biz-financial-statement

ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 กำหนดให้เจ้าของบริษัทต้องจัดให้มีการทำบัญชีและนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

งบการเงินคืออะไร

งบการเงิน (Financial Statement) คือรายงานทางการเงินและบัญชีที่แสดงถึงสถานะในการดำเนินงานและผลประกอบการของบริษัท สำหรับระยะเวลาแต่ละรอบบัญชี

งบการเงินของกิจการที่เป็นบริษัทจำกัด มีองค์ประกอบ 4 ประเภท ดังนี้

1. งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)

เป็นงบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักได้แก่

1.1 สินทรัพย์

หมายถึง ทรัพยากรที่กิจการมีอยู่ ซึ่งมีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของบริษัทหรืออยู่ในรูปของการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน อันจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดเข้าหรือลดกระแสเงินสดออกของกิจการในอนาคต เช่นกิจการผลิตสินค้า ใช้สินทรัพย์ในการผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้านั้นและกิจการได้รับผลตอบแทนเป็นกระแสเงินสดเข้ามาและเป็นประโยชน์ต่อกิจการในการนำไปจัดหาทรัพยากรอื่นๆต่อไป

สินทรัพย์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ

ก. สินทรัพย์หมุนเวียน ( Current Assets) คือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง โดยสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว และคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า สินค้า เป็นต้น

ข. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็ว มีลักษณะคงทนถาวร และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการมากกว่า 1 ปี ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืมระยะยาว สินทรัพย์ที่ไม่สามารถจับต้องได้แต่มีมูลค่าก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกิจการ เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น

1.2 หนี้สิน

หมายถึง ภาระผูกพันของกิจการที่จะก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจของกิจการ ซึ่งกิจการต้องจ่ายชำระคืนให้แก่บุคคลภายนอก

หนี้สินแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

ก. หนี้สินหมุนเวียน (Current Assets) หรือเรียกว่าหนี้สินระยะสั้น เป็นภาระผูกพันของกิจการที่ต้องชำระคืนให้แก่บุคคลภายนอกภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินกู้ยืมระยะสั้น เป็นต้น

ข. หนี้สินไม่หมุนเวียน (Non-Current Assets) หรือเรียกว่าหนี้สินระยะยาว เป็นภาระผูกพันของกิจการที่ต้องชำระคืนให้แก่บุคคลภายนอกซึ่งมีระยะเวลาในการชำระคืนเกินกว่า 1 ปี ได้แก่ เงินกู้ยืมระยะยาว หุ้นกู้ระยะยาว เป็นต้น

1.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายถึง ส่วนที่เป็นเงินลงทุนจากเจ้าของกิจการซึ่งอยู่ในรูปของหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ์ รวมกับกำไรที่กิจการทำมาหาได้สะสมรวมกันในแต่ละปี โดยปกติกิจการจะกันกำไรสะสมไว้ส่วนหนึ่งและกำหนดจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นจากกำไรสะสมในรูปของเงินปันผล

ส่วนของผู้ถือหุ้น

2. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)

เป็นงบที่แสดงผลประกอบการของบริษัทว่ามีผลกำไรหรือขาดทุนในรอบระยะเวลาหนึ่งๆเช่น ทุกไตรมาส ทุกรอบปี เป็นต้น งบกำไรขาดทุนประกอบด้วย

ก. รายได้

คือรายรับที่กิจการได้มาจากการดำเนินธุรกิจ เป็นผลมาจากการขายสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นกิจกรรมการดำเนินงานตามปกคิของธุรกิจ เข่นรายได้จากการขายสินค้าประเภทรถยนต์ รายได้จากการให้บริการที่ปรึกษา เป็นต้น หรืออาจอยู่ในรูปผลตอบแทนอื่นๆที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงานปกติ ได้แก่ รายได้จากการขายเศษวัสดุเหลือใช้ รายได้จากดอกเบี้ยรับธนาคาร

ข. ค่าใช้จ่าย

หมายถึง ต้นทุนขาย ต้นทุนการให้บริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต้นทุนทางการเงิน

ค. กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

เกิดจากรายได้หักด้วยค่าใช้จ่าย เป็นตัวเลขที่แสดงผลประกอบการที่ผ่านมาและแสดงถึงความสามารถในการดำเนินงานของกิจการ

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (Statement of Changes Equity)

งบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ แสดงการกระทบยอดส่วนของผู้ถือหุ้นตั้งแต่ต้นปีจนถึงปลายปี ทุนที่ชำระแล้ว เปลี่ยนแปลงด้วยการเพิ่มทุน กำไรสะสมเพิ่มขึ้นด้วยกำไรสุทธิหรือลดลงด้วยการจ่ายเงินปันผล

4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statement)

เป็นข้อมูลที่แสดงเพิ่มเติมต่อจากข้อมูลที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของกิจการ เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่สำคัญ บุคคลกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นการแสดงรายละเอียดอธิบายรายการในงบการเงิน

5. งบกระแสเงินสด (Cash Flow Statement)

งบที่แสดงการได้มาและใช้ไปของเงินสด ซึ่งแสดงสภาพคล่องของกิจการ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมได้แก่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Investing Activities) และกระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหา (Financing Activities)

กรณีที่เป็นบริษัทจำกัด ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินไม่ได้กำหนดให้จัดทำงบกระแสเงินสด แต่กำหนดให้จัดทำสำหรับบริษัทมหาชน

งบกระแสเงินสด

ประโยชน์ของงบการเงิน

แต่ละองค์ประกอบของงบการเงินมีประโยชน์แตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. งบกำไรขาดทุนแสดงผลประกอบการ ความสามารถในการทำกำไร รวมทั้งโครงสร้างรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ

2. งบแสดงฐานะการเงิน แสดงให้เห็น ภาพรวมของธุรกิจ ฐานะการเงิน สภาพคล่องของกิจการ ความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ของกิจการ

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้นแสดงให้เห็นมูลค่าของกิจการ ในการประเมินมูลค่าหุ้นของกิจการ มีตัวชี้วัดประการหนึ่งเรียกว่ามูลค่าตามบัญชี (Book Value) โดยคำนวณจากสินทรัพย์สุทธิหรือส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งเท่ากับ สินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวม และยังแสดงการเคลื่อนไหวของทุนเช่นการเพิ่มทุน การจ่ายเงินปันผล

4. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของรายการในงบการเงิน นโยบายการบัญชีที่กิจการใช้ ได้แก่ วิธีการรับรู้รายได้ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา รวมทั้ง ภาระผูกพันในอนาคต ความคืบหน้าคดีความฟ้องร้อง เป็นต้น

5. งบกระแสเงินสด แสดงให้เห็นที่มาที่ไปของกระแสเงินสดว่ามาจากกิจกรรมดำเนินงานปกติ มาจากการลงทุน การกู้ยืมหรือชำระเงินคืนกู้ ถึงแม้มาตรฐานรายงานทางการเงินจะไม่ได้กำหนดให้บริษัทจำกัดจัดทำ แต่การจัดทำงบกระแสเงินสดจะช่วยผู้ประกอบการในการวางแผนการใช้เงิน ทำให้ทราบถึงสภาพคล่องในการดำเนินงาน สามารถนำไปใช้วางแผนการใช้จ่ายของกิจการได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำตามรูปแบบที่เป็นทางการเหมือนบริษัทมหาชนก็ได้

โปรแกรมบัญชี PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ผู้ประกอบการและนักบัญชีสามารถออกเอกสารงานบัญชีภาษี บันทึกลงบัญชีอัตโนมัติ และสามารถเรียกดูงบการเงิน ได้ทั้งในส่วนของงบแสดงฐานะการเงินและงบกำไรขาดทุนของกิจการได้ ดังนี้

วิธีดูงบแสดงฐานะการเงินในโปรแกรมบัญชี PEAK

1. เข้าสู่เมนูบัญชี เลือกประเภทรายงาน ได้แก่ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน

วิธีดูงบแสดงฐานะการเงินในโปรแกรมบัญชี PEAK

2. กำหนดรูปแบบของรายงาน โดยเลือก
ประเภทรายเดือนหรือรายวัน
งวดเวลา 1 เดือน 3 เดือน 12 เดือน
ระยะเวลาสิ้นสุด เดือน/ปี
เปรียบเทียบย้อนหลัง 5 งวด 6 งวด 7 งวด 8 งวด

กำหนดรูปแบบของรายงาน

3. กด Export เพื่อเลือกดาวน์โหลดหรือส่งรายงานไปยังอีเมล

เลือกดาวน์โหลดหรือส่งรายงานไปยังอีเมล

ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com
หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK