ธุรกิจทั่วไป

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

24 min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

KPI คืออะไร วิธีวัดผลและความสำคัญต่อองค์กร

Key Performance Indicators คือ เครื่องมือในการวัดผลธุรกิจที่ดีที่องค์กรนิยมใช้โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง เพราะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง KPI จะมีการวัดผลอย่างไร ทำไมสำคัญกับองค์กรไปดูกัน KPI หรือ Key Performance Indicators คืออะไร KPI หรือ Key Performance Indicators คือ เป็นวิธีวัดผลการทำธุรกิจในด้านต่าง ๆ ขององค์กร ด้วยการดูว่าผลตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ไหม ทำให้องค์กรสามารถติดตามความก้าวหน้า ประเมินประสิทธิภาพ และปรับปรุงการทำธุรกิจได้ดีมากขึ้น โดยแต่ละตัวอักษรมีความหมาย ดังนี้  ประเภทการวัดผล KPI การวัดผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและเป้าหมายที่ต้องการวัด โดยตัวชี้วัด KPI แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การวัดผลทางตรงและการวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางตรง การวัดผลทางตรงเป็นการประเมินผลงานที่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน ไม่ต้องตีความหรือแปลผล เช่น ยอดขาย จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ อัตราของเสีย หรือจำนวนลูกค้าใหม่ ข้อดีของการวัดผลแบบนี้คือเราสามารถตรวจสอบได้และมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน ทำให้การประเมินผลมีความโปร่งใส การวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางอ้อมเป็นการประเมินผลงานที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้โดยตรง ต้องอาศัยการสังเกต การประเมิน หรือการสำรวจความคิดเห็น เช่น การให้บริการ ความประทับใจของลูกค้า หรือการมีผู้นำ การวัดผลประเภทนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของผู้ประเมิน ความสำคัญต่อองค์กร KPI มีความสำคัญต่อองค์กรในหลายด้าน สามารถช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าในการทำงานของพนักงานและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังใช้ประเมินผลงานของพนักงาน การพิจารณาผลตอบแทน และการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมถึงช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร ใช้หลักการ SMART ในการตั้ง KPI หลักการ SMART เป็นแนวทางมาตรฐานในการกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ มาดูรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ ตัวอย่างการตั้ง KPI ในองค์กร การกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างมาตรฐานการวัดผลที่ตรงตามเป้าหมายขององค์กร มาดูตัวอย่างการตั้ง KPI ในแต่ละแผนก  ฝ่ายขายและการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายบุคคล ข้อควรระวังในการใช้ KPI การกำหนดและใช้ KPI (Key Performance Indicators) เป็นการวัดผลความสำเร็จขององค์กรหรือโครงการ แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง อาจเกิดการตีความที่ผิดพลาด หรือการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อการทำงานโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อให้การใช้ KPI สอดคล้องกับเป้าหมายที่แท้จริง และช่วยพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของการใช้ KPI ที่ดี KPI (Key Performance Indicators) เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าของการทำธุรกิจว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไหม การใช้ KPI ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยวัดผลสำเร็จ แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานพัฒนาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น การเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ KPI จะช่วยเพิ่มโอกาสในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรในระยะยาว การใช้ KPI จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน แต่ต้องระวังความเหมาะสมและความเป็นกลางในการประเมินผล เพื่อคนในองค์กรอยากพัฒนาเปลี่ยนแปลงการทำงานจริง ๆ ซึ่ง Key Performance Indicators คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่สำหรับนายจ้าง

การจ้างงานพนักงานใหม่นั้นนายจ้างมีหน้าที่สำคัญในการดูแลสวัสดิการพื้นฐาน โดยเฉพาะการขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ แต่ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งนายจ้างต้องทำอะไรบ้างไปดูกัน  ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้พนักงาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นหน้าที่สำคัญที่นายจ้างต้องดำเนินการ ไม่เพียงเพราะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังส่งผลดีต่อทั้งองค์กรและพนักงาน มาดูเหตุผลสำคัญที่นายจ้างควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ กฎหมายกำหนด พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มจ้างงาน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท นอกจากนี้ ยังต้องจ่ายเงินสมทบย้อนหลังพร้อมเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย ซึ่งถ้าบริษัททำตามกฎหมายนี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น พนักงานได้ประโยชน์ทำให้อยู่กับบริษัทได้นาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนการขาดรายได้ สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกันชีวิตที่ดี ส่งผลให้เกิดความผูกพันกับองค์กรจึงมีโอกาสทำงานกับบริษัทได้ยาวนานขึ้น สร้างภาพลักษณ์ที่ดี องค์กรที่ดูแลสวัสดิการพนักงานอย่างดี โดยเฉพาะการจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะนายจ้างที่มีความรับผิดชอบ ช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพให้เข้ามาร่วมงาน และสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม การคำนวณเงินสมทบประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่คำนวณจากฐานค่าจ้าง โดยทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายในอัตราเท่ากันคือ 5% ของค่าจ้าง ซึ่งมีฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท และสูงสุด 15,000 บาท ต่อเดือน หากค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท และหากสูงกว่า 15,000 บาท ให้คำนวณจาก 15,000 บาท ตัวอย่าง กรณีพนักงานเข้าใหม่มีเงินเดือน 20,000 บาท การคำนวณจะใช้ฐานสูงสุดที่ 15,000 บาท เอกสารจำเป็นระหว่างการยื่นประกันสังคมออนไลน์ ในการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์ ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมและครบถ้วน เพื่อให้การยื่นประกันสังคมออนไลน์เร็วและไม่มีปัญหา โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้มี ดังนี้  ขั้นตอนการยื่นประกันสังคมพนักงานใหม่ การยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์มีขั้นตอนที่ชัดเจนและไม่ซับซ้อน แต่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด โดยมีขั้นตอนในการยื่น ดังนี้  การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กร นอกจากจะช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการใช้ระบบบริหารจัดการพนักงานที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้กระบวนการนี้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

อากรแสตมป์คืออะไร พร้อมรวมทุกเรื่องสำคัญที่ต้องรู้

อากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่จัดเก็บภาษีจากการทำตราสารหรือเอกสารต่าง ๆ ทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแสตมป์ทั่วไปที่ใช้ในการส่งจดหมาย แต่ในความเป็นจริงอากรแสตมป์มีความสำคัญในด้านกฎหมายและธุรกรรมทางการเงิน การเข้าใจว่าอากรแสตมป์ใช้ทำอะไรได้บ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจการเป็นของตัวเอง อากรแสตมป์ คืออะไร อากรแสตมป์ คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดเก็บในลักษณะของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับเอกสารราชการและสัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาซื้อขาย ใบมอบอำนาจ โดยอากรบนเอกสารเหล่านี้เป็นการแสดงว่าภาษีได้ถูกชำระเรียบร้อยแล้ว และเอกสารนั้นได้รับการรับรองตามกฎหมาย สามารถช่วยป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แถมยังช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารทางกฎหมายอีกด้วย อากรแสตมป์ ไม่ใช่แสตมป์ปกติ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าอากรแสตมป์เป็นแสตมป์ที่ใช้ในการส่งจดหมายหรือไปรษณีย์ แต่ความจริงแล้วอากรแสตมป์กับแสตมป์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยแสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร มีลักษณะเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยม โดยจะนำไปใช้ติดบนซองจดหมายเพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าได้ชำระค่าบริการส่งไปรษณีย์แล้ว ซึ่งจะมีแสตมป์ทั่วไปกับแสตมป์ที่ระลึกที่มีการออกแบบเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เป็นต้น รูปแบบของอากรแสตมป์ เอกสารที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง การทำตราสารหรือเอกสารบางประเภทในประเทศไทยต้องมีการประทับตราอากรแสตมป์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารที่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาจำนอง สัญญาร่วมลงทุน สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ สัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และเอกสารอื่น ๆ ที่มีผลทางกฎหมาย  วิธีการเสียค่าอากรแสตมป์ ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์ สรุปบทความ อากรแสตมป์เป็นส่วนสำคัญในการทำตราสารและเอกสารทางกฎหมายในประเทศไทย ความเข้าใจในเรื่องอากรแสตมป์และการใช้แสตมป์อากรอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินหรือจัดการกับเอกสารสำคัญ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจมือใหม่ที่ต้องเรียนรู้เรื่องบัญชี การเงิน และภาษีเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเหล่านักลงทุน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

สินเชื่อ OD คืออะไร เรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการ SME ต้องรู้

สินเชื่อ OD คือ สินเชื่อประเภทหนึ่งที่ธนาคารให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SME เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงิน หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ “เงินหมุน” โดยเฉพาะในช่วงที่ธุรกิจต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน แต่ไม่ต้องการกู้ยืมเงินเป็นเงินก้อนใหญ่ สินเชื่อ OD คือ สินเชื่อที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากเกินกว่ายอดเงินที่มีอยู่ ได้ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่เบิกเกิน ซึ่งทำให้สินเชื่อ OD คือตัวเลือกที่ยืดหยุ่นและเหมาะสมสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนสำหรับหมุนเวียนในระยะสั้น สินเชื่อ OD (Overdraft) คืออะไร? สินเชื่อ OD หรือ เงิน OD คือ การให้กู้เงินในรูปแบบของ “เงินหมุน” โดยที่ธนาคารผู้ให้กู้นั้นจะตั้งวงเงินไว้ในบัญชีกระแสรายวัน (Current Account) ที่บริษัทได้เปิดไว้กับธนาคารตั้งแต่ต้น โดยสามารถเบิกใช้เงินกู้นี้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งเอาไว้กับธนาคารได้เลย ทั้งยังสามารถทยอยเบิกใช้ในยามที่จำเป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องเบิกภายในครั้งเดียวทั้งจำนวน แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่เบิกใช้เกินวงเงินที่ทางธนาคารกำหนดไว้ ซึ่งเงื่อนไขการผ่อนชำระนั้นจะเป็นไปที่กำหนดเอาไว้ในสัญญาสินเชื่อ มีการคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวัน ตามจำนวนที่ไปใช้จริงทุกสิ้นเดือน สินเชื่อ OD แตกต่างกับสินเชื่อเงินก้อน Loan อย่างไร สินเชื่อ OD คือ เงินที่กู้มาใช้ในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อนำเงินมาหมุนในกรณีฉุกเฉินหมุนเงินไม่ทัน โดยจะเสียดอกเบี้ยเฉพาะวงเงินที่ใช้ ซึ่งจะแตกต่างกับสินเชื่อเงินก้อน (Loan) อย่างชัดเจน เนื่องจากสินเชื่อเงินก้อน (Loan) จะได้รับมาเป็นเงินก้อนเพื่อนำไปใช้ขยายกิจการหรือลงทุนระยะยาวตามแจ้งไว้กับธนาคาร โดยจะเสียดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกและผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน  ข้อดีของสินเชื่อ OD คืออะไร สินเชื่อ OD มีข้อดีมากมายทำให้ได้รับความนิยมมาก ๆ ในธุรกิจ SME เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการเบิกถอนเงินจากบัญชีตามความต้องการได้ทันที ดอกเบี้ยที่จ่ายตามการใช้งานจริง ธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะในส่วนที่เบิกเกินเท่านั้น ช่วยเสริมสภาพคล่องในระยะสั้นทำให้ธุรกิจสามารถรับมือกับการขาดแคลนเงินสดหรือการชำระค่าใช้จ่ายฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที โดยผู้ประกอบการจะเบิกเงินได้ทันทีหลังได้รับการอนุมัติ โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติใหม่อีกทุกครั้ง สินเชื่อ OD เหมาะสำหรับใคร สินเชื่อ OD เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีความต้องการเสริมสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการหมุนเวียนเงินสดสูง เช่น ธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง หรือธุรกิจที่ต้องการเงินสดเพื่อซื้อวัตถุดิบหรือชำระค่าใช้จ่ายในทันที สินเชื่อ OD ยังเหมาะกับธุรกิจที่มีรายรับไม่แน่นอนหรือมีรอบการชำระเงินยืดเยื้อ เนื่องจากสามารถใช้วงเงิน OD เพื่อรับมือกับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินได้ทันที นอกจากนี้ ธุรกิจที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจัดการสภาพคล่อง และไม่ต้องการภาระดอกเบี้ยสูงเมื่อไม่ได้ใช้เงินเต็มวงเงิน จะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากสินเชื่อ OD นี้ด้วย ข้อควรรู้ก่อนกู้สินเชื่อ OD คืออะไร แม้สินเชื่อ OD จะมีข้อดีที่น่าสนใจอย่างไร แต่สินเชื่อ OD ก็มีข้อควรระวังให้เราต้องพิจารณาก่อนการตัดสินใจกู้สินเชื่อ OD ด้วยเช่นกัน ดังนี้ สินเชื่อ OD คือ เงินกู้ประเภทที่มีความยืดหยุ่นสูง เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะกับผู้ประกอบการ SME ที่ต้องการเสริมสภาพคล่องในระยะสั้น การเข้าใจข้อดีและข้อควรระวังก่อนทำการตัดสินใจขอสินเชื่อ OD จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบและไม่กระทบกับการดำเนินธุรกิจ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

รหัส Swift code คืออะไร รวมรหัส Swift code จากทุกธนาคาร

รหัส SWIFT CODE เป็นหนึ่งในรหัสที่สำคัญที่สุดในโลกการเงินยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เพราะเมื่อเวลาที่คุณต้องการโอนเงินไปยังประเทศอื่น คุณจำเป็นต้องใช้รหัสนี้เพื่อให้แน่ใจว่าเงินจะส่งถึงปลายทางถูกต้องและรวดเร็ว บทความนี้จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจกับรหัส SWIFT CODE พร้อมกับให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรหัสที่ใช้ในแต่ละธนาคารในประเทศไทย เพื่อให้คุณสามารถใช้ SWIFT CODE ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากที่สุด รหัส SWIFT CODE คืออะไร? รหัส SWIFT CODEหรือ รหัส BIC (Business Identifier Code) คือ รหัสประจำตัวที่ใช้เจาะจงธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลก ทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ซึ่งรหัสนี้จะประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขจำนวน 8-11 ตัว โดยรหัสแต่ละตัวก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันไป รวมรหัส SWIFT CODE จากทุกธนาคาร ในประเทศไทย ธนาคารแต่ละแห่งจะมีรหัส SWIFT CODE เฉพาะตัว สำหรับใช้ในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของรหัสของแต่ละธนาคารจะมีดังนี้  รหัสธนาคารกรุงเทพ รหัสธนาคารกสิกรไทย รหัสธนาคารไทยพาณิชย์  รหัสธนาคารกรุงไทย รหัสธนาคารทหารไทยธนชาต  รหัสธนาคารกรุงศรีอยุธยา  รหัสธนาคารเกียรตินาคินภัทร รหัสธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  รหัสธนาคารยูโอบี รหัสธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย รหัสธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ รหัสธนาคารไอซีบีซี รหัสธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ รหัสธนาคารออมสิน รหัสธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย รหัสธนาคารซิตี้แบงค์ SWIFT CODE เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการโอนเงินระหว่างประเทศ เพราะเป็นรหัสที่เอาไว้ใช้ระบุว่าการโอนเงินนั้นเป็นของธนาคารใด และด้วยระบบความปลอดภัยที่สูง อีกทั้งมีความแม่นยำ รวมถึงการที่สามารถตรวจสอบได้ทำให้ SWIFT CODE เป็นระบบที่ธนาคารทั่วโลกไว้วางใจ สำหรับข้อมูลในด้านอื่น ๆ คุณสามารถค้นหาจากเว็บไซต์ของธนาคารที่คุณใช้งานโดยตรงได้เลย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

10 min

รู้จัก Payment Gateway คืออะไร มีกี่รูปแบบ มีประโยชน์ยังไงบ้าง

การทำธุรกรรมออนไลน์เกิดขึ้นได้ในทุกวินาที และ Payment Gateway ก็ได้กลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างสะดวกราบรื่น ซึ่งการมีระบบ Payment Gateway ที่ดีนั้นจะทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจและสะดวกสบายในการซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ของคุณ และนอกจากนี้ Payment Gateway ไม่เพียงแต่จะเป็นสื่อกลางที่ใช้ในการรับชำระเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ และป้องกันการฉ้อโกงได้อีกด้วย Payment Gateway คืออะไร? Payment Gateway คือ ช่องทางการชำระเงิน เปรียบดั่งเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างร้านค้าออนไลน์ของคุณกับลูกค้าที่ต้องการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ เช่น PayPal TrueMoney Wallet เป็นต้น Payment Gateway มีกี่รูปแบบ Payment Gateway มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้ Payment Gateway ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้เราทำธุรกิจได้ราบรื่นมากขึ้น โดยจำแนกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ Payment Gateway แบบ Bank Payment Gateway แบบธนาคาร หรือที่เรียกกันว่า Payment Gateway ของธนาคารนั้นเป็นระบบการชำระเงินที่พัฒนาโดยธนาคารเอง มีจุดเด่นคือคุณสามารถเชื่อมต่อได้โดยตรงกับระบบของธนาคาร ทำให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การโอนเงิน การตรวจสอบยอดเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยสูงมาก Payment Gateway แบบ Non-Bank Payment Gateway แบบ Non-Bank หรือ ระบบการชำระเงินออนไลน์ผ่านตัวกลางที่ไม่ใช่ธนาคาร เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับธุรกิจออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมาก ๆ  ในปัจจุบัน โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูง สมัครใช้งานง่าย และมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าธนาคาร Payment Gateway แบบ Bank มีอะไรบ้าง Payment Gateway แบบธนาคาร หรือ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ของธนาคาร เป็นบริการที่ธนาคารต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับธุรกิจในการชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารได้โดยตรง ซึ่งมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมเป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนของธนาคารต่าง ๆ นั้นจะมีดังนี้ Merchant iPay ธนาคารกรุงเทพ Merchant iPay คือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยธนาคารกรุงเทพ เพื่อให้ธุรกิจมีช่องทางการรับชำระเงินจากลูกค้าแบบสะดวกมากขึ้น โดยสามารถชำระผ่านเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และโซเชียลมีเดีย ทำให้ธุรกิจมีโอกาสดันยอดขายจากการขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น K Payment Gateway ธนาคารกสิกรไทย K Payment Gateway คือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ที่พัฒนาโดยธนาคารกสิกรไทย มีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งตามมาตรฐานสากล แถมยังปกป้องข้อมูลลูกค้าและธุรกรรมทางการเงินได้ โดยสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และ QR Code ได้เลย ทั้ง Thai QR และ QR Code ของ e-Wallet ชื่อดัง เช่น Alipay WeChat Pay และช่องทางอื่น ๆ อีกด้วย Krungsri Biz Payment Gateway ธนาคารกรุงศรี Krungsri Biz Payment Gateway หรือ บริการรับชำระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิต ของธนาคารกรุงศรี สามารถสร้างลิงก์ชำระเงินได้เองผ่านระบบ รวมถึงกำหนดจำนวนเงิน วันเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการใช้งานลิงก์ด้วยตัวเองได้ อีกทั้ง ยังสามารถชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารโดยตรง เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ขายและผู้ซื้อได้ Payment gateway แบบ Non-Bank มีอะไรบ้าง  Payment Gateway แบบ Non-Bank เป็นระบบการชำระเงินที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่น จึงได้รับความสนใจจากหลายธุรกิจ แต่การที่จะตัดสินใจเลือกใช้ Payment Gateway แบบ Non-Bank ในแบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปจะมีให้เลือกดังนี้ Paypal PayPal เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ที่รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต เดบิต และ e-Wallet ต่าง ๆ ใช้งานได้ง่าย และมีระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง จึงทำให้ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก GB PrimePay GB Prime Pay เป็นระบบการชำระเงินออนไลน์ของไทยที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ใช้งานได้กับธุรกิจทุกรูปแบบทั้งการวางขายสินค้าบนเว็บไวต์ หรือการขายผ่านโซเชียลมิเดีย แถมรองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตทุกประเภท Omise Omise Payment Gateway คือ ระบบรับชำระเงินออนไลน์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในธุรกิจอีคอมเมิร์ซขนาดเล็กและขนาดกลาง ทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิต, e-Wallet ต่าง ๆ เช่น Alipay WeChat Pay และยังสามารถเชื่อมต่อกับช่องทางการชำระเงินอื่น ๆ ได้อีกมากมาย 2C2P 2C2P Payment Gateway คือ เป็นบริษัทรับชำระเงินออนไลน์ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ ให้บริการเกตเวย์การชำระเงินแก่ธุรกิจเป็นหลัก ชำระเงินได้หลากหลายช่องทาง มีระบบรักษาความปลอดภัยในการโจรกกรมข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าที่แข็งแกร่ง Pay Solution Pay Solution Payment gateway คือ บริษัทที่ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย มีช่องทางรองรับการชำระเงินที่หลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต e-Wallet โอนเงินผ่านธนาคาร และการชำระเงินแบบ QR Code นอกจากนี้ก็ยังมีบริการอื่น ๆ เช่น การสร้างใบเสร็จ การติดตามยอดขาย และการเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ อีกด้วย Beam Beam Payment Gateway คือผู้ให้บริการระบบรับชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทย รองรับช่องทางชำระเงินหลากหลาย เช่น บัตรเครดิต เดบิต QR พร้อมเพย์ โมบายแบงก์กิ้ง และ e-Wallet พร้อมระบบจัดการหลังบ้าน Beam Lighthouse ช่วยให้ร้านค้าสามารถติดตามและจัดการธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการยืนยันการชำระเงินแบบเรียลไทม์ และการป้องกันการปลอมแปลงสลิปอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายออนไลน์ของธุรกิจคอย่างครบวงจร Payment Gateway คือ กุญแจสำคัญ ในการอำนวยความสะดวกให้ผู้ขายและผู้ซื้อทำธุรกรรมออนไลน์ง่ายขึ้นทั้งนี้การที่จะตัดสินใจเลือกใช้ Payment Gateway รูปแบบไหนนั้น จำเป็นต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณร่วมด้วย เพราะจะเป็นการช่วยเสริมความมั่นใจให้กับลูกค้า และทำให้ธุรกิจออนไลน์ของคุณเติบโตได้ดีและมั่นคงมากยิ่งขึ้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีระบบ Payment Gateway ที่ช่วยเชื่อมโยงการรับชำระเงินออนไลน์ให้กับธุรกิจของคุณอย่างง่ายดายและปลอดภัย คุณสามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการชำระเงินทั้งรูปแบบบัตรเครดิตและบัตรเดบิตได้ในระบบเดียว ทำให้กระบวนการชำระเงินสะดวกสบายทั้งสำหรับคุณและลูกค้า ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

17 min

กิจการเจ้าของคนเดียวคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง

กิจการเจ้าของคนเดียว คือ ธุรกิจที่มีเจ้าของในการตัดสินใจและบริหารธุรกิจเพียงคนเดียว ซึ่งต้องรับผิดชอบทุกเรื่องของธุรกิจ ทั้งด้านการเงิน การบริหาร การตลาด หรือการพัฒนาธุรกิจก็ตาม ซึ่งเป็นรูปแบบธุรกิจที่พบได้มากในกลุ่มผู้ที่เริ่มต้นดำเนินธุรกิจใหม่ หรือผู้ที่ต้องการทำธุรกิจขนาดเล็ก เพราะสามารถควบคุมได้โดยง่าย ทั้งนี้ในปัจจุบันกิจการประเภทนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากใน แต่กิจการรูปแบบนี้ก็มีความท้าทายที่ต้องเผชิญอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน เราจึงจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจการเจ้าของคนเดียวว่าคืออะไร วิธีการจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียว และกิจการเจ้าของคนเดียวข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง ไปดูกัน  กิจการเจ้าของคนเดียวคืออะไร? กิจการเจ้าของคนเดียว คือ ธุรกิจที่ดำเนินการโดยบุคคลธรรมดาเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นทั้งผู้บริหารและเจ้าของกิจการ ซึ่งคนคนเดียวนี้จะเป็นผู้ที่ต้องตัดสินใจทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ โดยจะต้องรับผิดชอบปัญหาหรือหนี้สินทั้งหมดของธุรกิจที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย ซึ่งการดำเนินธุรกิจแบบนี้เป็นรูปแบบที่ทำได้ง่ายและค่อนข้างที่นิยมในหมู่ผู้ประกอบการรายย่อยอย่างมาก กิจการเจ้าของคนเดียว ข้อดีข้อเสียมีอะไรบ้าง? กิจการเจ้าของคนเดียว หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าธุรกิจบุคคลธรรมดานั้น เป็นรูปแบบธุรกิจที่เริ่มต้นง่ายที่สุด โดยมีคุณเป็นทั้งเจ้าของและผู้บริหารกิจการเพียงคนเดียว ไม่ต้องมีหุ้นส่วนหรือจดทะเบียนบริษัทใด ๆ ทั้งสิ้น ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจสะดวกในการตัดสินใจหรือวางแผนธุรกิจได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้การทำกิจการเจ้าของคนเดียวก็มีข้อดีและข้อเสียอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ที่กำลังเริ่มต้นควรพิจารณาทุกด้านให้รอบคอบดังนี้ ข้อดีของกิจการเจ้าของคนเดียว กิจการเจ้าของคนเดียวนั้นมีข้อดีหลายประการที่ทำให้เป็นรูปแบบธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ซึ่งในส่วนของข้อดีมีดังนี้ ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว ถึงแม้กิจการเจ้าของคนเดียวจะมีข้อดีตามข้างต้น แต่ก็มีข้อเสียที่ต้องพิจารณาเพื่อตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจเช่นกัน สำหรับข้อเสียที่กิจการเจ้าของคนเดียวควรรู้มีดังนี้ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการเป็นเจ้าของคนเดียวกับการเป็นผู้ประกอบการ แม้ว่าคำว่า “เจ้าของคนเดียว” และ “ผู้ประกอบการ” อาจมีการใช้สลับกันอยู่เป็นประจำ แต่ความหมายของสองคำนี้แตกต่างกันและบ่งบอกถึงความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ดังนี้ การดำเนินธุรกิจ 1. ขอบเขตความรับผิดชอบ 2. ทัศนคติต่อธุรกิจ 3. การใช้ทรัพยากร 4. ความเสี่ยง 5. การเติบโต จุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายของเจ้าของคนเดียว จุดมุ่งหมายของผู้ประกอบการ การตัดสินใจ เจ้าของคนเดียว ผู้ประกอบการ ความเสี่ยงทางการเงิน เจ้าของคนเดียว ผู้ประกอบการ อาชีพอิสระนับว่าเป็นการทำกิจการเจ้าของคนเดียวไหม? การที่จะนับอาชีพอิสระว่าเป็นกิจการเจ้าของคนเดียวหรือไม่ จะพิจารณาจากลักษณะและขอบเขตของงานที่ทำเป็นหลัก เพราะอาชีพอิสระบางประเภทอาจไม่ถือว่าเป็นกิจการเจ้าของคนเดียว เช่น พนักงานบริษัทที่รับงานนอกเวลา หรือผู้ที่ทำกิจกรรมอดิเรกแล้วนำไปขายเป็นรายได้เสริม เป็นต้น แต่ถ้าหากอาชีพอิสระของคุณมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธุรกิจทั่วไป เช่น มีลูกค้า มีรายรับรายจ่าย และต้องเสียภาษี คุณก็สามารถถือว่าตัวเองเป็นเจ้าของธุรกิจได้เช่นกัน กิจการเจ้าของคนเดียวมีข้อดีมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจที่รวดเร็วและมีความยืดหยุ่น แต่ก็มีเรื่องให้ที่ต้องระมัดระวังอยู่ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องของภาระหนี้สินและความเสี่ยงทางการเงิน หากคุณต้องการเริ่มต้นกิจการเจ้าของคนเดียว สิ่งสำคัญที่ควรมีก็คือการมีแผนธุรกิจที่ชัดเจน รู้จักบริหารความเสี่ยง ปรับตัวได้ทันตามการเปลี่ยนแปลง และพร้อมพัฒนาความรู้และข้อผิดพลาดเสมอ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตและมีความมั่นคงในอนาคตได้อย่างยั่งยืน PEAK โปรแกรงบัญชีออนไลน์ ช่วยจัดการบัญชีให้กิจการเจ้าของคนเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบบัญชีออนไลน์ที่ใช้งานง่ายและครบวงจร คุณสามารถติดตามรายรับ-รายจ่าย บริหารเงินสด และดูรายงานทางการเงินได้แบบเรียลไทม์ ช่วยให้คุณวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ ระบบ PEAK ยังรองรับการยื่นภาษีอัตโนมัติ ลดภาระงานเอกสารและข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ด้วย PEAK คุณจะมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาธุรกิจ และสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างกลยุทธ์เพื่อความเติบโตได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

เข้าใจเงินเกษียณอายุคืออะไร พร้อมวิธีคิดเงินเกษียณ 400 วัน

การวางแผนเกษียณเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่มนุษย์ทำงานทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าหากคุณเริ่มวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถจัดการกับรายได้และรายจ่ายหลังเกษียณได้ดีมากขึ้น ซึ่งหลายคนมักจะเริ่มต้นวางแผนตอนที่พวกเขารู้สึกว่าช่วงเวลาเกษียณกำลังใกล้เข้ามา แต่การเริ่มต้นวางแผนเก็บเงินเกษียณล่วงหน้าเป็นสิ่งสำคัญที่ควรรีบทำให้เร็วที่สุด เพราะชีวิตหลังเกษียณไม่ใช่แค่เรื่องของการหยุดทำงานเท่านั้น แต่คือการเริ่มต้นชีวิตในรูปแบบใหม่ที่คุณควรพร้อมด้วยความมั่นคงทางการเงิน และลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ก่อนดูวิธีคิดเงินเกษียณ 400 วัน รู้จักเงินเกษียณอายุคืออะไรก่อน  เงินเกษียณ คือ เงินที่คุณสะสมไว้ตลอดช่วงเวลาการทำงานเพื่อใช้ในวัยหลังเกษียณ ซึ่งเป็นวัยที่รายได้จากการทำงานลดลงหรือหมดไป ดังนั้น การมีเงินเกษียณอายุจึงจำเป็นในการใช้ชีวิตอย่างมาก เพื่อให้คุณสามารถดำเนินชีวิตในวัยหลังเกษียณจากการทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายและไม่ต้องหวังพึ่งพาผู้อื่นให้ลำบากใจ เงินเกษียณอายุกรณีบริษัทไม่มีการกำหนดอายุเกษียณ? เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าบริษัทคุณไม่มีการกำหนดอายุเกษียณที่ชัดเจน คุณก็สามารถเลือกที่จะเกษียณได้เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ โดยไม่จำเป็นต้องรอถึงอายุที่บริษัทกำหนด (ถ้ามี) เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เพราะตามกฎหมายแรงงานไทยกำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิที่จะขอเกษียณอายุ แม้ว่าบริษัทจะไม่มีการกำหนดอายุเกษียณไว้ก็ตาม แต่ยังจะได้รับสิ่งเหล่านี้เมื่อเกษียณอายุ  วิธีคิดเงินเกษียณ 400 วัน เงินเกษียณ 400 วัน จะได้รับเมื่อพนักงานทำงานครบ 20 ปีขึ้นไป โดยจะคำนวณจากเงินเดือนในเดือนสุดท้ายที่ทำงาน คูณด้วยจำนวน 400 วัน โดยคุณสามารถใช้สูตรพื้นฐานเช่น “ค่าใช้จ่ายต่อวัน x จำนวนวันที่ต้องการคำนวณ” เพื่อกำหนดเป้าหมายเงินเกษียณ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเผื่อค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่ารักษาพยาบาลที่อาจสูงขึ้น หรือค่าครองชีพที่ขึ้นตามเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เงินเกษียณ 400 วัน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเงินที่คุณจะได้รับเมื่อเกษียณ ซึ่งคุณอาจมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสวัสดิการอื่น ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้การคำนวณอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท หรือตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างงาน โดยเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิประโยชน์ขั้นต่ำที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ การมีแผนเกษียณที่ดีจะช่วยทำให้คุณสามารถวางแผนใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ มีความมั่นคง และไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเงินในอนาคต อีกทั้งการมีแผนที่ชัดเจนทำให้คุณสามารถเพลิดเพลินกับชีวิตหลังเกษียณได้อย่างเต็มที่โดยที่ไม่ต้องเป็นภาระให้กับผู้อื่น ดังนั้นการวางแผนเกษียณจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม ซึ่งการเตรียมตัวที่ดีโดยเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้จะช่วยนำพาคุณไปสู่ชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุข ความมั่นคง และความสงบในชีวิตช่วงหลังเกษียณอย่างแน่นอน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

18 ต.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME EP.2

ในการบริหารธุรกิจ SME อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดผลความสำเร็จด้วยตัวชี้วัด (KPI) ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถติดตามผลการดำเนินงานและพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จากบทความ 12 ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME (EP.1) ที่ช่วยให้เห็นภาพชัดเจนถึงสถานะและการเติบโตของธุรกิจขึ้น ใน EP.2 นี้ จะมานำเสนอตัวชี้วัดเพิ่มเติมอีก 7 ตัว ที่มีความสำคัญในการประเมินทั้งด้านการเงิน ประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตัววัดความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สำคัญ ดังนี้ 1. Churn Rate (อัตราการยกเลิกการใช้บริการ) อัตราการยกเลิกการใช้บริการ คือ เปอร์เซ็นต์ลูกค้าที่ยกเลิกการใช้บริการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยตัวชี้วัดนี้ช่วยวัดความพึงพอใจของลูกค้าและความสามารถในการรักษาลูกค้า อัตราการยกเลิกการใช้บริการที่มีค่าน้อยหมายถึงว่าอัตราการยกเลิกการใช้บริการต่ำ แสดงว่าลูกค้าพึงพอใจและมีแนวโน้มที่จะใช้บริการของธุรกิจต่อ Churn Rate = ((จำนวนลูกค้าที่สูญเสีย + จำนวนลูกค้าที่กลับมา) ÷ จำนวนลูกค้าทั้งหมด) -1 หน่วย : % 2. Cash Burn (การใช้เงินทุน) การใช้เงินทุน หมายถึงจำนวนเงินสดที่ธุรกิจใช้จ่ายในช่วงเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้คำนี้เมื่อพูดถึงธุรกิจที่กำลังเติบโตหรือสตาร์ทอัพที่ยังไม่มีกำไรและจำเป็นต้องใช้เงินทุนที่ได้รับมาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน คำว่า “Burn” หรือ “เผาผลาญ” สื่อถึงการใช้เงินทุนเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะถึงจุดที่สามารถทำกำไรได้ การใช้เงินทุนค่าน้อย แสดงว่า ธุรกิจใช้เงินน้อยหรือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดี การคำนวณ Cash Burn มักจะแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก Gross Burn = เงินสดคงเหลือในช่วงต้นเดือน − เงินสดคงเหลือในช่วงสิ้นเดือน ÷ จำนวนเดือน Net Burn = ค่าใช้จ่ายทั้งหมดต่อเดือน − รายรับทั้งหมดต่อเดือน หน่วย : บาท 3. Cash Out Date (วันหมดเงินสด) วันหมดเงินสด หมายถึง วันที่บริษัทคาดว่าจะใช้เงินสดทั้งหมดที่มีอยู่จนหมด โดยใช้การวิเคราะห์จากการใช้เงินทุนปัจจุบัน เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการจัดการกระแสเงินสดและการ วันหมดเงินสด ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อได้โดยไม่ต้องการเงินทุนเพิ่มเติมในทันทีพยากรณ์ทางการเงินสำหรับธุรกิจเริ่มต้น จำนวนวันที่เหลือก่อนหมดเงินสด = เงินสดคงเหลือ ÷ ค่าใช้จ่ายสุทธิต่อเดือน หน่วย : บาท 4. Runway (ระยะเวลาที่สามารถดำเนินธุรกิจได้) Runway หมายถึง ระยะเวลาที่ธุรกิจสามารถดำเนินการได้จนกว่าเงินสดจะหมด ซึ่งคำนวณจากจำนวนเงินสดคงเหลือที่ธุรกิจมีและอัตราการใช้เงินสดต่อเดือน (Burn Rate) เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการจัดการกระแสเงินสดของธุรกิจ โดยเฉพาะสำหรับสตาร์ทอัพหรือธุรกิจที่ยังไม่มีกำไร Runway ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ธุรกิจสามารถดำเนินการได้เป็นระยะเวลานานจนกว่าเงินสดจะหมด Runway = เงินสดคงเหลือ ÷ อัตราการใช้เงินสดต่อเดือน หน่วย : เดือน 5. Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) Operating Expenses (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของธุรกิจ เช่น ค่าเช่าสำนักงาน เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าน้ำ ค่าไฟ) โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานทั้งหมดของธุรกิจ 6. Budget Attainment (การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ) การบรรลุเป้าหมายงบประมาณหมายถึงเปอร์เซ็นต์ที่บริษัทสามารถทำรายได้ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายในงบประมาณที่วางไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ ยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า สามารถสร้างรายได้ตามหรือเกินกว่างบประมาณที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายงบประมาณ = รายได้จริง ×100 รายได้ที่ตั้งไว้ หน่วย : % 7. Sales Attainment (การบรรลุเป้าหมายการขาย) การบรรลุเป้าหมายการขาย คือเปอร์เซ็นต์ที่ทีมขายสามารถทำรายได้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในช่วงเวลาหนึ่ง การบรรลุเป้าหมายการขายยิ่งมากยิ่งดี แสดงว่า ทีมขายสามารถทำยอดขายได้ตามหรือเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ การบรรลุเป้าหมายการขาย = ยอดขายจริง÷ เป้าหมายยอดขาย​ ×100 หน่วย : % แหล่งที่มา : อย่างไรก็ตามการจะนำข้อมูลต่างๆ ในธุรกิจมาวิเคราะห์หรือหาค่าจากตัวชี้วัดได้นั้น ควรต้องมีระบบข้อมูลที่แข็งแรง อย่าง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME จัดการงานบัญชีที่ซับซ้อนให้เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การติดตามรายงานทางการเงิน เช่น ต้นทุนขายและกำไร-ขาดทุน เป็นเรื่องง่ายและชัดเจน การใช้งาน PEAK ยังช่วยให้คุณเห็นรายงานสำคัญ เช่น งบกำไรขาดทุนและงบฐานะการเงินแบบ Real-Time ซึ่งสอดคล้องกับตัวชี้วัดสำคัญที่กล่าวถึงในบทความด้านบน ไม่ว่าจะเป็น การบริหารจัดการต้นทุน และ การวัดกำไรขาดทุน ที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินความสำเร็จของธุรกิจ SME ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

24 min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

KPI คืออะไร วิธีวัดผลและความสำคัญต่อองค์กร

Key Performance Indicators คือ เครื่องมือในการวัดผลธุรกิจที่ดีที่องค์กรนิยมใช้โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง เพราะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง KPI จะมีการวัดผลอย่างไร ทำไมสำคัญกับองค์กรไปดูกัน KPI หรือ Key Performance Indicators คืออะไร KPI หรือ Key Performance Indicators คือ เป็นวิธีวัดผลการทำธุรกิจในด้านต่าง ๆ ขององค์กร ด้วยการดูว่าผลตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ไหม ทำให้องค์กรสามารถติดตามความก้าวหน้า ประเมินประสิทธิภาพ และปรับปรุงการทำธุรกิจได้ดีมากขึ้น โดยแต่ละตัวอักษรมีความหมาย ดังนี้  ประเภทการวัดผล KPI การวัดผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและเป้าหมายที่ต้องการวัด โดยตัวชี้วัด KPI แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การวัดผลทางตรงและการวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางตรง การวัดผลทางตรงเป็นการประเมินผลงานที่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน ไม่ต้องตีความหรือแปลผล เช่น ยอดขาย จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ อัตราของเสีย หรือจำนวนลูกค้าใหม่ ข้อดีของการวัดผลแบบนี้คือเราสามารถตรวจสอบได้และมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน ทำให้การประเมินผลมีความโปร่งใส การวัดผลทางอ้อม การวัดผลทางอ้อมเป็นการประเมินผลงานที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้โดยตรง ต้องอาศัยการสังเกต การประเมิน หรือการสำรวจความคิดเห็น เช่น การให้บริการ ความประทับใจของลูกค้า หรือการมีผู้นำ การวัดผลประเภทนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของผู้ประเมิน ความสำคัญต่อองค์กร KPI มีความสำคัญต่อองค์กรในหลายด้าน สามารถช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าในการทำงานของพนักงานและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังใช้ประเมินผลงานของพนักงาน การพิจารณาผลตอบแทน และการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมถึงช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร ใช้หลักการ SMART ในการตั้ง KPI หลักการ SMART เป็นแนวทางมาตรฐานในการกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ มาดูรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ ตัวอย่างการตั้ง KPI ในองค์กร การกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างมาตรฐานการวัดผลที่ตรงตามเป้าหมายขององค์กร มาดูตัวอย่างการตั้ง KPI ในแต่ละแผนก  ฝ่ายขายและการตลาด ฝ่ายผลิต ฝ่ายบุคคล ข้อควรระวังในการใช้ KPI การกำหนดและใช้ KPI (Key Performance Indicators) เป็นการวัดผลความสำเร็จขององค์กรหรือโครงการ แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง อาจเกิดการตีความที่ผิดพลาด หรือการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อการทำงานโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อให้การใช้ KPI สอดคล้องกับเป้าหมายที่แท้จริง และช่วยพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของการใช้ KPI ที่ดี KPI (Key Performance Indicators) เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าของการทำธุรกิจว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไหม การใช้ KPI ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยวัดผลสำเร็จ แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานพัฒนาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น การเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ KPI จะช่วยเพิ่มโอกาสในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรในระยะยาว การใช้ KPI จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน แต่ต้องระวังความเหมาะสมและความเป็นกลางในการประเมินผล เพื่อคนในองค์กรอยากพัฒนาเปลี่ยนแปลงการทำงานจริง ๆ ซึ่ง Key Performance Indicators คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่สำหรับนายจ้าง

การจ้างงานพนักงานใหม่นั้นนายจ้างมีหน้าที่สำคัญในการดูแลสวัสดิการพื้นฐาน โดยเฉพาะการขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ แต่ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งนายจ้างต้องทำอะไรบ้างไปดูกัน  ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ให้พนักงาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นหน้าที่สำคัญที่นายจ้างต้องดำเนินการ ไม่เพียงเพราะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมาย แต่ยังส่งผลดีต่อทั้งองค์กรและพนักงาน มาดูเหตุผลสำคัญที่นายจ้างควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ กฎหมายกำหนด พระราชบัญญัติประกันสังคมกำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ภายใน 30 วันนับจากวันที่เริ่มจ้างงาน หากไม่ดำเนินการจะมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท นอกจากนี้ ยังต้องจ่ายเงินสมทบย้อนหลังพร้อมเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของเงินสมทบที่ต้องจ่าย ซึ่งถ้าบริษัททำตามกฎหมายนี้ก็จะช่วยป้องกันปัญหาและค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น พนักงานได้ประโยชน์ทำให้อยู่กับบริษัทได้นาน การขึ้นทะเบียนประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล เงินทดแทนการขาดรายได้ สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นคงในการทำงาน มีหลักประกันชีวิตที่ดี ส่งผลให้เกิดความผูกพันกับองค์กรจึงมีโอกาสทำงานกับบริษัทได้ยาวนานขึ้น สร้างภาพลักษณ์ที่ดี องค์กรที่ดูแลสวัสดิการพนักงานอย่างดี โดยเฉพาะการจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่อย่างรวดเร็วและถูกต้อง จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะนายจ้างที่มีความรับผิดชอบ ช่วยดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพให้เข้ามาร่วมงาน และสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ วิธีการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม การคำนวณเงินสมทบประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่คำนวณจากฐานค่าจ้าง โดยทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายในอัตราเท่ากันคือ 5% ของค่าจ้าง ซึ่งมีฐานค่าจ้างขั้นต่ำ 1,650 บาท และสูงสุด 15,000 บาท ต่อเดือน หากค่าจ้างต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คำนวณจาก 1,650 บาท และหากสูงกว่า 15,000 บาท ให้คำนวณจาก 15,000 บาท ตัวอย่าง กรณีพนักงานเข้าใหม่มีเงินเดือน 20,000 บาท การคำนวณจะใช้ฐานสูงสุดที่ 15,000 บาท เอกสารจำเป็นระหว่างการยื่นประกันสังคมออนไลน์ ในการยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์ ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมและครบถ้วน เพื่อให้การยื่นประกันสังคมออนไลน์เร็วและไม่มีปัญหา โดยเอกสารที่จำเป็นต้องใช้มี ดังนี้  ขั้นตอนการยื่นประกันสังคมพนักงานใหม่ การยื่นประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่ผ่านระบบออนไลน์มีขั้นตอนที่ชัดเจนและไม่ซับซ้อน แต่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันข้อผิดพลาด โดยมีขั้นตอนในการยื่น ดังนี้  การจัดการประกันสังคมพนักงานเข้าใหม่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกองค์กร นอกจากจะช่วยให้พนักงานได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแล้ว ยังช่วยให้องค์กรหลีกเลี่ยงปัญหาและค่าปรับที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการใช้ระบบบริหารจัดการพนักงานที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้กระบวนการนี้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

อากรแสตมป์คืออะไร พร้อมรวมทุกเรื่องสำคัญที่ต้องรู้

อากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่จัดเก็บภาษีจากการทำตราสารหรือเอกสารต่าง ๆ ทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแสตมป์ทั่วไปที่ใช้ในการส่งจดหมาย แต่ในความเป็นจริงอากรแสตมป์มีความสำคัญในด้านกฎหมายและธุรกรรมทางการเงิน การเข้าใจว่าอากรแสตมป์ใช้ทำอะไรได้บ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจการเป็นของตัวเอง อากรแสตมป์ คืออะไร อากรแสตมป์ คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดเก็บในลักษณะของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับเอกสารราชการและสัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาซื้อขาย ใบมอบอำนาจ โดยอากรบนเอกสารเหล่านี้เป็นการแสดงว่าภาษีได้ถูกชำระเรียบร้อยแล้ว และเอกสารนั้นได้รับการรับรองตามกฎหมาย สามารถช่วยป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แถมยังช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารทางกฎหมายอีกด้วย อากรแสตมป์ ไม่ใช่แสตมป์ปกติ หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าอากรแสตมป์เป็นแสตมป์ที่ใช้ในการส่งจดหมายหรือไปรษณีย์ แต่ความจริงแล้วอากรแสตมป์กับแสตมป์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยแสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร มีลักษณะเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยม โดยจะนำไปใช้ติดบนซองจดหมายเพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าได้ชำระค่าบริการส่งไปรษณีย์แล้ว ซึ่งจะมีแสตมป์ทั่วไปกับแสตมป์ที่ระลึกที่มีการออกแบบเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เป็นต้น รูปแบบของอากรแสตมป์ เอกสารที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง การทำตราสารหรือเอกสารบางประเภทในประเทศไทยต้องมีการประทับตราอากรแสตมป์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารที่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาจำนอง สัญญาร่วมลงทุน สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ สัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และเอกสารอื่น ๆ ที่มีผลทางกฎหมาย  วิธีการเสียค่าอากรแสตมป์ ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์ สรุปบทความ อากรแสตมป์เป็นส่วนสำคัญในการทำตราสารและเอกสารทางกฎหมายในประเทศไทย ความเข้าใจในเรื่องอากรแสตมป์และการใช้แสตมป์อากรอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินหรือจัดการกับเอกสารสำคัญ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจมือใหม่ที่ต้องเรียนรู้เรื่องบัญชี การเงิน และภาษีเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเหล่านักลงทุน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก