คลังความรู้บัญชี ภาษี และโปรแกรมบัญชีออนไลน์

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บทความน่ารู้ด้านบัญชี ภาษี การเงิน และธุรกิจที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

ล่าสุด

27 Jun 2025

PEAK Account

13 min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

20 Jun 2025

PEAK Account

15 min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 Jun 2025

PEAK Account

7 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 18/06/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ———————————————- ✨ 1. เริ่มต้นใช้งานโปรแกรมได้ง่ายกว่าเดิมด้วย PEAK Guide เข้าใจโปรแกรมในไม่กี่คลิก 📢สำหรับผู้ใช้งานใหม่ ระบบรวม PEAK Mission เข้ากับ “PEAK Guide” ไว้ในที่เดียว พร้อมปุ่มเปิดใช้งานจากหน้าแรกของระบบและจากเมนู “สมุดคู่มือการใช้งาน”  ระบบจะเริ่มนับภารกิจเมื่อกดเข้าใช้งาน PEAK Guide และทำ Action ต่างๆ ตามที่แนะนำ ช่วยให้เรียนรู้การใช้งาน PEAK ได้สะดวกและเป็นระบบมากขึ้น สำหรับผู้ใช้งานเดิมที่ทำ Mission ครบแล้ว ระบบจะแสดงสถานะว่า “เสร็จแล้ว” โดยอัตโนมัติ  ตัวอย่าง PEAK Guide ✨ 2. เพิ่ม AI ช่วยวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนของกิจการ เหมือนมี CFO ส่วนตัว 📢สำหรับเจ้าของกิจการที่อยากเข้าใจงบกำไรขาดทุนของตัวเองแบบง่ายและเร็ว ระบบเพิ่ม AI เข้าไปในงบกำไรขาดทุนให้ถามข้อมูลได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย กำไร หรือค่าใช้จ่าย โดย AI จะตอบตามข้อมูลของกิจการในช่วงเวลาที่เลือก ตัวอย่างคำถามที่ AI ช่วยเหลือได้ เช่น  ทั้งนี้ระบบยังไม่เก็บประวัติการสนทนา หากต้องการใช้งานตามช่วงเวลาใหม่ สามารถกดสร้างแช็ตใหม่ได้ทันที ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถวิเคราะห์ธุรกิจได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ✨ 3. รองรับการสร้างไฟล์โอนเงินหลายรายการผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ช่วยให้โอนเงินสะดวก แม่นยำยิ่งขึ้น และลดข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล 📢สำหรับกิจการแพ็กเกจ Premium ที่ใช้ระบบโอนเงินผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ระบบเพิ่มการรองรับสร้างไฟล์โอนเงิน Krungsri CashLink ผู้ใช้งานสามารถเลือกเอกสารค่าใช้จ่าย บันทึกซื้อสินค้าหรือใบรวมจ่ายที่อยู่ในสถานะ “รอชำระ” เพื่อโอนเงินหลายรายการได้อย่างสะดวก เพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการทำข้อมูล ✨ 4. ระบุกลุ่มจัดประเภทในการบันทึกสินทรัพย์ (PEAK Asset) ช่วยให้รายงานและบัญชีสินทรัพย์ละเอียดยิ่งขึ้น  📢สำหรับผู้ใช้งาน PEAK Asset ระบบเพิ่มการรองรับระบุกลุ่มจัดประเภทให้กับสินทรัพย์แต่ละรายการได้แล้ว เมื่อสิ้นเดือนระบบจะทำการคิดค่าเสื่อมราคาและบันทึกค่าเสื่อมราคาให้อัตโนมัติ โดยในสมุดรายวันที่บันทึกค่าเสื่อมราคา ระบบจะอ้างอิงกลุ่มจัดประเภทที่ติดไว้ในสินทรัพย์นั้นๆให้อัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา ตามแต่ละแผนก หรือตามแต่ละโปรเจคได้สะดวกมากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถติดกลุ่มจัดประเภทในสินทรัพย์ได้ ดังนี้ ✨5. ปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE@PEAKConnect ระบบจะพาเข้าสู่แอปพลิเคชัน PEAK ให้อัตโนมัติ ช่วยให้สร้างเอกสารได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 📢สำหรับผู้ใช้งานที่สร้างเอกสารผ่าน LINE@PEAKConnect เมื่อกดปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE  ระบบจะปรับให้ผู้ใช้งานไปสร้างเอกสารในแอปพลิเคชัน PEAK อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้งาน PEAK ผ่านมือถือได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม

บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

อ่านบทความเพิ่มเติม

27 Jun 2025

PEAK Account

13 min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

15 Jun 2025

PEAK Account

9 min

วิธีดูงบการเงินออนไลน์ และ การคัดงบการเงิน

รู้ไหมว่า…งบการเงินของธุรกิจเราไม่ใช่ความลับ ?งบการเงิน คือ รายงานที่สรุปรายได้ ค่าใช้จ่าย กำไร ขาดทุน และทรัพย์สินของธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของกิจการรู้สถานะทางการเงินของตัวเอง และใช้วางแผนหรือเปรียบเทียบกับคู่แข่งได้ ถ้าผู้ประกอบการเข้าใจและอ่านงบการเงินเป็นก็สามารถวางกลยุทธ์ของธุรกิจคุณได้แล้วครับ ไม่ว่าเราจะเปิดบริษัทเอง หรือกำลังจับตาคู่แข่งอยู่ ข้อมูลสำคัญอย่าง “ งบการเงิน ” นั้นถูกจัดเก็บแบบสาธารณะที่สามารถเข้าไปดูได้ เพียงแค่รู้ช่องทางและรู้วิธี เช่นเดียวกับบริษัทมหาชนที่งบการเงินเปิดเผยอยู่บนเว็บไซต์ให้โหลดได้ฟรี การค้นหางบของคู่แข่งหรือพาร์ตเนอร์ธุรกิจก็เป็นไปได้เช่นกัน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายเท่ากันทุกกรณี แต่ถ้าเรารู้ว่าจะดูจากที่ไหนและดูอะไรบ้าง ก็ช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้นอย่างมาก วิธี ดูงบการเงิน แบบออนไลน์ การ “ดูงบการเงินออนไลน์” คือการเข้าถึงข้อมูลงบการเงินของธุรกิจต่างๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องไปขอเอกสารฉบับจริงให้ยุ่งยาก ซึ่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ได้จัดทำระบบที่ชื่อว่า DBD DataWarehouse+ ให้ประชาชนทั่วไปสามารถค้นหาข้อมูลงบการเงินของนิติบุคคลในประเทศไทยได้ง่ายๆ เพียงแค่มี เลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก ซึ่งเราสามารถใช้ระบบนี้เพื่อดูภาพรวมของธุรกิจ เช่น รายได้ กำไร หนี้สิน หรือสถานะทางการเงินของคู่แข่ง พาร์ตเนอร์ หรือแม้แต่ของตัวเราเอง โดยเฉพาะในกรณีที่เราจะวิเคราะห์คู่แข่ง ขอสินเชื่อ หรือจะรับลูกค้าใหม่เข้าระบบ ก็สามารถใช้ข้อมูลจากงบการเงินออนไลน์ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมั่นใจมากขึ้น ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เข้าเว็บไซต์ และกรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก 2. ระบบจะแสดงข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ชื่อ ทุนจดทะเบียน วันก่อตั้ง ที่อยู่ รายชื่อกรรมการ และประเภทธุรกิจ 3. เลือกแท็บ ‘ข้อมูลทางการเงิน’ และเลือกหัวข้อย่อย ‘ งบการเงิน ’ 4. ระบบจะเข้าสู่หน้างบฐานะการเงิน ซึ่งสามารถเลือกดูงบกำไรขาดทุนหรืออัตราส่วนการเงินที่ตัวเลือกด้านขวาของหน้าจอได้ จากรูปภาพจะเห็นว่าข้อมูลจะเป็นงบการเงินแบบย่อที่แสดงข้อมูลโดยสรุปจากงบการเงินฉบับเต็ม ซึ่งก็มีข้อมูลสำคัญที่เราสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้  วิธี คัดงบการเงิน ฉบับเต็ม ถ้าดู งบการเงิน ออนไลน์แล้วรู้สึกว่ายังไม่ละเอียดพอ โดยเราอยากเห็นข้อมูลเชิงลึกบางอย่าง เช่น หมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือรายละเอียดสินทรัพย์ หนี้สินแบบแยกรายการ ดังนั้นการ “คัดงบ” หมายถึง การยื่นคำขอรับสำเนาเอกสารงบการเงินอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะได้เอกสารที่เหมือนกับงบที่บริษัทส่งตรวจสอบจริง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนหน้า เราสามารถ “ คัดงบการเงินฉบับเต็ม ” ผ่านระบบออนไลน์ของ DBD ที่สามารถชำระเงินและดาวน์โหลดไฟล์ได้ทันที ดังนี้ 1. เข้าเว็บไซต์ และกดปุ่มเลือกเอกสารด้วยตนเอง 2. ค้นหานิติบุคคลที่สนใจด้วยเลขนิติบุคคล 13 หลัก และสามารถเลือกได้มากกว่า 1 นิติบุคคล จากนั้นกดปุ่ม ‘ถัดไป’ 3. จากนั้นกดปุ่ม ‘เลือกเอกสาร’ 4. ในหน้านี้ให้เลือกหัวข้อ ‘ถ่ายเอกสาร (ไม่รับรอง)’ และเลือกประเภทเอกสาร ‘งบการเงิน/บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น’ และให้เลือกติ๊กเอกสารที่ต้องการคัดลอก เช่น แบบนำส่งงบการเงิน รายงานผู้สอบฯ และงบการเงิน จากนั้นให้กดปุ่ม ‘เพิ่มไปยังตระกร้า’ จะได้ผลลัพธ์ตามรูปภาพ และกด ‘ยืนยันการเลือกเอกสาร’ 5. ตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง โดยค่าใช้จ่ายมี 2 รายการ ได้แก่ จากนั้นกด ‘ยืนยันรายการ’ และกด ‘ถัดไป’ 6. เลือกวิธีการระบุชื่อผู้รับเงินบนใบเสร็จรับเงินตามต้องการ 7. สำหรับข้อมูลผู้ทำขอ สามารถเลือกกรอกโดยการเข้าสู่ระบบDBD (ระบบจะขึ้นข้อมูลส่วนตัวให้อัตโนมัติ) หรือเลือกแบบไม่มีบัญชี (ต้องกรอกข้อมูลเอง) ก็ได้ เมื่อกรอกแล้วให้กด ‘ถัดไป’ 8. เลือกช่องทางการจัดส่งเอกสารจะเลือกผ่านวิธีการจัดส่ง (มีค่าใช้จ่าย) หรือไปรับเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ก็ได้ กรณีเลือกการจัดส่งต้องกรอกที่อยู่เพื่อการจัดส่งเพิ่มเติม 9. กดยอมรับเงื่อนไขการชำระเงิน และกดปุ่ม ‘ยืนยัน’ 10. จากนั้นให้พิมพ์ใบนำชำระเงิน เพื่อไปชำระตาม 4 ธนาคารที่กำหนด หรือชำระผ่าน QR Code ในเอกสารดังกล่าวได้ หลังจากนั้นถือว่าขั้นตอนคัดลอกเสร็จสิ้นและรอรับเอกสาร โดยทั่วไปจะได้รับเอกสารภายใน 1 อาทิตย์ แต่เร็วที่สุดที่เคยได้รับคือภายในวันถัดไป หลังจากที่ได้รับงบการเงินแล้ว สามารถจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อได้ทันที เพราะงบการเงินจะเป็นแบบเต็มรูปแบบ ไม่ใช่แบบย่อเหมือนใน DBD Warehouse+ สรุปท้ายบทความ อยากรู้สถานะการเงินของธุรกิจ ไม่ยากเลย! แค่ใช้ระบบ DBD DataWarehouse+ ก็สามารถดูงบการเงินเบื้องต้นได้ฟรี เช่น รายได้ กำไร หนี้สิน ฯลฯ แต่ถ้าอยากเจาะลึกมากขึ้น ก็สามารถคัดงบฉบับเต็มโดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยหากคุณมีงบอยู่ในมือแล้วแต่ยังไม่แน่ใจว่าอ่านตรงไหนก่อน แนะนำอ่านบทความ “ขั้นตอนอ่านงบการเงินง่ายๆ ฉบับผู้ประกอบการมือใหม่” ต่อได้เลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

อ่านบทความเพิ่มเติม

25 Mar 2025

PEAK Account

7 min

จัดการการส่ง e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ง่ายขึ้นด้วย INET x PEAK

ในยุคที่การทำธุรกิจต้องการความรวดเร็วและความถูกต้องแม่นยำ การจัดการเอกสารทางภาษี เช่น e-Tax Invoice & e-Receipt กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระงานเอกสาร และสร้างความโปร่งใสให้กับกระบวนการทางบัญชี INET x PEAK คือตัวช่วยที่ช่วยให้การส่ง e-Tax Invoice และ e-Receipt เป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบอัตโนมัติที่ช่วยลดข้อผิดพลาด รองรับมาตรฐานของกรมสรรพากร และช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำไม e-Tax Invoice & e-Receipt ถึงสำคัญสำหรับธุรกิจ? การเปลี่ยนผ่านสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นโอกาสในการยกระดับกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ต้องออกเอกสารจำนวนมากเป็นประจำ“เอกสารที่ถูกต้อง โปร่งใส และส่งได้ทันที คือกุญแจสำคัญสู่ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ”ด้วยระบบที่เชื่อมต่อระหว่าง INET และ PEAK คุณจะสามารถจัดการเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ในคลิกเดียว พร้อมลดความผิดพลาดที่มักเกิดจากการกรอกข้อมูลซ้ำหรือผิดพลาด ข้อดีของการใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt การจัดการ e-Tax Invoice & e-Receipt ด้วยระบบที่เชื่อมต่อระหว่าง INET และ PEAK มอบข้อได้เปรียบทางธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้ สิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรที่ SME ไม่ควรพลาด กรมสรรพากรได้ออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลด้วย e-Tax Invoice & e-Receipt โดยมีสิทธิประโยชน์สำคัญที่ช่วยเพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจ เชื่อม INET x PEAK ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัล INET x PEAK คือความร่วมมือระหว่างบริษัท Internet Thailand Public Company Limited (INET) และโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์บัญชีออนไลน์ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการทำบัญชีและการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชีไทยให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น INET และ PEAK ทำงานร่วมกันอย่างไร? เริ่มต้นใช้งานใน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ทำไมต้องใช้ INET x PEAK? โปรโมชั่นพิเศษจาก INET พิเศษ! สมัคร INET วันนี้ รับฟรี e-Tax Invoice & e-Receipt จำนวน 200 ใบต่อปี เพิ่มความคุ้มค่าให้กับธุรกิจของคุณและลดต้นทุนในการจัดการเอกสาร หากคุณต้องการระบบจัดการ e-Tax Invoice & e-Receipt ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สมัครและเชื่อมต่อ INET กับ PEAK วันนี้ พร้อมรับประโยชน์สูงสุดจากมาตรการสนับสนุนของกรมสรรพากร เริ่มต้นใช้งานฟรีวันนี้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

12 Mar 2025

PEAK Account

13 min

7 ประเภทค่าใช้จ่าย ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

ความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างถูกต้องตามกำหนด ไม่เสียค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ครบ ยังอาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้นั่นเอง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ภาครัฐได้ออกนโยบายลดหย่อนภาษี มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการแข่งขันด้านธุรกิจ ให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราก็จะพาผู้ประกอบการทุกท่านไปดูกันว่า ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล คืออะไร? การลดหย่อนภาษีคือสิทธิ์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงประชาชนที่ทางรัฐบาลกำหนดว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และในบางกรณีอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันด้วยเช่นกัน ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่อง ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลทำได้หลายรูปแบบมาก มีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาลดหย่อนกับรัฐบาล ช่วยให้สามารถปรับหยัดค่าเสียภาษี หรืออาจได้เงินภาษีคืนมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อให้สามารถนำเงินไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ศึกษาอย่างละเอียด ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือใหม่ หรือเมื่อรัฐบาลมีนโยบายใหม่ ๆ ที่ออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำบางอย่างไปลดหย่อนภาษีได้ก็จะได้ตามทัน และรีบปรับตัวตามนั่นเอง  เช็กเงื่อนไขการเสียภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษี คือมีทุนจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยในกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกจะไม่ต้องเสียภาษีกำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001 – 3 ล้านบาท มีอัตราภาษี 15% และหากกำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป จะมีอัตราภาษี 20%หากธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็น SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะมีอัตราภาษี 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า สามารถศึกษาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าได้ที่ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง? เคล็ดลับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลด้วยค่าใช้จ่าย 7 ประเภท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่ายที่นำไปใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ประกอบไปด้วย 6 ประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าจัดตั้งบริษัท ทำบัญชี และการสอบบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็สามารถนำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี ไปจนถึงการสอบบัญชี ในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีติดต่อกันมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว 2. ค่าเสื่อมสภาพของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงออกนโยบายให้ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าอุปกรณ์ โดยจะทำการทยอยหักภายใน 3 รอบบัญชีนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 3. ค่าเสื่อมอาคารผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคาร หรือโรงงานสามารถนำค่าเสื่อมของอาคารมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 5% ต่อปี 4. ค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรโรงงานที่มีเครื่องจักรสามารถนำค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยคิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่า ส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 20% ต่อปี 5. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ คือค่าจ้างผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายในการสนับสนุน SMEs ในการจ้างผู้สูงอายุ เพื่อกระจายรายได้ จึงทำให้มีนโยบายนี้ออกมารองรับ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 6. เงินบริจาคเงินบริจาคเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้6.1 บริจาคให้กับ สถาบันการศึกษารัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูงผู้ประกอบการสามารถนำเงินบริจาคมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่จะไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายการบริจาค 6.2 บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย 6.3 เงินบริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้ง 4 กองทุนสามารถนำเงินบริจาคหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งนี้เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย 7. รายจ่ายในการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรบให้พนักงานในบริษัทก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ทั้งในกรณีที่ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และการฝึกอบรบให้ลูกจ้างตนเอง โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้7.1  ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม 7.2 ฝึกอบรมลูกจ้างตนเอง รู้เรื่องภาษีให้รอบด้าน อาจช่วยลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้มากกว่าที่คิด การจัดการภาษีนิติบุคคลอย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพราะสามารถช่วยลดภาระทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องมาหักลดหย่อน หรือการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ หากมีการเตรียมเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การจัดทำรายงานภาษีเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากขึ้น PEAK Tax เป็นฟังก์ชันหนึ่งในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่ช่วยให้การจัดการภาษีของธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณและสร้างแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของแบบภาษีก่อนส่ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด นอกจากนี้ PEAK Tax ยังช่วยสรุปและจัดทำรายงานภาษีได้อย่างเป็นระบบ รองรับการนำเข้าข้อมูลจากระบบขายออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และ TikTok Shop ช่วยลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และทำให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

20 Jun 2025

PEAK Account

15 min

ทำความรู้จัก! 3 คำศัพท์บัญชี จากซีรีส์สงครามส่งด่วน

ซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจด้วยการแข่งขันในวงการขนส่ง แต่ตัวละครอย่าง “สันติ” ยังสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนจำนวนปลุกไฟในการเริ่มต้นทำธุรกิจ ในวงการบัญชีการเงินตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กันอย่าง “เสี่ยวหยู” CFO สาวสวยสุดเก่งก็ให้มุมมองทางการเงินที่จำเป็นว่าการทำธุรกิจสมัยใหม่ต้องเข้าใจตัวเลขให้ลึกซึ้ง สำหรับผู้ที่อยากเข้าใจเบื้องหลังการบริหารธุรกิจในซีรีส์นี้ เรามาทำความรู้จักกับ 3 คำศัพท์ทางบัญชี ที่สำคัญ ได้แก่ ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) กระแสเงินสด (Cash Flow) และระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ผ่านบริบทที่เกิดขึ้นในซีรีส์เรื่องนี้ ศัพท์บัญชี ตัวแรก : ทุนจดทะเบียน (Registered Capital) ทุนจดทะเบียน คือ จำนวนเงินที่ผู้ถือหุ้นจะต้องนำมาลงทุนในบริษัท โดยทั่วไปจะนิยมทุนจดทะเบียนที่ 1 ล้าน – 5 ล้านบาท โดยกฎหมายไม่ได้จำกัดเพดานสูงสุด จำนวนเงินจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ต้องใช้หมุนเวียนในบริษัทของเรา   ข้อสังเกต: ทุนจดทะเบียน ≠ ทุนที่ชำระแล้ว เนื่องจากผู้ถือหุ้นสามารถชำระเงินทุนขั้นต่ำที่ 25% ได้ เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้าน ไม่ได้หมายความว่าบริษัทจะมีเงินที่ 100 ล้าน เพราะถ้าผู้ถือหุ้นชำระเงินขั้นต่ำ 25% บริษัทจะมีเงินใช้ได้เพียง 25 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้เห็นความสำคัญของการถือหุ้น จากซีรีส์เราจะเห็นว่า Easy Express มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านและมีโครงสร้างการถือหุ้น ดังนี้ แต่พอบริษัท Easy Express เพิ่มทุนจาก 100 ล้านเป็น 1,000 ล้านบาท และสันติไม่มีเงินมาลงเพิ่มทำให้สันติเสียสัดส่วนหุ้น(Dilution) จากที่ถือ 19% เหลือเพียง 1.9% ซึ่งทำให้อำนาจในการออกเสียงลดลงเสมือนไม่มีตัวตนในบริษัทแล้ว ที่เหตุการณ์เป็นแบบนี้ เพราะการเพิ่มทุนต้องขอมติจากผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 (75%) พูดง่ายๆ คือ ถ้ามีกลุ่มผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นตั้งแต่ 75% เห็นด้วยกับมติก็สามารถเพิ่มทุนได้ทันที ซึ่งในเคสนี้หุ้นของ Easy China และคณิน กรุ๊ป รวมกันก็ 81% แล้ว ทำให้สันติที่หุ้นเพียง 19% ไม่เสียงเพียงพอที่จะคัดค้าน จึงต้องยอมรับชะตากรรมนั้นไป วิธีที่ใช้ป้องกันปัญหานี้ได้ เช่น สันติต้องถือหุ้นมากกว่า 25% หรือทำสัญญาผู้ถือหุ้น (Shareholder Agreement) และระบุข้อกำหนดเพิ่มเติม อาทิ การเพิ่มทุนต้องให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อก่อน หรือการเพิ่มทุนต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นรายย่อยด้วย ศัพท์บัญชี ตัวที่สอง : กระแสเงินสด (Cash Flow) กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสดเข้า – ออกกิจการ โดยธุรกิจมีความคาดหวังที่อยากทำให้เงินสดรับมีมากกว่าเงินสดที่จ่ายออกไป (รับ > จ่าย) โดยเฉพาะในบริบทของซีรีส์ ธุรกิจขนส่งด่วนต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงและต้องบริหารจัดการต้นทุนและรายได้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโต มีตัวอย่างของการบริหารกระแสเงินสดเพื่อให้เงินสดจ่ายออกเท่าที่จำเป็นให้เราได้เห็นกัน เช่น เพื่อทำความเข้าใจการเข้า – ออกเงินของธุรกิจของตัวเอง เราสามารถอ่านงบกระแสเงินสด(Cash flow statement) ซึ่งจะแบ่งการเคลื่อนไหวของเงินเป็น 3 กิจกรรม ให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าเงินเราที่จ่ายออกไปอยู่ที่กิจกรรมไหนมากที่สุด ดังนี้ 1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Cash Flow) เงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจหลัก เช่น รับเงิน: รับเงินจากการขาย, รับชำระหนี้จากลูกค้า จ่ายเงิน: จ่ายค่าสินค้า, จ่ายเงินเดือน, จ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ 2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในธุรกิจ เช่น  รับเงิน: รับเงินปันผล, รับเงินจากการขายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ จ่ายเงิน: ซื้อเงินลงทุน, ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ 3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน (Financing Cash Flow) เงินสดที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อหมุนเวียนในธุรกิจ เช่น รับเงิน: รับเงินจากการกู้ยืม, รับเงินจากการเพิ่มทุน จ่ายเงิน: ชำระคืนเงินกู้, จ่ายเงินปันผล โดยกิจกรรมที่สำคัญมากๆ ที่ธุรกิจควรมีกระแสเงินสดรับมากกว่าจ่าย คือ กิจกรรมดำเนินงาน(Operating Cash Flow) เพราะเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ การขายหรือให้บริการต้องได้รับเงินมากว่าต้นทุนที่จ่ายออกไปนั่นเอง ในซีรีส์มีตอนที่เสี่ยวหยูพูดกับสันติว่า “80% ของบริษัทเจ๊งเพราะบริหารกระแสเงินสดไม่เป็น” ซึ่งสอดคล้องกับการอยู่รอดของธุรกิจที่ “กระแสเงินสด” โครตสำคัญกว่า “กำไร” ทำไม “กระแสเงินสด” สำคัญกว่า “กำไร” ในตลาดไทย เราเห็นกันมาหลายเคสที่บริษัทสร้างยอดขายและกำไรได้หลักร้อยล้านหรือพันล้านแต่ก็มีปัญหาในธุรกิจ เช่น ไม่มีเงินคืนเงินกู้ยืมตามกำหนดเวลา ซึ่งฟังดูก็คงแปลก ยอดขายสูงปรี๊ด กำไรมหาศาล แต่ดันไม่มีเงินคืนเจ้าหนี้ นั่นก็เพราะว่า กำไร ไม่ได้สะท้อนการมีเงินสด เช่น ดังนั้นการมี “กำไร” ที่สูง ไม่ได้บ่งบอกว่าจะมี “เงิน” ที่สูงตาม แม้ธุรกิจของเราจะยังขาดทุน แต่ถ้ายังมีกระแสเงินสดที่เพียงพอในการหมุนเวียนก็ทำให้เราขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปเพื่อให้กลับมาสร้างกำไรในอนาคตได้  คำถามสำคัญถัดไป คือ แล้วธุรกิจต้องมีเงินมากแค่ไหน เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด?? ศัพท์บัญชี ตัวที่สาม : ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) ระยะเวลาที่เงินสดจะหมด (Cash Runway) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Runway คือ เงินที่มีจะพอใช้ได้อีกกี่เดือน ในวันที่ธุรกิจมีรายรับมากกว่ารายจ่าย หรือไม่มีรายรับเข้ามาเลย ธุรกิจต้องรู้ให้ได้ว่าเงินที่มีตอนนี้จะใช้จ่ายเงินเดือนพนักงาน ไปซื้อสินค้าได้อีกกี่เดือน ถ้าในระหว่างนี้เราไม่สามารถหาเงินเข้ามาในบริษัทได้ เตรียมเจ๊งทันที! ตัวอย่างจากซีรีส์ ในช่วงที่ Easy Express ให้บริการขั้นส่งที่ 25 บาท/ชิ้น จะมีเงินเหลือเพียงพอจ่ายค่าใช้จ่าย 12 เดือน แต่เมื่อมีการปรับกลยุทธ์เพื่อตัดราคาคู่แข่งโดยลดค่าบริการที่ 19 บาท/ชิ้น ทำให้กระแสเงินสดที่จะเข้ามาในบริษัทลดลง ส่งผลมีเงินจ่ายค่าใช้จ่ายจาก 12 เดือน ลดลงเหลือเพียง 4 เดือน  สิ่งที่สันติต้องภาวนาให้เกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ การลดราคาจะทำให้จำนวนมากลูกค้าหันมาใช้บริการของ Easy Express ส่งผลให้กระแสเงินสดรับพุ่งเข้ามาอย่างมหาศาลและทำให้มีเงินเพียงทำธุรกิจได้อีกหลายปี แต่ถ้าการลดราคาไม่ได้ส่งผลให้คนมาใช้บริการมากพอ สันติต้องออกไปหาเงินทุนหรือเงินกู้มาให้ได้เท่านั้น วิธีการคำนวณ Cash Runway Cash Runway = เงินที่มีอยู่ / ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ตัวอย่างเช่น กิจการมีเงินคงเหลืออยู่ 10 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท แสดงว่าจะมีเงินใช้เพียงพออีก 10 เดือน(10ล้าน/1ล้าน)  แต่ความในเป็นจริงธุรกิจอาจมีรายได้เข้ามาบ้าง เพื่อให้การคำนวณแม่นยำมากขึ้นเราอาจใช้ “เงินสดจ่ายสุทธิ” มาเป็นตัวหารแทน โดยนำยอดรายจ่ายหักรายรับ เช่น รายจ่ายต่อเดือน 1 ล้านบาท มีรายรับต่อเดือน 5 แสนบาท จะมีเงินสดจ่ายสุทธิที่ 5 แสน ถ้าคำนวณ Cash runway ใหม่จะมีเงินเพียงพออีก 20 เดือน ดังนั้นการติดตาม Cash runway อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจได้ทราบสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะหาทางรับมือกับเงินสดที่จะหมดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง จากซีรีส์จะเห็นว่าผู้บริหารไม่รับเงินเดือน ลดเงินเดือนพนักงาน สวัสดิการและโอทีต่างๆ เพื่อยืด runway ให้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อทำทุกอย่างแล้วเงินยังไม่พอ ต้องรีบหาคนที่จะให้เรากู้ยืมเงินหรือมาลงทุนกับเราเพิ่ม จะเห็นได้จากการที่เสี่ยวหยูต้องสละขายหุ้นของตัวเองและนำมาให้บริษัทกู้เพื่อหยุงธุรกิจให้ไปต่อได้ สรุปท้ายบทความ 3 คำศัพท์นี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นฐานทางบัญชีและการเงินที่สำคัญ แต่ยังสะท้อนความท้าทายและกลยุทธ์ในการบริหารธุรกิจจริงๆ ที่ปรากฏในซีรีส์ “สงคราม ส่งด่วน” ซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมของการจัดการธุรกิจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยคุณเข้าใจศัพท์เหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้จริง เพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤต และทั้งหมดนี้คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตในตลาดที่มีการแข่งขันสูง เหมือนกับ “สงคราม ส่งด่วน” ที่เราได้ชมกัน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

18 Jun 2025

PEAK Account

29 min

กำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้ถูกใจพนักงาน? พร้อมข้อควรรู้ที่ห้ามพลาด!

พนักงานขายเป็นตำแหน่งหัวใจสำคัญของหลายองค์กร เพราะเป็นตำแหน่งที่หารายได้เข้าบริษัทชัดเจน หากพนักงานขายมีแรงจูงใจที่ดีอย่าง ค่าคอมมิชชั่น ส่วนใหญ่ก็จะส่งผลที่ดีต่อองค์กรได้โดยตรง แต่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยกันบ้างว่า ต้องคิดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้น่าสนใจ หรือมีวิธีคิดอย่างไรบ้าง รวมไปถึงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องรู้เพื่อให้การจัดการเงินในแต่ละเดือนเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งทั้งหมดเราก็รวบรวมไว้ให้ในบทความนี้แล้ว ผู้ประกอบการสามารถศึกษากฎหมายแรงงานเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน โดยการคิดค่าคอมมิชชั่นจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เรามาติดตามกันได้เลย ค่าคอมมิชชั่น คืออะไร? ค่าคอมมิชชั่น (Commission) คือหนึ่งในประเภทค่าตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากบริษัทเมื่อทำยอดขายได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่คำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายตามที่แต่ละบริษัทกำหนด และมักจะมีการคำนวณปัจจัยอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งของพนักงาน สินค้าที่ขาย ไปจนถึงโปรโมชั่นพิเศษ โดยปกติตำแหน่งพนักงานขายในทุกองค์กรจะมีค่าคอมมิชชั่นเป็นค่าตอบแทน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานขายได้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่ขายเป็นได้ทั้งสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับช่องทางหลักในการสร้างรายได้ขององค์กรนั้น ๆ ค่าคอมมิชชั่นมีกี่ประเภท พร้อมตัวอย่างการคำนวณ  ค่าคอมมิชชั่นก็ไม่ได้มีเพียงการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีประเภทอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ในการคิดค่าคอมมิชชั่นตอบแทนพนักงานได้ โดยแต่ละวิธีก็มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป สามารถเลือกได้จากแนวทางการดำเนินธุรกิจ หรือกลยุทธ์ขององค์กรที่จะใช้ในการเพิ่มยอดขายให้เติบโต ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นถึง 11 ประเภท แต่ละรูปแบบจะเป็นอย่างไรบ้างเรามาดูกัน 1. ค่าคอมมิชชั่น แบบขั้นบันได สำหรับค่าคอมมิชชั่นประเภทแรกเป็นในรูปแบบขั้นบันได เป็นรูปแบบที่เรามักเห็นกันในองค์กรที่มีการแข่งขันสูงภายในองค์กร เพราะค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้พนักงานจะได้ค่าคอมมิชชั่นสูงขึ้นตามจำนวนของยอดขายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่กระตุ้นพนักงานขายได้เป็นอย่างดี เพราะว่าจะได้เงินมาหรือน้อยขึ้นอยู่กับความขยันของตัวพนักงานนั่นเอง  ตัวอย่างเช่น บริษัทกำหนดค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดไว้ 3 ระดับดังนี้– รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 100,000 – 300,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 15% เมื่อทำยอดขายได้ถึง 300,001 – 500,000 บาท – รับอัตราคอมมิชชั่น 25% เมื่อทำยอดขายได้ 500,001 – 1,000,000 บาท หมายความว่าหากพนักงานทำยอดได้อยู่ในช่วงไหน ให้นำเปอร์เซ็นต์ในช่วงนั้นเข้ามาคำนวณ เช่น  พนักงาน A ทำยอดขายได้ 650,000 บาท ต้องคิดคอมมิชชั่น 25% 650,000 x 25% = 162,500 บาท พนักงาน A ก็จะได้รับค่าคอมทั้งหมด 162,500 บาทนั่นเอง ด้วยตัวเลขคอมมิชชั่นที่สูงขึ้นตามผลงานของพนักงาน จึงช่วยกระตุ้นพนักงานได้ดี แต่ด้วยรูปแบบที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง ทำให้พนักงานบางคนที่ได้น้อยต่อเนื่องอาจถอดใจได้ ด้วยเหตุนี้หากองค์กรต้องการใช้รูปแบบนี้แนะนำให้หาแนวทางในการช่วยเหลือพนักงานที่อาจทำผลงานไม่ดีมากนัก เช่น จัดคอร์สพัฒนาด้านการขาย หรือมีการพูดคุยเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและร่วมกันหาทางออกเพื่อเพิ่มผลงานให้พนักงาน 2. ค่าคอมมิชชั่น จากกำไร ถัดมาเป็นค่าคอมมิชชั่นจากกำไร ซึ่งเป็นประเภทของค่าคอมมิชชั่นที่เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการขายสินค้าหลายรูปแบบ หรือขายสินค้าแบบทำตามคำสั่งจากลูกค้า เพราะระบบคอมมิชชั่นแบบนี้จะคำนวณจากกำไรในออร์เดอร์นั้น ๆ ไม่ได้คำนวณจากยอดขายพนักงานตรง หมายความว่า หากพนักงานเลือกขายสินค้าที่มีกำไรต่อคำสั่งซื้อสูงก็จะได้รับคอมมิชชั่นเป็นเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดโดยองค์กร ซึ่งรูปแบบคอมมิชชั่นนี้จะช่วยกระตุ้นให้พนักงานเลือกขายสินค้าหรือบริการที่มีกำไรสูง ส่งผลดีต่อบริษัท  ตัวอย่างเช่น : สินค้า A ราคา 500 บาท ต้นทุน 400 บาท ซึ่งมีกำไรต่อชิ้น 100 บาท 100 x 10% = 10 บาท หมายความว่าหากพนักงานขายสินค้า A ก็จะได้รับค่าคอมมชั่น 10 บาทนั่นเอง โดยรูปแบบการคำนวณ อัตราที่ใช้คำนวณขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทที่กำหนด 3. ค่าคอมมิชชั่น จากสินค้า เป็นระบบคอมมิชชั่นที่ได้รับความนิยมและเข้าใจง่ายมากที่สุด เพราะเป็นการตั้งจากสินค้าโดยตรง เช่น รองเท้าวิ่ง B หากขายได้จะมีค่าคอมมิชชั่น 10% นับเป็นอีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นการขายได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้การตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากสินค้าต้องมีการวางแผนพอสมควร เพราะหากตั้งเท่ากันหมด บริษัทอาจเสียมากกว่าได้ เพราะกำไรของสินค้าแต่ละชิ้นไม่เท่ากัน เบื้องต้นอาจเริ่มต้นตั้งอัตราคำนวณคอมมิชชั่นจากประเภทของสินค้า เช่น หากเป็นสินค้าเก่าค้างสต๊อก 5 ปี อาจตั้งไว้ 10% แต่ถ้าเป็นสินค้าใหม่ที่กำลังเป็นที่ต้องการ อาจตั้งไว้ 5% ได้เช่นกัน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานอยากขายสินค้าที่ค้างสต๊อกได้ด้วย นับว่าเป็นข้อดีเพราะองค์กรสามารถปรับให้เข้ากับกลยุทธ์ในแต่ละช่วงได้ การคำนวณค่อนข้างตรงตัวสามารถนำราคาสินค้าคำนวณกับอัตราคอมมิชชั่นที่บริษัทกำหนด ตัวอย่างเช่น : โทรทัศน์ A ราคา 35,000 บาท ตั้งค่าคอมมิชชั่นไว้ที่ 10% 35,000 x 10% = 3,500 บาท หากพนักงานขายโทรทัศน์ A ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นไป 3,500 บาทนั่นเอง 4. ค่าคอมมิชชั่น ตามพื้นที่ อีกหนึ่งกลยุทธ์คอมมิชชั่นที่น่าสนใจเพราะการคำนวณคอมมิชชั่นจะแบ่งตามแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการขายในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มีการแบ่งพนักงานขายตามแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการจัดระบบคอมมิชชั่นรูปแบบนี้พนักงานจะสามารถโฟกัสกับพื้นที่ของตัวเองได้ดี มีการแบ่งชัดเจน ไม่มีการแย่งลูกค้ากันเองภายในองค์กร อีกทั้งองค์กรยังสามารถปรับกลยุทธ์เพิ่มคอมมิชชั่นตามพื้นที่ที่ต้องการรุกตลาดให้มากขึ้นได้อีกด้วย โดยวิธีการคิดคอมมิชชั่นจากเดิมที่ส่วนมากคิดว่ายอดขาย หรือกำไร จะเพิ่มเงื่อนไขโดยแบ่งเป็นตามเขต หรือพื้นที่ เช่น โซนภาคเหนือ 5% โซนภาคใต้ 10%  ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A ดูแลโซนภาคเหนือทั้งหมด 15 จังหวัดอัตราคอมมิชชั่น 10% และมียอดขายเกิดขึ้นในภาคเหนือทั้งหมด 500,000 บาท 500,000 x 10% = 50,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน A ผู้ดูแลโซนภาคเหนือจะได้รับค่าคอมมิชชั่นทั้งหมด 500,000 บาท ซึ่งหากพนักงาน A อยากได้ค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมก็ต้องเร่งหายอดขาย ไม่ว่าจะลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเก่าในโซนภาคเหนือให้มากขึ้นนั่นเอง 5. ค่าคอมมิชชั่น ต่อเนื่อง เพราะหลายองค์กรเชื่อว่าการรักษาลูกค้าเดิมให้ซื้อต่อเรื่อย ๆ ย่อมดีกว่าการออกไปหาลูกค้าใหม่เสมอ ทำให้ระบบคอมมิชชั่นต่อเนื่องกำเนิดขึ้น โดยเป็นคอมมิชชั่นที่พนักงานจะได้รับก็ต่อเมื่อลูกค้าเดิมซื้อสินค้าหรือบริการอีกครั้ง โดยคิดยอดขายตามรอบ และทางบริษัทจะเป็นผู้กำหนดอัตราคอมมิชชั่นและนำไปคำนวณตามยอดแต่ละรอบบิล เป็นระบบที่เหมาะกับองค์กรที่ขายบริการที่ค่อนข้างเฉพาะในอุตสาหกรรม โอกาสหาลูกค้าใหม่ยาก จึงจำเป็นต้องรักษาสัมพันธ์กับลูกค้ากลุ่มเดิมไว้อย่างต่อเนื่อง หรือเป็นองค์กรที่เก็บเงินลูกค้าเป็นรอบทุกเดือน และด้วยรูปแบบค่าคอมมิชชั่นประเภทนี้ จะเป็นการกระตุ้นพนักงานขายให้ดูแลลูกค้าในระยะยาวมากกว่า ตัวอย่างเช่น : บริษัท A ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ต้องจ่ายค่าดูแลเป็นรายเดือนทุกเดือน ด้วยความที่ต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ จึงตั้งอัตราคอมมิชชั่น 10% สำหรับยอดขายที่ลูกค้าจ่ายเพื่อต่ออายุใช้บริการในแต่ละเดือน โดยพนักงาน B มีลูกค้าเป็นองค์กร C ที่ต่อสัญญากันทุกเดือนเป็นลูกค้าเก่า โดยค่าต่อสัญญาในแต่ละเดือนอยู่ที่ 50,000 บาท 50,000 x 10% = 5,000 บาท เท่ากับว่าพนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่น 5,000 บาททุกเดือนหากองค์กร C ยังคงใช้บริการซอฟต์แวร์ของบริษัท A อยู่ ทำให้นอกจากที่พนักงาน B จะหาลูกค้าใหม่แล้ว ยังคงกลับไปพูดคุยรักษาความสัมพันธ์กับองค์กร C อย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาลูกค้าไว้นั่นเอง 6. ค่าคอมมิชชั่น ตามผลงาน ในองค์กรที่มี KPI อื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากยอดขายเพียงอย่างเดียว การกำหนดคอมมิชชั่นตามผลงาน ก็เป็นอีกหนึ่งระบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งจะเป็นการที่องค์กรตั้งเป้าหมายขึ้นมา หากพนักงานทำได้ถึงเป้าหมายที่กำหนดก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นในส่วนนี้ โดยอาจเป็นส่วนเพิ่มเติมจากคอมมิชชั่นเดิมที่มีอยู่เพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้พนักงานบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้  ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ใช้ระบบคอมมิชชั่นจากสินค้าอยู่แล้วที่ 5% แต่ต้องการกระตุ้นในเรื่องการซื้อซ้ำ จึงตั้งคอมมิชชั่นตามผลงานเพิ่มเติม หากพนักงานสามารถให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้มากกว่า 5 ครั้ง จะเพิ่มค่าคอมมิชชั่นในยอดขายหลังจากครบกำหนดเป็น 10% หมายความว่าหากพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 บาท จากเดิมที่ได้รับอัตราคอมมิชชั่น 5% เมื่อพนักงาน A ขายกระเป๋ามูลค่า 20,000 ใบที่ 5 ให้ลูกค้าท่านเดิมได้ ก็จะได้เพิ่มอัตราคอมมิชชั่นเป็น 10% นั่นเอง อัตราคอมมิชชั่นแรก2,000 x 5% = 1,000 บาทอัตราคอมมิชชั่นเมื่อขายใบที่ 5 ได้20,000 x 10% = 2,000 บาท ดังนั้นเมื่อพนักงาน A รักษาความสัมพันธ์และขายกระเป๋าใบที่ 5 ได้สำเร็จก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นจาก 1,000 บาท เป็น 2,000 บาท ช่วยกระตุ้นเรื่องการรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า เพิ่มโอกาสการซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดีตามเป้าหมาย โดยข้อดีของกลยุทธ์นี้ช่วยให้องค์กรสามารถปรับแผนตามเป้าหมายเพิ่มเติมนอกจากยอดขายได้ 7. ค่าคอมมิชชั่น จากส่วนต่างกำไร สำหรับข้อที่ 7 หรือค่าคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร จะค่อนข้างคล้ายกับในส่วนของคอมมิชชั่นจากกำไร แต่เปลี่ยนจากการคิดกำไรโดยตรงเป็นการคำนวณจาก Gross Margin หรือส่วนต่างกำไรนั่นเอง ซึ่งข้อดีจะคล้ายกันกับรูปแบบกำไรธรรมดา ต่างกันที่วิธีคำนวณ ซึ่งองค์กรที่เหมาะส่วนใหญ่จะมีสินค้าหลากหลายประเภทและมี Margin ต่อชิ้นที่แตกต่างกัน ซึ่งการตั้งระบบรูปแบบนี้ยังช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรสูงได้อีกด้วย เพราะพนักงานขายก็จะมุ่งเน้นขายสินค้าที่มีส่วนต่างเยอะเป็นพิเศษนั่นเอง ตัวอย่างเช่น : รองเท้า A มีส่วนต่างกำไร 5,000 บาท มีการตั้งอัตราคอมมิชชั่นจากส่วนต่างกำไร 10% หากพนักงาน B ขายสินค้าได้จะได้กำไรดังนี้5,000 x 10% = 500 บาท พนักงาน B จะได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการขายรองเท้า A ทั้งสิ้น 500 บาท ซึ่งหากมีสินค้าที่มีส่วนต่างกำไรมากกว่านี้พนักงานก็จะโฟกัสไปที่การขายสินค้าชิ้นนั้นเป็นพิเศษ  8. ค่าคอมมิชชั่น และเงินเดือน  เป็นรูปแบบคอมมิชชั่นที่เรามักพบในองค์กรที่ใช้เวลาในการขายสินค้าแต่ละชิ้นค่อนข้างนาน เช่น องค์กรที่มีการดำเนินธุรกิจแบบ B2B เพราะกว่าที่จะขายสินค้าหรือบริการได้นั้นพนักงานขายต้องใช้เวลาในการแนะนำ โน้มน้าวนานเป็นพิเศษ ระบบคอมมิชชั่นและเงินเดือนจึงเป็นรูปแบบที่พนักงานได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว แต่จะได้รับอัตราคอมมิชชั่นเพิ่มตามยอดขายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือนด้วย ซึ่งส่วนมากฐานเงินเดือนจะไม่ค่อยสูงมาก เพื่อกระตุ้นให้พนักงานรีบขายสินค้าเพื่อมาเพิ่มรายได้ของตัวเองในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่จะมีเงินเดือนให้พนักงานขายและสมทบเพิ่มเป็นคอมมิชชั่นในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มเติมตามแต่ละกลยุทธ์ทางการตลาดขององค์กร ตัวอย่างเช่น : พนักงาน A มีเงินเดือน 25,000 บาท มีอัตราอัตราคอมมิชชั่น 5% จากยอดขาย ในเดือนนี้พนักงาน A มียอดขายตลอดทั้งเดือน 320,000 บาท จะได้รับเงินทั้งหมด[320,000 x 5%] + 25,000 = 41,000 บาท พนักงาน A จะได้รับเงิน 41,000 บาท ซึ่งในแต่ละเดือนส่วนใหญ่จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความขยันของพนักงาน 9. คอมมิชชั่นพิเศษ สำหรับสินค้าโปรโมชัน ระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะพบส่วนมากในองค์กรที่ต้องการเคลียร์สต๊อกสินค้าและมักจะออกโปรโมชั่นออกมา และเพื่อกระตุ้นการขายให้มากขึ้นก็จะมีการจัดคอมมิชชั่นพิเศษสำหรับโปรโมชั่นดังกล่าวโดยเฉพาะ เพื่อโน้มน้าวให้พนักงานเร่งขายมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น : องค์กร A ต้องการเคลียร์สต๊อกของสินค้า B จึงจัดโปรโมชั่นขายในราคา 500 บาทขึ้นมา และหากพนักงานขายสินค้าดังกล่าวได้จะได้รับอัตราคอมมิชชั่น 10 %500 x 10% = 50 บาท หากพนักงานขายสินค้าในโปรโมชั่นนี้ได้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติมอีก 50 บาทนั่นเอง นับเป็นวิธีที่ช่วยเคลียร์สต๊อก หรือช่วยเร่งยอดขายสินค้าชิ้นดังกล่าวได้ดีมาก ๆ เพราะนอกจากมีโปรโมชั่นเข้ามาช่วยส่งเสริมการขายแล้ว พนักงานขายยังต้องการที่จะขายสินค้าชิ้นนั้นเพราะได้ค่าคอมอีกด้วย 10. ค่าคอมมิชชั่น ตามระยะเวลาการทำงาน หลายองค์กรมักจะมีการใช้ระบบคอมมิชชั่นตามระยะเวลาการทำงานเข้ามาใช้ด้วยเพื่อที่จะดึงดูดให้พนักงานที่มีประสบการณ์อยู่กับองค์กรให้นานยิ่งขึ้น เพราะยิ่งอายุงานอัตราคอมมิชชั่นที่พวกเขาจะได้รับก็สูงตาม องค์กรอาจคิดจากการเพิ่ม 5% เมื่อทำงานครบทุก ๆ 3 ปี ส่วนวิธีการคิดคอมมิชชั่นอาจคิดจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กร ตัวอย่างเช่น : องค์กร A เริ่มต้นอัตราคอมมิชชั่นที่ 5% และจะเพิ่มให้อีก 5% เมื่อทำงานครบ 5 ปี นั่นหมายความว่าหากพนักงานมียอดขาย 50,000 บาทจะได้รับค่าคอมมิชชั่นดังนี้ พนักงานอายุงาน 1 – 4 ปี50,000 x 5% = 2,500 บาทพนักงานอายุงาน 5 ปีขึ้นไป50,000 x 10% = 5,000 บาท จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้เลยว่าพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 5 ปีได้รับค่าคอมมิชชั่นมากกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว ซึ่งเป็นวิธีการโน้มน้าวพนักงานฝีมือดีให้อยู่กับองค์กรของเราได้นานยิ่งขึ้น 11. ค่าคอมมิชชั่นล้วน สำหรับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้อาจฟังดูโหดสำหรับพนักงานพอสมควรเพราะเงินเดือนทั้งหมดจะมาจากค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะมีอัตราคอมมิชชั่นที่สูง ส่วนวิธีการคิดค่าคอมมิชชั่นก็ขึ้นอยู่กับองค์กรเพราะบางที่อาจคำนวณจากราคาสินค้าหรือกำไรก็ได้เช่นกัน แต่สุดท้ายข้อดีของคอมมิชชั่นประเภทนี้คือพนักงานจะต้องทุ่มเทขยันอย่างแท้จริง เพราะรายรับทั้งหมดขึ้นอยู่กับการขายเท่านั้น ส่วนองค์กรที่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นประเภทนี้จะต้องเป็นองค์กรที่มีราคาสินค้าหรือค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่สูง และส่วนมากมักจะเป็นธุรกิจประเภท B2B เคล็ดลับกำหนดค่าคอมมิชชั่นอย่างไรให้พนักงานขยัน! การกำหนดระบบคอมมิชชั่นไม่ได้มีสูตรตายตัว แต่ข้อคำนึงสำคัญที่สุดคือควรที่จะกำหนดให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร โดยเป้าหมายต้องกำหนดชัดเจน และพร้อมที่จะพาพนักงานทุกคนมุ่งไปในจุดหมายเดียวกัน นอกเหนือจากการคิดค่าคอมมิชชั่นให้ตรงกับเป้าหมายแล้วยังมีเคล็ดลับอื่น ๆ ที่อาจช่วยให้คุณกำหนดได้ถูกใจพนักงานมากยิ่งขึ้น! 1. ทำความเข้าใจธุรกิจของตนเองกับระบบคอมมิชชั่นแต่ละประเภท สำคัญไม่แพ้กับการกำหนดให้ตรงกับเป้าหมาย เพราะถ้ารูปแบบการทำธุรกิจไม่เหมาะกับระบบคอมมิชชั่นก็อาจทำให้พนักงานถอดใจและไม่มีมีแรงใจที่จะขายสินค้าของเราต่อได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าสินค้าที่ขายราคา 50 บาท แต่กำหนดเป้าหมายคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได 500,000 บาท การที่พนักงานจะไปถึงจุดนั้นได้ต้องใช้เวลาพอสมควร และดูเป็นเป้าหมายที่เกินเอื้อมจนเกินไป 2. ชัดเจนและเข้าใจง่าย เมื่อเป็นเรื่องเงินเรื่องทองรายละเอียดต่าง ๆ ต้องชัดเจน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความสับสนหรือมีช่องโหว่จนเกิดการเอาเปรียบกันได้ เพราะฉะนั้นองค์กรควรที่จะเขียนชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อความเข้าใจตรงกัน และต้องดำเนินการตามข้อกำหนดนั้นอย่างถูกต้อง ที่สำคัญควรจะเข้าใจง่าย พนักงานขายเห็นเป้าหมายชัดเจน ไม่ได้มีการใช้ระบบซับซ้อนหลายระบบพร้อมกัน เพราะอาจทำให้เป้าหมายของพวกเขาดูคลุมเครือและท้อแท้กันก่อนได้ เช่น กำหนดค่าคอมมิชชั่นจากกำไร แต่ไม่แจ้งพนักงานขายว่าสินค้าแต่ละชิ้นมีกำไรเท่าไหร่บ้าง ทำให้พนักงานไม่รู้สึกถึงเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะไม่รู้ตัวเลขที่แน่ชัดว่าขายสินค้าชิ้นนี้ไปแล้วจะได้ค่าคอมมิชชั่นกลับมาเท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้จึงควรระบุรายละเอียดทุกอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น 3. รับฟังและพูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ตำแหน่งพนักงานขายมีแรงกดดันค่อนข้างสูง หากองค์กรของเรายังไม่ได้มีพนักงานที่เยอะมากนัก การที่พูดคุยกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับระบบการขายหรือคอมมิชชั่น เพื่อให้สามารถออกแบบระบบที่พึงพอใจทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง พนักงานเห็นเป้าหมายเดียวกัน และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร วิธีนี้นอกจากจะช่วยในการวางแผนคอมมิชชั่นได้อย่างถูกจุด ยังช่วยให้เราทราบถึงปัญหา จุดแข็งของพนักงานขายแต่ละคน นำไปสู่วลี “Put the right man on the right job” ที่พิสูจน์มาหลายครั้งแล้วว่าช่วยเพิ่มศักยภาพของพนักงานแต่ละคนได้อย่างแท้จริง ค่าคอมมิชชั่นนับเป็นเงินค่าจ้างที่ต้องคำนวณในเงินสมทบประกันสังคมหรือไม่? เกร็ดเล็ก ๆ อีกหนึ่งข้อเกี่ยวกับด้านกฎหมายค่าคอมมิชชั่น ที่ผู้ประกอบการหลายท่านอาจสงสัยว่าค่าคอมนั้นนับเป็นค่าจ้างหรือไม่ แล้วจำเป็นต้องนำเงินรายได้ส่วนนี้มาใช้ในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมหรือไหม ซึ่งคำตอบก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของค่าคอมมิชชั่นนั้น ๆ โดยมีทั้งหมด 2 ประเภท โดยคอมมิชชั่นในรูปแบบที่เป็นการสร้างแรงจูงใจในการขายนั้นจะเป็นไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง ดังนั้นจึงไม่ต้องนำไปคำนวณในเงินสมทบประกันสังคม แต่หากเป็นคอมมิชชั่นที่ให้เพื่อตอบแทนการทำงานก็จำเป็นต้องนำไปคิดรวมในเงินสมทบประกันสังคม คิดค่าคอมมิชชั่นให้ถูกต้องแม่นยำด้วยโปรแกรม Payroll ในองค์กรที่มีพนักงานขายเยอะ การคิดค่าคอมมิชชั่นอาจเป็นเรื่องปวดหัวในบางครั้ง เราขอแนะนำให้ลองใช้โปรแกรม Payroll เป็นตัวช่วยในการคำนวณ เพื่อลดโอกาสผิดพลาดลง ซึ่ง PEAK ก็มีโปรแกรม PEAK Payroll ที่พร้อมให้การบริหารเงินเดือนพนักงานกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วยฟีเจอร์ที่ออกแบบมาอย่างครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในทุกขนาดองค์กร อีกทั้งยังมีคู่มือครบเข้าใจง่ายแน่นอน! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

การใช้โปรแกรม

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน PEAK

อ่านบทความเพิ่มเติม

18 Jun 2025

PEAK Account

7 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 18/06/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ———————————————- ✨ 1. เริ่มต้นใช้งานโปรแกรมได้ง่ายกว่าเดิมด้วย PEAK Guide เข้าใจโปรแกรมในไม่กี่คลิก 📢สำหรับผู้ใช้งานใหม่ ระบบรวม PEAK Mission เข้ากับ “PEAK Guide” ไว้ในที่เดียว พร้อมปุ่มเปิดใช้งานจากหน้าแรกของระบบและจากเมนู “สมุดคู่มือการใช้งาน”  ระบบจะเริ่มนับภารกิจเมื่อกดเข้าใช้งาน PEAK Guide และทำ Action ต่างๆ ตามที่แนะนำ ช่วยให้เรียนรู้การใช้งาน PEAK ได้สะดวกและเป็นระบบมากขึ้น สำหรับผู้ใช้งานเดิมที่ทำ Mission ครบแล้ว ระบบจะแสดงสถานะว่า “เสร็จแล้ว” โดยอัตโนมัติ  ตัวอย่าง PEAK Guide ✨ 2. เพิ่ม AI ช่วยวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนของกิจการ เหมือนมี CFO ส่วนตัว 📢สำหรับเจ้าของกิจการที่อยากเข้าใจงบกำไรขาดทุนของตัวเองแบบง่ายและเร็ว ระบบเพิ่ม AI เข้าไปในงบกำไรขาดทุนให้ถามข้อมูลได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย กำไร หรือค่าใช้จ่าย โดย AI จะตอบตามข้อมูลของกิจการในช่วงเวลาที่เลือก ตัวอย่างคำถามที่ AI ช่วยเหลือได้ เช่น  ทั้งนี้ระบบยังไม่เก็บประวัติการสนทนา หากต้องการใช้งานตามช่วงเวลาใหม่ สามารถกดสร้างแช็ตใหม่ได้ทันที ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถวิเคราะห์ธุรกิจได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ✨ 3. รองรับการสร้างไฟล์โอนเงินหลายรายการผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ช่วยให้โอนเงินสะดวก แม่นยำยิ่งขึ้น และลดข้อผิดพลาดจากการกรอกข้อมูล 📢สำหรับกิจการแพ็กเกจ Premium ที่ใช้ระบบโอนเงินผ่านธนาคารกรุงศรี ฯ (BAY) ระบบเพิ่มการรองรับสร้างไฟล์โอนเงิน Krungsri CashLink ผู้ใช้งานสามารถเลือกเอกสารค่าใช้จ่าย บันทึกซื้อสินค้าหรือใบรวมจ่ายที่อยู่ในสถานะ “รอชำระ” เพื่อโอนเงินหลายรายการได้อย่างสะดวก เพิ่มความแม่นยำและลดข้อผิดพลาดในการทำข้อมูล ✨ 4. ระบุกลุ่มจัดประเภทในการบันทึกสินทรัพย์ (PEAK Asset) ช่วยให้รายงานและบัญชีสินทรัพย์ละเอียดยิ่งขึ้น  📢สำหรับผู้ใช้งาน PEAK Asset ระบบเพิ่มการรองรับระบุกลุ่มจัดประเภทให้กับสินทรัพย์แต่ละรายการได้แล้ว เมื่อสิ้นเดือนระบบจะทำการคิดค่าเสื่อมราคาและบันทึกค่าเสื่อมราคาให้อัตโนมัติ โดยในสมุดรายวันที่บันทึกค่าเสื่อมราคา ระบบจะอ้างอิงกลุ่มจัดประเภทที่ติดไว้ในสินทรัพย์นั้นๆให้อัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแบ่งค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา ตามแต่ละแผนก หรือตามแต่ละโปรเจคได้สะดวกมากขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถติดกลุ่มจัดประเภทในสินทรัพย์ได้ ดังนี้ ✨5. ปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE@PEAKConnect ระบบจะพาเข้าสู่แอปพลิเคชัน PEAK ให้อัตโนมัติ ช่วยให้สร้างเอกสารได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น 📢สำหรับผู้ใช้งานที่สร้างเอกสารผ่าน LINE@PEAKConnect เมื่อกดปุ่ม “สร้างเอกสาร” ใน LINE  ระบบจะปรับให้ผู้ใช้งานไปสร้างเอกสารในแอปพลิเคชัน PEAK อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ลูกค้าใช้งาน PEAK ผ่านมือถือได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น

18 Jun 2025

PEAK Account

3 min

Update Function PEAK 18/06/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ———————————————- ✨ 1. Start using the program more easily with PEAK Guide — understand the system in just a few clicks. 📢 For new users, the system combines PEAK Mission into “PEAK Guide” in one place, with a launch button on the homepage and in the “User Manual” menu. The system will start counting missions once the user accesses PEAK Guide and follows the recommended actions, making learning to use PEAK easier and more organized. For existing users who have completed all missions, the system will automatically show the status as “Completed.” Example of PEAK Guide ✨ 2. Add AI to analyze your Profit and Loss Statement — like having a personal CFO. 📢 For business owners who want to understand their Profit and Loss Statement easily and quickly, the system adds AI to the Profit and Loss page, allowing users to ask questions immediately—about revenue, profit, or expenses. The AI will respond based on the selected time period. Examples of questions AI can help with: The system does not save chat history. To use AI for a different time range, users can simply start a new chat. This helps business owners analyze their business easily and conveniently. ✨ 3. Support for creating bulk bank transfer files via Krungsri Bank (BAY), for easier, more accurate transfers and fewer data entry errors. 📢 For Premium package users using Krungsri Bank transfers, the system now supports creating Krungsri CashLink transfer files. Users can select expense documents, asset purchase entries, or consolidated payment notes in “Pending Payment” status to transfer multiple payments easily, improving accuracy and reducing input errors. ✨ 4. Specify classification groups in asset entries (PEAK Asset) for more detailed reports and asset accounting. 📢 For PEAK Asset users, the system now allows assigning classification groups to each asset. At month-end, the system will automatically calculate and post depreciation, with journal entries referencing the classification group attached to each asset. This helps users allocate depreciation expenses by department or project more conveniently. Users can assign classification groups to assets from the following: ✨ 5. “Create Document” button in LINE@PEAKConnect will now redirect to the PEAK application automatically, for easier and faster document creation. 📢 For users creating documents via LINE@PEAKConnect, when clicking the “Create Document” button in LINE, the system will now redirect to the PEAK mobile application automatically. This makes it easier and more convenient for customers to use PEAK on mobile devices.

อ่านบทความเพิ่มเติม

ข่าวสาร

อัปเดตข่าวประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น และเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

24 May 2025

PEAK Account

9 min

อบรมบัญชีสำหรับนักศึกษา ปูพื้นฐานสู่นักบัญชีมืออาชีพด้วย PEAK

การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเข้าสู่สายงานบัญชีในโลกยุคดิจิทัลไม่ใช่แค่การเรียนในห้องเรียน แต่ต้องเสริมด้วยประสบการณ์และเครื่องมือที่ตอบโจทย์โลกธุรกิจจริง โครงการ “อบรมบัญชีสำหรับนักศึกษา PEAK Advisor Basic Level” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-21 กุมภาพันธ์ 2568 คือก้าวสำคัญในการพัฒนาทักษะบัญชีเชิงปฏิบัติให้กับนักศึกษาทั่วประเทศ ทำไมการอบรมบัญชี สำหรับนักศึกษาจึงสำคัญ? ในยุคที่ระบบบัญชีเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกออนไลน์ ความสามารถในการใช้ซอฟต์แวร์บัญชีหรือโปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงกลายเป็น “ทักษะพื้นฐาน” ที่สำคัญสำหรับนักบัญชียุคใหม่ การเรียนรู้ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจการจัดการเอกสารทางบัญชีจริง ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลการเงินด้วยระบบที่ใช้ในภาคธุรกิจจริงและเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานในองค์กรที่ใช้โปรแกรมบัญชีอย่างแพร่หลาย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ออกแบบเพื่อการเรียนรู้และใช้งานจริง PEAK คือโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักบัญชีทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และมีความถูกต้องในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การจัดการเอกสารรายรับ-รายจ่าย ไปจนถึงการจัดทำรายงานและแบบภาษี ด้วยระบบอัตโนมัติและ AI อัจฉริยะของ PEAK นักบัญชีสามารถ ด้วยความสามารถเหล่านี้ PEAK จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกบัญชียุคใหม่ พัฒนาทักษะโปรแกรมบัญชีในยุคดิจิทัลสำหรับนักศึกษาด้วย โครงการอบรม PEAK Advisor Basic Level โครงการอบรม PEAK Advisor Basic Level คือ หลักสูตรอบรมที่ออกแบบมาเพื่อยกระดับทักษะของผู้ให้บริการทางบัญชี ให้สามารถปรับตัวเข้าสู่โลกของการทำบัญชีดิจิทัลได้อย่างมั่นใจ พร้อมทั้งเพิ่มความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ไฮไลต์จากโครงการอบรม PEAK Advisor Basic Level อบรมฟรี พร้อมแนวทางการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการทำบัญชี ตลอดระยะเวลา 18 วัน นักศึกษาที่เข้าร่วมได้รับการอบรมเนื้อหาครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีการใช้งานระบบ PEAK จริงผ่านเคสธุรกิจเสมือน วัดผลด้วยระบบการสอบออนไลน์ผ่าน FROG GENIUS LMS: ทันสมัย โปร่งใส มีประสิทธิภาพ การร่วมมือกับ FROG GENIUS แพลตฟอร์ม Learning Management System (LMS) เป็นอีกหนึ่ง Key Success Factor พันธมิตรที่ทำให้เกิดความสำเร็จ ที่ทางเราได้ใช้ FROG GENIUS LMS เป็นศูนย์กลางการสอบออนไลน์ในหลักสูตร ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น ดังต่อไปนี้ ประโยชน์ที่สถาบันการศึกษาได้รับจากโครงการอบรมบัญชีสำหรับนักศึกษา 1. เพิ่มโอกาสให้นักศึกษาสัมผัสเครื่องมือระดับมืออาชีพ การนำระบบ PEAK และ FROG GENIUS มาใช้ร่วมกัน ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง ทั้งการออกใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน การจัดการภาษี และการใช้งานระบบสอบแบบมืออาชีพ 2. สร้างภาพลักษณ์สถาบันที่ทันสมัย การเข้าร่วมโครงการกับ PEAK จะช่วยเสริมจุดแข็งของสถาบันในด้านการพัฒนานักศึกษาสู่สายอาชีพ พร้อมกับเพิ่มความน่าสนใจของหลักสูตรในสายบัญชีและบริหารธุรกิจ 3. สนับสนุนการเรียนรู้แบบ Active Learning จากการจัดอบรมที่เน้นลงมือทำจริง นักศึกษาไม่เพียงเรียนรู้แค่ในบทเรียน แต่ยังได้ฝึกวิเคราะห์และแก้ปัญหาเชิงบัญชีด้วยตนเอง ตัวอย่างหัวข้อที่อบรมภายใต้หลักสูตร PEAK Advisor Basic Level สำหรับสถาบันการศึกษาที่สนใจเข้าร่วมอบรมบัญชีสำหรับนักศึกษา หากสถาบันของคุณต้องการส่งเสริมทักษะด้านบัญชีให้กับนักศึกษา หรือจัดสอบและอบรมออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อร่วมโครงการกับ PEAK ได้ทันที คลิกลงทะเบียนที่นี่ หรือ ติดต่อประสานงานโครงการ  คุณณัฐชา คำมี โทร. 063-910-4222 หรือ โทร. 1485 ได้เลย! เตรียมพร้อมทักษะบัญชีสำหรับมือใหม่สู่นักบัญชีสายอาชีพบัญชี การอบรมบัญชีสำหรับนักศึกษาไม่ใช่แค่การให้ความรู้ แต่คือการ “สร้างอนาคต” ให้กับผู้เรียน โครงการ PEAK Advisor Basic Level คือหนึ่งในโครงการที่สะท้อนถึงความตั้งใจในการขับเคลื่อนวงการบัญชีไทยด้วยเครื่องมือดิจิทัล  สำหรับใครที่กำลังมองหา โอกาสในการเริ่มต้นสายงานบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการสมัครงาน การฝึกงาน หรือเตรียมตัวสอบวิชาชีพ โปรแกรมนี้คือก้าวแรกที่ควรเริ่ม! คุณจะได้ทั้ง ทักษะที่ตลาดงานต้องการจริง เช่น การใช้งานโปรแกรมบัญชีคลาวด์ การจัดทำรายงานการเงิน การยื่นภาษี และความเข้าใจในระบบบัญชีที่สอดคล้องกับการทำงานจริงในองค์กรทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

30 Apr 2024

PEAK Account

14 min

ระเบียบการแข่งขัน PEAK Digital Accounting Championship 2024

ไฟล์ระเบียบการแข่งขัน หมายเหตุ: กำหนดการมีการเปลี่ยนแปลง ปิดรับสมัครในวันที่ 7 มิ.ย. 2567 เวลา 23.59 น. และประกาศผลรอบคัดเลือก 12 มิ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. โครงการค้นหา “สุดยอดว่าที่นักบัญชี” แห่งยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถและทดสอบความรู้การใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์1.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ด้านการบัญชี1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา1.4 มอบโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนจากสถาบันอื่น 2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 2.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี โดยต้องมีสถานภาพเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน2.2 สมาชิกทีมละ 2 คน อายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน2.3 แต่ละสถาบันสามารถมีอาจารย์ประจำภาควิชาได้ไม่เกิน 2 ท่าน 3. ขอบเขตเนื้อหาการแข่งขัน 3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีและภาษี3.2 การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์3.3 การวิเคราะห์และประยุกต์การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ตามประเภทของธุรกิจ 4. การรับสมัคร 4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ bit.ly/peak-dac-2024 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอีเมล์ยืนยันจากระบบ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มส่งผลงานได้หลังจากได้รับอีเมลยืนยันการสมัครเท่านั้น 4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันและส่งผลงานวันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2567 ภายในเวลา 23.59 น.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำส่งผลงานรอบคัดเลือกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.4.1 ทำวิดีโอบน TikTok เพื่อแนะนำ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs ไทย ภายใต้หัวข้อ “PEAK, Friend of Business”4.4.2 ความยาวไม่เกิน 2 นาที4.4.3 รูปแบบวิดีโอเป็นแนวตั้ง (9:16)4.4.4  อัปโหลดบนแอปพลิเคชัน TikTok พร้อมเปิดสาธารณะ4.4.5  Mention @peakaccount และติดแฮชแท็ก จำนวน 3 แฮชแท็ก ดังต่อไปนี้   #PEAKDAC2024 #PEAK #โปรแกรมบัญชีออนไลน์4.4.6 หลังจากวิดีโอถูกเผยแพร่บน TikTok ผู้สมัครต้องคัดลอกลิงก์ของวิดีโอ เพื่อนำ ไปกรอกในฟอร์มตามลิงก์ข้อ 4.24.4.7 แต่ละทีมสามารถส่งผลงานวิดีโอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากมีการส่งผลงานมากกว่า 1 ครั้ง ทางคณะกรรมการจะพิจารณาจากการส่งผลงานครั้งแรกเท่านั้น 4.5  คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 ทีม เพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทางอีเมลผู้เข้าแข่งขัน และเฟสบุ๊คแฟนเพจ PEAK – โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAKaccount.com วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2567 หมายเหตุ : หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 5. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 24 ทีม ต้องเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ : ไม่มีบริการที่จอดรถ ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตามสามารถจอดพาหนะได้บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ อาคารจามจุรี 9 หรือศูนย์การค้าเเอมพาร์ค หรือศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยอัตราค่าบริการที่จอดรถเป็นไปตามระเบียบของผู้ให้บริการ 6. กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขัน09.00 – 10.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน10.00 – 10.30 น. เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขัน10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15 นาที10.45 – 11.45 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 1 (ข้อสอบปรนัย)11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 – 14.30 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 2-3 (ภาคปฎิบัติและวิเคราะห์)14.30 – 15.30 น. กิจกรรมให้ความรู้จากวิทยากรพิเศษ15.30 – 15.35 น. ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์15.35 – 16.30 น. การนำเสนอผลการวิเคราะห์16.30 – 17.00 น. ประกาศผลการแข่งขัน พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงาน หมายเหตุ : ไม่มีบริการอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตาม ผู้เข้าสอบต้องนั่งประจำที่สอบ ก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 10 นาที 7. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยแต่ละรอบมีเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้ 7.1  รอบคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากผลงานคลิปวิดีโอของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 24 ทีม ได้แก่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้ 7.2  รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ผลรวม 100 คะแนน โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การตอบคำถามความรู้ด้านบัญชีและภาษี (30 คะแนน)เป็นการตอบคำถามรูปแบบปรนัยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 30 คะแนน โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี การบัญชี และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรม PEAK บันทึกบัญชี และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (50 คะแนน)เป็นการบันทึกบัญชีตามโจทย์ที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์และตอบคำถาม โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีเนื้อหาประกอบด้วย การสมัครและสร้างกิจการ การบันทึกยอดยกมา การบันทึกรายการค้าระหว่างงวดบัญชี การเรียกดูรายงานเอกสาร และงบการเงิน ส่วนที่ 3 การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (20 คะแนน)เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ให้แก่คณะกรรมการ โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำข้อสอบส่วนที่ 2 โดยใช้ระยะเวลาการนำเสนอ 3 นาที และถามตอบ 5 นาที รวมเป็น 8 นาที ต่อทีมเนื้อหาประกอบด้วย วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจ ถามตอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับแรกเท่านั้น (ระดับปวส. 3 ทีม และระดับปริญญาตรี 3 ทีม) เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 กับคณะกรรมการ เพื่อให้กรรมการได้ซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินอันดับผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด 8. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำโน้ตบุ๊กมาจำนวน 1 เครื่อง ต่อ 1 ทีม โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมปลั๊กชาร์จ ไฟสำหรับโน้ตบุ๊ก และ Wifi ให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของสถาบัน8.3 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกัน และแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ภายในเวลาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน8.4 ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องเขียน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ รวมถึงนาฬิกา Smart Watch เข้าแข่งขัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการจัดเตรียมเครื่องเขียน และกระดาษทดให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.5 ห้ามผู้เข้าแข่งขันยืมอุปกรณ์ใด ๆ จากผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นขณะแข่งขัน8.6 ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระทำการใด ๆ ที่ทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริต8.7 ผู้เข้าแข่งขันที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก หรือผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ สามารถแข่งขันด้วยจำนวนสมาชิกที่เหลือได้ หมายเหตุ : หากฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 9. รางวัลการแข่งขัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สมาชิกของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 24 ทีม จะได้รับเกียรติบัตรโดย PEAK 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด

อ่านบทความเพิ่มเติม