ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

27 มิ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

วิธีเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO 

การประกอบธุรกิจ มักมีการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือบริการกับคู่ค้าหลายราย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้า ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ VATINFO ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้าได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ “VATINFO” ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำไมร้านค้าถึงคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)? กิจการหรือร้านค้าคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ร้านค้าที่มียอดขายต่อปี เกินกว่า 1,800,000 บาท หรือ ประเภทธุรกิจที่ระบุไว้ในกฎหมาย ว่าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปัจจุบันอยู่ที่ 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีข้อดีหลายประการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ส่งผลดีกับธุรกิจอย่างไร VATINFO คืออะไร VATINFO หรือ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยกรมสรรพากรVATINFO ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในประเทศไทยได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาติดต่อกรมสรรพากรโดยตรง ประโยชน์ของ VATINFO ขั้นตอนการเช็กรายชื่อกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO ระบบจะแสดงข้อมูลกิจการชื่อ ที่อยู่ วันที่จดทะเบียนVAT ของสำนักงาน และสาขา (ถ้ามี)ในกรณีที่กิจการที่ค้นหาไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจด VAT ระบบจะขึ้นคำว่า “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ท่านค้นหาไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรุณาตรวจสอบหรือทำรายการใหม่” ประโยชน์ที่ได้จากการเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับเหตุผลที่คนมักอยากรู้ว่ากิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุผลทางการค้าเพื่อตรวจสอบความมีตัวตนและดูว่าคนที่เราทำธุรกรรมด้วยสามารถออกใบกำกับภาษีให้เราได้ ขอสรุปสั้นเป็น 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ 1 ทำให้มั่นใจว่าได้รับใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ขายเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกับกรมสรรพากร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใบกำกับภาษีเหล่านี้สามารถนำไปใช้หักภาษีซื้อหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 2 เป็นการยืนยันว่ากิจการมีตัวตนอยู่จริง การซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของธุรกรรม และช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกลวง ทำให้บางธุรกิจจะค้าขายกับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่านั้น 3 สามารถตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องในการออกใบกำกับภาษีได้ ข้อมูลการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มักจะรวมถึงชื่อบริษัท ที่อยู่ และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องสำหรับการออกใบกำกับภาษีได้ จบไปแล้วกับวิธีเช็กง่ายๆ ว่ากิจการที่เราจะค้าขายด้วยจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT หรือไม่ ผ่านระบบ “VATINFO” ของกรมสรรพากรนอกจากนี้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ยังเชื่อมต่อข้อมูลกิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มให้โดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่สร้างรายชื่อผู้ติดต่อไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย เพียงแค่กรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก ระบบก็จะขึ้นรายชื่อกิจการ และที่อยู่ของกิจการนั้นให้อัตโนมัติ ช่วยลดงานและเวลาของนักบัญชีได้อย่างมาก PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

5 เรื่องต้องรู้! การกระทบยอดรายได้บัญชีและภาษี (ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50)

หนึ่งในเรื่องที่ผู้ประกอบการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องโดนเวลาขอคืนภาษี คือ เจ้าหน้าที่สรรพากรจะขอรายงานหนึ่งที่เรียกว่า “รายงานกระทบยอดรายได้ทางบัญชีและภาษี” หรือที่นักบัญชีชอบเรียกกันว่า “กระทบยอด 30 vs 50” ซึ่งมีสมมติฐานว่ารายได้ที่บันทึกทางบัญชีควรต้องเท่ากับรายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) แต่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำด้วยเหรอ? ทำไมต้องขอ? แล้วต้องทำยังไง? ในบทความนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจว่าทำไมเราต้องกระทบยอดรายได้ไปจนถึงสาธิตการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าอยากรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะครับ อ่านกันต่อได้เล้ยยยย⏩⏩⏩ 1. ทำไมต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ?  เหตุผลเบื้องหลังการกระทบยอดรายได้ ง่ายๆ คือ เพื่อตรวจสอบจำนวนรายได้ที่บันทึกบัญชี (ภ.ง.ด.50 หรือ งบการเงิน) กับ รายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ว่าตรงกัน และยื่นภาษีครบถ้วน PEAK ขอเล่า : จริงๆ ผู้ประกอบการควรต้องกระทบยอดรายได้ทุกเดือนอยู่แล้ว(แต่คนส่วนใหญ่มักจะทำเป็นรายปี!) เพื่อดูว่ารายได้บันทึกบัญชีในแต่ละเดือนได้นำส่งภาษีครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ทำ แล้วมาพบทีหลัง ก็จะโดนค่าปรับย้อนหลัง ซึ่งบอกเลยว่าค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแพงสุดๆในบรรดาทุกภาษี เช่น วันดีคืนดีโดนสรรพากรเรียกตรวจ พบว่ายื่นภาษีมูลค่าเพิ่มขาดไป 10,000 บาท เราจะต้องนำส่งภาษีที่ขาดและค่าปรับอีก 2 เท่า แปลว่าต้องจ่ายรวม 30,000 บาท (ภาษี 10,000 + ค่าปรับ 10,000*2เท่า) นอกจากนี้ยังมีเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนอีกด้วย เรียกว่าโดนปรับทีหนึ่ง อาจเตรียมปิดกิจการได้เลย อ๊ากกก น่ากลัวมากก 😱😱 2. กิจการที่ต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ไม่ใช่ว่าทุกครั้งมีหน้าที่ต้องกระทบยอดรายได้ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 นะครับ เพราะภ.พ.30 นั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบที่จดภาษีมูลค่า (VAT) เท่านั้น – เน้นว่า ถ้าใครไม่ได้จด VAT ก็ไม่ต้องทำครับ – ดังนั้นกลุ่มที่ต้องกระทบยอดรายได้ หลักๆจะประกอบด้วย 1. บุคคลธรรมดา ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)2. นิติบุคคล ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) 3. ข้อมูลที่ใช้กระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าวันนี้เราเป็นผู้ประกอบการจด VAT รู้ตัวแล้วว่าทำไมต้องทำ คำถามถัดไป คือ ถ้าจะทำต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง? ผมได้สรุปเอกสารออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ครับ 4. วิธีกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 เมื่อเตรียมเอกสารที่ได้บอกครบถ้วน ต่อไปเราจะเริ่มมากระทบยอดรายได้กันครับ สูตร  คือ “ รายได้ทางบัญชี(ภ.ง.ด.50) ลบ รายได้ทางภาษีVAT(ภ.พ.30) = 0 ” หือออ แค่นี้เองเหรอ! ใช่ครับและตาไม่ฝาดแน่นอน ถ้าธุรกิจไม่ซับซ้อน เช่น ธุรกิจขายสินค้า เมื่อนำรายได้ทางบัญชีและทางภาษีมาลบกันแล้วมักจะไม่มีผลต่างครับ แปลว่าอาจยื่นภาษีได้ถูกต้อง (ผมใช่คำว่า “อาจ” แม้บางครั้งไม่มีผลต่าง แต่ก็มีกรณีที่มีรายได้แต่ไม่บันทึกบัญชีและยื่นภาษีด้วย) สำหรับธุรกิจที่เริ่มมีความซับซ้อนขึ้น เช่น ขายสินค้าแต่มีการเก็บมัดจำล่วงหน้า หรือธุรกิจให้บริการที่มีลูกหนี้การค้า วิธีกระทบยอดยังคงเป็นหลักการเดิม แต่จะเพิ่มรายการอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของผลต่างเข้ามาคำนวณด้วย หลักๆ ผมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจขายสินค้า และธุรกิจให้บริการ ดังนี้ ธุรกิจขายสินค้า ธุรกิจขายสินค้าที่ไม่มีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า เมื่อนำรายได้ตามบัญชีหักรายได้ทางภาษีมักจะไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้ามีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า จะต้องนำเงินมัดจำคงค้างปลายงวดและต้นงวดมาปรับด้วยตามรูปภาพ ธุรกิจให้บริการ ธุรกิจให้บริการการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีVAT มักจะเป็นคนละวันกัน ทำให้ต้องนำลูกหนี้การค้าปลายงวดและต้นงวดมากระทบยอดด้วย อีกทั้งถ้ามีการรับเงินมัดจำก็ต้องนำมากระทบยอดด้วยเช่นกัน ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น คือ ยอดลูกหนี้การค้าปกติจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไปด้วย ดังนั้นเมื่อนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอด อย่าลืมว่าต้องถอด VAT ออกจากลูกหนี้การค้าเสมอ ไม่งั้นจะเกิดผลต่างขึ้นได้ 5. สาเหตุผลต่างและวิธีแก้ไข บางครั้งชีวิตก็ไม่ได้ราบเรียบเสมอไป ถ้าเราใส่ตัวเลขไปครบถ้วนแล้ว แต่เกิดผลต่าง ไม่ได้แปลว่าจะเกิดความผิดพลาดเสมอไป จริงๆมีหลายเหตุผลมากที่ทำให้เกิดผลต่าง ดังนั้นก่อนที่เราจะไปแก้ไขปัญหา เรามาเข้าสิ่งที่อาจทำให้เกิดผลต่างจากการกระทบยอดรายได้กันครับ สาเหตุผลต่างที่ควรรู้ กรณีธุรกิจขายสินค้าวันที่รับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นวันเดียวกัน คือ วันที่ส่งมอบสินค้า ทำให้ไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะรับรู้รายได้ทางบัญชีเมื่อให้บริการเสร็จ แต่ภาษีจะรับรู้เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว นี้จึงเป็นเหตุผลที่ธุรกิจบริการจะต้องนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอดด้วย รายได้ที่บันทึกบัญชีไม่ได้จำเป็นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ เช่น ธุรกิจขายเนื้อหมูสดและขายมีดหั่นหมู ตอนบันทึกบัญชีจะบันทึกรายได้ทั้งขายหมูและขายมีด แต่ตอนเสียภาษีมูลค่าจะเสียจากรายได้ขายมีดเท่านั้น เพราะการขายเนื้อหมูเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  รายการที่ใช้กระทบยอดผิด หรือไม่ครบ เช่น ธุรกิจขายสินค้า แต่ใช้วิธีกระทบยอดของธุรกิจให้บริการ หรือ ธุรกิจบริการใช้ยอดลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ถอดVAT หรือ ไม่ได้นำเงินมัดจำ รวมถึงรายการอื่นๆ เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สิน รายได้ที่ไม่ต้องเสียVAT มากระทบ เป็นต้น ข้อนี้จะเป็นเรื่องที่กิจการทำผิดจริงๆ เช่น บันทึกบัญชีรายได้แต่ไม่ได้นำไปเสียVAT หรือนำรายได้ไปเสียVAT แต่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายได้ เป็นต้น วิธีแก้ไขเมื่อเกิดผลต่าง ถ้าผลต่างเกิดจากการกระทบยอดผิดวิธี ไม่ครบถ้วน หรือเข้าใจผิด เมื่อรู้สาเหตุแล้วต้องรีบแก้ไขทันทีก่อนยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน แต่ส่วนใหญ่มักจะมาทำหลังจากยื่นแบบ ภ.พ.30 ไปแล้ว จึงต้องยื่นแก้ไขแบบภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบต้องเสียทั้งค่าปรับและเงินเพิ่มครับ สรุป ท้ายนี้ผมหวังว่าผู้อ่านทุกคนจะเข้าใจและเห็นความสำคัญของการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 มากขึ้นนะครับ ก่อนจากกันไป ผมได้สรุปเนื้อหาให้อีกครั้งเป็น checklist สั้นๆ ดังนี้ครับ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

23 ม.ค. 2024

PEAK Account

9 min

มาตรการ  Easy E-Receipt 2567 สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับลูกค้า โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล

กลับมาอีกครั้ง สำหรับมาตรการดีๆ จากทางภาครัฐที่นอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดหย่อนภาษีแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย กับโครงการที่มีชื่อว่า Easy E-Receipt มาตรการนี้มีรายละเอียดเงื่อนไขอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ Easy E-Receipt คืออะไร Easy e-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ทดแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์แทนนั่นเอง แม้จะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างเอกสารที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงใช้สิทธิ์ทางภาษีได้เช่นเดียวกับรูปแบบกระดาษ โดย e-Tax Invoice จะต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อนำส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของ e-Tax Invoice & e-Receipt  สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร สินค้าที่สามารถลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ได้ ในการซื้อสินค้าเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีในโครงการ Easy E-Receipt นั้น ต้องเลือกซื้อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของโครงการ เนื่องจากมีสินค้าบางประเภทที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งสินค้าที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้นั้น จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy-E-Receipt ได้ ประกอบด้วย ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ซื้อสินค้านำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy e-Receipt นั้นต้องผู้มีเงินได้ ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยการลดหย่อนจะเป็นการลดหย่อนจากจำนวนเงินได้พึงประเมินสุทธิ ที่ต้องนำไปคำนวณร่วมกับฐานภาษีแบบขั้นบันได ดังตัวอย่างอัตราลดหย่อนสูงสุดของรายได้ต่อไปนี้ การตรวจสอบร้านค้าที่สามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ ก่อนที่เราจะเลือกซื้อสินค้าและบริการ เราสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยการนำเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรไปค้นหาผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร nbsp; ก็จะได้ข้อมูลร้านค้าตามต้องการ โครงการ Easy E-Receipt ไม่เพียงช่วยให้ผู้สินค้าและบริการมาใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนทางภาษีได้เท่านั้น หากแต่ยังสร้างโอกาสทางการขายให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้าต่างๆ อีกด้วย เพียงจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการ  Easy E-Receip นี้ PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลย

18 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

11 min

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร กันมาแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice อีกหนึ่งประเภทว่าคืออะไร และธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าร่วมโครงการ e-Tax Invoice ประเภทนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ต่อ ผมเชื่อว่าธุรกิจของคุณมีความพร้อมทางด้านระบบงาน มีการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินจำนวนมาก และพร้อมเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล นับจากนี้เรามาทำความรู้จักโครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ในเชิงลึกกันต่อเลยครับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 5 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ e-Tax Invoice & e-Receipt ออกได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. ใบกำกับภาษี (เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 2. ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 4. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่อยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) 3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและนำส่งให้แก่ผู้รับมีความถูกต้องครบถ้วนโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 4. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice by Time Stamp) ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบ XML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล 2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธีต่างๆ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการอัปโหลดเอกสารในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th 3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง 3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (www.thaidigitalid.com) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( ) ทั้งนี้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บด้วยอุปกรณ์ USB Token หรือ HSM และการเลือกใช้อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะการใช้งานของผู้ประกอบการแต่ละราย 2. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign&View ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม 4. ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน 5. ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง 6. เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ 7. เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ(Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน 8. จากนั้น ท่านสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสรุปเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ดังนี้ จากขั้นตอนการสมัครจะบางท่านจะคิดว่าขั้นตอนกระบวนการดูยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการผ่าน Service provide ทาง Service provide จะมีบริการช่วยทำตั้งแต่ขั้นตอนการของการจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) การสมัครเข้าโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยครับ ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice & e-Receipt กับโปรแกรม PEAK ปัจจุบัน PEAK สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ(Service provide) e-Tax Invoice & e-Receipt ถึง 2 ราย ได้แก่ 1) บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ INET เพิ่มเติมได้ที่นี่ 2) บจ. ฟรีเวชั่น จำกัด (Leceipt), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ Leceipt เพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากผู้ให้บริการ e-Tax Invoice & e-Receipt จะช่วยคุณตั้งแต่การสมัครและขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว PEAK ยังช่วยทำให้การส่งออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคู่ค้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกครับ PEAK ขอเล่า : การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้ง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร

จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice ผู้ประกอบการคงรู้กันแล้วว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ก็คือ การเปลี่ยนใบกำกับภาษีแบบกระดาษมาเป็นแบบออนไลน์ผ่านวิธีที่กรมสรรพากรรองรับ แต่สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ก็ต้องเลือกต่อว่าโครงการใดที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจของเรา ระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง e-Tax Invoice by Time Stamp กันครับว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร? e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ พร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม 3 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ออก e-Tax Invoice by Time Stamp ได้ นอกจากใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้แล้ว กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ผู้ประกอบการที่ต้องการขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp การยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice by Time Stamp กับโปรแกรม PEAK หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับอีเมลที่ได้ลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากรแล้ว สามารถใช้อีเมลดังกล่าวมากรอกและกดเชื่อมต่อการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับ PEAK ได้ทันทีง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งสามารถติดตามขั้นตอนการเชื่อมต่อและจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมได้ที่บทความ การเชื่อมต่อและวิธีจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Tax Invoice by Time Stamp PEAK ขอเล่า : สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

20 พ.ย. 2023

จักรพงษ์

11 min

 เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice

ปัจจุบันการติดต่อซื้อ – ขาย และการทำธุรกรรมเกิดขึ้นในระบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก ทำให้การทำธุรกรรม หรือการจัดเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบ e-Service มากขึ้น ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญซึ่งกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำและส่งมอบให้กับลูกค้า ตลอดจนนำส่งให้หน่วยงานจัดเก็บภาษี ดังนั้น เพื่อความสะดวก ลดภาระต้นทุนในการนำส่งและจัดเก็บใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กรมสรรพากรจึงได้มีการพัฒนาใบกำกับภาษีรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ที่เรียกกันว่า ใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice นั่นเอง ในบทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice ให้มากขึ้น e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ทดแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์แทนนั่นเอง แม้จะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างเอกสารที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงใช้สิทธิ์ทางภาษีได้เช่นเดียวกับรูปแบบกระดาษ โดย e-Tax Invoice จะต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อนำส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางออนไลน์ 5 เอกสารที่สามารถจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ หากแต่กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ สามารถออกในรูปแบบเอกสารออนไลน์หรืออิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน ได้แก่ ประโยชน์ของการจัดทำ e-Tax Invoice การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้น ช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่การลดต้นทุน การส่งเอกสารให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ซึ่งสรุปพอสังเขปได้ดังนี้ PEAK ขอเล่า: รูปแบบของโครงการ e-Tax Invoice การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice นั้น มี 2 โครงการ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเลือกเข้าสู่โครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น 1. e-Tax Invoice by Time Stamp e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการพร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม ซึ่งโครงการนี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กที่ยังไม่พร้อมเข้าสู่โครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt สนใจรายละเอียดโครงการ ขอแนะนำบทความ 👉 e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน 2. e-Tax Invoice & e-Receipt e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ซึ่งโครงการนี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่ที่มีการออกใบกำกับภาษีต่อเดือนจำนวนมาก สนใจรายละเอียดโครงการ ขอแนะนำบทความ 👉 e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญของทั้ง 2 โครงการ ขอสรุปความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt ดังนี้ PEAK ขอเล่า: การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้ว ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลย ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

27 มิ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

วิธีเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO 

การประกอบธุรกิจ มักมีการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือบริการกับคู่ค้าหลายราย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้า ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ VATINFO ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้าได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ “VATINFO” ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำไมร้านค้าถึงคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)? กิจการหรือร้านค้าคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ร้านค้าที่มียอดขายต่อปี เกินกว่า 1,800,000 บาท หรือ ประเภทธุรกิจที่ระบุไว้ในกฎหมาย ว่าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปัจจุบันอยู่ที่ 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีข้อดีหลายประการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ส่งผลดีกับธุรกิจอย่างไร VATINFO คืออะไร VATINFO หรือ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยกรมสรรพากรVATINFO ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในประเทศไทยได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาติดต่อกรมสรรพากรโดยตรง ประโยชน์ของ VATINFO ขั้นตอนการเช็กรายชื่อกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO ระบบจะแสดงข้อมูลกิจการชื่อ ที่อยู่ วันที่จดทะเบียนVAT ของสำนักงาน และสาขา (ถ้ามี)ในกรณีที่กิจการที่ค้นหาไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจด VAT ระบบจะขึ้นคำว่า “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ท่านค้นหาไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรุณาตรวจสอบหรือทำรายการใหม่” ประโยชน์ที่ได้จากการเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับเหตุผลที่คนมักอยากรู้ว่ากิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุผลทางการค้าเพื่อตรวจสอบความมีตัวตนและดูว่าคนที่เราทำธุรกรรมด้วยสามารถออกใบกำกับภาษีให้เราได้ ขอสรุปสั้นเป็น 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ 1 ทำให้มั่นใจว่าได้รับใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ขายเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกับกรมสรรพากร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใบกำกับภาษีเหล่านี้สามารถนำไปใช้หักภาษีซื้อหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 2 เป็นการยืนยันว่ากิจการมีตัวตนอยู่จริง การซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของธุรกรรม และช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกลวง ทำให้บางธุรกิจจะค้าขายกับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่านั้น 3 สามารถตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องในการออกใบกำกับภาษีได้ ข้อมูลการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มักจะรวมถึงชื่อบริษัท ที่อยู่ และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องสำหรับการออกใบกำกับภาษีได้ จบไปแล้วกับวิธีเช็กง่ายๆ ว่ากิจการที่เราจะค้าขายด้วยจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT หรือไม่ ผ่านระบบ “VATINFO” ของกรมสรรพากรนอกจากนี้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ยังเชื่อมต่อข้อมูลกิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มให้โดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่สร้างรายชื่อผู้ติดต่อไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย เพียงแค่กรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก ระบบก็จะขึ้นรายชื่อกิจการ และที่อยู่ของกิจการนั้นให้อัตโนมัติ ช่วยลดงานและเวลาของนักบัญชีได้อย่างมาก PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

5 เรื่องต้องรู้! การกระทบยอดรายได้บัญชีและภาษี (ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50)

หนึ่งในเรื่องที่ผู้ประกอบการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องโดนเวลาขอคืนภาษี คือ เจ้าหน้าที่สรรพากรจะขอรายงานหนึ่งที่เรียกว่า “รายงานกระทบยอดรายได้ทางบัญชีและภาษี” หรือที่นักบัญชีชอบเรียกกันว่า “กระทบยอด 30 vs 50” ซึ่งมีสมมติฐานว่ารายได้ที่บันทึกทางบัญชีควรต้องเท่ากับรายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) แต่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำด้วยเหรอ? ทำไมต้องขอ? แล้วต้องทำยังไง? ในบทความนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจว่าทำไมเราต้องกระทบยอดรายได้ไปจนถึงสาธิตการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าอยากรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะครับ อ่านกันต่อได้เล้ยยยย⏩⏩⏩ 1. ทำไมต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ?  เหตุผลเบื้องหลังการกระทบยอดรายได้ ง่ายๆ คือ เพื่อตรวจสอบจำนวนรายได้ที่บันทึกบัญชี (ภ.ง.ด.50 หรือ งบการเงิน) กับ รายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ว่าตรงกัน และยื่นภาษีครบถ้วน PEAK ขอเล่า : จริงๆ ผู้ประกอบการควรต้องกระทบยอดรายได้ทุกเดือนอยู่แล้ว(แต่คนส่วนใหญ่มักจะทำเป็นรายปี!) เพื่อดูว่ารายได้บันทึกบัญชีในแต่ละเดือนได้นำส่งภาษีครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ทำ แล้วมาพบทีหลัง ก็จะโดนค่าปรับย้อนหลัง ซึ่งบอกเลยว่าค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแพงสุดๆในบรรดาทุกภาษี เช่น วันดีคืนดีโดนสรรพากรเรียกตรวจ พบว่ายื่นภาษีมูลค่าเพิ่มขาดไป 10,000 บาท เราจะต้องนำส่งภาษีที่ขาดและค่าปรับอีก 2 เท่า แปลว่าต้องจ่ายรวม 30,000 บาท (ภาษี 10,000 + ค่าปรับ 10,000*2เท่า) นอกจากนี้ยังมีเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนอีกด้วย เรียกว่าโดนปรับทีหนึ่ง อาจเตรียมปิดกิจการได้เลย อ๊ากกก น่ากลัวมากก 😱😱 2. กิจการที่ต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ไม่ใช่ว่าทุกครั้งมีหน้าที่ต้องกระทบยอดรายได้ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 นะครับ เพราะภ.พ.30 นั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบที่จดภาษีมูลค่า (VAT) เท่านั้น – เน้นว่า ถ้าใครไม่ได้จด VAT ก็ไม่ต้องทำครับ – ดังนั้นกลุ่มที่ต้องกระทบยอดรายได้ หลักๆจะประกอบด้วย 1. บุคคลธรรมดา ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)2. นิติบุคคล ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) 3. ข้อมูลที่ใช้กระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าวันนี้เราเป็นผู้ประกอบการจด VAT รู้ตัวแล้วว่าทำไมต้องทำ คำถามถัดไป คือ ถ้าจะทำต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง? ผมได้สรุปเอกสารออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ครับ 4. วิธีกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 เมื่อเตรียมเอกสารที่ได้บอกครบถ้วน ต่อไปเราจะเริ่มมากระทบยอดรายได้กันครับ สูตร  คือ “ รายได้ทางบัญชี(ภ.ง.ด.50) ลบ รายได้ทางภาษีVAT(ภ.พ.30) = 0 ” หือออ แค่นี้เองเหรอ! ใช่ครับและตาไม่ฝาดแน่นอน ถ้าธุรกิจไม่ซับซ้อน เช่น ธุรกิจขายสินค้า เมื่อนำรายได้ทางบัญชีและทางภาษีมาลบกันแล้วมักจะไม่มีผลต่างครับ แปลว่าอาจยื่นภาษีได้ถูกต้อง (ผมใช่คำว่า “อาจ” แม้บางครั้งไม่มีผลต่าง แต่ก็มีกรณีที่มีรายได้แต่ไม่บันทึกบัญชีและยื่นภาษีด้วย) สำหรับธุรกิจที่เริ่มมีความซับซ้อนขึ้น เช่น ขายสินค้าแต่มีการเก็บมัดจำล่วงหน้า หรือธุรกิจให้บริการที่มีลูกหนี้การค้า วิธีกระทบยอดยังคงเป็นหลักการเดิม แต่จะเพิ่มรายการอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของผลต่างเข้ามาคำนวณด้วย หลักๆ ผมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจขายสินค้า และธุรกิจให้บริการ ดังนี้ ธุรกิจขายสินค้า ธุรกิจขายสินค้าที่ไม่มีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า เมื่อนำรายได้ตามบัญชีหักรายได้ทางภาษีมักจะไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้ามีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า จะต้องนำเงินมัดจำคงค้างปลายงวดและต้นงวดมาปรับด้วยตามรูปภาพ ธุรกิจให้บริการ ธุรกิจให้บริการการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีVAT มักจะเป็นคนละวันกัน ทำให้ต้องนำลูกหนี้การค้าปลายงวดและต้นงวดมากระทบยอดด้วย อีกทั้งถ้ามีการรับเงินมัดจำก็ต้องนำมากระทบยอดด้วยเช่นกัน ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น คือ ยอดลูกหนี้การค้าปกติจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไปด้วย ดังนั้นเมื่อนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอด อย่าลืมว่าต้องถอด VAT ออกจากลูกหนี้การค้าเสมอ ไม่งั้นจะเกิดผลต่างขึ้นได้ 5. สาเหตุผลต่างและวิธีแก้ไข บางครั้งชีวิตก็ไม่ได้ราบเรียบเสมอไป ถ้าเราใส่ตัวเลขไปครบถ้วนแล้ว แต่เกิดผลต่าง ไม่ได้แปลว่าจะเกิดความผิดพลาดเสมอไป จริงๆมีหลายเหตุผลมากที่ทำให้เกิดผลต่าง ดังนั้นก่อนที่เราจะไปแก้ไขปัญหา เรามาเข้าสิ่งที่อาจทำให้เกิดผลต่างจากการกระทบยอดรายได้กันครับ สาเหตุผลต่างที่ควรรู้ กรณีธุรกิจขายสินค้าวันที่รับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นวันเดียวกัน คือ วันที่ส่งมอบสินค้า ทำให้ไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะรับรู้รายได้ทางบัญชีเมื่อให้บริการเสร็จ แต่ภาษีจะรับรู้เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว นี้จึงเป็นเหตุผลที่ธุรกิจบริการจะต้องนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอดด้วย รายได้ที่บันทึกบัญชีไม่ได้จำเป็นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ เช่น ธุรกิจขายเนื้อหมูสดและขายมีดหั่นหมู ตอนบันทึกบัญชีจะบันทึกรายได้ทั้งขายหมูและขายมีด แต่ตอนเสียภาษีมูลค่าจะเสียจากรายได้ขายมีดเท่านั้น เพราะการขายเนื้อหมูเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  รายการที่ใช้กระทบยอดผิด หรือไม่ครบ เช่น ธุรกิจขายสินค้า แต่ใช้วิธีกระทบยอดของธุรกิจให้บริการ หรือ ธุรกิจบริการใช้ยอดลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ถอดVAT หรือ ไม่ได้นำเงินมัดจำ รวมถึงรายการอื่นๆ เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สิน รายได้ที่ไม่ต้องเสียVAT มากระทบ เป็นต้น ข้อนี้จะเป็นเรื่องที่กิจการทำผิดจริงๆ เช่น บันทึกบัญชีรายได้แต่ไม่ได้นำไปเสียVAT หรือนำรายได้ไปเสียVAT แต่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายได้ เป็นต้น วิธีแก้ไขเมื่อเกิดผลต่าง ถ้าผลต่างเกิดจากการกระทบยอดผิดวิธี ไม่ครบถ้วน หรือเข้าใจผิด เมื่อรู้สาเหตุแล้วต้องรีบแก้ไขทันทีก่อนยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน แต่ส่วนใหญ่มักจะมาทำหลังจากยื่นแบบ ภ.พ.30 ไปแล้ว จึงต้องยื่นแก้ไขแบบภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบต้องเสียทั้งค่าปรับและเงินเพิ่มครับ สรุป ท้ายนี้ผมหวังว่าผู้อ่านทุกคนจะเข้าใจและเห็นความสำคัญของการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 มากขึ้นนะครับ ก่อนจากกันไป ผมได้สรุปเนื้อหาให้อีกครั้งเป็น checklist สั้นๆ ดังนี้ครับ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

23 ม.ค. 2024

PEAK Account

9 min

มาตรการ  Easy E-Receipt 2567 สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับลูกค้า โอกาสสำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล

กลับมาอีกครั้ง สำหรับมาตรการดีๆ จากทางภาครัฐที่นอกจากจะช่วยในเรื่องของการลดหย่อนภาษีแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีให้ใช้ระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย กับโครงการที่มีชื่อว่า Easy E-Receipt มาตรการนี้มีรายละเอียดเงื่อนไขอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ Easy E-Receipt คืออะไร Easy e-Receipt คือ โครงการลดหย่อนภาษีประจำปี 2567 ที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกกันว่า e-Tax Invoice และ e-Receipt ที่ได้รับจากการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่จดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อใช้ลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีเงื่อนไขการใช้จ่ายดังต่อไปนี้ 1. ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียน VAT ที่ออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น 3. ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจริง จำนวนไม่เกิน 50,000 บาท e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ทดแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์แทนนั่นเอง แม้จะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างเอกสารที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงใช้สิทธิ์ทางภาษีได้เช่นเดียวกับรูปแบบกระดาษ โดย e-Tax Invoice จะต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อนำส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดของ e-Tax Invoice & e-Receipt  สามารถติดตามอ่านได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร สินค้าที่สามารถลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ได้ ในการซื้อสินค้าเพื่อนำมาใช้ลดหย่อนภาษีในโครงการ Easy E-Receipt นั้น ต้องเลือกซื้อให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของโครงการ เนื่องจากมีสินค้าบางประเภทที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งสินค้าที่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้นั้น จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ ส่วนสินค้าที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy-E-Receipt ได้ ประกอบด้วย ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy E-Receipt ผู้ที่สามารถใช้สิทธิ์ซื้อสินค้านำมาลดหย่อนภาษีจากโครงการ Easy e-Receipt นั้นต้องผู้มีเงินได้ ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยการลดหย่อนจะเป็นการลดหย่อนจากจำนวนเงินได้พึงประเมินสุทธิ ที่ต้องนำไปคำนวณร่วมกับฐานภาษีแบบขั้นบันได ดังตัวอย่างอัตราลดหย่อนสูงสุดของรายได้ต่อไปนี้ การตรวจสอบร้านค้าที่สามารถออก e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ ก่อนที่เราจะเลือกซื้อสินค้าและบริการ เราสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยการนำเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรไปค้นหาผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร nbsp; ก็จะได้ข้อมูลร้านค้าตามต้องการ โครงการ Easy E-Receipt ไม่เพียงช่วยให้ผู้สินค้าและบริการมาใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนทางภาษีได้เท่านั้น หากแต่ยังสร้างโอกาสทางการขายให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้าต่างๆ อีกด้วย เพียงจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt ของกรมสรรพากรได้ ก็จะสามารถเข้าร่วมโครงการ  Easy E-Receip นี้ PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลย

18 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

11 min

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร กันมาแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice อีกหนึ่งประเภทว่าคืออะไร และธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าร่วมโครงการ e-Tax Invoice ประเภทนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ต่อ ผมเชื่อว่าธุรกิจของคุณมีความพร้อมทางด้านระบบงาน มีการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินจำนวนมาก และพร้อมเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล นับจากนี้เรามาทำความรู้จักโครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ในเชิงลึกกันต่อเลยครับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 5 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ e-Tax Invoice & e-Receipt ออกได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. ใบกำกับภาษี (เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 2. ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 4. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่อยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) 3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและนำส่งให้แก่ผู้รับมีความถูกต้องครบถ้วนโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 4. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice by Time Stamp) ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบ XML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล 2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธีต่างๆ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการอัปโหลดเอกสารในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th 3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง 3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (www.thaidigitalid.com) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( ) ทั้งนี้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บด้วยอุปกรณ์ USB Token หรือ HSM และการเลือกใช้อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะการใช้งานของผู้ประกอบการแต่ละราย 2. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign&View ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม 4. ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน 5. ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง 6. เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ 7. เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ(Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน 8. จากนั้น ท่านสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสรุปเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ดังนี้ จากขั้นตอนการสมัครจะบางท่านจะคิดว่าขั้นตอนกระบวนการดูยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการผ่าน Service provide ทาง Service provide จะมีบริการช่วยทำตั้งแต่ขั้นตอนการของการจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) การสมัครเข้าโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยครับ ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice & e-Receipt กับโปรแกรม PEAK ปัจจุบัน PEAK สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ(Service provide) e-Tax Invoice & e-Receipt ถึง 2 ราย ได้แก่ 1) บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ INET เพิ่มเติมได้ที่นี่ 2) บจ. ฟรีเวชั่น จำกัด (Leceipt), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ Leceipt เพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากผู้ให้บริการ e-Tax Invoice & e-Receipt จะช่วยคุณตั้งแต่การสมัครและขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว PEAK ยังช่วยทำให้การส่งออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคู่ค้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกครับ PEAK ขอเล่า : การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้ง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

17 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร

จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice ผู้ประกอบการคงรู้กันแล้วว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ก็คือ การเปลี่ยนใบกำกับภาษีแบบกระดาษมาเป็นแบบออนไลน์ผ่านวิธีที่กรมสรรพากรรองรับ แต่สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการนี้ก็ต้องเลือกต่อว่าโครงการใดที่เหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจของเรา ระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง e-Tax Invoice by Time Stamp กันครับว่ามีรายละเอียดเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร? e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ พร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม 3 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ออก e-Tax Invoice by Time Stamp ได้ นอกจากใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้แล้ว กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ผู้ประกอบการที่ต้องการขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp จะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการทำงานระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp การยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice by Time Stamp กับโปรแกรม PEAK หลังจากที่ผู้ประกอบการได้รับอีเมลที่ได้ลงทะเบียนกับทางกรมสรรพากรแล้ว สามารถใช้อีเมลดังกล่าวมากรอกและกดเชื่อมต่อการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) กับ PEAK ได้ทันทีง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก ซึ่งสามารถติดตามขั้นตอนการเชื่อมต่อและจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมได้ที่บทความ การเชื่อมต่อและวิธีจัดส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แบบ e-Tax Invoice by Time Stamp PEAK ขอเล่า : สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

20 พ.ย. 2023

จักรพงษ์

11 min

 เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice

ปัจจุบันการติดต่อซื้อ – ขาย และการทำธุรกรรมเกิดขึ้นในระบบออนไลน์เป็นจำนวนมาก ทำให้การทำธุรกรรม หรือการจัดเก็บเอกสารหลักฐานต่างๆ ต้องปรับเปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบ e-Service มากขึ้น ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารสำคัญซึ่งกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องจัดทำและส่งมอบให้กับลูกค้า ตลอดจนนำส่งให้หน่วยงานจัดเก็บภาษี ดังนั้น เพื่อความสะดวก ลดภาระต้นทุนในการนำส่งและจัดเก็บใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กรมสรรพากรจึงได้มีการพัฒนาใบกำกับภาษีรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น ที่เรียกกันว่า ใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice นั่นเอง ในบทความนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice ให้มากขึ้น e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนำมาใช้ทดแทนใบกำกับภาษีแบบกระดาษ กล่าวง่ายๆ คือ การเปลี่ยนจากรูปแบบกระดาษให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์แทนนั่นเอง แม้จะแตกต่างกันในเรื่องรูปร่างเอกสารที่เปลี่ยนไป แต่ยังคงใช้สิทธิ์ทางภาษีได้เช่นเดียวกับรูปแบบกระดาษ โดย e-Tax Invoice จะต้องจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) เพื่อนำส่งให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ตลอดจนนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรผ่านช่องทางออนไลน์ 5 เอกสารที่สามารถจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ หากแต่กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ สามารถออกในรูปแบบเอกสารออนไลน์หรืออิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน ได้แก่ ประโยชน์ของการจัดทำ e-Tax Invoice การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้น ช่วยผู้ประกอบการตั้งแต่การลดต้นทุน การส่งเอกสารให้ลูกค้าได้เร็วขึ้น รวมถึงการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ซึ่งสรุปพอสังเขปได้ดังนี้ PEAK ขอเล่า: รูปแบบของโครงการ e-Tax Invoice การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice นั้น มี 2 โครงการ ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเลือกเข้าสู่โครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น 1. e-Tax Invoice by Time Stamp e-Tax Invoice by Time Stamp (ชื่อเดิม e-Tax Invoice by Email) เป็นการจัดทำใบกำกับภาษีโดยการส่งอีเมลถึงผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการพร้อมสำเนา CC ไปยังระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.หรือ ETDA) เพื่อให้ระบบประทับรับรองเวลา (Time Stamp) และระบบจะส่งใบกำกับภาษีที่ประทับรับรองเวลาแล้วให้กับผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อเป็นหลักฐานในการทำธุรกรรม ซึ่งโครงการนี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กที่ยังไม่พร้อมเข้าสู่โครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt สนใจรายละเอียดโครงการ ขอแนะนำบทความ 👉 e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน 2. e-Tax Invoice & e-Receipt e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ซึ่งโครงการนี้จะเหมาะกับผู้ประกอบการรายเล็กและรายใหญ่ที่มีการออกใบกำกับภาษีต่อเดือนจำนวนมาก สนใจรายละเอียดโครงการ ขอแนะนำบทความ 👉 e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt สำหรับข้อแตกต่างที่สำคัญของทั้ง 2 โครงการ ขอสรุปความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt ดังนี้ PEAK ขอเล่า: การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้ว ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลย ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก