
ในทุกปีเมื่อถึงช่วงเวลายื่นภาษี ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ SME นิติบุคคล หรือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คำถามยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือ “เงินคืนภาษีของเราถึงไหนแล้ว?” แต่ในปัจจุบันภาครัฐได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการด้วยการเปิดระบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การยื่นภาษีออนไลน์ รวมไปถึง เช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ ที่ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ วิธีเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับผู้ประกอบการ จะทำอย่างไร สะดวกมากน้อยแค่ไหน มาร่วมหาคำตอบในบทความนี้ไปพร้อมกัน
ทำไมต้องเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์?
การเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะช่วยให้คุณรู้ความคืบหน้าว่าแบบภาษีที่ยื่นไปได้รับการตรวจสอบหรือยัง และมีปัญหาอะไรต้องแก้ไขหรือไม่ การติดตามสถานะอย่างใกล้ชิดช่วยให้สามารถจัดการเอกสารเพิ่มเติมได้ทันทีหากมีข้อผิดพลาด ลดความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธการคืนภาษี และยังช่วยให้คุณวางแผนกระแสเงินสดได้อย่างแม่นยำ เพราะการได้รับเงินคืนเร็วขึ้น หมายถึงธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ การใช้ช่องทางออนไลน์ในการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ยังช่วยประหยัดเวลา ลดขั้นตอน และทำให้การติดต่อกับกรมสรรพากรสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าการโทรหรือเดินทางไปด้วยตัวเองอีกด้วย
สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้เกี่ยวกับ “การคืนภาษีออนไลน์” ก่อนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์
- การขอคืนภาษีจะเกิดขึ้นได้เมื่อชำระภาษีเกินกว่าที่ต้องเสียจริง
- การเก็บเอกสารรายรับ-รายจ่ายให้ครบถ้วนและเป็นระเบียบ จะช่วยให้การยื่นขอคืนภาษีราบรื่นและผ่านการตรวจสอบเร็วขึ้น
- หากยื่นขอคืนภาษีแล้ว ควรหมั่นเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ กรณีที่สถานะติดค้างนานผิดปกติ ควรรีบประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทันที
เงื่อนไขการขอคืนภาษีของนิติบุคคล ที่ควรรู้ ก่อนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์
สำหรับการขอคืนภาษีของนิติบุคคล ซึ่งทางกรมสรรพากรก็ได้ทำการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อระบุว่ากิจการใดมีสิทธิ์ในการขอคืนภาษีได้ ซึ่งหลักเกณฑ์สามารถแบ่งออกได้ 3 กรณีตามประเภทภาษี
1. ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร ได้มีการกำหนดเงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์ขอคืนภาษีว่าต้องเป็นกิจการที่เป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และได้ทำการนำส่งภาษีเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี
กิจการของคุณเข้าข่ายสามารถขอคืนภาษีได้ตามมาตรา 63 ในส่วนของระยะเวลาในการยื่นขอคืนภาษี สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด
ยกตัวอย่างเช่น
กิจการ A มีรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งในรอบปีนั้นมีการหักภาษีเกินที่กำหนดไป และกิจการ A มีหน้าที่ยื่นภาษีภายใน 150 วัน นับตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี หมายความว่า กิจการ A สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2571 นั่นเอง
2. ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
อีกหนึ่งรูปแบบการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจะตรงกับกรณีของมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงื่อนไขข้อนี้สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้ทำกิจการเข้าข่ายมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กลุ่มกิจการที่มีการหัก ณ ที่จ่ายมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ยกตัวอย่างเช่น ค่านายหน้า ค่าฝึกอบรม ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร ซึ่งรวมไปถึงบริษัทต่างประเทศที่เข้ามามีรายได้ในประเทศไทยอีกด้วย
โดยเงื่อนไขในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายประเภทนี้ต้องเป็นผู้ที่เมื่อจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วเกินจากที่กำหนด และมีระยะเวลาในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่ากับ มาตรา 63 คือ 3 ปีหลังจากวันครบกำหนดยื่นภาษี
3. ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในส่วนของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% ซึ่งเป็นเงินภาษีที่หักออกจากสินค้าหรือบริการเพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร รวมไปถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจ่ายเมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการด้วย มีเงื่อนไขและรูปแบบการขอคืนภาษีดังนี้
การเปลี่ยนเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป
กรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปเกินที่กำหนดไว้ จะเปลี่ยนเป็นเครดิตภาษี ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายภาษีของเดือนถัดไปได้ ทั้งนี้ถ้าผู้ประกอบการมีเครดิตภาษีเหลือแล้วไม่ได้ทำการยื่นขอคืนภาษีภายในเดือนนั้น หมายความว่าประสงค์ที่จะยกไปใช้ชำระภาษีในเดือนถัดไป ทั้งนี้ถ้าเดือนถัดไปไม่ได้นำเครดิตตรงนี้มาชำระ จะไม่สามารถเก็บเครดิตเพื่อชำระในเดือนถัด ๆ ไปอีกได้
ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือบริการ
เมื่อผู้ประกอบการไม่ได้ทำการขอคืนภาษีด้วยการเครดิตภาษี ในกรณีนี้ผู้ประกอบการสามารถทำเรื่องยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดยื่นภาษีของเดือนภาษีนั้น ๆ โดยผู้ประกอบการสามารถทำเรื่องยื่นขอคืนภาษีด้วยแบบ ค. 10
ขอคืนภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้า
ในกรณีที่มีการนำเข้าสินค้ารูปแบบการขอคืนภาษีจะแตกต่างกันออกไป โดยผู้ประกอบการที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ที่อำเภอ แต่ถ้าไม่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นคำร้องคืนภาษีที่ด่านศุลกากรขาเข้า ทั้งนี้ยังมีเงื่อนไขพิเศษในกรณีที่ผู้นำเข้าสินค้า มีข้อโต้แย้งตามกฎหมาย หรือมีติดคดีในศาล สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือข้อโต้แย้งอากรขาเข้า
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ในส่วนขอภาษีธุรกิจเฉพาะ คือธุรกิจที่มีรายได้จากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการให้กู้ยืม และมีการนำส่งภาษีแล้ว แต่จำนวนที่นำส่งเกินกว่ากำหนดที่ต้องเสียภาษี โดยสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ครบรอบยื่นแบบภาษี เช่นเดียวกับการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
ขั้นตอนการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์
สำหรับขั้นตอนการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์สามารถทำได้ผ่าน Digtal My Tax ระบบใหม่ล่าสุดที่ทางกรมสรรพากรออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยเฉพาะ ซึ่ง D-MyTax จะรวมทั้งภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมไปถึงผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แบบ One Portal ที่เดียวจบทุกเรื่องภาษี สำหรับขั้นตอนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ ทำได้ดังนี้
- เข้าเว็บไซต์ https://www.rd.go.th/

2. เลือกไปที่เมนู “นิติบุคคล”

3. คลิกที่ปุ่ม [รวมบริการทางภาษี (One Portal)]

4. เลือกวิธีการเข้าสู่ระบบ

5. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะพบกับหน้าเว็บไซต์ที่แสดงสถานะของรายการที่เรายื่นไปแล้วนั่นเอง

การเช็คสถานะคืนภาษีออนไลน์ผ่าน D-MyTax เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่เจ้าของธุรกิจยุคใหม่ควรรู้ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าภาษีที่จ่ายเกินจะได้รับคืนแล้ว ยังช่วยให้คุณจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และลดความผิดพลาดได้อย่างมาก
เมื่อเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ แล้วพบว่าความล่าช้าควรทำอย่างไร
เมื่อเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ แล้วพบว่าเกิดความล่าช้า แนะนำให้รีบติดต่อกรมสรรพากร เพื่อสอบถามถึงสาเหตุ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้า แนะนำให้ผู้ประกอบการเตรียมจัดการบัญชี เอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย และตรวจสอบความถูกต้องให้ชัดเจน เพื่อให้ขั้นตอนการตรวจสอบของกรมสรรพากรง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เท่านี้ก็ช่วยลดปัญหาความล่าช้าลงไปได้แน่นอน
อยากจัดการภาษีง่ายขึ้น ขอคืนภาษีได้รวดเร็ว?
การขอคืนภาษีอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการ แต่หากมีการ วางแผนการทำบัญชีที่ดี ตั้งแต่ต้น ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ใช้ระบบจัดการบัญชีที่มีประสิทธิภาพและคอยเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์อยู่เสมอ ก็สามารถช่วยให้การขอคืนภาษีเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว
หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้การบริหารภาษีง่ายขึ้นคือ PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการช่วยจัดการภาษีครบวงจร รองรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36 รวมถึงภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) เช่น ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 โดยคำนวณและจัดทำแบบฟอร์มภาษีอัตโนมัติ รองรับ e-Tax Invoice และ e-Receipt พร้อมรองรับการยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ลดขั้นตอนการทำงานและช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมทางการเงินได้ง่ายขึ้น
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://www.peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine