้นตอนมากขึ้น ถ้ากิจการยังขนาดเล็กต้องการความคล่องตัวอาจเลือกวิธีเปิดบัญชีธนาคารเป็นชื่อกรรมการ แต่มีไว้ใช้เพื่อรับหรือจ่ายเงินของกิจการแทนได้ 2. บัตรเครดิตบุคคลเพื่อกิจการ หลายครั้งกิจการไม่ต้องการจ่ายเป็นเงินสด เพราะเป็นเงินก้อนใหญ่ หรือสะดวกต่อการชำระเงินในต่างประเทศ อาจจะใช้บัตรเครดิตมาเป็นเครื่องมือช่วยจัดการ ซึ่งเกือบทุกธนาคารในไทยเปิดให้สมัครบัตรเครดิตในนามนิติบุคคลได้เช่นกัน เช่นเดียวกับบัญชีธนาคาร ถ้ากิจการยังขนาดเล็กต้องการความคล่องตัวอาจเลือกใช้บัตรเครดิตเป็นชื่อกรรมการ แต่มีไว้ใช้เพื่อรับหรือจ่ายเงินของกิจการเพียงเท่านั้นได้ 3. เงินสดย่อย กรณีที่หลีกเลี่ยงการใช้เงินสดไม่ได้เลย แนะนำให้มีระบบเงินสดย่อย เป็นการจัดสรรการใช้เงินสดให้ชัดเจน เช่น ให้พนักงานถือเงินสดได้สูงสุดไม่เกิน 5 พันบาท ซึ่งเรียกว่า “เงินสดย่อย” เมื่อไหร่ที่ใช้เงินจนหมด ให้เบิกเงินจากธนาคารมาเติมวงเงินให้เต็ม 5 พันบาทเหมือนเดิม โดยการเบิกนี้ต้องมีเอกสารรายจ่ายประกอบด้วยว่า 5 พันบาทนั้นจ่ายค่าอะไรไปและมีมูลค่ากี่บาทเพื่อข้อมูลทางบัญชีที่ถูกต้อง ครบถ้วน ถ้าลองสังเกตดูจะเห็นว่า ไม่ว่าเราจะใช้เครื่องมือใดๆ ก็ตาม วัตถุประสงค์จะเหมือนกัน คือ เพื่อแยกเงินธุรกิจไม่ให้ปนกับเงินส่วนตัว แปลว่าท่านผู้อ่านอาจใช้วิธีง่ายๆ อย่างอื่นมาใช้แทนก็ได้ ถ้าตราบใดที่ทำให้เงินมีความถูกต้อง แบ่งแยกได้ครับ การแยกกระเป๋าเงินธุรกิจและเงินส่วนตัวออกจากกันเป็นสิ่งที่ต้องทำ! หลายธุรกิจเจ๊งเพราะไม่เคยให้สำคัญกับเงินสดมากนักต่อนักแล้ว เพราะชอบคิดว่ามันก็คือเงินของเราทั้งคู่ แต่ถ้าเราไม่แยกให้ชัดเจน เราจะไม่รู้เลยว่าธุรกิจกำไรหรือขาดทุน สภาพคล่องเงินสดเพียงพอหรือไม่  สำหรับ EP ถัดไป ผมจะไขข้อสงสัยแก่ผู้ประกอบการที่เคยสงสัยว่าธุรกิจกำไรน้อย ทำไมเสียภาษีเยอะ หรือขาดทุนแต่ก็ยังต้องเสียภาษี ขอแง้มๆไว้ก่อนว่า เพราะ “เรื่องบัญชีไม่เท่ากับภาษี” ถ้าอยากรู้มากกว่านี้แล้วรอติดตามตอนถัดไปได้เลยครับ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

13 มิ.ย. 2024

PEAK Account

10 min

ปิดงบการเงินเสร็จแล้ว…ต้องขอเอกสารอะไรบ้างจากสำนักงานบัญชี?

การปิดงบการเงินถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการปิดงบของงานบัญชี แต่ยังมีเอกสารสำคัญอีกหลายรายการที่ผู้ประกอบการควรขอคืนจากสำนักงานบัญชีเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้นในบทความนี้จะพาผู้ประกอบการมาเช็กลิสต์เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ทำไมต้องขอเอกสารคืนจากสำนักงานบัญชี? โดยทั่วไป การปิดงบการเงินจะดำเนินการโดยการจ้างสำนักงานบัญชีหรือนักบัญชีที่รับทําบัญชีปิดงบ ซึ่งจะทำการบันทึกรายการธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในช่วงรอบบัญชี ปรับปรุงบัญชี ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และจัดทำงบการเงิน  แต่หลังจากปิดงบแล้ว ผู้ประกอบการควรขอเอกสารคืนด้วย การขอเอกสารคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบ มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการหลายประการ ช่วยให้มีหลักฐานครบถ้วน ป้องกันความเสี่ยง และประกอบการทำธุรกรรมอื่นๆ ได้สะดวก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรเก็บเอกสารทางบัญชีไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงและเพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบในอนาคต นอกจากเอกสารที่ระบุข้างต้นแล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมจากสำนักงานบัญชีได้ตามความต้องการ 1. เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน เอกสารทางบัญชีเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ประกอบการตรวจสอบภาษี หรือใช้ประกอบธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ 2. เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางบัญชี เปรียบเทียบกับเอกสารต้นฉบับ เผื่อมีข้อผิดพลาด 3. เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ข้อมูลในเอกสารทางบัญชีสามารถนำมาวิเคราะห์ ประเมินผลการดำเนินงาน วางแผนธุรกิจ และติดตามความก้าวหน้า 4. เพื่อป้องกันกรณีเกิดข้อพิพาท เอกสารทางบัญชีสามารถใช้เป็นหลักฐานในกรณีเกิดข้อพิพาททางการเงิน เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังจากปิดงบการเงิน เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบ บริษัท มีความสำคัญต่อทั้งทางบัญชีและภาษี การเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบการเงิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 1. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี 1.1 สมุดรายวัน (JV)  สมุดรายวัน เป็นเอกสารที่ใช้บันทึกรายการค้าทุกอย่างของกิจการ มีทั้งหมด 5 เล่ม ประกอบด้วย 1.2 บัญชีแยกประเภท(GL)  บัญชีแยกประเภท คือ บัญชีที่รวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ หลังจากการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป เรียบร้อยแล้ว จัดเรียงลำดับผังบัญชีของกิจการ เช่น บัญชีเงินสด เป็นบัญชีที่รวบรวมรายการค้าที่เกี่ยวกับเงินสด บัญชีลูกหนี้ เป็นบัญชีที่รวบรวม รายการค้าที่เกี่ยวกับลูกหนี้ การบันทึกรายการในแต่ละบัญชี จะบันทึกไม่ปะปนกันเพื่อให้ตรงตามข้อเท็จจริง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวก ในการค้นหาหรือแก้ไขข้อผิดพลาด 1.3 งบทดลอง(TB)  งบทดลอง คือ รายงานที่สรุปยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี ใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปจัดทำงบการเงิน เป็นเอกสารที่แสดงภาพรวมของสถานะทางการเงิน ณ สิ้นงวด 1.4 งบการเงิน งบการเงิน เอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ประกอบด้วย งบฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด(ถ้ามี) และหมายเหตุประกอบงบการเงิน 1.5 หน้ารายงานผู้สอบบัญชี หน้ารายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบจะแสดงความเห็นว่างบการเงินของกิจการถูกต้อง ผิดเฉพาะบางส่วน หรือไม่ถูกต้องเลย รายงานความเห็นผู้สอบบัญชีจึงเป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญที่แสดงไว้ในงบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลตามมาตรการบัญชีที่รับรองทั่วไป 1.6 เอกสารรายรับ-รายจ่าย เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ รวมถึงสัญญาต่างๆ 1.7 รายละเอียดประกอบยอดสินทรัพย์ หนี้สินคงเหลือ เช่น ทะเบียนทรัพย์สิน ทะเบียนสินค้า รายละเอียดลูกหนี้ และเจ้าหนี้คงเหลือ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี 2.1 แบบนำส่งภาษี แบบนำส่งภาษี เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับรายงานข้อมูลรายรับ-รายจ่าย และเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร มีหลายแบบสำหรับประเภทของภาษี เช่น ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53 , ภ.ง.ด. 51, ภ.ง.ด.51, ภ.พ. 30 2.2 ใบแนบแบบภาษี  ใบแนบแบบภาษี คือ เอกสารเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบแบบนำส่งภาษี เพื่อแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษี 2.3 ใบเสร็จรับเงินค่าภาษี นอกจากเอกสารที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว อาจมีเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมที่อาจจำเป็น ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและความต้องการของผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการ ควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากสำนักงานบัญชีที่รับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับเอกสารครบถ้วนและตรงตามความต้องการ จะเห็นว่ามีเอกสารบัญชีหลากหลายประเภทจนอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดการด้วยตนเอง สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดการเอกสารบัญชีด้วยตนเอง ทาง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยจัดการเอกสารธุรกิจได้ง่ายๆ ให้คุณทำธุรกิจ อย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโตให้ธุรกิจของคุณก้าวไปสู่ความสำเร็จ

17 พ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นสำคัญ : ใบเสร็จรับเงินคืออะไร? ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่มีการออกโดยผู้รับเงินหรือเจ้าของกิจการทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้นไป เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในใบเสร็จรับเงินนั้นจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันตลอดจนราคาที่ตกลงกันให้ครบถ้วน เพราะการออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำทันทีที่มีการรับเงินมาไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากบิลเงินสดอย่างไร? หลายคนมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินว่าเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ นั้นมีอยู่ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นเอกสารที่มักออกเมื่อมีรายการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีราคาสูง มีบริการดูแลหลังการขาย ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้โดยนำชื่อและที่อยู่ให้กับทางร้านค้าหรือบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั้น เพื่อให้ร้านค้านั้นออกใบเสร็จรับเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง 2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นใบเสร็จที่ได้รับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใบเสร็จรูปแบบนี้จะมีการแสดงรายการสินค้าและบริการคล้ายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี แต่จะไม่มีการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบเสร็จรับเงินต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ หากเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ควรมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” เด่นชัด และมีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าและบริการระบุอยู่ในใบเสร็จรับเงินด้วย ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ 1. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีบุคคลธรรมดาใช้บิลเงินสด/ใบเสร็จรับเงิน 2. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีนิติบุคคล ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี 3. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีไม่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินไม่ได้ หากไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า มีบทลงโทษอย่างไร? ในกรณีผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ไม่ยอมออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบเสร็จรับเงินและตัวอย่างใบเสร็จรับเงินที่สร้างจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสร็จรับเงิน สรุป ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันการชำระเงินของเจ้าของธุรกิจ ควรทำการตรวจสอบข้อมูลในใบเสร็จรับเงินและเก็บใบเสร็จรับเงินไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

15 พ.ค. 2024

PEAK Account

13 min

ทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าได้ง่ายๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่

ประเด็นสำคัญ : บัญชีรายรับรายจ่ายคืออะไร? บัญชีรายรับรายจ่าย คือ กระบวนการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายสำหรับกิจการที่มีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เหตุผลที่ร้านค้าควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย การเปิดร้านค้าเป็นของตนเองไม่ว่าจะร้านค้าที่มีหน้าร้านหรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เห็นผลประกอบการระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เมื่อทางร้านค้าเห็นตัวเลขบัญชีที่เกิดขึ้นจะทำให้วางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ว่าค่าใช้จ่ายใดควรลดลงเพื่อประหยัดต้นทุน สร้างผลกำไรสูงขึ้น หรือควรไปลงทุนกับสินค้าใดจึงจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นต้น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้ามีประโยชน์อย่างไร? เมื่อร้านค้ามีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประการ ดังนี้ ควรเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องมีในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ก็คือ “แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้นประกอบไปด้วย “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ รายละเอียดในแบบฟอร์มรายงานเงินสดรายรับ-รายจ่าย แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้  ตัวอย่างการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าแพลตฟอร์มต่างๆ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง e-Commerce e-Commerce คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดีจะช่วยสร้างความสะดวกให้ผู้ประกอบการธุรกิจ e-Commerce หลายๆ ประการ เช่น “ข้อมูลเยอะมาก นักบัญชีทำไม่ทัน ลองเชื่อมระบบดู” การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Marketplace Marketplace ก็คือ แพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมาก ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะได้มาเจอกัน ตัวอย่าง Marketplace ยอดนิยมที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ก็คือ Shopee Lazada  โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้คนขายของออนไลน์ออกใบเสร็จรับเงินได้ง่ายๆ จัดการงานบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Social Commerce Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ LINE Shopping เป็นต้น การขายในลักษณะนี้ลูกค้าจะได้ปฏิสัมพันธ์กับทางร้านค้าโดยตรง ทำให้ธุรกิจสามารถทราบความต้องการ และเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีการเชื่อมต่อหลากหลายโปรแกรมพันธมิตร เพื่อจัดการงานขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการรายการสั่งซื้อ การบันทึกบัญชี หรือการจัดการสต็อกสินค้า เป็นต้น  ต้องการนักบัญชีช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร? สำหรับร้านค้าที่ต้องการนักบัญชีเข้ามาช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร PEAK ให้บริการรับทำบัญชีที่แตกต่าง เน้นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ธุรกิจมีบัญชีที่เป็นระบบ สามารถใช้ข้อมูลงบการเงินเพื่อการตัดสินใจได้ และประสบความสำเร็จในระยะยาว เราดูแลงานจดทะเบียนบริษัท งานจัดการภาษี และการทำบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นรากฐาน สำหรับการเติบโตของธุรกิจคุณ พร้อมทั้งช่วยให้คุณเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจของคุณ แล้วให้เราดูแลเรื่องบัญชี“ สรุป การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจร้านค้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยให้ได้เห็นสถานะทางการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจในระยะยาว หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่ควรละเลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

13 พ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

ตัวอย่างแบบฟอร์มใบเสนอราคา และรายละเอียดที่ต้องมีในเอกสาร

ประเด็นสำคัญ ทำความรู้จัก “ใบเสนอราคา” ใบเสนอราคาเป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้กับลูกค้าหรือผู้ที่สนใจสินค้าหรือบริการนั้นๆ เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลที่ควรมีในใบเสนอราคาจะประกอบไปด้วยรายการสินค้าและบริการที่ชัดเจน มีรายละเอียดเงื่อนไข ค่าใช้จ่าย ครบถ้วน เพื่อให้ผู้สนใจนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ อีกทั้งยังช่วยส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย ความสำคัญของใบเสนอราคา ใบเสนอราคามีความสำคัญต่อใบเสนอราคาทั้งในแง่ของการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และความน่าเชื่อถือของบริษัท ดังนี้ รูปแบบการทำฟอร์มใบเสนอราคา การจัดทำใบเสนอราคาโดยทั่วไปนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาแบบ Manual 2. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชี รายละเอียดที่ต้องมีในฟอร์มใบเสนอราคา ใบเสนอราคาประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่  ส่วน Header ประกอบด้วย ส่วน Description ประกอบด้วย ส่วน Footer ประกอบด้วย  ตัวอย่างเอกสารแบบฟอร์มใบเสนอราคา ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาไทย ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาอังกฤษ การสร้างใบเสนอราคา ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถสร้างใบเสนอราคาได้ง่ายๆ ในไม่กี่นาที ครบถ้วน ถูกต้องในทุกรายละเอียด พบกับขั้นตอนสร้างใบเสนอราคาจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสนอราคา สรุป ใบเสนอราคาเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ออกให้กับลูกค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลในใบเสนอราคาควรมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม