ธุรกิจ

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

24 min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 มิ.ย. 2025

PEAK Account

15 min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

29 min

กำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้ถูกใจพนักงาน? พร้อมข้อควรรู้ที่ห้ามพลาด!

พนักงานขายเป็นตำแหน่งหัวใจสำคัญของหลายองค์กร เพราะเป็นตำแหน่งที่หารายได้เข้าบริษัทชัดเจน หากพนักงานขายมีแรงจูงใจที่ดีอย่าง ค่าคอมมิชชั่น ส่วนใหญ่ก็จะส่งผลที่ดีต่อองค์กรได้โดยตรง แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยกันบ้างว่า ต้องคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้น่าสนใจ หรือมีวิธีคิดอย่างไรบ้าง รวมไปถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องรู้เพื่อให้การจัดการเงินในแต่ละเดือนเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดเราก็รวบรวมไว้ให้ในบทความนี้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถศึกษากฎหมายแรงงานเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน โดยการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามาติดตามกันได้เลย ค่าคอมมิชชั่น คืออะไร? ค่าคอมมิชชั่น (Commission) คือหนึ่งในประเภทค่าตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากบริษัทเมื่อทำยอดขายได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายตามที่แต่ละบริษัทกำหนด และมักจะมีการคำนวณปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของพนักงาน สินค้าที่ขาย ไปจนถึงโปรโมชั่นพิเศษ โดยปกติตำแหน่งพนักงานขายในทุกองค์กรจะมีค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ขายเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับช่องทางหลักในการสร้างรายได้ขององค์กรนั้น ๆ ค่าคอมมิชชั่นมีกี่ประเภท พร้อมตัวอย่างการคำนวณ  ค่าคอมมิชชั่นก็ไม่ได้มีเพียงการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการคิดค่าคอมมิชชั่นตอบแทนพนักงานได้ โดยแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป สามารถเลือกได้จากแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือกลยุทธ์ขององค์กรที่จะใช้ในการเพิ่มยอดขายให้เติบโต ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นถึง 11 ประเภท แต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้างเรามาดูกัน 1. ค่าคอมมิชชั่น แบบขั้นบันได สำหรับค่าคอมมิชชั่นประเภทแรกเป็นในรูปแบบขั้นบันได เป็นรูปแบบที่เรามักเห็นกันในองค์กรที่มีการแข่งขันสูงภายในองค์กร เพราะค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้พนักงานจะได้ค่าคอมมิชชั่นสูงขึ้นตามจำนวนของยอดขายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่กระตุ้นพนักงานขายได้เป็นอย่างดี เพราะว่าจะได้เงินมาหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขยันของตัวพนักงานนั่นเอง  ตัวอย่างเช่น บริษัทกำหนดค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดไว้ 3 ระดับดังนี้– รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 100,000 – 300,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 15% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 300,001 – 500,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 25% เมื่อทำยอดขายได้ 500,001 – 1,000,000 บาท หมายความว่าหากพนักงานทำยอดได้อยู่ในช่วงไหน ให้นำเปอร์เซ็นต์ในช่วงนั้นเข้ามาคำนวณ เช่น  พนักงาน A ทำยอดขายได้ 650,000 บาท ต้องคิดคอมมิชชั่น 25% 650,000 x 25% = 162,500 บาท พนักงาน A ก็จะได้รับค่าคอมทั้งหมด 162,500 บาทนั่นเอง ด้วยตัวเลขคอมมิชชั่นที่สูงขึ้นตามผลงานของพนักงาน จึงช่วยกระตุ้นพนักงานได้ดี แต่ด้วยรูปแบบที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้พนักงานบางคนที่ได้น้อยต่อเนื่องอาจถอดใจได้ ด้วยเหตุนี้หากองค์กรต้องการใช้รูปแบบนี้แนะนำให้หาแนวทางในการช่วยเหลือพนักงานที่อาจทำผลงานไม่ดีมากนัก เช่น จัดคอร์สพัฒนาด้านการขาย หรือมีการพูดคุยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและร่วมกันหาทางออกเพื่อเพิ่มผลงานให้พนักงาน 2. ค่าคอมมิชชั่น จากกำไร ถัดมาเป็นค่าคอมมิชชั่นจากกำไร ซึ่งเป็นประเภทของค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการขายสินค้าหลายรูปแบบ หรือขายสินค้าแบบทำตามคำสั่งจากลูกค้า เพราะระบบคอมมิชชั่นแบบนี้จะคำนวณจากกำไรในออร์เดอร์นั้น ๆ ไม่ได้คำนวณจากยอดขายพนักงานตรง หมายความว่า หากพนักงานเลือกขายสินค้าที่มีกำไรต่อคำสั่งซื้อสูงก็จะได้รับคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดโดยองค์กร ซึ่งรูปแบบคอมมิชชั่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานเลือกขายสินค้าหรือบริการที่มีกำไรสูง ส่งผลดีต่อบริษัท  ตัวอย่างเช่น : สินค้า A ราคา 500 บาท ต้นทุน 400 บาท ซึ่งมีกำไรต่อชิ้น 100 บาท 100 x 10% = 10 บาท หมายความว่าหากพนักงานขายสินค้า A ก็จะได้รับค่าคอมมชั่น 10 บาทนั่นเอง โดยรูปแบบการคำนวณ อัตราที่ใช้คำนวณขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่กำหนด 3. ค่าคอมมิชชั่น จากสินค้า เป็นระบบคอมมิชชั่นที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพราะเป็นการตั้งจากสินค้าโดยตรง เช่น รองเท้าวิ่ง B หากขายได้จะมีค่าคอมมิชชั่น 10% นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากสินค้าต้องมีการวางแผนพอสมควร เพราะหากตั้งเท่ากันหมด บริษัทอาจเสียมากกว่าได้ เพราะกำไรของสินค้าแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน เบื้องต้นอาจเริ่มต้นตั้งอัตราคำนวณคอมมิชชั่นจากประเภทของสินค้า เช่น หากเป็นสินค้าเก่าค้างสต๊อก 5 ปี อาจตั้งไว้ 10% แต่ถ้าเป็นสินค้าใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ อาจตั้งไว้ 5% ได้เช่นกัน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากขายสินค้าที่ค้างสต๊อกได้ด้วย นับว่าเป็นข้อดีเพราะองค์กรสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ในแต่ละช่วงได้ การคำนวณค่อนข้างตรงตัวสามารถนำราคาสินค้าคำนวณกับอัตราคอมมิชชั่นที่บริษัทกำหนด ตัวอย่างเช่น : โทรทัศน์ A ราคา 35,000 บาท ตั้งค่าคอมมิชชั่นไว้ที่ 10% 35,000 x 10% = 3,500 บาท หากพนักงานขายโทรทัศน์ A ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นไป 3,500 บาทนั่นเอง 4. ค่าคอมมิชชั่น ตามพื้นที่ อีกหนึ่งกลยุทธ์คอมมิชชั่นที่น่าสนใจเพราะการคำนวณคอมมิชชั่นจะแบ่งตามแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการขายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการแบ่งพนักงานขายตามแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการจัดระบบคอมมิชชั่นรูปแบบนี้พนักงานจะสามารถโฟกัสกับพื้นที่ของตัวเองได้ดี มีการแบ่งชัดเจน ไม่มีการแย่งลูกค้ากันเองภายในองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มคอมมิชชั่นตามพื้นที่ที่ต้องการรุกตลาดให้มากขึ้นได้อีกด้วย โดยวิธีการคิดคอมมิชชั่นจากเดิมที่ส่วนมากคิดว่ายอดขาย หรือกำไร จะเพิ่มเงื่อนไขโดยแบ่งเป็นตามเขต หรือพื้นที่ เช่น โซนภาคเหนือ 5% โซนภาคใต้ 10%  ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A ดูแลโซนภาคเหนือทั้งหมด 15 จังหวัดอัตราคอมมิชชั่น 10% และมียอดขายเกิดขึ้นในภาคเหนือทั้งหมด 500,000 บาท 500,000 x 10% = 50,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน A ผู้ดูแลโซนภาคเหนือจะได้รับค่าคอมมิชชั่นทั้งหมด 500,000 บาท ซึ่งหากพนักงาน A อยากได้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมก็ต้องเร่งหายอดขาย ไม่ว่าจะลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่าในโซนภาคเหนือให้มากขึ้นนั่นเอง 5. ค่าคอมมิชชั่น ต่อเนื่อง เพราะหลายองค์กรเชื่อว่าการรักษาลูกค้าเดิมให้ซื้อต่อเรื่อย ๆ ย่อมดีกว่าการออกไปหาลูกค้าใหม่เสมอ ทำให้ระบบคอมมิชชั่นต่อเนื่องกำเนิดขึ้น โดยเป็นคอมมิชชั่นที่พนักงานจะได้รับก็ต่อเมื่อลูกค้าเดิมซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยคิดยอดขายตามรอบ และทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนดอัตราคอมมิชชั่นและนำไปคำนวณตามยอดแต่ละรอบบิล เป็นระบบที่เหมาะกับองค์กรที่ขายบริการที่ค่อนข้างเฉพาะในอุตสาหกรรม โอกาสหาลูกค้าใหม่ยาก จึงจำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมไว้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นองค์กรที่เก็บเงินลูกค้าเป็นรอบทุกเดือน และด้วยรูปแบบค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้ จะเป็นการกระตุ้นพนักงานขายให้ดูแลลูกค้าในระยะยาวมากกว่า ตัวอย่างเช่น : บริษัท A ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องจ่ายค่าดูแลเป็นรายเดือนทุกเดือน ด้วยความที่ต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ จึงตั้งอัตราคอมมิชชั่น 10% สำหรับยอดขายที่ลูกค้าจ่ายเพื่อต่ออายุใช้บริการในแต่ละเดือน โดยพนักงาน B มีลูกค้าเป็นองค์กร C ที่ต่อสัญญากันทุกเดือนเป็นลูกค้าเก่า โดยค่าต่อสัญญาในแต่ละเดือนอยู่ที่ 50,000 บาท 50,000 x 10% = 5,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5,000 บาททุกเดือนหากองค์กร C ยังคงใช้บริการซอฟต์แวร์ของบริษัท A อยู่ ทำให้นอกจากที่พนักงาน B จะหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังคงกลับไปพูดคุยรักษาความสัมพันธ์กับองค์กร C อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาลูกค้าไว้นั่นเอง 6. ค่าคอมมิชชั่น ตามผลงาน ในองค์กรที่มี KPI อื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากยอดขายเพียงอย่างเดียว การกำหนดคอมมิชชั่นตามผลงาน ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งจะเป็นการที่องค์กรตั้งเป้าหมายขึ้นมา หากพนักงานทำได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นในส่วนนี้ โดยอาจเป็นส่วนเพิ่มเติมจากคอมมิชชั่นเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้  ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ใช้ระบบคอมมิชชั่นจากสินค้าอยู่แล้วที่ 5% แต่ต้องการกระตุ้นในเรื่องการซื้อซ้ำ จึงตั้งคอมมิชชั่นตามผลงานเพิ่มเติม หากพนักงานสามารถให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้มากกว่า 5 ครั้ง จะเพิ่มค่าคอมมิชชั่นในยอดขายหลังจากครบกำหนดเป็น 10% หมายความว่าหากพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 ใบที่ 5 ให้ลูกค้าท่านเดิมได้ ก็จะได้เพิ่มอัตราคอมมิชชั่นเป็น 10% นั่นเอง อัตราคอมมิชชั่นแรก2,000 x 5% = 1,000 บาทอัตราคอมมิชชั่นเมื่อขายใบที่ 5 ได้20,000 x 10% = 2,000 บาท ดังนั้นเมื่อพนักงาน A รักษาความสัมพันธ์และขายกระเป๋าใบที่ 5 ได้สำเร็จก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ช่วยกระตุ้นเรื่องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดีตามเป้าหมาย โดยข้อดีของกลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแผนตามเป้าหมายเพิ่มเติมนอกจากยอดขายได้ 7. ค่าคอมมิชชั่น จากส่วนต่างกำไร สำหรับข้อที่ 7 หรือค่าคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร จะค่อนข้างคล้ายกับในส่วนของคอมมิชชั่นจากกำไร แต่เปลี่ยนจากการคิดกำไรโดยตรงเป็นการคำนวณจาก Gross Margin หรือส่วนต่างกำไรนั่นเอง ซึ่งข้อดีจะคล้ายกันกับรูปแบบกำไรธรรมดา ต่างกันที่วิธีคำนวณ ซึ่งองค์กรที่เหมาะส่วนใหญ่จะมีสินค้าหลากหลายประเภทและมี Margin ต่อชิ้นที่แตกต่างกัน ซึ่งการตั้งระบบรูปแบบนี้ยังช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรสูงได้อีกด้วย เพราะพนักงานขายก็จะมุ่งเน้นขายสินค้าที่มีส่วนต่างเยอะเป็นพิเศษนั่นเอง ตัวอย่างเช่น : รองเท้า A มีส่วนต่างกำไร 5,000 บาท มีการตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร 10% หากพนักงาน B ขายสินค้าได้จะได้กำไรดังนี้5,000 x 10% = 500 บาท พนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการขายรองเท้า A ทั้งสิ้น 500 บาท ซึ่งหากมีสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่านี้พนักงานก็จะโฟกัสไปที่การขายสินค้าชิ้นนั้นเป็นพิเศษ  8. ค่าคอมมิชชั่น และเงินเดือน  เป็นรูปแบบคอมมิชชั่นที่เรามักพบในองค์กรที่ใช้เวลาในการขายสินค้าแต่ละชิ้นค่อนข้างนาน เช่น องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจแบบ B2B เพราะกว่าที่จะขายสินค้าหรือบริการได้นั้นพนักงานขายต้องใช้เวลาในการแนะนำ โน้มน้าวนานเป็นพิเศษ ระบบคอมมิชชั่นและเงินเดือนจึงเป็นรูปแบบที่พนักงานได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว แต่จะได้รับอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มตามยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนด้วย ซึ่งส่วนมากฐานเงินเดือนจะไม่ค่อยสูงมาก เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรีบขายสินค้าเพื่อมาเพิ่มรายได้ของตัวเองในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนให้พนักงานขายและสมทบเพิ่มเป็นคอมมิชชั่นในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมตามแต่ละกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A มีเงินเดือน 25,000 บาท มีอัตราอัตราคอมมิชชั่น 5% จากยอดขาย ในเดือนนี้พนักงาน A มียอดขายตลอดทั้งเดือน 320,000 บาท จะได้รับเงินทั้งหมด[320,000 x 5%] + 25,000 = 41,000 บาท พนักงาน A จะได้รับเงิน 41,000 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนใหญ่จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความขยันของพนักงาน 9. คอมมิชชั่นพิเศษ สำหรับสินค้าโปรโมชัน ระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะพบส่วนมากในองค์กรที่ต้องการเคลียร์สต๊อกสินค้าและมักจะออกโปรโมชั่นออกมา และเพื่อกระตุ้นการขายให้มากขึ้นก็จะมีการจัดคอมมิชชั่นพิเศษสำหรับโปรโมชั่นดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานเร่งขายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ต้องการเคลียร์สต๊อกของสินค้า B จึงจัดโปรโมชั่นขายในราคา 500 บาทขึ้นมา และหากพนักงานขายสินค้าดังกล่าวได้จะได้รับอัตราคอมมิชชั่น 10 %500 x 10% = 50 บาท หากพนักงานขายสินค้าในโปรโมชั่นนี้ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก 50 บาทนั่นเอง นับเป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์สต๊อก หรือช่วยเร่งยอดขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ดีมาก ๆ เพราะนอกจากมีโปรโมชั่นเข้ามาช่วยส่งเสริมการขายแล้ว พนักงานขายยังต้องการที่จะขายสินค้าชิ้นนั้นเพราะได้ค่าคอมอีกด้วย 10. ค่าคอมมิชชั่น ตามระยะเวลาการทำงาน หลายองค์กรมักจะมีการใช้ระบบคอมมิชชั่นตามระยะเวลาการทำงานเข้ามาใช้ด้วยเพื่อที่จะดึงดูดให้พนักงานที่มีประสบการณ์อยู่กับองค์กรให้นานยิ่งขึ้น เพราะยิ่งอายุงานอัตราคอมมิชชั่นที่พวกเขาจะได้รับก็สูงตาม องค์กรอาจคิดจากการเพิ่ม 5% เมื่อทำงานครบทุก ๆ 3 ปี ส่วนวิธีการคิดคอมมิชชั่นอาจคิดจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กร ตัวอย่างเช่น : องค์กร A เริ่มต้นอัตราคอมมิชชั่นที่ 5% และจะเพิ่มให้อีก 5% เมื่อทำงานครบ 5 ปี นั่นหมายความว่าหากพนักงานมียอดขาย 50,000 บาทจะได้รับค่าคอมมิชชั่นดังนี้ พนักงานอายุงาน 1 – 4 ปี50,000 x 5% = 2,500 บาทพนักงานอายุงาน 5 ปีขึ้นไป50,000 x 10% = 5,000 บาท จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้เลยว่าพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปีได้รับค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว ซึ่งเป็นวิธีการโน้มน้าวพนักงานฝีมือดีให้อยู่กับองค์กรของเราได้นานยิ่งขึ้น 11. ค่าคอมมิชชั่นล้วน สำหรับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้อาจฟังดูโหดสำหรับพนักงานพอสมควรเพราะเงินเดือนทั้งหมดจะมาจากค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะมีอัตราคอมมิชชั่นที่สูง ส่วนวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นก็ขึ้นอยู่กับองค์กรเพราะบางที่อาจคำนวณจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้เช่นกัน แต่สุดท้ายข้อดีของคอมมิชชั่นประเภทนี้คือพนักงานจะต้องทุ่มเทขยันอย่างแท้จริง เพราะรายรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับการขายเท่านั้น ส่วนองค์กรที่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะต้องเป็นองค์กรที่มีราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่สูง และส่วนมากมักจะเป็นธุรกิจประเภท B2B เคล็ดลับกำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้พนักงานขยัน! การกำหนดระบบคอมมิชชั่นไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่ข้อคำนึงสำคัญที่สุดคือควรที่จะกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร โดยเป้าหมายต้องกำหนดชัดเจน และพร้อมที่จะพาพนักงานทุกคนมุ่งไปในจุดหมายเดียวกัน นอกเหนือจากการคิดค่าคอมมิชชั่นให้ตรงกับเป้าหมายแล้วยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่อาจช่วยให้คุณกำหนดได้ถูกใจพนักงานมากยิ่งขึ้น! 1. ทำความเข้าใจธุรกิจของตนเองกับระบบคอมมิชชั่นแต่ละประเภท สำคัญไม่แพ้กับการกำหนดให้ตรงกับเป้าหมาย เพราะถ้ารูปแบบการทำธุรกิจไม่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นก็อาจทำให้พนักงานถอดใจและไม่มีมีแรงใจที่จะขายสินค้าของเราต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าที่ขายราคา 50 บาท แต่กำหนดเป้าหมายคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได 500,000 บาท การที่พนักงานจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องใช้เวลาพอสมควร และดูเป็นเป้าหมายที่เกินเอื้อมจนเกินไป 2. ชัดเจนและเข้าใจง่าย เมื่อเป็นเรื่องเงินเรื่องทองรายละเอียดต่าง ๆ ต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความสับสนหรือมีช่องโหว่จนเกิดการเอาเปรียบกันได้ เพราะฉะนั้นองค์กรควรที่จะเขียนชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจตรงกัน และต้องดำเนินการตามข้อกำหนดนั้นอย่างถูกต้อง ที่สำคัญควรจะเข้าใจง่าย พนักงานขายเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่ได้มีการใช้ระบบซับซ้อนหลายระบบพร้อมกัน เพราะอาจทำให้เป้าหมายของพวกเขาดูคลุมเครือและท้อแท้กันก่อนได้ เช่น กำหนดค่าคอมมิชชั่นจากกำไร แต่ไม่แจ้งพนักงานขายว่าสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรเท่าไหร่บ้าง ทำให้พนักงานไม่รู้สึกถึงเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะไม่รู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าขายสินค้าชิ้นนี้ไปแล้วจะได้ค่าคอมมิชชั่นกลับมาเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้จึงควรระบุรายละเอียดทุกอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น 3. รับฟังและพูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ตำแหน่งพนักงานขายมีแรงกดดันค่อนข้างสูง หากองค์กรของเรายังไม่ได้มีพนักงานที่เยอะมากนัก การที่พูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับระบบการขายหรือคอมมิชชั่น เพื่อให้สามารถออกแบบระบบที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร วิธีนี้นอกจากจะช่วยในการวางแผนคอมมิชชั่นได้อย่างถูกจุด ยังช่วยให้เราทราบถึงปัญหา จุดแข็งของพนักงานขายแต่ละคน นำไปสู่วลี “Put the right man on the right job” ที่พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานแต่ละคนได้อย่างแท้จริง ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นเงินค่าจ้างที่ต้องคำนวณในเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่? เกร็ดเล็ก ๆ อีกหนึ่งข้อเกี่ยวกับด้านกฎหมายค่าคอมมิชชั่น ที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยว่าค่าคอมนั้นนับเป็นค่าจ้างหรือไม่ แล้วจำเป็นต้องนำเงินรายได้ส่วนนี้มาใช้ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมหรือไหม ซึ่งคำตอบก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเภท โดยคอมมิชชั่นในรูปแบบที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการขายนั้นจะเป็นไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้นจึงไม่ต้องนำไปคำนวณในเงินสมทบประกันสังคม แต่หากเป็นคอมมิชชั่นที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานก็จำเป็นต้องนำไปคิดรวมในเงินสมทบประกันสังคม คิดค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้องแม่นยำด้วยโปรแกรม Payroll ในองค์กรที่มีพนักงานขายเยอะ การคิดค่าคอมมิชชั่นอาจเป็นเรื่องปวดหัวในบางครั้ง เราขอแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม Payroll เป็นตัวช่วยในการคำนวณ เพื่อลดโอกาสผิดพลาดลง ซึ่ง PEAK ก็มีโปรแกรม PEAK Payroll ที่พร้อมให้การบริหารเงินเดือนพนักงานกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในทุกขนาดองค์กร อีกทั้งยังมีคู่มือครบเข้าใจง่ายแน่นอน! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 มิ.ย. 2025

PEAK Account

16 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! วิธีคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ครบทุกประเภท ฉบับเข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง

ร้านค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนอกจากมีหน้าร้านจริงแล้ว การมีหน้าร้านในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วย! ซึ่ง ค่าธรรมเนียม Shopee จะมีอะไรบ้าง และมีวิธีการคำนวณอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ ค่าธรรมเนียม Shopee คืออะไร? ค่าธรรมเนียมการขาย Shopee คือค่าใช้จ่ายที่แพลตฟอร์ม Shopee เรียกเก็บจากเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเมื่อขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมของ Shopee มี 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไขในการเก็บที่แตกต่างกันมีการคิดคำนวณค่าธรรมเนียมแบบแยกกัน  ในส่วนถัดไปของบทความเราจะลงรายละเอียดความแตกต่างของค่าธรรมเนียมแต่ละประเภทกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย 1. ค่าธรรมเนียมการขาย เป็นค่าธรรมเนียมแรกที่ทุกร้านค้าต้องเสียเมื่อขายสินค้าได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะทำการคำนวณจากราคาของสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราที่ใช้คำนวณนั้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเภทสินค้า นอกจากนี้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย จะต้องคำนวณจากยอดที่หักส่วนลด หรือโปรโมชัน ที่เราจัดขึ้น เช่น โค้ดส่วนลดต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณค่าธรรมเนียมต่อไป ตารางค่าธรรมเนียมการขาย Shopee แยกตามประเภทสินค้า วิธีการคำนวณธรรมเนียมการขายของ Shopee โดยวิธีการคำนวณนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขในตารางข้างต้น มาคำนวณกับราคาสินค้าที่หักส่วนลดจากร้านค้าแล้ว ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัวราคาเต็มที่ขายคือ 500 บาท โดยลูกค้าใช้โค้ดส่วนลด 50 บาทในการซื้อสินค้า สูตรการคำนวณเราจึงต้องนำราคาเต็มมาหักลบกับส่วนลดก่อนดังนี้ ราคาเต็มที่ตั้งขาย – ส่วนลดจากร้านค้า (โค้ดส่วนลด) = ยอดที่ใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 500 – 50 = 450 บาท เมื่อได้ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็สามารถนำตัวเลขนี้ไปคิดกับอัตราค่าธรรมตามในตารางได้เลย โดยสูตรการคำนวณคือ ยอดรวมหลักหักส่วนลด X อัตราค่าธรรมเนียม ในกรณีของสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายที่เราใช้เป็นตัวอย่างอยู่ในหมวดหมู่ของสินค้าแฟชั่นซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 9.63% (อัปเดตวันที่ 26 เมษายน 2568)  450 X 9.63% = 43.335 บาท หมายความว่าในการขายเสื้อผ้าผู้ชายราคา 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการขาย 43.335 บาทนั่นเอง หากรวมสูตรการคำนวณง่าย ๆ จะออกมาในรูปแบบดังนี้ [ ราคาเต็มสินค้า – โปรโมชั่นจากผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด] x อัตราค่าธรรมเนียมการขายตามประเภท = ค่าธรรมเนียมการขาย นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้าที่เป็น Non Mall Shop กับ Mall Shop ยังมีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้ได้เลย สามารถศึกษาตารางอัตราค่าธรรมการสินค้าแต่ละประเภท ของร้านค้าประเภท Mall Shop อย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Shopee  ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ประเภทค่าธรรมเนียมการขาย ข้อสำคัญที่เจ้าของร้านห้ามลืมในการคำนวณคือ อย่าลืมนำราคาเต็มไปหักลบกับส่วนลด หรือโปรโมชั่นที่เราเป็นคนออก เช่น โค้ดส่วนลด ก่อนนำไปคำนวณกับอัตราค่าธรรมเนียมไม่เช่นนั้นอาจจะได้ตัวเลขค่าธรรมเนียมที่ไม่ตรง ส่งผลต่อการตั้งราคาและอาจทำให้ได้กำไรไม่ถึงกับที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 2. ค่าธรรมเนียมธุรกรรม อีกหนึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียหลังจากขายสินค้าได้คือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งคือค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าต้องเสียให้แก่ผู้ให้บริการช่องทางชำระค่าใช้จ่ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee โดยอัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะเท่ากันทุกประเภทสินค้า และทุกประเภทของร้านค้า โดยจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3% ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%  โดยการคำนวณส่วนนี้จะคำนวณสรุปยอดรวมของคำสั่งซื้อที่ผู้ซื้อชำระให้กับร้านค้า โดยจะรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งสินค้า ส่วนในกรณีของส่วนลดต้องนำส่วนลดของ Shopee หรือ Shopee Coin มาหักลบก่อนคำนวณด้วย วิธีการคำนวณธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ตัวอย่างสูตรการคำนวณแบบแยกการคำนวณ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม และ VAT แยกกัน ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (ก่อนคำนวณ VAT) ยกตัวอย่างจากสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายในราคารวมส่วนลดแล้วอยู่ที่ 450 บาท และมีค่าส่ง 100 บาท  550 X 3% = 16.5 บาท (ก่อนคำนวณ VAT) หากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะมีสูตรการสูตรคำนวณดังนี้ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าธรรมเนียมธุรกรรม + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าธรรมเนียมธุรกรรม แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 16.5 x 7% = 1.155 บาท 16.5 + 1.155 = 17.655 บาท จากสูตรการคำนวณทั้งหมดหมายความว่ายอดคำสั่งซื้อของเสื้อผ้าผู้ชายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธุรกรรม 17.655 บาทนั่นเอง  หากต้องการคำนวณให้ง่ายมากยิ่งขึ้นให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณขั้นตอนแรกได้เลย โดยให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 3.21% ต่อยอดรวมคำสั่งซื้อ  ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3.21% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (รวม VAT) แทนสูตรได้ดังนี้ 550 x 3.21% = 17.655 บาท ตัวเลขที่ได้เท่ากับการคำนวณ VAT แยกแต่รูปแบบนี้จะรวบขั้นตอนเป็นการคำนวณครั้งเดียวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ความต่างในการคำนวณนอกจากอัตราที่เท่ากันทั้งหมดแล้ว ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% เข้าไปด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าธรรมเนียมการขายที่มีการรวมเข้าไปด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้ห้ามลืมคำนวณ VAT ในค่าธรรมเนียมธุรกรรม เพื่อการคำนวณต้นทุนการขายได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 3. ค่าธรรมเนียมบริการ สำหรับค่าธรรมเนียม Shopee ส่วนสุดท้ายจะเป็นค่าธรรมเนียมบริการ ซึ่งการบริการในที่นี้คือ โปรแกรมส่งฟรีส่งฟรี Xtra หรือโปรแกรมส่วนลด Xtra ของ Shopee นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Xtra นี้เจ้าของร้านสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ก็ได้ โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขายและธุรกรรม ในส่วนของค่าธรรมเนียมบริการจะมีอัตราค่าธรรมเนียมแบ่งตามประเภทของสินค้าเช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งคำนวณเป็นสินค้าต่อชิ้น และจะหักค่าธรรมเนียมจากจำนวนยอดเงินรวมที่ต้องได้รับ และค่าธรรมเนียมบริการจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว ตารางค่าธรรมเนียมแบ่งแยกตามหมวดหมู่สินค้า และประเภทโปรแกรม วิธีการคำนวณธรรมเนียมบริการของ Shopee โดยการคำนวณจะคิดจากราคาสินค้าที่ชำระ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าผู้ชาย 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท และเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra ราคาสินค้า x อัตราค่าธรรมเนียมโปรแกรมส่งฟรี Xtra (5.35%) = ค่าธรรมเนียมบริการ แทนสูตรการคำนวณดังนี้ 450 x 5.35% = 24.075 บาท หมายความว่าเจ้าของร้านที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra เมื่อขายสินค้ายอดรวม 450 บาทได้จะเสียค่าธรรมเนียมบริการ 24 บาทนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการของ Shopee ข้อสำคัญที่ห้ามลืมคือจำนวนยอดรวมที่ใช้คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ที่บางท่านอาจลืมไปว่าต้องนำส่วนลดต่าง ๆ มาคำนวณเพิ่มเติมด้วย รวมไปถึงการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการ คำนวณแยกรายการ เช่น ถ้าในคำสั่งซื้อมีเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัว กางเกง 1 ตัว ต้องคิดค่าธรรมเนียมบริการแยกกันตามราคาของสินค้าแต่ละชิ้นนั่นเอง สรุปตัวอย่างการคำนวณ ค่าธรรมเนียม Shopee ทั้ง 3 ประเภท ส่วนถัดมา เราขอยกตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครบทั้ง 3 ประเภท ซึ่งผู้ที่จะเสียค่าธรรมเนียมครบ คือร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม Xtra ของ Shopee  โดยตัวอย่างเราขอใช้เป็นสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายตัวเดิม โดยร้านค้าเป็น Non Mall Shop ให้ใช้ตารางค่าธรรมเนียมของ Non Mall Shop ในการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียม ตัวอย่างรายละเอียดคำสั่งซื้อสินค้า: เสื้อผ้าผู้ชาย ตัวอย่างสูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมทั้ง 3 ประเภท อันดับแรกให้คำนวณราคาสินค้าที่หักโค้ดส่วนลดของร้านค้าก่อน ราคาสินค้าเต็ม 500 บาท – ส่วนลดร้านค้า 50 บาท = 450 บาท  หลังจากนั้นนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย 450 x 9.63% = 43.33 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ 450 x 5.35% = 24.07 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรม โดยคิดจากยอดเต็มที่ลูกค้าต้องจ่าย จึงต้องนำส่วนต่างค่าจัดส่งที่ผู้ซื้อชำระมารวมกับราคาสินค้า [450 + 62] x 3.12% = 15.97 บาท หลังจากนั้นนำค่าธรรมเนียมทั้งหมดรวมกัน แล้วลบราคาสินค้าเต็ม ก็จะได้ จำนวนเงินที่เจ้าของร้านจะได้รับจากการขายเสื้อผ้าผู้ชายตัวละ 500 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee 500 – [43.33+24.07+15.97] = 416.63 บาท เท่ากับว่าเจ้าของร้านจะได้รับเงินจริง ๆ 416.63 บาท หรือเสียค่าธรรมเนียมรวมทั้ง 3 ประเภทประมาณ 83.37 บาท นั่นเอง แชร์สูตรคำนวณครบ 3 ค่าธรรมเนียม Shopee ในภาพเดียว! คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ให้ถูกต้อง ช่วยให้การตั้งราคาง่ายยิ่งขึ้น ความสำคัญของการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ช่วยให้ธุรกิจที่มีร้านค้าบน Shopee สามารถตั้งราคาสินค้าได้ถูกต้อง และง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเหล่านี้ล้วนนับเป็นต้นทุนได้ทั้งสิ้น หากไม่มีการคำนวณล่วงหน้า อาจทำให้เสียค่าธรรมเนียมจนกำไรหายไปได้ แต่นอกจากค่าธรรมเนียมหลักทั้ง 3 ประเภทยังมีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น Airplay, บัตรเครดิต เดบิต และ SPaylater อีกด้วย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินของลูกค้า ซึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ก็นับเป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยพอสมควร หากมีจำนวนการทำธุรกรรมเยอะอาจทำให้การทำบัญชียุ่งยากหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้การมีโปรแกรมบัญชีครบวงจรอย่าง PEAK ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ง่ายยิ่งขึ้น มาพร้อมคู่มือการใช้งานที่เข้าใจง่าย และนอกจากนี้ PEAK ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Shopee ได้โดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นรู้วิธีคำนวณอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้เรื่องการทำบัญชีง่ายยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

13 มิ.ย. 2025

PEAK Account

35 min

ขั้นตอนอ่าน “งบการเงิน” ง่ายๆ ฉบับผู้ประกอบการมือใหม่

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่หลายคน การเห็น “ งบการเงิน” ครั้งแรกอาจรู้สึกเหมือนกำลังเปิดหนังสือภาษาต่างดาว ไม่รู้จะเริ่มอ่านตรงไหน และไม่แน่ใจว่าตัวเลขเหล่านั้นกำลังบอกอะไรกับเรา แต่จริงๆ แล้ว งบการเงินไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิด ถ้าเรารู้หลักพื้นฐานและมองมันให้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยเล่าเรื่องราวของธุรกิจ ก่อนจะเข้าเนื้อหา เราอยากชวนให้มองงบการเงินเหมือน “รายงานสุขภาพของธุรกิจ” ที่ช่วยบอกว่า ธุรกิจเรายังแข็งแรงดีไหม มีอะไรผิดปกติหรือเปล่า กำลังจะเติบโตหรือกำลังจะสะดุด การอ่านงบการเงินจึงเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้เราตัดสินใจอย่างมีข้อมูล ไม่ใช่ใช้แค่ความรู้สึกหรือการคาดเดา งบการเงิน’ คืออะไร? งบการเงิน คือ เอกสารที่สรุปภาพรวมของธุรกิจด้วยตัวเลข คล้ายกับการบันทึกรายรับ-รายจ่าย แต่มีความละเอียดและเป็นระบบมากกว่า โดยจะช่วยให้เราเห็นว่าในรอบปีที่ผ่านมา ธุรกิจของเราดำเนินไปอย่างไร ซึ่งข้อมูลสำคัญในงบการเงินมี 3 เรื่องหลัก คือ โดยทั่วไป งบการเงินจะแสดงตัวเลขเปรียบเทียบ 2 ปี เพื่อให้เห็นแนวโน้มของธุรกิจ เช่น งบการเงินของปี 2567 จะแสดงตัวเลขของปี 2567 เทียบกับปี 2566 ยกเว้นกรณีที่เป็นปีแรกของการจัดตั้งบริษัท ก็จะมีเฉพาะปีปัจจุบันเท่านั้น   ประเภทของ ‘งบการเงิน’ งบการเงินหลักๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ที่ผู้ประกอบการควรรู้จัก เพราะแต่ละงบให้ข้อมูลคนละมุมกัน ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะช่วยให้เห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดเจนขึ้นดังนี้ 1. งบกำไรขาดทุน(Statement of Income) แสดงรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรหรือขาดทุนของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้รู้ว่า 2. งบฐานะการเงิน(Statement of Financial Position) หรือ งบดุล(Balance Sheet) แสดงสถานะทางการเงินด้วยทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน ณ วันใดวันหนึ่ง โดยบอกว่า 3. งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ(Statement of Changes in Equity) แสดงการเปลี่ยนแปลง “เงินของเจ้าของ” ว่าผู้ที่ได้นำเงินมาลงทุนในธุรกิจมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ทุนเริ่มต้น และกำไรสะสมที่ผ่านมา หมายเหตุ: ห้างหุ้นส่วนไม่จำเป็นต้องจัดทำงบการเงินประเภทนี้ตามกฎหมาย 4. งบกระแสเงินสด(Statement of Cash Flows) แสดงการ “รับเงิน” และ “จ่ายเงิน” ของธุรกิจโดยแยกตาม 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ งบนี้ช่วยให้เรารู้ว่าเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี มาจากอะไร เช่น ข้อสังเกต: งบกระแสเงินสดไม่ใช่งบที่ทุกกิจการต้องทำเสมอไป โดยเฉพาะนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน นักบัญชีอาจไม่ได้จัดทำงบประเภทนี้ให้ก็ได้ นอกจาก 4 งบหลักนี้แล้ว ยังมีอีกเอกสารหนึ่งที่มักแนบมากับงบการเงินทุกปี คือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statements: NFS) ซึ่งเป็นเอกสารที่ควรอ่านควบคู่กันเสมอ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมและรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเอกสารนี้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่สามารถใส่ไว้ในงบหลักได้ เช่น ตอนนี้เราเข้าใจภาพรวมของงบการเงินแล้ว ทั้งหน้าที่ของแต่ละงบ และข้อมูลที่ควรสังเกต ต่อไปเราจะเจาะลึกวิธี “อ่าน” งบการเงินแบบเข้าใจง่าย และนำไปใช้ตัดสินใจทางธุรกิจได้จริง วิธีอ่าน “งบกำไรขาดทุน” งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงาน โดยมีสมการง่ายๆ คือ รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย = กำไร(ขาดทุน) ประเภท ‘รายได้’ รายได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อสังเกต: การแบ่งรายได้ ช่วยให้รู้ว่าเงินเข้ามาจากอะไร และธุรกิจแข็งแรงจริงไหม ไม่ใช่แค่โชคดีได้เงินครั้งคราว ประเภท ‘ค่าใช้จ่าย’ ค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ ข้อสังเกต: ช่วยให้เจ้าของกิจการเข้าใจว่าเงินของตัวเองหมดไปกับเรื่องอะไร และควรปรับตรงไหนบ้างเพื่อให้มีกำไรมากขึ้น  ประเภท ‘กำไร’ จริงๆ แล้วในงบกำไรขาดทุน ไม่ได้มีแค่ตัวเลข ”กำไรสุทธิ” เพียงบรรทัดเดียว แต่มีการแสดง “กำไร” หลายระดับ เพื่อให้เห็นภาพธุรกิจในมุมต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ การอ่านงบกำไรขาดทุนทำให้เราเข้าใจลักษณะของรายได้ ค่าใช้จ่าย ที่ทำให้ธุรกิจกำไรหรือขาดทุน เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงมากจนทำให้ธุรกิจขาดทุน ผู้ประกอบการก็ควรเจาะลึกเข้าไปว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่อยู่ในกลุ่มค่าใช้จ่ายบริหารที่สูง เพื่อหาทางแก้ไขในอนาคตได้ ตรงกันข้ามเราอาจพบว่ามีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ธุรกิจจ่ายน้อยเกินไป ซึ่งถ้าจ่ายเพิ่มอาจทำให้รายได้เพิ่มขึ้นได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เป็นต้น วิธีอ่าน “งบฐานะการเงิน” (งบดุล) งบฐานะการเงิน แสดงสถานะทางการเงินของธุรกิจ โดยมีสมการง่ายๆ คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ จากสมการสามารถตีความได้ว่าสิ่งที่ธุรกิจมีอยู่ เรียกว่า สินทรัพย์ เช่น เงินสด สินค้า หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ล้วนมาจากเงิน 2 แหล่งคือ ประเภท ‘สินทรัพย์’ สินทรัพย์จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อสังเกต: การแบ่งประเภทหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน ทำให้ธุรกิจทราบว่าในระยะสั้นมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อใช้หมุนเวียนเพียงพอหรือไม่ ประเภท ‘หนี้สิน’ หนี้สินจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อสังเกต: การแบ่งประเภทหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน ทำให้ธุรกิจทราบว่าในระยะสั้นมีหนี้สินที่ต้องชำระเท่าใด ซึ่งสามารถนำไปเทียบกับยอดสินทรัพย์หมุนเวียนว่ามีสินทรัพย์ระยะสั้นเพียงพอในการชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน ธุรกิจต้องรีบวางแผนหาเงินเพิ่มเติม เพื่อให้ไม่ให้ธุรกิจสะดุดจากการขาดสภาพคล่อง ประเภท ‘ส่วนของเจ้าของ’ ส่วนของเจ้าของ แสดงเงินหรือทรัพย์สินที่เจ้าของธุรกิจใส่เข้ามาในกิจการ รวมถึงกำไรที่ธุรกิจสะสมไว้ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ข้อสังเกต: การอ่านงบฐานะการเงินช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจว่าเงินทุนที่ธุรกิจใช้มาจากเจ้าของมากน้อยแค่ไหน เทียบกับเงินที่กู้ยืมมา รวมถึงวางแผนการบริหารธุรกิจในอนาคต เช่น จะใช้กำไรสะสมต่อยอดอย่างไร หรือควรกันสำรองเพื่อเป้าหมายใดบ้าง วิธีอ่าน “งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ” งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ แสดงให้เห็นว่า “เงินลงทุนของเจ้าของ” และ “กำไรสะสม” มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตลอดทั้งปี โดยมีสมการง่ายๆ คือ ส่วนของเจ้าของต้นปี + เพิ่ม(ลด)ทุน + กำไร(ขาดทุน) – จ่ายปันผล = ส่วนของเจ้าของปลายปี การเปลี่ยนแปลงของทุนที่ชำระ การเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสม ส่วนของเจ้าของสะท้อนความมั่งคั่งของธุรกิจ การอ่านงบนี้ทำให้เราเห็นว่า ธุรกิจ “แข็งแรง” หรือ “อ่อนแอ” ทางการเงินแค่ไหน อย่างไรก็ตามบางประเภทธุรกิจมักจะมีส่วนของเจ้าของต่ำในช่วงการดำเนินธุรกิจแรกๆ เช่น กลุ่มบริษัทสตาร์อัพ(startups) เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างนวัตกรรมใหม่ที่คนยังไม่คุ้นเคย ทำให้ช่วงแรกๆของธุรกิจจะต้องลงทุนสูงเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และต้องทำการตลาดอย่างหนักเพื่อให้คนรู้จักและเปิดใจใช้ ทำให้รายได้จะยังน้อยแต่ค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้เกิดผลขาดทุนสะสมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง และวันที่นวัตกรรมเป็นที่รู้จักและแก้ไขปัญหาผู้ใช้ได้จริง บริษัทเหล่านี้จะสามารถกลับมาทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว ข้อสังเกต: งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่เป็นเครื่องมือสะท้อนความมั่นคงของธุรกิจทั้งในมุมมองระยะสั้นและระยะยาว หากเรารู้วิธีดูงบนี้ จะช่วยวางแผนการลงทุน การถอนทุน และการจัดการกำไรได้ดียิ่งขึ้น วิธีอ่าน “งบกระแสเงินสด” งบกระแสเงินสด ได้แสดงให้เห็นว่าเงินที่มีในธุรกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพราะอะไร และช่วยตอบคำถามว่า“ธุรกิจเรามีกำไร…แต่ทำไมเงินสดถึงไม่เหลือ ?”โดยมีสมการง่ายๆ คือ เงินต้นปี บวก เงินรับ(จ่าย)ระหว่างปี = เงินปลายปี โดยการรับเงิน-จ่ายเงิน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม เพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปของเงินมากขึ้น ดังนี้ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน(Operating activity) กิจกรรมดำเนินงาน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ซึ่งบอกถึง ความสามารถในการทำกำไรจากธุรกิจหลัก และสภาพคล่องระยะสั้น ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: ธุรกิจที่แข็งแรง ควรมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนการทำกำไรที่มีเงินสดจริงตามมา กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน(Investing activity) กิจกรรมลงทุน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งแสดงถึง แนวโน้มการขยายหรือหดตัวลงของกิจการ ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: หากธุรกิจกำลังขยายตัว มักมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ติดลบ เพราะมีการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน(Financing activity) กิจกรรมจัดหาเงิน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่ หรือการชำระคืนหนี้ ซึ่งสะท้อน โครงสร้างทางการเงินของธุรกิจ ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: กระแสเงินสดบวกในกิจกรรมนี้ มักเกิดในช่วงเริ่มต้นธุรกิจหรือขยายธุรกิจ หากติดลบแสดงว่ามีการชำระหนี้หรือลดขนาดกิจการ ข้อมมูลในงบกระแสเงินสดในภาพรวมคือการแสดง “ทิศทางของเงินสด” และ “สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง” ได้อย่างชัดเจนกว่างบอื่น เช่น ตัวอย่างสถานการณ์ที่สอดคล้องไปกับสภาวะของธุรกิจแต่ละช่วง อาจจะเจอสถานการณ์ ดังนี้ ประเภทกิจกรรม ธุรกิจเริ่มต้นใหม่ ธุรกิจมั่นคง ธุรกิจมีปัญหา ดำเนินงาน ติดลบ บวก ติดลบ ลงทุน ติดลบ ติดลบหรือศูนย์ บวก (ขายทรัพย์สิน) จัดหาเงิน บวก ติดลบหรือศูนย์ ศูนย์ (หาเงินเพิ่มไม่ได้) วิธีอ่าน “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” หมายเหตุประกอบงบการเงินต้องเปิดอ่านคู่กับงบการเงินเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน เช่น รายละเอียดธุรกิจ นโยบายบัญชี หรือรายละเอียดตัวเลขจากงบการเงิน ดังนี้ แสดงชื่อกิจการ ประเภทนิติบุคคล เลขทะเบียนนิติบุคคล ที่ตั้ง รวมถึงวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นรายได้หลักของกิจการ แสดงกฏหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงบการเงิน เช่น มาตรฐานบัญชี เกณฑ์การแสดงรายการในงบการเงิน และการแสดงมูลค่าในงบการเงิน แสดงนโยบายบัญชีที่สำคัญและความหมายของแต่ละรายการบนงบการเงิน ซึ่งอาจมีความหมายแตกต่างจากที่คนทั่วไปเข้าใจ เช่น คำว่า ‘เงินสด’ คนทั่วไปเข้าใจจะเข้าว่าคือเหรียญหรือธนบัตร แต่นิยามทางบัญชีเงินสดหมายถึงเงินฝากประเภทออมทรัพย์และกระแสรายวันด้วย  ถ้าลองกลับไปดูรูปภาพงบฐานะการเงิน จะมีบรรทัดที่เขียนว่า ‘เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด’ จำนวน 1.315 ล้านบาทในปี 2567 และจำนวน 0.12 ล้านบาทในปี 2566 เราจะเห็นแค่ก้อนรวมโดยที่ไม่รู้ว่ามีเงินสดในมือกี่บาท และเงินฝากธนาคารกี่บาท ถ้าอยากรู้รายละเอียดต้องดูหัวข้อ ‘หมายเหตุ’ ซึ่งมีความหมายว่าถ้าอยากดูรายละเอียดให้ไปดูที่หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 3.1 และ 4 ดังนี้ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบอ่านงบการเงินแล้วอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดูว่ารายการนั้นในช่อง ‘หมายเหตุ’ มีเลขหมายเหตุไหม ถ้ามีให้ไปที่รายละเอียดที่หมายเหตุประกอบงบการเงินตามเลขที่นั้นๆ แต่ถ้าไม่มีแสดงว่านักบัญชีไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดรายการนั้นเพิ่มเติม กรณีต้องการดูข้อมูลนั้นจริงๆ ต้องไปขอข้อมูลเพิ่มเติมจากนักบัญชีเอง และแล้วตอนนี้ ทุกคนได้ผ่านวิธีการอ่านงบการเงินทั้งหมดมาแล้ว ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าใจความหมายของแต่ละบรรทัดของแต่ละงบการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้การอ่านงบการเงินสนุกขึ้น จึงขอมอบเคล็ดลับการอ่านงบการเงินฉบับผู้ประกอบการมือใหม่เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการอ่านงบให้เจ๋งมากขึ้น ดังนี้ 6 เคล็ดลับการอ่านงบการเงินฉบับผู้ประกอบการมือใหม่ ผู้ประกอบการที่อ่านงบการเงินระยะแรกจะเจอปัญหาว่ารายการเยอะแยะไปหมด ความหมายของรายการนี้คืออะไร ควรเริ่มต้นจากงบอะไรก่อน หรือต้องไปดูส่วนไหนก่อน ปัญหาเหล่านี้จะหายไปเพราะใช้เทคนิคที่เตรียมมาให้ในบทความนี้ สรุปท้ายบทความ งบการเงินไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยเมื่อเราทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานและแนวคิดเบื้องต้น มันจะกลายเป็น เครื่องมือที่ทรงพลัง ที่ช่วยให้เราตัดสินใจในธุรกิจได้อย่างแม่นยำและมั่นใจยิ่งขึ้น โดยสามารถยื่นงบการเงินและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)  งบการเงินไม่ใช่ศัตรูที่น่ากลัวแต่มันคือ “เพื่อนร่วมทาง” ที่พร้อมช่วยเจ้าของกิจการมองเห็นทางเดินที่ถูกต้องในทุกช่วงเวลา ยิ่งเรา อ่านงบเป็น รู้หลักพื้นฐาน และฝึกใช้มันสม่ำเสมอ ก็จะยิ่งมองเห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดขึ้น และสามารถใช้ตัวเลขเหล่านั้นไป ปรับแผน ต่อยอด และบริหารกิจการให้เติบโตอย่างมีทิศทาง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

11 มิ.ย. 2025

PEAK Account

11 min

บริการรับทำเงินเดือนเหมาะกับใคร เมื่อไหร่ที่ควรใช้บริการรับทำเงินเดือน

การทำเงินเดือนให้พนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรไม่สามารถทำพลาดได้ แม้จะดูเหมือนเป็นงานรูทีน (Routine) แต่หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ความพึงพอใจของพนักงาน และเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านกฎหมายได้ ดังนั้น บริการรับทำเงินเดือนจึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับหลายองค์กรในการช่วยคำนวณเงินเดือน แล้วคำถามคือ…บริการรับทำเงินเดือนเหมาะกับใครบ้าง? และเมื่อไหร่ถึงจะควรใช้บริการรับทำเงินเดือน? บริการรับทำเงินเดือน เหมาะกับธุรกิจไหนบ้าง? บริการรับทำเงินเดือนเหมาะกับทุกประเภทธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการลดภาระงานด้าน Payroll ต้องการเพิ่มความถูกต้องในการคำนวณเงินเดือน รักษาความลับทางการเงิน และให้ทีมงานมีเวลาไปโฟกัสกับงานหลักที่สำคัญกว่า โดยสามารถแบ่งประเภทธุรกิจได้ดังนี้ 1. เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง (SMEs) ธุรกิจ Startup ที่ยังไม่มีฝ่าย HR มักเผชิญกับความท้าทายในการจัดการเงินเดือน ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจจึงต้องรับหน้าที่ทำเงินเดือนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นงานที่ใช้เวลาและต้องใส่ใจในรายละเอียด ทั้งยังต้องทำควบคู่กับภารกิจอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น การพัฒนาธุรกิจ การขาย หรือการดูแลลูกค้า ส่งผลให้เรื่องเงินเดือนกลายเป็นภาระที่หนักและกินเวลามาก ดังนั้น สำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ช่วยลดภาระงาน เพิ่มความถูกต้องแม่นยำ และทำให้เจ้าของธุรกิจมีเวลาโฟกัสกับการเติบโตของกิจการมากขึ้น 2. เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ แม้ธุรกิจขนาดใหญ่จะมีฝ่าย HR ในองค์กร แต่การทำเงินเดือนด้วยตนเองยังคงเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้ทรัพยากรจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อมีพนักงานจำนวนหลักร้อยถึงหลักพัน การจัดการเงินเดือนแบบ in-house ยิ่งเพิ่มความยุ่งยาก และมีความเสี่ยงสูงต่อความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคำนวณเงินเดือน ภาษี ประกันสังคม หรือกฎหมายแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผลที่ตามมาคือ HR ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับงานคำนวณและตรวจสอบความถูกต้อง แทนที่จะได้โฟกัสกับการพัฒนาองค์กร การบริหารบุคลากร หรือเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในทีม ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะช่วยลดภาระงานที่ซับซ้อน เพิ่มความแม่นยำ และเปิดโอกาสให้ฝ่าย HR ได้ทำหน้าที่เชิงกลยุทธ์อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการทำงานเดือนอีกต่อไป 3. เหมาะกับสำนักงานบัญชี แม้สำนักงานบัญชีจะมีความเชี่ยวชาญในการคำนวณเงินเดือนและภาษี แต่หากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม การให้บริการลูกค้าอาจไม่ราบรื่นอย่างที่ควร การจัดการเงินเดือนต้องอาศัยทั้งความแม่นยำ ความรวดเร็ว และการอัปเดตข้อมูลตามกฎหมายแรงงานและภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากไม่มีระบบหรือเครื่องมือที่ตอบโจทย์ การทำเงินเดือนให้ลูกค้าอาจสะดุดหรือเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จึงเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับสำนักงานบัญชี ช่วยให้คุณให้บริการลูกค้าได้อย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านความแม่นยำ ความรวดเร็ว และลดภาระงานที่ซับซ้อนในการจัดทำเงินเดือนทุกเดือน เมื่อไหร่ที่ธุรกิจของคุณควรใช้ บริการรับทำเงินเดือน ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ Start-up หรือ HR ที่ดูแลพนักงานให้กับบริษัทใหญ่ การจัดการเงินเดือนพนักงานนั้นมักเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเสี่ยงพลาดได้ง่าย แล้วเมื่อไหร่กันล่ะที่ควรพิจารณา “ส่งไม้ต่อ” บริการรับทำเงินเดือนที่มีผู้เชี่ยวชาญดูและแทน? ดังนั้นเราจะพาไปดูสัญญาณที่บอกเวลาถึงเวลาแล้วที่ควรใช้บริการรับทำเงินเดือน ตอนที่คุณยังทำธุรกิจคนเดียว งานเงินเดือนอาจไม่มีอะไรซับซ้อน แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีพนักงานคนแรกความรับผิดชอบด้านเงินเดือน กฎหมาย และเอกสารต่าง ๆ ก็ย่อมตามมา ไม่ว่าจะเป็นการหักภาษี ประกันสังคม ออกสลิปเงินเดือน และยื่นภาษีส่งให้แก่กรมสรรพากร เป็นต้น แม้จะมีพนักงานไม่กี่คนแต่ทุก ๆ เดือนต้องทำเงินเดือนของพนักงานให้ถูกต้องและตรงเวลา ดังนั้นการเลือกใช้บริการรับทำเงินเดือนจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเริ่มต้นธุรกิจ ข้อมูลเงินเดือนคือหนึ่งในข้อมูลที่อ่อนไหวที่สุดในองค์กร ถ้าเกิดการรั่วไหลแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบตามมาได้ ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือนจากผู้ให้บริการมืออาชีพ จะช่วยให้ข้อมูลเงินเดือนปลอดภัยด้วยมาตรฐานของระบบ เช่น ข้อมูลจัดเก็บบน Cloud ที่ปลอดภัย สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงได้ เป็นต้น หากมีพนักงานเริ่มบ่นว่าเงินเดือนไม่ตรง สลิปไม่ชัด หรือข้อมูลภาษีผิดบ่อย ๆ นี่คือสัญญาณอันตราย ความผิดพลาดเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมาย หรือทำลายความเชื่อมั่นของพนักงานโดยไม่รู้ตัว ในช่วงที่ธุรกิจกำลังขยาย ทีมงานเพิ่มขึ้น ลูกค้าเพิ่มขึ้น งานก็ยิ่งมากขึ้นตาม แต่เวลาในแต่ละวันยังเท่าเดิม เจ้าของธุรกิจหรือทีมผู้บริหารจำเป็นต้องเลือกว่าจะ ใช้เวลาทำสิ่งที่ขยายธุรกิจ หรือจมอยู่กับงานเอกสารซ้ำ ๆ ทุกเดือน ซึ่งการใช้บริการรับทำเงินเดือนช่วยคืนเวลาให้ทีมหลักของธุรกิจ ไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานหลังบ้านที่ไม่ได้สร้างรายได้โดยตรง และมั่นใจได้ว่าส่วนงานสำคัญนี้จะดำเนินไปอย่างราบรื่น ถูกต้อง และมืออาชีพ HumanSoft บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการปรับตัวและโฟกัสกับงานสำคัญคือหัวใจของความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ หนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ การจัดการเงินเดือนของพนักงาน เพราะหากคำนวณเงินเดือนผิดพลาด จ่ายเงินไม่ครบ หรือไม่ตรงต่อเวลา ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจ และนี่คือเหตุผลที่ บริการ Payroll Outsourcing จาก HumanSoft เข้ามาเติมเต็มตรงจุดนั้นให้เป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ ไร้กังวล หากสนใจบริการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

11 มิ.ย. 2025

PEAK Account

9 min

ทำความรู้จัก บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing)

บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) คือการที่บริษัทว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรภายนอกเข้ามาดูแลกระบวนการจัดทำเงินเดือนให้พนักงาน ตั้งแต่การคำนวณค่าจ้าง เงินโอที โบนัส หักภาษี หักประกันสังคม ไปจนถึงการจัดทำรายงานเพื่อส่งให้กับหน่วยงานราชการ จัดการเงินเดือนอย่างมืออาชีพแม้บริษัทไม่มี HR “บริษัทไหนที่ไร้ HR ไม่ได้เป็นเรื่องยากในการเงินเดือน” พอได้ยินประโยคนี้เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่า “จะเป็นไปได้จริงเหรอ?” โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ไม่มีฝ่ายบุคคลคอยดูแลเรื่องภายใน ไม่ว่าจะเป็นการคิดเงินเดือน โอที ภาษี หรือประกันสังคม ฟังดูเหมือนเป็นงานที่ยุ่งยากและเสี่ยงต่อความผิดพลาด แต่ขอตอบเลยว่าไม่มี HR ก็สามารถทำเงินเดือนได้จริง เพียงใช้ “บริการรับทำเงินเดือน”ปัจจุบันมีบริการที่เรียกว่า “บริการรับทำเงินเดือน” ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยบริษัทดูแลทุกกระบวนการเกี่ยวกับเงินเดือนอย่างครบวงจร โดยไม่จำเป็นต้องมี HR ประจำในองค์กร ไม่ว่าจะคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น หรือผู้บริหารบริษัทที่กำลังขยายทีม แต่ยังไม่พร้อมตั้งฝ่ายบุคคลเต็มรูปแบบ บริการรับทำเงินเดือนเป็นตัวช่วยที่ทั้งประหยัดเวลา ลดต้นทุน และช่วยให้คุณบริหารจัดการได้อย่างมืออาชีพ บริการรับทำเงินเดือน ช่วยเจ้าของธุรกิจได้อย่างไรบ้าง? 1. เพิ่มความแม่นยำในการคำนวณเงินเดือนให้กับพนักงาน บริการรับทำเงินเดือนใช้ระบบซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐาน ร่วมกับทีมงานที่มีประสบการณ์ ทำให้การคำนวณเงินเดือน ค่าล่วงเวลา หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีความแม่นยำสูง ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำแมนนวล (Manual) ทำให้จ่ายเงินเดือนได้ตรงตามเวลา 2. บริการรับทำเงินเดือน ช่วยประหยัดต้นทุนมากกว่าการจ้างพนักงาน การจ้างเจ้าหน้าที่ HR หรือฝ่ายบัญชีเต็มเวลาสำหรับทำเงินเดือนเพียงอย่างเดียว อาจไม่คุ้มค่าในแง่ของงบประมาณ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และในทางกลับกัน บริการรับทำเงินเดือนมีการคิดค่าบริการตามจำนวนพนักงานหรือเป็นรายเดือน ช่วยควบคุมต้นทุนได้ดี โดยไม่ต้องลดระดับคุณภาพการทำงาน 3. ลดภาระงานที่กินเวลาการทำงาน การคิดเงินเดือน ตรวจสอบข้อมูลการทำงาน หักภาษี ยื่นประกันสังคม หรือจัดทำรายงานต่าง ๆ เป็นงานที่ใช้เวลามาก หากผู้บริหารต้องทำเอง จะเป็นการเบียดบังเวลาที่ควรใช้กับการวางกลยุทธ์หรือขยายธุรกิจ ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือนเข้ามาช่วย “ยกของหนัก” เหล่านี้ออกไปจากโต๊ะผู้บริหาร ทำให้คุณมีเวลาไปทำสิ่งที่สำคัญกว่า 4. บริการรับทำเงินเดือน จากผู้เชี่ยวชาญช่วยคำนวณเงินเดือน ภาษี ประกันสังคมถูกต้องตามกฎหมาย การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) ที่จัดทำโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเงินเดือน ช่วยให้การทำเงินเดือน ภาษี และประกันสังคมถูกต้องตามกฎหมาย ลดข้อผิดพลาดในเรื่องของการทำเงินเดือน 5. ผู้ให้ บริการรับทำเงินเดือน สามารถจัดการเงินเดือนและให้คำปรึกษาธุรกิจได้ หลายครั้งที่เจ้าของธุรกิจเจอกรณีซับซ้อน เช่น พนักงานลาออกกระทันหัน การคิดค่าชดเชย หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินเดือน การมีผู้เชี่ยวชาญด้านค่าจ้างและสิทธิประโยชน์คอยให้คำแนะนำโดยตรง ช่วยให้คุณตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น และไม่เสี่ยงทำผิดโดยไม่รู้ตัว บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) by HumanSoft บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จาก HumanSoft เป็นอีกหนึ่งบริการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการเงินเดือนให้กับพนักงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเงินเดือนคอยจัดทำเงินเดือนอย่างละเอียดทุกขั้นตอน อีกทั้งยังมีรายงานที่เจ้าของกิจการสามารถตรวจสอบและนำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ จุดเด่นอีกอย่างของบริการรับทำเงินเดือน HumanSoft คือฟรีโปรแกรม HR และแอปพลิเคชันสำหรับพนักงานที่ให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ผ่านระบบ Employee Self Service (ESS) ดังนี้ หากงาน Payroll ของคุณหนักเกินจะรับไหว ถึงเวลาแล้วที่ต้องมอบหมายให้มืออาชีพช่วยดูแลเรื่องการจัดการเงินเดือนให้องค์กรของคุณ หากสนใจบริการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : หากสนใจใช้ บริการรับทำเงินเดือน จาก HumanSoft ต้องเริ่มต้นอย่างไร? หากสนใจใช้บริการรับทำเงินเดือนจาก HumanSoft สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ดังนี้ กรณีถ้าอยากสอบถามรายละเอียดเบื้องต้นก็สามารถติดต่อมาได้ที่เบอร์ 083-942-6242 สรุปจัดการเงินเดือนให้เป็นเรื่องง่ายด้วยตัวช่วยจาก HumanSoft เจ้าของกิจการขนาดเล็กหรือ SME ที่ยังไม่มีฝ่าย HR หรือยังจัดการเรื่องเงินเดือนเองแบบแมนนวล บริการรับทำเงินเดือนเป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการลดภาระงานที่ซับซ้อน ลดความเสี่ยงจากการคำนวณเงินเดือนผิดพลาด ส่งเอกสารล่าช้า นอกจากนี้ การใช้บริการรับทำเงินเดือนยังได้ทั้งการทำเงินเดือนแบบครบวงจร ทีมงานมืออาชีพ โปรแกรม HR และแอปพลิเคชันสำหรับพนักงานที่ทันสมัย แถมช่วยลดต้นทุนบริษัทอีกด้วย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

30 พ.ค. 2025

PEAK Account

3 min

3 กลยุทธ์ปลดล็อกธุรกิจจากกับดัก “One-Man Show”

1. Business Process Design – วางระบบให้คนเดินตามได้ ✦ เป้าหมาย : สร้าง “มาตรฐานงาน” ที่ใครก็ทำต่อได้ ✦ Tools แนะนำ : 2. Role-Based Training – สร้างคนให้เหมาะกับงาน ไม่ต้องเทรนให้พนักงานเก่งครบทุกด้าน แต่แบ่งตามบทบาทที่มีผลต่อเป้าหมายธุรกิจ ✦ เป้าหมาย : ให้พนักงาน “เข้าใจบทบาทของตัวเองใน Value Chain” ✦ Know-how ที่ควรให้พนักงานรู้ : 3. Capability Building – ลงทุนกับการพัฒนาทีมอย่างมีระบบ ✦ เป้าหมาย : ให้พนักงานทำงานได้โดยไม่ต้องรอคำสั่ง ✦ กลยุทธ์ Build–Buy–Borrow: การสร้าง Learning Culture ให้เกิดขึ้นในองค์กรเล็ก ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแค่เริ่มจากการให้พนักงานเรียนรู้จากปัญหาหน้างานจริง แล้วเสริมด้วยหลักสูตรเทรนนิงที่ออกแบบมาเฉพาะ

7 มี.ค. 2025

PEAK Account

13 min

ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ง่ายขึ้น 2 เท่า แค่เชื่อม ZORT กับ PEAK

สำหรับเจ้าของธุรกิจ E-commerce อย่างร้านค้าออนไลน์ที่ขายบน Shopee, Lazada หรือ Facebook การทำบัญชีอาจเป็นงานที่ใช้เวลานานและมีความยุ่งยาก โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลการขาย การซื้อ และการคืนสินค้า แต่ตอนนี้การทำบัญชีไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไป ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง PEAK x ZORT จะช่วยให้ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ง่ายขึ้น 2 เท่า ในบทความนี้จะพาทุกคนมาดูว่าทำไมต้องใช้ PEAK x ZORT พร้อมรีวิวจากผู้ใช้งานจริง PEAK x ZORT คืออะไร ช่วยทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ได้อย่างไร? PEAK x ZORT คือการเชื่อมต่อระหว่าง PEAK (โปรแกรมบัญชีออนไลน์) และ ZORT (ระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้า) เพื่อช่วยให้ธุรกิจ E-commerce ทำงานได้อย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีบทบาทหลักดังนี้ เมื่อเชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ข้อมูลจากคำสั่งซื้อและการขายจะถูกส่งไปยังระบบบัญชีอัตโนมัติ ลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล และช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามรายรับ รายจ่าย และกำไร-ขาดทุนได้แบบเรียลไทม์​ ทำไมร้านค้าออนไลน์ ต้องใช้ PEAK x ZORT ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ได้ครบวงจรในที่เดียว ธุรกิจ E-commerce หรือร้านค้าออนไลน์ มีหลายกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า การรับชำระเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ และการคำนวณภาษี หากต้องทำทุกอย่างเอง เจ้าของร้านค้าจะต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูล คีย์เอกสาร และตรวจสอบยอดขายที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ PEAK x ZORT ช่วยให้คุณสามารถรวมทุกกระบวนการบัญชีไว้ในที่เดียว สรุป: ระบบช่วยให้คุณทำบัญชีครบทุกขั้นตอนแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องแยกจัดการหลายระบบให้ยุ่งยาก ลดขั้นตอนทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ให้แม่นยำและอัตโนมัติ ไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน การทำบัญชีด้วยมืออาจต้องคีย์ข้อมูลซ้ำหลายรอบ เช่น จากระบบขายไปยังระบบบัญชี หรือจากใบสั่งซื้อไปเป็นรายจ่าย ระบบ PEAK x ZORT ช่วยให้ข้อมูลเชื่อมต่อกันโดยอัตโนมัติ ลดโอกาสผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลเอง อัปเดตบัญชีอัตโนมัติ เมื่อมีการขายสินค้า ระบบจะสร้างเอกสาร เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีทันที โดยไม่ต้องทำเอง ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Error) การคีย์ข้อมูลด้วยตนเองมีโอกาสผิดพลาดสูง ไม่ว่าจะเป็นการใส่ตัวเลขผิด การคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง หรือการบันทึกเอกสารผิด ระบบช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความแม่นยำ ลดภาระงานบัญชีที่ใช้เวลา ระบบช่วยให้คุณทำบัญชีได้เร็วขึ้นกว่าเดิม เจ้าของร้านสามารถโฟกัสที่การขายและขยายธุรกิจได้เต็มที่ อัปเดตข้อมูลทำบัญชีร้านค้าออนไลน์แบบเรียลไทม์ รู้สต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ เชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ทำให้ข้อมูลสต๊อกอัปเดตอัตโนมัติเมื่อมีการขายหรือคืนสินค้า เจ้าของร้านสามารถตรวจสอบว่าสินค้าคงเหลือเท่าไหร่ ควรสั่งเพิ่มเมื่อใด และหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าหมดสต๊อกโดยไม่รู้ตัว ติดตามยอดขายได้ทุกช่องทาง PEAK และ ZORT รองรับการขายจากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Shopee, Lazada, Facebook, LINE SHOPPING และอื่นๆ ทำให้เห็นยอดขายจากทุกช่องทางในที่เดียว สถานะการเงินอัปเดตทันที PEAK แสดงข้อมูลรายรับ รายจ่าย และกำไรแบบเรียลไทม์ เจ้าของร้านสามารถวิเคราะห์ผลประกอบการและตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ รายงานธุรกิจที่แม่นยำและเข้าใจง่าย ไม่ต้องรอสิ้นเดือนเพื่อดูรายงาน เพราะระบบสามารถดึงข้อมูลได้ตลอดเวลา ทั้งรายงานสรุปยอดขาย รายจ่าย และผลกำไร สรุป: PEAK x ZORT ช่วยให้ข้อมูลทางธุรกิจของคุณอัปเดตแบบเรียลไทม์ ลดความผิดพลาดและช่วยให้คุณบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ร่วมกับนักบัญชีได้ง่ายขึ้น ระบบออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานร่วมกับนักบัญชี PEAK มีฟีเจอร์ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ โดยไม่ต้องส่งเอกสารไปมา เช่น นักบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้น นักบัญชีสามารถดึงข้อมูลจาก PEAK เพื่อยื่นภาษี จัดทำงบการเงิน และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีให้เจ้าของธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอเอกสารเพิ่มเติม รองรับการทำงานออนไลน์ เจ้าของร้านและนักบัญชีสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ไม่ต้องเดินทางไปพบกัน ลดเวลาการทำงานร่วมกัน สรุป: PEAK x ZORT ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา และลดปัญหาความผิดพลาดจากการส่งข้อมูลผิดพลาด PEAK x ZORT ช่วยทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ได้อย่างไรบ้าง? เมื่อเชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ข้อมูลสำคัญจะส่งตรงถึงกันอัตโนมัติ ไม่ต้องคีย์ซ้ำ ไม่ต้องสลับระบบไปมา ลดเวลาและลดความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมถึง: 1. รายการขาย: บันทึกอัตโนมัติ ลดเวลาทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ทุกครั้งที่มีคำสั่งซื้อจาก ZORT ระบบจะสร้างเอกสารทางบัญชีใน PEAK ทันที 2. รายการซื้อ: ควบคุมต้นทุน และดูบัญชีร้านค้าออนไลน์แบบเรียลไทม์ เมื่อลงบันทึก ใบสั่งซื้อ หรือค่าใช้จ่ายใน ZORT ข้อมูลจะถูกส่งไปยัง PEAK โดยอัตโนมัติ 3. รายการรับคืนสินค้า: อัปเดตการทำบัญชีร้านค้าออนไลน์และสต๊อกสินค้าอัตโนมัติ หากลูกค้าทำการคืนสินค้า ZORT จะส่งข้อมูลไปยัง PEAK เพื่ออัปเดตรายการบัญชี 4. รายการคืนสินค้า (กรณีซื้อ) : ตรวจสอบต้นทุนสินค้าได้ง่ายขึ้น หากร้านค้าคืนสินค้าที่ซื้อมา ZORT จะส่งข้อมูลไปยัง PEAK ให้โดยอัตโนมัติ รีวิวจากผู้ที่เชื่อม ZORT ร่วมกับ PEAK ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ “ZORT ช่วยจัดการตัดสต๊อก และดึงเข้า Peak ระบบบัญชีได้ทันที ทำให้เราจัดการสต๊อกและบัญชีได้อย่าง Seamless” นพรัตน์ อาฒยะพันธ์, Northland Tea, บริษัท ชาดีออร์แกนิค จำกัด อยากทำบัญชีร้านค้าออนไลน์และจัดการออเดอร์ได้ง่ายขึ้น? ถ้าคุณเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องวุ่นกับการบันทึกบัญชีและจัดการออเดอร์ทุกวัน PEAK x ZORT ช่วยให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย! แค่เชื่อมต่อระบบ ข้อมูลการขาย รายการซื้อ และการคืนสินค้าจะอัปเดตอัตโนมัติ ไม่ต้องคีย์เอง ไม่ต้องสลับไปมาระหว่างระบบ ลดงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคำสั่งซื้อจาก ZORT จะถูกบันทึกเข้า PEAK ทันที พร้อมออกใบเสร็จและใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาจัดการเอกสารเอง นอกจากนี้ ระบบยังช่วยอัปเดตสต๊อกสินค้า คำนวณต้นทุน และดูรายงานทางการเงินได้แบบเรียลไทม์ ทำให้คุณบริหารธุรกิจได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายของผ่าน Shopee, Lazada, Facebook หรือช่องทางไหน PEAK x ZORT ก็ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดเจน วางแผนการเงินได้อย่างมั่นใจ ลองเชื่อมต่อ PEAK x ZORT วันนี้ แล้วคุณจะรู้ว่า “การทำบัญชีร้านค้าออนไลน์” ไม่ได้ยากอย่างที่คิด! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

5 มี.ค. 2025

PEAK Account

22 min

รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ของคุณ!

สำนักงานบัญชีถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจ SME ให้ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว ความคาดหวังของลูกค้าสูงขึ้น และกฎระเบียบด้านบัญชีภาษีมีความซับซ้อนมากขึ้น การทำงานในสำนักงานบัญชีแบบเดิมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสำนักงานบัญชี จึงเป็นเรื่องที่ทุกสำนักงานบัญชีควรให้ความสำคัญ ไม่เพียงช่วยลดความผิดพลาด แต่ยังเพิ่มคุณภาพบริการและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำ รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ที่สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรของคุณให้ทำงานได้เร็วขึ้น มีระบบมากขึ้น และช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้าจะมีอะไรบ้างนั้นมาติดตามกันได้เลย ทำไมต้องให้ความสำคัญ กับ กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานบัญชี ในยุคที่ธุรกิจแข่งขันกันสูงขึ้นทุกวัน สำนักงานบัญชีก็หนีไม่พ้นแรงกดดันนี้เช่นกัน หากคุณเป็นเจ้าของสำนักงานบัญชี แล้วเลือกที่จะทำงานแบบเดิมๆ โดยไม่มองหาแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพ อาจทำให้สำนักงานของคุณเสียเปรียบและตามคู่แข่งไม่ทัน แล้วผลลัพธ์คืออะไร?ลูกค้าอาจเลือกใช้บริการจากสำนักงานที่ตอบโจทย์ได้รวดเร็วกว่า ให้บริการที่ครบถ้วนกว่า หรือมีการใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานจนประหยัดเวลาลูกค้าได้มากกว่า นี่อาจส่งผลให้จำนวนผู้จ้างลดลง และที่สำคัญไปกว่านั้น ประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำลงอาจกระทบคุณภาพงานและความพึงพอใจของลูกค้าเดิมด้วย ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพให้สำนักงานบัญชี ให้ประโยชน์อย่างไร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสำนักงานบัญชี ไม่ใช่แค่การทำให้ทุกอย่างเร็วขึ้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพงาน ลดข้อผิดพลาด และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในระยะยาว มาดูกันว่า หากสำนักงานบัญชีของคุณปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง 1. ลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลามากขึ้น เคยสังเกตไหมว่า เวลาส่วนใหญ่ในสำนักงานบัญชีหมดไปกับงานเดิมๆ เช่น การกรอกข้อมูลซ้ำในเอกสารหลายชุด ออกใบกำกับภาษี บันทึกบัญชี ไปจนถึงการจัดทำรายงานภาษีทุกเดือน งานเหล่านี้ใช้เวลามาก และมักเป็นจุดที่เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ✅ ถ้าสำนักงานของคุณมีระบบที่ช่วยดึงข้อมูลเข้ามาอัตโนมัติ หรือสร้างเอกสารต่างๆ ได้จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว คุณจะลดเวลาทำงานซ้ำซ้อนลงอย่างมหาศาล ทีมงานก็จะมีเวลาไปโฟกัสกับงานที่สำคัญกว่า เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนออินไซต์ให้กับลูกค้า หรือให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แทนการทำงานเอกสารล้วนๆ 2. ลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ อย่างตัวเลขผิด หรือการพิมพ์ข้อมูลซ้ำไม่ตรงกัน อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับสำนักงานบัญชีได้ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นภาษีผิด ส่งงบการเงินไม่ครบ หรือทำให้ลูกค้าสูญเสียความเชื่อมั่น ✅ เมื่อใช้ระบบดิจิทัลหรือโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สามารถเชื่อมข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องได้อัตโนมัติ โอกาสเกิดข้อผิดพลาดจะลดลงทันที และคุณยังสามารถตั้งระบบแจ้งเตือนเมื่อข้อมูลผิดปกติได้อีกด้วย 3. ยกระดับการให้บริการลูกค้า สร้างความประทับใจ ทุกวันนี้ ลูกค้าคาดหวังมากกว่าการได้รับงบการเงินหรือเอกสารภาษีตรงเวลา แต่พวกเขาต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ต้องการคำแนะนำที่แม่นยำจากสำนักงานบัญชีที่เข้าใจธุรกิจของพวกเขาจริงๆ ✅ หากสำนักงานบัญชีของคุณทำงานรวดเร็ว ส่งข้อมูลได้ครบถ้วนและตรงเวลา รวมถึงสามารถให้คำแนะนำเชิงวิเคราะห์จากข้อมูลที่แม่นยำได้ คุณจะกลายเป็น “ที่ปรึกษาทางธุรกิจ” ที่ลูกค้าไว้วางใจ ไม่ใช่แค่ “ผู้ทำบัญชี” ธรรมดา และนั่นจะทำให้ลูกค้าพร้อมแนะนำต่อให้กับเพื่อนเจ้าของธุรกิจรายอื่นๆ ด้วย ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไมการเพิ่มประสิทธิภาพสำนักงานบัญชี ไม่ใช่แค่ “ทางเลือก” แต่คือสิ่งจำเป็นในการอยู่รอดและเติบโตในยุคนี้ รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 1 จัดการระบบการทำงาน แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน ปัญหาหลักของสำนักงานบัญชีหลายแห่งมักเกิดจากการทำงานซ้ำซ้อนและขาดการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจน ทำให้พนักงานทำงานหนักเกินไปและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย โดยเฉพาะในสำนักงานบัญชีที่มีการทำงานหลายขั้นตอนที่ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว การจัดการระบบงานให้มีความชัดเจนและมีขั้นตอนที่เป็นระเบียบจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดภาระการทำงานที่ไม่จำเป็นและสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยจัดระเบียบงานให้มีประสิทธิภาพคือการแบ่งหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญของแต่ละคน โดยการมอบหมายงานให้กับบุคคลที่มีความชำนาญในแต่ละด้าน เช่น การทำบัญชี การตรวจสอบภาษี หรือการจัดการเอกสาร ซึ่งจะทำให้แต่ละคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความรับผิดชอบและการติดตามผลได้อย่างชัดเจน การใช้เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการงานก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เช่นการใช้ Workflow หรือ Project Management Tool ที่ช่วยในการติดตามงานได้อย่างเป็นระบบและโปร่งใสมากขึ้น เครื่องมือเหล่านี้ เช่น Trello หรือ Notion จะช่วยให้ทุกคนสามารถเห็นภาพรวมของโครงการได้ทันที พร้อมกับกำหนดเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน สามารถติดตามความคืบหน้าของงานแต่ละชิ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความจำหรือการคุยกันในแต่ละครั้ง ซึ่งช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารและทำให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น การจัดระเบียบงานอย่างมีระบบนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงานบัญชีและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 2 ทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ สำนักงานบัญชีหลายแห่งมักมองข้ามกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้รายได้ไม่เติบโตตามที่คาดหวัง การเริ่มให้ความสำคัญกับการตลาดและการโฆษณาเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับสำนักงานบัญชี การทำการตลาดสำหรับสำนักงานบัญชีสามารถเริ่มต้นได้จากการสร้างแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์และแสดงถึงความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านภาษี การจัดทำบัญชี และบริการทางการเงินสำหรับธุรกิจต่าง ๆ การสร้างตัวตนของแบรนด์ให้ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในการใช้บริการ ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างเว็บไซต์ที่เป็นหน้าสำนักงานออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่สำนักงานบัญชีมีและสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่ายดาย นอกจากเว็บไซต์แล้ว การใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการโปรโมทสำนักงานบัญชีก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ เช่น การเปิดบัญชี Facebook, Instagram หรือ LinkedIn ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่ม รวมถึงการสร้างเนื้อหาผ่านช่องทาง TikTok ที่เป็นที่นิยมในยุคดิจิทัล โดยการนำเสนอคอนเทนต์สั้น ๆ ที่ให้ข้อมูลสาระสำคัญเกี่ยวกับการบัญชีหรือภาษี ซึ่งช่วยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับบริการและแสดงถึงความเชี่ยวชาญของสำนักงานบัญชี การทำการตลาดออนไลน์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ยังเปิดโอกาสให้สำนักงานบัญชีสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่มีความสนใจในบริการด้านการเงินและบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้ในระยะยาว กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 3 ให้ความสำคัญในเรื่องการให้บริการ การหาลูกค้าใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำๆ เป็นสิ่งที่ยากกว่า และสามารถสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาวได้มากกว่า ลูกค้าที่เคยใช้บริการกับเราหากได้รับการดูแลอย่างดีและมีความประทับใจในการบริการ พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน การให้บริการที่ดีเริ่มต้นจากการติดตามลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ หากลูกค้ามีข้อสงสัยหรือคำถาม ควรตอบกลับอย่างรวดเร็วและให้ข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วน เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องรอนานหรือไม่สามารถติดต่อได้ สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขามีความสำคัญ และสร้างความไว้วางใจในบริการของเรา นอกจากนี้ การทำงานให้มีประสิทธิภาพและตรงตามเป้าหมายของลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงความสามารถและความใส่ใจในการทำงานของเรา การทำงานที่ตรงตามเวลาหรือผลลัพธ์ที่ลูกค้าต้องการ โดยไม่มีข้อผิดพลาด จะช่วยเสริมสร้างความประทับใจและเพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้บริการซ้ำ อีกทั้ง การพัฒนาการบริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การขอข้อเสนอแนะจากลูกค้า หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน สามารถทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีและรู้สึกว่าเรามีการพัฒนาอยู่เสมอ ทำให้การให้บริการไม่เพียงแค่เป็นการตอบสนองความต้องการในขณะนั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและพร้อมกลับมาใช้บริการอีกครั้ง กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 4 ขอ Feedback จากลูกค้าเสมอ การขอ Feedback จากลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะสำนักงานบัญชีที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ฟีดแบคจากลูกค้าช่วยให้เราทราบถึงจุดที่เราทำได้ดีและจุดที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการได้ดียิ่งขึ้น เป้าหมายหลักของการขอฟีดแบคคือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการ วิธีการขอฟีดแบคอาจทำได้หลายวิธี เช่น การนัดพูดคุยสั้น ๆ กับลูกค้าเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสรุปผลการทำงานและประเมินผลการให้บริการในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถใช้แบบฟอร์มสำหรับให้ลูกค้ากรอกความคิดเห็น หรือคำแนะนำหลังจากการให้บริการเสร็จสิ้น ซึ่งแบบฟอร์มเหล่านี้สามารถใช้ในการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและระบุจุดที่ต้องการปรับปรุงหรือพัฒนาเพิ่มเติม การขอฟีดแบคควรทำอย่างสม่ำเสมอและในลักษณะที่ไม่รู้สึกว่าเป็นการรบกวนลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าเรามีความตั้งใจที่จะปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การนำฟีดแบคมาใช้ปรับปรุงการทำงานหรือบริการที่ไม่ดี จะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความใส่ใจและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้มากขึ้น ฟีดแบคที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถพัฒนาได้ แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในระยะยาว กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 5 ปรับใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในการทำงาน การปรับใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในการทำงานถือเป็นหนึ่งในวิธีที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสำนักงานบัญชีที่ต้องจัดการข้อมูลจำนวนมาก การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการลดจำนวนเอกสารและกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน เช่น การออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารต่าง ๆ ที่โปรแกรมบัญชีสามารถช่วยจัดการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีฟังก์ชันที่สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ไม่ต้องใช้พื้นที่เก็บเอกสารจำนวนมาก ช่วยลดปัญหาเรื่องการจัดเก็บเอกสารที่ซับซ้อน และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการทำงานด้วยมือ นอกจากนี้ การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้สำนักงานบัญชีดูทันสมัยและก้าวทันเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจในปัจจุบันให้ความสำคัญมาก การปรับใช้เทคโนโลยีในสำนักงานบัญชีไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ว่าสำนักงานของเรามีความพร้อมในการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและมีระบบการจัดการที่ดี ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ในระยะยาวทั้งสำหรับสำนักงานบัญชีและลูกค้า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัลนี้ 👉 ลองใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ช่วยให้สำนักงานบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้น ลดเวลาทำงานซ้ำซ้อน พร้อมเครื่องมือช่วยจัดการภาษีและเอกสารแบบครบวงจรคลิกเลยเพื่อเริ่มต้นใช้ฟรี! พร้อม สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชี PEAK หรือยัง? PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจและสำนักงานบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันทางบัญชี ตั้งแต่การออกใบกำกับภาษี การบันทึกบัญชี การจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไปจนถึงการสร้างรายงานทางการเงินแบบเรียลไทม์ PEAK ช่วยลดงานเอกสารที่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาดในการทำบัญชี และช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา รองรับการทำงานร่วมกับระบบ E-Tax Invoice และ E-Receipt ตามมาตรฐานกรมสรรพากร อีกทั้งยังมีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย และรองรับการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทำให้การบริหารจัดการบัญชีของธุรกิจเป็นเรื่องสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

24 min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 มิ.ย. 2025

PEAK Account

15 min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

29 min

กำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้ถูกใจพนักงาน? พร้อมข้อควรรู้ที่ห้ามพลาด!

พนักงานขายเป็นตำแหน่งหัวใจสำคัญของหลายองค์กร เพราะเป็นตำแหน่งที่หารายได้เข้าบริษัทชัดเจน หากพนักงานขายมีแรงจูงใจที่ดีอย่าง ค่าคอมมิชชั่น ส่วนใหญ่ก็จะส่งผลที่ดีต่อองค์กรได้โดยตรง แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยกันบ้างว่า ต้องคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้น่าสนใจ หรือมีวิธีคิดอย่างไรบ้าง รวมไปถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องรู้เพื่อให้การจัดการเงินในแต่ละเดือนเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดเราก็รวบรวมไว้ให้ในบทความนี้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถศึกษากฎหมายแรงงานเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน โดยการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามาติดตามกันได้เลย ค่าคอมมิชชั่น คืออะไร? ค่าคอมมิชชั่น (Commission) คือหนึ่งในประเภทค่าตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากบริษัทเมื่อทำยอดขายได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายตามที่แต่ละบริษัทกำหนด และมักจะมีการคำนวณปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของพนักงาน สินค้าที่ขาย ไปจนถึงโปรโมชั่นพิเศษ โดยปกติตำแหน่งพนักงานขายในทุกองค์กรจะมีค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ขายเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับช่องทางหลักในการสร้างรายได้ขององค์กรนั้น ๆ ค่าคอมมิชชั่นมีกี่ประเภท พร้อมตัวอย่างการคำนวณ  ค่าคอมมิชชั่นก็ไม่ได้มีเพียงการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการคิดค่าคอมมิชชั่นตอบแทนพนักงานได้ โดยแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป สามารถเลือกได้จากแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือกลยุทธ์ขององค์กรที่จะใช้ในการเพิ่มยอดขายให้เติบโต ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นถึง 11 ประเภท แต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้างเรามาดูกัน 1. ค่าคอมมิชชั่น แบบขั้นบันได สำหรับค่าคอมมิชชั่นประเภทแรกเป็นในรูปแบบขั้นบันได เป็นรูปแบบที่เรามักเห็นกันในองค์กรที่มีการแข่งขันสูงภายในองค์กร เพราะค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้พนักงานจะได้ค่าคอมมิชชั่นสูงขึ้นตามจำนวนของยอดขายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่กระตุ้นพนักงานขายได้เป็นอย่างดี เพราะว่าจะได้เงินมาหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขยันของตัวพนักงานนั่นเอง  ตัวอย่างเช่น บริษัทกำหนดค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดไว้ 3 ระดับดังนี้– รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 100,000 – 300,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 15% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 300,001 – 500,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 25% เมื่อทำยอดขายได้ 500,001 – 1,000,000 บาท หมายความว่าหากพนักงานทำยอดได้อยู่ในช่วงไหน ให้นำเปอร์เซ็นต์ในช่วงนั้นเข้ามาคำนวณ เช่น  พนักงาน A ทำยอดขายได้ 650,000 บาท ต้องคิดคอมมิชชั่น 25% 650,000 x 25% = 162,500 บาท พนักงาน A ก็จะได้รับค่าคอมทั้งหมด 162,500 บาทนั่นเอง ด้วยตัวเลขคอมมิชชั่นที่สูงขึ้นตามผลงานของพนักงาน จึงช่วยกระตุ้นพนักงานได้ดี แต่ด้วยรูปแบบที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้พนักงานบางคนที่ได้น้อยต่อเนื่องอาจถอดใจได้ ด้วยเหตุนี้หากองค์กรต้องการใช้รูปแบบนี้แนะนำให้หาแนวทางในการช่วยเหลือพนักงานที่อาจทำผลงานไม่ดีมากนัก เช่น จัดคอร์สพัฒนาด้านการขาย หรือมีการพูดคุยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและร่วมกันหาทางออกเพื่อเพิ่มผลงานให้พนักงาน 2. ค่าคอมมิชชั่น จากกำไร ถัดมาเป็นค่าคอมมิชชั่นจากกำไร ซึ่งเป็นประเภทของค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการขายสินค้าหลายรูปแบบ หรือขายสินค้าแบบทำตามคำสั่งจากลูกค้า เพราะระบบคอมมิชชั่นแบบนี้จะคำนวณจากกำไรในออร์เดอร์นั้น ๆ ไม่ได้คำนวณจากยอดขายพนักงานตรง หมายความว่า หากพนักงานเลือกขายสินค้าที่มีกำไรต่อคำสั่งซื้อสูงก็จะได้รับคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดโดยองค์กร ซึ่งรูปแบบคอมมิชชั่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานเลือกขายสินค้าหรือบริการที่มีกำไรสูง ส่งผลดีต่อบริษัท  ตัวอย่างเช่น : สินค้า A ราคา 500 บาท ต้นทุน 400 บาท ซึ่งมีกำไรต่อชิ้น 100 บาท 100 x 10% = 10 บาท หมายความว่าหากพนักงานขายสินค้า A ก็จะได้รับค่าคอมมชั่น 10 บาทนั่นเอง โดยรูปแบบการคำนวณ อัตราที่ใช้คำนวณขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่กำหนด 3. ค่าคอมมิชชั่น จากสินค้า เป็นระบบคอมมิชชั่นที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพราะเป็นการตั้งจากสินค้าโดยตรง เช่น รองเท้าวิ่ง B หากขายได้จะมีค่าคอมมิชชั่น 10% นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากสินค้าต้องมีการวางแผนพอสมควร เพราะหากตั้งเท่ากันหมด บริษัทอาจเสียมากกว่าได้ เพราะกำไรของสินค้าแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน เบื้องต้นอาจเริ่มต้นตั้งอัตราคำนวณคอมมิชชั่นจากประเภทของสินค้า เช่น หากเป็นสินค้าเก่าค้างสต๊อก 5 ปี อาจตั้งไว้ 10% แต่ถ้าเป็นสินค้าใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ อาจตั้งไว้ 5% ได้เช่นกัน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากขายสินค้าที่ค้างสต๊อกได้ด้วย นับว่าเป็นข้อดีเพราะองค์กรสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ในแต่ละช่วงได้ การคำนวณค่อนข้างตรงตัวสามารถนำราคาสินค้าคำนวณกับอัตราคอมมิชชั่นที่บริษัทกำหนด ตัวอย่างเช่น : โทรทัศน์ A ราคา 35,000 บาท ตั้งค่าคอมมิชชั่นไว้ที่ 10% 35,000 x 10% = 3,500 บาท หากพนักงานขายโทรทัศน์ A ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นไป 3,500 บาทนั่นเอง 4. ค่าคอมมิชชั่น ตามพื้นที่ อีกหนึ่งกลยุทธ์คอมมิชชั่นที่น่าสนใจเพราะการคำนวณคอมมิชชั่นจะแบ่งตามแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการขายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการแบ่งพนักงานขายตามแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการจัดระบบคอมมิชชั่นรูปแบบนี้พนักงานจะสามารถโฟกัสกับพื้นที่ของตัวเองได้ดี มีการแบ่งชัดเจน ไม่มีการแย่งลูกค้ากันเองภายในองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มคอมมิชชั่นตามพื้นที่ที่ต้องการรุกตลาดให้มากขึ้นได้อีกด้วย โดยวิธีการคิดคอมมิชชั่นจากเดิมที่ส่วนมากคิดว่ายอดขาย หรือกำไร จะเพิ่มเงื่อนไขโดยแบ่งเป็นตามเขต หรือพื้นที่ เช่น โซนภาคเหนือ 5% โซนภาคใต้ 10%  ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A ดูแลโซนภาคเหนือทั้งหมด 15 จังหวัดอัตราคอมมิชชั่น 10% และมียอดขายเกิดขึ้นในภาคเหนือทั้งหมด 500,000 บาท 500,000 x 10% = 50,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน A ผู้ดูแลโซนภาคเหนือจะได้รับค่าคอมมิชชั่นทั้งหมด 500,000 บาท ซึ่งหากพนักงาน A อยากได้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมก็ต้องเร่งหายอดขาย ไม่ว่าจะลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่าในโซนภาคเหนือให้มากขึ้นนั่นเอง 5. ค่าคอมมิชชั่น ต่อเนื่อง เพราะหลายองค์กรเชื่อว่าการรักษาลูกค้าเดิมให้ซื้อต่อเรื่อย ๆ ย่อมดีกว่าการออกไปหาลูกค้าใหม่เสมอ ทำให้ระบบคอมมิชชั่นต่อเนื่องกำเนิดขึ้น โดยเป็นคอมมิชชั่นที่พนักงานจะได้รับก็ต่อเมื่อลูกค้าเดิมซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยคิดยอดขายตามรอบ และทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนดอัตราคอมมิชชั่นและนำไปคำนวณตามยอดแต่ละรอบบิล เป็นระบบที่เหมาะกับองค์กรที่ขายบริการที่ค่อนข้างเฉพาะในอุตสาหกรรม โอกาสหาลูกค้าใหม่ยาก จึงจำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมไว้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นองค์กรที่เก็บเงินลูกค้าเป็นรอบทุกเดือน และด้วยรูปแบบค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้ จะเป็นการกระตุ้นพนักงานขายให้ดูแลลูกค้าในระยะยาวมากกว่า ตัวอย่างเช่น : บริษัท A ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องจ่ายค่าดูแลเป็นรายเดือนทุกเดือน ด้วยความที่ต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ จึงตั้งอัตราคอมมิชชั่น 10% สำหรับยอดขายที่ลูกค้าจ่ายเพื่อต่ออายุใช้บริการในแต่ละเดือน โดยพนักงาน B มีลูกค้าเป็นองค์กร C ที่ต่อสัญญากันทุกเดือนเป็นลูกค้าเก่า โดยค่าต่อสัญญาในแต่ละเดือนอยู่ที่ 50,000 บาท 50,000 x 10% = 5,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5,000 บาททุกเดือนหากองค์กร C ยังคงใช้บริการซอฟต์แวร์ของบริษัท A อยู่ ทำให้นอกจากที่พนักงาน B จะหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังคงกลับไปพูดคุยรักษาความสัมพันธ์กับองค์กร C อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาลูกค้าไว้นั่นเอง 6. ค่าคอมมิชชั่น ตามผลงาน ในองค์กรที่มี KPI อื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากยอดขายเพียงอย่างเดียว การกำหนดคอมมิชชั่นตามผลงาน ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งจะเป็นการที่องค์กรตั้งเป้าหมายขึ้นมา หากพนักงานทำได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นในส่วนนี้ โดยอาจเป็นส่วนเพิ่มเติมจากคอมมิชชั่นเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้  ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ใช้ระบบคอมมิชชั่นจากสินค้าอยู่แล้วที่ 5% แต่ต้องการกระตุ้นในเรื่องการซื้อซ้ำ จึงตั้งคอมมิชชั่นตามผลงานเพิ่มเติม หากพนักงานสามารถให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้มากกว่า 5 ครั้ง จะเพิ่มค่าคอมมิชชั่นในยอดขายหลังจากครบกำหนดเป็น 10% หมายความว่าหากพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 ใบที่ 5 ให้ลูกค้าท่านเดิมได้ ก็จะได้เพิ่มอัตราคอมมิชชั่นเป็น 10% นั่นเอง อัตราคอมมิชชั่นแรก2,000 x 5% = 1,000 บาทอัตราคอมมิชชั่นเมื่อขายใบที่ 5 ได้20,000 x 10% = 2,000 บาท ดังนั้นเมื่อพนักงาน A รักษาความสัมพันธ์และขายกระเป๋าใบที่ 5 ได้สำเร็จก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ช่วยกระตุ้นเรื่องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดีตามเป้าหมาย โดยข้อดีของกลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแผนตามเป้าหมายเพิ่มเติมนอกจากยอดขายได้ 7. ค่าคอมมิชชั่น จากส่วนต่างกำไร สำหรับข้อที่ 7 หรือค่าคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร จะค่อนข้างคล้ายกับในส่วนของคอมมิชชั่นจากกำไร แต่เปลี่ยนจากการคิดกำไรโดยตรงเป็นการคำนวณจาก Gross Margin หรือส่วนต่างกำไรนั่นเอง ซึ่งข้อดีจะคล้ายกันกับรูปแบบกำไรธรรมดา ต่างกันที่วิธีคำนวณ ซึ่งองค์กรที่เหมาะส่วนใหญ่จะมีสินค้าหลากหลายประเภทและมี Margin ต่อชิ้นที่แตกต่างกัน ซึ่งการตั้งระบบรูปแบบนี้ยังช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรสูงได้อีกด้วย เพราะพนักงานขายก็จะมุ่งเน้นขายสินค้าที่มีส่วนต่างเยอะเป็นพิเศษนั่นเอง ตัวอย่างเช่น : รองเท้า A มีส่วนต่างกำไร 5,000 บาท มีการตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร 10% หากพนักงาน B ขายสินค้าได้จะได้กำไรดังนี้5,000 x 10% = 500 บาท พนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการขายรองเท้า A ทั้งสิ้น 500 บาท ซึ่งหากมีสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่านี้พนักงานก็จะโฟกัสไปที่การขายสินค้าชิ้นนั้นเป็นพิเศษ  8. ค่าคอมมิชชั่น และเงินเดือน  เป็นรูปแบบคอมมิชชั่นที่เรามักพบในองค์กรที่ใช้เวลาในการขายสินค้าแต่ละชิ้นค่อนข้างนาน เช่น องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจแบบ B2B เพราะกว่าที่จะขายสินค้าหรือบริการได้นั้นพนักงานขายต้องใช้เวลาในการแนะนำ โน้มน้าวนานเป็นพิเศษ ระบบคอมมิชชั่นและเงินเดือนจึงเป็นรูปแบบที่พนักงานได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว แต่จะได้รับอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มตามยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนด้วย ซึ่งส่วนมากฐานเงินเดือนจะไม่ค่อยสูงมาก เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรีบขายสินค้าเพื่อมาเพิ่มรายได้ของตัวเองในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนให้พนักงานขายและสมทบเพิ่มเป็นคอมมิชชั่นในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมตามแต่ละกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A มีเงินเดือน 25,000 บาท มีอัตราอัตราคอมมิชชั่น 5% จากยอดขาย ในเดือนนี้พนักงาน A มียอดขายตลอดทั้งเดือน 320,000 บาท จะได้รับเงินทั้งหมด[320,000 x 5%] + 25,000 = 41,000 บาท พนักงาน A จะได้รับเงิน 41,000 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนใหญ่จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความขยันของพนักงาน 9. คอมมิชชั่นพิเศษ สำหรับสินค้าโปรโมชัน ระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะพบส่วนมากในองค์กรที่ต้องการเคลียร์สต๊อกสินค้าและมักจะออกโปรโมชั่นออกมา และเพื่อกระตุ้นการขายให้มากขึ้นก็จะมีการจัดคอมมิชชั่นพิเศษสำหรับโปรโมชั่นดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานเร่งขายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ต้องการเคลียร์สต๊อกของสินค้า B จึงจัดโปรโมชั่นขายในราคา 500 บาทขึ้นมา และหากพนักงานขายสินค้าดังกล่าวได้จะได้รับอัตราคอมมิชชั่น 10 %500 x 10% = 50 บาท หากพนักงานขายสินค้าในโปรโมชั่นนี้ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก 50 บาทนั่นเอง นับเป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์สต๊อก หรือช่วยเร่งยอดขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ดีมาก ๆ เพราะนอกจากมีโปรโมชั่นเข้ามาช่วยส่งเสริมการขายแล้ว พนักงานขายยังต้องการที่จะขายสินค้าชิ้นนั้นเพราะได้ค่าคอมอีกด้วย 10. ค่าคอมมิชชั่น ตามระยะเวลาการทำงาน หลายองค์กรมักจะมีการใช้ระบบคอมมิชชั่นตามระยะเวลาการทำงานเข้ามาใช้ด้วยเพื่อที่จะดึงดูดให้พนักงานที่มีประสบการณ์อยู่กับองค์กรให้นานยิ่งขึ้น เพราะยิ่งอายุงานอัตราคอมมิชชั่นที่พวกเขาจะได้รับก็สูงตาม องค์กรอาจคิดจากการเพิ่ม 5% เมื่อทำงานครบทุก ๆ 3 ปี ส่วนวิธีการคิดคอมมิชชั่นอาจคิดจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กร ตัวอย่างเช่น : องค์กร A เริ่มต้นอัตราคอมมิชชั่นที่ 5% และจะเพิ่มให้อีก 5% เมื่อทำงานครบ 5 ปี นั่นหมายความว่าหากพนักงานมียอดขาย 50,000 บาทจะได้รับค่าคอมมิชชั่นดังนี้ พนักงานอายุงาน 1 – 4 ปี50,000 x 5% = 2,500 บาทพนักงานอายุงาน 5 ปีขึ้นไป50,000 x 10% = 5,000 บาท จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้เลยว่าพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปีได้รับค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว ซึ่งเป็นวิธีการโน้มน้าวพนักงานฝีมือดีให้อยู่กับองค์กรของเราได้นานยิ่งขึ้น 11. ค่าคอมมิชชั่นล้วน สำหรับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้อาจฟังดูโหดสำหรับพนักงานพอสมควรเพราะเงินเดือนทั้งหมดจะมาจากค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะมีอัตราคอมมิชชั่นที่สูง ส่วนวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นก็ขึ้นอยู่กับองค์กรเพราะบางที่อาจคำนวณจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้เช่นกัน แต่สุดท้ายข้อดีของคอมมิชชั่นประเภทนี้คือพนักงานจะต้องทุ่มเทขยันอย่างแท้จริง เพราะรายรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับการขายเท่านั้น ส่วนองค์กรที่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะต้องเป็นองค์กรที่มีราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่สูง และส่วนมากมักจะเป็นธุรกิจประเภท B2B เคล็ดลับกำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้พนักงานขยัน! การกำหนดระบบคอมมิชชั่นไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่ข้อคำนึงสำคัญที่สุดคือควรที่จะกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร โดยเป้าหมายต้องกำหนดชัดเจน และพร้อมที่จะพาพนักงานทุกคนมุ่งไปในจุดหมายเดียวกัน นอกเหนือจากการคิดค่าคอมมิชชั่นให้ตรงกับเป้าหมายแล้วยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่อาจช่วยให้คุณกำหนดได้ถูกใจพนักงานมากยิ่งขึ้น! 1. ทำความเข้าใจธุรกิจของตนเองกับระบบคอมมิชชั่นแต่ละประเภท สำคัญไม่แพ้กับการกำหนดให้ตรงกับเป้าหมาย เพราะถ้ารูปแบบการทำธุรกิจไม่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นก็อาจทำให้พนักงานถอดใจและไม่มีมีแรงใจที่จะขายสินค้าของเราต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าที่ขายราคา 50 บาท แต่กำหนดเป้าหมายคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได 500,000 บาท การที่พนักงานจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องใช้เวลาพอสมควร และดูเป็นเป้าหมายที่เกินเอื้อมจนเกินไป 2. ชัดเจนและเข้าใจง่าย เมื่อเป็นเรื่องเงินเรื่องทองรายละเอียดต่าง ๆ ต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความสับสนหรือมีช่องโหว่จนเกิดการเอาเปรียบกันได้ เพราะฉะนั้นองค์กรควรที่จะเขียนชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจตรงกัน และต้องดำเนินการตามข้อกำหนดนั้นอย่างถูกต้อง ที่สำคัญควรจะเข้าใจง่าย พนักงานขายเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่ได้มีการใช้ระบบซับซ้อนหลายระบบพร้อมกัน เพราะอาจทำให้เป้าหมายของพวกเขาดูคลุมเครือและท้อแท้กันก่อนได้ เช่น กำหนดค่าคอมมิชชั่นจากกำไร แต่ไม่แจ้งพนักงานขายว่าสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรเท่าไหร่บ้าง ทำให้พนักงานไม่รู้สึกถึงเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะไม่รู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าขายสินค้าชิ้นนี้ไปแล้วจะได้ค่าคอมมิชชั่นกลับมาเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้จึงควรระบุรายละเอียดทุกอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น 3. รับฟังและพูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ตำแหน่งพนักงานขายมีแรงกดดันค่อนข้างสูง หากองค์กรของเรายังไม่ได้มีพนักงานที่เยอะมากนัก การที่พูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับระบบการขายหรือคอมมิชชั่น เพื่อให้สามารถออกแบบระบบที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร วิธีนี้นอกจากจะช่วยในการวางแผนคอมมิชชั่นได้อย่างถูกจุด ยังช่วยให้เราทราบถึงปัญหา จุดแข็งของพนักงานขายแต่ละคน นำไปสู่วลี “Put the right man on the right job” ที่พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานแต่ละคนได้อย่างแท้จริง ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นเงินค่าจ้างที่ต้องคำนวณในเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่? เกร็ดเล็ก ๆ อีกหนึ่งข้อเกี่ยวกับด้านกฎหมายค่าคอมมิชชั่น ที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยว่าค่าคอมนั้นนับเป็นค่าจ้างหรือไม่ แล้วจำเป็นต้องนำเงินรายได้ส่วนนี้มาใช้ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมหรือไหม ซึ่งคำตอบก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเภท โดยคอมมิชชั่นในรูปแบบที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการขายนั้นจะเป็นไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้นจึงไม่ต้องนำไปคำนวณในเงินสมทบประกันสังคม แต่หากเป็นคอมมิชชั่นที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานก็จำเป็นต้องนำไปคิดรวมในเงินสมทบประกันสังคม คิดค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้องแม่นยำด้วยโปรแกรม Payroll ในองค์กรที่มีพนักงานขายเยอะ การคิดค่าคอมมิชชั่นอาจเป็นเรื่องปวดหัวในบางครั้ง เราขอแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม Payroll เป็นตัวช่วยในการคำนวณ เพื่อลดโอกาสผิดพลาดลง ซึ่ง PEAK ก็มีโปรแกรม PEAK Payroll ที่พร้อมให้การบริหารเงินเดือนพนักงานกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในทุกขนาดองค์กร อีกทั้งยังมีคู่มือครบเข้าใจง่ายแน่นอน! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 มิ.ย. 2025

PEAK Account

16 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! วิธีคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ครบทุกประเภท ฉบับเข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง

ร้านค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนอกจากมีหน้าร้านจริงแล้ว การมีหน้าร้านในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วย! ซึ่ง ค่าธรรมเนียม Shopee จะมีอะไรบ้าง และมีวิธีการคำนวณอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ ค่าธรรมเนียม Shopee คืออะไร? ค่าธรรมเนียมการขาย Shopee คือค่าใช้จ่ายที่แพลตฟอร์ม Shopee เรียกเก็บจากเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเมื่อขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมของ Shopee มี 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไขในการเก็บที่แตกต่างกันมีการคิดคำนวณค่าธรรมเนียมแบบแยกกัน  ในส่วนถัดไปของบทความเราจะลงรายละเอียดความแตกต่างของค่าธรรมเนียมแต่ละประเภทกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย 1. ค่าธรรมเนียมการขาย เป็นค่าธรรมเนียมแรกที่ทุกร้านค้าต้องเสียเมื่อขายสินค้าได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะทำการคำนวณจากราคาของสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราที่ใช้คำนวณนั้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเภทสินค้า นอกจากนี้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย จะต้องคำนวณจากยอดที่หักส่วนลด หรือโปรโมชัน ที่เราจัดขึ้น เช่น โค้ดส่วนลดต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณค่าธรรมเนียมต่อไป ตารางค่าธรรมเนียมการขาย Shopee แยกตามประเภทสินค้า วิธีการคำนวณธรรมเนียมการขายของ Shopee โดยวิธีการคำนวณนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขในตารางข้างต้น มาคำนวณกับราคาสินค้าที่หักส่วนลดจากร้านค้าแล้ว ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัวราคาเต็มที่ขายคือ 500 บาท โดยลูกค้าใช้โค้ดส่วนลด 50 บาทในการซื้อสินค้า สูตรการคำนวณเราจึงต้องนำราคาเต็มมาหักลบกับส่วนลดก่อนดังนี้ ราคาเต็มที่ตั้งขาย – ส่วนลดจากร้านค้า (โค้ดส่วนลด) = ยอดที่ใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 500 – 50 = 450 บาท เมื่อได้ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็สามารถนำตัวเลขนี้ไปคิดกับอัตราค่าธรรมตามในตารางได้เลย โดยสูตรการคำนวณคือ ยอดรวมหลักหักส่วนลด X อัตราค่าธรรมเนียม ในกรณีของสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายที่เราใช้เป็นตัวอย่างอยู่ในหมวดหมู่ของสินค้าแฟชั่นซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 9.63% (อัปเดตวันที่ 26 เมษายน 2568)  450 X 9.63% = 43.335 บาท หมายความว่าในการขายเสื้อผ้าผู้ชายราคา 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการขาย 43.335 บาทนั่นเอง หากรวมสูตรการคำนวณง่าย ๆ จะออกมาในรูปแบบดังนี้ [ ราคาเต็มสินค้า – โปรโมชั่นจากผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด] x อัตราค่าธรรมเนียมการขายตามประเภท = ค่าธรรมเนียมการขาย นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้าที่เป็น Non Mall Shop กับ Mall Shop ยังมีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้ได้เลย สามารถศึกษาตารางอัตราค่าธรรมการสินค้าแต่ละประเภท ของร้านค้าประเภท Mall Shop อย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Shopee  ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ประเภทค่าธรรมเนียมการขาย ข้อสำคัญที่เจ้าของร้านห้ามลืมในการคำนวณคือ อย่าลืมนำราคาเต็มไปหักลบกับส่วนลด หรือโปรโมชั่นที่เราเป็นคนออก เช่น โค้ดส่วนลด ก่อนนำไปคำนวณกับอัตราค่าธรรมเนียมไม่เช่นนั้นอาจจะได้ตัวเลขค่าธรรมเนียมที่ไม่ตรง ส่งผลต่อการตั้งราคาและอาจทำให้ได้กำไรไม่ถึงกับที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 2. ค่าธรรมเนียมธุรกรรม อีกหนึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียหลังจากขายสินค้าได้คือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งคือค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าต้องเสียให้แก่ผู้ให้บริการช่องทางชำระค่าใช้จ่ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee โดยอัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะเท่ากันทุกประเภทสินค้า และทุกประเภทของร้านค้า โดยจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3% ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%  โดยการคำนวณส่วนนี้จะคำนวณสรุปยอดรวมของคำสั่งซื้อที่ผู้ซื้อชำระให้กับร้านค้า โดยจะรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งสินค้า ส่วนในกรณีของส่วนลดต้องนำส่วนลดของ Shopee หรือ Shopee Coin มาหักลบก่อนคำนวณด้วย วิธีการคำนวณธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ตัวอย่างสูตรการคำนวณแบบแยกการคำนวณ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม และ VAT แยกกัน ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (ก่อนคำนวณ VAT) ยกตัวอย่างจากสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายในราคารวมส่วนลดแล้วอยู่ที่ 450 บาท และมีค่าส่ง 100 บาท  550 X 3% = 16.5 บาท (ก่อนคำนวณ VAT) หากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะมีสูตรการสูตรคำนวณดังนี้ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าธรรมเนียมธุรกรรม + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าธรรมเนียมธุรกรรม แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 16.5 x 7% = 1.155 บาท 16.5 + 1.155 = 17.655 บาท จากสูตรการคำนวณทั้งหมดหมายความว่ายอดคำสั่งซื้อของเสื้อผ้าผู้ชายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธุรกรรม 17.655 บาทนั่นเอง  หากต้องการคำนวณให้ง่ายมากยิ่งขึ้นให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณขั้นตอนแรกได้เลย โดยให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 3.21% ต่อยอดรวมคำสั่งซื้อ  ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3.21% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (รวม VAT) แทนสูตรได้ดังนี้ 550 x 3.21% = 17.655 บาท ตัวเลขที่ได้เท่ากับการคำนวณ VAT แยกแต่รูปแบบนี้จะรวบขั้นตอนเป็นการคำนวณครั้งเดียวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ความต่างในการคำนวณนอกจากอัตราที่เท่ากันทั้งหมดแล้ว ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% เข้าไปด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าธรรมเนียมการขายที่มีการรวมเข้าไปด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้ห้ามลืมคำนวณ VAT ในค่าธรรมเนียมธุรกรรม เพื่อการคำนวณต้นทุนการขายได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 3. ค่าธรรมเนียมบริการ สำหรับค่าธรรมเนียม Shopee ส่วนสุดท้ายจะเป็นค่าธรรมเนียมบริการ ซึ่งการบริการในที่นี้คือ โปรแกรมส่งฟรีส่งฟรี Xtra หรือโปรแกรมส่วนลด Xtra ของ Shopee นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Xtra นี้เจ้าของร้านสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ก็ได้ โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขายและธุรกรรม ในส่วนของค่าธรรมเนียมบริการจะมีอัตราค่าธรรมเนียมแบ่งตามประเภทของสินค้าเช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งคำนวณเป็นสินค้าต่อชิ้น และจะหักค่าธรรมเนียมจากจำนวนยอดเงินรวมที่ต้องได้รับ และค่าธรรมเนียมบริการจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว ตารางค่าธรรมเนียมแบ่งแยกตามหมวดหมู่สินค้า และประเภทโปรแกรม วิธีการคำนวณธรรมเนียมบริการของ Shopee โดยการคำนวณจะคิดจากราคาสินค้าที่ชำระ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าผู้ชาย 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท และเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra ราคาสินค้า x อัตราค่าธรรมเนียมโปรแกรมส่งฟรี Xtra (5.35%) = ค่าธรรมเนียมบริการ แทนสูตรการคำนวณดังนี้ 450 x 5.35% = 24.075 บาท หมายความว่าเจ้าของร้านที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra เมื่อขายสินค้ายอดรวม 450 บาทได้จะเสียค่าธรรมเนียมบริการ 24 บาทนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการของ Shopee ข้อสำคัญที่ห้ามลืมคือจำนวนยอดรวมที่ใช้คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ที่บางท่านอาจลืมไปว่าต้องนำส่วนลดต่าง ๆ มาคำนวณเพิ่มเติมด้วย รวมไปถึงการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการ คำนวณแยกรายการ เช่น ถ้าในคำสั่งซื้อมีเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัว กางเกง 1 ตัว ต้องคิดค่าธรรมเนียมบริการแยกกันตามราคาของสินค้าแต่ละชิ้นนั่นเอง สรุปตัวอย่างการคำนวณ ค่าธรรมเนียม Shopee ทั้ง 3 ประเภท ส่วนถัดมา เราขอยกตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครบทั้ง 3 ประเภท ซึ่งผู้ที่จะเสียค่าธรรมเนียมครบ คือร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม Xtra ของ Shopee  โดยตัวอย่างเราขอใช้เป็นสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายตัวเดิม โดยร้านค้าเป็น Non Mall Shop ให้ใช้ตารางค่าธรรมเนียมของ Non Mall Shop ในการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียม ตัวอย่างรายละเอียดคำสั่งซื้อสินค้า: เสื้อผ้าผู้ชาย ตัวอย่างสูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมทั้ง 3 ประเภท อันดับแรกให้คำนวณราคาสินค้าที่หักโค้ดส่วนลดของร้านค้าก่อน ราคาสินค้าเต็ม 500 บาท – ส่วนลดร้านค้า 50 บาท = 450 บาท  หลังจากนั้นนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย 450 x 9.63% = 43.33 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ 450 x 5.35% = 24.07 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรม โดยคิดจากยอดเต็มที่ลูกค้าต้องจ่าย จึงต้องนำส่วนต่างค่าจัดส่งที่ผู้ซื้อชำระมารวมกับราคาสินค้า [450 + 62] x 3.12% = 15.97 บาท หลังจากนั้นนำค่าธรรมเนียมทั้งหมดรวมกัน แล้วลบราคาสินค้าเต็ม ก็จะได้ จำนวนเงินที่เจ้าของร้านจะได้รับจากการขายเสื้อผ้าผู้ชายตัวละ 500 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee 500 – [43.33+24.07+15.97] = 416.63 บาท เท่ากับว่าเจ้าของร้านจะได้รับเงินจริง ๆ 416.63 บาท หรือเสียค่าธรรมเนียมรวมทั้ง 3 ประเภทประมาณ 83.37 บาท นั่นเอง แชร์สูตรคำนวณครบ 3 ค่าธรรมเนียม Shopee ในภาพเดียว! คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ให้ถูกต้อง ช่วยให้การตั้งราคาง่ายยิ่งขึ้น ความสำคัญของการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ช่วยให้ธุรกิจที่มีร้านค้าบน Shopee สามารถตั้งราคาสินค้าได้ถูกต้อง และง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเหล่านี้ล้วนนับเป็นต้นทุนได้ทั้งสิ้น หากไม่มีการคำนวณล่วงหน้า อาจทำให้เสียค่าธรรมเนียมจนกำไรหายไปได้ แต่นอกจากค่าธรรมเนียมหลักทั้ง 3 ประเภทยังมีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น Airplay, บัตรเครดิต เดบิต และ SPaylater อีกด้วย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินของลูกค้า ซึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ก็นับเป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยพอสมควร หากมีจำนวนการทำธุรกรรมเยอะอาจทำให้การทำบัญชียุ่งยากหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้การมีโปรแกรมบัญชีครบวงจรอย่าง PEAK ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ง่ายยิ่งขึ้น มาพร้อมคู่มือการใช้งานที่เข้าใจง่าย และนอกจากนี้ PEAK ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Shopee ได้โดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นรู้วิธีคำนวณอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้เรื่องการทำบัญชีง่ายยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก