ธุรกิจ SMEs

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

31 ต.ค. 2023

PEAK Account

12 min

บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รูปแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

จากความเห็นของผู้เขียน ปัจจุบันการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัดมีความยืดหยุ่นในเรื่องผู้ก่อตั้งที่เริ่มต้นเพียง 2 คนเท่านั้น โครงสร้างทุนสะดวกต่อการระดมทุน และมีการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นกรณีบริษัทล้มละลาย อีกทั้งไม่มีความแตกต่างในเรื่องอัตราภาษีเมื่อเทียบกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จากบทความ ทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประหยัดภาษีที่สุด? (สำหรับท่านผู้อ่านที่อยากเป็นนิติบุคคลให้อ่านอันนี้) มีผู้อ่านหลายท่านสอบถามเข้ามาว่าถ้าอยากเป็นนิติบุคคลบ้าง จะต้องเลือกรูปแบบการจัดตั้งแบบไหนที่เหมาะกับเรา? มีข้อมูลอะไรที่สามารถศึกษาได้เบื้องต้นได้ก่อน?  ครั้งนี้ผมจึงพาทุกคนมารู้จักประเภทของนิติบุคคลสำหรับบุคคลธรรมดาที่กำลังอยากปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจมาเป็นนิติบุคคลว่ามีตัวเลือกอะไรบ้าง ผมขอแนะนำ 2 รูปแบบกิจการที่เป็นที่นิยมในการดำเนินการในรูปแบบนิติบุคคล นั้นก็คือ รูปแบบบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทำความเข้าใจรูปแบบกิจการ 1. บริษัทจำกัด เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับรูปแบบนี้ที่สุด เพราะสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป และกว่า 80% ของนิติบุคคลที่จัดตั้งในปี 2565 เป็นรูปแบบบริษัท ซึ่งพอจะประมาณได้ว่ารูปแบบนี้ได้รับความนิยมเลยทีเดียวครับ 2. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จากข้อมูลจำนวนนิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ในปี 2565 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ DBD ระบุว่ามีสัดส่วนของห้างหุ้นส่วนเพียง 20% ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ แต่บางคนอาจเกิดคำถามหรือเคยเห็นทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัดว่าแตกต่างกันอย่างไร ขอสรุปง่ายๆ ว่าแตกต่างกันที่ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการ โดยห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจะมีเพียงเฉพาะหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการ แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการ สรุปแล้วจดบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดีกว่ากัน? หลังจากที่เราได้เข้าใจลักษณะเบื้องต้นของแต่ละรูปแบบกิจการไปแล้ว ต่อไปก็เป็นท่านที่ต้องเลือกและตัดสินใจว่าแบบไหนที่เราสนใจ ในส่วนที่ทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเหมือนกันคือ การจัดทำบัญชีต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และกรมสรรพากร (RD) และด้านภาษีก็ต้องจัดทำให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเสียอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราเดียวกัน สำหรับในเรื่องที่แตกต่างที่ต้องพิจารณา ผมจะให้แนวทางเบื้องต้นไว้ 4 เรื่อง ดังนี้ 1. ด้านความน่าเชื่อ 1.1 การรับรู้โดยทั่วไป(Public Perception) : คนทั่วไปมักมองว่าบริษัทจำกัดมีความน่าเชื่อถือกว่า และรูปแบบนี้ก็เป็นที่นิยมในระดับสากลเช่นกัน ขณะที่รูปแบบห้างหุ้นส่วนคนบางส่วนมองเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจครอบครัว เพราะในอดีตการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจะทำได้ง่ายกว่าบริษัทจำกัด 1.2 ความรับผิดทางกฎหมาย : ในมุมมองของเจ้าหนี้การค้าจะคาดหวังเงินจากการค้าขายเมื่อครบเครดิตเทอม แต่ถ้าบริษัทจำกัดต้องปิดตัวลง เจ้าหนี้อาจได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวนเพราะถ้าหนี้สินที่บริษัทไม่สามารถจ่ายได้ ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาด แต่ห้างหุ้นส่วนจะมีหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดที่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินส่วนนี้เพิ่ม กรณีที่เงินทุนของห้างหุ้นส่วนไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้สิน 2. ด้านความยืดหยุ่น 2.1 การรับรองงบการเงิน : บริษัทจำกัดถูกบังคับให้ต้องมีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่ออนุมัติงบการเงินและส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายในระยะเวลาที่กำหนด ขณะที่ห้างหุ้นส่วนไม่ได้มีข้อกำหนดนี้ 2.2 การบริหารงาน : บริษัทจำกัดสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นกรรมการบริษัทเพื่อบริหารงานในองค์กรได้ ขณะที่ห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วน (เฉพาะประเภทรับผิดไม่จำกัด) เท่านั้นที่จะสามารถบริหารงานในองค์กรได้ 2.3 การขยายกิจการ : รูปแบบการลงทุนเป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจำกัดซึ่งเอื้อต่อการขยายกิจการ และการระดมทุนจากบุคคลภายนอกได้ง่ายกว่า อีกทั้งสามารถแปรสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนได้ง่ายเพราะมีรูปแบบการลงทุนเป็นหุ้นเช่นเดียวกัน ขณะที่ห้างหุ้นส่วนมีรูปแบบการลงทุนตามสัดส่วนจำนวนเงินที่นำมาลงทุนซึ่งยากต่อการระดมทุนมากกว่า 2.4 การเลิกกิจการ : ห้างหุ้นส่วนถือคุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นสำคัญ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเสียชีวิตอาจทำให้ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกันได้ (ยกเว้นมีหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตกลงเข้ารับซื้อหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นแทน) ขณะที่บริษัทจำกัดถือเรื่องทุนเป็นสำคัญ ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ เมื่อผู้ถือหุ้นเสียชีวิตไม่เป็นเหตุให้บริษัทต้องเลิกกัน 2.5 สิทธิที่ตกแก่ทายาท : สำหรับบริษัทจำกัดเมื่อผู้ถือหุ้นเสียชีวิต ความเป็นผู้ถือหุ้นจะตกทอดไปยังทายาททันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 และ 1600 ขณะที่ห้างหุ้นส่วนเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเสียชีวิต ความเป็นหุ้นส่วนจะไม่ตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทเพราะถือว่าเป็นสิทธิเฉพาะตน 3. ความรับผิดในหนี้สินของกิจการ เมื่อเกิดกรณีที่หนี้สินของบริษัทมากกว่าสินทรัพย์หรือทุนของกิจการ บริษัทจำกัดจะถูกกำหนดให้รับผิดชอบในหนี้สินบริษัทไม่เกินกว่าค่าหุ้นที่ต้องชำระ กล่าวง่ายๆ คือ ถ้าหนี้สินมีมากกว่าทุน เจ้าของก็รับผิดชอบต่อบรรดาหนี้สินต่างๆ ไม่เกินกว่าจำนวนทุนที่ต้องชำระ แต่ในกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะมีหุ้นส่วนประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดทำให้เมื่อต้องชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วนแต่ทุนไม่เพียงพอหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องรับผิดชอบในหนี้สินส่วนที่เหลือด้วย ตัวอย่าง : ห้างหุ้นส่วนเจริญจำกัด มีนาย ก เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และนาย ข เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ต่อมาห้างหุ้นส่วนล้มละลาย ห้างฯ มีหนี้สินที่ค้างชำระจากการล้มละลายจำนวน 10 ล้านบาท นาย ก ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้จนหมด ส่วนนาย ข กรณีที่ชำระเงินตามจำนวนที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างฯ ครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินที่เหลืออีกเนื่องจากเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด 4. ค่าธรรมเนียมจดจัดตั้ง กรณีจดจัดตั้งบริษัทจำกัดจะมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนค่อนข้างมาก อาจเพราะรูปแบบบริษัทจำกัดต้องมีการจัดทำรายงานการประชุมหรือเอกสารทางกฎหมาย และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า รวมทั้งในอดีตบริษัทจำกัดต้องใช้ผู้เริ่มก่อตั้งถึงเจ็ดคน เลยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าธรรมเนียมจดจัดตั้งสูงกว่าห้างหุ้นส่วน จากความเห็นของผู้เขียน ปัจจุบันภาพรวมการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัด มีความยืดหยุ่นและมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า อีกทั้งไม่มีความแตกต่างในเรื่องอัตราภาษี หรือความแตกต่างในเรื่องของจำนวนผู้ก่อของบริษัทจำกัดอย่างที่เคยเป็นในอดีตแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้อ่านต้องใช้ดุลยพินิจหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบนิติบุคคลอีกครั้งอย่างถี่ถ้วน หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจ หรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกรูปแบบนิติบุคคลไหน แต่อยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาหรือช่วยเรื่องการจดจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

31 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

12 min

ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแบบไหนดีที่สุด?

ถ้าเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยทุนจำนวนน้อย ความเสี่ยงต่ำ หรือไม่แน่ใจในการเติบโตของธุรกิจ การดำเนินธุรกิจในรูปแบบเป็นบุคคลก็เหมาะสมและเพียงพอ แต่ถ้าอยากขยายธุรกิจ ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือเพื่อระดมทุน อยากจำกัดความเสี่ยงของผู้ลงทุน การทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจะได้ประโยชน์มากกว่า ผู้ประกอบการอาจเคยได้ยินมาว่า “พอเราทำธุรกิจแล้วมีรายได้หรือกำไรถึงจุดหนึ่ง เราควรเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน” ข้อความนี้เป็นจริงหรือไม่? ผมขอบอกว่า ไม่จริงเสมอไป เพราะมันอยู่ที่หลายปัจจัย ทั้งด้านบริหารธุรกิจ หรือด้านการประหยัดภาษี การตัดสินใจเลือกลักษณะการดำเนินธุรกิจไม่ได้มองแค่ในมุมของตัวเลขหรือจำนวนเงินเท่านั้น แต่ต้องมองให้รอบถึงมุมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เราเลือกด้วย วันนี้ผมอยากชวนทุกคนมาเจาะลึกของทั้งสองมุมมองกันว่าการทำธุรกิจนั้น ควรทำในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือรูปแบบนิติบุคคลจะดีกว่ากันครับ มุมมองด้านธุรกิจ-การบริหาร-บัญชี หลักๆ แล้วบุคคลจะได้เปรียบในเรื่องของความคล่องตัวในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพราะไม่ต้องทำเอกสารติดต่อราชการอะไรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจดจัดตั้ง การเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการเลิกกิจการ  ในขณะที่นิติบุคคลจะได้เปรียบในเรื่องความน่าเชื่อถือ เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการจัดทำบัญชีเพื่อส่งให้หน่วยงานราชการ ส่งผลให้สถาบันการเงินกล้าที่จะปล่อยกู้ และคนกล้าจะมาร่วมลงทุนเพราะมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เชื่อถือได้ และตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี  จุดที่ผมคิดว่าได้เปรียบที่สุดของการทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลก็คือ การจำกัดความรับผิดในหนี้สินของธุรกิจเมื่อถูกฟ้องล้มละลายจะไม่กระทบมายังทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลธรรมดาครับ มุมมองด้านภาษี บุคคลไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องจัดทำรายการรับหรือจ่ายเงิน แต่รายได้บางประเภท กฎหมายภาษีกำหนดให้ต้องจัดทำ รายงานเงินสดรับ-จ่าย แต่ก็ไม่ได้มีความซับซ้อนเท่าการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล เพราะบันทึกตามการรับและจ่ายเงินสด  นอกจากนี้บุคคลธรรมดายังสามารถที่จะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ ซึ่งหมายความว่า กิจการไม่จำเป็นต้องเก็บเอกสารให้ปวดหัวเลย ซึ่งผู้ประกอบการหลายคนชอบในส่วนนี้ แต่ก็ต้องแลกกับอัตราภาษีที่อาจเสียสูงถึง 35% เลยทีเดียว  ในขณะที่นิติบุคคลต้องจัดทำรายได้-รายจ่ายตามมาตรฐานการบัญชี และหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แปลว่าทุกรายได้และรายจ่ายต้องมีเอกสารประกอบและจัดเก็บให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมไปถึงต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีมารับรองงบการเงินอีก ส่งผลให้ภาระในการเตรียมเอกสารต่างๆ และต้นทุนในการจัดการตรงนี้สูง แต่ก็แลกกับการที่นิติบุคคลนั้นสามารถใช้ขาดทุนสะสมในอดีตมาลดภาษีในปีปัจจุบันได้ และก็ยังเสียอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่เพียง 20% เท่านั้น สรุปแล้วการเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลอันไหนดีกว่ากัน ? คำว่า “ดีกว่า” ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางธุรกิจ และการยอมรับความเสี่ยง ถ้าคุณเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยทุนจำนวนน้อย และมีความเสี่ยงต่ำ หรือในกรณีที่คุณพึ่งเริ่มธุรกิจแต่ยังไม่แน่ใจว่าธุรกิจจะเติบโตได้จริงไหม การเป็นบุคคลธรรมดาก็อาจเหมาะสมแล้ว แต่วันไหนที่ธุรกิจคุณเริ่มเติบโตขึ้น การเป็นนิติบุคคลอาจตอบสนองได้มากกว่าถ้าคุณมีความต้องการเหล่านี้ 1. ความต้องการสินเชื่อหรือเงินทุน ถ้าธุรกิจต้องการเงินลงทุนมากขึ้น ความน่าเชื่อถือของธุรกิจจะเริ่มมีความสำคัญมาก เพราะผู้ปล่อยกู้หรือผู้ลงทุนต้องการเอกสารที่บอกได้ว่าธุรกิจของเราทำกำไรได้ดีหรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราจะมีเงินมาคืนเงินกู้หรือสร้างผลตอบแทนได้ให้แก่ผู้ลงทุน การจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชีและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีจะตอบสนองในเรื่องความน่าเชื่อถือได้มาก หากคุณต้องการขยายกิจการโดยใช้เงินคนอื่นมาช่วยด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ หรือผู้ร่วมลงทุน คุณควรจะทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล 2. ความรับผิดชอบจากการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เมื่อธุรกิจโตขึ้น ความเสี่ยงของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นตาม เช่น เมื่อเริ่มต้นคุณอาจมีลูกค้าเพียง 10 คน เมื่อเกิดความเสียหายคุณคนเดียวก็อาจจะรับผิดชอบได้ ลองจินตนาการว่าธุรกิจเติบโตจนมีลูกค้า 1,000 คน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นคุณคนเดียวคงรับมือไม่ไหวแน่ เมื่อธุรกิจล้มละลาย หรือไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้  การเป็นนิติบุคคลจะมีข้อดีที่ช่วยจำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นเพียงไม่เกินจำนวนเงินลงทุนที่คุณ (ในฐานะผู้ถือหุ้น) เคยลงทุนไปในธุรกิจนั้นเท่านั้น ลองจินตนาการว่าถ้าคุณยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่ คุณอาจจะต้องขายรถ ขายบ้าน หรือทรัพย์สินส่วนตัวอื่นๆ มาชดใช้จนกว่าหนี้สินนั้นจะหมด เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากอยู่จุดนั้นแน่ 3. การมีผู้ร่วมกิจการมากกว่า 1 คน  การทำธุรกิจคนเดียวนั้นยาก และมีความเสี่ยงที่สูง หากคุณต้องการมีผู้ร่วมก่อตั้งมากกว่า 1 คน คุณก็ควรจะทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล เพื่อแยกความชัดเจนระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินของกิจการ และยังช่วยให้เราจัดการเรื่องการแบ่งสรรผลกำไร หรือผลประโยชน์ตามสัดส่วนการถือหุ้นได้ชัดเจนอีกด้วย อย่างไรก็ตามการวางโครงสร้างผู้ถือหุ้นก่อนจัดตั้งนิติบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบางกิจการให้สัดส่วนของผู้ลงทุนที่ไม่ได้บริหารงานมากกว่าผู้ลงทุนที่เข้ามาบริหารงาน ซึ่งจะแก้ไขในภายหลังได้ยาก 4. สามารถเก็บเอกสารทางการค้าได้ครบถ้วน ถูกต้อง เนื่องจากธุรกิจที่ยังดำเนินการในรูปแบบบุคคลยังมีข้อดีที่รายจ่ายที่นำมาหักจากรายได้สามารถเลือกหักแบบหักเหมาได้ พูดง่ายๆ คือ กรมสรรพากรกำหนดอัตรารายจ่ายมาให้เราเลยโดยไม่ต้องสนใจรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงว่ามีเท่าใด ทำให้เราไม่ต้องเก็บเอกสารรายจ่ายใดๆ เพราะปัญหาชวนปวดหัวอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการ คือ การจ่ายเงินแล้วได้ไม่ได้เอกสารรายจ่ายมา เช่น ซื้อของจากผู้ขายที่ไม่รู้ว่าต้องออกเอกสารอะไรให้ หรือซื้อของผู้ขายที่จะหลบภาษีโดยไม่ออกเอกสารให้ รวมถึงเมื่อได้เอกสารมาก็ไม่รู้ว่าอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือใช้ได้ไหม  ในข้อดีก็มีข้อเสีย คือ หลายธุรกิจมีรายจ่ายสูงกว่าที่อัตราที่สรรพากรกำหนดมาให้ เช่น ธุรกิจขายของออนไลน์จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้สูงสุด 60% ขณะที่ความเป็นจริงต้นทุนของสินค้าอาจสูงถึง 80% การหักเหมาก็จะทำให้เราเสียผลประโยชน์ตรงนี้ไป แต่ถ้าเราสามารถเรียกเอกสารจากผู้ขายได้เราก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงและเสียภาษีลดลงนั่นเอง  5. อยากทำบัญชีให้ถูกต้อง และประหยัดภาษี เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะจุดเริ่มต้นของการประหยัดภาษีต้องมาจากการทำบัญชีที่ ถูกต้องก่อน จะทำให้เห็นภาพรวมที่แท้จริงของกิจการ และสามารถนำไปวางแผนเพื่อเสียภาษีให้ประหยัดอย่างถูกต้องได้ เพราะถ้าคุณอยากประหยัดภาษีโดยวิธีที่ผิด ผลกระทบที่ตามมานอกจากงบการเงินจะไม่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้แล้ว ภาษีที่จะประหยัดได้จากการหลบเลี่ยงก็อาจไม่ได้ประหยัดอย่างที่คิด ก็เพราะปัจจุบันสรรพากรนำเทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามาช่วยตรวจสอบภาษีทำให้ปัจจุบันเราจะเห็นคนโดนตรวจสอบภาษีย้อนหลังมากขึ้นและง่ายขึ้นมา นอกจากภาษีที่ต้องจ่ายคืนแล้ว ยังต้องรับโทษค่าปรับอีกจำนวนมหาศาลเลย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล แต่อยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

31 ต.ค. 2023

PEAK Account

12 min

บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รูปแบบไหนเหมาะกับคุณที่สุด

จากความเห็นของผู้เขียน ปัจจุบันการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัดมีความยืดหยุ่นในเรื่องผู้ก่อตั้งที่เริ่มต้นเพียง 2 คนเท่านั้น โครงสร้างทุนสะดวกต่อการระดมทุน และมีการจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้นกรณีบริษัทล้มละลาย อีกทั้งไม่มีความแตกต่างในเรื่องอัตราภาษีเมื่อเทียบกับการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จากบทความ ทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลประหยัดภาษีที่สุด? (สำหรับท่านผู้อ่านที่อยากเป็นนิติบุคคลให้อ่านอันนี้) มีผู้อ่านหลายท่านสอบถามเข้ามาว่าถ้าอยากเป็นนิติบุคคลบ้าง จะต้องเลือกรูปแบบการจัดตั้งแบบไหนที่เหมาะกับเรา? มีข้อมูลอะไรที่สามารถศึกษาได้เบื้องต้นได้ก่อน?  ครั้งนี้ผมจึงพาทุกคนมารู้จักประเภทของนิติบุคคลสำหรับบุคคลธรรมดาที่กำลังอยากปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจมาเป็นนิติบุคคลว่ามีตัวเลือกอะไรบ้าง ผมขอแนะนำ 2 รูปแบบกิจการที่เป็นที่นิยมในการดำเนินการในรูปแบบนิติบุคคล นั้นก็คือ รูปแบบบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทำความเข้าใจรูปแบบกิจการ 1. บริษัทจำกัด เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับรูปแบบนี้ที่สุด เพราะสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป และกว่า 80% ของนิติบุคคลที่จัดตั้งในปี 2565 เป็นรูปแบบบริษัท ซึ่งพอจะประมาณได้ว่ารูปแบบนี้ได้รับความนิยมเลยทีเดียวครับ 2. ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล จากข้อมูลจำนวนนิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ในปี 2565 ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ DBD ระบุว่ามีสัดส่วนของห้างหุ้นส่วนเพียง 20% ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนใหม่ แต่บางคนอาจเกิดคำถามหรือเคยเห็นทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัดว่าแตกต่างกันอย่างไร ขอสรุปง่ายๆ ว่าแตกต่างกันที่ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการ โดยห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจะมีเพียงเฉพาะหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการ แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ หุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการ สรุปแล้วจดบริษัทจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดีกว่ากัน? หลังจากที่เราได้เข้าใจลักษณะเบื้องต้นของแต่ละรูปแบบกิจการไปแล้ว ต่อไปก็เป็นท่านที่ต้องเลือกและตัดสินใจว่าแบบไหนที่เราสนใจ ในส่วนที่ทั้งบริษัทจำกัดและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเหมือนกันคือ การจัดทำบัญชีต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีและส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) และกรมสรรพากร (RD) และด้านภาษีก็ต้องจัดทำให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเสียอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราเดียวกัน สำหรับในเรื่องที่แตกต่างที่ต้องพิจารณา ผมจะให้แนวทางเบื้องต้นไว้ 4 เรื่อง ดังนี้ 1. ด้านความน่าเชื่อ 1.1 การรับรู้โดยทั่วไป(Public Perception) : คนทั่วไปมักมองว่าบริษัทจำกัดมีความน่าเชื่อถือกว่า และรูปแบบนี้ก็เป็นที่นิยมในระดับสากลเช่นกัน ขณะที่รูปแบบห้างหุ้นส่วนคนบางส่วนมองเป็นธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจครอบครัว เพราะในอดีตการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจะทำได้ง่ายกว่าบริษัทจำกัด 1.2 ความรับผิดทางกฎหมาย : ในมุมมองของเจ้าหนี้การค้าจะคาดหวังเงินจากการค้าขายเมื่อครบเครดิตเทอม แต่ถ้าบริษัทจำกัดต้องปิดตัวลง เจ้าหนี้อาจได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวนเพราะถ้าหนี้สินที่บริษัทไม่สามารถจ่ายได้ ผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบในส่วนที่ขาด แต่ห้างหุ้นส่วนจะมีหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดที่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินส่วนนี้เพิ่ม กรณีที่เงินทุนของห้างหุ้นส่วนไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้สิน 2. ด้านความยืดหยุ่น 2.1 การรับรองงบการเงิน : บริษัทจำกัดถูกบังคับให้ต้องมีการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละ 1 ครั้ง เพื่ออนุมัติงบการเงินและส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายในระยะเวลาที่กำหนด ขณะที่ห้างหุ้นส่วนไม่ได้มีข้อกำหนดนี้ 2.2 การบริหารงาน : บริษัทจำกัดสามารถแต่งตั้งบุคคลภายนอกเป็นกรรมการบริษัทเพื่อบริหารงานในองค์กรได้ ขณะที่ห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วน (เฉพาะประเภทรับผิดไม่จำกัด) เท่านั้นที่จะสามารถบริหารงานในองค์กรได้ 2.3 การขยายกิจการ : รูปแบบการลงทุนเป็นทุนเรือนหุ้นของบริษัทจำกัดซึ่งเอื้อต่อการขยายกิจการ และการระดมทุนจากบุคคลภายนอกได้ง่ายกว่า อีกทั้งสามารถแปรสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนได้ง่ายเพราะมีรูปแบบการลงทุนเป็นหุ้นเช่นเดียวกัน ขณะที่ห้างหุ้นส่วนมีรูปแบบการลงทุนตามสัดส่วนจำนวนเงินที่นำมาลงทุนซึ่งยากต่อการระดมทุนมากกว่า 2.4 การเลิกกิจการ : ห้างหุ้นส่วนถือคุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นสำคัญ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเสียชีวิตอาจทำให้ห้างหุ้นส่วนต้องเลิกกันได้ (ยกเว้นมีหุ้นส่วนคนอื่นๆ ตกลงเข้ารับซื้อหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นแทน) ขณะที่บริษัทจำกัดถือเรื่องทุนเป็นสำคัญ ไม่ได้มีข้อจำกัดในเรื่องนี้ เมื่อผู้ถือหุ้นเสียชีวิตไม่เป็นเหตุให้บริษัทต้องเลิกกัน 2.5 สิทธิที่ตกแก่ทายาท : สำหรับบริษัทจำกัดเมื่อผู้ถือหุ้นเสียชีวิต ความเป็นผู้ถือหุ้นจะตกทอดไปยังทายาททันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 และ 1600 ขณะที่ห้างหุ้นส่วนเมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนเสียชีวิต ความเป็นหุ้นส่วนจะไม่ตกทอดเป็นมรดกไปยังทายาทเพราะถือว่าเป็นสิทธิเฉพาะตน 3. ความรับผิดในหนี้สินของกิจการ เมื่อเกิดกรณีที่หนี้สินของบริษัทมากกว่าสินทรัพย์หรือทุนของกิจการ บริษัทจำกัดจะถูกกำหนดให้รับผิดชอบในหนี้สินบริษัทไม่เกินกว่าค่าหุ้นที่ต้องชำระ กล่าวง่ายๆ คือ ถ้าหนี้สินมีมากกว่าทุน เจ้าของก็รับผิดชอบต่อบรรดาหนี้สินต่างๆ ไม่เกินกว่าจำนวนทุนที่ต้องชำระ แต่ในกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะมีหุ้นส่วนประเภทที่ไม่จำกัดความรับผิดทำให้เมื่อต้องชำระหนี้สินของห้างหุ้นส่วนแต่ทุนไม่เพียงพอหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดก็ต้องรับผิดชอบในหนี้สินส่วนที่เหลือด้วย ตัวอย่าง : ห้างหุ้นส่วนเจริญจำกัด มีนาย ก เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด และนาย ข เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ต่อมาห้างหุ้นส่วนล้มละลาย ห้างฯ มีหนี้สินที่ค้างชำระจากการล้มละลายจำนวน 10 ล้านบาท นาย ก ซึ่งเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดชอบในการชำระหนี้จนหมด ส่วนนาย ข กรณีที่ชำระเงินตามจำนวนที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างฯ ครบถ้วนแล้ว ไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้สินที่เหลืออีกเนื่องจากเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด 4. ค่าธรรมเนียมจดจัดตั้ง กรณีจดจัดตั้งบริษัทจำกัดจะมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนค่อนข้างมาก อาจเพราะรูปแบบบริษัทจำกัดต้องมีการจัดทำรายงานการประชุมหรือเอกสารทางกฎหมาย และรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่า รวมทั้งในอดีตบริษัทจำกัดต้องใช้ผู้เริ่มก่อตั้งถึงเจ็ดคน เลยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ค่าธรรมเนียมจดจัดตั้งสูงกว่าห้างหุ้นส่วน จากความเห็นของผู้เขียน ปัจจุบันภาพรวมการจัดตั้งในรูปแบบบริษัทจำกัด มีความยืดหยุ่นและมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า อีกทั้งไม่มีความแตกต่างในเรื่องอัตราภาษี หรือความแตกต่างในเรื่องของจำนวนผู้ก่อของบริษัทจำกัดอย่างที่เคยเป็นในอดีตแล้ว แต่อย่างไรก็ตามผู้อ่านต้องใช้ดุลยพินิจหรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการตัดสินใจในการเลือกรูปแบบนิติบุคคลอีกครั้งอย่างถี่ถ้วน หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจ หรือยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกรูปแบบนิติบุคคลไหน แต่อยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาหรือช่วยเรื่องการจดจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

31 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

12 min

ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแบบไหนดีที่สุด?

ถ้าเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยทุนจำนวนน้อย ความเสี่ยงต่ำ หรือไม่แน่ใจในการเติบโตของธุรกิจ การดำเนินธุรกิจในรูปแบบเป็นบุคคลก็เหมาะสมและเพียงพอ แต่ถ้าอยากขยายธุรกิจ ต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือเพื่อระดมทุน อยากจำกัดความเสี่ยงของผู้ลงทุน การทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลจะได้ประโยชน์มากกว่า ผู้ประกอบการอาจเคยได้ยินมาว่า “พอเราทำธุรกิจแล้วมีรายได้หรือกำไรถึงจุดหนึ่ง เราควรเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน” ข้อความนี้เป็นจริงหรือไม่? ผมขอบอกว่า ไม่จริงเสมอไป เพราะมันอยู่ที่หลายปัจจัย ทั้งด้านบริหารธุรกิจ หรือด้านการประหยัดภาษี การตัดสินใจเลือกลักษณะการดำเนินธุรกิจไม่ได้มองแค่ในมุมของตัวเลขหรือจำนวนเงินเท่านั้น แต่ต้องมองให้รอบถึงมุมอื่นๆ ที่ส่งผลต่อรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เราเลือกด้วย วันนี้ผมอยากชวนทุกคนมาเจาะลึกของทั้งสองมุมมองกันว่าการทำธุรกิจนั้น ควรทำในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือรูปแบบนิติบุคคลจะดีกว่ากันครับ มุมมองด้านธุรกิจ-การบริหาร-บัญชี หลักๆ แล้วบุคคลจะได้เปรียบในเรื่องของความคล่องตัวในการตัดสินใจทางธุรกิจ เพราะไม่ต้องทำเอกสารติดต่อราชการอะไรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการจดจัดตั้ง การเปลี่ยนแปลง ไปจนถึงการเลิกกิจการ  ในขณะที่นิติบุคคลจะได้เปรียบในเรื่องความน่าเชื่อถือ เพราะกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการจัดทำบัญชีเพื่อส่งให้หน่วยงานราชการ ส่งผลให้สถาบันการเงินกล้าที่จะปล่อยกู้ และคนกล้าจะมาร่วมลงทุนเพราะมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่เชื่อถือได้ และตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี  จุดที่ผมคิดว่าได้เปรียบที่สุดของการทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลก็คือ การจำกัดความรับผิดในหนี้สินของธุรกิจเมื่อถูกฟ้องล้มละลายจะไม่กระทบมายังทรัพย์สินส่วนตัวของบุคคลธรรมดาครับ มุมมองด้านภาษี บุคคลไม่ได้ถูกบังคับให้ต้องจัดทำรายการรับหรือจ่ายเงิน แต่รายได้บางประเภท กฎหมายภาษีกำหนดให้ต้องจัดทำ รายงานเงินสดรับ-จ่าย แต่ก็ไม่ได้มีความซับซ้อนเท่าการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล เพราะบันทึกตามการรับและจ่ายเงินสด  นอกจากนี้บุคคลธรรมดายังสามารถที่จะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ ซึ่งหมายความว่า กิจการไม่จำเป็นต้องเก็บเอกสารให้ปวดหัวเลย ซึ่งผู้ประกอบการหลายคนชอบในส่วนนี้ แต่ก็ต้องแลกกับอัตราภาษีที่อาจเสียสูงถึง 35% เลยทีเดียว  ในขณะที่นิติบุคคลต้องจัดทำรายได้-รายจ่ายตามมาตรฐานการบัญชี และหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น แปลว่าทุกรายได้และรายจ่ายต้องมีเอกสารประกอบและจัดเก็บให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมไปถึงต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีมารับรองงบการเงินอีก ส่งผลให้ภาระในการเตรียมเอกสารต่างๆ และต้นทุนในการจัดการตรงนี้สูง แต่ก็แลกกับการที่นิติบุคคลนั้นสามารถใช้ขาดทุนสะสมในอดีตมาลดภาษีในปีปัจจุบันได้ และก็ยังเสียอัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่เพียง 20% เท่านั้น สรุปแล้วการเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลอันไหนดีกว่ากัน ? คำว่า “ดีกว่า” ขึ้นอยู่กับเป้าหมายทางธุรกิจ และการยอมรับความเสี่ยง ถ้าคุณเริ่มต้นธุรกิจได้ด้วยทุนจำนวนน้อย และมีความเสี่ยงต่ำ หรือในกรณีที่คุณพึ่งเริ่มธุรกิจแต่ยังไม่แน่ใจว่าธุรกิจจะเติบโตได้จริงไหม การเป็นบุคคลธรรมดาก็อาจเหมาะสมแล้ว แต่วันไหนที่ธุรกิจคุณเริ่มเติบโตขึ้น การเป็นนิติบุคคลอาจตอบสนองได้มากกว่าถ้าคุณมีความต้องการเหล่านี้ 1. ความต้องการสินเชื่อหรือเงินทุน ถ้าธุรกิจต้องการเงินลงทุนมากขึ้น ความน่าเชื่อถือของธุรกิจจะเริ่มมีความสำคัญมาก เพราะผู้ปล่อยกู้หรือผู้ลงทุนต้องการเอกสารที่บอกได้ว่าธุรกิจของเราทำกำไรได้ดีหรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเราจะมีเงินมาคืนเงินกู้หรือสร้างผลตอบแทนได้ให้แก่ผู้ลงทุน การจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานบัญชีและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีจะตอบสนองในเรื่องความน่าเชื่อถือได้มาก หากคุณต้องการขยายกิจการโดยใช้เงินคนอื่นมาช่วยด้วย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ หรือผู้ร่วมลงทุน คุณควรจะทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล 2. ความรับผิดชอบจากการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เมื่อธุรกิจโตขึ้น ความเสี่ยงของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นตาม เช่น เมื่อเริ่มต้นคุณอาจมีลูกค้าเพียง 10 คน เมื่อเกิดความเสียหายคุณคนเดียวก็อาจจะรับผิดชอบได้ ลองจินตนาการว่าธุรกิจเติบโตจนมีลูกค้า 1,000 คน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นคุณคนเดียวคงรับมือไม่ไหวแน่ เมื่อธุรกิจล้มละลาย หรือไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้  การเป็นนิติบุคคลจะมีข้อดีที่ช่วยจำกัดความรับผิดในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นเพียงไม่เกินจำนวนเงินลงทุนที่คุณ (ในฐานะผู้ถือหุ้น) เคยลงทุนไปในธุรกิจนั้นเท่านั้น ลองจินตนาการว่าถ้าคุณยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่ คุณอาจจะต้องขายรถ ขายบ้าน หรือทรัพย์สินส่วนตัวอื่นๆ มาชดใช้จนกว่าหนี้สินนั้นจะหมด เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากอยู่จุดนั้นแน่ 3. การมีผู้ร่วมกิจการมากกว่า 1 คน  การทำธุรกิจคนเดียวนั้นยาก และมีความเสี่ยงที่สูง หากคุณต้องการมีผู้ร่วมก่อตั้งมากกว่า 1 คน คุณก็ควรจะทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล เพื่อแยกความชัดเจนระหว่างทรัพย์สินส่วนตัวและทรัพย์สินของกิจการ และยังช่วยให้เราจัดการเรื่องการแบ่งสรรผลกำไร หรือผลประโยชน์ตามสัดส่วนการถือหุ้นได้ชัดเจนอีกด้วย อย่างไรก็ตามการวางโครงสร้างผู้ถือหุ้นก่อนจัดตั้งนิติบุคคลเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะบางกิจการให้สัดส่วนของผู้ลงทุนที่ไม่ได้บริหารงานมากกว่าผู้ลงทุนที่เข้ามาบริหารงาน ซึ่งจะแก้ไขในภายหลังได้ยาก 4. สามารถเก็บเอกสารทางการค้าได้ครบถ้วน ถูกต้อง เนื่องจากธุรกิจที่ยังดำเนินการในรูปแบบบุคคลยังมีข้อดีที่รายจ่ายที่นำมาหักจากรายได้สามารถเลือกหักแบบหักเหมาได้ พูดง่ายๆ คือ กรมสรรพากรกำหนดอัตรารายจ่ายมาให้เราเลยโดยไม่ต้องสนใจรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงว่ามีเท่าใด ทำให้เราไม่ต้องเก็บเอกสารรายจ่ายใดๆ เพราะปัญหาชวนปวดหัวอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการ คือ การจ่ายเงินแล้วได้ไม่ได้เอกสารรายจ่ายมา เช่น ซื้อของจากผู้ขายที่ไม่รู้ว่าต้องออกเอกสารอะไรให้ หรือซื้อของผู้ขายที่จะหลบภาษีโดยไม่ออกเอกสารให้ รวมถึงเมื่อได้เอกสารมาก็ไม่รู้ว่าอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้องหรือใช้ได้ไหม  ในข้อดีก็มีข้อเสีย คือ หลายธุรกิจมีรายจ่ายสูงกว่าที่อัตราที่สรรพากรกำหนดมาให้ เช่น ธุรกิจขายของออนไลน์จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้สูงสุด 60% ขณะที่ความเป็นจริงต้นทุนของสินค้าอาจสูงถึง 80% การหักเหมาก็จะทำให้เราเสียผลประโยชน์ตรงนี้ไป แต่ถ้าเราสามารถเรียกเอกสารจากผู้ขายได้เราก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริงและเสียภาษีลดลงนั่นเอง  5. อยากทำบัญชีให้ถูกต้อง และประหยัดภาษี เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะจุดเริ่มต้นของการประหยัดภาษีต้องมาจากการทำบัญชีที่ ถูกต้องก่อน จะทำให้เห็นภาพรวมที่แท้จริงของกิจการ และสามารถนำไปวางแผนเพื่อเสียภาษีให้ประหยัดอย่างถูกต้องได้ เพราะถ้าคุณอยากประหยัดภาษีโดยวิธีที่ผิด ผลกระทบที่ตามมานอกจากงบการเงินจะไม่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้แล้ว ภาษีที่จะประหยัดได้จากการหลบเลี่ยงก็อาจไม่ได้ประหยัดอย่างที่คิด ก็เพราะปัจจุบันสรรพากรนำเทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามาช่วยตรวจสอบภาษีทำให้ปัจจุบันเราจะเห็นคนโดนตรวจสอบภาษีย้อนหลังมากขึ้นและง่ายขึ้นมา นอกจากภาษีที่ต้องจ่ายคืนแล้ว ยังต้องรับโทษค่าปรับอีกจำนวนมหาศาลเลย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคล แต่อยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาเพื่อการตัดสินใจที่ดีที่สุด ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก