PEAK Payroll สามารถ export ได้ทั้งเงินเดือน ประกันสังคมและภาษี ผ่าน ธนาคาร และ RD-Prep

ตัวช่วยผู้ประกอบการ โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ ทำเงินเดือนพนักงานเป็นระบบ รองรับทุกการเติบโต

โปรแกรมคำนวณเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการงานบริหารบุคคลในส่วนของเงินเดือนและค่าจ้างหรือผลตอบแทนของ พนักงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูล การกำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลสำหรับ ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งาน การคำนวณเงินเดือนและภาษีไปจนถึงขั้นตอนการจ่าย เงินเดือนและออกรายงานหรือสลิปเงินเดือนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

24,000 บริษัท
วางใจใช้งาน PEAK

30,000

บริษัท

วางใจใช้งาน PEAK

1,400 พันธมิตรสำนักงานบัญชี

1,400

พันธมิตร

PEAK Family Partner

4  ล้านธุรกรรมต่อเดือน บน PEAK

4

ล้านธุรกรรม/เดือน

ธุรกรรมบน PEAK ต่อเดือน

40,000 ล้าน บาท/เดือน

40,000

ล้าน บาท/เดือน

มูลค่ารายการค้าต่อเดือน

จุดเด่นและฟังก์ชันของ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่ใช้งานง่ายที่สุด

สลิปเงินเดือน

สลิปเงินเดือน

สร้างง่ายเพียง 3 ขั้นตอน

ส่งให้พนักงานอัตโนมัติและขอสลิปเงินเดือนเมื่อไหร่ก็ได้

ยื่นประกันสังคมออนไลน์

ยื่นประกันสังคมออนไลน์

สร้างไฟล์พร้อมยื่นประกันสังคม

สามารถนำไปยื่นในระบบ SSO e-service

จ่ายเงินเดือน

จ่ายเงินเดือน

ลดของผิดพลาดในการจ่ายเงินเดือนด้วยไฟล์

ประหยัดเวลาในการจ่ายเงินเดือน

บันทึกบัญชีอัตโนมัติ

บันทึกบัญชีอัตโนมัติ

ลงบัญชีให้อัตโนมัติทุกขั้นตอนในการทำเงินเดือน

ลดเวลาการทำการงาน การทำเงินเดือน

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

คำนวณและสร้างภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้

สามารถนำข้อมูลไปสร้าง ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.1ก

สร้างรายการหักเงินหรือเงินได้อย่างอิสระ

สร้างรายการเงินหักหรือเงินได้อย่างอิสระ

สร้างเงินได้พิเศษเพื่อให้ครอบคลุมสวัสดิการ

สร้างเงินหักเพื่อรองรับนโยบาย

PEAK Payroll เหมาะกับใคร?
โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจมากที่สุด

ผู้ประกอบการใช้ PEAK Payroll จัดการเงินเดือนในธุรกิจ SME

เครื่องมือช่วยบริหารต้นทุนเงินเดือนสำหรับผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ SME

เห็นภาพรวมเงินเดือนทั้งหมดของบริษัท ทำให้สามารถวางแผนเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ฝ่ายบุคคลและนักบัญชีใช้ PEAK Payroll บริหารเงินเดือนและข้อมูลพนักงาน

ตัวช่วยจัดการเงินเดือน
สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและนักบัญชี

โปรแกรมเงินเดือน ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ประหยัดเวลา สามารถทำเงินเดือนได้ถูกต้องและรวดเร็ว

จ่ายเงินเดือนผ่านโปรแกรมเงินเดือน PEAK Payroll เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีอัตโนมัติ

จ่ายเงินเดือนผ่านโปรแกรมเงินเดือน PEAK Payroll เชื่อมต่อโปรแกรมบัญชีอัตโนมัติ

ลดขั้นตอนในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ครบทุกเรื่องบัญชี ภาษี และประกันสังคม จบในที่เดียว

ราคาเริ่มต้น 1,200 บาท/เดือน โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll

บริหารธุรกิจ บัญชี การเงิน
และจัดการเงินเดือนได้ครบวงจร

เริ่มต้นเพียง 1,200 บาท/เดือน

รู้จัก PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ ใน 3 นาที

PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน VDO

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ PEAK Payroll

เมื่อใช้โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) เพื่อสร้างข้อมูลเงินเดือน และการชำระเงินเดือน คุณไม่จำเป็นต้องทำการบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกครั้ง เนื่องจากระบบจะทำการบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติในรูปแบบของเอกสารบันทึกรายจ่าย EXP ซึ่งโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จะช่วยประหยัดเวลาและลดความผิดพลาดในกระบวนการบัญชีของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการคำนวนยอดการจ่ายประกันสังคม โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถตั้งค่าคำนวนได้แบบทั้งกิจการและลงลึกได้ทั้งแบบรายพนักงานในบริษัท

ซึ่งการตั้งค่าประกันสังคมสามารถตั้งค่าได้ทั้งฝั่งอัตราเงินสมทบส่วนของนายจ้าง และ อัตราเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพื่อให้การจ่ายประกันสังคมในแต่ละเดือนเป็นเรื่องง่ายและสะดวกต่อการทำงาน

และที่เป็นจุดเด่นโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถสร้างไฟล์ประกันสังคมเพื่อนำไปอัปโหลดบนเว็บไซต์ประกันสังคม เพื่อทำจ่ายประกันสังคมได้ด้วย

อ่าน สำหรับวิธีการใช้งานฟังก์ชันเกี่ยวกับประกันสังคม เพิ่มเติมที่นี่
อ่าน วิธีการสร้างไฟล์ประกันสังคมเพื่อนำไปจ่ายบนเว็บไซต์ประกันสังคม เพิ่มเติมที่นี่

สามารถทำได้ โดยจะออกสลิปเงินเดือนและสามารถกดส่งสลิปเงินเดือนทาง Email ให้กับพนักงานในบริษัทได้เมื่อมีการบันทึกจ่ายเงินเดือน บนโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll)

อ่าน คู่มือการออกสลิปเงินเดือน เพิ่มเติมนี่ที่
อ่าน คู่มือการส่งสลิปเงินเดือนทาง Email เพิ่มเติมที่นี่

สามารถทำได้ซึ่งบนโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) สามารถสร้างได้ทั้งแบบภาษีรายเดือนและรายปี

โดยแยกเป็น 2 ประเภทดังนี้

  1. ภ.ง.ด 1 เมื่อมีการบันทึกจ่ายเงินเดือน PAY โปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จะสร้างไฟล์ให้อัตโนมัติสำหรับการใช้โอนย้ายบน RD Prep และนำส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากรได้
  2. ภ.ง.ด 1ก เมื่อมีการสร้างสรุปจ่ายเงินเดือนประจำปีใน ระบบโปรแกรมเงินเดือน (PEAK Payroll) จึงดึงข้อมูลจากการจ่ายเงินเดือนในแต่เดือนของปีนั้นๆมารวมคำนวนเงินได้ และคิดภาษีรวมทั้งปีให้ ซึ่งง่ายต่อการนำการนำข้อมูลไปยื่นภาษีต่อ

ผลิตภัณฑ์ของ PEAK

PEAK Account
โปรแกรมบัญชีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Payroll
โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Board
โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Asset
โปรแกรมบริหารจัดการสินทรัพย์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

PEAK Tax
โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

Line @PEAKConnect
ใช้งานโปรแกรมผ่านไลน์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

บทความน่ารู้

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

จักรพงษ์

7

min

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

เคยสงสัยกันไหมว่า ธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยกี่บาท จึงจะปลอดภัย? คำว่า ‘ปลอดภัย’ ในที่นี้ หมายถึง มีเงินเพียงต่อการซื้อของมาสต๊อกเพื่อขาย เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า รวมถึง เงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเรามีเงินเยอะมากๆ เราจะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องว่าธุรกิจจะขาดสภาพคล่องไหม จะมีเงินจ่ายเจ้าหนี้ไหม แต่ในความเป็นจริงธุรกิจส่วนใหญ่หาเงินมาหมุนในธุรกิจได้ยากและไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรรู้ว่าควรมีเงินหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจขั้นต่ำกี่เดือนจึงจะปลอดภัย ธุรกิจควรถือเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน นักธุรกิจหลายๆคน เชื่อกันว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน การมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้ในกรณีที่มีปัญหาขาดรายได้ รายได้เข้ามาน้อยลงหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า ควรสำรองเงินไว้ 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่ ทำไมไม่บอกให้ชัดๆ ไปเลย นั่นก็เพราะแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน เงินสดสำรองที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย การคำนวณเงินสำรองขั้นต่ำ ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าธุรกิจควรมีเงินสำรองขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่คำถามถัดไปคือ แล้วต้องคำนวณอย่างไร? คิดเป็นมูลค่าตัวเงินคือกี่บาท? เรามาหาคำตอบกันต่อได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกำหนดว่าธุรกิจที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้มีความเสี่ยงต่ำจึงสำรองเงินขั้นต่ำที่ 3 เดือน หรือ 90 วันเท่านั้น วิธีคิดก็คือ เราต้องหาว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยวันละกี่บาท (ค่าใช้จ่ายทั้งเดือน/30วัน) จากนั้น จากนั้นให้นำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90วัน (3เดือน) เราก็จะได้จำนวนที่ควรสำรองขั้นต่ำ 3 เดือนทันที (ค่าใช้จ่ายต่อเดือน/30) x 90 วัน ตัวอย่างการคำนวณเงินสำรองขั้นต่ำ บริษัท A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ 30,000 บาท หาร 30 วัน จะได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันที่ 1,000 บาท เมื่อต้องสำรองที่ 3 เดือน จึงนำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน แปลว่าต้องสำรองเงินขั้นต่ำสำหรับ 3 เดือนอยู่ที่ 90,000 บาทนั่นเอง (30,000/30) x 90 วัน = 90,000 บาท ธุรกิจควรสำรองเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งคำนวณง่ายๆ โดยนำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งถ้าใครอยากปลอดภัยมากกว่าก็เปลี่ยนจำนวนวันที่สำรองจาก 90 วัน ไปเป็น 180 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม การสำรองเงินที่เหมาะสมควรพิจารณาตามลักษณะและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ และควรวางแผนการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายของธุรกิจนั้น ๆ สำหรับในตอนถัดไป เราจะไปดูภาพรวมในการวางแผนการรับ-จ่ายเงินอย่างมีแบบแผนมากขึ้นผ่านการจัดทำ “งบประมาณ หรือ Budget” แบบง่ายๆ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการควบคุมการใช้จ่ายเงินในธุรกิจให้ตรงตามเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

ความรู้ธุรกิจความรู้บัญชี

ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง

PEAK Account

9

min

ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง

การขายออนไลน์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในยุคดิจิทัล ธุรกิจหลายประเภทสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็วผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างไรก็ตามหากการดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ “การตลาดแบบตรง” (Direct Marketing) กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ประกอบการบางรายต้องดำเนินการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อป้องกันความเสียหายต่อผู้บริโภคและส่งเสริมความโปร่งใสในธุรกิจ การตลาดแบบตรงคืออะไร “ตลาดแบบตรง” หมายความว่า การทําตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูล เพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่างโดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้นที่มา: พูดง่ายๆก็คือ การเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงถึงผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์, อีเมล, ข้อความ SMS, หรือการโฆษณาทางสื่อออนไลน์ที่กระตุ้นให้ผู้บริโภคตอบสนองทันที โดยไม่ผ่านหน้าร้านค้าหรือช่องทางตัวแทนจำหน่าย หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. สำหรับธุรกิจที่เข้าข่ายการตลาดแบบตรง การจดทะเบียนกับ สคบ. ถือเป็นข้อบังคับที่สำคัญ โดยมีข้อกำหนดดังนี้ อย่างไรก็ตาม บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะทำการตลาดแบบตรง จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มิฉะนั้น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่ ขายออนไลน์แบบไหนต้องจดทะเบียนการตลาดแบบตรง ธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นการขึ้นทะเบียนการตลาดแบบตรง การจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ สคบ. ไม่เพียงแต่เป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจในสายตาผู้บริโภคอีกด้วย  การขายออนไลน์ในรูปแบบการตลาดแบบตรงมีโอกาสสูงในการสร้างรายได้ แต่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงหากร้านค้าออนไลน์ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืน การทำบัญชีที่ถูกต้องและเป็นระบบคือกุญแจสำคัญในการบริหารร้านค้าออนไลน์ การเลือกใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการบัญชีได้ง่ายดายเพียงแค่การเชื่อมต่อ API ให้บันทึกข้อมูลบัญชี สร้างเอกสารอัตโนมัติ ครบถ้วนทุกรายการขาย เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนในการทำงาน  เพื่อให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างราบรื่นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย

ความรู้ธุรกิจ

PEAK Account

7

min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 13/11/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1.  เพิ่มฟังก์ชันในการบันทึกรับ/จ่ายชำระเงิน เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการบันทึกรายการรับ/จ่ายเงิน 1.1 เพิ่มการเลือกผังบัญชีย่อยในการรับ/จ่ายชำระเงิน 📢 สำหรับกิจการที่ต้องการความละเอียดในการปรับปรุงบัญชี สามารถบันทึกรายการโดยเลือกผังบัญชีย่อยได้โดยตรงจากหน้าบันทึกรับ/จ่ายชำระเงิน กรณีผังบัญชีที่เลือกสามารถระบุบัญชีย่อยได้ เช่น ลูกหนี้อื่น เจ้าหนี้อื่น ทำให้การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันสามารถแยกเข้าไปยังผังบัญชีย่อยได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ลดขั้นตอนการปรับปรุงบัญชีและเพิ่มความสะดวกในการทำงาน 1.2 เพิ่มการแก้ไขจำนวนเงิน ผังบัญชีและบัญชีย่อย 📢 สำหรับกิจการที่ต้องการความสะดวกในการแก้ไขรายการรับ-จ่ายเงิน เมื่อบันทึกรับ/จ่ายชำระเงินที่เอกสารแล้ว สามารถแก้ไขจำนวนเงิน เพิ่มหรือลบรายการรับ/จ่ายชำระเงินได้อย่างสะดวก โดยการแก้ไขนั้นมูลค่าที่รับ/จ่ายชำระจะต้องเท่ากับมูลค่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถเลือกรายการที่ต้องการปรับปรุงที่หน้าการแก้ไขอย่างง่าย (Easy Edit) ได้ ช่วยให้แก้ไขข้อมูลมีความสะดวก ครบถ้วนและแม่นยำมากขึ้น หมายเหตุ: กรณีรับ/จ่ายชำระเงินด้วยเช็ค จะยังไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ✨ 2. เพิ่มการเลือกการแสดงข้อมูลในรายงานเอกสารฝั่งรายรับและรายจ่าย เพื่อทำให้ปรับรูปแบบการแสดงข้อมูลในรายงานได้ตามต้องการ 📢สำหรับกิจการที่ต้องการพิมพ์รายงานเอกสารรายรับ/รายจ่าย ผู้ใช้งานสามารถปรับรูปแบบรายงานและเลือกการแสดงข้อมูลในรายงานได้ตามต้องการ ทำให้เห็นรายละเอียดได้ครบถ้วนมากขึ้น เช่น สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน ช่องทางการรับ/จ่ายเงิน แสดงข้อมูลคนสร้างและคนอนุมัติเอกสาร กลุ่มจัดประเภท การหักมัดจำ เป็นต้น เพื่อให้รายงานที่ได้รับตอบโจทย์ข้อมูลที่ต้องการใช้ ✨ 3. ปรับช่องการลงทะเบียนใบกำกับภาษีและการระบุวันที่ที่ต้องการปรับปรุงรายการภาษี เพื่อเพิ่มความสะดวกในการกรอกข้อมูลและติดตามการบันทึกภาษี 📢 สำหรับกิจการที่ต้องการลงทะเบียนใบกำกับภาษี ระบบปรับช่องทางการลงทะเบียนใบกำกับภาษี ดังนี้ นอกจากนี้หากสร้างเอกสารโดยยังไม่ได้ระบุใบกำกับภาษี ระบบจะทำการแจ้งเตือนให้หน้าเอกสารอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้การบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น ตัวอย่างหน้าข้อมูลใบกำกับภาษี ตัวอย่างการแจ้งเตือน กรณีสร้างเอกสารโดยยังไม่ระบุใบกำกับภาษี ✨ 4. เพิ่มการแสดง “เลขที่ใบกำกับภาษี” ในหน้าเอกสารใบรวมจ่าย (Online View) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูล 📢สำหรับกิจการที่ใช้แพ็กเกจ Pro และ PRO Plus หากต้องการดูรายละเอียดเลขที่ใบกำกับภาษีในใบรวมจ่ายผ่านหน้าเอกสาร (Online View) ผู้ใช้สามารถเลือกให้แสดงหรือซ่อนเลขที่ใบกำกับภาษีในใบรวมจ่ายได้ตามความต้องการ เพื่อช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลใบกำกับภาษีสะดวกยิ่งขึ้น ตัวอย่างการแสดงเลขที่ใบกำกับภาษีหน้าเอกสาร (Online View) ✨ 5. เพิ่มการดูประวัติการใช้งานแต่ละผู้ติดต่อ ช่วยให้การติดตามการแก้ไขข้อมูลสะดวกยิ่งขึ้น 📢สำหรับกิจการที่ต้องการดูประวัติการใช้งาน ระบบจะแสดงประวัติการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดต่อนั้นๆในหน้าผู้ติดต่อ เช่น การสร้างผู้ติดต่อ แก้ไข เปิด-ปิดการใช้งาน และการแนบไฟล์ต่างๆ ทั้งจากบนเว็บไซต์หรือการเชื่อมต่อ API ระบบจะแสดงประวัติการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดต่อนั้นให้ทั้งหมด ทั้งนี้สามารถดูย้อนหลังได้สูงสุด 5 ปี เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบสาเหตุการแก้ไขข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยคุณ Kamonthip บริษัท เซลสุกิ จำกัด

ฟังก์ชันใหม่แนะนำการใช้งาน

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

จักรพงษ์

7

min

ธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย

เคยสงสัยกันไหมว่า ธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยกี่บาท จึงจะปลอดภัย? คำว่า ‘ปลอดภัย’ ในที่นี้ หมายถึง มีเงินเพียงต่อการซื้อของมาสต๊อกเพื่อขาย เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดำเนินงาน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่า รวมถึง เงินเดือนพนักงานที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ถ้าเรามีเงินเยอะมากๆ เราจะไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องว่าธุรกิจจะขาดสภาพคล่องไหม จะมีเงินจ่ายเจ้าหนี้ไหม แต่ในความเป็นจริงธุรกิจส่วนใหญ่หาเงินมาหมุนในธุรกิจได้ยากและไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราควรรู้ว่าควรมีเงินหมุนเวียนอยู่ในธุรกิจขั้นต่ำกี่เดือนจึงจะปลอดภัย ธุรกิจควรถือเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน นักธุรกิจหลายๆคน เชื่อกันว่าธุรกิจควรมีเงินสดสำรองไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3-6 เดือน การมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เดือนจะช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้ในกรณีที่มีปัญหาขาดรายได้ รายได้เข้ามาน้อยลงหรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ หรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอื่น ๆ หลายคนอาจสงสัยต่อว่า ควรสำรองเงินไว้ 3 เดือน 4 เดือน 5 เดือน หรือ 6 เดือนกันแน่ ทำไมไม่บอกให้ชัดๆ ไปเลย นั่นก็เพราะแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายและความเสี่ยงไม่เหมือนกัน เงินสดสำรองที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย การคำนวณเงินสำรองขั้นต่ำ ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่าธุรกิจควรมีเงินสำรองขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน แต่คำถามถัดไปคือ แล้วต้องคำนวณอย่างไร? คิดเป็นมูลค่าตัวเงินคือกี่บาท? เรามาหาคำตอบกันต่อได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น ขอกำหนดว่าธุรกิจที่จะนำมาเป็นตัวอย่างนี้มีความเสี่ยงต่ำจึงสำรองเงินขั้นต่ำที่ 3 เดือน หรือ 90 วันเท่านั้น วิธีคิดก็คือ เราต้องหาว่าในแต่ละวันเรามีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยวันละกี่บาท (ค่าใช้จ่ายทั้งเดือน/30วัน) จากนั้น จากนั้นให้นำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90วัน (3เดือน) เราก็จะได้จำนวนที่ควรสำรองขั้นต่ำ 3 เดือนทันที (ค่าใช้จ่ายต่อเดือน/30) x 90 วัน ตัวอย่างการคำนวณเงินสำรองขั้นต่ำ บริษัท A มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่ 30,000 บาท หาร 30 วัน จะได้ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันที่ 1,000 บาท เมื่อต้องสำรองที่ 3 เดือน จึงนำค่าใช้จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน แปลว่าต้องสำรองเงินขั้นต่ำสำหรับ 3 เดือนอยู่ที่ 90,000 บาทนั่นเอง (30,000/30) x 90 วัน = 90,000 บาท ธุรกิจควรสำรองเงินขั้นต่ำอย่างน้อย 3-6 เดือน ซึ่งคำนวณง่ายๆ โดยนำค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่จ่ายต่อวันคูณด้วย 90 วัน (3 เดือน) ซึ่งถ้าใครอยากปลอดภัยมากกว่าก็เปลี่ยนจำนวนวันที่สำรองจาก 90 วัน ไปเป็น 180 วันหรือมากกว่านั้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม การสำรองเงินที่เหมาะสมควรพิจารณาตามลักษณะและความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ และควรวางแผนการบริหารจัดการเงินทุนให้เหมาะสมกับความเสี่ยงและเป้าหมายของธุรกิจนั้น ๆ สำหรับในตอนถัดไป เราจะไปดูภาพรวมในการวางแผนการรับ-จ่ายเงินอย่างมีแบบแผนมากขึ้นผ่านการจัดทำ “งบประมาณ หรือ Budget” แบบง่ายๆ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการควบคุมการใช้จ่ายเงินในธุรกิจให้ตรงตามเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

ความรู้ธุรกิจความรู้บัญชี