จดทะเบียนบริษัท

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

ทะเบียนพาณิชย์คืออะไร สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

ทะเบียนพาณิชย์ คือ เอกสารสำคัญที่ใช้รับรองการประกอบธุรกิจการค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนเริ่มประกอบกิจการ เพื่อแสดงตัวตนทางการค้าและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ ซึ่งจะมีกิจการไหนบ้างต้องจดทะเบียนนี้ และวิธีการจดทะเบียนพาณิชย์ต้องทำอย่างไรบ้างไปดูกัน การจดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร? ทะเบียนพาณิชย์ คือ การจดแจ้งการประกอบธุรกิจการค้ากับหน่วยงานราชการตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างถูกต้อง การจดทะเบียนพาณิชย์จะทำให้ธุรกิจมีตัวตนทางกฎหมาย สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การค้า และการภาษีได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้าและลูกค้า รวมถึงเป็นประโยชน์ในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ทะเบียนพาณิชย์คืออะไร สำคัญกับธุรกิจอย่างไร ทะเบียนพาณิชย์มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจหลายด้าน เป็นหลักฐานแสดงการมีตัวตนของกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมทางการค้า การติดต่อกับหน่วยงานราชการ และการทำสัญญากับคู่ค้า นอกจากนี้ ทะเบียนพาณิชย์ยังเป็นเอกสารสำคัญในการขอสินเชื่อธุรกิจ การเปิดบัญชีธุรกิจ และการเข้าร่วมประมูลงานต่าง ๆ กิจการไหนบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยแบ่งตามประเภทของผู้ประกอบการ ดังนี้ จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการค้าด้วยทุนทรัพย์เกิน 20,000 บาท หรือมีกำไรขั้นต้นประจำปีเกิน 1,000 บาท ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ รวมถึงกิจการค้าปลีก ค้าส่ง การผลิตสินค้า การให้บริการ และการประกอบธุรกิจออนไลน์ การจดทะเบียนพาณิชย์จะช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและสามารถดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับนิติบุคคล นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจดทะเบียนพาณิชย์เมื่อเริ่มประกอบกิจการ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนทุนหรือรายได้ การจดทะเบียนพาณิชย์จะทำให้นิติบุคคลสามารถดำเนินธุรกรรมทางการค้าและการเงินได้อย่างถูกต้อง กิจการไหนบ้างที่ได้รับยกเว้นจดทะเบียนพาณิชย์ กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เช่น การค้าเร่ การค้าแผงลอย กิจการของกระทรวง ทบวง กรม การค้าของสหกรณ์ การค้าของมูลนิธิ สมาคม สโมสรที่จดทะเบียนตามกฎหมาย และการประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ สถาปนิก ที่ทำงานโดยใช้วิชาชีพส่วนตัว เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์ การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนจะช่วยให้การจดทะเบียนพาณิชย์ไม่มีปัญหาและทำให้ได้รับเอกสารเร็วขึ้น โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้  วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์ การจดทะเบียนพาณิชย์เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย โดยการจดทะเบียนพาณิชย์นี้สามารถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการ โดยมีขั้นตอนดังนี้  บทลงโทษถ้าไม่จดทะเบียนพาณิชย์ ผู้ประกอบการที่ไม่จดทะเบียนพาณิชย์ตามที่กฎหมายกำหนดจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ มีโทษปรับตั้งแต่ 500 ถึง 5,000 บาท และปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 100 บาทจนกว่าจะได้จดทะเบียน นอกจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบต่อการทำธุรกรรมทางการเงินและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ ทะเบียนพาณิชย์คือขั้นตอนสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและโอกาสทางธุรกิจ ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลและเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนดำเนินการจดทะเบียน เพื่อให้การจดทะเบียนเป็นไปอย่างถูกต้องและไม่มีปัญหา โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

14 min

รวม 7 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแบบฉบับเข้าใจง่ายในไม่กี่นาที

สำหรับนักธุรกิจที่ประกอบกิจการในไทย การจดทะเบียนบริษัทถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย เพราะจะช่วยให้ธุรกิจของคุณถูกต้องตามกฎหมาย สามารถดำเนินกิจการได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดปัญหาในภายหลัง แล้วต้องทำอย่างไร? สามารถจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ได้ไหม? Peak Account ได้สรุปข้อมูลมาให้แล้ว เจ้าของธุรกิจคนไหนที่กำลังจะเปิดบริษัทใหม่ ห้ามพลาดบทความนี้เลย! การจดทะเบียนบริษัทคืออะไร ก่อนที่จะไปดูว่าการจดทะเบียนบริษัทมีขั้นตอนอย่างไร เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับการจดทะเบียนบริษัทก่อน โดยการจดทะเบียนบริษัท คือ การที่ผู้ประกอบการนำธุรกิจของตนเองไปจดทะเบียนให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหมายถึงบุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคลเหมือนกับคนธรรมดาทั่วไป ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ในนามบริษัทได้ ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกรรมทางการเงิน การเสียภาษี การครอบครองสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่าง ๆ รวมถึงการเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้นั่นเอง ประเภทการจดทะเบียนบริษัท การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย จะสามารถจดทะเบียนบริษัทได้ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ จดทะเบียนแบบพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) และจดทะเบียนแบบนิติบุคคล ซึ่งจะมีข้อกำหนดแตกต่างกัน ดังนี้  1. ประเภททะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) การจดทะเบียนบริษัทประเภทนี้ จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มีข้อดีตรงที่สามารถทำธุรกิจได้อิสระมากกว่าแบบที่สอง ไม่ต้องคอยทำบัญชียื่นงบส่งให้ยุ่งยาก และจะเสียภาษีโดยคำนวณจากอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ ถ้าธุรกิจขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบเอง และสามารถมีหนี้สินได้ไม่จำกัด หากการเงินของบริษัทไม่เพียงพอ เจ้าของธุรกิจก็ต้องรับผิดชอบด้วยทรัพย์สินส่วนตัวเอง 2. ประเภททะเบียนนิติบุคคล เป็นประเภทการจดทะเบียนบริษัทที่พบได้ทั่วไป เหมาะกับธุรกิจที่ต้องดำเนินการในรูปแบบบริษัท หรือมีผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการมาร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีข้อดีตรงที่หนี้สินมีจำกัด เมื่อบริษัทเป็นหนี้ก็จะรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป และเสียภาษีน้อยกว่าแบบแรก โดยภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจะไม่เกิน 20% ของอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่าย ที่สำคัญยังช่วยให้บริษัทน่าเชื่อถือด้วย 7 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแบบฉบับเข้าใจง่าย ในปัจจุบัน เราสามารถจดทะเบียนบริษัทได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น การจดผ่านสำนักงานบัญชี ไปจดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยตนเอง หรือจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แค่ 7 ขั้นตอนเท่านั้น!  1. ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือการตั้งชื่อบริษัทที่จะใช้ในการจดทะเบียนบริษัท เพื่อให้ผ่านได้ง่าย ๆ แนะนำให้ตั้งชื่อที่ไม่ซ้ำกับบริษัทอื่น และตรงตามข้อกำหนดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หลีกเลี่ยงการใช้คำที่อยู่ในข้อห้าม ไม่ว่าจะเป็น ชื่อประเทศ กลุ่มคำที่ทำให้คนเข้าใจผิด ชื่อที่มีความใกล้เคียงกับพระนามของมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือชื่อที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชการต่าง ๆ เช่น ชื่อกระทรวง ชื่อกรม หรือชื่อทบวง โดยคุณสามารถเช็กผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลยว่าใช้ได้หรือไม่ 2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน หลังจากได้ชื่อบริษัทแล้ว เจ้าของธุรกิจจะต้องไปจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต่อ ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุถึงวัตถุประสงค์ของบริษัท โครงสร้างทุน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสารนี้สามารถยื่นในขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ได้เลย โดยหลังจากที่นายทะเบียนลงชื่อบนเอกสารแล้ว คุณจะต้องนำไปยื่นภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน หากช้ากว่านั้นก็จะต้องทำใหม่ 3. เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด การเปิดจองให้ซื้อหุ้นบริษัทสำหรับผู้ถือหุ้นที่สนใจ และนัดให้ผู้ถือหุ้นทุกคนมาประชุมร่วมกัน เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการจดทะเบียนบริษัท เพราะจะช่วยให้เราสามารถกำหนดโครงสร้างและทิศทางของบริษัทให้ไปในทิศทางเดียวกันได้ตั้งแต่เริ่ม และลดโอกาสเกิดความขัดแย้งในภายหลัง โดยเจ้าของธุรกิจจะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิ์จองซื้อหุ้นอย่างเท่าเทียม 4. การจัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท ขั้นตอนการจัดประชุมจัดตั้งจดทะเบียนบริษัทจะทำหลังจากที่ผู้ถือหุ้นได้จองซื้อหุ้นกันเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องมาพิจารณาและอนุมัติเรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของบริษัท ทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท การออกข้อบังคับต่าง ๆ หรือการออกหุ้น เป็นต้น 5. เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อบริษัทได้รับการจัดตั้งแล้ว คณะกรรมการบริษัทจะต้องถูกเลือกให้เรียบร้อย เพื่อมาดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การบริหารจัดการ การเงิน และการตลาด การเลือกคณะกรรมการที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จะช่วยให้บริษัทดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท ในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท ค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับทุนจดทะเบียน และอาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับบริการต่าง ๆ หากดำเนินการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ คุณสามารถเลือกชำระผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือสแกน QR Code Payment ผ่านโมบายแบงก์กิ้งได้เลย โดยค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 500 – 25,000 บาท 7. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หลังจากที่ทำทุกขั้นตอนเสร็จแล้ว เจ้าของธุรกิจจะได้รับใบรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไว้ใช้เป็นหลักฐานว่า บริษัทมีการเปิดบริการถูกต้องตามกฎหมาย และมีสถานะเป็นนิติบุคคลแล้วนั่นเอง ช่องทางในการจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนบริษัทในปัจจุบัน ผู้ประกอบการสามารถเลือกทำในช่องทางที่ตัวเองสะดวกได้เลย ซึ่งแต่ละช่องทางก็มีข้อดีที่น่าสนใจหรืออาจข้อจำกัดที่เราต้องพิจารณาเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และความยุ่งยากในการดำเนินการ เราจึงได้รวบรวมช่องทางหลัก ๆ พร้อมรายละเอียดมาให้เปรียบเทียบก่อนตัดสินใจเลือก จดทะเบียนบริษัทผ่านการใช้บริการสำนักงานบัญชี การใช้บริการสำนักงานบัญชีเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการจดทะเบียนมาก่อน สำนักงานบัญชีจะดูแลตั้งแต่การเตรียมเอกสาร ช่วยดูความถูกต้องต่าง ๆ ไปจนถึงการติดต่อกับหน่วยงานราชการให้กับเรา โดยจะใช้เวลาดำเนินการเพียง 1-3 วันทำการ ซึ่งเหมาะมาก ๆ กับผู้ประกอบการที่ต้องการรับคำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างบริษัท การวางแผนภาษี และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้จะมีค่าบริการเพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมปกติ แต่ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการประหยัดเวลาและไม่ต้องกังวลใจว่าจะเกิดข้อผิดพลาดด้วย จดด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ DBD e-Registration ระบบ DBD e-Registration เป็นช่องทางที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพัฒนาขึ้นเพื่อให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นเรื่องง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สามารถจดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินและเวลาเดินทาง แต่ผู้ที่เลือกช่องทางนี้ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม และกรอกข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งอาจใช้เวลาดำเนินการ 3-5 วันทำการ และต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนพอสมควร จดด้วยตนเองแบบ walk-in ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า วิธีนี้เป็นการเดินทางไปจดทะเบียนถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันเดียว หากเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบและให้คำแนะนำได้ทันที ทำให้แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าดำเนินการเพิ่มเติม เหมาะสำหรับผู้ที่พอมีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนอยู่แล้ว และมีเวลาในการเดินทางในจดทะเบียน แม้จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเต็มจำนวนและอาจต้องรอคิวนาน แต่ก็เป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุดหากต้องการจดทะเบียนแบบเร่งด่วน  สรุปบทความ การจดทะเบียนบริษัทเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจในประเทศไทย ผู้ประกอบการจะเลือกทำด้วยตัวเองหรือว่าจ้างสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ช่วยในการจดทะเบียนแทนก็ได้ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการเตรียมเอกสารและทำให้การจดทะเบียนสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ห้างหุ้นส่วนจำกัดคืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ที่เรียกว่า หจก. ได้รับความนิยมอย่างมากในการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย โดยจะใช้การร่วมทุนในการจัดตั้งธุรกิจร่วมกันมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแถมยังใช้เวลาไม่นาน สำหรับคนที่กำลังจะจัดตั้งบริษัทเราจะขอพาไปรู้จักห้างหุ้นส่วนจำกัดในมุมต่าง ๆ ทั้งรูปแบบในการจัดตั้งและข้อดีของการจดทะเบียน หจก. เพื่อให้มีข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกการจัดตั้งธุรกิจประเภทนี้กัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด คืออะไร ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ธุรกิจที่มีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถจัดสรรและตกลงรายละเอียดกันได้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเลือกสิ่งของในการลงทุน เช่น ลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือสิ่งอื่นก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน และต้องมีการคำนวณหุ้นที่เป็นสินทรัพย์และแรงงานออกมาเป็นจำนวนเงิน โดยมีทุนจดทะเบียนที่แยกจากเงินส่วนตัว และหุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินตามที่ลงทุนเท่านั้น ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบ ตามความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้ร่วมลงทุน ได้แก่ หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด โดยมีความแตกต่างกันดังนี้  1. หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมทุนที่มีความรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจเฉพาะจำนวนเงินที่ลงทุนเท่านั้น ผู้ร่วมทุนประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นมากไปกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป ทำให้การลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่าแบบไม่จำกัดความรับผิดจึงค่อนข้างปลอดภัยเพราะผู้ร่วมทุนสามารถคำนวณและจำกัดความเสี่ยงได้ การมีหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมทุนใหม่ ๆ ที่สนใจลงทุนในธุรกิจ 2. หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมลงทุนต้องรับผิดชอบหนี้สินของธุรกิจร่วมกันทั้งหมด โดยผู้ร่วมทุนประเภทนี้มักจะมีหน้าที่ในการบริหารธุรกิจโดยตรง เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้น ดังนั้น หุ้นส่วนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจจึงเหมาะสมกับการรับผิดชอบในลักษณะนี้ 6 ข้อดีของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีข้อดีมาก ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งข้อดีเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการช่วยผลักดันการทำธุรกิจประสบความสำเร็จและไปได้ด้วยดี โดยข้อดีมีรายละเอียดดังนี้  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือกับทั้งลูกค้าเองและคู่ค้าธุรกิจ เพราะการจดทะเบียนทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับตามกฎหมาย และสามารถทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้ง่ายและถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลไม่ต้องกังวลใจในการทำธุรกรรมนั้น ๆ ด้วย 2. การระดมทุน ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นในการระดมทุน สามารถเพิ่มจำนวนหุ้นส่วนได้ตามความต้องการของธุรกิจ การมีหุ้นส่วนหลายคนช่วยเสริมสร้างฐานะทางการเงิน และทำให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการขยายกิจการที่เพียงพอ การระดมทุนผ่านห้างหุ้นส่วนจำกัดยังเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วเมื่อเทียบกับรูปแบบธุรกิจอื่น ๆ 3. จำกัดความรับผิดชอบ ผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ถือหุ้นจะไม่ต้องรับผิดในหนี้สินที่เกินกว่าเงินที่ลงทุนไป จึงสามารถจะจำกัดความรับผิดชอบได้ตามจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลงทุน เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยทางการเงินให้กับผู้ร่วมทุนได้มั่นใจด้วยนั่นเอง 4. บริหารจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นด้านการบริหารจัดการ ผู้ร่วมทุนจะสามารถแบ่งหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมและความสามารถ ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและก้าวกระโดด นอกจากนี้ การมีผู้ร่วมทุนหลายคนยังสามารถนำความรู้และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายด้านมาพัฒนาธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย 5. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะได้รับการลดหย่อนภาษีตามกฎหมาย ซึ่งการใช้สิทธิด้านนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระทางการเงินและเพิ่มกำไรสุทธิให้กับกิจการได้ นอกจากนี้ การวางแผนภาษีอย่างถูกต้องยังส่งผลให้จัดการธุรกิจและเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ นอกจากข้อดีทั้ง 5 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น ในบางโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำกว่า การที่ธุรกิจได้รับการสนับสนุนเหล่านี้จะช่วยให้กิจการมั่นคงและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและมีความเสี่ยงต่ำ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มาก ๆ เพราะมีรูปแบบการลงทุนหลากหลาย ระดมทุนได้ง่าย แบ่งความรับผิดชอบได้ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ และมีสิทธิลดหย่อนภาษี จึงทำให้เป็นวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ไม่ยากนั่นเอง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

29 พ.ย. 2023

PEAK Account

16 min

รายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท?

เราควรจดบริษัทเมื่อไหร่ ในแง่ตัวเลขจะดูได้ 2 มุม คือ 1. ด้านภาษี ต้องคำนวณเปรียบเทียบภาษีของบุคคลที่มีอัตราขั้นบันไดที่ 0-35% และภาษีบริษัทที่ 0-20% ถ้าดูที่เพดานภาษีไม่ใช่ว่าบริษัทจะมีภาษีที่ถูกกว่าเพราะวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกัน 2. ด้านบัญชี การเป็นบริษัทจะมีต้นทุนจัดการธุรกิจที่เพิ่มมาก เช่น ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี และค่าจัดตั้งบริษัท ในเชิงตัวเลขเราต้องมาพิจารณาว่าถ้าเป็นบริษัทแล้ว ภาษีที่ประหยัดได้จะคุ้มค่ากับต้นทุนในการจัดการธุรกิจที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อทำธุรกิจมาระยะหนึ่ง คำถามที่จะปึ๊งขึ้นมาในหัวของผู้ประกอบการหลายคน คือ เมื่อไหร่ที่เราต้องจดบริษัท? รายได้หรือกำไรเท่านี้ถือว่าเยอะพอที่จะจดบริษัทแล้วหรือยัง? ผมเคยได้ทำบทความเรื่อง ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแบบไหนดีที่สุด? แนะนำให้อ่านก่อนจะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นครับ แต่ถ้าอยากมองแบบง่ายๆ บทความนี้ผมจะพาทุกคนมาดูในมุมของตัวเลขกันครับว่าตัวเลขเท่าไหร่ที่ควรจดบริษัทดีครับ สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หลักคิดที่เราจะนำมาพิจารณาจะเน้นในเรื่องของตัวเลขทางการเงินทั้งด้านบัญชีและภาษีที่จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการ โดยผมได้แบ่งออกมาเป็น 6 หัวข้อย่อย ดังนี้ครับ 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง 6. ค่าใช้จ่ายแฝง 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน เบื้องต้นต้องดูว่าในนามบุคคลธรรมดาคุณเสียภาษีสูงสุดที่อัตราเท่าใดในช่วง 5%-35% จากนั้นเอามาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดที่ 20% ถ้าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่า 20% ก็เป็นอาจสัญญาณแรกแล้วว่าคุณต้องเริ่มจดทะเบียนบริษัท แต่ยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย เรามาดูข้อต่อไปกันครับ 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs กรมสรรพากรมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของ SMEs ขึ้นมาเพื่อบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจให้เกิดการลงทุน โดยเงื่อนไขการเป็น SMEs มี 2 ข้อ คือ กำไรสุทธิทางภาษี อัตราภาษี 0 -300,000 บาท ยกเว้นภาษี 300,0001 – 3,000,000 บาท 15% มากกว่า 3,000,000 ขึ้นไป 20% 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ การที่มีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาสูงกว่านิติบุคคลอาจไม่ได้สรุปว่าควรต้องจดเป็นบริษัทเพราะอัตราภาษีที่ต่างกันมาจากวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกันนั่นเองครับ เราลองมาดูวิธีคำนวณภาษีทั้งสองประเภทกันครับ 1. การคำนวณภาษีของบุคคลธรรมดา Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ Step 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 2. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย* = กำไรทางบัญชี Step 2 : กำไรทางบัญชี บวก/หัก รายการปรับปรุงทางภาษี = กำไรทางภาษี Step 3 : กำไรทางภาษี คูณ อัตราภาษีนิติบุคคลสูงสุด 20% = ภาษีที่ต้องจ่าย สรุปแล้วเราไม่ได้ดูแค่อัตราภาษี แต่ให้ดูที่จำนวนเงินที่เสียภาษีเพื่อเปรียบกัน แม้อัตราภาษีจะสูงกว่าแต่อาจพบว่าจำนวนภาษีที่เสียน้อยกว่าก็ได้ครับ เพราะขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น อัตราการหักค่าใช้จ่ายของเราได้มากแค่ไหน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เยอะไหม หรือว่าเรามีรายการปรับปรุงภาษีที่ให้ประโยชน์ต่อเราไหม ผมขอยกตัวอย่างการคำนวณเปรียบเทียบความประหยัดทางภาษีเงินได้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น โดยเงื่อนไขคือบุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายตามจริง และมีเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัวเท่านั้น ขณะที่นิติบุคคลมีรายได้ไม่ถึง 30 ล้าน และทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทจึงเข้าเงื่อนไขอัตราภาษีของ SMEs และไม่มีรายการปรับปรุงทางภาษีใดๆ เกิดขึ้น ตัวอย่างที่ 1 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสน Step 2 : เงินได้สุทธิ 4.4 แสน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน = กำไรทางบัญชี 5 แสนบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 5 แสน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 5 แสนบาท  Step 3 : กำไรทางภาษี 5 แสน * อัตราภาษีSMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 30,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1 ล้านบาท บุคคลธรรมดาจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบริษัท ตัวอย่างที่ 2 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 2 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 1.44 ล้านบาท Step 2 : เงินได้สุทธิ 1.44 ล้าน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 225,000 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1 : รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสนบาท = กำไรทางบัญชี 1.5 ล้านบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 1.5 ล้าน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 1.5 ล้านบาท Step 3 : กำไรทางภาษี 1.5 ล้าน * อัตราภาษี SMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 180,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1.5 ล้านบาท บริษัทจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบุคคลธรรมดา 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร เอ๊ะ เราดูเรื่องตัวเลขทำไมต้องคุยเรื่องของเอกสารกันนะ! หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยขึ้นมา ผมจะบอกว่ามันสัมพันธ์กันครับ เพราะบุคคลธรรมดาที่จ่ายค่าใช้จ่ายแล้วขอเอกสารจากผู้ขายไม่ได้ หรือไม่อยากยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสาร รายได้บางประเภทสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ทำให้ไม่ต้องเก็บเอกสารเป็นหลักฐานรายจ่าย แต่ถ้าเกิดว่ารายจ่ายที่จ่ายจริงมันสูงกว่าอัตราเหมาล่ะ เช่น จ่ายจริง 1 แสน แต่หักเหมาได้เพียง 6 หมื่น? แบบนี้ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสารมากขึ้น เพราะทุกรายจ่ายต้องมีเอกสารพิสูจน์จึงจะใช้รายจ่ายแบบตามจริงได้ รวมถึงเป็นการเตรียมตัวจดบริษัทในอนาคตด้วย เพราะว่ารายจ่ายของบริษัทต้องมีเอกสารทุกอย่างครับ 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง เวลาเสียภาษีเงินได้จะดูที่กำไรของธุรกิจ แต่เคยได้ยินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กันไหมครับ เป็นภาษีอีกตัวที่เราที่ต้องสนใจ เพราะมันจะพิจารณาจากยอดรายได้ไม่ใช่กำไรของธุรกิจ ถามว่าทำไมต้องให้ความสนใจมัน กล่าวๆง่ายคือ ตอนจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มทำได้ง่าย แต่ตอนจะเลิกบริษัทจะมีขั้นตอนที่ต้องรอตรวจสอบนานและอาจถูกปรับเงินเพิ่มจากการทำผิดได้ เรียกว่าเข้าง่ายออกยากนั่นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือบริษัทเมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในปีเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งส่งผลต่อภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายสินค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ต้องนำส่งแบบ ภ.พ.30 ให้กรมสรรพากรทุกเดือน เมื่อไม่ว่าบุคคลหรือบริษัทต้องก็ต้องทำ แล้วเราจะพิจารณาเรื่องนี้กันทำไมละ? มีเหตุผลอยู่ 2 ข้อ คือ 6. ค่าใช้จ่ายแฝง ที่กล่าวมาข้างต้นจะเน้นเรื่องของความประหยัดในมุมภาษีเป็นหลัก ซึ่งเมื่อบริษัทมีกำไรสูงมากจนถึงจุดหนึ่งการเป็นบริษัทจะคุ้มค่ามากกว่าในด้านภาษี แต่เราลองมองกันในอีกด้านหนึ่งคือ การจดบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายตามมาเพิ่ม คือ ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดทุกๆ ปี เช่น ค่าบริการทำบัญชีและค่าตรวจสอบบัญชี ซึ่งมูลค่ารวมๆ แล้วก็อาจสูงถึง 1 แสนบาทต่อปี ดังนั้นเราต้องเปรียบเทียบเพิ่มด้วยว่าภาษีที่เราประหยัดไปคุ้มค่ากับเงิน (กระแสเงินสด) ที่เราต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ เช่น เมื่อจดบริษัทสามารถประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น 50,000 บาท แต่เรามีค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพิ่มขึ้นอีก 100,000 บาท แบบนี้ก็อาจไม่คุ้มค่าใช่ไหมครับ สรุปแล้วรายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท? สรุปแล้วการพิจารณาว่าจะจดบริษัทไหมในมุมของจำนวนเงินจะดูได้ 2 มุม คือ ด้านภาษี และการจัดการธุรกิจ ในส่วนของภาษีจะพิจารณาการประหยัดภาษีเงินได้เป็นหลัก ซึ่งรูปแบบไหนประหยัดกว่าคงตอบได้ยากอยู่เพราะขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ การหักค่าใช้จ่าย ในส่วนด้านต้นทุนของการบริหารจัดการธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นก็อาจเป็นอีกการตัดสินใจว่าถ้าเราจดบริษัทแล้วประหยัดภาษีได้มากขึ้น และมันคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายเพิ่มเป็นค่าจดบริษัท ค่าทำบัญชีรายเดือน และค่าสอบบัญชีรายปีหรือไม่ ดังนั้นผมไม่อาจฟันธงได้ว่ารายได้หรือกำไรเท่าไหร่ควรจดบริษัท แต่ผู้ประกอบต้องลองคำนวณและเปรียบเทียบเองตามขั้นตอนที่ได้ให้ตัวอย่างไว้เบื้องต้น ซึ่งจะได้คำตอบที่ดีที่สุดครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจหรืออยากได้ความมั่นใจเพิ่มว่าควรต้องจดเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลแล้วหรือยัง ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

ทะเบียนพาณิชย์คืออะไร สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

ทะเบียนพาณิชย์ คือ เอกสารสำคัญที่ใช้รับรองการประกอบธุรกิจการค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ก่อนเริ่มประกอบกิจการ เพื่อแสดงตัวตนทางการค้าและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ ซึ่งจะมีกิจการไหนบ้างต้องจดทะเบียนนี้ และวิธีการจดทะเบียนพาณิชย์ต้องทำอย่างไรบ้างไปดูกัน การจดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร? ทะเบียนพาณิชย์ คือ การจดแจ้งการประกอบธุรกิจการค้ากับหน่วยงานราชการตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างถูกต้อง การจดทะเบียนพาณิชย์จะทำให้ธุรกิจมีตัวตนทางกฎหมาย สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การค้า และการภาษีได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับคู่ค้าและลูกค้า รวมถึงเป็นประโยชน์ในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ทะเบียนพาณิชย์คืออะไร สำคัญกับธุรกิจอย่างไร ทะเบียนพาณิชย์มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจหลายด้าน เป็นหลักฐานแสดงการมีตัวตนของกิจการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรมทางการค้า การติดต่อกับหน่วยงานราชการ และการทำสัญญากับคู่ค้า นอกจากนี้ ทะเบียนพาณิชย์ยังเป็นเอกสารสำคัญในการขอสินเชื่อธุรกิจ การเปิดบัญชีธุรกิจ และการเข้าร่วมประมูลงานต่าง ๆ กิจการไหนบ้างที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทยต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยแบ่งตามประเภทของผู้ประกอบการ ดังนี้ จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการค้าด้วยทุนทรัพย์เกิน 20,000 บาท หรือมีกำไรขั้นต้นประจำปีเกิน 1,000 บาท ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ รวมถึงกิจการค้าปลีก ค้าส่ง การผลิตสินค้า การให้บริการ และการประกอบธุรกิจออนไลน์ การจดทะเบียนพาณิชย์จะช่วยให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือและสามารถดำเนินกิจการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับนิติบุคคล นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจดทะเบียนพาณิชย์เมื่อเริ่มประกอบกิจการ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนทุนหรือรายได้ การจดทะเบียนพาณิชย์จะทำให้นิติบุคคลสามารถดำเนินธุรกรรมทางการค้าและการเงินได้อย่างถูกต้อง กิจการไหนบ้างที่ได้รับยกเว้นจดทะเบียนพาณิชย์ กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ เช่น การค้าเร่ การค้าแผงลอย กิจการของกระทรวง ทบวง กรม การค้าของสหกรณ์ การค้าของมูลนิธิ สมาคม สโมสรที่จดทะเบียนตามกฎหมาย และการประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ สถาปนิก ที่ทำงานโดยใช้วิชาชีพส่วนตัว เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์ การเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนจะช่วยให้การจดทะเบียนพาณิชย์ไม่มีปัญหาและทำให้ได้รับเอกสารเร็วขึ้น โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้  วิธีการจดทะเบียนพาณิชย์ การจดทะเบียนพาณิชย์เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทย โดยการจดทะเบียนพาณิชย์นี้สามารถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อความสะดวกของผู้ประกอบการ โดยมีขั้นตอนดังนี้  บทลงโทษถ้าไม่จดทะเบียนพาณิชย์ ผู้ประกอบการที่ไม่จดทะเบียนพาณิชย์ตามที่กฎหมายกำหนดจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ มีโทษปรับตั้งแต่ 500 ถึง 5,000 บาท และปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 100 บาทจนกว่าจะได้จดทะเบียน นอกจากนี้ ยังอาจมีผลกระทบต่อการทำธุรกรรมทางการเงินและความน่าเชื่อถือของธุรกิจ ทะเบียนพาณิชย์คือขั้นตอนสำคัญในการเริ่มต้นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือและโอกาสทางธุรกิจ ผู้ประกอบการควรศึกษาข้อมูลและเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนดำเนินการจดทะเบียน เพื่อให้การจดทะเบียนเป็นไปอย่างถูกต้องและไม่มีปัญหา โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

14 min

รวม 7 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแบบฉบับเข้าใจง่ายในไม่กี่นาที

สำหรับนักธุรกิจที่ประกอบกิจการในไทย การจดทะเบียนบริษัทถือเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย เพราะจะช่วยให้ธุรกิจของคุณถูกต้องตามกฎหมาย สามารถดำเนินกิจการได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดปัญหาในภายหลัง แล้วต้องทำอย่างไร? สามารถจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ได้ไหม? Peak Account ได้สรุปข้อมูลมาให้แล้ว เจ้าของธุรกิจคนไหนที่กำลังจะเปิดบริษัทใหม่ ห้ามพลาดบทความนี้เลย! การจดทะเบียนบริษัทคืออะไร ก่อนที่จะไปดูว่าการจดทะเบียนบริษัทมีขั้นตอนอย่างไร เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับการจดทะเบียนบริษัทก่อน โดยการจดทะเบียนบริษัท คือ การที่ผู้ประกอบการนำธุรกิจของตนเองไปจดทะเบียนให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่ง ซึ่งหมายถึงบุคคลที่กฎหมายสมมติให้มีสภาพบุคคลเหมือนกับคนธรรมดาทั่วไป ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ในนามบริษัทได้ ไม่ว่าจะเป็น การทำธุรกรรมทางการเงิน การเสียภาษี การครอบครองสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่าง ๆ รวมถึงการเป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้นั่นเอง ประเภทการจดทะเบียนบริษัท การดำเนินธุรกิจในประเทศไทย จะสามารถจดทะเบียนบริษัทได้ 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ จดทะเบียนแบบพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) และจดทะเบียนแบบนิติบุคคล ซึ่งจะมีข้อกำหนดแตกต่างกัน ดังนี้  1. ประเภททะเบียนพาณิชย์ (บุคคลธรรมดา) การจดทะเบียนบริษัทประเภทนี้ จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก หรือธุรกิจที่มีเจ้าของคนเดียว มีข้อดีตรงที่สามารถทำธุรกิจได้อิสระมากกว่าแบบที่สอง ไม่ต้องคอยทำบัญชียื่นงบส่งให้ยุ่งยาก และจะเสียภาษีโดยคำนวณจากอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ ถ้าธุรกิจขาดทุนก็ต้องรับผิดชอบเอง และสามารถมีหนี้สินได้ไม่จำกัด หากการเงินของบริษัทไม่เพียงพอ เจ้าของธุรกิจก็ต้องรับผิดชอบด้วยทรัพย์สินส่วนตัวเอง 2. ประเภททะเบียนนิติบุคคล เป็นประเภทการจดทะเบียนบริษัทที่พบได้ทั่วไป เหมาะกับธุรกิจที่ต้องดำเนินการในรูปแบบบริษัท หรือมีผู้ประกอบการ หรือเจ้าของกิจการมาร่วมลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีข้อดีตรงที่หนี้สินมีจำกัด เมื่อบริษัทเป็นหนี้ก็จะรับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป และเสียภาษีน้อยกว่าแบบแรก โดยภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจะไม่เกิน 20% ของอัตราภาษีหลังหักค่าใช้จ่าย ที่สำคัญยังช่วยให้บริษัทน่าเชื่อถือด้วย 7 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทแบบฉบับเข้าใจง่าย ในปัจจุบัน เราสามารถจดทะเบียนบริษัทได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น การจดผ่านสำนักงานบัญชี ไปจดที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยตนเอง หรือจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แค่ 7 ขั้นตอนเท่านั้น!  1. ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน สิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือการตั้งชื่อบริษัทที่จะใช้ในการจดทะเบียนบริษัท เพื่อให้ผ่านได้ง่าย ๆ แนะนำให้ตั้งชื่อที่ไม่ซ้ำกับบริษัทอื่น และตรงตามข้อกำหนดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หลีกเลี่ยงการใช้คำที่อยู่ในข้อห้าม ไม่ว่าจะเป็น ชื่อประเทศ กลุ่มคำที่ทำให้คนเข้าใจผิด ชื่อที่มีความใกล้เคียงกับพระนามของมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ หรือชื่อที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับราชการต่าง ๆ เช่น ชื่อกระทรวง ชื่อกรม หรือชื่อทบวง โดยคุณสามารถเช็กผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เลยว่าใช้ได้หรือไม่ 2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน หลังจากได้ชื่อบริษัทแล้ว เจ้าของธุรกิจจะต้องไปจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต่อ ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุถึงวัตถุประสงค์ของบริษัท โครงสร้างทุน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เอกสารนี้สามารถยื่นในขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ได้เลย โดยหลังจากที่นายทะเบียนลงชื่อบนเอกสารแล้ว คุณจะต้องนำไปยื่นภายในระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน หากช้ากว่านั้นก็จะต้องทำใหม่ 3. เปิดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้นทั้งหมด การเปิดจองให้ซื้อหุ้นบริษัทสำหรับผู้ถือหุ้นที่สนใจ และนัดให้ผู้ถือหุ้นทุกคนมาประชุมร่วมกัน เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการจดทะเบียนบริษัท เพราะจะช่วยให้เราสามารถกำหนดโครงสร้างและทิศทางของบริษัทให้ไปในทิศทางเดียวกันได้ตั้งแต่เริ่ม และลดโอกาสเกิดความขัดแย้งในภายหลัง โดยเจ้าของธุรกิจจะต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิ์จองซื้อหุ้นอย่างเท่าเทียม 4. การจัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท ขั้นตอนการจัดประชุมจัดตั้งจดทะเบียนบริษัทจะทำหลังจากที่ผู้ถือหุ้นได้จองซื้อหุ้นกันเรียบร้อยแล้ว โดยผู้ถือหุ้นทุกคนจะต้องมาพิจารณาและอนุมัติเรื่องสำคัญต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการของบริษัท ทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท การออกข้อบังคับต่าง ๆ หรือการออกหุ้น เป็นต้น 5. เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อบริษัทได้รับการจัดตั้งแล้ว คณะกรรมการบริษัทจะต้องถูกเลือกให้เรียบร้อย เพื่อมาดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การบริหารจัดการ การเงิน และการตลาด การเลือกคณะกรรมการที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ จะช่วยให้บริษัทดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท ในส่วนของการชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนบริษัท ค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับทุนจดทะเบียน และอาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับบริการต่าง ๆ หากดำเนินการจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ คุณสามารถเลือกชำระผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือสแกน QR Code Payment ผ่านโมบายแบงก์กิ้งได้เลย โดยค่าธรรมเนียมจะอยู่ที่ 500 – 25,000 บาท 7. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หลังจากที่ทำทุกขั้นตอนเสร็จแล้ว เจ้าของธุรกิจจะได้รับใบรับรองการจดทะเบียนบริษัท ไว้ใช้เป็นหลักฐานว่า บริษัทมีการเปิดบริการถูกต้องตามกฎหมาย และมีสถานะเป็นนิติบุคคลแล้วนั่นเอง ช่องทางในการจดทะเบียนบริษัท การจดทะเบียนบริษัทในปัจจุบัน ผู้ประกอบการสามารถเลือกทำในช่องทางที่ตัวเองสะดวกได้เลย ซึ่งแต่ละช่องทางก็มีข้อดีที่น่าสนใจหรืออาจข้อจำกัดที่เราต้องพิจารณาเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่ของค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และความยุ่งยากในการดำเนินการ เราจึงได้รวบรวมช่องทางหลัก ๆ พร้อมรายละเอียดมาให้เปรียบเทียบก่อนตัดสินใจเลือก จดทะเบียนบริษัทผ่านการใช้บริการสำนักงานบัญชี การใช้บริการสำนักงานบัญชีเป็นตัวเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการจดทะเบียนมาก่อน สำนักงานบัญชีจะดูแลตั้งแต่การเตรียมเอกสาร ช่วยดูความถูกต้องต่าง ๆ ไปจนถึงการติดต่อกับหน่วยงานราชการให้กับเรา โดยจะใช้เวลาดำเนินการเพียง 1-3 วันทำการ ซึ่งเหมาะมาก ๆ กับผู้ประกอบการที่ต้องการรับคำแนะนำเกี่ยวกับโครงสร้างบริษัท การวางแผนภาษี และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แม้จะมีค่าบริการเพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมปกติ แต่ถือว่าคุ้มค่าสำหรับการประหยัดเวลาและไม่ต้องกังวลใจว่าจะเกิดข้อผิดพลาดด้วย จดด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ DBD e-Registration ระบบ DBD e-Registration เป็นช่องทางที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าพัฒนาขึ้นเพื่อให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นเรื่องง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สามารถจดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินและเวลาเดินทาง แต่ผู้ที่เลือกช่องทางนี้ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม และกรอกข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งอาจใช้เวลาดำเนินการ 3-5 วันทำการ และต้องมีความเข้าใจในขั้นตอนพอสมควร จดด้วยตนเองแบบ walk-in ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า วิธีนี้เป็นการเดินทางไปจดทะเบียนถึงกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สามารถดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันเดียว หากเอกสารครบถ้วนและถูกต้อง เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบและให้คำแนะนำได้ทันที ทำให้แก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียค่าดำเนินการเพิ่มเติม เหมาะสำหรับผู้ที่พอมีความรู้หรือความเข้าใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนอยู่แล้ว และมีเวลาในการเดินทางในจดทะเบียน แม้จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเต็มจำนวนและอาจต้องรอคิวนาน แต่ก็เป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุดหากต้องการจดทะเบียนแบบเร่งด่วน  สรุปบทความ การจดทะเบียนบริษัทเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจในประเทศไทย ผู้ประกอบการจะเลือกทำด้วยตัวเองหรือว่าจ้างสำนักงานบัญชีที่มีประสบการณ์ช่วยในการจดทะเบียนแทนก็ได้ ซึ่งจะช่วยลดเวลาในการเตรียมเอกสารและทำให้การจดทะเบียนสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ห้างหุ้นส่วนจำกัดคืออะไร มีข้อดีอย่างไรบ้าง

ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ที่เรียกว่า หจก. ได้รับความนิยมอย่างมากในการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย โดยจะใช้การร่วมทุนในการจัดตั้งธุรกิจร่วมกันมากกว่า 2 คนขึ้นไป โดยการจดทะเบียน หจก. หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแถมยังใช้เวลาไม่นาน สำหรับคนที่กำลังจะจัดตั้งบริษัทเราจะขอพาไปรู้จักห้างหุ้นส่วนจำกัดในมุมต่าง ๆ ทั้งรูปแบบในการจัดตั้งและข้อดีของการจดทะเบียน หจก. เพื่อให้มีข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกการจัดตั้งธุรกิจประเภทนี้กัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด คืออะไร ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ธุรกิจที่มีผู้ร่วมทุนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นทุกคนสามารถจัดสรรและตกลงรายละเอียดกันได้ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเลือกสิ่งของในการลงทุน เช่น ลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน แรงงาน หรือสิ่งอื่นก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน และต้องมีการคำนวณหุ้นที่เป็นสินทรัพย์และแรงงานออกมาเป็นจำนวนเงิน โดยมีทุนจดทะเบียนที่แยกจากเงินส่วนตัว และหุ้นส่วนแต่ละคนจะรับผิดชอบหนี้สินตามที่ลงทุนเท่านั้น ห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัด  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบ ตามความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้ร่วมลงทุน ได้แก่ หุ้นส่วนแบบจำกัดความรับผิดและหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด โดยมีความแตกต่างกันดังนี้  1. หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนจำกัดแบบจำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมทุนที่มีความรับผิดชอบในหนี้สินของธุรกิจเฉพาะจำนวนเงินที่ลงทุนเท่านั้น ผู้ร่วมทุนประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นมากไปกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไป ทำให้การลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้มีความเสี่ยงต่ำกว่าแบบไม่จำกัดความรับผิดจึงค่อนข้างปลอดภัยเพราะผู้ร่วมทุนสามารถคำนวณและจำกัดความเสี่ยงได้ การมีหุ้นส่วนจำกัดแบบนี้ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมทุนใหม่ ๆ ที่สนใจลงทุนในธุรกิจ 2. หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ผู้ร่วมลงทุนต้องรับผิดชอบหนี้สินของธุรกิจร่วมกันทั้งหมด โดยผู้ร่วมทุนประเภทนี้มักจะมีหน้าที่ในการบริหารธุรกิจโดยตรง เป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้น ดังนั้น หุ้นส่วนที่มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจจึงเหมาะสมกับการรับผิดชอบในลักษณะนี้ 6 ข้อดีของการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดมีข้อดีมาก ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งข้อดีเหล่านี้จะเป็นปัจจัยที่สำคัญในการช่วยผลักดันการทำธุรกิจประสบความสำเร็จและไปได้ด้วยดี โดยข้อดีมีรายละเอียดดังนี้  1. เพิ่มความน่าเชื่อถือ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดจะทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือกับทั้งลูกค้าเองและคู่ค้าธุรกิจ เพราะการจดทะเบียนทำให้ธุรกิจได้รับการยอมรับตามกฎหมาย และสามารถทำธุรกรรมการเงินต่าง ๆ ได้ง่ายและถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ผู้ที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลไม่ต้องกังวลใจในการทำธุรกรรมนั้น ๆ ด้วย 2. การระดมทุน ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นในการระดมทุน สามารถเพิ่มจำนวนหุ้นส่วนได้ตามความต้องการของธุรกิจ การมีหุ้นส่วนหลายคนช่วยเสริมสร้างฐานะทางการเงิน และทำให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการขยายกิจการที่เพียงพอ การระดมทุนผ่านห้างหุ้นส่วนจำกัดยังเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็วเมื่อเทียบกับรูปแบบธุรกิจอื่น ๆ 3. จำกัดความรับผิดชอบ ผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ถือหุ้นจะไม่ต้องรับผิดในหนี้สินที่เกินกว่าเงินที่ลงทุนไป จึงสามารถจะจำกัดความรับผิดชอบได้ตามจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลงทุน เพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยทางการเงินให้กับผู้ร่วมทุนได้มั่นใจด้วยนั่นเอง 4. บริหารจัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีความยืดหยุ่นด้านการบริหารจัดการ ผู้ร่วมทุนจะสามารถแบ่งหน้าที่ได้ตามความเหมาะสมและความสามารถ ซึ่งถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีก็จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและก้าวกระโดด นอกจากนี้ การมีผู้ร่วมทุนหลายคนยังสามารถนำความรู้และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายด้านมาพัฒนาธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย 5. สิทธิประโยชน์ทางภาษี ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะได้รับการลดหย่อนภาษีตามกฎหมาย ซึ่งการใช้สิทธิด้านนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระทางการเงินและเพิ่มกำไรสุทธิให้กับกิจการได้ นอกจากนี้ การวางแผนภาษีอย่างถูกต้องยังส่งผลให้จัดการธุรกิจและเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. สิทธิประโยชน์อื่น ๆ นอกจากข้อดีทั้ง 5 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดยังมีสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น ในบางโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล หรือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำกว่า การที่ธุรกิจได้รับการสนับสนุนเหล่านี้จะช่วยให้กิจการมั่นคงและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและมีความเสี่ยงต่ำ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์มาก ๆ เพราะมีรูปแบบการลงทุนหลากหลาย ระดมทุนได้ง่าย แบ่งความรับผิดชอบได้ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ และมีสิทธิลดหย่อนภาษี จึงทำให้เป็นวิธีที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ไม่ยากนั่นเอง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

29 พ.ย. 2023

PEAK Account

16 min

รายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท?

เราควรจดบริษัทเมื่อไหร่ ในแง่ตัวเลขจะดูได้ 2 มุม คือ 1. ด้านภาษี ต้องคำนวณเปรียบเทียบภาษีของบุคคลที่มีอัตราขั้นบันไดที่ 0-35% และภาษีบริษัทที่ 0-20% ถ้าดูที่เพดานภาษีไม่ใช่ว่าบริษัทจะมีภาษีที่ถูกกว่าเพราะวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกัน 2. ด้านบัญชี การเป็นบริษัทจะมีต้นทุนจัดการธุรกิจที่เพิ่มมาก เช่น ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี และค่าจัดตั้งบริษัท ในเชิงตัวเลขเราต้องมาพิจารณาว่าถ้าเป็นบริษัทแล้ว ภาษีที่ประหยัดได้จะคุ้มค่ากับต้นทุนในการจัดการธุรกิจที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อทำธุรกิจมาระยะหนึ่ง คำถามที่จะปึ๊งขึ้นมาในหัวของผู้ประกอบการหลายคน คือ เมื่อไหร่ที่เราต้องจดบริษัท? รายได้หรือกำไรเท่านี้ถือว่าเยอะพอที่จะจดบริษัทแล้วหรือยัง? ผมเคยได้ทำบทความเรื่อง ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแบบไหนดีที่สุด? แนะนำให้อ่านก่อนจะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นครับ แต่ถ้าอยากมองแบบง่ายๆ บทความนี้ผมจะพาทุกคนมาดูในมุมของตัวเลขกันครับว่าตัวเลขเท่าไหร่ที่ควรจดบริษัทดีครับ สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หลักคิดที่เราจะนำมาพิจารณาจะเน้นในเรื่องของตัวเลขทางการเงินทั้งด้านบัญชีและภาษีที่จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการ โดยผมได้แบ่งออกมาเป็น 6 หัวข้อย่อย ดังนี้ครับ 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง 6. ค่าใช้จ่ายแฝง 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน เบื้องต้นต้องดูว่าในนามบุคคลธรรมดาคุณเสียภาษีสูงสุดที่อัตราเท่าใดในช่วง 5%-35% จากนั้นเอามาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดที่ 20% ถ้าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่า 20% ก็เป็นอาจสัญญาณแรกแล้วว่าคุณต้องเริ่มจดทะเบียนบริษัท แต่ยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย เรามาดูข้อต่อไปกันครับ 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs กรมสรรพากรมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของ SMEs ขึ้นมาเพื่อบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจให้เกิดการลงทุน โดยเงื่อนไขการเป็น SMEs มี 2 ข้อ คือ กำไรสุทธิทางภาษี อัตราภาษี 0 -300,000 บาท ยกเว้นภาษี 300,0001 – 3,000,000 บาท 15% มากกว่า 3,000,000 ขึ้นไป 20% 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ การที่มีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาสูงกว่านิติบุคคลอาจไม่ได้สรุปว่าควรต้องจดเป็นบริษัทเพราะอัตราภาษีที่ต่างกันมาจากวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกันนั่นเองครับ เราลองมาดูวิธีคำนวณภาษีทั้งสองประเภทกันครับ 1. การคำนวณภาษีของบุคคลธรรมดา Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ Step 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 2. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย* = กำไรทางบัญชี Step 2 : กำไรทางบัญชี บวก/หัก รายการปรับปรุงทางภาษี = กำไรทางภาษี Step 3 : กำไรทางภาษี คูณ อัตราภาษีนิติบุคคลสูงสุด 20% = ภาษีที่ต้องจ่าย สรุปแล้วเราไม่ได้ดูแค่อัตราภาษี แต่ให้ดูที่จำนวนเงินที่เสียภาษีเพื่อเปรียบกัน แม้อัตราภาษีจะสูงกว่าแต่อาจพบว่าจำนวนภาษีที่เสียน้อยกว่าก็ได้ครับ เพราะขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น อัตราการหักค่าใช้จ่ายของเราได้มากแค่ไหน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เยอะไหม หรือว่าเรามีรายการปรับปรุงภาษีที่ให้ประโยชน์ต่อเราไหม ผมขอยกตัวอย่างการคำนวณเปรียบเทียบความประหยัดทางภาษีเงินได้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น โดยเงื่อนไขคือบุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายตามจริง และมีเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัวเท่านั้น ขณะที่นิติบุคคลมีรายได้ไม่ถึง 30 ล้าน และทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทจึงเข้าเงื่อนไขอัตราภาษีของ SMEs และไม่มีรายการปรับปรุงทางภาษีใดๆ เกิดขึ้น ตัวอย่างที่ 1 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสน Step 2 : เงินได้สุทธิ 4.4 แสน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน = กำไรทางบัญชี 5 แสนบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 5 แสน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 5 แสนบาท  Step 3 : กำไรทางภาษี 5 แสน * อัตราภาษีSMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 30,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1 ล้านบาท บุคคลธรรมดาจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบริษัท ตัวอย่างที่ 2 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 2 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 1.44 ล้านบาท Step 2 : เงินได้สุทธิ 1.44 ล้าน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 225,000 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1 : รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสนบาท = กำไรทางบัญชี 1.5 ล้านบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 1.5 ล้าน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 1.5 ล้านบาท Step 3 : กำไรทางภาษี 1.5 ล้าน * อัตราภาษี SMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 180,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1.5 ล้านบาท บริษัทจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบุคคลธรรมดา 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร เอ๊ะ เราดูเรื่องตัวเลขทำไมต้องคุยเรื่องของเอกสารกันนะ! หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยขึ้นมา ผมจะบอกว่ามันสัมพันธ์กันครับ เพราะบุคคลธรรมดาที่จ่ายค่าใช้จ่ายแล้วขอเอกสารจากผู้ขายไม่ได้ หรือไม่อยากยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสาร รายได้บางประเภทสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ทำให้ไม่ต้องเก็บเอกสารเป็นหลักฐานรายจ่าย แต่ถ้าเกิดว่ารายจ่ายที่จ่ายจริงมันสูงกว่าอัตราเหมาล่ะ เช่น จ่ายจริง 1 แสน แต่หักเหมาได้เพียง 6 หมื่น? แบบนี้ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสารมากขึ้น เพราะทุกรายจ่ายต้องมีเอกสารพิสูจน์จึงจะใช้รายจ่ายแบบตามจริงได้ รวมถึงเป็นการเตรียมตัวจดบริษัทในอนาคตด้วย เพราะว่ารายจ่ายของบริษัทต้องมีเอกสารทุกอย่างครับ 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง เวลาเสียภาษีเงินได้จะดูที่กำไรของธุรกิจ แต่เคยได้ยินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กันไหมครับ เป็นภาษีอีกตัวที่เราที่ต้องสนใจ เพราะมันจะพิจารณาจากยอดรายได้ไม่ใช่กำไรของธุรกิจ ถามว่าทำไมต้องให้ความสนใจมัน กล่าวๆง่ายคือ ตอนจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มทำได้ง่าย แต่ตอนจะเลิกบริษัทจะมีขั้นตอนที่ต้องรอตรวจสอบนานและอาจถูกปรับเงินเพิ่มจากการทำผิดได้ เรียกว่าเข้าง่ายออกยากนั่นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือบริษัทเมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในปีเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งส่งผลต่อภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายสินค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ต้องนำส่งแบบ ภ.พ.30 ให้กรมสรรพากรทุกเดือน เมื่อไม่ว่าบุคคลหรือบริษัทต้องก็ต้องทำ แล้วเราจะพิจารณาเรื่องนี้กันทำไมละ? มีเหตุผลอยู่ 2 ข้อ คือ 6. ค่าใช้จ่ายแฝง ที่กล่าวมาข้างต้นจะเน้นเรื่องของความประหยัดในมุมภาษีเป็นหลัก ซึ่งเมื่อบริษัทมีกำไรสูงมากจนถึงจุดหนึ่งการเป็นบริษัทจะคุ้มค่ามากกว่าในด้านภาษี แต่เราลองมองกันในอีกด้านหนึ่งคือ การจดบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายตามมาเพิ่ม คือ ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดทุกๆ ปี เช่น ค่าบริการทำบัญชีและค่าตรวจสอบบัญชี ซึ่งมูลค่ารวมๆ แล้วก็อาจสูงถึง 1 แสนบาทต่อปี ดังนั้นเราต้องเปรียบเทียบเพิ่มด้วยว่าภาษีที่เราประหยัดไปคุ้มค่ากับเงิน (กระแสเงินสด) ที่เราต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ เช่น เมื่อจดบริษัทสามารถประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น 50,000 บาท แต่เรามีค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพิ่มขึ้นอีก 100,000 บาท แบบนี้ก็อาจไม่คุ้มค่าใช่ไหมครับ สรุปแล้วรายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท? สรุปแล้วการพิจารณาว่าจะจดบริษัทไหมในมุมของจำนวนเงินจะดูได้ 2 มุม คือ ด้านภาษี และการจัดการธุรกิจ ในส่วนของภาษีจะพิจารณาการประหยัดภาษีเงินได้เป็นหลัก ซึ่งรูปแบบไหนประหยัดกว่าคงตอบได้ยากอยู่เพราะขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ การหักค่าใช้จ่าย ในส่วนด้านต้นทุนของการบริหารจัดการธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นก็อาจเป็นอีกการตัดสินใจว่าถ้าเราจดบริษัทแล้วประหยัดภาษีได้มากขึ้น และมันคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายเพิ่มเป็นค่าจดบริษัท ค่าทำบัญชีรายเดือน และค่าสอบบัญชีรายปีหรือไม่ ดังนั้นผมไม่อาจฟันธงได้ว่ารายได้หรือกำไรเท่าไหร่ควรจดบริษัท แต่ผู้ประกอบต้องลองคำนวณและเปรียบเทียบเองตามขั้นตอนที่ได้ให้ตัวอย่างไว้เบื้องต้น ซึ่งจะได้คำตอบที่ดีที่สุดครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจหรืออยากได้ความมั่นใจเพิ่มว่าควรต้องจดเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลแล้วหรือยัง ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก