บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความ “ใบกำกับภาษีต้องรู้” หากคุณยังไม่ได้อ่านบทความอันก่อนๆ แนะนำให้ลองดูลิงค์ด้านล่างได้
ใบกำกับภาษีมีอยู่ด้วยกัน 7 ประเภท แต่ว่าส่วนที่เราจะได้เจอกันบ่อยๆ มีอยู่แค่ 4 ตัว และจะเป็น 4 ตัวที่เราพูดถึงกันในรายละเอียดต่อไป โดยทั้ง 4 ตัวมีดังนี้
1. ใบกำกับภาษีเต็มรูป (ม. 86/4) : ใบกำกับภาษีเต็มรูป คือใบกำกับภาษีแบบที่เรามักจะได้ยินกัน เป็นใบกำกับภาษีแบบที่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อได้ คือต้องมีรายละเอียดที่ครบถ้วน ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากตรงนี้ “ใบกำกับภาษีเต็มรูป”
2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ (ม. 86/6) : ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใช้สำหรับการออกเอกสารหลักฐานการทำรายการกับลูกค้าที่เป็นรายย่อยจำนวนมาก ในกิจการที่เป็นการขายปลีกที่ขายให้กับลูกค้าคนสุดท้าย (ผู้บริโภค) ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากตรงนี้ “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ“
3. ใบเพิ่มหนี้ (ม. 86/9) : ใบเพิ่มหนี้ ถือเป็นใบกำกับภาษีชนิดหนึ่ง ซึ่งออกเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดจากใบกำกับภาษีภาษีเดิมที่ออกไป โดยปรับให้ฐานภาษีมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้น ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากตรงนี้ “ใบเพิ่มหนี้”
4. ใบลดหนี้ (ม. 86/10) : ใบลดหนี้ ถือเป็นใบกำกับภาษีชนิดหนึ่ง ซึ่งออกเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดจากใบกำกับภาษีภาษีเดิมที่ออกไป โดยปรับให้ฐานภาษีมีมูลค่าลดลง และภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถอ่านได้จากตรงนี้ “ใบลดหนี้“
หวังว่าในบทความนี้คุณผู้อ่านจะได้เข้าใจมากขึ้นว่า ใบกำกับภาษีที่เรารู้จักกันมีอะไรบ้าง และแต่ละอันคืออะไร สำหรับความรู้อื่นๆเกี่ยวกับใบกำกับภาษี สามารถดูได้ที่ด้านล่างนี้
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 1 ใบกำกับภาษีคืออะไร, ตัวอย่างใบกํากับภาษี
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 2 หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 3 ใบกํากับภาษีมีกี่ประเภท
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 4 ตัวอย่างใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบ
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 5 ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 6 ใบเพิ่มหนี้
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 7 ใบลดหนี้, ตัวอย่างใบลดหนี้
- ใบกำกับภาษี ตอนที่ 8 สรุปใบกำกับภาษี