tax-pnd-3-53-penalties

การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ การที่คนจ่ายเงินหักเงินส่วนหนึ่งจากคนที่จะรับเงินเป็นเปอร์เซ็นต์ตามที่กฎหมายกำหนด แล้วนำเงินที่หักนี้ไปส่งให้กรมสรรพากรแทนคนรับเงิน ซึ่งจะถือเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้าของคนรับเงินนั่นเอง แต่ถ้าจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายน้อยกว่าก็สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้ ซึ่งภาษีที่ต้องยื่นนี้จะอยู่ในฟอร์มการยื่นภาษีภ.ง.ด.53 และภาษีภ.ง.ด.3 และถ้าไม่ยื่นจะโทษจำคุก โทษปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย วันนี้เราจึงรวมข้อควรรู้ว่าภาษีภ.ง.ด.53 และภาษีภ.ง.ด.3 คืออะไร มาฝากกัน

ภาษีภ.ง.ด.53 คืออะไร

ภาษีภ.ง.ด.53 คือ เป็นแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินซึ่งถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ ซึ่ง ภ.ง.ด.53 ใบแนบสามารถดาวน์โหลดได้ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเลย และสำหรับภ.ง.ด.53 ภาษาอังกฤษ คือ Withholding Income Tax Return (P.N.D.53) สามารถดาวน์โหลดได้เว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้เช่นกัน 

เงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.53

เงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.3

1. เงินได้จากค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า การให้เช่าทรัพย์สินเช่น ที่ดิน,อาคาร, เครื่องจักร, รถยนต์  เป็นต้น การประกอบวิชาชีพอิสระ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผล เป็นต้น

2. เงินได้จากมาตรา 40 (8) เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่นๆที่นอกเหนือจากข้อ (1)

3. เงินได้จากการประกันวินาศภัยเฉพาะกรณีที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย

4. เงินได้จากการขนส่งซึ่งไม่รวมการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ

ภ.ง.ด.53 มีมาตราอะไรบ้างที่ต้องเลือก

  • มาตรา 3 เตรส การจ่ายค่าบริการ เช่น ค่าโฆษณา ค่าซ่อมแซม การจ่ายค่าสิทธิ เช่น ค่าลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร โดยจะหักภาษี 3% 
  • มาตรา 69 ทวิ การจ่ายค่าเช่าทรัพย์สิน การจ่ายดอกเบี้ย โดยจะหักภาษี 5% 
  • มาตรา 65 จัตวา การจ่ายรางวัล ส่วนลดการค้า เงินได้อื่น ๆ นอกเหนือจาก 2 มาตราข้างต้น โดยจะหักภาษี 3%

ภ.ง.ด.53 หักกี่เปอร์เซ็นต์

เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินให้กับนิติบุคคลอื่น จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทของรายจ่ายและผู้รับเงิน สำหรับการจ่ายค่าเช่าทรัพย์สิน เช่น อาคาร บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ จะหักภาษี 5% หากจ่ายให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่ทำธุรกิจในไทย

ในกรณีที่จ่ายให้กับมูลนิธิหรือสมาคม จะต้องหักภาษีในอัตรา 10% ยกเว้นมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับการประกาศจากรัฐมนตรีให้เป็นองค์กรสาธารณกุศล ส่วนการจ่ายค่าขนส่งให้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนในไทย จะหักภาษีเพียง 1% และสำหรับรายจ่ายประเภทอื่นๆ เช่น ค่าบริการ ค่าสิทธิ หรือรางวัล สามารถตรวจสอบอัตราการหักภาษีได้จากเว็บไซต์กรมสรรพากร 

ภาษีภ.ง.ด. 3 คืออะไร

ภาษีภ.ง.ด.3 คือ เป็นแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ผู้จ่ายเงินเป็นนิติบุคคลและผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา ซึ่งภ.ง.ด.3 ใบแนบสามารถดาวน์โหลดได้ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากรเลย และสำหรับภ.ง.ด.3 ภาษาอังกฤษ คือ Withholding Income Tax Return (P.N.D.3) สามารถดาวน์โหลดได้เว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้เช่นกัน

เงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.3

ภ.ง.ด.3

1. เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
2. เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ได้แก่ กฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
3. เงินได้จากการรับเหมา โดยผู้รับเหมาเป็นผู้ลงทุนในการจัดหาสิ่งของเพิ่มเติมนอกจากเครื่องมือที่มีอยู่
4. เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง

ภ.ง.ด.3 มาตราอะไรบ้างที่ต้องเลือก

ภ.ง.ด.3 เป็นแบบแสดงรายการภาษีที่ใช้เมื่อนิติบุคคลจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดา โดยแบ่งการหักภาษีตาม 3 มาตราหลัก ได้แก่ มาตรา 59 สำหรับการหักภาษีทั่วไป มาตรา 3 เตรส สำหรับการจ่ายค่าบริการต่าง ๆ และมาตรา 48 ทวิ สำหรับรายได้พิเศษ เช่น รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์อื่น ๆ

ภ.ง.ด.3 หักกี่เปอร์เซ็นต์

อัตราการหักภาษีจะแตกต่างกันตามประเภทเงินได้ เช่น กรณีจ่ายค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ให้บุคคลธรรมดา จะหักภาษี 5% ส่วนค่าบริการวิชาชีพ เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่ารับเหมา หักภาษี 3% และค่าขนส่ง หักภาษี 1%สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์กรมสรรพากรได้เลย 

ผู้มีหน้าที่หักภาษีต้องทำอย่างไรบ้าง

1. ขอข้อมูลผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ ชื่อที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

2. ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ในอัตราที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร

3. จัดทำหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ถูกหักภาษีทุกครั้งที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย

4. ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายยื่นแบบภ.ง.ด.3 หรือ ภ.ง.ด.53 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ยื่นภายในกี่วัน

1. การยื่นแบบด้วยตนเอง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสาขาในท้องที่ที่ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายมีสำนักงานตั้งอยู่2. การยื่นแบบและชำระภาษีทางออนไลน์ โดยเบื้องต้นผู้นำส่งต้องสมัครสมาชิกกับทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ก่อน โดยการยื่นแบบจะได้รับสิทธิพิเศษให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีออกไปอีก 8 วัน

ถ้าไม่ยื่นแบบจะมีบทลงโทษอย่างไร

ถ้าไม่ยื่นแบบจะมีบทลงโทษอย่างไร

1. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มิได้หักและนำส่ง หรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้โดยต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ไม่ได้หัก และนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี

ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินได้หักภาษีไว้แล้วแต่ไม่ได้นำส่ง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดชอบชำระภาษีจำนวนนั้นทั้งหมด

2. ถ้าผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่หักนำส่งภายในกำหนดเวลาจะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบฯ จนถึงวันยื่นแบบฯและนำส่งภาษี ผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย หากไม่ยื่นแบบฯนี้ภายในกำหนดเวลา เว้นแต่จะแสดงว่าได้มีเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

3. ผู้ใดโดยเจตนาไม่ยื่นรายการที่ต้องยื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้งานบัญชีภาษีง่ายสำหรับทุกคน มีระบบจัดการธุรกิจแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างเป็นระบบ

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์