คลังความรู้บัญชี ภาษี และโปรแกรมบัญชีออนไลน์

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บทความน่ารู้ด้านบัญชี ภาษี การเงิน และธุรกิจที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

ล่าสุด

19 Jul 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial AccountingTax Accountingวัตถุประสงค์บัญชีการเงินบัญชีภาษีเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแลเพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษีมาตรฐาน/กฎหมายมาตรฐานการบัญชีมาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร ความรู้ที่ใช้บัญชีตามมาตรฐานกฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 Jul 2024

PEAK Account

2 min

Update Function 17/07/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. Add Document Classification Group Display (Online view) 📢 For businesses using the classification group function, when creating documents with the classification group attached, the system will automatically pull the classification group into the document page. The system will display the information in three places: below the business information, below the supplier or customer information, and below the document number information. This allows branch-based businesses to view the details easily. Thank you for the suggestion K.Kanjana, DX Enterprise Co., Ltd. ✨ 2. Add Configuration to Display Withholding Tax Document Number on Document Page (Online view) 📢 For businesses issuing revenue documents with withholding tax, the system will display the withholding tax document number on the document page. This can be adjusted by toggling the display of the withholding tax document number on and off. The supported documents include credit notes, debit notes, and receipts. Thank you for the suggestion K.Jitrada INNOVATION WASH & DRY LIMITED PARTNERSHIP ✨ 3. Add Time Range Selection on Withholding Tax and Deducted Tax Pages  📢 For businesses that need to view withholding tax and deducted tax information, it is possible to select the period for which they wish to view these tax records. This feature allows users to conveniently access the information they need for the desired time frame. ✨ 4. Add a Button for Creating Multiple Documents 📢 For businesses using the Pro Plus package that need to create multiple documents simultaneously, the system adds a button for creating multiple documents in supported documents, including sales proposals, invoices, receipts, purchase orders, purchase records, and expense records on both the revenue and expense sides. This enhancement allows users to create documents more conveniently. ✨ 5. Add Update Data Button in the Bank Reconciliation Function 📢For businesses using the bank reconciliation feature, users can press the ‘Update Data’ button if additional documents are created during the reconciliation process. The system will automatically update the newly created document information, enhancing user convenience and efficiency.

17 Jul 2024

PEAK Account

4 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 17/07/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. เพิ่มการแสดงกลุ่มจัดประเภทหน้าเอกสาร (Online view) 📢 สำหรับกิจการที่ใช้ฟังก์ชันกลุ่มจัดประเภท เมื่อทำการสร้างเอกสารโดยติดกลุ่มจัดประเภทระบบจะดึงกลุ่มจัดประเภทไปยังหน้าเอกสารให้อัตโนมัติ โดยระบบจะแสดงข้อมูลอยู่ 3 จุด ได้แก่ ด้านล่างข้อมูลกิจการ, ด้านล่างข้อมูลผู้ขาย หรือลูกค้า และด้านล่างข้อมูลเลขที่เอกสาร เพื่อให้ธุรกิจที่ทำงานตามสาขาสามารถดูรายละเอียดได้สะดวกมากขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยคุณกาญจนา บริษัท ดีเอ็กซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ✨ 2. เพิ่มการตั้งค่าแสดงเลขที่เอกสารภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายหน้าเอกสาร (Online view) 📢 สำหรับกิจการที่ออกเอกสารฝั่งรายรับและมีภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ระบบจะแสดงเลขที่เอกสารภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายที่หน้าเอกสาร สามารถแก้ไขโดยกดเปิด-ปิดการแสดงเลขที่ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย โดยเอกสารที่รองรับ ได้แก่ ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้และใบเสร็จรับเงิน ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยคุณJitrada ห้างหุ้นส่วนจำกัด อินโนเวชั่น วอช แอนด์ ดราย ✨ 3. เพิ่มการเลือกช่วงเวลาในหน้าภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 📢 สำหรับกิจการที่ต้องการดูข้อมูลภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายและภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถเลือกช่วงเวลาที่ต้องดูรายการภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย และภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามช่วงเวลาที่ต้องการได้ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 4. เพิ่มปุ่มการสร้างเอกสารหลายรายการ 📢 สำหรับกิจการแพ็กเกจ Pro Plus ที่ต้องการสร้างเอกสารพร้อมกันหลายฉบับ ระบบเพิ่มปุ่มการสร้างเอกสารหลายรายการในเอกสารที่รองรับทั้งฝั่งรายรับและรายจ่าย ได้แก่ ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งซื้อ บันทึกซื้อสินค้า บันทึกค่าใช้จ่าย และสมุดรายวัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเอกสารได้สะดวกมากขึ้น ✨ 5. เพิ่มการแสดงปุ่มอัปเดตข้อมูลที่ฟังก์ชันการกระทบยอดธนาคาร 📢สำหรับกิจการที่ใช้ฟังก์ชันการกระทบยอดธนาคาร หากมีการสร้างเอกสารเพิ่มเติมระหว่างกระทบยอดธนาคาร สามารถกดปุ่มอัปเดตข้อมูล ระบบจะทำการอัปเดตข้อมูลเอกสารที่สร้างใหม่ให้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม

บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

อ่านบทความเพิ่มเติม

19 Jul 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial Accounting Tax Accounting วัตถุประสงค์ บัญชีการเงิน บัญชีภาษี เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษี มาตรฐาน/กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร  ความรู้ที่ใช้ บัญชีตามมาตรฐาน กฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 Jun 2024

จักรพงษ์

18 min

ผู้ประกอบการแยกบัญชีให้ชัด! เงินกิจการ ไม่เท่ากับ เงินของคุณ

“ธุรกิจของฉันต้องขาดทุนอยู่แน่” เป็นเสียงของผู้ประกอบการคนหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ที่กำลังสงสัยในใจว่าธุรกิจก็เหมือนจะขายได้ดี แต่ทำไมเงินไหลออกไปเร็ว เหมือนไม่มีเงินเก็บ  และจากประสบการณ์ของผม ความสงสัยนี้ก็คงไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการท่านนี้เท่านั้น แต่มักเกิดกับผู้ประกอบการที่ไม่แยกบัญชี หรือใช้เงินส่วนตัวกับเงินกิจการปะปนกัน จนแยกไม่ได้ว่าได้รับเงินมาแล้ว จ่ายค่าใช้จ่ายของธุรกิจ หรือใช้จ่ายส่วนตัวไปเท่าไหร่ ซีรีส์ “10 กฎพื้นฐานด้านการเงินสำหรับ SMEs” จะพาทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ มือเก่า รวมถึงคนที่สนใจ ไปค้นพบคำตอบของคำถามพื้นฐานทางการเงินที่ผู้ประกอบการทุกคน “ไม่รู้ไม่ได้” และในบทความนี้จะเราเริ่มต้นด้วยความสำคัญการแยกกระเป๋าเงินที่ดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่สร้างผลกระทบเชิงลบและเชิงบวกต่อตัวผู้ประกอบการเองอย่างมหาศาลครับ ทำไมเงินกิจการ ไม่เท่ากับ เงินของคุณ? สมมติว่าเราเปิดร้านขายของชำ ใน 1 เดือน ขายขนมได้เงิน 1,000 บาท แต่มีรายจ่ายทั้งธุรกิจและส่วนตัว 1,500 บาท ถามว่า “ธุรกิจนี้กำไรหรือขาดทุนครับ?” คำตอบคือ อาจจะกำไรหรือขาดทุนก็ได้ เพราะเราไม่เคยมีการแยกกระเป๋าเงินของธุรกิจกับเงินส่วนตัวออกจากกัน ถ้าเรามีการแยกบัญชีการเงินที่ระหว่างเงินที่รับจ่ายจากธุรกิจ และเงินที่จ่ายเพื่อเรื่องส่วนตัวได้อย่างถูกต้อง คำตอบอาจเป็นได้ 3 กรณี คือ กรณีที่ 1 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 800 บาท แปลว่าธุรกิจมีกำไร 200 บาทกรณีที่ 2 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 1,000 บาทเท่ากัน แปลว่าธุรกิจไม่มีกำไรหรือขาดทุนกรณีที่ 3 : รายได้ธุรกิจ 1,000 บาท รายจ่ายธุรกิจ 1,100 บาท แปลว่าธุรกิจมีขาดทุน 100 บาท สรุป คือ ถ้าเป็นกรณีแรกธุรกิจจริงไปได้สวย มีกำไร 200 บาท แต่ที่เงินไม่พอเพราะจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าอาหาร ค่าเที่ยว เกินกำไรที่ธุรกิจทำมาได้ หรือในกรณีที่สาม นอกจากธุรกิจขาดทุนโดยไม่รู้ตัว ยังมีค่าใช้จ่ายส่วนตัว ทำให้เงินสดยิ่งติดลบจนต้องเอาเก็บเงินมาใช้แทน  PEAK ขอเล่า : ตรรกะก็ดูเข้าใจง่ายนะ แต่ทำไมเราไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้องล่ะ?   ก็เพราะเราไม่แยกเงินธุรกิจกับเงินส่วนตัวให้ชัดเจน เพราะมันมั่ว ปนกัน ตอนทำบัญชีรับรองว่าผิดแน่นอน ยิ่งถ้าบัญชีผิด แล้วเอาข้อมูลทางบัญชีไปตัดสินใจอีก รับรองว่าอนาคตพังแน่นอน จะคาดหวังให้นักบัญชีทำให้ถูกต้องก็ไม่ได้ เพราะผู้ประกอบการบอกไม่ได้ว่าจ่ายเงินเป็นค่าอะไรไปบ้าง หรือรายรับนี้มาจากรายได้บริษัทหรือเงินส่วนตัว ถามไปทีหลังผู้ประกอบการก็ลืมที่ไปที่มาไปหมดแล้ว สิ่งที่นักบัญชีทำได้คือลงบัญชีตามเงินที่เข้าและออก โดยไม่รู้ที่ไปที่มาของเงินเหล่านั้น และปัดไปเข้าบัญชีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการที่เป็นปัญหาระดับชาติในปัจจุบันนี้ 4 ปัญหาจากการไม่แยกเงินธุรกิจ และเงินส่วนตัว ในเชิงการตัดสินใจ พอเราไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง เราอาจพบความผิดพลาดได้ 2 กรณี คือ หนึ่ง ธุรกิจมีกำไร แต่เราใช้จ่ายส่วนตัวมากกว่ากำไรจึงคิดว่าธุรกิจขาดทุน จึงปิดกิจการไป หรือ สอง ธุรกิจขาดทุน แต่เราไม่รู้ตัว คิดว่ายังได้กำไรและทำธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ ไม่ว่าแบบไหนก็ไม่ดีทั้งสองกรณี เราจะคงโชคดีมากๆ ถ้าเราตัดสินใจได้ตรงกับสิ่งที่เราไม่รู้ เช่น คิดไปเองว่าธุรกิจมีกำไรและธุรกิจก็มีกำไรจริงๆ อันนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ส่วนใหญ่เราไม่ได้โชคดีแบบนั้น แต่กลับตัดสินใจตรงข้ามกับความเป็นจริงมากกว่า ดังนั้น4 สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ 1. ข้อมูลทางบัญชีผิดพลาด ไม่ถูกต้อง  ไม่สามารถนำไปใช้ตัดสินใจอะไรเลย และผู้ประกอบการส่วนใหญ่รู้เรื่องนี้อยู่แล้ว จึงมักไม่สนใจที่จะดูหรืออ่านงบการเงินของตัวเองเลย พอถึงรอบการส่งงบการเงินที่เซ็นตามที่นักบัญชีให้เซ็นเพื่อส่งภาครัฐเท่านั้น 2. โดนปรับภาษีย้อนหลัง  เมื่อข้อมูลทางบัญชีผิด ก็ยื่นภาษีก็มักจะผิดตาม เพราะข้อมูลเพื่อยื่นภาษีปกติจะอิงข้อมูลที่บันทึกบัญชีอยู่แล้ว ซึ่งเกือบ 100% ถ้าสรรพากรลงตรวจกิจการเมื่อไหร่ ผู้ประกอบการมักจะโดนปรับเสมอ บางรายไม่มีเงินจ่ายภาษีถึงขั้นต้องปิดกิจการไปเลย 3. เข้าถึงแหล่งเงินทุน เงินกู้ยาก ข้อมูลทางบัญชีที่บอกแหล่งที่มาไม่ได้ หรือมีอัตราส่วนทางการเงินที่แปลกประหลาด ธนาคารหรือผู้ลงทุนสามารถพบเห็นข้อสังเกตเหล่านี้ได้ไม่ยาก ถ้าผู้ประกอบไม่สามารถตอบหรือชี้แจงได้ จะถือว่างบการเงินขาดความน่าเชื่อถือ และโอกาสมีน้อยมากที่จะได้รับเงินทุนหรือเงินกู้ 4.  ปิดกิจการไม่ได้  ถ้าสังเกตในงบการเงินของธุรกิจที่ไม่แยกกระเป๋าเงินจะพบว่า มักมีบัญชีเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการจำนวนมาก ที่เกิดจากการปัดตัวเลขของนักบัญชีมาใส่ที่บัญชีนี้ เพราะไม่รู้ว่ารายจ่ายหรือรายรับมาจากแหล่งไหน ไม่มีเอกสารประกอบเพราะผู้ประกอบการไม่รู้ ตอบคำถามไม่ได้ ผลอย่างหนักที่ตามมา คือ บางกิจการยอดบัญชีเหล่านี้สูงมาก เมื่อถึงวันเลิกกิจการ จะไม่สามารถปิดกิจการได้ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำเรื่องเงินธุรกิจและเงินส่วนตัว  ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า นิสัยทางการเงินที่ไม่ดี อย่างการไม่แยกกระเป๋าเงินธุรกิจและส่วนตัวส่งผลเสียอย่างไร ต่อไปเราก็ต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำ ซึ่งสรุปออกได้ 5 ข้อ ดังนี้ 1. จ่ายค่าใช้จ่ายด้วยเงินสด ปัญหาสุดคลาสิกที่ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง คือ การจ่ายค่าใช้จ่ายด้วยเงินสด ลองจินตนาการว่าเอาเงินกิจการและเงินส่วนตัวไว้ในกระเป๋าเดียวกัน คำถามคือ เงินที่เราควักจ่ายไปแต่ละครั้งเป็นเงินส่วนตัวหรือเงินบริษัท ยิ่งถ้าจ่ายไปโดยไม่จดรายละเอียดทันที รับรองว่างง! หนึ่ง เราจะจำไม่ได้ว่าเงินหายไปไหนจ่ายค่าอะไร และสอง จะตอบไม่ได้ว่าเงินที่เหลืออยู่ 500 บาท เหลือเป็นของกิจการและส่วนตัวกี่บาท 2. โอนเงินบริษัท เข้าบัญชีส่วนตัว เมื่อเงินของกิจการเข้ามาปะปนในบัญชีเงินฝากส่วนตัว ทำให้พิสูจน์ได้ยากทั้งขารายรับและรายจ่ายว่า บรรทัดในบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของกิจการหรือของส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมักจะลืมและตอบไม่ได้ 3. นำค่าใช้จ่ายส่วนตัว มาเบิกกิจการ มีความเชื่อผิดๆ ของผู้ประกอบการบางคนที่คิดว่าการเอาเงินกิจการจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนตัว จะทำให้งบการเงินมีกำไรน้อยลง ทำให้เราเสียภาษีน้อยลงไปด้วย อย่างแรกถูกที่งบการเงินจะมีกำไรน้อยลง แต่อย่าลืมว่าตอนที่คำนวณภาษี ตัวค่าใช้จ่ายส่วนตัวจะถูกบวกกลับทำให้กำไรกลับมาสูงเหมือนเดิม ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่ได้ช่วยประหยัดภาษีใดๆเลย ข้อเสียที่สอง คือ แม้กำไรจะน้อยลง แต่งบการเงินจะไม่สะท้อนภาพที่แท้จริงของธุรกิจว่าจริงๆแล้วมีกำไรหรือขาดทุน เพราะรายจ่ายทั้งธุรกิจและส่วนตัวจะไปรวมเป็นของธุรกิจ ทำให้งบการเงินมีโอกาสขาดทุนสูงมากจนอาจทำให้เราตัดสินใจผิดพลาดได้ 4. ใช้เงินส่วนตัวจ่ายให้กิจการ ผู้ประกอบการสามารถสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายบางประเภทแทนกิจการไปก่อนได้ การทำแบบนี้ต้องมีการจดบันทึกค่าใช้จ่ายที่ดีว่ากรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรไปแทนบ้าง และมีการเบิกคืนครบถ้วนหรือไม่ กรณีที่ผู้ประกอบการจ่ายไปไม่ได้จดบันทึก ส่งผลให้เงินส่วนตัวลดลง และค่าใช้จ่ายของกิจการน้อยไปอีกเพราะไม่ได้บันทึกบัญชี 5. ไม่จ่ายเงินเดือนให้ตัวเองเลย บางคนมองว่าเงินกิจการก็เงินของเรา เพราะเราก็เป็นเจ้าของธุรกิจเอง ในแง่ความเป็นจริงการคิดแบบนั้นก็ถูกครับ แต่จะคิดแบบนั้นในทางบัญชีและภาษีไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำในรูปแบบนิติบุคคล เพราะผู้ประกอบการกับกิจการเป็นคนละบุคคลแยกต่างหากจากกันจึงต้องทำบัญชีและส่งภาษีของใครของมัน ถ้าเราอยากได้เงินส่วนแบ่งของธุรกิจมานั้น จริงๆมีหลายวิธี แต่พื้นฐานที่เราควรทำคือ การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเอง ซึ่งหลายคนลืมไปว่าการที่เราลงมาทำธุรกิจเองก็มีต้นทุนเหมือนกัน การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองนอกจากจะช่วยให้เราดึงเงินออกจากกิจการได้อย่างถูกต้องแล้ว ยังช่วยให้กิจการมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเสียภาษีน้อยลงด้วยครับ 3 เครื่องมือใช้จัดการเงินเพื่อความสะดวก  “ฟ้าหลังฝนย่อมสวยงามเสมอ” ไม่ต้องกลัวว่าทำผิดมาแล้วจะกลับตัวไม่ทัน สบายใจได้เลย เรื่องเหล่านี้แก้ไขได้ครับ ยิ่งแก้ไขเร็วยิ่งดี เพราะเราจะสามารถใช้ข้อมูลทางบัญชีตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ไม่พอยังลดความเสี่ยงค่าปรับภาษีย้อนหลังอีกด้วย สำหรับเครื่องมือที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาความปะปนเงินธุรกิจกับเงินสดส่วนตัว มี 3 เครื่องมือที่น่าสนใจ และมีประโยชน์มากๆ ได้แก่ 1. เปิดบัญชีธนาคารเพื่อกิจการ แนะนำให้กิจการมีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตัวเอง ไม่ควรเก็บเงินในรูปของเงินสด เพราะมีความเสี่ยงมากมายตามที่ได้พูดไว้ก่อนหน้า นอกจากเรื่องของระบบบัญชีที่ดีแล้ว ช่วยในเรื่องของควบคุมภายในที่ดีและ และยังได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินอีกด้วย บางกรณีบัญชีธนาคารในชื่อกิจการอาจทำธุรกรรมไม่สะดวก เช่น จ่ายเงินด้วย QR Code ไม่ได้ การจ่ายเงินทำหลายขั้นตอนมากขึ้น ถ้ากิจการยังขนาดเล็กต้องการความคล่องตัวอาจเลือกวิธีเปิดบัญชีธนาคารเป็นชื่อกรรมการ แต่มีไว้ใช้เพื่อรับหรือจ่ายเงินของกิจการแทนได้ 2. บัตรเครดิตบุคคลเพื่อกิจการ หลายครั้งกิจการไม่ต้องการจ่ายเป็นเงินสด เพราะเป็นเงินก้อนใหญ่ หรือสะดวกต่อการชำระเงินในต่างประเทศ อาจจะใช้บัตรเครดิตมาเป็นเครื่องมือช่วยจัดการ ซึ่งเกือบทุกธนาคารในไทยเปิดให้สมัครบัตรเครดิตในนามนิติบุคคลได้เช่นกัน เช่นเดียวกับบัญชีธนาคาร ถ้ากิจการยังขนาดเล็กต้องการความคล่องตัวอาจเลือกใช้บัตรเครดิตเป็นชื่อกรรมการ แต่มีไว้ใช้เพื่อรับหรือจ่ายเงินของกิจการเพียงเท่านั้นได้ 3. เงินสดย่อย กรณีที่หลีกเลี่ยงการใช้เงินสดไม่ได้เลย แนะนำให้มีระบบเงินสดย่อย เป็นการจัดสรรการใช้เงินสดให้ชัดเจน เช่น ให้พนักงานถือเงินสดได้สูงสุดไม่เกิน 5 พันบาท ซึ่งเรียกว่า “เงินสดย่อย” เมื่อไหร่ที่ใช้เงินจนหมด ให้เบิกเงินจากธนาคารมาเติมวงเงินให้เต็ม 5 พันบาทเหมือนเดิม โดยการเบิกนี้ต้องมีเอกสารรายจ่ายประกอบด้วยว่า 5 พันบาทนั้นจ่ายค่าอะไรไปและมีมูลค่ากี่บาทเพื่อข้อมูลทางบัญชีที่ถูกต้อง ครบถ้วน ถ้าลองสังเกตดูจะเห็นว่า ไม่ว่าเราจะใช้เครื่องมือใดๆ ก็ตาม วัตถุประสงค์จะเหมือนกัน คือ เพื่อแยกเงินธุรกิจไม่ให้ปนกับเงินส่วนตัว แปลว่าท่านผู้อ่านอาจใช้วิธีง่ายๆ อย่างอื่นมาใช้แทนก็ได้ ถ้าตราบใดที่ทำให้เงินมีความถูกต้อง แบ่งแยกได้ครับ การแยกกระเป๋าเงินธุรกิจและเงินส่วนตัวออกจากกันเป็นสิ่งที่ต้องทำ! หลายธุรกิจเจ๊งเพราะไม่เคยให้สำคัญกับเงินสดมากนักต่อนักแล้ว เพราะชอบคิดว่ามันก็คือเงินของเราทั้งคู่ แต่ถ้าเราไม่แยกให้ชัดเจน เราจะไม่รู้เลยว่าธุรกิจกำไรหรือขาดทุน สภาพคล่องเงินสดเพียงพอหรือไม่  สำหรับ EP ถัดไป ผมจะไขข้อสงสัยแก่ผู้ประกอบการที่เคยสงสัยว่าธุรกิจกำไรน้อย ทำไมเสียภาษีเยอะ หรือขาดทุนแต่ก็ยังต้องเสียภาษี ขอแง้มๆไว้ก่อนว่า เพราะ “เรื่องบัญชีไม่เท่ากับภาษี” ถ้าอยากรู้มากกว่านี้แล้วรอติดตามตอนถัดไปได้เลยครับ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

อ่านบทความเพิ่มเติม

27 Jun 2024

จักรพงษ์

7 min

วิธีเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO 

การประกอบธุรกิจ มักมีการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือบริการกับคู่ค้าหลายราย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้า ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ VATINFO ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้าได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ “VATINFO” ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำไมร้านค้าถึงคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)? กิจการหรือร้านค้าคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ร้านค้าที่มียอดขายต่อปี เกินกว่า 1,800,000 บาท หรือ ประเภทธุรกิจที่ระบุไว้ในกฎหมาย ว่าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปัจจุบันอยู่ที่ 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีข้อดีหลายประการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ส่งผลดีกับธุรกิจอย่างไร VATINFO คืออะไร VATINFO หรือ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยกรมสรรพากรVATINFO ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในประเทศไทยได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาติดต่อกรมสรรพากรโดยตรง ประโยชน์ของ VATINFO ขั้นตอนการเช็กรายชื่อกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO ระบบจะแสดงข้อมูลกิจการชื่อ ที่อยู่ วันที่จดทะเบียนVAT ของสำนักงาน และสาขา (ถ้ามี)ในกรณีที่กิจการที่ค้นหาไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจด VAT ระบบจะขึ้นคำว่า “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ท่านค้นหาไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรุณาตรวจสอบหรือทำรายการใหม่” ประโยชน์ที่ได้จากการเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับเหตุผลที่คนมักอยากรู้ว่ากิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุผลทางการค้าเพื่อตรวจสอบความมีตัวตนและดูว่าคนที่เราทำธุรกรรมด้วยสามารถออกใบกำกับภาษีให้เราได้ ขอสรุปสั้นเป็น 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ 1 ทำให้มั่นใจว่าได้รับใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ขายเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกับกรมสรรพากร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใบกำกับภาษีเหล่านี้สามารถนำไปใช้หักภาษีซื้อหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 2 เป็นการยืนยันว่ากิจการมีตัวตนอยู่จริง การซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของธุรกรรม และช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกลวง ทำให้บางธุรกิจจะค้าขายกับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่านั้น 3 สามารถตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องในการออกใบกำกับภาษีได้ ข้อมูลการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มักจะรวมถึงชื่อบริษัท ที่อยู่ และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องสำหรับการออกใบกำกับภาษีได้ จบไปแล้วกับวิธีเช็กง่ายๆ ว่ากิจการที่เราจะค้าขายด้วยจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT หรือไม่ ผ่านระบบ “VATINFO” ของกรมสรรพากรนอกจากนี้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ยังเชื่อมต่อข้อมูลกิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มให้โดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่สร้างรายชื่อผู้ติดต่อไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย เพียงแค่กรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก ระบบก็จะขึ้นรายชื่อกิจการ และที่อยู่ของกิจการนั้นให้อัตโนมัติ ช่วยลดงานและเวลาของนักบัญชีได้อย่างมาก PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 May 2024

จักรพงษ์

6 min

นักบัญชีเฮ! สรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีออนไลน์จนถึงปี 2570

รู้หรือไม่ว่าการยื่นแบบภาษีทั้งหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(ออนไลน์) ที่ได้สิทธิขยายเวลาเพิ่มเติมอีก 8 วัน จากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนั้น มีวันหมดอายุ แปลว่าถ้าสรรพากรไม่ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่มาต่ออายุการขยายเวลา เราก็จะไม่สามารถยืดระยะเวลาออกไปอีก 8 วันได้เลย ถ้ายืดเวลายื่นแบบไม่ได้ เท่ากับนักบัญชีต้องรีบทำบัญชีและภาษีให้เร็วขึ้นตามวันสิ้นสุดการยื่นแบบกระดาษเหมือนเดิมนั่นเอง การประกาศขยายเวลาการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต แต่ๆ ข่าวดีมาแล้ว กรมสรรพากรได้ออกประกาศกระทรวงการคลังมาเพื่อขยายระยะเวลาสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี โดยมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จนถึง 31 มกราคม 2570 รวมเป็นระยะเวลาถึง 3 ปีเลยครับ เชื่อว่ามีบางคนที่อ่านมาถึงจุดนี้ โดยเฉพาะมือใหม่ที่กำลังหัดยื่นภาษีว่าสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี นับยังไง เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ผมทำตารางสรุปมาให้แล้ว ตารางสรุปวันสิ้นสุดการยื่นแบบภาษี สิ่งที่ต้องทราบคือ กรณีที่บวกวันเพิ่มไปอีก 8 วันแล้วตกวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันสิ้นสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีออนไลน์จะขยับไปเป็นวันทำการถัดไปแทนครับ นักบัญชีที่เคยยื่นภาษีมาสักพักก็จะทราบดีว่า การยื่นแบบภาษีรอบแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นปกติ” แต่ถ้ามาตรวจพบทีหลังว่าทำแบบภาษีผิด เช่น มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีรายการมากเกินไป อาจต้องปรับปรุงแบบ ทำให้แบบที่ยื่นหลังครั้งแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นเพิ่มเติม” โอเคถ้าเข้าใจแล้ว ล่ะยังไงต่อ? ผมตอบว่าก็ไม่มีอะไรครับ แต่ๆๆ ปัญหาจะเกิดทันทีถ้าการยื่นครั้งแรกเป็นการยื่นแบบกระดาษ และต่อมามีการปรับปรุงจึงยื่นเพิ่มเติมไปเป็นแบบออนไลน์ แบบนี้จะยังได้สิทธิเพิ่มอีก 8 วันหรือไม่? จะสังเกตว่าการวิธีที่ใช้ยื่นแบบไม่เหมือนกันนั้น ส่งผลต่อการที่เราจะได้สิทธิหรือไม่ได้สิทธิขยายระยะเวลายื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน ผมได้สรุปเป็นตารางเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้ครับ ตารางเปรียบเทียบการยื่นแบบกระดาษ vs ยื่นแบบออนไลน์ การขยายเวลาการยื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน เท่ากับว่านักบัญชีจะมีระยะเวลาทำบัญชีและตรวจสอบภาษีได้ละเอียดมากขึ้น แต่ทำไมขยายเวลาแล้ว นักบัญชีก็ยังทำจนถึงวันสุดท้ายอยู่ดี อันนี้ก็ลองสอบถามนักบัญชีดูเล่นๆ ก็ได้นะครับ🤣 สรุป ตอนนี้นักบัญชีคงโล่งใจไปมากแล้วใช่ไหมครับ เรายังได้รับสิทธิขยายอีก 8 วันเหมือนเดิม และยังไม่พอสิทธินี้มีผลบังคับไปจนถึงเดือนมกราคม 2570 พูดง่ายๆ ก็คือ อีก 3 ปี คุณคือผู้โชคดี ขอแสดงความยินดีด้วยคร๊าบบ แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าจะได้สิทธิต้องเป็นการยื่นแบบภาษีผ่านทางออนไลน์เท่านั้นนะครับ เอ้า ทำไมล่ะ! ก็เพราะสรรพากรต่ออายุกฎหมายนี้เพื่อจูงใจให้คนหันมายื่นแบบภาษีทางออนไลน์แทนแบบกระดาษครับ ถือได้ว่าได้ทั้งประหยัดเวลา ไม่เปลืองกระดาษ เหมือนรักษ์โลกร้อนไปในตัวเลยยย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK มีฟังก์ชั่น PEAK Tax ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีจัดการภาษีให้เป็นเรื่องง๊าย ง่าย ช่วยทั้งทำแบบฟอร์มภาษี ปิดภาษีอัตโนมัติได้ทันที ช่วยประหยัดการทำภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

อ่านบทความเพิ่มเติม

ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

26 Jun 2024

PEAK Account

14 min

เจ้าของกิจการอยากเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ในยุคที่ธุรกิจแข่งขันสูง การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นหัวใจสำคัญหนึ่งในนั้นคือ การมีระบบบัญชีที่รัดกุมและถูกต้อง ซึ่งสำนักงานบัญชีมีบทบาทสำคัญในการดูแลงานบัญชีให้กับธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลหลายประการ บางครั้งธุรกิจอาจมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสำนักงานบัญชีใหม่ การเปลี่ยนสำนักงานบัญชี เปรียบเสมือนการเริ่มต้นใหม่กับพันธมิตรทางธุรกิจคนสำคัญ เจ้าของกิจการจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านราบรื่นและส่งผลกระทบต่อธุรกิจน้อยที่สุด ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชี สิ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจคือ เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนสำนักงานบัญชี การตัดสินใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทำงานกับบริษัทเดียวกันมาเป็นเวลานาน แต่หากคุณประสบปัญหาเหล่านี้ แสดงว่าถึงเวลาแล้วที่ควรพิจารณาหาสำนักงานบัญชีใหม่ 1. สำนักงานบัญชีเดิมมีขนาดเล็กเกินไป เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตขึ้น ความต้องการด้านบัญชีก็ย่อมซับซ้อนมากขึ้น สำนักงานบัญชีขนาดเล็กอาจมักมีพนักงานจำนวนน้อย กำลังคนไม่พอหรือบริการที่ไม่ครอบคลุม ทำให้ไม่สามารถรองรับการขยับขยายของกิจการเราได้   2. ปัญหาการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับสำนักงานบัญชี หากคุณมีปัญหาในการสื่อสารกับสำนักงานบัญชีของคุณ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและปัญหาอื่นๆ คุณควรได้รับคำตอบจากสำนักงานบัญชีของคุณอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หากคุณต้องรอเป็นเวลานานเพื่อรับคำตอบ แสดงว่าพวกเขาอาจไม่ให้ความสำคัญกับธุรกิจของคุณ บางทีบริษัทหรือกิจการก็มีระบบการออกเอกสาร หรือระบบการทำงานเป็นของตัวเอง ถ้าสำนักงานบัญชีไม่สามารถใช้โปรแกรมร่วมกับเจ้าของกิจการได้ เช่น ถ้ากิจการทำงานแบบออนไลน์ทั้งหมด แต่ว่าสำนักงานบัญชียังทำงานแบบออฟไลน์ เจ้าของกิจการเข้าถึงข้อมูลยากก็อาจเป็นเหตุผลให้เจ้าของกิจการหันไปหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ทำงานด้วยกันง่ายขึ้น 3. ต้องการลดค่าใช้จ่าย สำนักงานบัญชีมีราคาแตกต่างกันไป บางสำนักงานบัญชีคิดค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย ในขณะที่บางแห่งคิดค่าธรรมเนียมตามเวลา หากคิดว่าราคาที่จ่ายให้สำนักงานบัญชีต่อเดือนแพงเกินไป  เจ้าของกิจการอาจต้องตัดสินใจเปลี่ยนสำนักงานบัญชีเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย  4. ไม่ได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำที่เพียงพอ สำนักงานบัญชีที่ดีจะช่วยคุณวางแผนภาษีเพื่อลดภาระภาษีของกิจการ พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำที่มีประโยชน์ให้แก่กิจการ ในทางกลับกันหากสำนักงานบัญชีไม่สามารถช่วยเหลือ หรือให้คำปรึกษาต่างๆ ทางบัญชีและภาษีได้ เจ้าของกิจการก็อาจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปใช้บริการจากสำนักงานบัญชีใหม่ หลังจากตัดสินใจที่จะเปลี่ยนสำนักงานบัญชีแล้ว หลายๆคนอาจเกิดคำถามว่า ควรเปลี่ยนสำนักงานบัญชีช่วงไหนดี สามารถเปลี่ยนทันทีเลยได้ไหม หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสำนักงานบัญชีทันที สามารถทำได้แต่อาจจะต้องจ่ายค่าทำบัญชีซ้ำซ้อน เพราะสำนักงานบัญชีใหม่จะต้องเริ่มต้นทำใหม่ตั้งแต่ต้นปีจนถึงข้อมูลที่กิจการมีล่าสุด อีกทั้งการเปลี่ยนสำนักงานบัญชีทันที ในบางกรณีอาจต้องเสียค่าปรับการยกเลิกสัญญากับสำนักงานบัญชีที่เดิม การรอจนจบรอบบัญชีก่อนค่อยเปลี่ยนสำนักงานบัญชีอาจดูเป็นทางเลือกที่สะดวกกว่า เพื่อความต่อเนื่องของงานบัญชี แต่ก็ยังมีสิ่งที่น่ากังวลคือ  ในกรณีที่สำนักงานบัญชีเดิมไม่รับผิดชอบงาน ซึ่งทำให้กิจการได้ข้อมูลจากการบันทึกบัญชีที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดภาระค่าปรับภาษีหรือค่าปรับอื่นๆตามมาได้ ดังนั้นเจ้าของกิจการจะต้องคำนึงว่าหากยังใช้สำนักงานบัญชีเดิมอยู่ไปจนจบรอบบัญชี จะทำให้ก่อความเสียหายมากกว่าหรือไม่ เจ้าของกิจการอยากเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องเตรียมตัวอย่างไร 1.ติดต่อสำนักงานบัญชีใหม่ การเปลี่ยนสำนักงานบัญชีนั้น เจ้าของกิจการควรเริ่มต้นด้วยการสรรหาและติดต่อสำนักงานบัญชีที่สนใจไว้ล่วงหน้า ไม่ควรรอจนถึงนาทีสุดท้าย เพราะอาจทำให้ไม่มีเวลาเปรียบเทียบข้อเสนอ หรือเลือกสำนักงานบัญชีที่ไม่ตรงกับความต้องการ การติดต่อล่วงหน้าจะทำให้เจ้าของกิจการมีเวลาคุยกับสำนักงานบัญชี อธิบายความต้องการของธุรกิจ และ สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับบริการต่างๆ การมีสำนักงานบัญชีใหม่รองรับไว้แล้ว จะช่วยให้ช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไม่มีคนดูแลเรื่องบัญชี 2.แจ้งสำนักงานบัญชีเก่า เมื่อได้ตัดสินใจเลือกสำนักงานบัญชีใหม่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การแจ้งสำนักงานบัญชีเก่า เจ้าของกิจการควรแจ้งล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้สำนักงานบัญชีเก่ามีเวลาเตรียมตัวส่งมอบเอกสารและข้อมูลต่างๆ และการแจ้งลาออกจากสำนักงานบัญชีนั้น ควรทำอย่างสุภาพ ตรงไปตรงมา และแสดงถึงความเป็นมืออาชีพ โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในอนาคต 3.ขอเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีคืน การโบกมือลาสำนักงานบัญชีเดิมนั้นไม่ใช่จุดจบของภารกิจการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี ยังมีอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญที่หลายคนมักมองข้าม นั่นคือ การแจ้งข้อมูลและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีให้ครบถ้วนแก่สำนักงานบัญชีใหม่ ปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้งคือ เจ้าของกิจการไม่ทราบแน่ชัดว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ส่งให้สำนักงานบัญชีเก่าเก็บไว้ ส่งผลต่อความมั่นใจว่าข้อมูลบัญชีที่ส่งต่อนั้นครบถ้วนหรือไม่ เพื่อความมั่นใจและความราบรื่นในการเปลี่ยนผ่าน โดยทั่วไปแล้ว สำนักงานบัญชีควรจะมีข้อมูลกิจการตามนี้ สำหรับเจ้าของกิจการที่ต้องการขอเอกสารหลังจากจากปิดงบเสร็จแล้ว สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ปิดงบการเงินเสร็จแล้ว…ต้องขอเอกสารอะไรบ้างจากสำนักงานบัญชี? 4.ขอรหัสผ่านที่ใช้ติดต่อทำธุรกรรม เมื่อต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือต้องขอ Username และ Password ที่ใช้ติดต่อทำธุรกรรมต่างๆ จากสำนักงานบัญชีเดิม รหัสผ่านเหล่านี้จำเป็นสำหรับการเข้าถึงระบบและดำเนินการทางการเงินต่างๆ เช่น ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบ DBD e-Filing ของกรมพัฒนาธุรกิจ, ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบจ่ายภาษีออนไลน์ ของกรมสรรพากร, ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบทำธุรกรรมของสำนักงานประกันสังคม 5.กำหนดเวลาการโยกย้ายให้ชัดเจน เจ้าของกิจการควร กำหนดเวลาในการส่งคืนเอกสารและงบการเงินให้แน่นอน กับสำนักงานบัญชีเก่า เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้า และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยเจ้าของกิจการสามารถกำหนดระยะเวลาคร่าวๆได้ ยกตัวอย่างเช่น : กิจการที่กำลังมองหาโปรแกรมบัญชีออนไลน์ มาช่วยจัดการเอกสาร ออกใบเสร็จหรือใบแจ้งหนี้ ทาง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยจัดการเอกสารบัญชีของคุณให้เป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

7 Jun 2024

PEAK Account

9 min

เทคโนโลยีห้องประชุมสำหรับ SMEs เพื่อการประชุมที่มีประสิทธิภาพ

การประชุมที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ เนื่องจากการประชุมเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ วางแผนกลยุทธ์ และตัดสินใจที่สำคัญ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในห้องประชุมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ บทความนี้ PEAK ร่วมกับ OfficeMate จะมาแนะนำเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับห้องประชุม เหมาะสมสำหรับ SMEs เพื่อการประชุมที่มีประสิทธิผลมากขึ้น 1. ควรมีอุปกรณ์เพื่อการประชุมและนำเสนอ การมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ครบครันในห้องประชุม เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ที่จำเป็นประกอบด้วย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ครบถ้วน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และความสะดวกสบายในการจัดการประชุม นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงถึงความพร้อม และความเป็นมืออาชีพขององค์กร 2. ควรมีระบบการจองห้องประชุม ระบบการจองห้องประชุมเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะสำหรับองค์กรที่มีการประชุมบ่อยครั้ง ระบบการจองห้องประชุมจะช่วยให้การจัดการการใช้ห้องประชุมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระเบียบ ประโยชน์ของระบบนี้มีดังนี้ ลดความซับซ้อนในการจัดการ ระบบการจองห้องประชุมช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการห้องประชุม ผู้ใช้สามารถดูตารางการใช้ห้องประชุม และจองเวลาได้อย่างง่ายดายผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งช่วยลดปัญหาการจองซ้ำซ้อน หรือความผิดพลาดในการจัดการ เพิ่มความสะดวกสบาย  ระบบการจองที่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าจะช่วยเตือนผู้ใช้งานถึงการประชุมที่กำลังจะมาถึง นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าการแจ้งเตือนผ่านอีเมล หรือแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้ไม่พลาดการประชุม การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ  ระบบการจองห้องประชุมสามารถช่วยให้ผู้จัดการทรัพยากรเห็นภาพรวมการใช้ห้องประชุม และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานห้องประชุมเพื่อนำไปปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรได้ การใช้ระบบการจองห้องประชุมที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการการประชุมได้อย่างมีประสิทธิผล ลดปัญหาความขัดแย้งในการจองห้อง และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน 3. ควรมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่การประชุมออนไลน์กลายเป็นสิ่งจำเป็น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะช่วยให้การสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วอย่างไม่มีสะดุด  ข้อดีของการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงช่วยให้การประชุมออนไลน์เป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีปัญหาการเชื่อมต่อขัดข้องหรือสัญญาณหลุด การสื่อสารผ่านวิดีโอคอลจะมีคุณภาพเสียง และภาพที่ชัดเจน ทำให้การประชุมเหมือนกับการประชุมในสถานที่เดียวกัน การทำงานร่วมกันในเวลาจริง อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงช่วยให้การแชร์ไฟล์ และการทำงานร่วมกันในเวลาจริงเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการแชร์เอกสาร ภาพ หรือวิดีโอ การทำงานร่วมกันจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เสียเวลา การเข้าถึงข้อมูลและแหล่งข้อมูลออนไลน์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงช่วยให้ผู้เข้าร่วมการประชุมสามารถเข้าถึงข้อมูล และแหล่งข้อมูลออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือนำเสนอข้อมูลในที่ประชุม การมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในห้องประชุมจะช่วยให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานและการสื่อสาร เทคโนโลยีห้องประชุมที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ และ SMEs ที่ต้องการให้การประชุมเป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิผล การมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ ระบบการจองห้องประชุมที่มีประสิทธิภาพ และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงจะช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการประชุม ลดปัญหา และความขัดข้องในการจัดการการประชุม และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน ดังนั้น การลงทุนในเทคโนโลยีห้องประชุมจึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และสำคัญสำหรับการเติบโต รวมถึงความสำเร็จขององค์กร เช็กด่วน! ห้องประชุมของคุณ ยังขาดอุปกรณ์คุณภาพสำหรับห้องประชุมอยู่หรือไม่? OfficeMate มีอุปกรณ์สำนักงาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน พร้อมมอบประสบการณ์ทำงานที่ดีแบบที่คุณอาจไม่เคยพบมาก่อน สามารถเข้ามาเลือกดูได้ที่ ?

อ่านบทความเพิ่มเติม

การใช้โปรแกรม

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน PEAK

อ่านบทความเพิ่มเติม

17 Jul 2024

PEAK Account

2 min

Update Function 17/07/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. Add Document Classification Group Display (Online view) 📢 For businesses using the classification group function, when creating documents with the classification group attached, the system will automatically pull the classification group into the document page. The system will display the information in three places: below the business information, below the supplier or customer information, and below the document number information. This allows branch-based businesses to view the details easily. Thank you for the suggestion K.Kanjana, DX Enterprise Co., Ltd. ✨ 2. Add Configuration to Display Withholding Tax Document Number on Document Page (Online view) 📢 For businesses issuing revenue documents with withholding tax, the system will display the withholding tax document number on the document page. This can be adjusted by toggling the display of the withholding tax document number on and off. The supported documents include credit notes, debit notes, and receipts. Thank you for the suggestion K.Jitrada INNOVATION WASH & DRY LIMITED PARTNERSHIP ✨ 3. Add Time Range Selection on Withholding Tax and Deducted Tax Pages  📢 For businesses that need to view withholding tax and deducted tax information, it is possible to select the period for which they wish to view these tax records. This feature allows users to conveniently access the information they need for the desired time frame. ✨ 4. Add a Button for Creating Multiple Documents 📢 For businesses using the Pro Plus package that need to create multiple documents simultaneously, the system adds a button for creating multiple documents in supported documents, including sales proposals, invoices, receipts, purchase orders, purchase records, and expense records on both the revenue and expense sides. This enhancement allows users to create documents more conveniently. ✨ 5. Add Update Data Button in the Bank Reconciliation Function 📢For businesses using the bank reconciliation feature, users can press the ‘Update Data’ button if additional documents are created during the reconciliation process. The system will automatically update the newly created document information, enhancing user convenience and efficiency.

17 Jul 2024

PEAK Account

4 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 17/07/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. เพิ่มการแสดงกลุ่มจัดประเภทหน้าเอกสาร (Online view) 📢 สำหรับกิจการที่ใช้ฟังก์ชันกลุ่มจัดประเภท เมื่อทำการสร้างเอกสารโดยติดกลุ่มจัดประเภทระบบจะดึงกลุ่มจัดประเภทไปยังหน้าเอกสารให้อัตโนมัติ โดยระบบจะแสดงข้อมูลอยู่ 3 จุด ได้แก่ ด้านล่างข้อมูลกิจการ, ด้านล่างข้อมูลผู้ขาย หรือลูกค้า และด้านล่างข้อมูลเลขที่เอกสาร เพื่อให้ธุรกิจที่ทำงานตามสาขาสามารถดูรายละเอียดได้สะดวกมากขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยคุณกาญจนา บริษัท ดีเอ็กซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ✨ 2. เพิ่มการตั้งค่าแสดงเลขที่เอกสารภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายหน้าเอกสาร (Online view) 📢 สำหรับกิจการที่ออกเอกสารฝั่งรายรับและมีภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย ระบบจะแสดงเลขที่เอกสารภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายที่หน้าเอกสาร สามารถแก้ไขโดยกดเปิด-ปิดการแสดงเลขที่ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย โดยเอกสารที่รองรับ ได้แก่ ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้และใบเสร็จรับเงิน ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยคุณJitrada ห้างหุ้นส่วนจำกัด อินโนเวชั่น วอช แอนด์ ดราย ✨ 3. เพิ่มการเลือกช่วงเวลาในหน้าภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย และภาษีหัก ณ ที่จ่าย 📢 สำหรับกิจการที่ต้องการดูข้อมูลภาษีถูกหัก ณ ที่จ่ายและภาษีหัก ณ ที่จ่าย สามารถเลือกช่วงเวลาที่ต้องดูรายการภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย และภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามช่วงเวลาที่ต้องการได้ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 4. เพิ่มปุ่มการสร้างเอกสารหลายรายการ 📢 สำหรับกิจการแพ็กเกจ Pro Plus ที่ต้องการสร้างเอกสารพร้อมกันหลายฉบับ ระบบเพิ่มปุ่มการสร้างเอกสารหลายรายการในเอกสารที่รองรับทั้งฝั่งรายรับและรายจ่าย ได้แก่ ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งซื้อ บันทึกซื้อสินค้า บันทึกค่าใช้จ่าย และสมุดรายวัน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างเอกสารได้สะดวกมากขึ้น ✨ 5. เพิ่มการแสดงปุ่มอัปเดตข้อมูลที่ฟังก์ชันการกระทบยอดธนาคาร 📢สำหรับกิจการที่ใช้ฟังก์ชันการกระทบยอดธนาคาร หากมีการสร้างเอกสารเพิ่มเติมระหว่างกระทบยอดธนาคาร สามารถกดปุ่มอัปเดตข้อมูล ระบบจะทำการอัปเดตข้อมูลเอกสารที่สร้างใหม่ให้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม

ข่าวสาร

อัปเดตข่าวประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น และเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

30 Apr 2024

PEAK Account

14 min

ระเบียบการแข่งขัน PEAK Digital Accounting Championship 2024

ไฟล์ระเบียบการแข่งขัน หมายเหตุ: กำหนดการมีการเปลี่ยนแปลง ปิดรับสมัครในวันที่ 7 มิ.ย. 2567 เวลา 23.59 น. และประกาศผลรอบคัดเลือก 12 มิ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. โครงการค้นหา “สุดยอดว่าที่นักบัญชี” แห่งยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถและทดสอบความรู้การใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์1.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ด้านการบัญชี1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา1.4 มอบโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนจากสถาบันอื่น 2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 2.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี โดยต้องมีสถานภาพเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน2.2 สมาชิกทีมละ 2 คน อายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน2.3 แต่ละสถาบันสามารถมีอาจารย์ประจำภาควิชาได้ไม่เกิน 2 ท่าน 3. ขอบเขตเนื้อหาการแข่งขัน 3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีและภาษี3.2 การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์3.3 การวิเคราะห์และประยุกต์การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ตามประเภทของธุรกิจ 4. การรับสมัคร 4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ bit.ly/peak-dac-2024 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอีเมล์ยืนยันจากระบบ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มส่งผลงานได้หลังจากได้รับอีเมลยืนยันการสมัครเท่านั้น 4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันและส่งผลงานวันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2567 ภายในเวลา 23.59 น.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำส่งผลงานรอบคัดเลือกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.4.1 ทำวิดีโอบน TikTok เพื่อแนะนำ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs ไทย ภายใต้หัวข้อ “PEAK, Friend of Business”4.4.2 ความยาวไม่เกิน 2 นาที4.4.3 รูปแบบวิดีโอเป็นแนวตั้ง (9:16)4.4.4  อัปโหลดบนแอปพลิเคชัน TikTok พร้อมเปิดสาธารณะ4.4.5  Mention @peakaccount และติดแฮชแท็ก จำนวน 3 แฮชแท็ก ดังต่อไปนี้   #PEAKDAC2024 #PEAK #โปรแกรมบัญชีออนไลน์4.4.6 หลังจากวิดีโอถูกเผยแพร่บน TikTok ผู้สมัครต้องคัดลอกลิงก์ของวิดีโอ เพื่อนำ ไปกรอกในฟอร์มตามลิงก์ข้อ 4.24.4.7 แต่ละทีมสามารถส่งผลงานวิดีโอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากมีการส่งผลงานมากกว่า 1 ครั้ง ทางคณะกรรมการจะพิจารณาจากการส่งผลงานครั้งแรกเท่านั้น 4.5  คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 ทีม เพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทางอีเมลผู้เข้าแข่งขัน และเฟสบุ๊คแฟนเพจ PEAK – โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAKaccount.com วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2567 หมายเหตุ : หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 5. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 24 ทีม ต้องเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ : ไม่มีบริการที่จอดรถ ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตามสามารถจอดพาหนะได้บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ อาคารจามจุรี 9 หรือศูนย์การค้าเเอมพาร์ค หรือศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยอัตราค่าบริการที่จอดรถเป็นไปตามระเบียบของผู้ให้บริการ 6. กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขัน09.00 – 10.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน10.00 – 10.30 น. เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขัน10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15 นาที10.45 – 11.45 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 1 (ข้อสอบปรนัย)11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 – 14.30 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 2-3 (ภาคปฎิบัติและวิเคราะห์)14.30 – 15.30 น. กิจกรรมให้ความรู้จากวิทยากรพิเศษ15.30 – 15.35 น. ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์15.35 – 16.30 น. การนำเสนอผลการวิเคราะห์16.30 – 17.00 น. ประกาศผลการแข่งขัน พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงาน หมายเหตุ : ไม่มีบริการอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตาม ผู้เข้าสอบต้องนั่งประจำที่สอบ ก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 10 นาที 7. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยแต่ละรอบมีเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้ 7.1  รอบคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากผลงานคลิปวิดีโอของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 24 ทีม ได้แก่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้ 7.2  รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ผลรวม 100 คะแนน โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การตอบคำถามความรู้ด้านบัญชีและภาษี (30 คะแนน)เป็นการตอบคำถามรูปแบบปรนัยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 30 คะแนน โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี การบัญชี และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรม PEAK บันทึกบัญชี และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (50 คะแนน)เป็นการบันทึกบัญชีตามโจทย์ที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์และตอบคำถาม โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีเนื้อหาประกอบด้วย การสมัครและสร้างกิจการ การบันทึกยอดยกมา การบันทึกรายการค้าระหว่างงวดบัญชี การเรียกดูรายงานเอกสาร และงบการเงิน ส่วนที่ 3 การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (20 คะแนน)เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ให้แก่คณะกรรมการ โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำข้อสอบส่วนที่ 2 โดยใช้ระยะเวลาการนำเสนอ 3 นาที และถามตอบ 5 นาที รวมเป็น 8 นาที ต่อทีมเนื้อหาประกอบด้วย วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจ ถามตอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับแรกเท่านั้น (ระดับปวส. 3 ทีม และระดับปริญญาตรี 3 ทีม) เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 กับคณะกรรมการ เพื่อให้กรรมการได้ซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินอันดับผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด 8. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำโน้ตบุ๊กมาจำนวน 1 เครื่อง ต่อ 1 ทีม โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมปลั๊กชาร์จ ไฟสำหรับโน้ตบุ๊ก และ Wifi ให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของสถาบัน8.3 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกัน และแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ภายในเวลาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน8.4 ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องเขียน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ รวมถึงนาฬิกา Smart Watch เข้าแข่งขัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการจัดเตรียมเครื่องเขียน และกระดาษทดให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.5 ห้ามผู้เข้าแข่งขันยืมอุปกรณ์ใด ๆ จากผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นขณะแข่งขัน8.6 ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระทำการใด ๆ ที่ทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริต8.7 ผู้เข้าแข่งขันที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก หรือผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ สามารถแข่งขันด้วยจำนวนสมาชิกที่เหลือได้ หมายเหตุ : หากฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 9. รางวัลการแข่งขัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สมาชิกของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 24 ทีม จะได้รับเกียรติบัตรโดย PEAK 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด

7 Feb 2024

admincontent

2 min

BeNeat มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7%

BeNeat แอปพลิเคชันเรียกคุณแม่บ้านมืออาชีพ สะดวก ใช้งานง่าย เลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ บริการทำความสะอาดแบบรายชั่วโมง ให้บ้านน่าอยู่ขึ้นได้ในพริบตา คุณแม่บ้านบีนีทมืออาชีพไปพร้อมอุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดแบบครบครัน พร้อมทั้งรับประกันความพึงพอใจ พิเศษ! ลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7% เมื่อจองบริการทำความสะอาดรายชั่วโมงแบบแพ็กเกจ 5 ครั้งขึ้นไป เพียงแจ้งโค้ดส่วนลดรับสิทธิ์ ผ่าน LINE @BeNeat เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ – ระยะเวลาโปรโมชั่น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 – จำกัดเพียง 200 แพ็กเกจเท่านั้น ตลอดรายการส่งเสริมการขาย หรือจนกว่าสิทธิ์จะหมด – สามารถจองบริการไว้ล่วงหน้าได้ ไม่มีวันหมดอายุ – รหัสส่วนลดสามารถใช้ได้ 1 ครั้ง/ รหัสผู้ใช้งาน – พื้นที่ให้บริการ : กรุงเทพ ปริมณฑล เชียงใหม่ และชลบุรี – สิทธิพิเศษนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยน/ทอนเป็นเงินสด หรือใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ – เงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมเป็นไปตามนโยบายทางบริษัทฯ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2113-1138, [email protected] หรือ LINE @BeNeat

อ่านบทความเพิ่มเติม