ความรู้ภาษี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

6 min

ถอด VAT คืออะไร? ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้วิธีคำนวณนี้

การถอด VAT เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเจอในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อมีการขายสินค้าที่เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า หรือการถอด VAT จากสินค้าที่ซื้อมาเพื่อที่ช่วยให้เราทราบราคาต้นทุนที่แท้จริงของสิ่งนั้น นอกจากนี้ การถอด VAT ยังช่วยให้นักบัญชีของกิจการจัดการภาษีได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย ซึ่งมีทั้งการถอด VAT 3% และ 7% ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้วิธีการ ถอด VAT เรามีวิธีคำนวณมาฝากกัน ก่อนถอด VAT ควรรู้จัก VAT คืออะไร  VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี จากการผลิตและขายสินค้านั้น จะต้องเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ และต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำภายใน 30 วัน  วิธีถอด VAT คำนวณด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน การถอด VAT เป็นการถอดเพื่อให้เราทราบราคาที่แท้จริงของสินค้าก่อนคิด VAT ว่ามีราคาเท่าไหร่ และสามารถคำนวณภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามอัตราภาษี ดังนี้  วิธีถอด VAT 3% VAT 3% มักใช้กับธุรกิจที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก กิจการที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี  การจ้างทำของ หรือทำงานต่าง ๆ โดยวิธีการคำนวณนั้นจะทำได้โดยการนำราคาสินค้าที่รวม VAT แล้ว มาหารด้วย 1.03 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นราคาที่ไม่รวม VAT ส่วนต่างระหว่างราคารวมกับราคาที่ไม่รวม VAT คือจำนวนภาษีที่ต้องนำส่ง ตัวอย่างการคำนวณ : สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,300 บาท  วิธีถอด VAT 7% การถอด VAT 7% เป็นการคำนวณที่ใช้กับธุรกิจทั่วไปที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคำนวณคล้ายกับการถอด VAT 3% แต่ใช้ตัวหารเป็น 1.07 แทน การถอด VAT ที่ถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจคำนวณต้นทุน กำไร และภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการคำนวณ สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,700 บาท การเสียภาษี VAT ถ้าธุรกิจของเราเป็นทั้งผู้ขายสินค้าและซื้อสินค้ามา เราต้องมีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย โดยนำภาษีขายที่เก็บจากลูกค้าตลอดเดือนภาษี มาลบด้วยภาษีซื้อที่จ่ายให้ซัพพลายเออร์ในเดือนเดียวกัน หากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าภาษีขายสูงกว่าภาษีซื้อ เจ้าของธุรกิจจ่ายส่วนต่างให้กรมสรรพากร แต่หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะรับภาษีส่วนเกินคืน หรือเก็บไว้เป็นเครดิตภาษีสำหรับการคำนวณในรอบเดือนถัดไปได้เลย  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าหรือซื้อสินค้า การถอด VAT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้เราทราบต้นทุนที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มเงินทุนให้สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อีก นอกจากการคำนวณ VAT ด้วยเครื่องคิดเลขแล้ว การใช้ PEAK Tax ยังช่วยให้การคำนวณภาษีและการออกเอกสารใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมรองรับการจัดการภาษีและบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเติบโตไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

9 min

เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs

การบริหารภาษีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเพิ่มกำไรและบริหารเงินสดได้อย่างเหมาะสม การวางแผนภาษีไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียภาษีเกินความจำเป็น แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกัน! 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs ปี 2568 1. รู้จักประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง การเริ่มต้นวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SME นั้น ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ภาษีแต่ละประเภทจะมีวิธีการคำนวณและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งการรู้จักประเภทของภาษีจะช่วยให้การวางแผนภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และป้องกันการเสียภาษีเกินกว่าที่ควรจะเป็น 1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่คิดจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจทุกประเภทที่มีการดำเนินการในรูปแบบของนิติบุคคลต้องเสียภาษีนี้ การคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการคำนวณภาษี 1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  เป็นภาษีที่คิดจากการขายสินค้าหรือบริการในบางกรณี การเสียภาษีประเภทนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินการทางธุรกิจของคุณ หากคุณขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสีย VAT ก็จำเป็นต้องคำนวณและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง 1.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ภาษีที่ถูกหักออกจากเงินได้บางประเภทที่ธุรกิจจ่ายให้กับผู้รับบริการ เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ หรือเงินได้บางประเภท การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อให้การดำเนินงานของธุรกิจไม่เกิดปัญหาในอนาคต การรู้ว่าภาษีแต่ละประเภทมีการคำนวณและยื่นเอกสารอย่างไร จะช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและหลีกเลี่ยงค่าปรับที่ไม่จำเป็น 2. วางระบบบัญชีที่โปร่งใส การจัดการบัญชีที่เป็นระบบและโปร่งใสถือเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่มีประสิทธิภาพ การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีระเบียบไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดการภาษีให้เหมาะสม แต่ยังทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมทางการเงินของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในอนาคต โดยคุณสามารถทำได้ ดังนี้ 2.1 การใช้โปรแกรมบัญชี ช่วยจัดการงานบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชี ที่สามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างถูกต้อง และสามารถติดตามธุรกรรมต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ โปรแกรม PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถจัดการภาษีได้ง่ายขึ้น ด้วยฟังก์ชันที่รองรับ e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัวจะช่วยลดความยุ่งยากในการคำนวณภาษีและการรายงานทางการเงิน 2.2 การเก็บเอกสารหลักฐาน  ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ ใบกำกับภาษี และเอกสารทางการเงินต่าง ๆ จะช่วยให้การตรวจสอบการยื่นภาษีทำได้สะดวกและง่ายขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบโดยสรรพากรได้ เช่น PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์แบบครบวงจรที่สามารถเก็บเอกสารออนไลน์ได้ 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกหนึ่งการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีคือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4. วางแผนรายรับและรายจ่าย การจัดการรายรับและรายจ่ายอย่างมีแบบแผนช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4.1 เลื่อนรายรับ หากอยู่ในช่วงปลายปีและรายได้เกินเป้าหมาย อาจเลื่อนการรับเงินไปต้นปีถัดไปเพื่อกระจายรายได้ในหลายปี 4.2 เร่งรายจ่าย  ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือชำระค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในช่วงปลายปี เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายและลดกำไรสุทธิ 5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี ผู้ประกอบการควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือผู้ทำบัญชีที่มีความรู้ในด้านกฎหมายภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 6. ติดตามข่าวสารภาษีอย่างต่อเนื่อง ภาษีเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกฎหมายและสถานการณ์เศรษฐกิจ การตรวจสอบและปรับปรุงแผนภาษีอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ การวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถลดภาระภาษีและเพิ่มกำไรได้ แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้าและนักลงทุนอีกด้วย เริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจคุณ ด้วย PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่จะช่วยในการบริหารจัดการภาษีภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ม.ค. 2025

PEAK Account

8 min

ผู้เสียภาษีต้องรู้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร แตกต่างจากเลขบัตรประชาชนไหม

คนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องเสียภาษีถ้ารายได้นั้นถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด ซึ่งในการยื่นภาษีนั้นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่กรมสรรพากรออกให้ผู้ที่ต้องจ่ายเสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลใช้ตัวเลขเหมือนกันไหม เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกัน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขเฉพาะที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ที่ต้องภาษีแต่ละคน เพื่อให้กรมสรรพากรใช้ในการระบุตัวตนของผู้ยื่นภาษี และใช้ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้จะมีเป็นเลข 13 หลักทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแต่เลขจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ บุคคลธรรมดา  สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขเดียวกันกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งออกให้โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ยื่นภาษีไม่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีใหม่ สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้เลย ส่วนผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาก็สามารถแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้ต่อกรมสรรพากรได้เลย ซึ่งการที่ใช้เลขเดียวกับบัตรประจำตัวแบบนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อน และทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น นิติบุคคล   สำหรับนิติบุคคลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลักที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรธุรกิจอื่น ๆ โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคลนี้จะมีความสำคัญในการทำธุรกรรมทางการค้า การออกใบกำกับภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่าง ๆ โดยเลขชุดนี้จะติดตัวนิติบุคคลไปตลอดอายุของกิจการ และใช้แสดงตัวตนทางธุรกิจกับคู่ค้าและหน่วยงานราชการได้ นอกจากนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษียังเป็นหลักฐานสำคัญว่าธุรกิจทำตามกฎหมาย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย การขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี สำหรับคนที่ทั่วไปหรือทำธุรกิจส่วนตัวที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี และนิติบุคคลที่เริ่มต้นธุรกิจแล้วยังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เราจำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  เพื่อให้การจัดการด้านภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง  โดยมีขั้นตอนการขอที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนี้ บุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลธรรมดาการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เนื่องจากใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับคนต่างด้าวและห้างหุ้นส่วนสามัญที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนให้ขอภายใน 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.1 สำหรับบุคคลธรรมดา และ แบบ ล.ป.10.2 สำหรับคณะบุคคล นิติบุคคล นิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติหลังจากจดทะเบียนบริษัท โดยเลขนี้จะเป็นเลขเดียวกับเลขทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียนนิติบุคคลและการได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้ขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทย หรือวันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มทำธุรกิจในประเทศไทย โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.3  การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรอง การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรองสามารถทำได้โดยการตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเลขทะเบียนนี้จะเป็นเลขชุดเดียวกันกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคล เราสามารถตรวจสอบข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยยืนยันตัวตนของคู่ค้า และการทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างมั่นใจ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่ใช้ในการระบุตัวตนทางภาษีและธุรกิจ โดยบุคคลธรรมดาจะใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ส่วนนิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งก่อนการยื่นภาษีหรือธุรกรรมต่าง ๆ ควรเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้พร้อมเพื่อความถูกต้องในการจัดการภาษีตามกฎหมาย โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

10 ม.ค. 2025

PEAK Account

7 min

ร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt เตรียมความพร้อมอย่างไรดี

ในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า โครงการ Easy E-Receipt 2.0 หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ ช้อปดีมีคืน ที่จัดขึ้นโดยกรมสรรพากร เป็นโอกาสสำคัญที่ร้านค้าไม่ควรพลาด โดยเฉพาะร้านค้าที่ต้องการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับรายละเอียดโครงการและการเตรียมความพร้อมสำหรับร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 คืออะไร? โครงการ Easy E-Receipt 2.0 เป็นโครงการที่กรมสรรพากรจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้าหันมาใช้ระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt แทนการออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินในรูปแบบกระดาษ ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ นอกจากนี้ การเข้าร่วมโครงการยังช่วยให้ร้านค้าสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มองหาธุรกิจที่มีความโปร่งใส เช็กความพร้อมร้านค้า ก่อนเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ร้านค้าแบบใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้? อย่างไรก็ตามยังมีร้านที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0 PEAK ตัวช่วยออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ของคุณ PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการออก e-Tax Invoice & e-Receipt อย่างเต็มรูปแบบ โดยได้รับการรับรองจากกรมสรรพากร จุดเด่นของ PEAK คือการช่วยให้ร้านค้าจัดการเอกสารทางบัญชีได้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง e-Tax Invoice การส่งเอกสารถึงลูกค้า หรือการบันทึกข้อมูลลงในระบบบัญชีโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ PEAK ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนส่งไปยังกรมสรรพากร ทำให้คุณมั่นใจได้ในทุกขั้นตอน การเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังช่วยสร้างโอกาสในการกระตุ้นยอดขายให้ร้านค้า หากคุณต้องการให้ธุรกิจของคุณเติบโตในยุคดิจิทัล การเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม PEAK พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจของคุณ สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์วันนี้ เพื่อก้าวเข้าสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

เจ้าของธุรกิจทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมาย ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์

การทำธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและเอกสารสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เพื่อให้ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องติดอย่างไร เมื่อไหร่ และมีอัตราเท่าไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องอากรแสตมป์อย่างละเอียด เพื่อให้การทำสัญญาของเราถูกต้องและใช้ได้ตามกฎหมาย ภาษีอากรแสตมป์ คืออะไร ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารและสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีลักษณะเป็นแสตมป์ที่ต้องติดลงบนตราสารหรือเอกสารสำคัญภายใน 15 วันหลังจากการลงนาม เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาเช่า หนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ทั้งนี้ อัตราค่าอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของตราสาร ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์สำคัญกับการทำสัญญาอย่างไร การติดอากรแสตมป์ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมอากรแสตมป์จึงมีความสำคัญ ยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย การติดภาษีอากรแสตมป์ในเอกสารหรือสัญญาเป็นการรับรองว่าเอกสารนั้นได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปรียบเสมือนตราประทับรับรองจากภาครัฐ ทำให้เอกสารน่าเชื่อถือและใช้ได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าผู้ทำสัญญามีความตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงและเคารพกฎหมาย ป้องกันความขัดแย้ง การติดอากรแสตมป์ช่วยป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญานี้กันจริง และสัญญานั้นผ่านการรับรองตามกฎหมายแล้ว ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง สัญญาที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนจะมีน้ำหนักในการพิจารณามากกว่าสัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์  ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สัญญาที่ติดภาษีอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทันที ในขณะที่สัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์หรือติดไม่ครบถ้วน อาจถูกปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล หรือต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น การติดอากรแสตมป์จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี การชำระค่าอากรแสตมป์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลักษณะของเอกสาร ดังนี้ ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย การชำระอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับประเภทเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่พบบ่อย ได้แก่ 1. สัญญาเช่าทรัพย์สินอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินมีอัตราอยู่ที่ 1 บาทต่อค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากค่าเช่าระบุไว้ที่ 10,500 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 11 บาท ซึ่งการคำนวณนี้ครอบคลุมถึงสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ เช่น เช่าที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์ 2. ตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค)สำหรับเอกสารประเภทตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 3 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เช่น หากยอดเงินในตั๋วเงินระบุไว้ที่ 6,500 บาท ผู้ที่ออกตั๋วจะต้องชำระอากรแสตมป์จำนวน 12 บาท 3. หนังสือมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่มักใช้ในทางธุรกิจหรือการดำเนินการทางกฎหมาย จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 10 บาทต่อฉบับ โดยไม่มีการคิดเพิ่มตามมูลค่าหรือรายละเอียดของเอกสาร 4. สัญญากู้ยืมเงินในกรณีของสัญญากู้ยืมเงิน อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากมีการกู้เงินจำนวน 50,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 25 บาท 5. สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานออกแบบ จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อค่าแรง 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เช่น หากค่าแรงรวมทั้งหมดเป็น 15,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 15 บาท 6. สัญญาค้ำประกันสัญญาค้ำประกันที่ใช้ในการรับรองหรือค้ำประกันภาระผูกพันทางการเงิน จะต้องชำระอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 7. สัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์สำหรับสัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 0.1% ของมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น หากมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่ 1,000,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 1,000 บาท การติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารและสัญญาต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เอกสารมีผลทางกฎหมายและหากเกิดความขัดแย้งสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องรู้จัก ภาษีศุลกากรคืออะไร

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ภาษีศุลกากร คืออะไร? ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้ ภาษีส่งออก ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้ การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม เงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้ง

การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินที่นอกจากเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่อีกด้วย หลายคนมักจะนิยมใช้เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ไปจนถึงการโอนเงินให้เพื่อนหรือครอบครัวก็ตาม ซึ่งการโอนเงินผ่านระบบนั้น นับว่าช่วยทำให้ชีวิตได้รับสะดวกสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้หากมีการเงินเข้าออกบัญชีบ่อย หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าโอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม และมีผลกระทบอะไรกับเราบ้างไปดูกัน โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม ตามจริงแล้วเงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากทำบ่อยเกินไปและมีมูลค่ารวมที่สูง ก็อาจถูกตรวจสอบภาษีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรต้องการตรวจสอบว่าที่มาของเงินนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบที่มาของเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือการได้เงินมาแบบผิดกฎหมายนั่นเอง เงินเข้าออกบัญชีบ่อยห้ามเกินกี่ครั้ง ปัจจุบันมีกฎหมายที่ระบุว่าสามารถมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้งต่อปีขึ้นมา ซึ่งถ้าหากมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีจำนวนมาก และมีมูลค่าสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลให้กรมสรรพากรทราบ และหากพฤติกรรมการทำธุรกรรมผิดปกติ เช่น การโอนเงินไปมาระหว่างบัญชีหลาย ๆ บัญชีบ่อยครั้ง กรมสรรพากรอาจจะสงสัยว่าเรามีการฟอกเงินหรือทำผิดกฎหมายได้ ซึ่งจำนวนหารโอนเงินที่กำหนดไว้มีดังนี้ ถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบไม่ต้องตกใจไป ให้เราควรเตรียมเอกสารต่าง ๆเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่ออำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่และเพื่อป้องกันเอกสารตกหล่นจนมีปัญหาตามมาได้ ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมโดยทั่วไปจะมีดังนี้ ต้องทำยังไงถึงจะไม่เสียภาษี เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละปีได้ เพราะนอกจากจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายอย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการ ดังนี้ สิ่งที่ไม่ควรทำ การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ทุกวันเป็นเรื่องปกติของคนส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้เงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งปัญหาที่คุณไม่คาดคิดขึ้นได้ ดังนั้น การโอนเงินอย่างมีระเบียบและวางแผนอย่างรอบคอบจะสามารถช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น และลดปัญหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎหมายได้ นอกจากนี้ การรู้จักการจัดการธุรกรรมของตนเองจะช่วยให้คุณสามารถปกป้องทรัพย์สินของตัวเองให้ปลอดภัยได้อีกด้วย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ใครต้องเป็นคนออกเอกสาร

การทำธุรกิจในปัจจุบันต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารทางการเงินหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงว่าเราถูกหักภาษีไว้แล้วเท่าไหร่ สามารถนำไปใช้ยื่นและขอคืนภาษีได้ ซึ่งใบหักภาษี ณ ที่จ่ายจะมีความหมาย ความสำคัญกับธุรกิจอย่างไรบ้าง และใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ออกเอกสารนี้ไปดูกัน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ เอกสารที่ผู้จ่ายเงินออกให้แก่ผู้รับเงิน ว่ามีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนจะจ่ายเงินให้ผู้รับเงิน โดยใบนี้เป็นหลักฐานที่ผู้รับเงินสามารถใช้ในการยื่นภาษีประจำปีเพื่อขอคืนภาษีหรือชำระเพิ่มเติมได้ ใครต้องเป็นคนออกเอกสาร ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ที่มีหน้าที่ออกเอกสารใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ ผู้จ่ายเงินและเป็นผู้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ก่อนจ่ายเงินให้ผู้รับเงินที่เป็นทั้งบุคคลทั่วไปและบริษัทนิติบุคคล ซึ่งมีเอกสารในการออกต่ากัน ดังนี้ ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 ผู้ที่ต้องออกใบหักภาษี ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.3 คือผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีรายได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา เช่น การจ่ายค่าจ้างฟรีแลนซ์ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือค่าบริการต่าง ๆ โดยผู้จ่ายเงินต้องคำนวณและหักภาษีตามประเภทของเงินได้และอัตราที่กำหนด เอกสารนี้ต้องระบุรายละเอียดทั้งของผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินให้ชัดเจน และต้องนำส่งภาษีที่หักไว้ให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 ใบหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นแบบที่ใช้สำหรับการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีตามรอบระยะเวลาบัญชี การนำส่งภาษีต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับแบบ ภ.ง.ด.3 เงินได้ประเภทใดที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย? เงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหลายประเภท แบ่งตามลักษณะของผู้รับเงินและประเภทของรายได้ โดยกรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดาจะใช้แบบ ภ.ง.ด.3 และกรณีผู้รับเงินเป็นนิติบุคคลจะใช้แบบ ภ.ง.ด.53 ทั้งนี้ อัตราการหักภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทของเงินได้ อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การหักภาษี ณ ที่จ่าย มีอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทของเงินได้และสถานะของผู้รับเงิน ซึ่งผู้จ่ายเงินต้องทำความเข้าใจอัตราการหักภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน เพื่อหักภาษีได้อย่างถูกต้อง ค่าจ้างและเงินเดือน 0% กรณีเงินเดือนและค่าจ้างพนักงานประจำ จะมีการคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ หากหักแล้วรายได้พนักงานยังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี นายจ้างไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้ามีการหักไว้แล้ว พนักงานสามารถขอคืนภาษีได้เมื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ 5% การจ่ายค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่ามีสิทธิในการถือกุญแจ เช่น การเช่าอาคารพาณิชย์ หรือ การเช่าออฟฟิศ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 5% ซึ่งแตกต่างจากการเช่าเพื่อจัดงานชั่วคราวที่จะถูกหักในอัตรา 3% ตามหมวดการจ้างบริการ ค่าโฆษณา 2% การจ่ายค่าบริการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อดิจิทัลและสื่อสิ่งพิมพ์จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 2% แต่หากเป็นการตลาดอื่น ๆ เช่น การจ้างอินฟลูเอนเซอร์ หรือการจ้างที่ปรึกษาด้านการตลาด จะถูกหักในอัตรา 3% ค่าขนส่ง 1% บริการขนส่งโดยภาคเอกชนที่จดทะเบียนเป็นธุรกิจขนส่ง จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1% ยกเว้นบริการขนส่งของไปรษณีย์ไทยที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกหักภาษี ตัวอย่างใบหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและวิธีการกรอกข้อมูลในใบหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรามีตัวอย่างเอกสารที่ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมสรรพากร พร้อมคำอธิบายในแต่ละช่อง การจัดการเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่สำคัญของผู้ประกอบการที่ต้องทำให้ถูกกฎหมาย ทั้งการหักภาษีในอัตราที่เหมาะสมตามประเภทรายได้ การออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย และการยื่นภาษีให้กรมสรรพากรตามกำหนดเวลา เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและป้องกันปัญหาด้านกฎหมายในอนาคต  การจัดการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ประกอบการที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งการหักภาษีในอัตราที่เหมาะสมตามประเภทของรายได้ การออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย และการยื่นภาษีให้กับกรมสรรพากรตามกำหนดเวลา เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและป้องกันปัญหาด้านกฎหมายในอนาคต การใช้ PEAK Tax เป็นตัวช่วยในการจัดการเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย โดยระบบของ PEAK จะช่วยคำนวณอัตราภาษีที่ต้องหักตามประเภทของรายได้และออกใบหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังช่วยในการยื่นภาษีออนไลน์ให้กับกรมสรรพากรได้อย่างตรงเวลา ลดความเสี่ยงในการผิดพลาด และช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระคืออะไร สำคัญอย่างไรต่ออาชีพอิสระ

การทำงานในยุคดิจิทัลทำให้อาชีพอิสระเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่การจะพิสูจน์ว่าแหล่งที่มาของรายได้มีความน่าเชื่อถือขนาดไหนอาจเป็นเรื่องที่ยาก หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระจึงเป็นเอกสารสำคัญที่ช่วยรับรองสถานะทางการเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกในการขอสินเชื่อหรือติดต่อราชการ เราจึงจะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระว่ามีความสำคัญอย่างไร พร้อมตอบคำถามว่าใบนี้ขอได้ที่ไหนบ้าง  หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระคืออะไร หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระ หรือที่รู้จักในชื่อ “เอกสาร 50 ทวิ” เป็นเอกสารทางการที่ออกโดยผู้ว่าจ้างเพื่อรับรองรายได้ของผู้ประกอบอาชีพอิสระ เอกสารนี้แสดงรายละเอียดการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากค่าตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่สถาบันการเงินและหน่วยงานราชการยอมรับ หรือเปรียบเสมือนใบรับรองเงินเดือนของพนักงานประจำ แต่ปรับให้เหมาะกับรูปแบบการทำงานแบบอิสระ เอกสาร 50 ทวิ สำคัญอย่างไร เอกสาร 50 ทวิ เป็นมากกว่าแค่กระดาษรับรองรายได้ แต่เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความมีตัวตนในระบบภาษี และการขอคืนภาษี รวมถึงเพิ่มความน่าเชื่อถือในการประกอบอาชีพ และเอกสารนี้จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการพิสูจน์ความสามารถทางการเงิน สามารถใช้ทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การขอสินเชื่อ การเปิดบัญชี หรือการลงทุนได้ เอกสาร 50 ทวิ มีประโยชน์อย่างไร เอกสาร 50 ทวิ เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญที่เปิดโอกาสทางการเงิน ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าถึงบริการทางการเงินได้เทียบเท่ากับพนักงานประจำ ทั้งการขอสินเชื่อต่าง ๆ และการทำบัตรเครดิต นอกจากนี้ ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการยื่นขอวีซ่า การทำประกันชีวิต หรือการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ ทำให้การประกอบอาชีพอิสระมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระมีข้อมูลอะไรบ้าง หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระถือเป็นเอกสารสำคัญ ข้อมูลต้องมีความถูกต้องเพื่อการสร้างความน่าเชื่อให้กับอาชีพอิสระ โดยเฉพาะการติดต่อสถาบันการเงินหรือหน่วยงานราชการ ดังนั้น ผู้ประกอบอาชีพอิสระควรตรวจสอบข้อมูลในเอกสารให้ถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลสำคัญดังนี้  หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระมีอายุการใช้งานกี่เดือน การใช้หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องมีความเป็นปัจจุบัน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรม แต่ละหน่วยงานจะกำหนดอายุหนังสือรับรองเงินเดือนแตกต่างกันไป ดังนั้น การเตรียมเอกสารควรคำนึงถึงระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละกรณี ดังนี้ สามารถขอหนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระได้จากที่ไหน ผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถขอหนังสือรับรองเงินเดือนได้จากผู้ว่าจ้างโดยตรง เมื่อมีการจ่ายค่าตอบแทนและมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ออกเอกสาร 50 ทวิ ให้ทันที โดยเอกสารนี้จะระบุรายละเอียดการหักภาษี และจำนวนเงินที่ได้รับ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการยืนยันรายได้และการจัดการภาษีประจำปี นอกจากนี้ ยังสามารถขอย้อนหลังได้หากมีความจำเป็น สรุปบทความ หนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระเป็นเอกสารสำคัญที่ช่วยยืนยันรายได้และสถานะทางการเงิน เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระเข้าถึงบริการทางการเงินและสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ส่วนเจ้าของธุรกิจเองที่ไม่อยากวุ่นวายกับการทำหนังสือรับรองเงินเดือนอาชีพอิสระ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

28 พ.ย. 2024

PEAK Account

12 min

ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสสร้างรายได้สูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนในด้านภาษี เพื่อป้องกันความผิดพลาดและลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีที่ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกควรทราบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ทำความรู้จักการนำเข้าสินค้าและภาษีนำเข้า การนำเข้า คือ การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย โดยต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและเสียภาษีที่ด่านศุลกากร สินค้าที่นำเข้ามักถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทสินค้า เช่น ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยอัตราภาษีที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น รถยนต์หรูหราหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักถูกเก็บภาษีสูง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและสร้างรายได้ให้รัฐบาล ทำความรู้จักการส่งออกสินค้าและภาษีส่งออก การส่งออก คือ การส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ เช่นเดียวกับการนำเข้า สินค้าส่งออกต้องผ่านการตรวจสอบที่ด่านศุลกากร สินค้าบางประเภท เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อาจถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อควบคุมการส่งออก ภาษีส่งออก คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อมีการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณจำกัดหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ประเทศผู้ส่งออกจะเก็บภาษีเพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า 1. อากรขาเข้า (Import Duties) อากรขาเข้า เป็นภาษีที่เรียกเก็บเมื่อสินค้ามีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยจะคำนวณภาษีจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้า อัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้าตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ เป็นต้นอัตราภาษีสรรพสามิตคำนวณจาก  ภาษีสรรพสามิต=(มูลค่าศุลกากร + อากรนำเข้า)×อัตราภาษีสรรพสามิต 3. ภาษีเพื่อมหาดไทย (Interior Tax) ภาษีเพื่อมหาดไทย เป็นการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ภาษีสรรพสามิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา โดยคำนวณจากมูลค่าภาษีสรรพสามิตที่กำหนดไว้ ด้วยอัตรา 10% ดังนี้ ภาษีเพื่อมหาดไทย=ภาษีสรรพสามิต×10% 4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอนการผลิตและการค้า ผู้นำเข้าจะต้องเสีย VAT จากมูลค่าสินค้า พร้อมกับอากรขาเข้าและภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี) โดยทั่วไปอัตรา VAT คือ 7% ภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากฐานภาษีซึ่งประกอบด้วย VAT สามารถขอคืนได้ในฐานะ “ภาษีซื้อ” ภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตาม อากรขาเข้าไม่สามารถขอคืนได้ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า 1. อากรขาออก (Export Duties) อากรขาออกเป็นภาษีที่เรียกเก็บสำหรับการส่งออกสินค้าบางประเภทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น โดยจะคำนวณจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้าอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้า อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า โดยระบุไว้ใน ประกาศกรมศุลกากร ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดประเภทสินค้าและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศกรมศุลกากรที่ 103/2561ตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยได้รับการ ยกเว้น VAT หรือเรียกว่าอัตรา 0% (Zero Rate) เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ แต่ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบกำกับภาษีเพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าและจำนวนภาษีที่เกี่ยวข้องและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งออกสินค้า และต้องมีหลักฐานยืนยันการส่งออก เช่น ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration) และใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออกไม่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน เช่น ไม่มีใบขนสินค้าขาออกที่สมบูรณ์ทไม่มีหลักฐานการรับชำระเงินจากต่างประเทศ สินค้านั้นอาจไม่ได้รับสิทธิยกเว้น VAT เคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออก การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดและสร้างรายได้ กาศึกษารายละเอียดภาษีอย่างครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในระยะยาว นอกจากนี้การออกเอกสารภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาและความล่าช้าในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการงานด้านบัญชีและภาษีอย่างครบวงจร เช่น การออกใบกำกับภาษี การจัดเก็บเอกสารบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายและรายงานการเงินที่ครบถ้วนและทันสมัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

11 ก.ย. 2024

จักรพงษ์

16 min

ขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ใครที่กำลังจะขายที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้องสงสัยแน่ๆ ว่าเราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวข้องในทางภาษีบ้าง เพื่อเตรียมตัวและเตรียมเงินก่อนตกลงทำสัญญาซื้อขายและวางแผนทางการเงิน เช่น เราจะให้ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดค่าธรรมการโอน หรือภาษีอะไรบ้าง เป็นต้น วันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักภาษีและวิธีคำนวณภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์กันครับ ทำความรู้จักก่อนว่า อสังหาริมทรัพย์คืออะไร ? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติ กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินกับทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย”  จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปให้ง่ายๆ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสิ่งอื่นใดที่อยู่ติดกับที่ดินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทรัพย์ตามธรรมชาติที่ประกอบเป็นอันเดียวกับดิน เช่น แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ดินนั้นก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ในทางภาษี เราต้องทราบว่าได้อสังหาริมทรัพย์มาได้อย่างไร? กรมสรรพากร แบ่งการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 2 กรณี คือ1. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งค้าหรือหากำไรเช่น เราซื้อที่ดินมาเพื่อเก็งกำไรและขาย หรือซื้อที่ดินเพื่อจัดสรร ปลูกสร้างอาคาร คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารโรงงานเพื่อจำหน่าย เป็นต้น2. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร แบ่งออกเป็น2.1 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา(ได้มาฟรี มีคนยกให้)2.2 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร เช่น ซื้อที่ดินมาเพื่อทำการเกษตรกรรม ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างมาเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ภาระภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง? ไม่ว่าผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จะมี 4 ภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ได้แก่  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย(Withholding Tax :WHT)2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ(Specific Business Tax :SBT)3. อากรแสตมป์(Stamp Duty) 4. ค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับฐานภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้คำนวณจะมี 2 ฐาน คือ ราคาซื้อขายจริง และราคาประเมินทุนทรัพย์จากกรมธนารักษ์ที่จะมีประเมินใหม่ทุกๆ 4 ปี สำหรับราคาประเมินที่ดินรอบปัจจุบันใช้สำหรับรอบบัญชีปี 2566 – 2569 (เริ่ม 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2569) เบื้องต้นสามารถตรวจสอบราคาประเมินด้วยตนเองได้ที่ 1. เว็บไซต์กรมธนารักษ์ . แอปพลิเคชันของกรมธนารักษ์  TRD Property Valuation3. Call Center กรมธนารักษ์ โทร 0-2270-0360-63 และ 0-2059-4999 PEAK ขอเล่า : การคำนวณภาษีเงินได้อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา อย่างแรกเราต้องเข้าใจว่า “บุคคลธรรมดา” ในทางภาษีไม่ได้หมายถึงเพียงแค่บุคคลที่มีชีวิตจริง แต่รวมถึงบุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลด้วย  สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดามีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการคำนวณจะผันแปรไปตามวิธีการได้มาของอสังหาริมทรัพย์นั้นว่าได้รับมาจากมรดก/เสน่หา ได้มาเพื่อจะนำมาค้าหากำไรหรือได้มาเพื่อใช้ไม่ได้มุ่งค้าหากำไร ถ้าได้มาเพื่อค้าหากำไรจะไม่สามารถเลือกใช้สิทธิ์ “ภาษีสุดท้าย Final Tax” ได้ ทำให้เมื่อบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี (นับวันชนวัน) นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปี (นับวันชนวัน) ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% กรณีผู้ขายมิได้มุ่งค้าหากำไร เช่น บุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเกินกว่า 1 ปี ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก เมื่อโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะได้รับใบสีฟ้า เรียกว่า “ใบเสร็จรับเงินในราชการกรมที่ดิน” จะแสดงรายละเอียดค่าภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นจะมีรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งใครที่เลือกนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปคำนวณภาษีสิ้นปีอีกครั้ง สามารถใช้ใบเสร็จดังกล่าวเป็นหลักฐานเพื่อใช้เครดิตภาษีได้ แต่คำแนะนำเบื้องต้น คือ ถ้าผู้ขายมีรายได้จากทางอื่นๆ ด้วย การนำรายได้จากการขายอสังริมทรัพย์มารวมด้วยมักจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น จึงไม่ควรเลือกนำมารวมกับภาษีสิ้นปีครับ วิธีการความคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเงินได้สุทธิเฉลี่ยต่อปี ขั้นตอนที่ 2 นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษีเงินได้(ขั้นที่ 1) 1 – 300,000 บาท 5% (ขั้นที่ 2) 300,001 – 500,000 บาท 10%(ขั้นที่ 3) 500,001 – 750,000 บาท 15%(ขั้นที่ 4) 750,001 – 1,000,000 บาท 20% (ขั้นที่ 5) 1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% (ขั้นที่ 6) 2,000,001 – 4,000,000 บาท 30% (ขั้นที่ 7) 4,000,001 บาท ขึ้นไป 40% ขั้นตอนที่ 3 คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา= ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี x จำนวนปีถือครอง ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา นาย ก ได้รับที่ดินจากมรดก เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์โดยการมุ่งการค้าหรือหากำไร นาย ข ซื้อที่ดินเพื่อค้าขาย เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท การคำนวณภาษีเงินได้ภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคล สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคลมีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียในอัตรา 1%  เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้นิติบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภ.ง.ด.50 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร ซึ่งปกตินิติบุคคลจะเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร เพราะกรมสรรพากรกำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่นิติบุคคลมีไว้ในการประกอบกิจการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% ซึ่งในทางปฏิบัติค่อนข้างยากที่นิติบุคคลจะเข้ากรณีที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เพราะปกติจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาก่อนอย่างที่อธิบายข้างต้น ทั้งนี้ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก ตัวอย่าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ค จำกัด ซื้อที่ดินมาเมื่อปี พ.ศ. 2562 นำขายไป 3,000,000 บาท โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมใน พ.ศ. 2567 และราคาประเมินที่ 2,000,000 บาท อย่างไรก็ตาม ใครที่กังวลว่าการคำนวณดูยาก ซับซ้อน สบายใจได้เลยครับ เพราะภาษีทั้งหมดข้างต้นเมื่อเรามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะเป็นคนคำนวณแทนเราเองครับ แต่ถ้าเราเข้าใจการคำนวณก็สามารถคำนวณตัวเลขเบื้องต้นเพื่อประมาณค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ข่าวดีคือไม่ว่าผู้ขายจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็สามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน เพียงแค่กรอกข้อมูลที่จำเป็น ระบบก็จะคำนวณตัวเลขทั้งหมดให้อัตโนมัติครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณยังต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

30 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

5 min

ใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์แทนลายเซ็นจริงหรือไม่ประทับตรานิติบุคคลบนใบ 50 ทวิได้ไหม? 

การจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน หรือการจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรก็ตามที่ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเอาไว้ หนึ่งในหน้าที่ของผู้จ่ายเงินคือต้องมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า “ใบ 50 ทวิ” กิจการบางแห่งมีการออกเอกสารหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือนเยอะมาก การปริ้นเอกสารและเซ็นลายมือจริงทุกใบ หรือแม้แต่การประทับตรานิติบุคคลทุกใบ ก็เป็นภาระเวลาในการจัดทำไม่น้อย  ถ้าตัดขั้นตอนบางอย่างทำให้การจัดทำเอกสารหัก ณ ที่จ่ายเร็วขึ้น ก็คงจะช่วยผู้ประกอบการหรือนักบัญชีได้มากโขเลยทีเดียว ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามยอดฮิตเพื่อลดเวลาในการจัดทำเอกสารดังกล่าวกันครับ 1. ใช้ลายเซ็นที่สแกนไว้ในคอมพิวเตอร์บนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ50ทวิ) ได้ไหม? ได้ครับ นอกจากการเซ็นด้วยลายมือจริงแล้ว เรายังสามารถใช้วิธีการอื่นแทนได้ เช่น ใช้การประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้ อ้างอิงตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) 2. ไม่ประทับตราประทับนิติบุคคลบนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ50ทวิ) ได้ไหม? ได้ครับ เพราะ การประทับตรานิติบุคคลไม่ได้เป็นข้อบังคับให้ทำ โดยไม่สนใจว่านิติบุคคลจะมีตราประทับอยู่แล้วหรือไม่ ขอเพียงแค่มีข้อความอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) ครบถ้วนและถูกต้องก็พอครับ แต่ถ้าเรามีตราประทับนิติบุคคลอยู่แล้ว ถ้าเลือกประทับตราไปด้วยทุกครั้งก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจของผู้รับว่าเอกสารนี้ออกจากเราจริงๆ และถือเป็นการควบคุมภายในที่ดีของกิจการเราด้วยครับ ย้ำอีกครั้ง การจัดทำหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ไม่จำเป็นต้องเซ็นลายมือจริง หรือไม่ต้องประทับตรานิติบุคคลก็ได้ แต่ถ้าอยากทำเพื่อการควบคุมภายในที่ดีจะเลือกทำก็ได้ครับ สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาต้องออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวนมาก โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยกิจการสร้างหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายในรูปแบบที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสวยงามให้อัตโนมัติ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

6 min

ถอด VAT คืออะไร? ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้วิธีคำนวณนี้

การถอด VAT เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเจอในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อมีการขายสินค้าที่เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า หรือการถอด VAT จากสินค้าที่ซื้อมาเพื่อที่ช่วยให้เราทราบราคาต้นทุนที่แท้จริงของสิ่งนั้น นอกจากนี้ การถอด VAT ยังช่วยให้นักบัญชีของกิจการจัดการภาษีได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย ซึ่งมีทั้งการถอด VAT 3% และ 7% ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้วิธีการ ถอด VAT เรามีวิธีคำนวณมาฝากกัน ก่อนถอด VAT ควรรู้จัก VAT คืออะไร  VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี จากการผลิตและขายสินค้านั้น จะต้องเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ และต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำภายใน 30 วัน  วิธีถอด VAT คำนวณด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน การถอด VAT เป็นการถอดเพื่อให้เราทราบราคาที่แท้จริงของสินค้าก่อนคิด VAT ว่ามีราคาเท่าไหร่ และสามารถคำนวณภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามอัตราภาษี ดังนี้  วิธีถอด VAT 3% VAT 3% มักใช้กับธุรกิจที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก กิจการที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี  การจ้างทำของ หรือทำงานต่าง ๆ โดยวิธีการคำนวณนั้นจะทำได้โดยการนำราคาสินค้าที่รวม VAT แล้ว มาหารด้วย 1.03 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นราคาที่ไม่รวม VAT ส่วนต่างระหว่างราคารวมกับราคาที่ไม่รวม VAT คือจำนวนภาษีที่ต้องนำส่ง ตัวอย่างการคำนวณ : สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,300 บาท  วิธีถอด VAT 7% การถอด VAT 7% เป็นการคำนวณที่ใช้กับธุรกิจทั่วไปที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคำนวณคล้ายกับการถอด VAT 3% แต่ใช้ตัวหารเป็น 1.07 แทน การถอด VAT ที่ถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจคำนวณต้นทุน กำไร และภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการคำนวณ สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,700 บาท การเสียภาษี VAT ถ้าธุรกิจของเราเป็นทั้งผู้ขายสินค้าและซื้อสินค้ามา เราต้องมีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย โดยนำภาษีขายที่เก็บจากลูกค้าตลอดเดือนภาษี มาลบด้วยภาษีซื้อที่จ่ายให้ซัพพลายเออร์ในเดือนเดียวกัน หากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าภาษีขายสูงกว่าภาษีซื้อ เจ้าของธุรกิจจ่ายส่วนต่างให้กรมสรรพากร แต่หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะรับภาษีส่วนเกินคืน หรือเก็บไว้เป็นเครดิตภาษีสำหรับการคำนวณในรอบเดือนถัดไปได้เลย  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าหรือซื้อสินค้า การถอด VAT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้เราทราบต้นทุนที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มเงินทุนให้สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อีก นอกจากการคำนวณ VAT ด้วยเครื่องคิดเลขแล้ว การใช้ PEAK Tax ยังช่วยให้การคำนวณภาษีและการออกเอกสารใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมรองรับการจัดการภาษีและบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเติบโตไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

9 min

เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs

การบริหารภาษีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเพิ่มกำไรและบริหารเงินสดได้อย่างเหมาะสม การวางแผนภาษีไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียภาษีเกินความจำเป็น แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกัน! 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs ปี 2568 1. รู้จักประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง การเริ่มต้นวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SME นั้น ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ภาษีแต่ละประเภทจะมีวิธีการคำนวณและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งการรู้จักประเภทของภาษีจะช่วยให้การวางแผนภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และป้องกันการเสียภาษีเกินกว่าที่ควรจะเป็น 1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่คิดจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจทุกประเภทที่มีการดำเนินการในรูปแบบของนิติบุคคลต้องเสียภาษีนี้ การคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการคำนวณภาษี 1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  เป็นภาษีที่คิดจากการขายสินค้าหรือบริการในบางกรณี การเสียภาษีประเภทนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินการทางธุรกิจของคุณ หากคุณขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสีย VAT ก็จำเป็นต้องคำนวณและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง 1.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ภาษีที่ถูกหักออกจากเงินได้บางประเภทที่ธุรกิจจ่ายให้กับผู้รับบริการ เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ หรือเงินได้บางประเภท การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อให้การดำเนินงานของธุรกิจไม่เกิดปัญหาในอนาคต การรู้ว่าภาษีแต่ละประเภทมีการคำนวณและยื่นเอกสารอย่างไร จะช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและหลีกเลี่ยงค่าปรับที่ไม่จำเป็น 2. วางระบบบัญชีที่โปร่งใส การจัดการบัญชีที่เป็นระบบและโปร่งใสถือเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่มีประสิทธิภาพ การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีระเบียบไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดการภาษีให้เหมาะสม แต่ยังทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมทางการเงินของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในอนาคต โดยคุณสามารถทำได้ ดังนี้ 2.1 การใช้โปรแกรมบัญชี ช่วยจัดการงานบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชี ที่สามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างถูกต้อง และสามารถติดตามธุรกรรมต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ โปรแกรม PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถจัดการภาษีได้ง่ายขึ้น ด้วยฟังก์ชันที่รองรับ e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัวจะช่วยลดความยุ่งยากในการคำนวณภาษีและการรายงานทางการเงิน 2.2 การเก็บเอกสารหลักฐาน  ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ ใบกำกับภาษี และเอกสารทางการเงินต่าง ๆ จะช่วยให้การตรวจสอบการยื่นภาษีทำได้สะดวกและง่ายขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบโดยสรรพากรได้ เช่น PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์แบบครบวงจรที่สามารถเก็บเอกสารออนไลน์ได้ 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกหนึ่งการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีคือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4. วางแผนรายรับและรายจ่าย การจัดการรายรับและรายจ่ายอย่างมีแบบแผนช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4.1 เลื่อนรายรับ หากอยู่ในช่วงปลายปีและรายได้เกินเป้าหมาย อาจเลื่อนการรับเงินไปต้นปีถัดไปเพื่อกระจายรายได้ในหลายปี 4.2 เร่งรายจ่าย  ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือชำระค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในช่วงปลายปี เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายและลดกำไรสุทธิ 5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี ผู้ประกอบการควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือผู้ทำบัญชีที่มีความรู้ในด้านกฎหมายภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 6. ติดตามข่าวสารภาษีอย่างต่อเนื่อง ภาษีเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกฎหมายและสถานการณ์เศรษฐกิจ การตรวจสอบและปรับปรุงแผนภาษีอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ การวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถลดภาระภาษีและเพิ่มกำไรได้ แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้าและนักลงทุนอีกด้วย เริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจคุณ ด้วย PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่จะช่วยในการบริหารจัดการภาษีภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ม.ค. 2025

PEAK Account

8 min

ผู้เสียภาษีต้องรู้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร แตกต่างจากเลขบัตรประชาชนไหม

คนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องเสียภาษีถ้ารายได้นั้นถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด ซึ่งในการยื่นภาษีนั้นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่กรมสรรพากรออกให้ผู้ที่ต้องจ่ายเสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลใช้ตัวเลขเหมือนกันไหม เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกัน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขเฉพาะที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ที่ต้องภาษีแต่ละคน เพื่อให้กรมสรรพากรใช้ในการระบุตัวตนของผู้ยื่นภาษี และใช้ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้จะมีเป็นเลข 13 หลักทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแต่เลขจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ บุคคลธรรมดา  สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขเดียวกันกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งออกให้โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ยื่นภาษีไม่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีใหม่ สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้เลย ส่วนผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาก็สามารถแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้ต่อกรมสรรพากรได้เลย ซึ่งการที่ใช้เลขเดียวกับบัตรประจำตัวแบบนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อน และทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น นิติบุคคล   สำหรับนิติบุคคลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลักที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรธุรกิจอื่น ๆ โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคลนี้จะมีความสำคัญในการทำธุรกรรมทางการค้า การออกใบกำกับภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่าง ๆ โดยเลขชุดนี้จะติดตัวนิติบุคคลไปตลอดอายุของกิจการ และใช้แสดงตัวตนทางธุรกิจกับคู่ค้าและหน่วยงานราชการได้ นอกจากนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษียังเป็นหลักฐานสำคัญว่าธุรกิจทำตามกฎหมาย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย การขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี สำหรับคนที่ทั่วไปหรือทำธุรกิจส่วนตัวที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี และนิติบุคคลที่เริ่มต้นธุรกิจแล้วยังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เราจำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  เพื่อให้การจัดการด้านภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง  โดยมีขั้นตอนการขอที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนี้ บุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลธรรมดาการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เนื่องจากใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับคนต่างด้าวและห้างหุ้นส่วนสามัญที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนให้ขอภายใน 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.1 สำหรับบุคคลธรรมดา และ แบบ ล.ป.10.2 สำหรับคณะบุคคล นิติบุคคล นิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติหลังจากจดทะเบียนบริษัท โดยเลขนี้จะเป็นเลขเดียวกับเลขทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียนนิติบุคคลและการได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้ขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทย หรือวันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มทำธุรกิจในประเทศไทย โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.3  การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรอง การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรองสามารถทำได้โดยการตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเลขทะเบียนนี้จะเป็นเลขชุดเดียวกันกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคล เราสามารถตรวจสอบข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยยืนยันตัวตนของคู่ค้า และการทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างมั่นใจ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่ใช้ในการระบุตัวตนทางภาษีและธุรกิจ โดยบุคคลธรรมดาจะใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ส่วนนิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งก่อนการยื่นภาษีหรือธุรกรรมต่าง ๆ ควรเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้พร้อมเพื่อความถูกต้องในการจัดการภาษีตามกฎหมาย โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

10 ม.ค. 2025

PEAK Account

7 min

ร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt เตรียมความพร้อมอย่างไรดี

ในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า โครงการ Easy E-Receipt 2.0 หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ ช้อปดีมีคืน ที่จัดขึ้นโดยกรมสรรพากร เป็นโอกาสสำคัญที่ร้านค้าไม่ควรพลาด โดยเฉพาะร้านค้าที่ต้องการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับรายละเอียดโครงการและการเตรียมความพร้อมสำหรับร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 คืออะไร? โครงการ Easy E-Receipt 2.0 เป็นโครงการที่กรมสรรพากรจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้าหันมาใช้ระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt แทนการออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินในรูปแบบกระดาษ ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ นอกจากนี้ การเข้าร่วมโครงการยังช่วยให้ร้านค้าสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มองหาธุรกิจที่มีความโปร่งใส เช็กความพร้อมร้านค้า ก่อนเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ร้านค้าแบบใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้? อย่างไรก็ตามยังมีร้านที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0 PEAK ตัวช่วยออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ของคุณ PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการออก e-Tax Invoice & e-Receipt อย่างเต็มรูปแบบ โดยได้รับการรับรองจากกรมสรรพากร จุดเด่นของ PEAK คือการช่วยให้ร้านค้าจัดการเอกสารทางบัญชีได้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง e-Tax Invoice การส่งเอกสารถึงลูกค้า หรือการบันทึกข้อมูลลงในระบบบัญชีโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ PEAK ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนส่งไปยังกรมสรรพากร ทำให้คุณมั่นใจได้ในทุกขั้นตอน การเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังช่วยสร้างโอกาสในการกระตุ้นยอดขายให้ร้านค้า หากคุณต้องการให้ธุรกิจของคุณเติบโตในยุคดิจิทัล การเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม PEAK พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจของคุณ สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์วันนี้ เพื่อก้าวเข้าสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

เจ้าของธุรกิจทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมาย ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์

การทำธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและเอกสารสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เพื่อให้ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องติดอย่างไร เมื่อไหร่ และมีอัตราเท่าไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องอากรแสตมป์อย่างละเอียด เพื่อให้การทำสัญญาของเราถูกต้องและใช้ได้ตามกฎหมาย ภาษีอากรแสตมป์ คืออะไร ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารและสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีลักษณะเป็นแสตมป์ที่ต้องติดลงบนตราสารหรือเอกสารสำคัญภายใน 15 วันหลังจากการลงนาม เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาเช่า หนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ทั้งนี้ อัตราค่าอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของตราสาร ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์สำคัญกับการทำสัญญาอย่างไร การติดอากรแสตมป์ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมอากรแสตมป์จึงมีความสำคัญ ยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย การติดภาษีอากรแสตมป์ในเอกสารหรือสัญญาเป็นการรับรองว่าเอกสารนั้นได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปรียบเสมือนตราประทับรับรองจากภาครัฐ ทำให้เอกสารน่าเชื่อถือและใช้ได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าผู้ทำสัญญามีความตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงและเคารพกฎหมาย ป้องกันความขัดแย้ง การติดอากรแสตมป์ช่วยป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญานี้กันจริง และสัญญานั้นผ่านการรับรองตามกฎหมายแล้ว ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง สัญญาที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนจะมีน้ำหนักในการพิจารณามากกว่าสัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์  ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สัญญาที่ติดภาษีอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทันที ในขณะที่สัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์หรือติดไม่ครบถ้วน อาจถูกปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล หรือต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น การติดอากรแสตมป์จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี การชำระค่าอากรแสตมป์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลักษณะของเอกสาร ดังนี้ ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย การชำระอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับประเภทเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่พบบ่อย ได้แก่ 1. สัญญาเช่าทรัพย์สินอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินมีอัตราอยู่ที่ 1 บาทต่อค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากค่าเช่าระบุไว้ที่ 10,500 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 11 บาท ซึ่งการคำนวณนี้ครอบคลุมถึงสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ เช่น เช่าที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์ 2. ตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค)สำหรับเอกสารประเภทตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 3 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เช่น หากยอดเงินในตั๋วเงินระบุไว้ที่ 6,500 บาท ผู้ที่ออกตั๋วจะต้องชำระอากรแสตมป์จำนวน 12 บาท 3. หนังสือมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่มักใช้ในทางธุรกิจหรือการดำเนินการทางกฎหมาย จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 10 บาทต่อฉบับ โดยไม่มีการคิดเพิ่มตามมูลค่าหรือรายละเอียดของเอกสาร 4. สัญญากู้ยืมเงินในกรณีของสัญญากู้ยืมเงิน อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากมีการกู้เงินจำนวน 50,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 25 บาท 5. สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานออกแบบ จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อค่าแรง 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เช่น หากค่าแรงรวมทั้งหมดเป็น 15,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 15 บาท 6. สัญญาค้ำประกันสัญญาค้ำประกันที่ใช้ในการรับรองหรือค้ำประกันภาระผูกพันทางการเงิน จะต้องชำระอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 7. สัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์สำหรับสัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 0.1% ของมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น หากมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่ 1,000,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 1,000 บาท การติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารและสัญญาต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เอกสารมีผลทางกฎหมายและหากเกิดความขัดแย้งสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องรู้จัก ภาษีศุลกากรคืออะไร

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ภาษีศุลกากร คืออะไร? ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้ ภาษีส่งออก ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้ การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก