ภาษี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

6 min

ถอด VAT คืออะไร? ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้วิธีคำนวณนี้

การถอด VAT เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเจอในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อมีการขายสินค้าที่เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า หรือการถอด VAT จากสินค้าที่ซื้อมาเพื่อที่ช่วยให้เราทราบราคาต้นทุนที่แท้จริงของสิ่งนั้น นอกจากนี้ การถอด VAT ยังช่วยให้นักบัญชีของกิจการจัดการภาษีได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย ซึ่งมีทั้งการถอด VAT 3% และ 7% ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้วิธีการ ถอด VAT เรามีวิธีคำนวณมาฝากกัน ก่อนถอด VAT ควรรู้จัก VAT คืออะไร  VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี จากการผลิตและขายสินค้านั้น จะต้องเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ และต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำภายใน 30 วัน  วิธีถอด VAT คำนวณด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน การถอด VAT เป็นการถอดเพื่อให้เราทราบราคาที่แท้จริงของสินค้าก่อนคิด VAT ว่ามีราคาเท่าไหร่ และสามารถคำนวณภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามอัตราภาษี ดังนี้  วิธีถอด VAT 3% VAT 3% มักใช้กับธุรกิจที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก กิจการที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี  การจ้างทำของ หรือทำงานต่าง ๆ โดยวิธีการคำนวณนั้นจะทำได้โดยการนำราคาสินค้าที่รวม VAT แล้ว มาหารด้วย 1.03 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นราคาที่ไม่รวม VAT ส่วนต่างระหว่างราคารวมกับราคาที่ไม่รวม VAT คือจำนวนภาษีที่ต้องนำส่ง ตัวอย่างการคำนวณ : สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,300 บาท  วิธีถอด VAT 7% การถอด VAT 7% เป็นการคำนวณที่ใช้กับธุรกิจทั่วไปที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคำนวณคล้ายกับการถอด VAT 3% แต่ใช้ตัวหารเป็น 1.07 แทน การถอด VAT ที่ถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจคำนวณต้นทุน กำไร และภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการคำนวณ สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,700 บาท การเสียภาษี VAT ถ้าธุรกิจของเราเป็นทั้งผู้ขายสินค้าและซื้อสินค้ามา เราต้องมีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย โดยนำภาษีขายที่เก็บจากลูกค้าตลอดเดือนภาษี มาลบด้วยภาษีซื้อที่จ่ายให้ซัพพลายเออร์ในเดือนเดียวกัน หากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าภาษีขายสูงกว่าภาษีซื้อ เจ้าของธุรกิจจ่ายส่วนต่างให้กรมสรรพากร แต่หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะรับภาษีส่วนเกินคืน หรือเก็บไว้เป็นเครดิตภาษีสำหรับการคำนวณในรอบเดือนถัดไปได้เลย  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าหรือซื้อสินค้า การถอด VAT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้เราทราบต้นทุนที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มเงินทุนให้สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อีก นอกจากการคำนวณ VAT ด้วยเครื่องคิดเลขแล้ว การใช้ PEAK Tax ยังช่วยให้การคำนวณภาษีและการออกเอกสารใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมรองรับการจัดการภาษีและบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเติบโตไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

9 min

เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs

การบริหารภาษีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเพิ่มกำไรและบริหารเงินสดได้อย่างเหมาะสม การวางแผนภาษีไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียภาษีเกินความจำเป็น แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกัน! 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs ปี 2568 1. รู้จักประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง การเริ่มต้นวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SME นั้น ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ภาษีแต่ละประเภทจะมีวิธีการคำนวณและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งการรู้จักประเภทของภาษีจะช่วยให้การวางแผนภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และป้องกันการเสียภาษีเกินกว่าที่ควรจะเป็น 1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่คิดจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจทุกประเภทที่มีการดำเนินการในรูปแบบของนิติบุคคลต้องเสียภาษีนี้ การคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการคำนวณภาษี 1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  เป็นภาษีที่คิดจากการขายสินค้าหรือบริการในบางกรณี การเสียภาษีประเภทนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินการทางธุรกิจของคุณ หากคุณขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสีย VAT ก็จำเป็นต้องคำนวณและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง 1.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ภาษีที่ถูกหักออกจากเงินได้บางประเภทที่ธุรกิจจ่ายให้กับผู้รับบริการ เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ หรือเงินได้บางประเภท การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อให้การดำเนินงานของธุรกิจไม่เกิดปัญหาในอนาคต การรู้ว่าภาษีแต่ละประเภทมีการคำนวณและยื่นเอกสารอย่างไร จะช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและหลีกเลี่ยงค่าปรับที่ไม่จำเป็น 2. วางระบบบัญชีที่โปร่งใส การจัดการบัญชีที่เป็นระบบและโปร่งใสถือเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่มีประสิทธิภาพ การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีระเบียบไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดการภาษีให้เหมาะสม แต่ยังทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมทางการเงินของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในอนาคต โดยคุณสามารถทำได้ ดังนี้ 2.1 การใช้โปรแกรมบัญชี ช่วยจัดการงานบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชี ที่สามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างถูกต้อง และสามารถติดตามธุรกรรมต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ โปรแกรม PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถจัดการภาษีได้ง่ายขึ้น ด้วยฟังก์ชันที่รองรับ e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัวจะช่วยลดความยุ่งยากในการคำนวณภาษีและการรายงานทางการเงิน 2.2 การเก็บเอกสารหลักฐาน  ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ ใบกำกับภาษี และเอกสารทางการเงินต่าง ๆ จะช่วยให้การตรวจสอบการยื่นภาษีทำได้สะดวกและง่ายขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบโดยสรรพากรได้ เช่น PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์แบบครบวงจรที่สามารถเก็บเอกสารออนไลน์ได้ 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกหนึ่งการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีคือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4. วางแผนรายรับและรายจ่าย การจัดการรายรับและรายจ่ายอย่างมีแบบแผนช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4.1 เลื่อนรายรับ หากอยู่ในช่วงปลายปีและรายได้เกินเป้าหมาย อาจเลื่อนการรับเงินไปต้นปีถัดไปเพื่อกระจายรายได้ในหลายปี 4.2 เร่งรายจ่าย  ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือชำระค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในช่วงปลายปี เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายและลดกำไรสุทธิ 5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี ผู้ประกอบการควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือผู้ทำบัญชีที่มีความรู้ในด้านกฎหมายภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 6. ติดตามข่าวสารภาษีอย่างต่อเนื่อง ภาษีเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกฎหมายและสถานการณ์เศรษฐกิจ การตรวจสอบและปรับปรุงแผนภาษีอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ การวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถลดภาระภาษีและเพิ่มกำไรได้ แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้าและนักลงทุนอีกด้วย เริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจคุณ ด้วย PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่จะช่วยในการบริหารจัดการภาษีภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ม.ค. 2025

PEAK Account

8 min

ผู้เสียภาษีต้องรู้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร แตกต่างจากเลขบัตรประชาชนไหม

คนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องเสียภาษีถ้ารายได้นั้นถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด ซึ่งในการยื่นภาษีนั้นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่กรมสรรพากรออกให้ผู้ที่ต้องจ่ายเสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลใช้ตัวเลขเหมือนกันไหม เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกัน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขเฉพาะที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ที่ต้องภาษีแต่ละคน เพื่อให้กรมสรรพากรใช้ในการระบุตัวตนของผู้ยื่นภาษี และใช้ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้จะมีเป็นเลข 13 หลักทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแต่เลขจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ บุคคลธรรมดา  สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขเดียวกันกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งออกให้โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ยื่นภาษีไม่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีใหม่ สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้เลย ส่วนผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาก็สามารถแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้ต่อกรมสรรพากรได้เลย ซึ่งการที่ใช้เลขเดียวกับบัตรประจำตัวแบบนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อน และทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น นิติบุคคล   สำหรับนิติบุคคลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลักที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรธุรกิจอื่น ๆ โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคลนี้จะมีความสำคัญในการทำธุรกรรมทางการค้า การออกใบกำกับภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่าง ๆ โดยเลขชุดนี้จะติดตัวนิติบุคคลไปตลอดอายุของกิจการ และใช้แสดงตัวตนทางธุรกิจกับคู่ค้าและหน่วยงานราชการได้ นอกจากนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษียังเป็นหลักฐานสำคัญว่าธุรกิจทำตามกฎหมาย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย การขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี สำหรับคนที่ทั่วไปหรือทำธุรกิจส่วนตัวที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี และนิติบุคคลที่เริ่มต้นธุรกิจแล้วยังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เราจำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  เพื่อให้การจัดการด้านภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง  โดยมีขั้นตอนการขอที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนี้ บุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลธรรมดาการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เนื่องจากใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับคนต่างด้าวและห้างหุ้นส่วนสามัญที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนให้ขอภายใน 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.1 สำหรับบุคคลธรรมดา และ แบบ ล.ป.10.2 สำหรับคณะบุคคล นิติบุคคล นิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติหลังจากจดทะเบียนบริษัท โดยเลขนี้จะเป็นเลขเดียวกับเลขทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียนนิติบุคคลและการได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้ขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทย หรือวันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มทำธุรกิจในประเทศไทย โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.3  การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรอง การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรองสามารถทำได้โดยการตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเลขทะเบียนนี้จะเป็นเลขชุดเดียวกันกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคล เราสามารถตรวจสอบข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยยืนยันตัวตนของคู่ค้า และการทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างมั่นใจ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่ใช้ในการระบุตัวตนทางภาษีและธุรกิจ โดยบุคคลธรรมดาจะใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ส่วนนิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งก่อนการยื่นภาษีหรือธุรกรรมต่าง ๆ ควรเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้พร้อมเพื่อความถูกต้องในการจัดการภาษีตามกฎหมาย โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

แจกขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 พร้อมลิสต์เอกสารที่ต้องใช้

ใกล้ถึงเวลายื่นภาษีประจำปีแล้ว หลายคนอาจกังวลเรื่องการเตรียมเอกสารและขั้นตอนการยื่นภาษี โดยเฉพาะการยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ที่แม้จะสะดวกกว่าการเดินทางไปสรรพากร แต่ก็มีข้อมูลที่เราต้องรอบคอบก่อนทำการยื่นภาษีอยู่ด้วย ซึ่งก่อนที่เราจะทำการยื่นภาษีออนไลน์กันนั้น เราไปรายละเอียดของดูเอกสาร ขั้นตอน และข้อควรระวังต่าง ๆ กัน การยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คืออะไร การยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เป็นช่องทางที่กรมสรรพากรทำให้การยื่นภาษีสะดวกมากขึ้น โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานสรรพากร ระบบจะช่วยคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลเรื่องความผิดพลาด และยังสามารถบันทึกข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงในปีถัดไปได้ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดทรัพยากรและลดการใช้กระดาษ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผู้มีหน้าที่ยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คือผู้ที่มีรายได้จากการจ้างแรงงานเพียงประเภทเดียว โดยแบ่งเป็นสองกรณี คือ กรณีโสดที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี และกรณีสมรสที่มีรายได้รวมกันเกิน 220,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ รายได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น ไม่รวมรายได้จากแหล่งอื่น เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ก่อนเริ่มยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เราควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อความสะดวกในการกรอกข้อมูลและป้องกันความผิดพลาด โดยเอกสารจะแตกต่างกันระหว่างผู้ที่มีสถานะโสดและสมรส มาดูกันว่าแต่ละกลุ่มต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง คนโสด สำหรับผู้มีสถานะโสด เอกสารหลักที่ต้องเตรียมคือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งแสดงรายได้และภาษีที่ถูกหักไว้ตลอดปี ซึ่งหากเรามีตัวช่วยลดหย่อนภาษีในด้านต่าง ๆ ต้องเตรียมหลักฐานประกอบ เช่น ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ หนังสือรับรองการซื้อกองทุน RMF/SSF/SSFX หลักฐานการบริจาค และใบเสร็จจากโครงการช้อปดีมีคืน รวมถึงหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินกรณีผ่อนบ้าน ทั้งนี้ควรจัดเก็บเอกสารในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการอัพโหลด คนมีคู่ ผู้ที่สมรสแล้วต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) คือ ทะเบียนสมรสและใบสูติบัตรบุตร(ถ้ามี) สำหรับการลดหย่อน ส่วนเอกสารการลดหย่อนอื่น ๆ เหมือนกับคนโสด ได้แก่ ใบเสร็จค่าเบี้ยประกัน หลักฐานการลงทุนในกองทุน หลักฐานการบริจาค ใบเสร็จช้อปดีมีคืน และหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ โดยสามารถนำค่าลดหย่อนของคู่สมรสมารวมในการคำนวณภาษีได้ ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 ยื่นภาษีไม่ทันหรือชำระภาษีไม่ทันทำอย่างไรดี กรณีที่ไม่สามารถยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ หรือชำระภาษีได้ทันตามกำหนด จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย โดยหากมีภาษีที่ต้องชำระ จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน นับจากวันที่เลยเวลาจ่าย และต้องเสียค่าปรับอีกหนึ่งเท่าของภาษีที่ต้องชำระ ส่วนกรณีที่ไม่มีภาษีต้องชำระแต่ยื่นแบบล่าช้า จะถูกปรับ 1,000 บาท ดังนั้นควรวางแผนยื่นภาษีล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม การยื่นภ.ง.ด.91 ออนไลน์ทำให้การจัดการภาษีง่ายมากขึ้น เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อมและทำความเข้าใจขั้นตอนการยื่นแบบผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ควรวางแผนยื่นล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือโทรสอบถามที่ 1161  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รองรับการทำ ภ.ง.ด. 91 (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี) โดยช่วยคำนวณภาษีและจัดทำรายงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระบบสามารถบันทึกและสรุปข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมทั้งสร้างแบบฟอร์มภ.ง.ด. 91 ที่สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที ช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

เจ้าของธุรกิจทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมาย ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์

การทำธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและเอกสารสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เพื่อให้ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องติดอย่างไร เมื่อไหร่ และมีอัตราเท่าไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องอากรแสตมป์อย่างละเอียด เพื่อให้การทำสัญญาของเราถูกต้องและใช้ได้ตามกฎหมาย ภาษีอากรแสตมป์ คืออะไร ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารและสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีลักษณะเป็นแสตมป์ที่ต้องติดลงบนตราสารหรือเอกสารสำคัญภายใน 15 วันหลังจากการลงนาม เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาเช่า หนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ทั้งนี้ อัตราค่าอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของตราสาร ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์สำคัญกับการทำสัญญาอย่างไร การติดอากรแสตมป์ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมอากรแสตมป์จึงมีความสำคัญ ยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย การติดภาษีอากรแสตมป์ในเอกสารหรือสัญญาเป็นการรับรองว่าเอกสารนั้นได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปรียบเสมือนตราประทับรับรองจากภาครัฐ ทำให้เอกสารน่าเชื่อถือและใช้ได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าผู้ทำสัญญามีความตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงและเคารพกฎหมาย ป้องกันความขัดแย้ง การติดอากรแสตมป์ช่วยป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญานี้กันจริง และสัญญานั้นผ่านการรับรองตามกฎหมายแล้ว ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง สัญญาที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนจะมีน้ำหนักในการพิจารณามากกว่าสัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์  ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สัญญาที่ติดภาษีอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทันที ในขณะที่สัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์หรือติดไม่ครบถ้วน อาจถูกปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล หรือต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น การติดอากรแสตมป์จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี การชำระค่าอากรแสตมป์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลักษณะของเอกสาร ดังนี้ ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย การชำระอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับประเภทเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่พบบ่อย ได้แก่ 1. สัญญาเช่าทรัพย์สินอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินมีอัตราอยู่ที่ 1 บาทต่อค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากค่าเช่าระบุไว้ที่ 10,500 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 11 บาท ซึ่งการคำนวณนี้ครอบคลุมถึงสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ เช่น เช่าที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์ 2. ตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค)สำหรับเอกสารประเภทตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 3 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เช่น หากยอดเงินในตั๋วเงินระบุไว้ที่ 6,500 บาท ผู้ที่ออกตั๋วจะต้องชำระอากรแสตมป์จำนวน 12 บาท 3. หนังสือมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่มักใช้ในทางธุรกิจหรือการดำเนินการทางกฎหมาย จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 10 บาทต่อฉบับ โดยไม่มีการคิดเพิ่มตามมูลค่าหรือรายละเอียดของเอกสาร 4. สัญญากู้ยืมเงินในกรณีของสัญญากู้ยืมเงิน อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากมีการกู้เงินจำนวน 50,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 25 บาท 5. สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานออกแบบ จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อค่าแรง 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เช่น หากค่าแรงรวมทั้งหมดเป็น 15,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 15 บาท 6. สัญญาค้ำประกันสัญญาค้ำประกันที่ใช้ในการรับรองหรือค้ำประกันภาระผูกพันทางการเงิน จะต้องชำระอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 7. สัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์สำหรับสัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 0.1% ของมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น หากมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่ 1,000,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 1,000 บาท การติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารและสัญญาต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เอกสารมีผลทางกฎหมายและหากเกิดความขัดแย้งสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องรู้จัก ภาษีศุลกากรคืออะไร

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ภาษีศุลกากร คืออะไร? ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้ ภาษีส่งออก ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้ การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม เงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้ง

การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินที่นอกจากเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่อีกด้วย หลายคนมักจะนิยมใช้เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ไปจนถึงการโอนเงินให้เพื่อนหรือครอบครัวก็ตาม ซึ่งการโอนเงินผ่านระบบนั้น นับว่าช่วยทำให้ชีวิตได้รับสะดวกสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้หากมีการเงินเข้าออกบัญชีบ่อย หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าโอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม และมีผลกระทบอะไรกับเราบ้างไปดูกัน โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม ตามจริงแล้วเงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากทำบ่อยเกินไปและมีมูลค่ารวมที่สูง ก็อาจถูกตรวจสอบภาษีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรต้องการตรวจสอบว่าที่มาของเงินนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบที่มาของเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือการได้เงินมาแบบผิดกฎหมายนั่นเอง เงินเข้าออกบัญชีบ่อยห้ามเกินกี่ครั้ง ปัจจุบันมีกฎหมายที่ระบุว่าสามารถมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้งต่อปีขึ้นมา ซึ่งถ้าหากมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีจำนวนมาก และมีมูลค่าสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลให้กรมสรรพากรทราบ และหากพฤติกรรมการทำธุรกรรมผิดปกติ เช่น การโอนเงินไปมาระหว่างบัญชีหลาย ๆ บัญชีบ่อยครั้ง กรมสรรพากรอาจจะสงสัยว่าเรามีการฟอกเงินหรือทำผิดกฎหมายได้ ซึ่งจำนวนหารโอนเงินที่กำหนดไว้มีดังนี้ ถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบไม่ต้องตกใจไป ให้เราควรเตรียมเอกสารต่าง ๆเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่ออำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่และเพื่อป้องกันเอกสารตกหล่นจนมีปัญหาตามมาได้ ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมโดยทั่วไปจะมีดังนี้ ต้องทำยังไงถึงจะไม่เสียภาษี เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละปีได้ เพราะนอกจากจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายอย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการ ดังนี้ สิ่งที่ไม่ควรทำ การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ทุกวันเป็นเรื่องปกติของคนส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้เงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งปัญหาที่คุณไม่คาดคิดขึ้นได้ ดังนั้น การโอนเงินอย่างมีระเบียบและวางแผนอย่างรอบคอบจะสามารถช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น และลดปัญหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎหมายได้ นอกจากนี้ การรู้จักการจัดการธุรกรรมของตนเองจะช่วยให้คุณสามารถปกป้องทรัพย์สินของตัวเองให้ปลอดภัยได้อีกด้วย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

อัปเดตปี 2568! “Easy E-Receipt 2.0” สินค้าไหน ลดหย่อนภาษีได้บ้าง

ในปีภาษี 2568 กรมสรรพากรได้เปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “Easy E-Receipt 2.0” ที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น จากการนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขมายื่นลดหย่อนภาษี แต่สินค้าและบริการประเภทใดบ้างที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับประเภทสินค้าที่อยู่ในเกณฑ์ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ เพื่อลดหย่อนภาษีในยุคดิจิทัลให้คุ้มค่าที่สุด “Easy E-Receipt 2.0” คืออะไร? มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นห้างหุ้นส่วนสามัญ) นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมาลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 50,000 บาท “Easy E-Receipt 2.0” ใช้ได้ตอนไหน ระยะเวลาที่ใช้ได้: ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568 สินค้าและบริการที่ลดหย่อนภาษีได้ ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและค่าบริการภายในประเทศได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท) สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องมีหลักฐานเป็น e-Tax Invoice แบบเต็มรูป หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร รวมถึงข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น E-Book 2. ลดหย่อนเพิ่มเติมตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท) สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธุรกิจชุมชน ดังนี้ สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0”  เอกสารหลักฐานสำคัญที่ใช้ลดหย่อนในมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ต้องมีหลักฐานการชำระเงินเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น ตัวอย่าง e-Tax Invoice & e-Receipt ของ PEAK สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและบริการตามเงื่อนไข ต้องการรองรับมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” และเพิ่มความสะดวกในการจัดการเอกสารทางบัญชี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการเอกสารทางบัญชีได้อย่างสะดวกและครบวงจร ด้วยฟีเจอร์ที่รองรับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ง่ายเพียงคลิกเดียว โดยเอกสารทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานของกรมสรรพากร พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งเอกสารถึงลูกค้าได้ทันที นอกจากนี้ PEAK ยังช่วยให้การจัดการเอกสารเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบที่ครอบคลุมการออกใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีภายในระบบเดียว โดยสามารถส่งข้อมูล e-Tax Invoice และ e-Receipt ไปยังกรมสรรพากรได้โดยตรง ช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการจัดเตรียมเอกสารได้อย่างมาก รองรับการใช้งานได้ทั้งสำหรับทุกร้านค้าไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีก ร้านค้าออนไลน์ หรือธุรกิจบริการ ด้วยระบบออนไลน์ 100% ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ใครต้องเป็นคนออกเอกสาร

การทำธุรกิจในปัจจุบันต้องเกี่ยวข้องกับเอกสารทางการเงินหลายประเภท หนึ่งในนั้นคือใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่แสดงว่าเราถูกหักภาษีไว้แล้วเท่าไหร่ สามารถนำไปใช้ยื่นและขอคืนภาษีได้ ซึ่งใบหักภาษี ณ ที่จ่ายจะมีความหมาย ความสำคัญกับธุรกิจอย่างไรบ้าง และใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่ออกเอกสารนี้ไปดูกัน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คืออะไร ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ เอกสารที่ผู้จ่ายเงินออกให้แก่ผู้รับเงิน ว่ามีการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก่อนจะจ่ายเงินให้ผู้รับเงิน โดยใบนี้เป็นหลักฐานที่ผู้รับเงินสามารถใช้ในการยื่นภาษีประจำปีเพื่อขอคืนภาษีหรือชำระเพิ่มเติมได้ ใครต้องเป็นคนออกเอกสาร ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ที่มีหน้าที่ออกเอกสารใบหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ ผู้จ่ายเงินและเป็นผู้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย ก่อนจ่ายเงินให้ผู้รับเงินที่เป็นทั้งบุคคลทั่วไปและบริษัทนิติบุคคล ซึ่งมีเอกสารในการออกต่ากัน ดังนี้ ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.3 ผู้ที่ต้องออกใบหักภาษี ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.3 คือผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีรายได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา เช่น การจ่ายค่าจ้างฟรีแลนซ์ ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือค่าบริการต่าง ๆ โดยผู้จ่ายเงินต้องคำนวณและหักภาษีตามประเภทของเงินได้และอัตราที่กำหนด เอกสารนี้ต้องระบุรายละเอียดทั้งของผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินให้ชัดเจน และต้องนำส่งภาษีที่หักไว้ให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามแบบ ภ.ง.ด.53 ใบหักภาษี ณ ที่จ่ายแบบ ภ.ง.ด.53 เป็นแบบที่ใช้สำหรับการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษีตามรอบระยะเวลาบัญชี การนำส่งภาษีต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลาเช่นเดียวกับแบบ ภ.ง.ด.3 เงินได้ประเภทใดที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย? เงินได้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหลายประเภท แบ่งตามลักษณะของผู้รับเงินและประเภทของรายได้ โดยกรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดาจะใช้แบบ ภ.ง.ด.3 และกรณีผู้รับเงินเป็นนิติบุคคลจะใช้แบบ ภ.ง.ด.53 ทั้งนี้ อัตราการหักภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทของเงินได้ อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การหักภาษี ณ ที่จ่าย มีอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทของเงินได้และสถานะของผู้รับเงิน ซึ่งผู้จ่ายเงินต้องทำความเข้าใจอัตราการหักภาษีแต่ละประเภทให้ชัดเจน เพื่อหักภาษีได้อย่างถูกต้อง ค่าจ้างและเงินเดือน 0% กรณีเงินเดือนและค่าจ้างพนักงานประจำ จะมีการคำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่าง ๆ หากหักแล้วรายได้พนักงานยังไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี นายจ้างไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้ามีการหักไว้แล้ว พนักงานสามารถขอคืนภาษีได้เมื่อยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปี ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ 5% การจ่ายค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่ามีสิทธิในการถือกุญแจ เช่น การเช่าอาคารพาณิชย์ หรือ การเช่าออฟฟิศ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 5% ซึ่งแตกต่างจากการเช่าเพื่อจัดงานชั่วคราวที่จะถูกหักในอัตรา 3% ตามหมวดการจ้างบริการ ค่าโฆษณา 2% การจ่ายค่าบริการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งสื่อดิจิทัลและสื่อสิ่งพิมพ์จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 2% แต่หากเป็นการตลาดอื่น ๆ เช่น การจ้างอินฟลูเอนเซอร์ หรือการจ้างที่ปรึกษาด้านการตลาด จะถูกหักในอัตรา 3% ค่าขนส่ง 1% บริการขนส่งโดยภาคเอกชนที่จดทะเบียนเป็นธุรกิจขนส่ง จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1% ยกเว้นบริการขนส่งของไปรษณีย์ไทยที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกหักภาษี ตัวอย่างใบหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและวิธีการกรอกข้อมูลในใบหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรามีตัวอย่างเอกสารที่ถูกต้องตามมาตรฐานของกรมสรรพากร พร้อมคำอธิบายในแต่ละช่อง การจัดการเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่สำคัญของผู้ประกอบการที่ต้องทำให้ถูกกฎหมาย ทั้งการหักภาษีในอัตราที่เหมาะสมตามประเภทรายได้ การออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย และการยื่นภาษีให้กรมสรรพากรตามกำหนดเวลา เพื่อช่วยให้การทำธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและป้องกันปัญหาด้านกฎหมายในอนาคต  การจัดการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ประกอบการที่ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งการหักภาษีในอัตราที่เหมาะสมตามประเภทของรายได้ การออกใบหักภาษี ณ ที่จ่าย และการยื่นภาษีให้กับกรมสรรพากรตามกำหนดเวลา เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและป้องกันปัญหาด้านกฎหมายในอนาคต การใช้ PEAK Tax เป็นตัวช่วยในการจัดการเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย โดยระบบของ PEAK จะช่วยคำนวณอัตราภาษีที่ต้องหักตามประเภทของรายได้และออกใบหักภาษี ณ ที่จ่ายให้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ ยังช่วยในการยื่นภาษีออนไลน์ให้กับกรมสรรพากรได้อย่างตรงเวลา ลดความเสี่ยงในการผิดพลาด และช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมุ่งเน้นการเติบโตของธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

28 พ.ย. 2024

PEAK Account

12 min

ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีโอกาสสร้างรายได้สูง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนในด้านภาษี เพื่อป้องกันความผิดพลาดและลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีที่ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกควรทราบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย ทำความรู้จักการนำเข้าสินค้าและภาษีนำเข้า การนำเข้า คือ การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามายังประเทศไทย โดยต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบและเสียภาษีที่ด่านศุลกากร สินค้าที่นำเข้ามักถูกเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทสินค้า เช่น ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยอัตราภาษีที่ต้องจ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า เช่น รถยนต์หรูหราหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มักถูกเก็บภาษีสูง เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและสร้างรายได้ให้รัฐบาล ทำความรู้จักการส่งออกสินค้าและภาษีส่งออก การส่งออก คือ การส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ เช่นเดียวกับการนำเข้า สินค้าส่งออกต้องผ่านการตรวจสอบที่ด่านศุลกากร สินค้าบางประเภท เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ อาจถูกเรียกเก็บภาษีเพื่อควบคุมการส่งออก ภาษีส่งออก คือ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อมีการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่มีปริมาณจำกัดหรือเป็นทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ประเทศผู้ส่งออกจะเก็บภาษีเพื่อควบคุมปริมาณการส่งออกและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้า 1. อากรขาเข้า (Import Duties) อากรขาเข้า เป็นภาษีที่เรียกเก็บเมื่อสินค้ามีมูลค่าเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยจะคำนวณภาษีจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้า อัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้าตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่เรียกเก็บเพิ่มเติมจากสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เช่น รถยนต์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สุรา ยาสูบ เป็นต้นอัตราภาษีสรรพสามิตคำนวณจาก  ภาษีสรรพสามิต=(มูลค่าศุลกากร + อากรนำเข้า)×อัตราภาษีสรรพสามิต 3. ภาษีเพื่อมหาดไทย (Interior Tax) ภาษีเพื่อมหาดไทย เป็นการจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจาก ภาษีสรรพสามิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อจัดสรรรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา โดยคำนวณจากมูลค่าภาษีสรรพสามิตที่กำหนดไว้ ด้วยอัตรา 10% ดังนี้ ภาษีเพื่อมหาดไทย=ภาษีสรรพสามิต×10% 4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีมูลค่าเพิ่ม เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นในทุกขั้นตอนการผลิตและการค้า ผู้นำเข้าจะต้องเสีย VAT จากมูลค่าสินค้า พร้อมกับอากรขาเข้าและภาษีสรรพสามิต (ถ้ามี) โดยทั่วไปอัตรา VAT คือ 7% ภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากฐานภาษีซึ่งประกอบด้วย VAT สามารถขอคืนได้ในฐานะ “ภาษีซื้อ” ภายใน 6 เดือน อย่างไรก็ตาม อากรขาเข้าไม่สามารถขอคืนได้ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า 1. อากรขาออก (Export Duties) อากรขาออกเป็นภาษีที่เรียกเก็บสำหรับการส่งออกสินค้าบางประเภทเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น โดยจะคำนวณจากมูลค่าของสินค้า บวกด้วยค่าขนส่งและค่าประกันภัย (CIF – Cost, Insurance, Freight) หากสินค้าเข้าข่ายที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเสียอากรขาเข้าอัตราภาษีจะแตกต่างกันไปตามประเภทสินค้า โดยระบุไว้ใน พิกัดศุลกากร (HS Code – Harmonized System Code) ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลในการจัดประเภทสินค้า อัตราภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า โดยระบุไว้ใน ประกาศกรมศุลกากร ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดประเภทสินค้าและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกาศกรมศุลกากรที่ 103/2561ตัวอย่างเช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจมีอัตราภาษีที่ต่ำกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีการกำหนดอัตราภาษีตามนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การส่งออกสินค้าจากประเทศไทยได้รับการ ยกเว้น VAT หรือเรียกว่าอัตรา 0% (Zero Rate) เนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ แต่ผู้ส่งออกต้องจัดทำใบกำกับภาษีเพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าและจำนวนภาษีที่เกี่ยวข้องและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการส่งออกสินค้า และต้องมีหลักฐานยืนยันการส่งออก เช่น ใบขนสินค้าขาออก (Export Declaration) และใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออกไม่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน เช่น ไม่มีใบขนสินค้าขาออกที่สมบูรณ์ทไม่มีหลักฐานการรับชำระเงินจากต่างประเทศ สินค้านั้นอาจไม่ได้รับสิทธิยกเว้น VAT เคล็ดลับในการดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออก การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเป็นโอกาสที่ดีในการขยายตลาดและสร้างรายได้ กาศึกษารายละเอียดภาษีอย่างครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในระยะยาว นอกจากนี้การออกเอกสารภาษีอย่างถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อป้องกันปัญหาและความล่าช้าในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ด้วยฟีเจอร์ที่ช่วยจัดการงานด้านบัญชีและภาษีอย่างครบวงจร เช่น การออกใบกำกับภาษี การจัดเก็บเอกสารบัญชีอย่างเป็นระบบ ช่วยให้ค้นหาและตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายและรายงานการเงินที่ครบถ้วนและทันสมัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างมั่นใจ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

11 ก.ย. 2024

จักรพงษ์

16 min

ขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ใครที่กำลังจะขายที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้องสงสัยแน่ๆ ว่าเราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวข้องในทางภาษีบ้าง เพื่อเตรียมตัวและเตรียมเงินก่อนตกลงทำสัญญาซื้อขายและวางแผนทางการเงิน เช่น เราจะให้ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดค่าธรรมการโอน หรือภาษีอะไรบ้าง เป็นต้น วันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักภาษีและวิธีคำนวณภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์กันครับ ทำความรู้จักก่อนว่า อสังหาริมทรัพย์คืออะไร ? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติ กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินกับทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย”  จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปให้ง่ายๆ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสิ่งอื่นใดที่อยู่ติดกับที่ดินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทรัพย์ตามธรรมชาติที่ประกอบเป็นอันเดียวกับดิน เช่น แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ดินนั้นก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ในทางภาษี เราต้องทราบว่าได้อสังหาริมทรัพย์มาได้อย่างไร? กรมสรรพากร แบ่งการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 2 กรณี คือ1. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งค้าหรือหากำไรเช่น เราซื้อที่ดินมาเพื่อเก็งกำไรและขาย หรือซื้อที่ดินเพื่อจัดสรร ปลูกสร้างอาคาร คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารโรงงานเพื่อจำหน่าย เป็นต้น2. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร แบ่งออกเป็น2.1 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา(ได้มาฟรี มีคนยกให้)2.2 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร เช่น ซื้อที่ดินมาเพื่อทำการเกษตรกรรม ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างมาเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ภาระภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง? ไม่ว่าผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จะมี 4 ภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ได้แก่  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย(Withholding Tax :WHT)2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ(Specific Business Tax :SBT)3. อากรแสตมป์(Stamp Duty) 4. ค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับฐานภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้คำนวณจะมี 2 ฐาน คือ ราคาซื้อขายจริง และราคาประเมินทุนทรัพย์จากกรมธนารักษ์ที่จะมีประเมินใหม่ทุกๆ 4 ปี สำหรับราคาประเมินที่ดินรอบปัจจุบันใช้สำหรับรอบบัญชีปี 2566 – 2569 (เริ่ม 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2569) เบื้องต้นสามารถตรวจสอบราคาประเมินด้วยตนเองได้ที่ 1. เว็บไซต์กรมธนารักษ์ . แอปพลิเคชันของกรมธนารักษ์  TRD Property Valuation3. Call Center กรมธนารักษ์ โทร 0-2270-0360-63 และ 0-2059-4999 PEAK ขอเล่า : การคำนวณภาษีเงินได้อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา อย่างแรกเราต้องเข้าใจว่า “บุคคลธรรมดา” ในทางภาษีไม่ได้หมายถึงเพียงแค่บุคคลที่มีชีวิตจริง แต่รวมถึงบุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลด้วย  สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดามีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการคำนวณจะผันแปรไปตามวิธีการได้มาของอสังหาริมทรัพย์นั้นว่าได้รับมาจากมรดก/เสน่หา ได้มาเพื่อจะนำมาค้าหากำไรหรือได้มาเพื่อใช้ไม่ได้มุ่งค้าหากำไร ถ้าได้มาเพื่อค้าหากำไรจะไม่สามารถเลือกใช้สิทธิ์ “ภาษีสุดท้าย Final Tax” ได้ ทำให้เมื่อบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี (นับวันชนวัน) นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปี (นับวันชนวัน) ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% กรณีผู้ขายมิได้มุ่งค้าหากำไร เช่น บุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเกินกว่า 1 ปี ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก เมื่อโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะได้รับใบสีฟ้า เรียกว่า “ใบเสร็จรับเงินในราชการกรมที่ดิน” จะแสดงรายละเอียดค่าภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นจะมีรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งใครที่เลือกนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปคำนวณภาษีสิ้นปีอีกครั้ง สามารถใช้ใบเสร็จดังกล่าวเป็นหลักฐานเพื่อใช้เครดิตภาษีได้ แต่คำแนะนำเบื้องต้น คือ ถ้าผู้ขายมีรายได้จากทางอื่นๆ ด้วย การนำรายได้จากการขายอสังริมทรัพย์มารวมด้วยมักจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น จึงไม่ควรเลือกนำมารวมกับภาษีสิ้นปีครับ วิธีการความคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเงินได้สุทธิเฉลี่ยต่อปี ขั้นตอนที่ 2 นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษีเงินได้(ขั้นที่ 1) 1 – 300,000 บาท 5% (ขั้นที่ 2) 300,001 – 500,000 บาท 10%(ขั้นที่ 3) 500,001 – 750,000 บาท 15%(ขั้นที่ 4) 750,001 – 1,000,000 บาท 20% (ขั้นที่ 5) 1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% (ขั้นที่ 6) 2,000,001 – 4,000,000 บาท 30% (ขั้นที่ 7) 4,000,001 บาท ขึ้นไป 40% ขั้นตอนที่ 3 คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา= ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี x จำนวนปีถือครอง ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา นาย ก ได้รับที่ดินจากมรดก เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์โดยการมุ่งการค้าหรือหากำไร นาย ข ซื้อที่ดินเพื่อค้าขาย เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท การคำนวณภาษีเงินได้ภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคล สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคลมีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียในอัตรา 1%  เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้นิติบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภ.ง.ด.50 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร ซึ่งปกตินิติบุคคลจะเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร เพราะกรมสรรพากรกำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่นิติบุคคลมีไว้ในการประกอบกิจการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% ซึ่งในทางปฏิบัติค่อนข้างยากที่นิติบุคคลจะเข้ากรณีที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เพราะปกติจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาก่อนอย่างที่อธิบายข้างต้น ทั้งนี้ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก ตัวอย่าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ค จำกัด ซื้อที่ดินมาเมื่อปี พ.ศ. 2562 นำขายไป 3,000,000 บาท โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมใน พ.ศ. 2567 และราคาประเมินที่ 2,000,000 บาท อย่างไรก็ตาม ใครที่กังวลว่าการคำนวณดูยาก ซับซ้อน สบายใจได้เลยครับ เพราะภาษีทั้งหมดข้างต้นเมื่อเรามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะเป็นคนคำนวณแทนเราเองครับ แต่ถ้าเราเข้าใจการคำนวณก็สามารถคำนวณตัวเลขเบื้องต้นเพื่อประมาณค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ข่าวดีคือไม่ว่าผู้ขายจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็สามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน เพียงแค่กรอกข้อมูลที่จำเป็น ระบบก็จะคำนวณตัวเลขทั้งหมดให้อัตโนมัติครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณยังต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

6 min

ถอด VAT คืออะไร? ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้วิธีคำนวณนี้

การถอด VAT เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเจอในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อมีการขายสินค้าที่เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า หรือการถอด VAT จากสินค้าที่ซื้อมาเพื่อที่ช่วยให้เราทราบราคาต้นทุนที่แท้จริงของสิ่งนั้น นอกจากนี้ การถอด VAT ยังช่วยให้นักบัญชีของกิจการจัดการภาษีได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย ซึ่งมีทั้งการถอด VAT 3% และ 7% ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้วิธีการ ถอด VAT เรามีวิธีคำนวณมาฝากกัน ก่อนถอด VAT ควรรู้จัก VAT คืออะไร  VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี จากการผลิตและขายสินค้านั้น จะต้องเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ และต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำภายใน 30 วัน  วิธีถอด VAT คำนวณด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน การถอด VAT เป็นการถอดเพื่อให้เราทราบราคาที่แท้จริงของสินค้าก่อนคิด VAT ว่ามีราคาเท่าไหร่ และสามารถคำนวณภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามอัตราภาษี ดังนี้  วิธีถอด VAT 3% VAT 3% มักใช้กับธุรกิจที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก กิจการที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี  การจ้างทำของ หรือทำงานต่าง ๆ โดยวิธีการคำนวณนั้นจะทำได้โดยการนำราคาสินค้าที่รวม VAT แล้ว มาหารด้วย 1.03 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นราคาที่ไม่รวม VAT ส่วนต่างระหว่างราคารวมกับราคาที่ไม่รวม VAT คือจำนวนภาษีที่ต้องนำส่ง ตัวอย่างการคำนวณ : สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,300 บาท  วิธีถอด VAT 7% การถอด VAT 7% เป็นการคำนวณที่ใช้กับธุรกิจทั่วไปที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคำนวณคล้ายกับการถอด VAT 3% แต่ใช้ตัวหารเป็น 1.07 แทน การถอด VAT ที่ถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจคำนวณต้นทุน กำไร และภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการคำนวณ สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,700 บาท การเสียภาษี VAT ถ้าธุรกิจของเราเป็นทั้งผู้ขายสินค้าและซื้อสินค้ามา เราต้องมีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย โดยนำภาษีขายที่เก็บจากลูกค้าตลอดเดือนภาษี มาลบด้วยภาษีซื้อที่จ่ายให้ซัพพลายเออร์ในเดือนเดียวกัน หากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าภาษีขายสูงกว่าภาษีซื้อ เจ้าของธุรกิจจ่ายส่วนต่างให้กรมสรรพากร แต่หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะรับภาษีส่วนเกินคืน หรือเก็บไว้เป็นเครดิตภาษีสำหรับการคำนวณในรอบเดือนถัดไปได้เลย  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าหรือซื้อสินค้า การถอด VAT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้เราทราบต้นทุนที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มเงินทุนให้สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อีก นอกจากการคำนวณ VAT ด้วยเครื่องคิดเลขแล้ว การใช้ PEAK Tax ยังช่วยให้การคำนวณภาษีและการออกเอกสารใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมรองรับการจัดการภาษีและบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเติบโตไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

9 min

เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs

การบริหารภาษีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเพิ่มกำไรและบริหารเงินสดได้อย่างเหมาะสม การวางแผนภาษีไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียภาษีเกินความจำเป็น แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกัน! 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs ปี 2568 1. รู้จักประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง การเริ่มต้นวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SME นั้น ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ภาษีแต่ละประเภทจะมีวิธีการคำนวณและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งการรู้จักประเภทของภาษีจะช่วยให้การวางแผนภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และป้องกันการเสียภาษีเกินกว่าที่ควรจะเป็น 1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่คิดจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจทุกประเภทที่มีการดำเนินการในรูปแบบของนิติบุคคลต้องเสียภาษีนี้ การคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการคำนวณภาษี 1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  เป็นภาษีที่คิดจากการขายสินค้าหรือบริการในบางกรณี การเสียภาษีประเภทนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินการทางธุรกิจของคุณ หากคุณขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสีย VAT ก็จำเป็นต้องคำนวณและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง 1.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ภาษีที่ถูกหักออกจากเงินได้บางประเภทที่ธุรกิจจ่ายให้กับผู้รับบริการ เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ หรือเงินได้บางประเภท การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อให้การดำเนินงานของธุรกิจไม่เกิดปัญหาในอนาคต การรู้ว่าภาษีแต่ละประเภทมีการคำนวณและยื่นเอกสารอย่างไร จะช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและหลีกเลี่ยงค่าปรับที่ไม่จำเป็น 2. วางระบบบัญชีที่โปร่งใส การจัดการบัญชีที่เป็นระบบและโปร่งใสถือเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่มีประสิทธิภาพ การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีระเบียบไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดการภาษีให้เหมาะสม แต่ยังทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมทางการเงินของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในอนาคต โดยคุณสามารถทำได้ ดังนี้ 2.1 การใช้โปรแกรมบัญชี ช่วยจัดการงานบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชี ที่สามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างถูกต้อง และสามารถติดตามธุรกรรมต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ โปรแกรม PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถจัดการภาษีได้ง่ายขึ้น ด้วยฟังก์ชันที่รองรับ e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัวจะช่วยลดความยุ่งยากในการคำนวณภาษีและการรายงานทางการเงิน 2.2 การเก็บเอกสารหลักฐาน  ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ ใบกำกับภาษี และเอกสารทางการเงินต่าง ๆ จะช่วยให้การตรวจสอบการยื่นภาษีทำได้สะดวกและง่ายขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบโดยสรรพากรได้ เช่น PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์แบบครบวงจรที่สามารถเก็บเอกสารออนไลน์ได้ 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกหนึ่งการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีคือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4. วางแผนรายรับและรายจ่าย การจัดการรายรับและรายจ่ายอย่างมีแบบแผนช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4.1 เลื่อนรายรับ หากอยู่ในช่วงปลายปีและรายได้เกินเป้าหมาย อาจเลื่อนการรับเงินไปต้นปีถัดไปเพื่อกระจายรายได้ในหลายปี 4.2 เร่งรายจ่าย  ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือชำระค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในช่วงปลายปี เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายและลดกำไรสุทธิ 5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี ผู้ประกอบการควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือผู้ทำบัญชีที่มีความรู้ในด้านกฎหมายภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 6. ติดตามข่าวสารภาษีอย่างต่อเนื่อง ภาษีเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกฎหมายและสถานการณ์เศรษฐกิจ การตรวจสอบและปรับปรุงแผนภาษีอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ การวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถลดภาระภาษีและเพิ่มกำไรได้ แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้าและนักลงทุนอีกด้วย เริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจคุณ ด้วย PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่จะช่วยในการบริหารจัดการภาษีภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ม.ค. 2025

PEAK Account

8 min

ผู้เสียภาษีต้องรู้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร แตกต่างจากเลขบัตรประชาชนไหม

คนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องเสียภาษีถ้ารายได้นั้นถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด ซึ่งในการยื่นภาษีนั้นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่กรมสรรพากรออกให้ผู้ที่ต้องจ่ายเสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลใช้ตัวเลขเหมือนกันไหม เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกัน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขเฉพาะที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ที่ต้องภาษีแต่ละคน เพื่อให้กรมสรรพากรใช้ในการระบุตัวตนของผู้ยื่นภาษี และใช้ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้จะมีเป็นเลข 13 หลักทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแต่เลขจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ บุคคลธรรมดา  สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขเดียวกันกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งออกให้โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ยื่นภาษีไม่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีใหม่ สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้เลย ส่วนผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาก็สามารถแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้ต่อกรมสรรพากรได้เลย ซึ่งการที่ใช้เลขเดียวกับบัตรประจำตัวแบบนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อน และทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น นิติบุคคล   สำหรับนิติบุคคลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลักที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรธุรกิจอื่น ๆ โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคลนี้จะมีความสำคัญในการทำธุรกรรมทางการค้า การออกใบกำกับภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่าง ๆ โดยเลขชุดนี้จะติดตัวนิติบุคคลไปตลอดอายุของกิจการ และใช้แสดงตัวตนทางธุรกิจกับคู่ค้าและหน่วยงานราชการได้ นอกจากนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษียังเป็นหลักฐานสำคัญว่าธุรกิจทำตามกฎหมาย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย การขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี สำหรับคนที่ทั่วไปหรือทำธุรกิจส่วนตัวที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี และนิติบุคคลที่เริ่มต้นธุรกิจแล้วยังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เราจำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  เพื่อให้การจัดการด้านภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง  โดยมีขั้นตอนการขอที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนี้ บุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลธรรมดาการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เนื่องจากใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับคนต่างด้าวและห้างหุ้นส่วนสามัญที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนให้ขอภายใน 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.1 สำหรับบุคคลธรรมดา และ แบบ ล.ป.10.2 สำหรับคณะบุคคล นิติบุคคล นิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติหลังจากจดทะเบียนบริษัท โดยเลขนี้จะเป็นเลขเดียวกับเลขทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียนนิติบุคคลและการได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้ขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทย หรือวันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มทำธุรกิจในประเทศไทย โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.3  การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรอง การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรองสามารถทำได้โดยการตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเลขทะเบียนนี้จะเป็นเลขชุดเดียวกันกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคล เราสามารถตรวจสอบข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยยืนยันตัวตนของคู่ค้า และการทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างมั่นใจ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่ใช้ในการระบุตัวตนทางภาษีและธุรกิจ โดยบุคคลธรรมดาจะใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ส่วนนิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งก่อนการยื่นภาษีหรือธุรกรรมต่าง ๆ ควรเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้พร้อมเพื่อความถูกต้องในการจัดการภาษีตามกฎหมาย โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

แจกขั้นตอนยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 พร้อมลิสต์เอกสารที่ต้องใช้

ใกล้ถึงเวลายื่นภาษีประจำปีแล้ว หลายคนอาจกังวลเรื่องการเตรียมเอกสารและขั้นตอนการยื่นภาษี โดยเฉพาะการยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ที่แม้จะสะดวกกว่าการเดินทางไปสรรพากร แต่ก็มีข้อมูลที่เราต้องรอบคอบก่อนทำการยื่นภาษีอยู่ด้วย ซึ่งก่อนที่เราจะทำการยื่นภาษีออนไลน์กันนั้น เราไปรายละเอียดของดูเอกสาร ขั้นตอน และข้อควรระวังต่าง ๆ กัน การยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คืออะไร การยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เป็นช่องทางที่กรมสรรพากรทำให้การยื่นภาษีสะดวกมากขึ้น โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานสรรพากร ระบบจะช่วยคำนวณภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลเรื่องความผิดพลาด และยังสามารถบันทึกข้อมูลไว้ใช้อ้างอิงในปีถัดไปได้ นอกจากนี้ ยังช่วยประหยัดทรัพยากรและลดการใช้กระดาษ ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 ผู้มีหน้าที่ยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ คือผู้ที่มีรายได้จากการจ้างแรงงานเพียงประเภทเดียว โดยแบ่งเป็นสองกรณี คือ กรณีโสดที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี และกรณีสมรสที่มีรายได้รวมกันเกิน 220,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ รายได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการทำงานให้นายจ้างเท่านั้น ไม่รวมรายได้จากแหล่งอื่น เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นภาษี ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ ก่อนเริ่มยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ เราควรเตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อความสะดวกในการกรอกข้อมูลและป้องกันความผิดพลาด โดยเอกสารจะแตกต่างกันระหว่างผู้ที่มีสถานะโสดและสมรส มาดูกันว่าแต่ละกลุ่มต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง คนโสด สำหรับผู้มีสถานะโสด เอกสารหลักที่ต้องเตรียมคือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งแสดงรายได้และภาษีที่ถูกหักไว้ตลอดปี ซึ่งหากเรามีตัวช่วยลดหย่อนภาษีในด้านต่าง ๆ ต้องเตรียมหลักฐานประกอบ เช่น ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ หนังสือรับรองการซื้อกองทุน RMF/SSF/SSFX หลักฐานการบริจาค และใบเสร็จจากโครงการช้อปดีมีคืน รวมถึงหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินกรณีผ่อนบ้าน ทั้งนี้ควรจัดเก็บเอกสารในรูปแบบไฟล์ดิจิทัลเพื่อความสะดวกในการอัพโหลด คนมีคู่ ผู้ที่สมรสแล้วต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) คือ ทะเบียนสมรสและใบสูติบัตรบุตร(ถ้ามี) สำหรับการลดหย่อน ส่วนเอกสารการลดหย่อนอื่น ๆ เหมือนกับคนโสด ได้แก่ ใบเสร็จค่าเบี้ยประกัน หลักฐานการลงทุนในกองทุน หลักฐานการบริจาค ใบเสร็จช้อปดีมีคืน และหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ โดยสามารถนำค่าลดหย่อนของคู่สมรสมารวมในการคำนวณภาษีได้ ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 91 ยื่นภาษีไม่ทันหรือชำระภาษีไม่ทันทำอย่างไรดี กรณีที่ไม่สามารถยื่น ภ.ง.ด.91 ออนไลน์ หรือชำระภาษีได้ทันตามกำหนด จะมีบทลงโทษตามกฎหมาย โดยหากมีภาษีที่ต้องชำระ จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน นับจากวันที่เลยเวลาจ่าย และต้องเสียค่าปรับอีกหนึ่งเท่าของภาษีที่ต้องชำระ ส่วนกรณีที่ไม่มีภาษีต้องชำระแต่ยื่นแบบล่าช้า จะถูกปรับ 1,000 บาท ดังนั้นควรวางแผนยื่นภาษีล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม การยื่นภ.ง.ด.91 ออนไลน์ทำให้การจัดการภาษีง่ายมากขึ้น เพียงเตรียมเอกสารให้พร้อมและทำความเข้าใจขั้นตอนการยื่นแบบผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ควรวางแผนยื่นล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและเงินเพิ่ม โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือโทรสอบถามที่ 1161  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รองรับการทำ ภ.ง.ด. 91 (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี) โดยช่วยคำนวณภาษีและจัดทำรายงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ระบบสามารถบันทึกและสรุปข้อมูลรายได้ ค่าใช้จ่าย และการหักภาษี ณ ที่จ่าย พร้อมทั้งสร้างแบบฟอร์มภ.ง.ด. 91 ที่สามารถยื่นผ่านระบบออนไลน์ได้ทันที ช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

เจ้าของธุรกิจทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมาย ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์

การทำธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและเอกสารสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เพื่อให้ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องติดอย่างไร เมื่อไหร่ และมีอัตราเท่าไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องอากรแสตมป์อย่างละเอียด เพื่อให้การทำสัญญาของเราถูกต้องและใช้ได้ตามกฎหมาย ภาษีอากรแสตมป์ คืออะไร ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารและสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีลักษณะเป็นแสตมป์ที่ต้องติดลงบนตราสารหรือเอกสารสำคัญภายใน 15 วันหลังจากการลงนาม เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาเช่า หนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ทั้งนี้ อัตราค่าอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของตราสาร ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์สำคัญกับการทำสัญญาอย่างไร การติดอากรแสตมป์ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมอากรแสตมป์จึงมีความสำคัญ ยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย การติดภาษีอากรแสตมป์ในเอกสารหรือสัญญาเป็นการรับรองว่าเอกสารนั้นได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปรียบเสมือนตราประทับรับรองจากภาครัฐ ทำให้เอกสารน่าเชื่อถือและใช้ได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าผู้ทำสัญญามีความตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงและเคารพกฎหมาย ป้องกันความขัดแย้ง การติดอากรแสตมป์ช่วยป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญานี้กันจริง และสัญญานั้นผ่านการรับรองตามกฎหมายแล้ว ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง สัญญาที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนจะมีน้ำหนักในการพิจารณามากกว่าสัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์  ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สัญญาที่ติดภาษีอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทันที ในขณะที่สัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์หรือติดไม่ครบถ้วน อาจถูกปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล หรือต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น การติดอากรแสตมป์จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี การชำระค่าอากรแสตมป์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลักษณะของเอกสาร ดังนี้ ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย การชำระอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับประเภทเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่พบบ่อย ได้แก่ 1. สัญญาเช่าทรัพย์สินอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินมีอัตราอยู่ที่ 1 บาทต่อค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากค่าเช่าระบุไว้ที่ 10,500 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 11 บาท ซึ่งการคำนวณนี้ครอบคลุมถึงสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ เช่น เช่าที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์ 2. ตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค)สำหรับเอกสารประเภทตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 3 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เช่น หากยอดเงินในตั๋วเงินระบุไว้ที่ 6,500 บาท ผู้ที่ออกตั๋วจะต้องชำระอากรแสตมป์จำนวน 12 บาท 3. หนังสือมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่มักใช้ในทางธุรกิจหรือการดำเนินการทางกฎหมาย จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 10 บาทต่อฉบับ โดยไม่มีการคิดเพิ่มตามมูลค่าหรือรายละเอียดของเอกสาร 4. สัญญากู้ยืมเงินในกรณีของสัญญากู้ยืมเงิน อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากมีการกู้เงินจำนวน 50,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 25 บาท 5. สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานออกแบบ จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อค่าแรง 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เช่น หากค่าแรงรวมทั้งหมดเป็น 15,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 15 บาท 6. สัญญาค้ำประกันสัญญาค้ำประกันที่ใช้ในการรับรองหรือค้ำประกันภาระผูกพันทางการเงิน จะต้องชำระอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 7. สัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์สำหรับสัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 0.1% ของมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น หากมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่ 1,000,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 1,000 บาท การติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารและสัญญาต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เอกสารมีผลทางกฎหมายและหากเกิดความขัดแย้งสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องรู้จัก ภาษีศุลกากรคืออะไร

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ภาษีศุลกากร คืออะไร? ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้ ภาษีส่งออก ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้ การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก