PEAK Account

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

13 min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 มิ.ย. 2025

PEAK Account

15 min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

3 min

Update Function PEAK 18/06/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ———————————————- ✨ 1. Start using the program more easily with PEAK Guide — understand the system in just a few clicks. 📢 For new users, the system combines PEAK Mission into “PEAK Guide” in one place, with a launch button on the homepage and in the “User Manual” menu. The system will start counting missions once the user accesses PEAK Guide and follows the recommended actions, making learning to use PEAK easier and more organized. For existing users who have completed all missions, the system will automatically show the status as “Completed.” Example of PEAK Guide ✨ 2. Add AI to analyze your Profit and Loss Statement — like having a personal CFO. 📢 For business owners who want to understand their Profit and Loss Statement easily and quickly, the system adds AI to the Profit and Loss page, allowing users to ask questions immediately—about revenue, profit, or expenses. The AI will respond based on the selected time period. Examples of questions AI can help with: The system does not save chat history. To use AI for a different time range, users can simply start a new chat. This helps business owners analyze their business easily and conveniently. ✨ 3. Support for creating bulk bank transfer files via Krungsri Bank (BAY), for easier, more accurate transfers and fewer data entry errors. 📢 For Premium package users using Krungsri Bank transfers, the system now supports creating Krungsri CashLink transfer files. Users can select expense documents, asset purchase entries, or consolidated payment notes in “Pending Payment” status to transfer multiple payments easily, improving accuracy and reducing input errors. ✨ 4. Specify classification groups in asset entries (PEAK Asset) for more detailed reports and asset accounting. 📢 For PEAK Asset users, the system now allows assigning classification groups to each asset. At month-end, the system will automatically calculate and post depreciation, with journal entries referencing the classification group attached to each asset. This helps users allocate depreciation expenses by department or project more conveniently. Users can assign classification groups to assets from the following: ✨ 5. “Create Document” button in LINE@PEAKConnect will now redirect to the PEAK application automatically, for easier and faster document creation. 📢 For users creating documents via LINE@PEAKConnect, when clicking the “Create Document” button in LINE, the system will now redirect to the PEAK mobile application automatically. This makes it easier and more convenient for customers to use PEAK on mobile devices.

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

7 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 18/06/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ———————————————- ✨ 1. เริ่มต้นใช้งานโปรแกรมได้ง่ายกว่าเดิมด้วย PEAK Guide เข้าใจโปรแกรมในไม่กี่คลิก 📢สำหรับผู้ใช้งานใหม่ ระบบรวม PEAK Mission เข้ากับ “PEAK Guide” ไว้ในที่เดียว พร้อมปุ่มเปิดใช้งานจากหน้าแรกของระบบและจากเมนู “สมุดคู่มือการใช้งาน”  ระบบจะเริ่มนับภารกิจเมื่อกดเข้าใช้งาน PEAK Guide และทำ Action ต่างๆ ตามที่แนะนำ ช่วยให้เรียนรู้การใช้งาน PEAK ได้สะดวกและเป็นระบบมากขึ้น สำหรับผู้ใช้งานเดิมที่ทำ Mission ครบแล้ว ระบบจะแสดงสถานะว่า “เสร็จแล้ว” โดยอัตโนมัติ  ตัวอย่าง PEAK Guide ✨ 2. เพิ่ม AI ช่วยวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนของกิจการ เหมือนมี CFO ส่วนตัว 📢สำหรับเจ้าของกิจการที่อยากเข้าใจงบกำไรขาดทุนของตัวเองแบบง่ายและเร็ว ระบบเพิ่ม AI เข้าไปในงบกำไรขาดทุนให้ถามข้อมูลได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย กำไร หรือค่าใช้จ่าย โดย AI จะตอบตามข้อมูลของกิจการในช่วงเวลาที่เลือก ตัวอย่างคำถามที่ AI ช่วยเหลือได้ เช่น  ทั้งนี้ระบบยังไม่เก็บประวัติการสนทนา หากต้องการใช้งานตามช่วงเวลาใหม่ สามารถกดสร้างแช็ตใหม่ได้ทันที ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถวิเคราะห์ธุรกิจได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ✨ 3. รองรับการสร้างไฟล์โอนเงินหลายรายการผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ช่วยให้โอนเงินสะดวก แม่นยำยิ่งขึ้น และลดข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล 📢สำหรับกิจการแพ็กเกจ Premium ที่ใช้ระบบโอนเงินผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ระบบเพิ่มการรองรับสร้างไฟล์โอนเงิน Krungsri CashLink ผู้ใช้งานสามารถเลือกเอกสารค่าใช้จ่าย บันทึกซื้อสินค้าหรือใบรวมจ่ายที่อยู่ในสถานะ “รอชำระ” เพื่อโอนเงินหลายรายการได้อย่างสะดวก เพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการทำข้อมูล ✨ 4. ระบุกลุ่มจัดประเภทในการบันทึกสินทรัพย์ (PEAK Asset) ช่วยให้รายงานและบัญชีสินทรัพย์ละเอียดยิ่งขึ้น  📢สำหรับผู้ใช้งาน PEAK Asset ระบบเพิ่มการรองรับระบุกลุ่มจัดประเภทให้กับสินทรัพย์แต่ละรายการได้แล้ว เมื่อสิ้นเดือนระบบจะทำการคิดค่าเสื่อมราคาและบันทึกค่าเสื่อมราคาให้อัตโนมัติ โดยในสมุดรายวันที่บันทึกค่าเสื่อมราคา ระบบจะอ้างอิงกลุ่มจัดประเภทที่ติดไว้ในสินทรัพย์นั้นๆให้อัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา ตามแต่ละแผนก หรือตามแต่ละโปรเจคได้สะดวกมากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถติดกลุ่มจัดประเภทในสินทรัพย์ได้ ดังนี้ ✨5. ปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE@PEAKConnect ระบบจะพาเข้าสู่แอปพลิเคชัน PEAK ให้อัตโนมัติ ช่วยให้สร้างเอกสารได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 📢สำหรับผู้ใช้งานที่สร้างเอกสารผ่าน LINE@PEAKConnect เมื่อกดปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE  ระบบจะปรับให้ผู้ใช้งานไปสร้างเอกสารในแอปพลิเคชัน PEAK อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้งาน PEAK ผ่านมือถือได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

29 min

กำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้ถูกใจพนักงาน? พร้อมข้อควรรู้ที่ห้ามพลาด!

พนักงานขายเป็นตำแหน่งหัวใจสำคัญของหลายองค์กร เพราะเป็นตำแหน่งที่หารายได้เข้าบริษัทชัดเจน หากพนักงานขายมีแรงจูงใจที่ดีอย่าง ค่าคอมมิชชั่น ส่วนใหญ่ก็จะส่งผลที่ดีต่อองค์กรได้โดยตรง แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยกันบ้างว่า ต้องคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้น่าสนใจ หรือมีวิธีคิดอย่างไรบ้าง รวมไปถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องรู้เพื่อให้การจัดการเงินในแต่ละเดือนเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดเราก็รวบรวมไว้ให้ในบทความนี้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถศึกษากฎหมายแรงงานเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน โดยการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามาติดตามกันได้เลย ค่าคอมมิชชั่น คืออะไร? ค่าคอมมิชชั่น (Commission) คือหนึ่งในประเภทค่าตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากบริษัทเมื่อทำยอดขายได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายตามที่แต่ละบริษัทกำหนด และมักจะมีการคำนวณปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของพนักงาน สินค้าที่ขาย ไปจนถึงโปรโมชั่นพิเศษ โดยปกติตำแหน่งพนักงานขายในทุกองค์กรจะมีค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ขายเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับช่องทางหลักในการสร้างรายได้ขององค์กรนั้น ๆ ค่าคอมมิชชั่นมีกี่ประเภท พร้อมตัวอย่างการคำนวณ  ค่าคอมมิชชั่นก็ไม่ได้มีเพียงการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการคิดค่าคอมมิชชั่นตอบแทนพนักงานได้ โดยแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป สามารถเลือกได้จากแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือกลยุทธ์ขององค์กรที่จะใช้ในการเพิ่มยอดขายให้เติบโต ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นถึง 11 ประเภท แต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้างเรามาดูกัน 1. ค่าคอมมิชชั่น แบบขั้นบันได สำหรับค่าคอมมิชชั่นประเภทแรกเป็นในรูปแบบขั้นบันได เป็นรูปแบบที่เรามักเห็นกันในองค์กรที่มีการแข่งขันสูงภายในองค์กร เพราะค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้พนักงานจะได้ค่าคอมมิชชั่นสูงขึ้นตามจำนวนของยอดขายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่กระตุ้นพนักงานขายได้เป็นอย่างดี เพราะว่าจะได้เงินมาหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขยันของตัวพนักงานนั่นเอง  ตัวอย่างเช่น บริษัทกำหนดค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดไว้ 3 ระดับดังนี้– รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 100,000 – 300,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 15% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 300,001 – 500,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 25% เมื่อทำยอดขายได้ 500,001 – 1,000,000 บาท หมายความว่าหากพนักงานทำยอดได้อยู่ในช่วงไหน ให้นำเปอร์เซ็นต์ในช่วงนั้นเข้ามาคำนวณ เช่น  พนักงาน A ทำยอดขายได้ 650,000 บาท ต้องคิดคอมมิชชั่น 25% 650,000 x 25% = 162,500 บาท พนักงาน A ก็จะได้รับค่าคอมทั้งหมด 162,500 บาทนั่นเอง ด้วยตัวเลขคอมมิชชั่นที่สูงขึ้นตามผลงานของพนักงาน จึงช่วยกระตุ้นพนักงานได้ดี แต่ด้วยรูปแบบที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้พนักงานบางคนที่ได้น้อยต่อเนื่องอาจถอดใจได้ ด้วยเหตุนี้หากองค์กรต้องการใช้รูปแบบนี้แนะนำให้หาแนวทางในการช่วยเหลือพนักงานที่อาจทำผลงานไม่ดีมากนัก เช่น จัดคอร์สพัฒนาด้านการขาย หรือมีการพูดคุยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและร่วมกันหาทางออกเพื่อเพิ่มผลงานให้พนักงาน 2. ค่าคอมมิชชั่น จากกำไร ถัดมาเป็นค่าคอมมิชชั่นจากกำไร ซึ่งเป็นประเภทของค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการขายสินค้าหลายรูปแบบ หรือขายสินค้าแบบทำตามคำสั่งจากลูกค้า เพราะระบบคอมมิชชั่นแบบนี้จะคำนวณจากกำไรในออร์เดอร์นั้น ๆ ไม่ได้คำนวณจากยอดขายพนักงานตรง หมายความว่า หากพนักงานเลือกขายสินค้าที่มีกำไรต่อคำสั่งซื้อสูงก็จะได้รับคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดโดยองค์กร ซึ่งรูปแบบคอมมิชชั่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานเลือกขายสินค้าหรือบริการที่มีกำไรสูง ส่งผลดีต่อบริษัท  ตัวอย่างเช่น : สินค้า A ราคา 500 บาท ต้นทุน 400 บาท ซึ่งมีกำไรต่อชิ้น 100 บาท 100 x 10% = 10 บาท หมายความว่าหากพนักงานขายสินค้า A ก็จะได้รับค่าคอมมชั่น 10 บาทนั่นเอง โดยรูปแบบการคำนวณ อัตราที่ใช้คำนวณขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่กำหนด 3. ค่าคอมมิชชั่น จากสินค้า เป็นระบบคอมมิชชั่นที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพราะเป็นการตั้งจากสินค้าโดยตรง เช่น รองเท้าวิ่ง B หากขายได้จะมีค่าคอมมิชชั่น 10% นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากสินค้าต้องมีการวางแผนพอสมควร เพราะหากตั้งเท่ากันหมด บริษัทอาจเสียมากกว่าได้ เพราะกำไรของสินค้าแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน เบื้องต้นอาจเริ่มต้นตั้งอัตราคำนวณคอมมิชชั่นจากประเภทของสินค้า เช่น หากเป็นสินค้าเก่าค้างสต๊อก 5 ปี อาจตั้งไว้ 10% แต่ถ้าเป็นสินค้าใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ อาจตั้งไว้ 5% ได้เช่นกัน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากขายสินค้าที่ค้างสต๊อกได้ด้วย นับว่าเป็นข้อดีเพราะองค์กรสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ในแต่ละช่วงได้ การคำนวณค่อนข้างตรงตัวสามารถนำราคาสินค้าคำนวณกับอัตราคอมมิชชั่นที่บริษัทกำหนด ตัวอย่างเช่น : โทรทัศน์ A ราคา 35,000 บาท ตั้งค่าคอมมิชชั่นไว้ที่ 10% 35,000 x 10% = 3,500 บาท หากพนักงานขายโทรทัศน์ A ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นไป 3,500 บาทนั่นเอง 4. ค่าคอมมิชชั่น ตามพื้นที่ อีกหนึ่งกลยุทธ์คอมมิชชั่นที่น่าสนใจเพราะการคำนวณคอมมิชชั่นจะแบ่งตามแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการขายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการแบ่งพนักงานขายตามแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการจัดระบบคอมมิชชั่นรูปแบบนี้พนักงานจะสามารถโฟกัสกับพื้นที่ของตัวเองได้ดี มีการแบ่งชัดเจน ไม่มีการแย่งลูกค้ากันเองภายในองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มคอมมิชชั่นตามพื้นที่ที่ต้องการรุกตลาดให้มากขึ้นได้อีกด้วย โดยวิธีการคิดคอมมิชชั่นจากเดิมที่ส่วนมากคิดว่ายอดขาย หรือกำไร จะเพิ่มเงื่อนไขโดยแบ่งเป็นตามเขต หรือพื้นที่ เช่น โซนภาคเหนือ 5% โซนภาคใต้ 10%  ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A ดูแลโซนภาคเหนือทั้งหมด 15 จังหวัดอัตราคอมมิชชั่น 10% และมียอดขายเกิดขึ้นในภาคเหนือทั้งหมด 500,000 บาท 500,000 x 10% = 50,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน A ผู้ดูแลโซนภาคเหนือจะได้รับค่าคอมมิชชั่นทั้งหมด 500,000 บาท ซึ่งหากพนักงาน A อยากได้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมก็ต้องเร่งหายอดขาย ไม่ว่าจะลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่าในโซนภาคเหนือให้มากขึ้นนั่นเอง 5. ค่าคอมมิชชั่น ต่อเนื่อง เพราะหลายองค์กรเชื่อว่าการรักษาลูกค้าเดิมให้ซื้อต่อเรื่อย ๆ ย่อมดีกว่าการออกไปหาลูกค้าใหม่เสมอ ทำให้ระบบคอมมิชชั่นต่อเนื่องกำเนิดขึ้น โดยเป็นคอมมิชชั่นที่พนักงานจะได้รับก็ต่อเมื่อลูกค้าเดิมซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยคิดยอดขายตามรอบ และทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนดอัตราคอมมิชชั่นและนำไปคำนวณตามยอดแต่ละรอบบิล เป็นระบบที่เหมาะกับองค์กรที่ขายบริการที่ค่อนข้างเฉพาะในอุตสาหกรรม โอกาสหาลูกค้าใหม่ยาก จึงจำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมไว้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นองค์กรที่เก็บเงินลูกค้าเป็นรอบทุกเดือน และด้วยรูปแบบค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้ จะเป็นการกระตุ้นพนักงานขายให้ดูแลลูกค้าในระยะยาวมากกว่า ตัวอย่างเช่น : บริษัท A ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องจ่ายค่าดูแลเป็นรายเดือนทุกเดือน ด้วยความที่ต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ จึงตั้งอัตราคอมมิชชั่น 10% สำหรับยอดขายที่ลูกค้าจ่ายเพื่อต่ออายุใช้บริการในแต่ละเดือน โดยพนักงาน B มีลูกค้าเป็นองค์กร C ที่ต่อสัญญากันทุกเดือนเป็นลูกค้าเก่า โดยค่าต่อสัญญาในแต่ละเดือนอยู่ที่ 50,000 บาท 50,000 x 10% = 5,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5,000 บาททุกเดือนหากองค์กร C ยังคงใช้บริการซอฟต์แวร์ของบริษัท A อยู่ ทำให้นอกจากที่พนักงาน B จะหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังคงกลับไปพูดคุยรักษาความสัมพันธ์กับองค์กร C อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาลูกค้าไว้นั่นเอง 6. ค่าคอมมิชชั่น ตามผลงาน ในองค์กรที่มี KPI อื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากยอดขายเพียงอย่างเดียว การกำหนดคอมมิชชั่นตามผลงาน ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งจะเป็นการที่องค์กรตั้งเป้าหมายขึ้นมา หากพนักงานทำได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นในส่วนนี้ โดยอาจเป็นส่วนเพิ่มเติมจากคอมมิชชั่นเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้  ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ใช้ระบบคอมมิชชั่นจากสินค้าอยู่แล้วที่ 5% แต่ต้องการกระตุ้นในเรื่องการซื้อซ้ำ จึงตั้งคอมมิชชั่นตามผลงานเพิ่มเติม หากพนักงานสามารถให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้มากกว่า 5 ครั้ง จะเพิ่มค่าคอมมิชชั่นในยอดขายหลังจากครบกำหนดเป็น 10% หมายความว่าหากพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 ใบที่ 5 ให้ลูกค้าท่านเดิมได้ ก็จะได้เพิ่มอัตราคอมมิชชั่นเป็น 10% นั่นเอง อัตราคอมมิชชั่นแรก2,000 x 5% = 1,000 บาทอัตราคอมมิชชั่นเมื่อขายใบที่ 5 ได้20,000 x 10% = 2,000 บาท ดังนั้นเมื่อพนักงาน A รักษาความสัมพันธ์และขายกระเป๋าใบที่ 5 ได้สำเร็จก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ช่วยกระตุ้นเรื่องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดีตามเป้าหมาย โดยข้อดีของกลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแผนตามเป้าหมายเพิ่มเติมนอกจากยอดขายได้ 7. ค่าคอมมิชชั่น จากส่วนต่างกำไร สำหรับข้อที่ 7 หรือค่าคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร จะค่อนข้างคล้ายกับในส่วนของคอมมิชชั่นจากกำไร แต่เปลี่ยนจากการคิดกำไรโดยตรงเป็นการคำนวณจาก Gross Margin หรือส่วนต่างกำไรนั่นเอง ซึ่งข้อดีจะคล้ายกันกับรูปแบบกำไรธรรมดา ต่างกันที่วิธีคำนวณ ซึ่งองค์กรที่เหมาะส่วนใหญ่จะมีสินค้าหลากหลายประเภทและมี Margin ต่อชิ้นที่แตกต่างกัน ซึ่งการตั้งระบบรูปแบบนี้ยังช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรสูงได้อีกด้วย เพราะพนักงานขายก็จะมุ่งเน้นขายสินค้าที่มีส่วนต่างเยอะเป็นพิเศษนั่นเอง ตัวอย่างเช่น : รองเท้า A มีส่วนต่างกำไร 5,000 บาท มีการตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร 10% หากพนักงาน B ขายสินค้าได้จะได้กำไรดังนี้5,000 x 10% = 500 บาท พนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการขายรองเท้า A ทั้งสิ้น 500 บาท ซึ่งหากมีสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่านี้พนักงานก็จะโฟกัสไปที่การขายสินค้าชิ้นนั้นเป็นพิเศษ  8. ค่าคอมมิชชั่น และเงินเดือน  เป็นรูปแบบคอมมิชชั่นที่เรามักพบในองค์กรที่ใช้เวลาในการขายสินค้าแต่ละชิ้นค่อนข้างนาน เช่น องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจแบบ B2B เพราะกว่าที่จะขายสินค้าหรือบริการได้นั้นพนักงานขายต้องใช้เวลาในการแนะนำ โน้มน้าวนานเป็นพิเศษ ระบบคอมมิชชั่นและเงินเดือนจึงเป็นรูปแบบที่พนักงานได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว แต่จะได้รับอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มตามยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนด้วย ซึ่งส่วนมากฐานเงินเดือนจะไม่ค่อยสูงมาก เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรีบขายสินค้าเพื่อมาเพิ่มรายได้ของตัวเองในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนให้พนักงานขายและสมทบเพิ่มเป็นคอมมิชชั่นในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมตามแต่ละกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A มีเงินเดือน 25,000 บาท มีอัตราอัตราคอมมิชชั่น 5% จากยอดขาย ในเดือนนี้พนักงาน A มียอดขายตลอดทั้งเดือน 320,000 บาท จะได้รับเงินทั้งหมด[320,000 x 5%] + 25,000 = 41,000 บาท พนักงาน A จะได้รับเงิน 41,000 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนใหญ่จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความขยันของพนักงาน 9. คอมมิชชั่นพิเศษ สำหรับสินค้าโปรโมชัน ระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะพบส่วนมากในองค์กรที่ต้องการเคลียร์สต๊อกสินค้าและมักจะออกโปรโมชั่นออกมา และเพื่อกระตุ้นการขายให้มากขึ้นก็จะมีการจัดคอมมิชชั่นพิเศษสำหรับโปรโมชั่นดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานเร่งขายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ต้องการเคลียร์สต๊อกของสินค้า B จึงจัดโปรโมชั่นขายในราคา 500 บาทขึ้นมา และหากพนักงานขายสินค้าดังกล่าวได้จะได้รับอัตราคอมมิชชั่น 10 %500 x 10% = 50 บาท หากพนักงานขายสินค้าในโปรโมชั่นนี้ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก 50 บาทนั่นเอง นับเป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์สต๊อก หรือช่วยเร่งยอดขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ดีมาก ๆ เพราะนอกจากมีโปรโมชั่นเข้ามาช่วยส่งเสริมการขายแล้ว พนักงานขายยังต้องการที่จะขายสินค้าชิ้นนั้นเพราะได้ค่าคอมอีกด้วย 10. ค่าคอมมิชชั่น ตามระยะเวลาการทำงาน หลายองค์กรมักจะมีการใช้ระบบคอมมิชชั่นตามระยะเวลาการทำงานเข้ามาใช้ด้วยเพื่อที่จะดึงดูดให้พนักงานที่มีประสบการณ์อยู่กับองค์กรให้นานยิ่งขึ้น เพราะยิ่งอายุงานอัตราคอมมิชชั่นที่พวกเขาจะได้รับก็สูงตาม องค์กรอาจคิดจากการเพิ่ม 5% เมื่อทำงานครบทุก ๆ 3 ปี ส่วนวิธีการคิดคอมมิชชั่นอาจคิดจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กร ตัวอย่างเช่น : องค์กร A เริ่มต้นอัตราคอมมิชชั่นที่ 5% และจะเพิ่มให้อีก 5% เมื่อทำงานครบ 5 ปี นั่นหมายความว่าหากพนักงานมียอดขาย 50,000 บาทจะได้รับค่าคอมมิชชั่นดังนี้ พนักงานอายุงาน 1 – 4 ปี50,000 x 5% = 2,500 บาทพนักงานอายุงาน 5 ปีขึ้นไป50,000 x 10% = 5,000 บาท จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้เลยว่าพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปีได้รับค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว ซึ่งเป็นวิธีการโน้มน้าวพนักงานฝีมือดีให้อยู่กับองค์กรของเราได้นานยิ่งขึ้น 11. ค่าคอมมิชชั่นล้วน สำหรับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้อาจฟังดูโหดสำหรับพนักงานพอสมควรเพราะเงินเดือนทั้งหมดจะมาจากค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะมีอัตราคอมมิชชั่นที่สูง ส่วนวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นก็ขึ้นอยู่กับองค์กรเพราะบางที่อาจคำนวณจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้เช่นกัน แต่สุดท้ายข้อดีของคอมมิชชั่นประเภทนี้คือพนักงานจะต้องทุ่มเทขยันอย่างแท้จริง เพราะรายรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับการขายเท่านั้น ส่วนองค์กรที่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะต้องเป็นองค์กรที่มีราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่สูง และส่วนมากมักจะเป็นธุรกิจประเภท B2B เคล็ดลับกำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้พนักงานขยัน! การกำหนดระบบคอมมิชชั่นไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่ข้อคำนึงสำคัญที่สุดคือควรที่จะกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร โดยเป้าหมายต้องกำหนดชัดเจน และพร้อมที่จะพาพนักงานทุกคนมุ่งไปในจุดหมายเดียวกัน นอกเหนือจากการคิดค่าคอมมิชชั่นให้ตรงกับเป้าหมายแล้วยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่อาจช่วยให้คุณกำหนดได้ถูกใจพนักงานมากยิ่งขึ้น! 1. ทำความเข้าใจธุรกิจของตนเองกับระบบคอมมิชชั่นแต่ละประเภท สำคัญไม่แพ้กับการกำหนดให้ตรงกับเป้าหมาย เพราะถ้ารูปแบบการทำธุรกิจไม่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นก็อาจทำให้พนักงานถอดใจและไม่มีมีแรงใจที่จะขายสินค้าของเราต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าที่ขายราคา 50 บาท แต่กำหนดเป้าหมายคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได 500,000 บาท การที่พนักงานจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องใช้เวลาพอสมควร และดูเป็นเป้าหมายที่เกินเอื้อมจนเกินไป 2. ชัดเจนและเข้าใจง่าย เมื่อเป็นเรื่องเงินเรื่องทองรายละเอียดต่าง ๆ ต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความสับสนหรือมีช่องโหว่จนเกิดการเอาเปรียบกันได้ เพราะฉะนั้นองค์กรควรที่จะเขียนชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจตรงกัน และต้องดำเนินการตามข้อกำหนดนั้นอย่างถูกต้อง ที่สำคัญควรจะเข้าใจง่าย พนักงานขายเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่ได้มีการใช้ระบบซับซ้อนหลายระบบพร้อมกัน เพราะอาจทำให้เป้าหมายของพวกเขาดูคลุมเครือและท้อแท้กันก่อนได้ เช่น กำหนดค่าคอมมิชชั่นจากกำไร แต่ไม่แจ้งพนักงานขายว่าสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรเท่าไหร่บ้าง ทำให้พนักงานไม่รู้สึกถึงเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะไม่รู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าขายสินค้าชิ้นนี้ไปแล้วจะได้ค่าคอมมิชชั่นกลับมาเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้จึงควรระบุรายละเอียดทุกอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น 3. รับฟังและพูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ตำแหน่งพนักงานขายมีแรงกดดันค่อนข้างสูง หากองค์กรของเรายังไม่ได้มีพนักงานที่เยอะมากนัก การที่พูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับระบบการขายหรือคอมมิชชั่น เพื่อให้สามารถออกแบบระบบที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร วิธีนี้นอกจากจะช่วยในการวางแผนคอมมิชชั่นได้อย่างถูกจุด ยังช่วยให้เราทราบถึงปัญหา จุดแข็งของพนักงานขายแต่ละคน นำไปสู่วลี “Put the right man on the right job” ที่พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานแต่ละคนได้อย่างแท้จริง ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นเงินค่าจ้างที่ต้องคำนวณในเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่? เกร็ดเล็ก ๆ อีกหนึ่งข้อเกี่ยวกับด้านกฎหมายค่าคอมมิชชั่น ที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยว่าค่าคอมนั้นนับเป็นค่าจ้างหรือไม่ แล้วจำเป็นต้องนำเงินรายได้ส่วนนี้มาใช้ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมหรือไหม ซึ่งคำตอบก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเภท โดยคอมมิชชั่นในรูปแบบที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการขายนั้นจะเป็นไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้นจึงไม่ต้องนำไปคำนวณในเงินสมทบประกันสังคม แต่หากเป็นคอมมิชชั่นที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานก็จำเป็นต้องนำไปคิดรวมในเงินสมทบประกันสังคม คิดค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้องแม่นยำด้วยโปรแกรม Payroll ในองค์กรที่มีพนักงานขายเยอะ การคิดค่าคอมมิชชั่นอาจเป็นเรื่องปวดหัวในบางครั้ง เราขอแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม Payroll เป็นตัวช่วยในการคำนวณ เพื่อลดโอกาสผิดพลาดลง ซึ่ง PEAK ก็มีโปรแกรม PEAK Payroll ที่พร้อมให้การบริหารเงินเดือนพนักงานกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในทุกขนาดองค์กร อีกทั้งยังมีคู่มือครบเข้าใจง่ายแน่นอน! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 มิ.ย. 2025

PEAK Account

16 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! วิธีคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ครบทุกประเภท ฉบับเข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง

ร้านค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนอกจากมีหน้าร้านจริงแล้ว การมีหน้าร้านในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วย! ซึ่ง ค่าธรรมเนียม Shopee จะมีอะไรบ้าง และมีวิธีการคำนวณอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ ค่าธรรมเนียม Shopee คืออะไร? ค่าธรรมเนียมการขาย Shopee คือค่าใช้จ่ายที่แพลตฟอร์ม Shopee เรียกเก็บจากเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเมื่อขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมของ Shopee มี 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไขในการเก็บที่แตกต่างกันมีการคิดคำนวณค่าธรรมเนียมแบบแยกกัน  ในส่วนถัดไปของบทความเราจะลงรายละเอียดความแตกต่างของค่าธรรมเนียมแต่ละประเภทกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย 1. ค่าธรรมเนียมการขาย เป็นค่าธรรมเนียมแรกที่ทุกร้านค้าต้องเสียเมื่อขายสินค้าได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะทำการคำนวณจากราคาของสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราที่ใช้คำนวณนั้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเภทสินค้า นอกจากนี้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย จะต้องคำนวณจากยอดที่หักส่วนลด หรือโปรโมชัน ที่เราจัดขึ้น เช่น โค้ดส่วนลดต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณค่าธรรมเนียมต่อไป ตารางค่าธรรมเนียมการขาย Shopee แยกตามประเภทสินค้า วิธีการคำนวณธรรมเนียมการขายของ Shopee โดยวิธีการคำนวณนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขในตารางข้างต้น มาคำนวณกับราคาสินค้าที่หักส่วนลดจากร้านค้าแล้ว ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัวราคาเต็มที่ขายคือ 500 บาท โดยลูกค้าใช้โค้ดส่วนลด 50 บาทในการซื้อสินค้า สูตรการคำนวณเราจึงต้องนำราคาเต็มมาหักลบกับส่วนลดก่อนดังนี้ ราคาเต็มที่ตั้งขาย – ส่วนลดจากร้านค้า (โค้ดส่วนลด) = ยอดที่ใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 500 – 50 = 450 บาท เมื่อได้ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็สามารถนำตัวเลขนี้ไปคิดกับอัตราค่าธรรมตามในตารางได้เลย โดยสูตรการคำนวณคือ ยอดรวมหลักหักส่วนลด X อัตราค่าธรรมเนียม ในกรณีของสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายที่เราใช้เป็นตัวอย่างอยู่ในหมวดหมู่ของสินค้าแฟชั่นซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 9.63% (อัปเดตวันที่ 26 เมษายน 2568)  450 X 9.63% = 43.335 บาท หมายความว่าในการขายเสื้อผ้าผู้ชายราคา 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการขาย 43.335 บาทนั่นเอง หากรวมสูตรการคำนวณง่าย ๆ จะออกมาในรูปแบบดังนี้ [ ราคาเต็มสินค้า – โปรโมชั่นจากผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด] x อัตราค่าธรรมเนียมการขายตามประเภท = ค่าธรรมเนียมการขาย นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้าที่เป็น Non Mall Shop กับ Mall Shop ยังมีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้ได้เลย สามารถศึกษาตารางอัตราค่าธรรมการสินค้าแต่ละประเภท ของร้านค้าประเภท Mall Shop อย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Shopee  ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ประเภทค่าธรรมเนียมการขาย ข้อสำคัญที่เจ้าของร้านห้ามลืมในการคำนวณคือ อย่าลืมนำราคาเต็มไปหักลบกับส่วนลด หรือโปรโมชั่นที่เราเป็นคนออก เช่น โค้ดส่วนลด ก่อนนำไปคำนวณกับอัตราค่าธรรมเนียมไม่เช่นนั้นอาจจะได้ตัวเลขค่าธรรมเนียมที่ไม่ตรง ส่งผลต่อการตั้งราคาและอาจทำให้ได้กำไรไม่ถึงกับที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 2. ค่าธรรมเนียมธุรกรรม อีกหนึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียหลังจากขายสินค้าได้คือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งคือค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าต้องเสียให้แก่ผู้ให้บริการช่องทางชำระค่าใช้จ่ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee โดยอัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะเท่ากันทุกประเภทสินค้า และทุกประเภทของร้านค้า โดยจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3% ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%  โดยการคำนวณส่วนนี้จะคำนวณสรุปยอดรวมของคำสั่งซื้อที่ผู้ซื้อชำระให้กับร้านค้า โดยจะรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งสินค้า ส่วนในกรณีของส่วนลดต้องนำส่วนลดของ Shopee หรือ Shopee Coin มาหักลบก่อนคำนวณด้วย วิธีการคำนวณธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ตัวอย่างสูตรการคำนวณแบบแยกการคำนวณ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม และ VAT แยกกัน ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (ก่อนคำนวณ VAT) ยกตัวอย่างจากสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายในราคารวมส่วนลดแล้วอยู่ที่ 450 บาท และมีค่าส่ง 100 บาท  550 X 3% = 16.5 บาท (ก่อนคำนวณ VAT) หากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะมีสูตรการสูตรคำนวณดังนี้ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าธรรมเนียมธุรกรรม + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าธรรมเนียมธุรกรรม แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 16.5 x 7% = 1.155 บาท 16.5 + 1.155 = 17.655 บาท จากสูตรการคำนวณทั้งหมดหมายความว่ายอดคำสั่งซื้อของเสื้อผ้าผู้ชายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธุรกรรม 17.655 บาทนั่นเอง  หากต้องการคำนวณให้ง่ายมากยิ่งขึ้นให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณขั้นตอนแรกได้เลย โดยให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 3.21% ต่อยอดรวมคำสั่งซื้อ  ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3.21% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (รวม VAT) แทนสูตรได้ดังนี้ 550 x 3.21% = 17.655 บาท ตัวเลขที่ได้เท่ากับการคำนวณ VAT แยกแต่รูปแบบนี้จะรวบขั้นตอนเป็นการคำนวณครั้งเดียวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ความต่างในการคำนวณนอกจากอัตราที่เท่ากันทั้งหมดแล้ว ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% เข้าไปด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าธรรมเนียมการขายที่มีการรวมเข้าไปด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้ห้ามลืมคำนวณ VAT ในค่าธรรมเนียมธุรกรรม เพื่อการคำนวณต้นทุนการขายได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 3. ค่าธรรมเนียมบริการ สำหรับค่าธรรมเนียม Shopee ส่วนสุดท้ายจะเป็นค่าธรรมเนียมบริการ ซึ่งการบริการในที่นี้คือ โปรแกรมส่งฟรีส่งฟรี Xtra หรือโปรแกรมส่วนลด Xtra ของ Shopee นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Xtra นี้เจ้าของร้านสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ก็ได้ โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขายและธุรกรรม ในส่วนของค่าธรรมเนียมบริการจะมีอัตราค่าธรรมเนียมแบ่งตามประเภทของสินค้าเช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งคำนวณเป็นสินค้าต่อชิ้น และจะหักค่าธรรมเนียมจากจำนวนยอดเงินรวมที่ต้องได้รับ และค่าธรรมเนียมบริการจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว ตารางค่าธรรมเนียมแบ่งแยกตามหมวดหมู่สินค้า และประเภทโปรแกรม วิธีการคำนวณธรรมเนียมบริการของ Shopee โดยการคำนวณจะคิดจากราคาสินค้าที่ชำระ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าผู้ชาย 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท และเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra ราคาสินค้า x อัตราค่าธรรมเนียมโปรแกรมส่งฟรี Xtra (5.35%) = ค่าธรรมเนียมบริการ แทนสูตรการคำนวณดังนี้ 450 x 5.35% = 24.075 บาท หมายความว่าเจ้าของร้านที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra เมื่อขายสินค้ายอดรวม 450 บาทได้จะเสียค่าธรรมเนียมบริการ 24 บาทนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการของ Shopee ข้อสำคัญที่ห้ามลืมคือจำนวนยอดรวมที่ใช้คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ที่บางท่านอาจลืมไปว่าต้องนำส่วนลดต่าง ๆ มาคำนวณเพิ่มเติมด้วย รวมไปถึงการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการ คำนวณแยกรายการ เช่น ถ้าในคำสั่งซื้อมีเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัว กางเกง 1 ตัว ต้องคิดค่าธรรมเนียมบริการแยกกันตามราคาของสินค้าแต่ละชิ้นนั่นเอง สรุปตัวอย่างการคำนวณ ค่าธรรมเนียม Shopee ทั้ง 3 ประเภท ส่วนถัดมา เราขอยกตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครบทั้ง 3 ประเภท ซึ่งผู้ที่จะเสียค่าธรรมเนียมครบ คือร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม Xtra ของ Shopee  โดยตัวอย่างเราขอใช้เป็นสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายตัวเดิม โดยร้านค้าเป็น Non Mall Shop ให้ใช้ตารางค่าธรรมเนียมของ Non Mall Shop ในการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียม ตัวอย่างรายละเอียดคำสั่งซื้อสินค้า: เสื้อผ้าผู้ชาย ตัวอย่างสูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมทั้ง 3 ประเภท อันดับแรกให้คำนวณราคาสินค้าที่หักโค้ดส่วนลดของร้านค้าก่อน ราคาสินค้าเต็ม 500 บาท – ส่วนลดร้านค้า 50 บาท = 450 บาท  หลังจากนั้นนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย 450 x 9.63% = 43.33 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ 450 x 5.35% = 24.07 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรม โดยคิดจากยอดเต็มที่ลูกค้าต้องจ่าย จึงต้องนำส่วนต่างค่าจัดส่งที่ผู้ซื้อชำระมารวมกับราคาสินค้า [450 + 62] x 3.12% = 15.97 บาท หลังจากนั้นนำค่าธรรมเนียมทั้งหมดรวมกัน แล้วลบราคาสินค้าเต็ม ก็จะได้ จำนวนเงินที่เจ้าของร้านจะได้รับจากการขายเสื้อผ้าผู้ชายตัวละ 500 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee 500 – [43.33+24.07+15.97] = 416.63 บาท เท่ากับว่าเจ้าของร้านจะได้รับเงินจริง ๆ 416.63 บาท หรือเสียค่าธรรมเนียมรวมทั้ง 3 ประเภทประมาณ 83.37 บาท นั่นเอง แชร์สูตรคำนวณครบ 3 ค่าธรรมเนียม Shopee ในภาพเดียว! คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ให้ถูกต้อง ช่วยให้การตั้งราคาง่ายยิ่งขึ้น ความสำคัญของการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ช่วยให้ธุรกิจที่มีร้านค้าบน Shopee สามารถตั้งราคาสินค้าได้ถูกต้อง และง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเหล่านี้ล้วนนับเป็นต้นทุนได้ทั้งสิ้น หากไม่มีการคำนวณล่วงหน้า อาจทำให้เสียค่าธรรมเนียมจนกำไรหายไปได้ แต่นอกจากค่าธรรมเนียมหลักทั้ง 3 ประเภทยังมีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น Airplay, บัตรเครดิต เดบิต และ SPaylater อีกด้วย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินของลูกค้า ซึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ก็นับเป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยพอสมควร หากมีจำนวนการทำธุรกรรมเยอะอาจทำให้การทำบัญชียุ่งยากหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้การมีโปรแกรมบัญชีครบวงจรอย่าง PEAK ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ง่ายยิ่งขึ้น มาพร้อมคู่มือการใช้งานที่เข้าใจง่าย และนอกจากนี้ PEAK ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Shopee ได้โดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นรู้วิธีคำนวณอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้เรื่องการทำบัญชีง่ายยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

15 มิ.ย. 2025

PEAK Account

9 min

วิธีดูงบการเงินออนไลน์ และ การคัดงบการเงิน

รู้ไหมว่า…งบการเงินของธุรกิจเราไม่ใช่ความลับ ?งบการเงิน คือ รายงานที่สรุปรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน และทรัพย์สินของธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของกิจการรู้สถานะทางการเงินของตัวเอง และใช้วางแผนหรือเปรียบเทียบกับคู่แข่งได้ ถ้าผู้ประกอบการเข้าใจและอ่านงบการเงินเป็นก็สามารถวางกลยุทธ์ของธุรกิจคุณได้แล้วครับ ไม่ว่าเราจะเปิดบริษัทเอง หรือกำลังจับตาคู่แข่งอยู่ ข้อมูลสำคัญอย่าง “ งบการเงิน ” นั้นถูกจัดเก็บแบบสาธารณะที่สามารถเข้าไปดูได้ เพียงแค่รู้ช่องทางและรู้วิธี เช่นเดียวกับบริษัทมหาชนที่งบการเงินเปิดเผยอยู่บนเว็บไซต์ให้โหลดได้ฟรี การค้นหางบของคู่แข่งหรือพาร์ตเนอร์ธุรกิจก็เป็นไปได้เช่นกัน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่ากันทุกกรณี แต่ถ้าเรารู้ว่าจะดูจากที่ไหนและดูอะไรบ้าง ก็ช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้นอย่างมาก วิธี ดูงบการเงิน แบบออนไลน์ การ “ดูงบการเงินออนไลน์” คือการเข้าถึงข้อมูลงบการเงินของธุรกิจต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องไปขอเอกสารฉบับจริงให้ยุ่งยาก ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ได้จัดทำระบบที่ชื่อว่า DBD DataWarehouse+ ให้ประชาชนทั่วไปสามารถค้นหาข้อมูลงบการเงินของนิติบุคคลในประเทศไทยได้ง่ายๆ เพียงแค่มี เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งเราสามารถใช้ระบบนี้เพื่อดูภาพรวมของธุรกิจ เช่น รายได้ กำไร หนี้สิน หรือสถานะทางการเงินของคู่แข่ง พาร์ตเนอร์ หรือแม้แต่ของตัวเราเอง โดยเฉพาะในกรณีที่เราจะวิเคราะห์คู่แข่ง ขอสินเชื่อ หรือจะรับลูกค้าใหม่เข้าระบบ ก็สามารถใช้ข้อมูลจากงบการเงินออนไลน์ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เข้าเว็บไซต์ และกรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก 2. ระบบจะแสดงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ชื่อ ทุนจดทะเบียน วันก่อตั้ง ที่อยู่ รายชื่อกรรมการ และประเภทธุรกิจ 3. เลือกแท็บ ‘ข้อมูลทางการเงิน’ และเลือกหัวข้อย่อย ‘ งบการเงิน ’ 4. ระบบจะเข้าสู่หน้างบฐานะการเงิน ซึ่งสามารถเลือกดูงบกำไรขาดทุนหรืออัตราส่วนการเงินที่ตัวเลือกด้านขวาของหน้าจอได้ จากรูปภาพจะเห็นว่าข้อมูลจะเป็นงบการเงินแบบย่อที่แสดงข้อมูลโดยสรุปจากงบการเงินฉบับเต็ม ซึ่งก็มีข้อมูลสำคัญที่เราสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้  วิธี คัดงบการเงิน ฉบับเต็ม ถ้าดู งบการเงิน ออนไลน์แล้วรู้สึกว่ายังไม่ละเอียดพอ โดยเราอยากเห็นข้อมูลเชิงลึกบางอย่าง เช่น หมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือรายละเอียดสินทรัพย์ หนี้สินแบบแยกรายการ ดังนั้นการ “คัดงบ” หมายถึง การยื่นคำขอรับสำเนาเอกสารงบการเงินอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะได้เอกสารที่เหมือนกับงบที่บริษัทส่งตรวจสอบจริง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนหน้า เราสามารถ “ คัดงบการเงินฉบับเต็ม ” ผ่านระบบออนไลน์ของ DBD ที่สามารถชำระเงินและดาวน์โหลดไฟล์ได้ทันที ดังนี้ 1. เข้าเว็บไซต์ และกดปุ่มเลือกเอกสารด้วยตนเอง 2. ค้นหานิติบุคคลที่สนใจด้วยเลขนิติบุคคล 13 หลัก และสามารถเลือกได้มากกว่า 1 นิติบุคคล จากนั้นกดปุ่ม ‘ถัดไป’ 3. จากนั้นกดปุ่ม ‘เลือกเอกสาร’ 4. ในหน้านี้ให้เลือกหัวข้อ ‘ถ่ายเอกสาร (ไม่รับรอง)’ และเลือกประเภทเอกสาร ‘งบการเงิน/บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น’ และให้เลือกติ๊กเอกสารที่ต้องการคัดลอก เช่น แบบนำส่งงบการเงิน รายงานผู้สอบฯ และงบการเงิน จากนั้นให้กดปุ่ม ‘เพิ่มไปยังตระกร้า’ จะได้ผลลัพธ์ตามรูปภาพ และกด ‘ยืนยันการเลือกเอกสาร’ 5. ตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง โดยค่าใช้จ่ายมี 2 รายการ ได้แก่ จากนั้นกด ‘ยืนยันรายการ’ และกด ‘ถัดไป’ 6. เลือกวิธีการระบุชื่อผู้รับเงินบนใบเสร็จรับเงินตามต้องการ 7. สำหรับข้อมูลผู้ทำขอ สามารถเลือกกรอกโดยการเข้าสู่ระบบDBD (ระบบจะขึ้นข้อมูลส่วนตัวให้อัตโนมัติ) หรือเลือกแบบไม่มีบัญชี (ต้องกรอกข้อมูลเอง) ก็ได้ เมื่อกรอกแล้วให้กด ‘ถัดไป’ 8. เลือกช่องทางการจัดส่งเอกสารจะเลือกผ่านวิธีการจัดส่ง (มีค่าใช้จ่าย) หรือไปรับเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ก็ได้ กรณีเลือกการจัดส่งต้องกรอกที่อยู่เพื่อการจัดส่งเพิ่มเติม 9. กดยอมรับเงื่อนไขการชำระเงิน และกดปุ่ม ‘ยืนยัน’ 10. จากนั้นให้พิมพ์ใบนำชำระเงิน เพื่อไปชำระตาม 4 ธนาคารที่กำหนด หรือชำระผ่าน QR Code ในเอกสารดังกล่าวได้ หลังจากนั้นถือว่าขั้นตอนคัดลอกเสร็จสิ้นและรอรับเอกสาร โดยทั่วไปจะได้รับเอกสารภายใน 1 อาทิตย์ แต่เร็วที่สุดที่เคยได้รับคือภายในวันถัดไป หลังจากที่ได้รับงบการเงินแล้ว สามารถจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ทันที เพราะงบการเงินจะเป็นแบบเต็มรูปแบบ ไม่ใช่แบบย่อเหมือนใน DBD Warehouse+ สรุปท้ายบทความ อยากรู้สถานะการเงินของธุรกิจ ไม่ยากเลย! แค่ใช้ระบบ DBD DataWarehouse+ ก็สามารถดูงบการเงินเบื้องต้นได้ฟรี เช่น รายได้ กำไร หนี้สิน ฯลฯ แต่ถ้าอยากเจาะลึกมากขึ้น ก็สามารถคัดงบฉบับเต็มโดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยหากคุณมีงบอยู่ในมือแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าอ่านตรงไหนก่อน แนะนำอ่านบทความ “ขั้นตอนอ่านงบการเงินง่ายๆ ฉบับผู้ประกอบการมือใหม่” ต่อได้เลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

13 มิ.ย. 2025

PEAK Account

35 min

ขั้นตอนอ่าน “งบการเงิน” ง่ายๆ ฉบับผู้ประกอบการมือใหม่

สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่หลายคน การเห็น “ งบการเงิน” ครั้งแรกอาจรู้สึกเหมือนกำลังเปิดหนังสือภาษาต่างดาว ไม่รู้จะเริ่มอ่านตรงไหน และไม่แน่ใจว่าตัวเลขเหล่านั้นกำลังบอกอะไรกับเรา แต่จริงๆ แล้ว งบการเงินไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิด ถ้าเรารู้หลักพื้นฐานและมองมันให้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยเล่าเรื่องราวของธุรกิจ ก่อนจะเข้าเนื้อหา เราอยากชวนให้มองงบการเงินเหมือน “รายงานสุขภาพของธุรกิจ” ที่ช่วยบอกว่า ธุรกิจเรายังแข็งแรงดีไหม มีอะไรผิดปกติหรือเปล่า กำลังจะเติบโตหรือกำลังจะสะดุด การอ่านงบการเงินจึงเป็นทักษะสำคัญที่ช่วยให้เราตัดสินใจอย่างมีข้อมูล ไม่ใช่ใช้แค่ความรู้สึกหรือการคาดเดา งบการเงิน’ คืออะไร? งบการเงิน คือ เอกสารที่สรุปภาพรวมของธุรกิจด้วยตัวเลข คล้ายกับการบันทึกรายรับ-รายจ่าย แต่มีความละเอียดและเป็นระบบมากกว่า โดยจะช่วยให้เราเห็นว่าในรอบปีที่ผ่านมา ธุรกิจของเราดำเนินไปอย่างไร ซึ่งข้อมูลสำคัญในงบการเงินมี 3 เรื่องหลัก คือ โดยทั่วไป งบการเงินจะแสดงตัวเลขเปรียบเทียบ 2 ปี เพื่อให้เห็นแนวโน้มของธุรกิจ เช่น งบการเงินของปี 2567 จะแสดงตัวเลขของปี 2567 เทียบกับปี 2566 ยกเว้นกรณีที่เป็นปีแรกของการจัดตั้งบริษัท ก็จะมีเฉพาะปีปัจจุบันเท่านั้น   ประเภทของ ‘งบการเงิน’ งบการเงินหลักๆ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ที่ผู้ประกอบการควรรู้จัก เพราะแต่ละงบให้ข้อมูลคนละมุมกัน ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วจะช่วยให้เห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดเจนขึ้นดังนี้ 1. งบกำไรขาดทุน(Statement of Income) แสดงรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรหรือขาดทุนของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้รู้ว่า 2. งบฐานะการเงิน(Statement of Financial Position) หรือ งบดุล(Balance Sheet) แสดงสถานะทางการเงินด้วยทรัพย์สิน หนี้สิน และทุน ณ วันใดวันหนึ่ง โดยบอกว่า 3. งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ(Statement of Changes in Equity) แสดงการเปลี่ยนแปลง “เงินของเจ้าของ” ว่าผู้ที่ได้นำเงินมาลงทุนในธุรกิจมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ทุนเริ่มต้น และกำไรสะสมที่ผ่านมา หมายเหตุ: ห้างหุ้นส่วนไม่จำเป็นต้องจัดทำงบการเงินประเภทนี้ตามกฎหมาย 4. งบกระแสเงินสด(Statement of Cash Flows) แสดงการ “รับเงิน” และ “จ่ายเงิน” ของธุรกิจโดยแยกตาม 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ งบนี้ช่วยให้เรารู้ว่าเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี มาจากอะไร เช่น ข้อสังเกต: งบกระแสเงินสดไม่ใช่งบที่ทุกกิจการต้องทำเสมอไป โดยเฉพาะนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน นักบัญชีอาจไม่ได้จัดทำงบประเภทนี้ให้ก็ได้ นอกจาก 4 งบหลักนี้แล้ว ยังมีอีกเอกสารหนึ่งที่มักแนบมากับงบการเงินทุกปี คือ หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statements: NFS) ซึ่งเป็นเอกสารที่ควรอ่านควบคู่กันเสมอ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมและรายละเอียดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเอกสารนี้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่สามารถใส่ไว้ในงบหลักได้ เช่น ตอนนี้เราเข้าใจภาพรวมของงบการเงินแล้ว ทั้งหน้าที่ของแต่ละงบ และข้อมูลที่ควรสังเกต ต่อไปเราจะเจาะลึกวิธี “อ่าน” งบการเงินแบบเข้าใจง่าย และนำไปใช้ตัดสินใจทางธุรกิจได้จริง วิธีอ่าน “งบกำไรขาดทุน” งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงาน โดยมีสมการง่ายๆ คือ รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย = กำไร(ขาดทุน) ประเภท ‘รายได้’ รายได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ข้อสังเกต: การแบ่งรายได้ ช่วยให้รู้ว่าเงินเข้ามาจากอะไร และธุรกิจแข็งแรงจริงไหม ไม่ใช่แค่โชคดีได้เงินครั้งคราว ประเภท ‘ค่าใช้จ่าย’ ค่าใช้จ่าย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ ข้อสังเกต: ช่วยให้เจ้าของกิจการเข้าใจว่าเงินของตัวเองหมดไปกับเรื่องอะไร และควรปรับตรงไหนบ้างเพื่อให้มีกำไรมากขึ้น  ประเภท ‘กำไร’ จริงๆ แล้วในงบกำไรขาดทุน ไม่ได้มีแค่ตัวเลข ”กำไรสุทธิ” เพียงบรรทัดเดียว แต่มีการแสดง “กำไร” หลายระดับ เพื่อให้เห็นภาพธุรกิจในมุมต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ การอ่านงบกำไรขาดทุนทำให้เราเข้าใจลักษณะของรายได้ ค่าใช้จ่าย ที่ทำให้ธุรกิจกำไรหรือขาดทุน เช่น ค่าใช้จ่ายในการบริหารสูงมากจนทำให้ธุรกิจขาดทุน ผู้ประกอบการก็ควรเจาะลึกเข้าไปว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่อยู่ในกลุ่มค่าใช้จ่ายบริหารที่สูง เพื่อหาทางแก้ไขในอนาคตได้ ตรงกันข้ามเราอาจพบว่ามีค่าใช้จ่ายบางอย่างที่ธุรกิจจ่ายน้อยเกินไป ซึ่งถ้าจ่ายเพิ่มอาจทำให้รายได้เพิ่มขึ้นได้ เช่น ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา เป็นต้น วิธีอ่าน “งบฐานะการเงิน” (งบดุล) งบฐานะการเงิน แสดงสถานะทางการเงินของธุรกิจ โดยมีสมการง่ายๆ คือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ จากสมการสามารถตีความได้ว่าสิ่งที่ธุรกิจมีอยู่ เรียกว่า สินทรัพย์ เช่น เงินสด สินค้า หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ล้วนมาจากเงิน 2 แหล่งคือ ประเภท ‘สินทรัพย์’ สินทรัพย์จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อสังเกต: การแบ่งประเภทหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน ทำให้ธุรกิจทราบว่าในระยะสั้นมีสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินเพื่อใช้หมุนเวียนเพียงพอหรือไม่ ประเภท ‘หนี้สิน’ หนี้สินจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ข้อสังเกต: การแบ่งประเภทหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน ทำให้ธุรกิจทราบว่าในระยะสั้นมีหนี้สินที่ต้องชำระเท่าใด ซึ่งสามารถนำไปเทียบกับยอดสินทรัพย์หมุนเวียนว่ามีสินทรัพย์ระยะสั้นเพียงพอในการชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน ธุรกิจต้องรีบวางแผนหาเงินเพิ่มเติม เพื่อให้ไม่ให้ธุรกิจสะดุดจากการขาดสภาพคล่อง ประเภท ‘ส่วนของเจ้าของ’ ส่วนของเจ้าของ แสดงเงินหรือทรัพย์สินที่เจ้าของธุรกิจใส่เข้ามาในกิจการ รวมถึงกำไรที่ธุรกิจสะสมไว้ ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ข้อสังเกต: การอ่านงบฐานะการเงินช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจว่าเงินทุนที่ธุรกิจใช้มาจากเจ้าของมากน้อยแค่ไหน เทียบกับเงินที่กู้ยืมมา รวมถึงวางแผนการบริหารธุรกิจในอนาคต เช่น จะใช้กำไรสะสมต่อยอดอย่างไร หรือควรกันสำรองเพื่อเป้าหมายใดบ้าง วิธีอ่าน “งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ” งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ แสดงให้เห็นว่า “เงินลงทุนของเจ้าของ” และ “กำไรสะสม” มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรตลอดทั้งปี โดยมีสมการง่ายๆ คือ ส่วนของเจ้าของต้นปี + เพิ่ม(ลด)ทุน + กำไร(ขาดทุน) – จ่ายปันผล = ส่วนของเจ้าของปลายปี การเปลี่ยนแปลงของทุนที่ชำระ การเปลี่ยนแปลงของกำไรสะสม ส่วนของเจ้าของสะท้อนความมั่งคั่งของธุรกิจ การอ่านงบนี้ทำให้เราเห็นว่า ธุรกิจ “แข็งแรง” หรือ “อ่อนแอ” ทางการเงินแค่ไหน อย่างไรก็ตามบางประเภทธุรกิจมักจะมีส่วนของเจ้าของต่ำในช่วงการดำเนินธุรกิจแรกๆ เช่น กลุ่มบริษัทสตาร์อัพ(startups) เนื่องจากเป็นธุรกิจที่สร้างนวัตกรรมใหม่ที่คนยังไม่คุ้นเคย ทำให้ช่วงแรกๆของธุรกิจจะต้องลงทุนสูงเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และต้องทำการตลาดอย่างหนักเพื่อให้คนรู้จักและเปิดใจใช้ ทำให้รายได้จะยังน้อยแต่ค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลให้เกิดผลขาดทุนสะสมซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ส่วนของเจ้าของลดลง และวันที่นวัตกรรมเป็นที่รู้จักและแก้ไขปัญหาผู้ใช้ได้จริง บริษัทเหล่านี้จะสามารถกลับมาทำกำไรได้อย่างรวดเร็ว ข้อสังเกต: งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่เป็นเครื่องมือสะท้อนความมั่นคงของธุรกิจทั้งในมุมมองระยะสั้นและระยะยาว หากเรารู้วิธีดูงบนี้ จะช่วยวางแผนการลงทุน การถอนทุน และการจัดการกำไรได้ดียิ่งขึ้น วิธีอ่าน “งบกระแสเงินสด” งบกระแสเงินสด ได้แสดงให้เห็นว่าเงินที่มีในธุรกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพราะอะไร และช่วยตอบคำถามว่า“ธุรกิจเรามีกำไร…แต่ทำไมเงินสดถึงไม่เหลือ ?”โดยมีสมการง่ายๆ คือ เงินต้นปี บวก เงินรับ(จ่าย)ระหว่างปี = เงินปลายปี โดยการรับเงิน-จ่ายเงิน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม เพื่อให้เข้าใจที่มาที่ไปของเงินมากขึ้น ดังนี้ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน(Operating activity) กิจกรรมดำเนินงาน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจประจำวัน ซึ่งบอกถึง ความสามารถในการทำกำไรจากธุรกิจหลัก และสภาพคล่องระยะสั้น ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: ธุรกิจที่แข็งแรง ควรมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกต่อเนื่อง เพื่อสะท้อนการทำกำไรที่มีเงินสดจริงตามมา กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน(Investing activity) กิจกรรมลงทุน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเป็นหลัก ซึ่งแสดงถึง แนวโน้มการขยายหรือหดตัวลงของกิจการ ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: หากธุรกิจกำลังขยายตัว มักมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ติดลบ เพราะมีการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน(Financing activity) กิจกรรมจัดหาเงิน คือ กิจกรรมที่เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนใหม่ หรือการชำระคืนหนี้ ซึ่งสะท้อน โครงสร้างทางการเงินของธุรกิจ ดังนี้ ที่มาเงินรับ:  ที่มาเงินจ่าย: ข้อสังเกต: กระแสเงินสดบวกในกิจกรรมนี้ มักเกิดในช่วงเริ่มต้นธุรกิจหรือขยายธุรกิจ หากติดลบแสดงว่ามีการชำระหนี้หรือลดขนาดกิจการ ข้อมมูลในงบกระแสเงินสดในภาพรวมคือการแสดง “ทิศทางของเงินสด” และ “สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง” ได้อย่างชัดเจนกว่างบอื่น เช่น ตัวอย่างสถานการณ์ที่สอดคล้องไปกับสภาวะของธุรกิจแต่ละช่วง อาจจะเจอสถานการณ์ ดังนี้ ประเภทกิจกรรม ธุรกิจเริ่มต้นใหม่ ธุรกิจมั่นคง ธุรกิจมีปัญหา ดำเนินงาน ติดลบ บวก ติดลบ ลงทุน ติดลบ ติดลบหรือศูนย์ บวก (ขายทรัพย์สิน) จัดหาเงิน บวก ติดลบหรือศูนย์ ศูนย์ (หาเงินเพิ่มไม่ได้) วิธีอ่าน “หมายเหตุประกอบงบการเงิน” หมายเหตุประกอบงบการเงินต้องเปิดอ่านคู่กับงบการเงินเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่ได้แสดงในงบการเงิน เช่น รายละเอียดธุรกิจ นโยบายบัญชี หรือรายละเอียดตัวเลขจากงบการเงิน ดังนี้ แสดงชื่อกิจการ ประเภทนิติบุคคล เลขทะเบียนนิติบุคคล ที่ตั้ง รวมถึงวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นรายได้หลักของกิจการ แสดงกฏหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงบการเงิน เช่น มาตรฐานบัญชี เกณฑ์การแสดงรายการในงบการเงิน และการแสดงมูลค่าในงบการเงิน แสดงนโยบายบัญชีที่สำคัญและความหมายของแต่ละรายการบนงบการเงิน ซึ่งอาจมีความหมายแตกต่างจากที่คนทั่วไปเข้าใจ เช่น คำว่า ‘เงินสด’ คนทั่วไปเข้าใจจะเข้าว่าคือเหรียญหรือธนบัตร แต่นิยามทางบัญชีเงินสดหมายถึงเงินฝากประเภทออมทรัพย์และกระแสรายวันด้วย  ถ้าลองกลับไปดูรูปภาพงบฐานะการเงิน จะมีบรรทัดที่เขียนว่า ‘เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด’ จำนวน 1.315 ล้านบาทในปี 2567 และจำนวน 0.12 ล้านบาทในปี 2566 เราจะเห็นแค่ก้อนรวมโดยที่ไม่รู้ว่ามีเงินสดในมือกี่บาท และเงินฝากธนาคารกี่บาท ถ้าอยากรู้รายละเอียดต้องดูหัวข้อ ‘หมายเหตุ’ ซึ่งมีความหมายว่าถ้าอยากดูรายละเอียดให้ไปดูที่หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อที่ 3.1 และ 4 ดังนี้ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบอ่านงบการเงินแล้วอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมให้ดูว่ารายการนั้นในช่อง ‘หมายเหตุ’ มีเลขหมายเหตุไหม ถ้ามีให้ไปที่รายละเอียดที่หมายเหตุประกอบงบการเงินตามเลขที่นั้นๆ แต่ถ้าไม่มีแสดงว่านักบัญชีไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดรายการนั้นเพิ่มเติม กรณีต้องการดูข้อมูลนั้นจริงๆ ต้องไปขอข้อมูลเพิ่มเติมจากนักบัญชีเอง และแล้วตอนนี้ ทุกคนได้ผ่านวิธีการอ่านงบการเงินทั้งหมดมาแล้ว ซึ่งจะทำให้ทุกคนเข้าใจความหมายของแต่ละบรรทัดของแต่ละงบการเงินมากขึ้น อย่างไรก็ตามเพื่อให้การอ่านงบการเงินสนุกขึ้น จึงขอมอบเคล็ดลับการอ่านงบการเงินฉบับผู้ประกอบการมือใหม่เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการอ่านงบให้เจ๋งมากขึ้น ดังนี้ 6 เคล็ดลับการอ่านงบการเงินฉบับผู้ประกอบการมือใหม่ ผู้ประกอบการที่อ่านงบการเงินระยะแรกจะเจอปัญหาว่ารายการเยอะแยะไปหมด ความหมายของรายการนี้คืออะไร ควรเริ่มต้นจากงบอะไรก่อน หรือต้องไปดูส่วนไหนก่อน ปัญหาเหล่านี้จะหายไปเพราะใช้เทคนิคที่เตรียมมาให้ในบทความนี้ สรุปท้ายบทความ งบการเงินไม่ใช่เรื่องที่ยากเลยเมื่อเราทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานและแนวคิดเบื้องต้น มันจะกลายเป็น เครื่องมือที่ทรงพลัง ที่ช่วยให้เราตัดสินใจในธุรกิจได้อย่างแม่นยำและมั่นใจยิ่งขึ้น โดยสามารถยื่นงบการเงินและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing)  งบการเงินไม่ใช่ศัตรูที่น่ากลัวแต่มันคือ “เพื่อนร่วมทาง” ที่พร้อมช่วยเจ้าของกิจการมองเห็นทางเดินที่ถูกต้องในทุกช่วงเวลา ยิ่งเรา อ่านงบเป็น รู้หลักพื้นฐาน และฝึกใช้มันสม่ำเสมอ ก็จะยิ่งมองเห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดขึ้น และสามารถใช้ตัวเลขเหล่านั้นไป ปรับแผน ต่อยอด และบริหารกิจการให้เติบโตอย่างมีทิศทาง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

11 มิ.ย. 2025

PEAK Account

11 min

บริการรับทำเงินเดือนเหมาะกับใคร เมื่อไหร่ที่ควรใช้บริการรับทำเงินเดือน

การทำเงินเดือนให้พนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรไม่สามารถทำพลาดได้ แม้จะดูเหมือนเป็นงานรูทีน (Routine) แต่หากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ความพึงพอใจของพนักงาน และเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านกฎหมายได้ ดังนั้น บริการรับทำเงินเดือนจึงกลายเป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับหลายองค์กรในการช่วยคำนวณเงินเดือน แล้วคำถามคือ…บริการรับทำเงินเดือนเหมาะกับใครบ้าง? และเมื่อไหร่ถึงจะควรใช้บริการรับทำเงินเดือน? บริการรับทำเงินเดือน เหมาะกับธุรกิจไหนบ้าง? บริการรับทำเงินเดือนเหมาะกับทุกประเภทธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการลดภาระงานด้าน Payroll ต้องการเพิ่มความถูกต้องในการคำนวณเงินเดือน รักษาความลับทางการเงิน และให้ทีมงานมีเวลาไปโฟกัสกับงานหลักที่สำคัญกว่า โดยสามารถแบ่งประเภทธุรกิจได้ดังนี้ 1. เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กถึงกลาง (SMEs) ธุรกิจ Startup ที่ยังไม่มีฝ่าย HR มักเผชิญกับความท้าทายในการจัดการเงินเดือน ส่งผลให้เจ้าของธุรกิจจึงต้องรับหน้าที่ทำเงินเดือนด้วยตนเอง ซึ่งเป็นงานที่ใช้เวลาและต้องใส่ใจในรายละเอียด ทั้งยังต้องทำควบคู่กับภารกิจอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น การพัฒนาธุรกิจ การขาย หรือการดูแลลูกค้า ส่งผลให้เรื่องเงินเดือนกลายเป็นภาระที่หนักและกินเวลามาก ดังนั้น สำหรับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ช่วยลดภาระงาน เพิ่มความถูกต้องแม่นยำ และทำให้เจ้าของธุรกิจมีเวลาโฟกัสกับการเติบโตของกิจการมากขึ้น 2. เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ แม้ธุรกิจขนาดใหญ่จะมีฝ่าย HR ในองค์กร แต่การทำเงินเดือนด้วยตนเองยังคงเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้ทรัพยากรจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่อมีพนักงานจำนวนหลักร้อยถึงหลักพัน การจัดการเงินเดือนแบบ in-house ยิ่งเพิ่มความยุ่งยาก และมีความเสี่ยงสูงต่อความผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคำนวณเงินเดือน ภาษี ประกันสังคม หรือกฎหมายแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผลที่ตามมาคือ HR ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับงานคำนวณและตรวจสอบความถูกต้อง แทนที่จะได้โฟกัสกับการพัฒนาองค์กร การบริหารบุคลากร หรือเสริมสร้างความสัมพันธ์ภายในทีม ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ เพราะช่วยลดภาระงานที่ซับซ้อน เพิ่มความแม่นยำ และเปิดโอกาสให้ฝ่าย HR ได้ทำหน้าที่เชิงกลยุทธ์อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการทำงานเดือนอีกต่อไป 3. เหมาะกับสำนักงานบัญชี แม้สำนักงานบัญชีจะมีความเชี่ยวชาญในการคำนวณเงินเดือนและภาษี แต่หากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสม การให้บริการลูกค้าอาจไม่ราบรื่นอย่างที่ควร การจัดการเงินเดือนต้องอาศัยทั้งความแม่นยำ ความรวดเร็ว และการอัปเดตข้อมูลตามกฎหมายแรงงานและภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากไม่มีระบบหรือเครื่องมือที่ตอบโจทย์ การทำเงินเดือนให้ลูกค้าอาจสะดุดหรือเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จึงเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับสำนักงานบัญชี ช่วยให้คุณให้บริการลูกค้าได้อย่างมืออาชีพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านความแม่นยำ ความรวดเร็ว และลดภาระงานที่ซับซ้อนในการจัดทำเงินเดือนทุกเดือน เมื่อไหร่ที่ธุรกิจของคุณควรใช้ บริการรับทำเงินเดือน ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจ Start-up หรือ HR ที่ดูแลพนักงานให้กับบริษัทใหญ่ การจัดการเงินเดือนพนักงานนั้นมักเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและเสี่ยงพลาดได้ง่าย แล้วเมื่อไหร่กันล่ะที่ควรพิจารณา “ส่งไม้ต่อ” บริการรับทำเงินเดือนที่มีผู้เชี่ยวชาญดูและแทน? ดังนั้นเราจะพาไปดูสัญญาณที่บอกเวลาถึงเวลาแล้วที่ควรใช้บริการรับทำเงินเดือน ตอนที่คุณยังทำธุรกิจคนเดียว งานเงินเดือนอาจไม่มีอะไรซับซ้อน แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีพนักงานคนแรกความรับผิดชอบด้านเงินเดือน กฎหมาย และเอกสารต่าง ๆ ก็ย่อมตามมา ไม่ว่าจะเป็นการหักภาษี ประกันสังคม ออกสลิปเงินเดือน และยื่นภาษีส่งให้แก่กรมสรรพากร เป็นต้น แม้จะมีพนักงานไม่กี่คนแต่ทุก ๆ เดือนต้องทำเงินเดือนของพนักงานให้ถูกต้องและตรงเวลา ดังนั้นการเลือกใช้บริการรับทำเงินเดือนจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเริ่มต้นธุรกิจ ข้อมูลเงินเดือนคือหนึ่งในข้อมูลที่อ่อนไหวที่สุดในองค์กร ถ้าเกิดการรั่วไหลแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจส่งผลกระทบตามมาได้ ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือนจากผู้ให้บริการมืออาชีพ จะช่วยให้ข้อมูลเงินเดือนปลอดภัยด้วยมาตรฐานของระบบ เช่น ข้อมูลจัดเก็บบน Cloud ที่ปลอดภัย สามารถจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงได้ เป็นต้น หากมีพนักงานเริ่มบ่นว่าเงินเดือนไม่ตรง สลิปไม่ชัด หรือข้อมูลภาษีผิดบ่อย ๆ นี่คือสัญญาณอันตราย ความผิดพลาดเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาทางกฎหมาย หรือทำลายความเชื่อมั่นของพนักงานโดยไม่รู้ตัว ในช่วงที่ธุรกิจกำลังขยาย ทีมงานเพิ่มขึ้น ลูกค้าเพิ่มขึ้น งานก็ยิ่งมากขึ้นตาม แต่เวลาในแต่ละวันยังเท่าเดิม เจ้าของธุรกิจหรือทีมผู้บริหารจำเป็นต้องเลือกว่าจะ ใช้เวลาทำสิ่งที่ขยายธุรกิจ หรือจมอยู่กับงานเอกสารซ้ำ ๆ ทุกเดือน ซึ่งการใช้บริการรับทำเงินเดือนช่วยคืนเวลาให้ทีมหลักของธุรกิจ ไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานหลังบ้านที่ไม่ได้สร้างรายได้โดยตรง และมั่นใจได้ว่าส่วนงานสำคัญนี้จะดำเนินไปอย่างราบรื่น ถูกต้อง และมืออาชีพ HumanSoft บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถในการปรับตัวและโฟกัสกับงานสำคัญคือหัวใจของความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจ นอกจากนี้ หนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ การจัดการเงินเดือนของพนักงาน เพราะหากคำนวณเงินเดือนผิดพลาด จ่ายเงินไม่ครบ หรือไม่ตรงต่อเวลา ย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจ และนี่คือเหตุผลที่ บริการ Payroll Outsourcing จาก HumanSoft เข้ามาเติมเต็มตรงจุดนั้นให้เป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ ไร้กังวล หากสนใจบริการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

11 มิ.ย. 2025

PEAK Account

9 min

ทำความรู้จัก บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing)

บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) คือการที่บริษัทว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือองค์กรภายนอกเข้ามาดูแลกระบวนการจัดทำเงินเดือนให้พนักงาน ตั้งแต่การคำนวณค่าจ้าง เงินโอที โบนัส หักภาษี หักประกันสังคม ไปจนถึงการจัดทำรายงานเพื่อส่งให้กับหน่วยงานราชการ จัดการเงินเดือนอย่างมืออาชีพแม้บริษัทไม่มี HR “บริษัทไหนที่ไร้ HR ไม่ได้เป็นเรื่องยากในการเงินเดือน” พอได้ยินประโยคนี้เชื่อว่าหลาย ๆ ท่านอาจตั้งข้อสงสัยว่า “จะเป็นไปได้จริงเหรอ?” โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ไม่มีฝ่ายบุคคลคอยดูแลเรื่องภายใน ไม่ว่าจะเป็นการคิดเงินเดือน โอที ภาษี หรือประกันสังคม ฟังดูเหมือนเป็นงานที่ยุ่งยากและเสี่ยงต่อความผิดพลาด แต่ขอตอบเลยว่าไม่มี HR ก็สามารถทำเงินเดือนได้จริง เพียงใช้ “บริการรับทำเงินเดือน”ปัจจุบันมีบริการที่เรียกว่า “บริการรับทำเงินเดือน” ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยบริษัทดูแลทุกกระบวนการเกี่ยวกับเงินเดือนอย่างครบวงจร โดยไม่จำเป็นต้องมี HR ประจำในองค์กร ไม่ว่าจะคุณเป็นเจ้าของธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น หรือผู้บริหารบริษัทที่กำลังขยายทีม แต่ยังไม่พร้อมตั้งฝ่ายบุคคลเต็มรูปแบบ บริการรับทำเงินเดือนเป็นตัวช่วยที่ทั้งประหยัดเวลา ลดต้นทุน และช่วยให้คุณบริหารจัดการได้อย่างมืออาชีพ บริการรับทำเงินเดือน ช่วยเจ้าของธุรกิจได้อย่างไรบ้าง? 1. เพิ่มความแม่นยำในการคำนวณเงินเดือนให้กับพนักงาน บริการรับทำเงินเดือนใช้ระบบซอฟต์แวร์ที่ได้มาตรฐาน ร่วมกับทีมงานที่มีประสบการณ์ ทำให้การคำนวณเงินเดือน ค่าล่วงเวลา หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ มีความแม่นยำสูง ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำแมนนวล (Manual) ทำให้จ่ายเงินเดือนได้ตรงตามเวลา 2. บริการรับทำเงินเดือน ช่วยประหยัดต้นทุนมากกว่าการจ้างพนักงาน การจ้างเจ้าหน้าที่ HR หรือฝ่ายบัญชีเต็มเวลาสำหรับทำเงินเดือนเพียงอย่างเดียว อาจไม่คุ้มค่าในแง่ของงบประมาณ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และในทางกลับกัน บริการรับทำเงินเดือนมีการคิดค่าบริการตามจำนวนพนักงานหรือเป็นรายเดือน ช่วยควบคุมต้นทุนได้ดี โดยไม่ต้องลดระดับคุณภาพการทำงาน 3. ลดภาระงานที่กินเวลาการทำงาน การคิดเงินเดือน ตรวจสอบข้อมูลการทำงาน หักภาษี ยื่นประกันสังคม หรือจัดทำรายงานต่าง ๆ เป็นงานที่ใช้เวลามาก หากผู้บริหารต้องทำเอง จะเป็นการเบียดบังเวลาที่ควรใช้กับการวางกลยุทธ์หรือขยายธุรกิจ ดังนั้น การใช้บริการรับทำเงินเดือนเข้ามาช่วย “ยกของหนัก” เหล่านี้ออกไปจากโต๊ะผู้บริหาร ทำให้คุณมีเวลาไปทำสิ่งที่สำคัญกว่า 4. บริการรับทำเงินเดือน จากผู้เชี่ยวชาญช่วยคำนวณเงินเดือน ภาษี ประกันสังคมถูกต้องตามกฎหมาย การใช้บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) ที่จัดทำโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเงินเดือน ช่วยให้การทำเงินเดือน ภาษี และประกันสังคมถูกต้องตามกฎหมาย ลดข้อผิดพลาดในเรื่องของการทำเงินเดือน 5. ผู้ให้ บริการรับทำเงินเดือน สามารถจัดการเงินเดือนและให้คำปรึกษาธุรกิจได้ หลายครั้งที่เจ้าของธุรกิจเจอกรณีซับซ้อน เช่น พนักงานลาออกกระทันหัน การคิดค่าชดเชย หรือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินเดือน การมีผู้เชี่ยวชาญด้านค่าจ้างและสิทธิประโยชน์คอยให้คำแนะนำโดยตรง ช่วยให้คุณตัดสินใจได้แม่นยำขึ้น และไม่เสี่ยงทำผิดโดยไม่รู้ตัว บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) by HumanSoft บริการรับทำเงินเดือน (Payroll Outsourcing) จาก HumanSoft เป็นอีกหนึ่งบริการที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการเงินเดือนให้กับพนักงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเงินเดือนคอยจัดทำเงินเดือนอย่างละเอียดทุกขั้นตอน อีกทั้งยังมีรายงานที่เจ้าของกิจการสามารถตรวจสอบและนำข้อมูลไปวิเคราะห์ได้ จุดเด่นอีกอย่างของบริการรับทำเงินเดือน HumanSoft คือฟรีโปรแกรม HR และแอปพลิเคชันสำหรับพนักงานที่ให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ผ่านระบบ Employee Self Service (ESS) ดังนี้ หากงาน Payroll ของคุณหนักเกินจะรับไหว ถึงเวลาแล้วที่ต้องมอบหมายให้มืออาชีพช่วยดูแลเรื่องการจัดการเงินเดือนให้องค์กรของคุณ หากสนใจบริการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : หากสนใจใช้ บริการรับทำเงินเดือน จาก HumanSoft ต้องเริ่มต้นอย่างไร? หากสนใจใช้บริการรับทำเงินเดือนจาก HumanSoft สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ดังนี้ กรณีถ้าอยากสอบถามรายละเอียดเบื้องต้นก็สามารถติดต่อมาได้ที่เบอร์ 083-942-6242 สรุปจัดการเงินเดือนให้เป็นเรื่องง่ายด้วยตัวช่วยจาก HumanSoft เจ้าของกิจการขนาดเล็กหรือ SME ที่ยังไม่มีฝ่าย HR หรือยังจัดการเรื่องเงินเดือนเองแบบแมนนวล บริการรับทำเงินเดือนเป็นหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการลดภาระงานที่ซับซ้อน ลดความเสี่ยงจากการคำนวณเงินเดือนผิดพลาด ส่งเอกสารล่าช้า นอกจากนี้ การใช้บริการรับทำเงินเดือนยังได้ทั้งการทำเงินเดือนแบบครบวงจร ทีมงานมืออาชีพ โปรแกรม HR และแอปพลิเคชันสำหรับพนักงานที่ทันสมัย แถมช่วยลดต้นทุนบริษัทอีกด้วย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

4 มิ.ย. 2025

PEAK Account

4 min

Update Function 04/06/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. The system now auto-fills the 13-digit number when adding a new contact from the document creation page, reducing steps and speeding up work. 📢 For users who search for contacts by entering the 13-digit number on the income and expense document creation pages, when entering a 13-digit number into the contact field (and that number is not yet in the system), clicking the “Add Contact” button will trigger the system to automatically pull in the contact information on the contact creation page—this includes the 13-digit number, business name, and address. This helps save time when creating documents. Example: when clicking “Add Contact”, the system will immediately pull in the 13-digit number and search for the contact. ✨ 2. New print window design in PEAK TAX: choose report headers and print by status immediately. 📢 For businesses using PEAK TAX, the system has redesigned the print report window. Users can now select report headers as desired, and the system also supports printing by the currently selected status. This helps ensure that the report output matches the display on the table screen, making printing more convenient. Example: Sales tax invoice report with “Pending Submission” status. ✨ 3. Instantly view P.N.D. and P.P.30 form numbers from the document lock icon to make tax document checking easier. 📢 For businesses using PEAK TAX, users can now see the P.N.D. and P.P.30 form numbers of income–expense documents by simply hovering the mouse over the “lock icon” on the document page. The system will automatically display the tax form number that the document was used to submit, reducing the need to go print reports in PEAK TAX and saving time when verifying documents. ✨ 4. Changed trial balance flag color from orange to yellow for better visibility. 📢 For users who work with trial balances and need clear visibility when reviewing each entry, the system now changes the flag color in the trial balance from orange to yellow to make it easier to see and distinguish statuses more clearly. ✨ 5. Revenue, Expense, and Contact Dashboards now support “Partially Issued” and “Fully Issued” statuses for clearer document tracking. 📢 The Dashboard now displays new statuses for Quotations (QO) and Purchase Orders (PO) as follows: In individual Contact Dashboards, users will see the overview bar showing revenue and expense data, making it easier to visualize document issuance. ✨ 6. Add “Asset Group” directly from the asset purchase document creation page for easier data entry. 📢 Users can now add a new asset group directly from the asset purchase document page without having to go into the PEAK Asset feature. After clicking “Add Asset Group” and filling out the details, the system will automatically save the asset group to PEAK Asset and select it for use in the document. This saves time and reduces steps in document creation. ✨ 7. New Refresh button added to Financial Statements for instant data updates. 📢 For accountants, the system adds a Refresh button to all three financial statement reports: This allows accountants to pull the latest data instantly without needing to refresh the entire page, keeping work smooth and uninterrupted. ✨ 8. Disable editing of VAT amount in income documents to reduce data errors. 📢 The system has disabled the edit button for VAT amounts in all income-side documents to prevent errors from manual tax calculation changes.

4 มิ.ย. 2025

PEAK Account

8 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 04/06/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. ระบบเติมเลข 13 หลักให้อัตโนมัติ เมื่อเพิ่มผู้ติดต่อใหม่จากหน้าสร้างเอกสาร เพื่อลดขั้นตอนและเพิ่มความเร็วในการทำงาน 📢สำหรับผู้ใช้งานที่ค้นหาผู้ติดต่อด้วยการกรอกเลข 13 หลักหน้าสร้างเอกสารรายรับและรายจ่าย เมื่อผู้ใช้งานกรอกเลข 13 หลักในช่องผู้ติดต่อ และเลขนั้นยังไม่เคยมีในระบบ เมื่อกดปุ่ม “เพิ่มผู้ติดต่อ” ระบบจะดึงข้อมูลมาใส่ให้อัตโนมัติที่หน้าสร้างผู้ติดต่อทันที ทั้งเลข 13 หลัก, ชื่อกิจการ และที่อยู่ เพื่อช่วยให้ประหยัดเวลาในการสร้างเอกสาร ตัวอย่างเมื่อกดเพิ่มผู้ติดต่อ ระบบจะดึงเลข 13 หลักและค้นหาผู้ติดต่อให้ทันที ✨ 2. ปรับหน้าต่างพิมพ์รายงานรูปแบบใหม่ใน PEAK TAX เลือกรูปแบบหัวรายงานและพิมพ์ตามสถานะได้ทันที 📢สำหรับกิจการที่ใช้งานฟีเจอร์ PEAK TAX ระบบปรับดีไซน์หน้าต่างพิมพ์รายงานใหม่ โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกหัวรายงานได้ตามต้องการ พร้อมรองรับการพิมพ์ตามสถานะที่เปิดอยู่ เพื่อช่วยให้การเรียกรายงาน จะแสดงข้อมูลออกมาได้เหมือนกับที่แสดงให้เห็นในหน้าตาราง เพิ่มความสะดวกในการพิมพ์ ตัวอย่างรายงานใบกำกับภาษีขาย สถานะรอยื่นภาษี ✨ 3. ดูเลขที่แบบภ.ง.ด. และ ภ.พ.30 ได้ทันทีจากปุ่มล็อกหน้าเอกสาร ช่วยตรวจสอบเอกสารที่ยื่นภาษีได้ง่ายขึ้น 📢สำหรับกิจการที่ใช้ฟีเจอร์ PEAK TAX ผู้ใช้งาน สามารถดูเลขที่แบบภ.ง.ด.และ ภ.พ.30 ของเอกสารรายรับ–รายจ่ายได้ทันที เพียงแค่นำเมาส์ไปชี้ที่ไอคอน “กุญแจล็อก” บนหน้าเอกสาร ระบบจะแสดงเลขที่แบบที่เอกสารนั้นถูกนำไปยื่นภาษีให้แบบอัตโนมัติ ช่วยลดขั้นตอนในการไปพิมพ์รายงานหาที่ PEAK TAX และประหยัดเวลาในการตรวจสอบ ✨ 4. เปลี่ยนสีธงในงบทดลองจากสีส้มเป็นสีเหลือง ช่วยให้มองเห็นง่ายมากขึ้น 📢สำหรับผู้ที่ใช้งานงบทดลองที่ต้องการความชัดเจนในการตรวจสอบข้อมูลแต่ละรายการ ระบบเปลี่ยนสีธงในงบทดลองจากสีส้มเป็นสีเหลือง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นและแยกแยะสถานะได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ✨ 5. ปรับ Dashboard รายรับ รายจ่ายและผู้ติดต่อให้รองรับสถานะ “ออกบางส่วน” และ “ออกครบแล้ว” ช่วยให้ติดตามสถานะเอกสารได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 📢ระบบปรับหน้า Dashboard ให้แสดงสถานะใหม่ของใบเสนอราคา (QO) และใบสั่งซื้อ (PO) ดังนี้ Dashboard ผู้ติดต่อรายตัว แสดงแถบภาพรวม ข้อมูลรายได้และข้อมูลรายจ่าย เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานมองภาพรวมการออกเอกสารได้ชัดเจนมากขึ้น ✨ 6. เพิ่ม “กลุ่มสินทรัพย์” จากหน้าสร้างเอกสารบันทึกซื้อสินทรัพย์ได้ทันที ช่วยสร้างข้อมูลได้สะดวกขึ้น 📢ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มกลุ่มสินทรัพย์ใหม่จากหน้าเอกสารบันทึกซื้อสินทรัพย์ได้ทันที โดยไม่ต้องเข้าไปที่ฟีเจอร์ PEAK Asset เมื่อกดปุ่ม “เพิ่มกลุ่มสินทรัพย์” แล้วกรอกข้อมูล ระบบจะบันทึกกลุ่มสินทรัพย์เข้าฟีเจอร์ PEAK Asset ให้อัตโนมัติ พร้อมเลือกกลุ่มนั้นให้ทันทีในหน้าสร้างเอกสาร เพื่อช่วยประหยัดเวลาและลดขั้นตอนในการสร้างเอกสาร ✨ 7. เพิ่มปุ่ม Refresh ในงบการเงิน ช่วยให้เรียกข้อมูลล่าสุดได้ทันที 📢สำหรับนักบัญชี ระบบเพิ่มปุ่ม Refresh หน้างบการเงินทั้ง 3 รายงาน ได้แก่  เพื่อช่วยให้นักบัญชีสามารถกดเรียกข้อมูลใหม่ได้ทันที โดยไม่ต้องรีเฟรชหน้าจอทั้งหมด และช่วยให้การทำงานต่อเนื่องไม่มีสะดุด ✨8. ปิดการแก้ไขยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในเอกสารรายรับ เพื่อลดข้อผิดพลาดในการแก้ไขข้อมูล 📢ระบบได้ปิดการใช้งานปุ่มแก้ไขยอดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในเอกสารฝั่งรายรับทุกเอกสาร เพื่อลดข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการคำนวณภาษี

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

13 min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 มิ.ย. 2025

PEAK Account

15 min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

3 min

Update Function PEAK 18/06/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ———————————————- ✨ 1. Start using the program more easily with PEAK Guide — understand the system in just a few clicks. 📢 For new users, the system combines PEAK Mission into “PEAK Guide” in one place, with a launch button on the homepage and in the “User Manual” menu. The system will start counting missions once the user accesses PEAK Guide and follows the recommended actions, making learning to use PEAK easier and more organized. For existing users who have completed all missions, the system will automatically show the status as “Completed.” Example of PEAK Guide ✨ 2. Add AI to analyze your Profit and Loss Statement — like having a personal CFO. 📢 For business owners who want to understand their Profit and Loss Statement easily and quickly, the system adds AI to the Profit and Loss page, allowing users to ask questions immediately—about revenue, profit, or expenses. The AI will respond based on the selected time period. Examples of questions AI can help with: The system does not save chat history. To use AI for a different time range, users can simply start a new chat. This helps business owners analyze their business easily and conveniently. ✨ 3. Support for creating bulk bank transfer files via Krungsri Bank (BAY), for easier, more accurate transfers and fewer data entry errors. 📢 For Premium package users using Krungsri Bank transfers, the system now supports creating Krungsri CashLink transfer files. Users can select expense documents, asset purchase entries, or consolidated payment notes in “Pending Payment” status to transfer multiple payments easily, improving accuracy and reducing input errors. ✨ 4. Specify classification groups in asset entries (PEAK Asset) for more detailed reports and asset accounting. 📢 For PEAK Asset users, the system now allows assigning classification groups to each asset. At month-end, the system will automatically calculate and post depreciation, with journal entries referencing the classification group attached to each asset. This helps users allocate depreciation expenses by department or project more conveniently. Users can assign classification groups to assets from the following: ✨ 5. “Create Document” button in LINE@PEAKConnect will now redirect to the PEAK application automatically, for easier and faster document creation. 📢 For users creating documents via LINE@PEAKConnect, when clicking the “Create Document” button in LINE, the system will now redirect to the PEAK mobile application automatically. This makes it easier and more convenient for customers to use PEAK on mobile devices.

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

7 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 18/06/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ———————————————- ✨ 1. เริ่มต้นใช้งานโปรแกรมได้ง่ายกว่าเดิมด้วย PEAK Guide เข้าใจโปรแกรมในไม่กี่คลิก 📢สำหรับผู้ใช้งานใหม่ ระบบรวม PEAK Mission เข้ากับ “PEAK Guide” ไว้ในที่เดียว พร้อมปุ่มเปิดใช้งานจากหน้าแรกของระบบและจากเมนู “สมุดคู่มือการใช้งาน”  ระบบจะเริ่มนับภารกิจเมื่อกดเข้าใช้งาน PEAK Guide และทำ Action ต่างๆ ตามที่แนะนำ ช่วยให้เรียนรู้การใช้งาน PEAK ได้สะดวกและเป็นระบบมากขึ้น สำหรับผู้ใช้งานเดิมที่ทำ Mission ครบแล้ว ระบบจะแสดงสถานะว่า “เสร็จแล้ว” โดยอัตโนมัติ  ตัวอย่าง PEAK Guide ✨ 2. เพิ่ม AI ช่วยวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนของกิจการ เหมือนมี CFO ส่วนตัว 📢สำหรับเจ้าของกิจการที่อยากเข้าใจงบกำไรขาดทุนของตัวเองแบบง่ายและเร็ว ระบบเพิ่ม AI เข้าไปในงบกำไรขาดทุนให้ถามข้อมูลได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย กำไร หรือค่าใช้จ่าย โดย AI จะตอบตามข้อมูลของกิจการในช่วงเวลาที่เลือก ตัวอย่างคำถามที่ AI ช่วยเหลือได้ เช่น  ทั้งนี้ระบบยังไม่เก็บประวัติการสนทนา หากต้องการใช้งานตามช่วงเวลาใหม่ สามารถกดสร้างแช็ตใหม่ได้ทันที ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถวิเคราะห์ธุรกิจได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ✨ 3. รองรับการสร้างไฟล์โอนเงินหลายรายการผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ช่วยให้โอนเงินสะดวก แม่นยำยิ่งขึ้น และลดข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล 📢สำหรับกิจการแพ็กเกจ Premium ที่ใช้ระบบโอนเงินผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ระบบเพิ่มการรองรับสร้างไฟล์โอนเงิน Krungsri CashLink ผู้ใช้งานสามารถเลือกเอกสารค่าใช้จ่าย บันทึกซื้อสินค้าหรือใบรวมจ่ายที่อยู่ในสถานะ “รอชำระ” เพื่อโอนเงินหลายรายการได้อย่างสะดวก เพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการทำข้อมูล ✨ 4. ระบุกลุ่มจัดประเภทในการบันทึกสินทรัพย์ (PEAK Asset) ช่วยให้รายงานและบัญชีสินทรัพย์ละเอียดยิ่งขึ้น  📢สำหรับผู้ใช้งาน PEAK Asset ระบบเพิ่มการรองรับระบุกลุ่มจัดประเภทให้กับสินทรัพย์แต่ละรายการได้แล้ว เมื่อสิ้นเดือนระบบจะทำการคิดค่าเสื่อมราคาและบันทึกค่าเสื่อมราคาให้อัตโนมัติ โดยในสมุดรายวันที่บันทึกค่าเสื่อมราคา ระบบจะอ้างอิงกลุ่มจัดประเภทที่ติดไว้ในสินทรัพย์นั้นๆให้อัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา ตามแต่ละแผนก หรือตามแต่ละโปรเจคได้สะดวกมากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถติดกลุ่มจัดประเภทในสินทรัพย์ได้ ดังนี้ ✨5. ปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE@PEAKConnect ระบบจะพาเข้าสู่แอปพลิเคชัน PEAK ให้อัตโนมัติ ช่วยให้สร้างเอกสารได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 📢สำหรับผู้ใช้งานที่สร้างเอกสารผ่าน LINE@PEAKConnect เมื่อกดปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE  ระบบจะปรับให้ผู้ใช้งานไปสร้างเอกสารในแอปพลิเคชัน PEAK อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้งาน PEAK ผ่านมือถือได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

18 มิ.ย. 2025

PEAK Account

29 min

กำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้ถูกใจพนักงาน? พร้อมข้อควรรู้ที่ห้ามพลาด!

พนักงานขายเป็นตำแหน่งหัวใจสำคัญของหลายองค์กร เพราะเป็นตำแหน่งที่หารายได้เข้าบริษัทชัดเจน หากพนักงานขายมีแรงจูงใจที่ดีอย่าง ค่าคอมมิชชั่น ส่วนใหญ่ก็จะส่งผลที่ดีต่อองค์กรได้โดยตรง แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยกันบ้างว่า ต้องคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้น่าสนใจ หรือมีวิธีคิดอย่างไรบ้าง รวมไปถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องรู้เพื่อให้การจัดการเงินในแต่ละเดือนเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดเราก็รวบรวมไว้ให้ในบทความนี้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถศึกษากฎหมายแรงงานเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน โดยการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามาติดตามกันได้เลย ค่าคอมมิชชั่น คืออะไร? ค่าคอมมิชชั่น (Commission) คือหนึ่งในประเภทค่าตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากบริษัทเมื่อทำยอดขายได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายตามที่แต่ละบริษัทกำหนด และมักจะมีการคำนวณปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของพนักงาน สินค้าที่ขาย ไปจนถึงโปรโมชั่นพิเศษ โดยปกติตำแหน่งพนักงานขายในทุกองค์กรจะมีค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ขายเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับช่องทางหลักในการสร้างรายได้ขององค์กรนั้น ๆ ค่าคอมมิชชั่นมีกี่ประเภท พร้อมตัวอย่างการคำนวณ  ค่าคอมมิชชั่นก็ไม่ได้มีเพียงการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการคิดค่าคอมมิชชั่นตอบแทนพนักงานได้ โดยแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป สามารถเลือกได้จากแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือกลยุทธ์ขององค์กรที่จะใช้ในการเพิ่มยอดขายให้เติบโต ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นถึง 11 ประเภท แต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้างเรามาดูกัน 1. ค่าคอมมิชชั่น แบบขั้นบันได สำหรับค่าคอมมิชชั่นประเภทแรกเป็นในรูปแบบขั้นบันได เป็นรูปแบบที่เรามักเห็นกันในองค์กรที่มีการแข่งขันสูงภายในองค์กร เพราะค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้พนักงานจะได้ค่าคอมมิชชั่นสูงขึ้นตามจำนวนของยอดขายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่กระตุ้นพนักงานขายได้เป็นอย่างดี เพราะว่าจะได้เงินมาหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขยันของตัวพนักงานนั่นเอง  ตัวอย่างเช่น บริษัทกำหนดค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดไว้ 3 ระดับดังนี้– รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 100,000 – 300,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 15% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 300,001 – 500,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 25% เมื่อทำยอดขายได้ 500,001 – 1,000,000 บาท หมายความว่าหากพนักงานทำยอดได้อยู่ในช่วงไหน ให้นำเปอร์เซ็นต์ในช่วงนั้นเข้ามาคำนวณ เช่น  พนักงาน A ทำยอดขายได้ 650,000 บาท ต้องคิดคอมมิชชั่น 25% 650,000 x 25% = 162,500 บาท พนักงาน A ก็จะได้รับค่าคอมทั้งหมด 162,500 บาทนั่นเอง ด้วยตัวเลขคอมมิชชั่นที่สูงขึ้นตามผลงานของพนักงาน จึงช่วยกระตุ้นพนักงานได้ดี แต่ด้วยรูปแบบที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้พนักงานบางคนที่ได้น้อยต่อเนื่องอาจถอดใจได้ ด้วยเหตุนี้หากองค์กรต้องการใช้รูปแบบนี้แนะนำให้หาแนวทางในการช่วยเหลือพนักงานที่อาจทำผลงานไม่ดีมากนัก เช่น จัดคอร์สพัฒนาด้านการขาย หรือมีการพูดคุยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและร่วมกันหาทางออกเพื่อเพิ่มผลงานให้พนักงาน 2. ค่าคอมมิชชั่น จากกำไร ถัดมาเป็นค่าคอมมิชชั่นจากกำไร ซึ่งเป็นประเภทของค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการขายสินค้าหลายรูปแบบ หรือขายสินค้าแบบทำตามคำสั่งจากลูกค้า เพราะระบบคอมมิชชั่นแบบนี้จะคำนวณจากกำไรในออร์เดอร์นั้น ๆ ไม่ได้คำนวณจากยอดขายพนักงานตรง หมายความว่า หากพนักงานเลือกขายสินค้าที่มีกำไรต่อคำสั่งซื้อสูงก็จะได้รับคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดโดยองค์กร ซึ่งรูปแบบคอมมิชชั่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานเลือกขายสินค้าหรือบริการที่มีกำไรสูง ส่งผลดีต่อบริษัท  ตัวอย่างเช่น : สินค้า A ราคา 500 บาท ต้นทุน 400 บาท ซึ่งมีกำไรต่อชิ้น 100 บาท 100 x 10% = 10 บาท หมายความว่าหากพนักงานขายสินค้า A ก็จะได้รับค่าคอมมชั่น 10 บาทนั่นเอง โดยรูปแบบการคำนวณ อัตราที่ใช้คำนวณขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่กำหนด 3. ค่าคอมมิชชั่น จากสินค้า เป็นระบบคอมมิชชั่นที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพราะเป็นการตั้งจากสินค้าโดยตรง เช่น รองเท้าวิ่ง B หากขายได้จะมีค่าคอมมิชชั่น 10% นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากสินค้าต้องมีการวางแผนพอสมควร เพราะหากตั้งเท่ากันหมด บริษัทอาจเสียมากกว่าได้ เพราะกำไรของสินค้าแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน เบื้องต้นอาจเริ่มต้นตั้งอัตราคำนวณคอมมิชชั่นจากประเภทของสินค้า เช่น หากเป็นสินค้าเก่าค้างสต๊อก 5 ปี อาจตั้งไว้ 10% แต่ถ้าเป็นสินค้าใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ อาจตั้งไว้ 5% ได้เช่นกัน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากขายสินค้าที่ค้างสต๊อกได้ด้วย นับว่าเป็นข้อดีเพราะองค์กรสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ในแต่ละช่วงได้ การคำนวณค่อนข้างตรงตัวสามารถนำราคาสินค้าคำนวณกับอัตราคอมมิชชั่นที่บริษัทกำหนด ตัวอย่างเช่น : โทรทัศน์ A ราคา 35,000 บาท ตั้งค่าคอมมิชชั่นไว้ที่ 10% 35,000 x 10% = 3,500 บาท หากพนักงานขายโทรทัศน์ A ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นไป 3,500 บาทนั่นเอง 4. ค่าคอมมิชชั่น ตามพื้นที่ อีกหนึ่งกลยุทธ์คอมมิชชั่นที่น่าสนใจเพราะการคำนวณคอมมิชชั่นจะแบ่งตามแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการขายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการแบ่งพนักงานขายตามแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการจัดระบบคอมมิชชั่นรูปแบบนี้พนักงานจะสามารถโฟกัสกับพื้นที่ของตัวเองได้ดี มีการแบ่งชัดเจน ไม่มีการแย่งลูกค้ากันเองภายในองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มคอมมิชชั่นตามพื้นที่ที่ต้องการรุกตลาดให้มากขึ้นได้อีกด้วย โดยวิธีการคิดคอมมิชชั่นจากเดิมที่ส่วนมากคิดว่ายอดขาย หรือกำไร จะเพิ่มเงื่อนไขโดยแบ่งเป็นตามเขต หรือพื้นที่ เช่น โซนภาคเหนือ 5% โซนภาคใต้ 10%  ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A ดูแลโซนภาคเหนือทั้งหมด 15 จังหวัดอัตราคอมมิชชั่น 10% และมียอดขายเกิดขึ้นในภาคเหนือทั้งหมด 500,000 บาท 500,000 x 10% = 50,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน A ผู้ดูแลโซนภาคเหนือจะได้รับค่าคอมมิชชั่นทั้งหมด 500,000 บาท ซึ่งหากพนักงาน A อยากได้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมก็ต้องเร่งหายอดขาย ไม่ว่าจะลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่าในโซนภาคเหนือให้มากขึ้นนั่นเอง 5. ค่าคอมมิชชั่น ต่อเนื่อง เพราะหลายองค์กรเชื่อว่าการรักษาลูกค้าเดิมให้ซื้อต่อเรื่อย ๆ ย่อมดีกว่าการออกไปหาลูกค้าใหม่เสมอ ทำให้ระบบคอมมิชชั่นต่อเนื่องกำเนิดขึ้น โดยเป็นคอมมิชชั่นที่พนักงานจะได้รับก็ต่อเมื่อลูกค้าเดิมซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยคิดยอดขายตามรอบ และทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนดอัตราคอมมิชชั่นและนำไปคำนวณตามยอดแต่ละรอบบิล เป็นระบบที่เหมาะกับองค์กรที่ขายบริการที่ค่อนข้างเฉพาะในอุตสาหกรรม โอกาสหาลูกค้าใหม่ยาก จึงจำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมไว้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นองค์กรที่เก็บเงินลูกค้าเป็นรอบทุกเดือน และด้วยรูปแบบค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้ จะเป็นการกระตุ้นพนักงานขายให้ดูแลลูกค้าในระยะยาวมากกว่า ตัวอย่างเช่น : บริษัท A ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องจ่ายค่าดูแลเป็นรายเดือนทุกเดือน ด้วยความที่ต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ จึงตั้งอัตราคอมมิชชั่น 10% สำหรับยอดขายที่ลูกค้าจ่ายเพื่อต่ออายุใช้บริการในแต่ละเดือน โดยพนักงาน B มีลูกค้าเป็นองค์กร C ที่ต่อสัญญากันทุกเดือนเป็นลูกค้าเก่า โดยค่าต่อสัญญาในแต่ละเดือนอยู่ที่ 50,000 บาท 50,000 x 10% = 5,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5,000 บาททุกเดือนหากองค์กร C ยังคงใช้บริการซอฟต์แวร์ของบริษัท A อยู่ ทำให้นอกจากที่พนักงาน B จะหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังคงกลับไปพูดคุยรักษาความสัมพันธ์กับองค์กร C อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาลูกค้าไว้นั่นเอง 6. ค่าคอมมิชชั่น ตามผลงาน ในองค์กรที่มี KPI อื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากยอดขายเพียงอย่างเดียว การกำหนดคอมมิชชั่นตามผลงาน ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งจะเป็นการที่องค์กรตั้งเป้าหมายขึ้นมา หากพนักงานทำได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นในส่วนนี้ โดยอาจเป็นส่วนเพิ่มเติมจากคอมมิชชั่นเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้  ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ใช้ระบบคอมมิชชั่นจากสินค้าอยู่แล้วที่ 5% แต่ต้องการกระตุ้นในเรื่องการซื้อซ้ำ จึงตั้งคอมมิชชั่นตามผลงานเพิ่มเติม หากพนักงานสามารถให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้มากกว่า 5 ครั้ง จะเพิ่มค่าคอมมิชชั่นในยอดขายหลังจากครบกำหนดเป็น 10% หมายความว่าหากพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 ใบที่ 5 ให้ลูกค้าท่านเดิมได้ ก็จะได้เพิ่มอัตราคอมมิชชั่นเป็น 10% นั่นเอง อัตราคอมมิชชั่นแรก2,000 x 5% = 1,000 บาทอัตราคอมมิชชั่นเมื่อขายใบที่ 5 ได้20,000 x 10% = 2,000 บาท ดังนั้นเมื่อพนักงาน A รักษาความสัมพันธ์และขายกระเป๋าใบที่ 5 ได้สำเร็จก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ช่วยกระตุ้นเรื่องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดีตามเป้าหมาย โดยข้อดีของกลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแผนตามเป้าหมายเพิ่มเติมนอกจากยอดขายได้ 7. ค่าคอมมิชชั่น จากส่วนต่างกำไร สำหรับข้อที่ 7 หรือค่าคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร จะค่อนข้างคล้ายกับในส่วนของคอมมิชชั่นจากกำไร แต่เปลี่ยนจากการคิดกำไรโดยตรงเป็นการคำนวณจาก Gross Margin หรือส่วนต่างกำไรนั่นเอง ซึ่งข้อดีจะคล้ายกันกับรูปแบบกำไรธรรมดา ต่างกันที่วิธีคำนวณ ซึ่งองค์กรที่เหมาะส่วนใหญ่จะมีสินค้าหลากหลายประเภทและมี Margin ต่อชิ้นที่แตกต่างกัน ซึ่งการตั้งระบบรูปแบบนี้ยังช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรสูงได้อีกด้วย เพราะพนักงานขายก็จะมุ่งเน้นขายสินค้าที่มีส่วนต่างเยอะเป็นพิเศษนั่นเอง ตัวอย่างเช่น : รองเท้า A มีส่วนต่างกำไร 5,000 บาท มีการตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร 10% หากพนักงาน B ขายสินค้าได้จะได้กำไรดังนี้5,000 x 10% = 500 บาท พนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการขายรองเท้า A ทั้งสิ้น 500 บาท ซึ่งหากมีสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่านี้พนักงานก็จะโฟกัสไปที่การขายสินค้าชิ้นนั้นเป็นพิเศษ  8. ค่าคอมมิชชั่น และเงินเดือน  เป็นรูปแบบคอมมิชชั่นที่เรามักพบในองค์กรที่ใช้เวลาในการขายสินค้าแต่ละชิ้นค่อนข้างนาน เช่น องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจแบบ B2B เพราะกว่าที่จะขายสินค้าหรือบริการได้นั้นพนักงานขายต้องใช้เวลาในการแนะนำ โน้มน้าวนานเป็นพิเศษ ระบบคอมมิชชั่นและเงินเดือนจึงเป็นรูปแบบที่พนักงานได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว แต่จะได้รับอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มตามยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนด้วย ซึ่งส่วนมากฐานเงินเดือนจะไม่ค่อยสูงมาก เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรีบขายสินค้าเพื่อมาเพิ่มรายได้ของตัวเองในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนให้พนักงานขายและสมทบเพิ่มเป็นคอมมิชชั่นในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมตามแต่ละกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A มีเงินเดือน 25,000 บาท มีอัตราอัตราคอมมิชชั่น 5% จากยอดขาย ในเดือนนี้พนักงาน A มียอดขายตลอดทั้งเดือน 320,000 บาท จะได้รับเงินทั้งหมด[320,000 x 5%] + 25,000 = 41,000 บาท พนักงาน A จะได้รับเงิน 41,000 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนใหญ่จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความขยันของพนักงาน 9. คอมมิชชั่นพิเศษ สำหรับสินค้าโปรโมชัน ระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะพบส่วนมากในองค์กรที่ต้องการเคลียร์สต๊อกสินค้าและมักจะออกโปรโมชั่นออกมา และเพื่อกระตุ้นการขายให้มากขึ้นก็จะมีการจัดคอมมิชชั่นพิเศษสำหรับโปรโมชั่นดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานเร่งขายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ต้องการเคลียร์สต๊อกของสินค้า B จึงจัดโปรโมชั่นขายในราคา 500 บาทขึ้นมา และหากพนักงานขายสินค้าดังกล่าวได้จะได้รับอัตราคอมมิชชั่น 10 %500 x 10% = 50 บาท หากพนักงานขายสินค้าในโปรโมชั่นนี้ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก 50 บาทนั่นเอง นับเป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์สต๊อก หรือช่วยเร่งยอดขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ดีมาก ๆ เพราะนอกจากมีโปรโมชั่นเข้ามาช่วยส่งเสริมการขายแล้ว พนักงานขายยังต้องการที่จะขายสินค้าชิ้นนั้นเพราะได้ค่าคอมอีกด้วย 10. ค่าคอมมิชชั่น ตามระยะเวลาการทำงาน หลายองค์กรมักจะมีการใช้ระบบคอมมิชชั่นตามระยะเวลาการทำงานเข้ามาใช้ด้วยเพื่อที่จะดึงดูดให้พนักงานที่มีประสบการณ์อยู่กับองค์กรให้นานยิ่งขึ้น เพราะยิ่งอายุงานอัตราคอมมิชชั่นที่พวกเขาจะได้รับก็สูงตาม องค์กรอาจคิดจากการเพิ่ม 5% เมื่อทำงานครบทุก ๆ 3 ปี ส่วนวิธีการคิดคอมมิชชั่นอาจคิดจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กร ตัวอย่างเช่น : องค์กร A เริ่มต้นอัตราคอมมิชชั่นที่ 5% และจะเพิ่มให้อีก 5% เมื่อทำงานครบ 5 ปี นั่นหมายความว่าหากพนักงานมียอดขาย 50,000 บาทจะได้รับค่าคอมมิชชั่นดังนี้ พนักงานอายุงาน 1 – 4 ปี50,000 x 5% = 2,500 บาทพนักงานอายุงาน 5 ปีขึ้นไป50,000 x 10% = 5,000 บาท จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้เลยว่าพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปีได้รับค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว ซึ่งเป็นวิธีการโน้มน้าวพนักงานฝีมือดีให้อยู่กับองค์กรของเราได้นานยิ่งขึ้น 11. ค่าคอมมิชชั่นล้วน สำหรับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้อาจฟังดูโหดสำหรับพนักงานพอสมควรเพราะเงินเดือนทั้งหมดจะมาจากค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะมีอัตราคอมมิชชั่นที่สูง ส่วนวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นก็ขึ้นอยู่กับองค์กรเพราะบางที่อาจคำนวณจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้เช่นกัน แต่สุดท้ายข้อดีของคอมมิชชั่นประเภทนี้คือพนักงานจะต้องทุ่มเทขยันอย่างแท้จริง เพราะรายรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับการขายเท่านั้น ส่วนองค์กรที่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะต้องเป็นองค์กรที่มีราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่สูง และส่วนมากมักจะเป็นธุรกิจประเภท B2B เคล็ดลับกำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้พนักงานขยัน! การกำหนดระบบคอมมิชชั่นไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่ข้อคำนึงสำคัญที่สุดคือควรที่จะกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร โดยเป้าหมายต้องกำหนดชัดเจน และพร้อมที่จะพาพนักงานทุกคนมุ่งไปในจุดหมายเดียวกัน นอกเหนือจากการคิดค่าคอมมิชชั่นให้ตรงกับเป้าหมายแล้วยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่อาจช่วยให้คุณกำหนดได้ถูกใจพนักงานมากยิ่งขึ้น! 1. ทำความเข้าใจธุรกิจของตนเองกับระบบคอมมิชชั่นแต่ละประเภท สำคัญไม่แพ้กับการกำหนดให้ตรงกับเป้าหมาย เพราะถ้ารูปแบบการทำธุรกิจไม่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นก็อาจทำให้พนักงานถอดใจและไม่มีมีแรงใจที่จะขายสินค้าของเราต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าที่ขายราคา 50 บาท แต่กำหนดเป้าหมายคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได 500,000 บาท การที่พนักงานจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องใช้เวลาพอสมควร และดูเป็นเป้าหมายที่เกินเอื้อมจนเกินไป 2. ชัดเจนและเข้าใจง่าย เมื่อเป็นเรื่องเงินเรื่องทองรายละเอียดต่าง ๆ ต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความสับสนหรือมีช่องโหว่จนเกิดการเอาเปรียบกันได้ เพราะฉะนั้นองค์กรควรที่จะเขียนชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจตรงกัน และต้องดำเนินการตามข้อกำหนดนั้นอย่างถูกต้อง ที่สำคัญควรจะเข้าใจง่าย พนักงานขายเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่ได้มีการใช้ระบบซับซ้อนหลายระบบพร้อมกัน เพราะอาจทำให้เป้าหมายของพวกเขาดูคลุมเครือและท้อแท้กันก่อนได้ เช่น กำหนดค่าคอมมิชชั่นจากกำไร แต่ไม่แจ้งพนักงานขายว่าสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรเท่าไหร่บ้าง ทำให้พนักงานไม่รู้สึกถึงเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะไม่รู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าขายสินค้าชิ้นนี้ไปแล้วจะได้ค่าคอมมิชชั่นกลับมาเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้จึงควรระบุรายละเอียดทุกอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น 3. รับฟังและพูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ตำแหน่งพนักงานขายมีแรงกดดันค่อนข้างสูง หากองค์กรของเรายังไม่ได้มีพนักงานที่เยอะมากนัก การที่พูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับระบบการขายหรือคอมมิชชั่น เพื่อให้สามารถออกแบบระบบที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร วิธีนี้นอกจากจะช่วยในการวางแผนคอมมิชชั่นได้อย่างถูกจุด ยังช่วยให้เราทราบถึงปัญหา จุดแข็งของพนักงานขายแต่ละคน นำไปสู่วลี “Put the right man on the right job” ที่พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานแต่ละคนได้อย่างแท้จริง ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นเงินค่าจ้างที่ต้องคำนวณในเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่? เกร็ดเล็ก ๆ อีกหนึ่งข้อเกี่ยวกับด้านกฎหมายค่าคอมมิชชั่น ที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยว่าค่าคอมนั้นนับเป็นค่าจ้างหรือไม่ แล้วจำเป็นต้องนำเงินรายได้ส่วนนี้มาใช้ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมหรือไหม ซึ่งคำตอบก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเภท โดยคอมมิชชั่นในรูปแบบที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการขายนั้นจะเป็นไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้นจึงไม่ต้องนำไปคำนวณในเงินสมทบประกันสังคม แต่หากเป็นคอมมิชชั่นที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานก็จำเป็นต้องนำไปคิดรวมในเงินสมทบประกันสังคม คิดค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้องแม่นยำด้วยโปรแกรม Payroll ในองค์กรที่มีพนักงานขายเยอะ การคิดค่าคอมมิชชั่นอาจเป็นเรื่องปวดหัวในบางครั้ง เราขอแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม Payroll เป็นตัวช่วยในการคำนวณ เพื่อลดโอกาสผิดพลาดลง ซึ่ง PEAK ก็มีโปรแกรม PEAK Payroll ที่พร้อมให้การบริหารเงินเดือนพนักงานกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในทุกขนาดองค์กร อีกทั้งยังมีคู่มือครบเข้าใจง่ายแน่นอน! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 มิ.ย. 2025

PEAK Account

16 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้! วิธีคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ครบทุกประเภท ฉบับเข้าใจง่าย ใช้งานได้จริง

ร้านค้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนอกจากมีหน้าร้านจริงแล้ว การมีหน้าร้านในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Shopee ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้ แต่หลายท่านอาจไม่ทราบว่าการขายสินค้าบนแพลตฟอร์มมีการเก็บค่าธรรมเนียมด้วย! ซึ่ง ค่าธรรมเนียม Shopee จะมีอะไรบ้าง และมีวิธีการคำนวณอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ ค่าธรรมเนียม Shopee คืออะไร? ค่าธรรมเนียมการขาย Shopee คือค่าใช้จ่ายที่แพลตฟอร์ม Shopee เรียกเก็บจากเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มเมื่อขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมของ Shopee มี 3 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีเงื่อนไขในการเก็บที่แตกต่างกันมีการคิดคำนวณค่าธรรมเนียมแบบแยกกัน  ในส่วนถัดไปของบทความเราจะลงรายละเอียดความแตกต่างของค่าธรรมเนียมแต่ละประเภทกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลย 1. ค่าธรรมเนียมการขาย เป็นค่าธรรมเนียมแรกที่ทุกร้านค้าต้องเสียเมื่อขายสินค้าได้แล้ว โดยค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะทำการคำนวณจากราคาของสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราที่ใช้คำนวณนั้นจะแตกต่างกันออกไปแต่ละประเภทสินค้า นอกจากนี้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย จะต้องคำนวณจากยอดที่หักส่วนลด หรือโปรโมชัน ที่เราจัดขึ้น เช่น โค้ดส่วนลดต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงนำตัวเลขที่ได้มาคำนวณค่าธรรมเนียมต่อไป ตารางค่าธรรมเนียมการขาย Shopee แยกตามประเภทสินค้า วิธีการคำนวณธรรมเนียมการขายของ Shopee โดยวิธีการคำนวณนั้นทำได้ไม่ยาก เพียงนำตัวเลขในตารางข้างต้น มาคำนวณกับราคาสินค้าที่หักส่วนลดจากร้านค้าแล้ว ตัวอย่างเช่น ขายสินค้าเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัวราคาเต็มที่ขายคือ 500 บาท โดยลูกค้าใช้โค้ดส่วนลด 50 บาทในการซื้อสินค้า สูตรการคำนวณเราจึงต้องนำราคาเต็มมาหักลบกับส่วนลดก่อนดังนี้ ราคาเต็มที่ตั้งขาย – ส่วนลดจากร้านค้า (โค้ดส่วนลด) = ยอดที่ใช้ในการคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 500 – 50 = 450 บาท เมื่อได้ตัวเลขที่ใช้ในการคำนวณแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็สามารถนำตัวเลขนี้ไปคิดกับอัตราค่าธรรมตามในตารางได้เลย โดยสูตรการคำนวณคือ ยอดรวมหลักหักส่วนลด X อัตราค่าธรรมเนียม ในกรณีของสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายที่เราใช้เป็นตัวอย่างอยู่ในหมวดหมู่ของสินค้าแฟชั่นซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 9.63% (อัปเดตวันที่ 26 เมษายน 2568)  450 X 9.63% = 43.335 บาท หมายความว่าในการขายเสื้อผ้าผู้ชายราคา 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการขาย 43.335 บาทนั่นเอง หากรวมสูตรการคำนวณง่าย ๆ จะออกมาในรูปแบบดังนี้ [ ราคาเต็มสินค้า – โปรโมชั่นจากผู้ขาย เช่น โค้ดส่วนลด] x อัตราค่าธรรมเนียมการขายตามประเภท = ค่าธรรมเนียมการขาย นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการขายของร้านค้าที่เป็น Non Mall Shop กับ Mall Shop ยังมีอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกัน สามารถดูได้จากตารางด้านล่างนี้ได้เลย สามารถศึกษาตารางอัตราค่าธรรมการสินค้าแต่ละประเภท ของร้านค้าประเภท Mall Shop อย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ Shopee  ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ประเภทค่าธรรมเนียมการขาย ข้อสำคัญที่เจ้าของร้านห้ามลืมในการคำนวณคือ อย่าลืมนำราคาเต็มไปหักลบกับส่วนลด หรือโปรโมชั่นที่เราเป็นคนออก เช่น โค้ดส่วนลด ก่อนนำไปคำนวณกับอัตราค่าธรรมเนียมไม่เช่นนั้นอาจจะได้ตัวเลขค่าธรรมเนียมที่ไม่ตรง ส่งผลต่อการตั้งราคาและอาจทำให้ได้กำไรไม่ถึงกับที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ 2. ค่าธรรมเนียมธุรกรรม อีกหนึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ที่เจ้าของร้านค้าต้องเสียหลังจากขายสินค้าได้คือค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งคือค่าธรรมเนียมที่ร้านค้าต้องเสียให้แก่ผู้ให้บริการช่องทางชำระค่าใช้จ่ายสินค้าบนแพลตฟอร์ม Shopee โดยอัตราค่าธรรมเนียมธุรกรรมจะเท่ากันทุกประเภทสินค้า และทุกประเภทของร้านค้า โดยจะมีอัตราค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 3% ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%  โดยการคำนวณส่วนนี้จะคำนวณสรุปยอดรวมของคำสั่งซื้อที่ผู้ซื้อชำระให้กับร้านค้า โดยจะรวมทั้งค่าสินค้าและค่าจัดส่งสินค้า ส่วนในกรณีของส่วนลดต้องนำส่วนลดของ Shopee หรือ Shopee Coin มาหักลบก่อนคำนวณด้วย วิธีการคำนวณธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ตัวอย่างสูตรการคำนวณแบบแยกการคำนวณ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม และ VAT แยกกัน ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (ก่อนคำนวณ VAT) ยกตัวอย่างจากสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายในราคารวมส่วนลดแล้วอยู่ที่ 450 บาท และมีค่าส่ง 100 บาท  550 X 3% = 16.5 บาท (ก่อนคำนวณ VAT) หากคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จะมีสูตรการสูตรคำนวณดังนี้ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม x 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ค่าธรรมเนียมธุรกรรม + ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ค่าธรรมเนียมธุรกรรม แทนสูตรการคำนวณได้ดังนี้ 16.5 x 7% = 1.155 บาท 16.5 + 1.155 = 17.655 บาท จากสูตรการคำนวณทั้งหมดหมายความว่ายอดคำสั่งซื้อของเสื้อผ้าผู้ชายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมธุรกรรม 17.655 บาทนั่นเอง  หากต้องการคำนวณให้ง่ายมากยิ่งขึ้นให้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณขั้นตอนแรกได้เลย โดยให้คิดอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็น 3.21% ต่อยอดรวมคำสั่งซื้อ  ยอดรวมคำสั่งซื้อ X 3.21% = ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต้องเสีย (รวม VAT) แทนสูตรได้ดังนี้ 550 x 3.21% = 17.655 บาท ตัวเลขที่ได้เท่ากับการคำนวณ VAT แยกแต่รูปแบบนี้จะรวบขั้นตอนเป็นการคำนวณครั้งเดียวเพื่อความสะดวกและรวดเร็วนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรมของ Shopee ความต่างในการคำนวณนอกจากอัตราที่เท่ากันทั้งหมดแล้ว ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% เข้าไปด้วย ซึ่งตรงกันข้ามกับค่าธรรมเนียมการขายที่มีการรวมเข้าไปด้วยแล้ว ด้วยเหตุนี้ห้ามลืมคำนวณ VAT ในค่าธรรมเนียมธุรกรรม เพื่อการคำนวณต้นทุนการขายได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น 3. ค่าธรรมเนียมบริการ สำหรับค่าธรรมเนียม Shopee ส่วนสุดท้ายจะเป็นค่าธรรมเนียมบริการ ซึ่งการบริการในที่นี้คือ โปรแกรมส่งฟรีส่งฟรี Xtra หรือโปรแกรมส่วนลด Xtra ของ Shopee นั่นเอง ซึ่งโปรแกรม Xtra นี้เจ้าของร้านสามารถเลือกที่จะเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ก็ได้ โดยผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมนอกเหนือจากการขายและธุรกรรม ในส่วนของค่าธรรมเนียมบริการจะมีอัตราค่าธรรมเนียมแบ่งตามประเภทของสินค้าเช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการขาย ซึ่งคำนวณเป็นสินค้าต่อชิ้น และจะหักค่าธรรมเนียมจากจำนวนยอดเงินรวมที่ต้องได้รับ และค่าธรรมเนียมบริการจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้ว ตารางค่าธรรมเนียมแบ่งแยกตามหมวดหมู่สินค้า และประเภทโปรแกรม วิธีการคำนวณธรรมเนียมบริการของ Shopee โดยการคำนวณจะคิดจากราคาสินค้าที่ชำระ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าผู้ชาย 500 บาท โค้ดส่วนลด 50 บาท และเข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra ราคาสินค้า x อัตราค่าธรรมเนียมโปรแกรมส่งฟรี Xtra (5.35%) = ค่าธรรมเนียมบริการ แทนสูตรการคำนวณดังนี้ 450 x 5.35% = 24.075 บาท หมายความว่าเจ้าของร้านที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรี Xtra เมื่อขายสินค้ายอดรวม 450 บาทได้จะเสียค่าธรรมเนียมบริการ 24 บาทนั่นเอง ข้อควรระวังในการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการของ Shopee ข้อสำคัญที่ห้ามลืมคือจำนวนยอดรวมที่ใช้คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ที่บางท่านอาจลืมไปว่าต้องนำส่วนลดต่าง ๆ มาคำนวณเพิ่มเติมด้วย รวมไปถึงการคำนวณค่าธรรมเนียมบริการ คำนวณแยกรายการ เช่น ถ้าในคำสั่งซื้อมีเสื้อผ้าผู้ชาย 1 ตัว กางเกง 1 ตัว ต้องคิดค่าธรรมเนียมบริการแยกกันตามราคาของสินค้าแต่ละชิ้นนั่นเอง สรุปตัวอย่างการคำนวณ ค่าธรรมเนียม Shopee ทั้ง 3 ประเภท ส่วนถัดมา เราขอยกตัวอย่างการคำนวณในกรณีที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมครบทั้ง 3 ประเภท ซึ่งผู้ที่จะเสียค่าธรรมเนียมครบ คือร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม Xtra ของ Shopee  โดยตัวอย่างเราขอใช้เป็นสินค้าเสื้อผ้าผู้ชายตัวเดิม โดยร้านค้าเป็น Non Mall Shop ให้ใช้ตารางค่าธรรมเนียมของ Non Mall Shop ในการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียม ตัวอย่างรายละเอียดคำสั่งซื้อสินค้า: เสื้อผ้าผู้ชาย ตัวอย่างสูตรการคำนวณค่าธรรมเนียมทั้ง 3 ประเภท อันดับแรกให้คำนวณราคาสินค้าที่หักโค้ดส่วนลดของร้านค้าก่อน ราคาสินค้าเต็ม 500 บาท – ส่วนลดร้านค้า 50 บาท = 450 บาท  หลังจากนั้นนำมาคำนวณค่าธรรมเนียมการขาย 450 x 9.63% = 43.33 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมบริการ 450 x 5.35% = 24.07 บาท คำนวณค่าธรรมเนียมธุรกรรม โดยคิดจากยอดเต็มที่ลูกค้าต้องจ่าย จึงต้องนำส่วนต่างค่าจัดส่งที่ผู้ซื้อชำระมารวมกับราคาสินค้า [450 + 62] x 3.12% = 15.97 บาท หลังจากนั้นนำค่าธรรมเนียมทั้งหมดรวมกัน แล้วลบราคาสินค้าเต็ม ก็จะได้ จำนวนเงินที่เจ้าของร้านจะได้รับจากการขายเสื้อผ้าผู้ชายตัวละ 500 บาทบนแพลตฟอร์ม Shopee 500 – [43.33+24.07+15.97] = 416.63 บาท เท่ากับว่าเจ้าของร้านจะได้รับเงินจริง ๆ 416.63 บาท หรือเสียค่าธรรมเนียมรวมทั้ง 3 ประเภทประมาณ 83.37 บาท นั่นเอง แชร์สูตรคำนวณครบ 3 ค่าธรรมเนียม Shopee ในภาพเดียว! คำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ให้ถูกต้อง ช่วยให้การตั้งราคาง่ายยิ่งขึ้น ความสำคัญของการคำนวณค่าธรรมเนียม Shopee ช่วยให้ธุรกิจที่มีร้านค้าบน Shopee สามารถตั้งราคาสินค้าได้ถูกต้อง และง่ายมากยิ่งขึ้น เพราะค่าธรรมเนียมเหล่านี้ล้วนนับเป็นต้นทุนได้ทั้งสิ้น หากไม่มีการคำนวณล่วงหน้า อาจทำให้เสียค่าธรรมเนียมจนกำไรหายไปได้ แต่นอกจากค่าธรรมเนียมหลักทั้ง 3 ประเภทยังมีค่าธรรมเนียมอื่น เช่น Airplay, บัตรเครดิต เดบิต และ SPaylater อีกด้วย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการชำระเงินของลูกค้า ซึ่งค่าธรรมเนียม Shopee ก็นับเป็นค่าใช้จ่ายยิบย่อยพอสมควร หากมีจำนวนการทำธุรกรรมเยอะอาจทำให้การทำบัญชียุ่งยากหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้การมีโปรแกรมบัญชีครบวงจรอย่าง PEAK ก็ช่วยให้ผู้ประกอบการบันทึกบัญชีได้ง่ายยิ่งขึ้น มาพร้อมคู่มือการใช้งานที่เข้าใจง่าย และนอกจากนี้ PEAK ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Shopee ได้โดยตรงอีกด้วย เพราะฉะนั้นรู้วิธีคำนวณอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องมีโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้เรื่องการทำบัญชีง่ายยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก