นักบัญชีของกิจการเป็นหัวใจหลักในการบริหารงานหลังบ้านให้ราบรื่นไม่แพ้งานหน้าบ้านอย่างการขายสินค้าหรือให้บริการ การมีความรู้และทักษะทางบัญชี ภาษีที่ดีจะช่วยให้นักบัญชีสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปค้นหาว่าทักษะพื้นฐานใดของนักบัญชีที่มีความจำเป็นต่อสายอาชีพ และทักษะที่ถ้ามีเพิ่มเติมแล้วอาจจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กรได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีเกณฑ์ในการคัดนักบัญชีที่เหมาะสมได้ มาเริ่มกันเลย 6 ความรู้พื้นฐานที่นักบัญชีต้องรู้ 1. เข้าใจสมการบัญชี พื้นฐานการทำบัญชีเริ่มต้นจากการเข้าใจสมการทางบัญชี เนื่องจากถ้าไม่สามารถอธิบายได้ จะลงบัญชีไม่ถูกต้อง และงบการเงินไม่น่าเชื่อถือ โดยทั่วไปหลักของสมการ คือ ตัวเลขทางด้านซ้ายต้องเท่ากับตัวเลขทางด้านขวา ซึ่งสมการทางบัญชีก็เช่นกัน ดังนี้ สมการบัญชีกำหนดว่าสินทรัพย์จะต้องเท่ากับหนี้สินบวกด้วยทุนเสมอ เช่น กิจการนำเงินสดมาเปิดกิจการ 1,000 บาท สมการบัญชีจะเป็นดังนี้ สินทรัพย์(Assets) = หนี้สิน(Liabilities) + ส่วนของเจ้าของ(Owner’s Equity)1,000(เงินสด) = 0(ไม่มีหนี้) + 1,000(เงินลงทุน) และต่อมากิจการมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารจำนวน 500 บาท โดยได้รับเงินเป็นเงินสด สมการบัญชีจะเปลี่ยนไป ดังนี้ สินทรัพย์(Assets) = หนี้สิน(Liabilities) + ส่วนของเจ้าของ(Owner’s Equity)1,500(เงินสด) = 500(เงินกู้) + 1,000(เงินลงทุน) สมการบัญชีเป็นจุดเริ่มต้นของงบการเงินที่ถูกต้อง ถ้านักบัญชีสามารถอธิบายสมการได้ ก็คาดเดาได้ว่าจะบันทึกบัญชี(การบันทึกบัญชีอาจเรียกว่าการเดบิต เครดิตก็ได้)จะถูกต้องในระดับหนึ่งแล้ว 2. เข้าใจเกณฑ์คงค้าง เกณฑ์การจัดทำบัญชีเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ของงบการเงินของนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัด เพราะถ้าไม่เข้าใจ ผลที่เกิดคือ อาจบันทึกรายได้หรือค่าใช้จ่ายผิดปีได้เลย การทำบัญชีมักจะบันทึกอยู่บนเกณฑ์ยอดนิยม 2 เกณฑ์ คือ เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) และเกณฑ์คงค้าง(Accrual Basis) ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้ เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) คือ การบันทึกบัญชีเมื่อได้รับเงินแล้วเท่านั้น ซึ่งในทางบัญชีและภาษีมักใช้เกณฑ์กับการรับรู้รายรับ และรายจ่ายของบุคคลธรรมดา เพราะเข้าใจง่าย ใครๆ ก็ทำได้บนกระดาษ เกณฑ์คงค้าง(Accrual Basis) คือ การบันทึกบัญชีเมื่อธุรกรรมนั้นเกิดขึ้นแล้ว เช่น มีการขายสินค้าหรือให้บริการแล้ว โดยไม่สนใจว่าจะได้รับเงินสดแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ใช้ทำบัญชีและยื่นภาษีของนิติบุคคล จึงเป็นเกณฑ์ที่สำคัญมากที่นักบัญชีต้องรู้ ตัวอย่างเช่น กิจการทำธุรกิจขายสบู่ ได้ขายสบู่ให้แก่ลูกค้าในปี 2566 แต่ได้รับชำระเงินในปี 2568 การบันทึกบัญชีของแต่ละเกณฑ์จะเป็นดังนี้ เกณฑ์เงินสด เกณฑ์คงค้าง ปีที่บันทึกบัญชีขายสินค้า – ปี 2566 ปีที่บันทึกบัญชีรับชำระเงิน ปี 2568 ปี 2568 จะเห็นว่าเกณฑ์เงินสดจะบันทึกบัญชีแค่ครั้งเดียว ทำได้ง่าย แต่ไม่ค่อยสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงว่ารายได้ที่แท้จริงเกิดขึ้นปีไหน ทั้งๆที่รายได้เกิดในปี 2566 แต่บันทึกในปี 2568 ซึ่งนานถึง 2 ปี มักใช้กับการทำบัญชีของบุคคลธรรมดาเพราะไม่ต้องการข้อมูลที่ละเอียดมาก และง่ายต้องการจัดทำ ส่วนเกณฑ์คงค้างจะบันทึกบัญชีหลายครั้งแต่ช่วยให้เห็นข้อมูลที่ถูกต้องมากขึ้นว่าแท้จริงแล้วรายได้เกิดปี 2566 แต่มารับเงินในปี 2568 จึงเป็นเกณฑ์ที่นำมาใช้ในการบันทึกบัญชีและทำภาษีของนิติบุคคลนั่นเอง 3. แยกระหว่างสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายได้ ถ้ากิจการซื้อแก้วน้ำมา 1 ใบ ถือว่าเป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายของกิจการ? คำตอบ คือ สามารถเป็นได้ทั้ง 2 อย่างขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้แก้วน้ำนั้น โดยหลักการพิจารณาว่าเป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายนั้นต้องอิงตามหลักการบัญชี คือ การดูว่าสิ่งของนั้นกิจการตั้งใจใช้งานเกินกว่า 1 ปีหรือไม่ ถ้าใช้แล้วหมดไปภายใน 1 ปีจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แต่ถ้าใช้ได้มากกว่า 1 ปี เช่น 2 ปี จะถือเป็นสินทรัพย์ของกิจการและค่อยๆ ทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละปี ตัวอย่างเช่น กิจการซื้อแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งแบบนี้จะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แต่ถ้ากิจการซื้อแก้วน้ำเก็บความเย็นซึ่งสามารถใช้งานได้มากกว่า 1 ปี จะต้องบันทึกเป็นสินทรัพย์และทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายตามจำนวนปีที่ต้องการใช้งาน การแยกประเภทสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องนั้น จะช่วยให้งบการเงินของกิจการสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป หรือสินทรัพย์ไม่สูงเกินไป 4. เข้าใจเอกสารค้าขาย เอกสารที่เกิดขึ้นในการค้าขายมีหลายประเภท เช่น ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น การที่เราต้องเข้าใจเอกสารแต่ละประเภทจะช่วยให้เราตัดสินใจว่าสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ตัวอย่างเช่น 5. เข้าใจภาษีพื้นฐาน นอกจากเรื่องบัญชีแล้ว หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่นักบัญชีต้องไปเกี่ยวข้องกับเรื่องภาษีธุรกิจ เพราะเมื่อรายการทางบัญชีเกิดขึ้น ภาระทางภาษีมักจะเกิดขึ้นเสมอเหมือนเป็นเงาตามตัวผู้ประกอบการ ทำให้นักบัญชีต้องเข้าใจเรื่องภาษีและวิธียื่นและนำส่งภาษีเพื่อป้องกันค่าปรับจากการปฏิบัติทางภาษีผิดพลาด ตัวอย่างเช่น 6. รู้จักประเภทของเงินได้และความแตกต่างของเงินได้ สรรพากรเรียก “เงินได้” ว่า “รายได้” โดยกำหนดไว้อยู่ 8 ประเภท สาเหตุที่ต้องเข้าใจว่าเงินได้ทั้ง 8 ประเภทนั้น เพราะมีผลต่อการคำนวณภาษีที่ต้องเสีย เช่น การเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าต้องหักกี่ % จะขึ้นอยู่กับประเภทเงินได้ สรุปเงินได้ 8 ประเภท นอกจาก 6 ความรู้พื้นฐานดังกล่าวมาแล้ว การเข้าใจธุรกิจที่เราทำทำบัญชีให้อยู่นั้นก็ถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้นักบัญชีมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น เพราะการเข้าใจบริบทของธุรกิจที่เราทำบัญชีให้ เนื่องจากมีผลต่อการบันทึกบัญชีสูงมาก ค่าใช้จ่ายประเภทเดียวกันแต่อยู่ในแต่ละธุรกิจอาจบันทึกบัญชีไม่เหมือนกัน หรือพูดง่ายๆ คือ คนละขั้วกันนั้นเอง ลองมาดูตัวอย่างข้างล่างกันครับ ตัวอย่างเช่น กิจการซื้อแก้วพลาสติกมา 100 บาท ถ้าเป็นกิจการที่ซื้อมาเพื่อใช้ในออฟฟิศให้ลูกค้ากินแบบนี้จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย แต่ถ้ากิจการที่ทำธุรกิจขายแก้วพลาสติก การจ่ายเงินนี้ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่าย แต่จะถือว่าเป็นสินทรัพย์ ก็คือ “สินค้า” เพราะกิจการซื้อมาเพื่อขายไม่ได้ซื้อมาเพื่อใช้ นี้เป็นเพียงตัวอย่างเดียว จริงๆ รายได้และค่าใช้จ่ายในแต่ละธุรกิจมีบริบทที่แตกต่างกัน การที่เรารับนักบัญชีเก่งๆ มาหนึ่งแม้จะเก่งบัญชีและภาษีมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่เข้าใจธุรกิจที่ทำงานให้อยู่จริงๆ โอกาสทำบัญชีผิดพลาดมีสูงมากๆ ครับ การเข้าใจลักษณะและกระบวนการทำงานของธุรกิจที่ตนเองทำบัญชีอยู่จะช่วยให้นักบัญชีสามารถให้คำแนะนำและจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3 ทักษะด้านอื่นๆ ยิ่งมี ยิ่งดี นอกจากเรื่องบัญชี ภาษี และการเข้าใจธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญที่บอกได้ว่าใครเป็นนักบัญชีที่เก่งแล้ว ถ้านักบัญชีมีทักษะด้านอื่นๆ เพิ่มเติมจะช่วยยกศักยภาพให้สูงได้ ดังนี้ 1. ทำประมาณการรายได้-ค่าใช้จ่ายได้ ปกตินักบัญชีจะค่อนข้างอยู่กับข้อมูลในอดีต เช่น การบันทึกเอกสารก็เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นไปแล้ว และนำมาบันทึกให้ทีหลัง ดังนั้นจึงไม่แปลกถ้านักบัญชีจะไม่สามารถทำงบประมาณรายรับ-รายจ่ายในอนาคตได้ถนัด เพราะต้องใช้อีกทักษะอื่นๆ และข้อมูลอื่นๆ ในการจัดทำด้วย เช่น อัตราเงินเฟ้อ กระแสเงินสดรับ-จ่ายที่จะเข้ามา แนวโน้มยอดขาย เป็นต้น การทำงบประมาณต้องได้รับความร่วมมือจากหลายแผนกในการให้ข้อมูลและพูดคุย และนำข้อมูลต่างๆ มาจัดทำเป็นงบประมาณเพื่อเป็นเป้าให้แก่ฝ่ายต่างๆในกิจการ ถ้านักบัญชีสามารถมีทักษะนี้ได้ จะช่วยให้เราสามารถนำข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์ และจัดทำประมาณการตัวเลขในอนาคตให้กิจการได้อีกด้วย การจัดทำประมาณการรายได้-ค่าใช้จ่าย มีข้อดีมากมาย เช่น ทำให้ทราบสภาพคล่องที่แท้จริงทางการเงิน ทราบแหล่งที่มาของรายได้อย่างชัดเจน วางแผนประหยัดค่าใช้จ่ายและภาษีเงินได้ รวมถึงเป็นตัวกำหนดตัวชี้วัดผลงาน(KPI) ของแผนกต่างๆได้อีกด้วย 2. เข้าใจบัญชีบริหาร ที่เราพูดถึงเรื่องการบันทึกบัญชีต่างๆ มาเราจะเรียกกันว่า “บัญชีการเงิน” เป็นการบันทึกบัญชีตามสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในอนาคต แต่มีอีกศาสตร์หนึ่งที่เรียกว่า “บัญชีบริหาร” คือ การนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจบางอย่าง ตัวอย่างเช่น กิจการพึ่งเปิดธุรกิจมาได้ 1 ปี ที่ผ่านมาต้องเช่าโรงงานของคนอื่นเพื่อผลิตสินค้า อยากถามว่าในปีหน้ากิจการควรเช่าโรงงานต่อ หรือสร้างโรงงานเป็นของตัวเองดี? หรือ กิจการผลิตสินค้าและขายเป็นปกติอยู่แล้วแต่มีกำลังการผลิตเหลือ พอดีมีคนมาเสนอให้ผลิตสินค้าแบรนด์อื่น กิจการควรรับงานนี้หรือไม่? สังเกตว่าคำถามข้างต้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถตอบได้ในทันที และไม่สามารถใช้ข้อมูลในอดีตมาใช้ในการตอบได้อย่างเพียงพอ สิ่งเหล่านี้จะเป็นการประยุกต์ใช้โดยการนำข้อมูลในอดีตผสมกับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เช่น ต้นทุนค่าเสียโอกาส เพราะการเลือกทำหรือไม่ทำจะต้องมีต้นทุนค่าเสียโอกาสอยู่เสมอ ถ้านักบัญชีมีทักษะนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กิจการได้มหาศาลเลยครับ 3. วางแผนภาษีได้ บางคนอาจสงสัยว่าการรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งพื้นฐานแล้ว ทำไมในหัวข้อนี้ภาษีจึงเป็นทักษะอื่นๆ นั้นเพราะภาษีที่พูดก่อนหน้านี้เป็นพื้นฐาน เช่น รู้ว่าภาษีแต่ละประเภทคืออะไร เกี่ยวข้องกับกิจการยังไง คำนวณยังไง ใช้แบบภาษีชื่ออะไร และยื่นเมื่อไหร่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำตามที่กฎหมายกำหนดให้ทำทุกเดือนหรือทุกปี แต่การวางแผนภาษีจะเป็นเรื่องของการรวบรวมประสบการณ์และองค์ความรู้ในข้อกฎหมายภาษี (ที่เรียกกันว่า “ประมวลรัษฏากร”) มาใช้ประหยัดภาษีของกิจการ ซึ่งผู้ประกอบการหลายมักคนมักคิดว่านักบัญชีทุกคนต้องรู้เรื่องการวางแผนภาษีเป็นอย่างดี แต่จริงๆ แล้วเรื่องภาษีเป็นเรื่องของกฎหมายล้วนๆ ซึ่งต้องใช้ทั้งประสบการณ์และองค์ความรู้ในระดับหนึ่งเลย ตัวอย่างเช่น ตอนนี้เราได้รู้กันแล้วว่า 6 ความรู้พื้นฐานที่นักบัญชีต้องมี เริ่มตั้งแต่ เข้าใจสมการบัญชี เข้าใจเกณฑ์คงค้าง เข้าใจเอกสารค้าขาย เข้าใจภาษีพื้นฐาน รู้จักประเภทเงินได้ แยกสินทรัพย์กับหนี้สินได้ และสุดท้ายต้องเข้าใจธุรกิจที่ทำบัญชีให้ นอกจากนี้ถ้านักบัญชีมี 3 ทักษะนี้เพิ่มเติมจะช่วยมูลค่าในตัวเองได้มากขึ้น ได้แก่ ทำงบประมาณรายได้ค่าใช้จ่ายได้ เข้าใจบัญชีบริหาร และวางแผนภาษี แต่ขอบอกว่าทักษะอื่นๆ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่สามทักษะนี้นะครับ นักบัญชีสามารถเก่งในด้านอื่นๆ ได้เช่นกัน กล่าวคือ เก่งอะไรก็ได้ที่ช่วยให้กิจการดีขึ้นและเติบโตไปพร้อมๆ กับนักบัญชี ท้ายนี้ผมขอบคุณทุกท่านมากๆ ที่ติดตาม 10 กฎพื้นฐานด้านการเงินสำหรับ SMEs ตั้งแต่ EP แรกจนถึงตอนสุดท้ายนี้ หวังเหลือเกินผู้อ่านทุกท่านจะได้ประโยชน์และสาระดีๆ จากบทความของผม เพื่อไปปรับประยุกต์ใช้กับกิจการของท่านครับ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก