ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

12 มี.ค. 2025

PEAK Account

13 min

7 ประเภทค่าใช้จ่าย ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

ความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างถูกต้องตามกำหนด ไม่เสียค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ครบ ยังอาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้นั่นเอง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ภาครัฐได้ออกนโยบายลดหย่อนภาษี มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการแข่งขันด้านธุรกิจ ให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราก็จะพาผู้ประกอบการทุกท่านไปดูกันว่า ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล คืออะไร? การลดหย่อนภาษีคือสิทธิ์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงประชาชนที่ทางรัฐบาลกำหนดว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และในบางกรณีอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันด้วยเช่นกัน ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่อง ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลทำได้หลายรูปแบบมาก มีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาลดหย่อนกับรัฐบาล ช่วยให้สามารถปรับหยัดค่าเสียภาษี หรืออาจได้เงินภาษีคืนมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อให้สามารถนำเงินไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ศึกษาอย่างละเอียด ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือใหม่ หรือเมื่อรัฐบาลมีนโยบายใหม่ ๆ ที่ออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำบางอย่างไปลดหย่อนภาษีได้ก็จะได้ตามทัน และรีบปรับตัวตามนั่นเอง  เช็กเงื่อนไขการเสียภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษี คือมีทุนจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยในกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกจะไม่ต้องเสียภาษีกำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001 – 3 ล้านบาท มีอัตราภาษี 15% และหากกำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป จะมีอัตราภาษี 20%หากธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็น SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะมีอัตราภาษี 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า สามารถศึกษาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าได้ที่ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง? เคล็ดลับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลด้วยค่าใช้จ่าย 7 ประเภท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่ายที่นำไปใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ประกอบไปด้วย 6 ประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าจัดตั้งบริษัท ทำบัญชี และการสอบบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็สามารถนำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี ไปจนถึงการสอบบัญชี ในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีติดต่อกันมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว 2. ค่าเสื่อมสภาพของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงออกนโยบายให้ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าอุปกรณ์ โดยจะทำการทยอยหักภายใน 3 รอบบัญชีนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 3. ค่าเสื่อมอาคารผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคาร หรือโรงงานสามารถนำค่าเสื่อมของอาคารมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 5% ต่อปี 4. ค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรโรงงานที่มีเครื่องจักรสามารถนำค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยคิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่า ส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 20% ต่อปี 5. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ คือค่าจ้างผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายในการสนับสนุน SMEs ในการจ้างผู้สูงอายุ เพื่อกระจายรายได้ จึงทำให้มีนโยบายนี้ออกมารองรับ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 6. เงินบริจาคเงินบริจาคเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้6.1 บริจาคให้กับ สถาบันการศึกษารัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูงผู้ประกอบการสามารถนำเงินบริจาคมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่จะไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายการบริจาค 6.2 บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย 6.3 เงินบริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้ง 4 กองทุนสามารถนำเงินบริจาคหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งนี้เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย 7. รายจ่ายในการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรบให้พนักงานในบริษัทก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ทั้งในกรณีที่ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และการฝึกอบรบให้ลูกจ้างตนเอง โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้7.1  ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม 7.2 ฝึกอบรมลูกจ้างตนเอง รู้เรื่องภาษีให้รอบด้าน อาจช่วยลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้มากกว่าที่คิด การจัดการภาษีนิติบุคคลอย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพราะสามารถช่วยลดภาระทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องมาหักลดหย่อน หรือการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ หากมีการเตรียมเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การจัดทำรายงานภาษีเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากขึ้น PEAK Tax เป็นฟังก์ชันหนึ่งในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่ช่วยให้การจัดการภาษีของธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณและสร้างแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของแบบภาษีก่อนส่ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด นอกจากนี้ PEAK Tax ยังช่วยสรุปและจัดทำรายงานภาษีได้อย่างเป็นระบบ รองรับการนำเข้าข้อมูลจากระบบขายออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และ TikTok Shop ช่วยลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และทำให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

24 ต.ค. 2023

PEAK Account

11 min

เรื่องต้องรู้ก่อนเสียภาษีเงินได้

สองสิ่งที่หนีไม่พ้น คือ ความตายกับภาษี เป็นหนึ่งในวลีเด็ดที่เรามักถูกพร่ำสอนมาตั้งแต่สมัยเรียน ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะนอกจากความตายที่เราไม่อาจหลีกหนีได้แล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายก็เป็นเช่นนั้น ลองสังเกตชีวิตประจำวันของเราก็ได้ครับ แค่เด็กน้อย 8 ขวบไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ เราก็ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าสินค้าโดยไม่รู้ตัวแล้ว พอโตขึ้นมาหน่อยเริ่มมีเงินจากการทำงานก็ต้องโดนนายจ้างหักภาษีเงินได้เงินเดือนเราอีก นั่นละครับชีวิต ในบทความนี้เราจะมาดูสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการเสียภาษีเงินได้ นั้นก็คือ “รายได้” กันครับ แต่ในเชิงการเสียภาษีเราจะไม่ได้เรียกรายได้ตรงๆ แต่จะใช้คำว่า “เงินได้” แทนครับ เงินได้ คืออะไร? “เงินได้” คือ คำว่า “รายได้” ที่เราคุ้นเคยกันมาแต่จะมีความหมายที่กว้างกว่า เช่น เราทำงานแล้วได้เงินเป็นผลตอบแทน แล้วถ้าเราทำงานแต่ได้สิ่งตอบแทนเป็นสิ่งของหรือแลกกับบ้านเช่าที่ได้อยู่ฟรีล่ะ? ในทางภาษีก็ถือเป็นเงินได้เหมือนกันครับ เพราะเงินได้หมายรวมถึงเงิน สิ่งของตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่สามารถคิดกลับมาเป็นตัวเงินได้ แม้แต่เงินที่เราได้มาฟรีก็ยังต้องเป็นเงินได้เพราะถือเป็นผลประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับครับ “เงินได้” ย่อมาจากคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ซึ่งหมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปี ได้แก่ 1.เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีเงินได้ 8 ประเภท มีอะไรบ้าง? พอเราเข้าใจว่าคำว่า “รายได้” เท่ากับ “เงินได้” ในทางภาษีแล้ว ก็ต้องรู้ต่อว่าทางกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีของประเทศไทย ได้แบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1. เงินเดือน 2. รับจ้างทำงาน 3. ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 4. ดอกเบี้ย เงินปันผล 5. ค่าเช่าทรัพย์สิน 6. วิชาชีพอิสระ 7. รับเหมาก่อสร้าง 8. รายได้อื่นๆ นอกจาก 1-7 อ้างอิงตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร บางคนอาจเรียกว่าเงินได้ประเภท 40(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) ก็ได้ เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ 40(1) ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส ฯลฯ เงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่ารับจ้าง โดยจะเน้นเรื่องการใช้แรงงานตัวเองเป็นหลัก เงินได้ประเภทที่ 3 หรือ 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เงินได้ประเภทที่ 4 หรือ 40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เงินได้ประเภทนี้จะดอกผลที่เกี่ยวเนื่องจากการลงทุนของผู้มีเงินได้ เงินได้ประเภทที่ 5 หรือ 40(5) ได้แก่ (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว เงินได้ประเภทที่ 6 หรือ 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์รักษาคน) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ เงินได้ประเภทที่ 7 หรือ 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้จากการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในเงินได้ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 เช่น ขายสินค้าออนไลน์  สาเหตุที่ต้องแบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท สาเหตุที่ต้องแยกเงินได้ออกมาเป็นแต่ละประเภทมาจากการที่แต่ละอาชีพมีความยากง่ายหรือมีต้นทุนในการทำอาชีพนั้นแตกต่างกันจึงกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อหักจากเงินได้เพื่อเสียภาษีในอัตราเปอร์เซ็นต์ที่อ้างสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60%ของรายได้ ส่วนเงินได้จากค่าเช่ารถอาจจะมีต้นทุนที่ต่ำลงมาจึงหักค่าใช้ได้จ่ายได้ 30%ของรายได้ ในบางกรณีเงินได้บางประเภทมีต้นทุนต่ำมากหรืออาจไม่มีเลยจะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้นครับ ดังนั้นถ้าเราไม่แยกประเภทของเงินได้และกำหนดให้ทุกเงินได้หักค่าใช้จ่ายเท่ากันจะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในแง่ของผู้มีเงินได้ครับ อัตราการหักค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้ของบุคคลธรรมดา การเสียภาษีของบุคคลธรรมดาจะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไรที่ต้องเสียภาษีได้ 2 วิธี นั้นคือวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร (ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งบางเงินได้สามารถเลือกได้ทั้งสองวิธี แต่บางเงินได้อาจจะบังคับให้หักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ดังนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้สูงสุด เช่น พี่เอกมีเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง 1 ล้านบาท มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง 8 แสนบาท ถ้าเลือกหักด้วยวิธีอัตราเหมาจะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 60% ของเงินได้หรือ 600,000 บาท แต่ถ้าเลือกวิธีหักตามจริงจะสามารถหักได้ถึง 8 แสนบาท ทำให้กำไรที่จะนำไปเสียภาษีต่ำลง อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็มีเรื่องที่ต้องระวัง คือ ทุกค่าใช้จ่ายที่นำมาหักต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเก็บไว้เสมอ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี และต้องเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของเราด้วย สรุปแล้วรายได้หรือเงินได้มีทั้งหมด 8 ประเภท โดยแบ่งเป็นตามความยากง่ายและต้นทุนที่เกี่ยวข้องของเงินได้นั้นๆ กรณีบุคคลธรรมดาการที่เรารู้ว่าเงินได้ของเราอยู่ประเภทไหนจะช่วยให้ทราบว่าสามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีด้วยวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร(ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางสรรพากรกำหนด อย่างไรก็ตามวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงต้องมีการจัดเก็บเอกสารเพื่อให้สรรพากรตรวจสอบได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายจริง และมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่ด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

12 มี.ค. 2025

PEAK Account

13 min

7 ประเภทค่าใช้จ่าย ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

ความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างถูกต้องตามกำหนด ไม่เสียค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ครบ ยังอาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้นั่นเอง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ภาครัฐได้ออกนโยบายลดหย่อนภาษี มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการแข่งขันด้านธุรกิจ ให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราก็จะพาผู้ประกอบการทุกท่านไปดูกันว่า ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล คืออะไร? การลดหย่อนภาษีคือสิทธิ์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงประชาชนที่ทางรัฐบาลกำหนดว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และในบางกรณีอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันด้วยเช่นกัน ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่อง ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลทำได้หลายรูปแบบมาก มีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาลดหย่อนกับรัฐบาล ช่วยให้สามารถปรับหยัดค่าเสียภาษี หรืออาจได้เงินภาษีคืนมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อให้สามารถนำเงินไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ศึกษาอย่างละเอียด ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือใหม่ หรือเมื่อรัฐบาลมีนโยบายใหม่ ๆ ที่ออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำบางอย่างไปลดหย่อนภาษีได้ก็จะได้ตามทัน และรีบปรับตัวตามนั่นเอง  เช็กเงื่อนไขการเสียภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษี คือมีทุนจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยในกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกจะไม่ต้องเสียภาษีกำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001 – 3 ล้านบาท มีอัตราภาษี 15% และหากกำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป จะมีอัตราภาษี 20%หากธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็น SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะมีอัตราภาษี 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า สามารถศึกษาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าได้ที่ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง? เคล็ดลับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลด้วยค่าใช้จ่าย 7 ประเภท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่ายที่นำไปใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ประกอบไปด้วย 6 ประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าจัดตั้งบริษัท ทำบัญชี และการสอบบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็สามารถนำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี ไปจนถึงการสอบบัญชี ในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีติดต่อกันมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว 2. ค่าเสื่อมสภาพของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงออกนโยบายให้ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าอุปกรณ์ โดยจะทำการทยอยหักภายใน 3 รอบบัญชีนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 3. ค่าเสื่อมอาคารผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคาร หรือโรงงานสามารถนำค่าเสื่อมของอาคารมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 5% ต่อปี 4. ค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรโรงงานที่มีเครื่องจักรสามารถนำค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยคิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่า ส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 20% ต่อปี 5. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ คือค่าจ้างผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายในการสนับสนุน SMEs ในการจ้างผู้สูงอายุ เพื่อกระจายรายได้ จึงทำให้มีนโยบายนี้ออกมารองรับ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 6. เงินบริจาคเงินบริจาคเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้6.1 บริจาคให้กับ สถาบันการศึกษารัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูงผู้ประกอบการสามารถนำเงินบริจาคมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่จะไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายการบริจาค 6.2 บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย 6.3 เงินบริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้ง 4 กองทุนสามารถนำเงินบริจาคหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งนี้เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย 7. รายจ่ายในการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรบให้พนักงานในบริษัทก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ทั้งในกรณีที่ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และการฝึกอบรบให้ลูกจ้างตนเอง โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้7.1  ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม 7.2 ฝึกอบรมลูกจ้างตนเอง รู้เรื่องภาษีให้รอบด้าน อาจช่วยลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้มากกว่าที่คิด การจัดการภาษีนิติบุคคลอย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพราะสามารถช่วยลดภาระทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องมาหักลดหย่อน หรือการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ หากมีการเตรียมเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การจัดทำรายงานภาษีเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากขึ้น PEAK Tax เป็นฟังก์ชันหนึ่งในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่ช่วยให้การจัดการภาษีของธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณและสร้างแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของแบบภาษีก่อนส่ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด นอกจากนี้ PEAK Tax ยังช่วยสรุปและจัดทำรายงานภาษีได้อย่างเป็นระบบ รองรับการนำเข้าข้อมูลจากระบบขายออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และ TikTok Shop ช่วยลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และทำให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

24 ต.ค. 2023

PEAK Account

11 min

เรื่องต้องรู้ก่อนเสียภาษีเงินได้

สองสิ่งที่หนีไม่พ้น คือ ความตายกับภาษี เป็นหนึ่งในวลีเด็ดที่เรามักถูกพร่ำสอนมาตั้งแต่สมัยเรียน ซึ่งก็เป็นความจริงเพราะนอกจากความตายที่เราไม่อาจหลีกหนีได้แล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายก็เป็นเช่นนั้น ลองสังเกตชีวิตประจำวันของเราก็ได้ครับ แค่เด็กน้อย 8 ขวบไปซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ เราก็ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าสินค้าโดยไม่รู้ตัวแล้ว พอโตขึ้นมาหน่อยเริ่มมีเงินจากการทำงานก็ต้องโดนนายจ้างหักภาษีเงินได้เงินเดือนเราอีก นั่นละครับชีวิต ในบทความนี้เราจะมาดูสิ่งที่ใช้เป็นฐานในการเสียภาษีเงินได้ นั้นก็คือ “รายได้” กันครับ แต่ในเชิงการเสียภาษีเราจะไม่ได้เรียกรายได้ตรงๆ แต่จะใช้คำว่า “เงินได้” แทนครับ เงินได้ คืออะไร? “เงินได้” คือ คำว่า “รายได้” ที่เราคุ้นเคยกันมาแต่จะมีความหมายที่กว้างกว่า เช่น เราทำงานแล้วได้เงินเป็นผลตอบแทน แล้วถ้าเราทำงานแต่ได้สิ่งตอบแทนเป็นสิ่งของหรือแลกกับบ้านเช่าที่ได้อยู่ฟรีล่ะ? ในทางภาษีก็ถือเป็นเงินได้เหมือนกันครับ เพราะเงินได้หมายรวมถึงเงิน สิ่งของตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่สามารถคิดกลับมาเป็นตัวเงินได้ แม้แต่เงินที่เราได้มาฟรีก็ยังต้องเป็นเงินได้เพราะถือเป็นผลประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับครับ “เงินได้” ย่อมาจากคำว่า “เงินได้พึงประเมิน” ซึ่งหมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปี ได้แก่ 1.เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 3.ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4.เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5.เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีเงินได้ 8 ประเภท มีอะไรบ้าง? พอเราเข้าใจว่าคำว่า “รายได้” เท่ากับ “เงินได้” ในทางภาษีแล้ว ก็ต้องรู้ต่อว่าทางกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานจัดเก็บภาษีของประเทศไทย ได้แบ่งประเภทของเงินได้พึงประเมินออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้ 1. เงินเดือน 2. รับจ้างทำงาน 3. ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร 4. ดอกเบี้ย เงินปันผล 5. ค่าเช่าทรัพย์สิน 6. วิชาชีพอิสระ 7. รับเหมาก่อสร้าง 8. รายได้อื่นๆ นอกจาก 1-7 อ้างอิงตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร บางคนอาจเรียกว่าเงินได้ประเภท 40(1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) หรือ (8) ก็ได้ เงินได้ประเภทที่ 1 หรือ 40(1) ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส ฯลฯ เงินได้ประเภทที่ 2 หรือ 40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่ารับจ้าง โดยจะเน้นเรื่องการใช้แรงงานตัวเองเป็นหลัก เงินได้ประเภทที่ 3 หรือ 40(3) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล เงินได้ประเภทที่ 4 หรือ 40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เงินได้ประเภทนี้จะดอกผลที่เกี่ยวเนื่องจากการลงทุนของผู้มีเงินได้ เงินได้ประเภทที่ 5 หรือ 40(5) ได้แก่ (ก) การให้เช่าทรัพย์สิน (ข) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน (ค) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว เงินได้ประเภทที่ 6 หรือ 40(6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ (แพทย์รักษาคน) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดไว้ เงินได้ประเภทที่ 7 หรือ 40(7) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น การรับเหมาก่อสร้าง เงินได้ประเภทที่ 8 หรือ 40(8) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือเงินได้จากการอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ในเงินได้ประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 เช่น ขายสินค้าออนไลน์  สาเหตุที่ต้องแบ่งเงินได้ออกเป็น 8 ประเภท สาเหตุที่ต้องแยกเงินได้ออกมาเป็นแต่ละประเภทมาจากการที่แต่ละอาชีพมีความยากง่ายหรือมีต้นทุนในการทำอาชีพนั้นแตกต่างกันจึงกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อหักจากเงินได้เพื่อเสียภาษีในอัตราเปอร์เซ็นต์ที่อ้างสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 60%ของรายได้ ส่วนเงินได้จากค่าเช่ารถอาจจะมีต้นทุนที่ต่ำลงมาจึงหักค่าใช้ได้จ่ายได้ 30%ของรายได้ ในบางกรณีเงินได้บางประเภทมีต้นทุนต่ำมากหรืออาจไม่มีเลยจะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้นครับ ดังนั้นถ้าเราไม่แยกประเภทของเงินได้และกำหนดให้ทุกเงินได้หักค่าใช้จ่ายเท่ากันจะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในแง่ของผู้มีเงินได้ครับ อัตราการหักค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้ของบุคคลธรรมดา การเสียภาษีของบุคคลธรรมดาจะสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไรที่ต้องเสียภาษีได้ 2 วิธี นั้นคือวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร (ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางกรมสรรพากรกำหนด ซึ่งบางเงินได้สามารถเลือกได้ทั้งสองวิธี แต่บางเงินได้อาจจะบังคับให้หักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น ดังนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกวิธีการหักค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้สูงสุด เช่น พี่เอกมีเงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง 1 ล้านบาท มีต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง 8 แสนบาท ถ้าเลือกหักด้วยวิธีอัตราเหมาจะหักค่าใช้จ่ายได้เพียง 60% ของเงินได้หรือ 600,000 บาท แต่ถ้าเลือกวิธีหักตามจริงจะสามารถหักได้ถึง 8 แสนบาท ทำให้กำไรที่จะนำไปเสียภาษีต่ำลง อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงก็มีเรื่องที่ต้องระวัง คือ ทุกค่าใช้จ่ายที่นำมาหักต้องมีเอกสารหลักฐานการจ่ายเก็บไว้เสมอ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี และต้องเกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจของเราด้วย สรุปแล้วรายได้หรือเงินได้มีทั้งหมด 8 ประเภท โดยแบ่งเป็นตามความยากง่ายและต้นทุนที่เกี่ยวข้องของเงินได้นั้นๆ กรณีบุคคลธรรมดาการที่เรารู้ว่าเงินได้ของเราอยู่ประเภทไหนจะช่วยให้ทราบว่าสามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณภาษีด้วยวิธีหักตามความจำเป็นและสมควร(ตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง) และวิธีหักอัตราเหมาที่ทางสรรพากรกำหนด อย่างไรก็ตามวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริงต้องมีการจัดเก็บเอกสารเพื่อให้สรรพากรตรวจสอบได้ว่ามีการจ่ายค่าใช้จ่ายจริง และมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่ด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก