บัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

29 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

9 min

3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ

คุณเคยทำธุรกิจไปอย่างไรเป้าหมายไหม? ทำไปเรื่อยๆ รายได้เติบโตขึ้นก็ดีใจ รายได้ลดลงก็เสียใจแต่ธุรกิจก็ยังไปต่อได้ คำถาม คือ ธุรกิจโตแค่ไหนที่เราจะถือว่าปีนั้นประสบความสำเร็จหรือทำได้ตามเป้าหมาย หรือรายได้ลดลงแค่ไหนที่ถือว่าธุรกิจอยู่ในภาวะเสี่ยง คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้ด้วยการกำหนดตัวเลขหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ในปีนั้น เช่น รายได้ปีนี้ต้องมากกว่าปีที่แล้ว 200% ถ้าเราทำได้ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายขององค์กรและยังสามารถใช้เป็น KPI ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ได้ เช่น แผนกขาย แผนกหาลูกค้า เป็นต้น ที่เราพูดกันไปข้างต้นไม่ได้มีแค่มิติในมุมของรายได้ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้กับรายจ่ายได้เช่นกัน รายจ่ายปีนี้ต้องน้อยกว่าปีที่แล้ว หรือให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนของยอดขาย ถ้ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าแผนกที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านรายจ่ายนั้นๆ ได้ เช่น แผนกการตลาด แผนกผลิต เป็นต้น สิ่งที่พูดมาข้างต้นคือส่วนหนึ่งของการทำงบประมาณ หรือที่เราเรียกว่าการทำ Budgeting นั่นเอง เชื่อว่าพอเฉลยมาถึงจุดนี้ทุกคนก็น่าจะร้อง อ๋อ มากขึ้น การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คืออะไร? การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของตัวเงินหรือปริมาณ เช่น กำหนดเป็นจำนวนเงินบาท ปริมาณชิ้นที่ขายได้ หรือจำนวนครั้งที่ใช้ เป็นต้น ซึ่งตัวเลขจะถูกกำหนดตามรอบที่ใช้วัดผล เช่น เป็นรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งหรือ หรือรายปีก็ได้ ไม่ว่าจะวัดผลเป็นรายใดก็ตาม เมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับงบประมาณที่วางแผนไว้ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะดีหรือแย่กว่าที่ประมาณการไว้ก็ได้ แต่ตัวเลขที่แตกต่างจากผลที่วางไว้ จะต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและใช้ช่วยวางแผนในการจัดทำงบประมาณในครั้งถัดไปได้ 3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ 1. กำหนดตัวเลขที่อยากได้และเป็นไปได้ เริ่มจากกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ของกิจการก่อนว่าอยากไปไกลแค่ไหน เร็วแค่ไหน ด้วยวิธีอะไร เช่น ฝั่งรายได้ ถ้าอยากเติบโตเร็ว ต้องกำหนดเป้าที่ท้าทาย เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 200-300% พร้อมกำหนดวิธีการที่จะทำให้ยอดขายเป็นไปตามที่กำหนดได้จริง 2. รู้ว่าอะไรที่ขับเคลื่อน (Driver) รายได้และรายจ่าย เช่น ยอดขายอาจถูกขับเคลื่อนด้วยจำนวนชิ้นของสินค้าที่ขายได้ หรือจำนวนตัวแทนจำหน่ายที่หาได้ในแต่ละปี ส่วนค่าใช้จ่ายอาจกำหนดจากจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ในการผลิตสินค้า 1 ชิ้น หรือจำนวนต้นทุนค่ายิงโฆษณาต่อลูกค้า 1 คนที่หาได้ เป็นต้น สิ่งที่ควรรู้ คือ ตัวขับเคลื่อน(driver)รายได้และรายจ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจมีไม่เหมือนกัน ไม่สามารถเลียนแบบของคนอื่นได้ แต่โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมเดียวกันจะใช้ตัวขับเคลื่อนคล้ายๆ กัน เช่น ธุรกิจโรงแรมตัวขับเคลื่อนรายได้ คือ จำนวนห้องที่ลูกค้าใช้บริการ แต่ในธุรกิจขายสินค้า จะใช้จำนวนสินค้าที่ขายได้ เป็นต้น 3. ทบทวนภาพรวม เมื่อกำหนดตัวเลขประมาณการของรายได้และรายจ่ายเสร็จแล้ว ให้ทำการทบทวนว่ารายได้ที่กำหนดสอดคล้องกับรายจ่ายที่กำหนดหรือไม่ บางครั้งอาจพบว่าตั้งเป้ายอดขายจากจำนวนชิ้นที่ขายได้สูงขึ้นมาก แต่รายจ่ายด้านการขายและการตลาดเท่าเดิมหรือลดลง ทำให้เราอาจพบความไม่สอดคล้องระหว่างรายได้และรายจ่ายในบางกรณีได้ จริงๆ แล้วขั้นตอนการจัดทำงบประมาณแบบสมบูรณ์มีรายละเอียดที่เยอะกว่านี้มาก แต่ในซีรีย์บทความนี้เราเน้นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและเข้าใจเร็วที่สุด จึงไม่ได้อธิบายขั้นตอนการจัดทำแบบละเอียดนั่นเอง ตัวอย่างงบประมาณการในระยะเวลา 1 ปี ในฝั่งรายได้ อาจจะไม่ค่อยมีความซับซ้อน เพราะมักมีรายได้หลักของกิจการประเภทเดียว ทำให้การประมาณการจะง่าย เช่น กำหนดเป็นยอดรายได้ที่ต้องการ หรือ% ที่เพิ่มขึ้นของแต่ละไตรมาส เป็นต้น สำหรับส่วนของรายจ่าย มักจะไม่สามารถกำหนดยอดประมาณการเป็นก้อนเดียวได้ เพราะรายจ่ายมีหลายประเภท และแต่ละประเภทจะมีตัวขับเคลื่อน(driver) ที่แตกต่างกัน การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลขสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตัวเลขสำหรับรายได้ รายจ่ายที่ต้องทำได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน การวางแผนตัวเลขล่วงหน้า จะช่วยให้การทำธุรกิจสนุก เพราะมีเป้าหมาย และจะหาวิธีเพื่อทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุให้ได้ สุดท้ายเมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับตัวเลขที่วางแผนว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ พร้อมหาสาเหตุว่าอะไรเป็นปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบของตัวเลขเหล่านั้น เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณในครั้งถัดไป สำหรับในตอนถัดไป เราจะคุยกันในเรื่องการใช้เงินให้ถูกประเภท เช่น เงินกู้ที่มาระยะสั้นเพียง 3 เดือน แต่บริษัทนำไปลงทุนก่อสร้างสินทรัพย์ที่ใช้เวลานาน 1 ปี หรือเงินที่กู้มาระยะยาวแต่ใช้สำหรับใช้จ่ายในระยะสั้น ดีหรือไม่ดี และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจะมาไขคำตอบกันในตอนหน้า โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปีถึงจะทำลายทิ้งได้

การจัดการเอกสารบัญชีและภาษีอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ การเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินและภาษีไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่สำคัญด้วย เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปี สิ่งที่นักบัญชีหรือผู้ประกอบการต้องสงสัยเป็นแน่ว่าเหล่าเอกสารบัญชีต่างๆ ที่ได้รับมา หรือที่จัดทำระหว่างปี พอเราปิดงบการเงินเสร็จแล้ว จะทิ้งได้เลยไหม? หรือต้องเก็บต่อไปอีกกี่ปี? จะได้ไม่มีปัญหากับสรรพากร หน่วยงานอื่นๆ ในภายหลัง วันนี้ผมจะพาทุกคนมาดูกันว่าในประเทศเรามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารไว้อย่างไรครับ ก่อนที่เราจะไปอ้างอิงตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผมอยากขออธิบายเป็นภาษาที่ง่ายๆ คือ เราต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่บางหน่วยงานก็มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาในการจัดเก็บเอกสารได้ ทำให้เรามีหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสารที่นานขึ้น ตัวกฎหมายที่ให้อำนาจนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันต่อครับ เริ่มแรกจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 14 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ ตัวถัดมาคือการเก็บเอกสารภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87/3 ที่กำหนดเอกสาร 5 ประเภท ได้แก่  1.ต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ 2.สำเนาใบกำกับภาษีขาย 3.รายงานภาษีซื้อ 4.รายงานภาษีขาย5.รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี แต่อธิบดีกรมสรรพากรสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ PEAK ขอเล่า : และตัวสุดท้าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30-31 จะถูกนำมาใช้เมื่อกฎหมายใดๆ ให้สิทธิเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรียกตรวจเอกสาร แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ จะให้มีอายุความสูงถึง 10 ปี เท่ากับว่าผู้ประกอบการมีสิทธิโดนเรียกตรวจเอกสารย้อนหลังได้สูงถึง 10 ปีเลยครับ ตัวอย่างเช่น อายุความการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากร หรือกรณีที่บุคคลธรรมดามีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานจึงออกหมายเรียกแต่ก็ไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากรเช่นกัน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ภายในอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 สรุปแล้ว ทั้งกฎหมายบัญชีและภาษีพูดตรงกันคือให้ผู้ประกอบการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีและภาษีไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ก็สามารถขยายระยะเวลาเป็น 7 ปีได้ แต่ถ้ากฎหมายใดไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บเอกสารหรืออายุความการประเมินภาษีไว้ ก็ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดอายุความสูงถึง 10 ปี ดังนั้นการเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีแบบระมัดระวังที่สุดก็ควรจัดเก็บที่ 10 ปีครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดเก็บเอกสาร ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

22 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

วงจรเงินสด (Cash Cycle) สิ่งกำหนดโชคชะตา SMEs

สิ่งหนึ่งที่เรารู้มาจนถึงตอนนี้ว่าแม้ธุรกิจจะสร้างกำไรได้มากมายขนาดไหน แต่ถ้าบริหารเงินสดไม่ได้ดี ไม่เข้าใจการไหลเวียนของเงิน อาจทำให้ธุรกิจของเราสะดุด เพราะไม่มีเงินมาซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ได้ ใน Ep ก่อนหน้านี้ได้สอนให้เราได้รู้แล้วว่ากิจการเรามีปัญหาเรื่องเงินสดไหม ไม่ว่าจะเป็นการเช็คเงินคงเหลือ การดูเงินสดเข้าออกในแต่ละกิจกรรมของงบกระแสเงินสด รวมถึงการคำนวณระยะเวลาคงเหลือก่อนที่กิจการจะไม่มีเงินใช้ แต่คำตอบที่ยังไม่ได้หา คือ แล้วปัญหาเงินสดที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร? เรามีสิ่งหนึ่งที่จะนำมาช่วยไขคำตอบนี้ได้ คือ การวิเคราะห์ ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ วงจรเงินสด (Cash Cycle) คืออะไร? ในทางทฤษฎีเรามีตัววัดหนึ่งที่เรียกกันว่า ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ ซึ่งค่าที่ได้จะบอกจำนวนวันที่กิจการจะได้รับเงินสดจากการดำเนินงาน เราเรียกมันว่า ‘วงจร’ เพราะสูตรจะคำนวณระยะเวลาตั้งแต่ซื้อสินค้า ระยะเวลาที่สินค้าที่อยู่ในคลัง จนถึงระยะเวลาที่จะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เมื่อสินค้าถูกขายออกไป สรุปอีกครั้งคือ วงจรเงินสด จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะเวลา ได้แก่  1. การซื้อสินค้าและจ่ายเงินให้เจ้าหนี้  2. การเก็บสินค้าในสต๊อกไว้นานแค่ไหน  3. เมื่อขายสินค้าแล้วเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ภายในกี่วัน ซึ่งถ้าเราคำนวณทั้ง 3 เรื่องนี้ได้ ก็จะรู้ทันทีว่าปัญหาเงินสดไปอยู่ที่ส่วนไหนของกิจการ แต่ก่อนที่จะคำนวณขึ้นเป็นวงจรเงินสดได้นั้น เราต้องแยกคำนวณแต่ละส่วนก่อน จึงค่อยนำมาบวกหรือลบกัน เรามาเริ่มทีละส่วนกันได้เลยครับ 3 วงจรเงินสด (Cash Cycle) ที่ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์ วงจรที่ 1 : วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรสินค้าหรือระยะขายสินค้า คือ ตั้งแต่วันที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก จนเอาออกจากสต๊อกเพราะขายได้ ใช้เวลากี่วัน ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะขายของแต่ละชิ้นได้ ความเสี่ยงคือ เงินจม หรือสินค้าอาจเสียหรือล้าสมัยไปแล้ว ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ทุกๆครั้งที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก ไม่กี่วันก็มีคนซื้อ อาจเกิดจากเป็นสินค้าขายดี หรือกิจการบริหารสินค้าให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่สต๊อกของมากจนเกินไป ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะสินค้าเข้ามาและขายออกได้เร็ว โดยในสูตรจะใช้ ระยะขายสินค้า = ยอดสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นงวด ÷ ต้นทุนสินค้าที่ขาย x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 2 : วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้หรือระยะเก็บหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ขายสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะเก็บเงินได้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ซึ่งไม่ควรเกินกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้า แต่ถ้าเกินแปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินเกินกำหนดชำระ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการเก็บเงินจากลูกหนี้ ถ้าค่าต่ำกว่าเครดิตเทอม แปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินก่อนกำหนดชำระ ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี และจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าจำนวนวันต่ำกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้าโดยในสูตรจะใช้ ระยะเก็บหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 3 : วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้หรือระยะจ่ายหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ซึ่งอาจหมายถึงการได้รับเครดิตเทอมที่นาน หรือเราตั้งใจจ่ายหนี้ช้ากว่ากำหนดก็ได้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการจ่ายหนี้เร็ว ซึ่งอาจหมายถึงกิจการมีความน่าเชื่อถือน้อยจึงได้รับเครดิตเทอมน้อย หรืออาจเพราะของที่เราซื้อมักจะซื้อขายเป็นเงินสดมากกว่าการให้เครดิตเทอม ดังนั้น จำนวนวันยิ่งมาก ยิ่งดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ค่าควรมากเพราะเราได้เครดิตเทอมที่นาน ไม่ใช่จากการที่จ่ายเกินกำหนดชำระ เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจพังลงได้ โดยในสูตรจะใช้ ระยะจ่ายหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) ดังนั้น เทคนิคบริหารวงจรกระแสเงินสดให้ธุรกิจคล่องตัว คือ1.ขายสินค้าได้เร็ว2.เก็บเงินได้เร็ว 3.จ่ายหนี้ให้ช้า โดยนำจำนวนวงจรย่อยทั้ง 3 วงจรมาบวกลบกันตามสูตร วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาชำระหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า เงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือเยอะ ซึ่งเกิดความเสี่ยงที่กิจการจะไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอในการชำระหนี้ได้ทัน หรือไม่มีเงินมาซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายได้ ถ้า ‘จำนวนวันมาก’ แปลว่าเราสามารถบริหารจัดการเปลี่ยนลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือได้ดี และมีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอจะนำไปชำระหนี้ และซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายต่อได้ ดังนั้น กิจการที่มีสภาพคล่องที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เมื่อคำนวณวงจรเงินสด (Cash Cycle) มักได้จะค่าจำนวนวันติดลบ  การคำนวณวงจรเงินสด จะทำให้เรารู้ว่าภาพรวมการหมุนเวียนของเงินสดว่ามีปัญหาไหม ซึ่งถ้าค่าที่คำนวณเป็นบวก แสดงว่ากิจการกำลังมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานเมื่อรู้ว่ามีเงินสดมีปัญหาแล้ว เราสามารถเข้าไปค้นหาต้นตอที่วงจรย่อยทั้ง 3 วงจรต่อได้ และลองดูว่าอะไรที่ทำให้แต่ละวงย่อยมีปัญหา เช่น ลูกหนี้จ่ายเกินกำหนดชำระเสมอ หรือสินค้าส่วนใหญ่ที่สต๊อกไว้ขายไม่ค่อยดี เป็นต้น สรุปอีกครั้ง คือ วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) ตอนนี้เราทราบกันแล้วทั้งวิธีดูว่าเงินสดมีปัญหาหรือไม่ และปัญหานั้นเกิดจากอะไร คำถามถัดมาคือ เงินสดต้องมีจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเพียงและปลอดภัยในการทำธุรกิจ? ผมเตรียมวิธีคำนวณให้ง่ายๆ ไว้ให้ทุกท่านแล้ว ในบทความธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 ส.ค. 2024

PEAK Account

13 min

“บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” (ตอนที่2)

ใน Ep นี้เป็นภาคต่อจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” เดิมเราพูดถึงเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องแรก คือ เรื่อง “ผลประกอบการ” ซึ่งประกอบไปด้วย “รายได้” “ค่าใช้จ่าย” และ “กำไร” ว่าคืออะไรและสำคัญอย่างไร ก่อนจะเริ่มเรื่องถัดไป เพื่อเป็นการทบทวน ผมขอสรุปอีกครั้งว่า 2 เรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรู้มีอะไรกันบ้างครับ 2 เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด ตอนที่ 2 : บริหารเงินสดและกระแสเงินสดอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน “82% ของธุรกิจเจ๊งเพราะเรื่องเงิน!” นี้เป็นงานวิจัยที่ U.S. Bank เคยทำขึ้น โดยสาเหตุอาจมาจากการละเลยเรื่องเงิน หรือการบริหารเงินได้ไม่ดีพอ จากประสบการณ์ ผมพบว่าผู้ประกอบการหลายรายประเมินค่าการบริหารเงินต่ำเกินไป ชอบคิดว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย เช่น “ขายของได้รับเงิน เอาเงินที่รับมาไปซื้อของมาขายต่อ แค่นั้นเอง”  ถ้าในโลกแห่งความเป็นจริงเงินที่เราได้รับมาในแต่ละวันมันมากกว่าเงินสดจ่ายเสมอ ประโยคข้างบนคงเป็นเรื่องจริง สิ่งที่ตลกร้ายคือ ความจริงมันตรงกันข้าม มีหลายเหตุการณ์ที่เข้ามาทำให้เงินสดบางครั้งไม่เพียงพอต่อการจ่าย และที่สำคัญเคยเกิดขึ้นกับธุรกิจที่มีรายได้ และกำไรก็ดีมาแล้ว ทำไมจึงเป็นแบบนั้นได้ สาเหตุเบื้องหลังคืออะไร มาดูกันต่อครับ ทำไมเงินสดมีปัญหา? ท่านผู้อ่านเคยเจอสถานการณ์ที่ เราต้องขายของเป็นเงินเชื่อ แต่ซื้อของต้องจ่ายเป็นเงินสด หรือขายของเป็นเงินเชื่อ แต่เก็บหนี้ไม่ได้ หรือขายของได้ แต่รายจ่ายมีเยอะกว่า ไหมครับ? บางคนอาจแย้งว่าก็ขายของเป็นเงินสดสิ จะให้ติดหนี้ทำไม บางธุรกิจถ้าไม่ขายเชื่อ ลูกค้าก็จะหนีไปซื้อคนอื่นครับ จะรอแต่แต่ขายเป็นเงินสดธุรกิจคงไม่รอด บางคนแย้งว่าลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ก็ไปตามทวงสิ คุณเคยได้ยินคำว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ไหมครับ? แหละครับคำตอบ วิธีวัดว่าเงินสดกำลังจะมีปัญหาหรือไม่? แม้เราจะพยายามแก้ปัญหาต่างๆ ให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาได้ตลอด ผู้ประกอบการเองต้องตรวจสอบสถานะการเงินของตัวเองอยู่เสมอว่าคล่องตัวหรือมีความเสี่ยงอยู่หรือไม่ ตามวิธีดังนี้ 1. เงินสดและเงินฝากธนาคาร ทั้งเงินสดและเงินฝากธนาคารเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเอาไปใช้คำนวณสถานะทางการเงิน ดังนั้นเราต้องมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่ปัญหาที่เจอคือ กิจการหลายแห่งไม่ได้บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ใช้เงินส่วนตัวปนกับเงินกิจการทำให้เงินสดไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงยากมากที่จะคำนวณได้ว่าเงินสดเงินฝากธนาคารที่มีอยู่เพียงพอการใช้จ่ายในธุรกิจหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำอันดันแรก คือ แยกเงินส่วนตัวกับเงินกิจการออกจากกัน บันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ตรวจสอบเงินที่มีอยู่จริงกับเงินที่บันทึกบัญชี แล้วดูว่าตอนนี้มีเงินสดคงเหลือในกิจการกี่บาท เพียงพอจะจ่ายค่าใช้จ่ายในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือในเดือนหน้าหรือไม่ 2. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (OCF) ใครที่ยังไม่รู้จักคำว่า “กระแสเงินสด” ให้เราจินตนาการว่า “เงินสด” คือเงินที่คงเหลือในกระเป๋า แต่ “กระแสเงินสด” คือ การไหลเข้าของเงินที่รับและการไหลออกของเงินที่จ่ายออกไป กระแสเงินสด จะบอกเราได้ว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี เรารับเงินหรือจ่ายเงินมากกว่ากัน แต่จะไม่ได้บอกว่าเงินสดคงเหลือเท่าไหร่ คนที่เคยอ่านงบกระแสเงินสด จะพบว่างบกระแสเงินสดจะแสดงการไหลเวียนของเงินเป็น 3 ส่วน ดังนี้ แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” เพราะการไหลเวียนของเงินสดจากการทำธุรกิจ ไม่รวมการลงทุนและจัดหาเงิน โดยถ้าเงินรับมากกว่าเงินจ่าย แบบนี้ดี แต่ถ้าเงินจ่ายมากกว่าเงินรับบ่อยๆ แสดงว่าเราเก็บเงินจากลูกหนี้หรือขายของไม่ค่อยได้ แต่รายจ่ายมีทุกวัน แบบนี้จะเสี่ยงมาก เพราะสุดท้ายธุรกิจหาเงินมาจ่ายไม่ทัน 3. กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) แค่อ่านชื่อหัวข้อก็ยากแล้ว แต่จริงๆ “กระแสเงินสดสุทธิ” มันคือจับกระแสเงินสดทั้ง 3 ส่วนในงบกระแสเงินสดมารวม แล้วสรุปว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี กิจการมีเงินสดรับหรือเงินจ่ายมากกว่ากัน ในเมื่อดู “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แล้ว ทำไมยังต้องดู “กระแสเงินสดสุทธิ” อีก? เพราะมีบางกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าดีมาก เก็บเงินได้ดี แต่ดันเอาเงินไปลงทุนมากกว่าเงินที่จากการดำเนินงาน จนธุรกิจสะดุด ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่า “ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ยังเจ๊งอยู่ดี” สรุปเราต้องให้ความสำคัญกับ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แต่ก็อย่าละเลยดูภาพรวมของกระแสเงินสดผ่าน “กระแสเงินสดสุทธิ” ด้วยครับ PEAK ขอเล่า : 4. ระยะเวลาจนกว่าเงินจะหมด (Runway) Runway พอแปลเป็นไทยนี้ดูแปลกมากเลยครับ การคำนวณนี้จะเหมาะกับกิจการที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ และไม่รู้รายรับจะครอบคลุมรายจ่ายเมื่อไหร่ สิ่งที่เราต้องกังวลคือเงินจ่ายออกทุกวัน แต่เงินสดคงเหลือที่มีอยู่จะเพียงพอได้อีกกี่วันก่อนเงินจะหมด  การคำนวณง่ายมากเลยครับ ตัวอย่าง เช่น เงินสดคงเหลือตอนนี้มี 100,000 บาท รายได้ต่อเดือน 20,000 บาท รายจ่ายต่อเดือน 30,000 บาท คุณจะเห็นว่ารายจ่ายมากว่ารายรับ 10,000 บาทต่อเดือน Runway = เงินสดคงเหลือ / รายจ่ายส่วนเกิน จากตัวอย่าง Runway = เงินสด 100,000 / รายจ่ายส่วนเกิน 10,000 = 10 แปลว่าถ้ารายจ่ายยังมากกว่ารายรับในอัตราเท่าเดิม เงินที่เหลืออยู่ใช้ได้แค่อีก 10 เดือนเท่านั้น ถ้าหาเงินจากที่อื่นมาหมุนไม่ได้ เท่ากับธุรกิจต้องปิด ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้เลย คือ ลองดูเงินคงเหลือทั้งเงินสดและเงินฝาก และดูว่าแต่ละเดือนเฉลี่ยแล้วเราจ่ายมากกว่ารับกี่บาท ลองคำนวณดูครับ แต่ผมเชื่อว่าธุรกิจของผู้อ่านคงมีเงินเข้ามากกว่าเงินจ่ายอยู่แล้วล่ะครับ PEAK ขอเล่า : ทำไมการบริหารเงินสดและกระแสเงินสดถึงสำคัญ การบริหารเงินสด เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่ยังไม่เกราะป้องกันทางการเงินที่ไม่แข็งแรง ทั้งในเรื่องความเข้าใจในการบริหารเงินสด รวมถึงการเข้าแหล่งเงินทุนได้ยากกว่าบริษัทใหญ่ๆ ดังนั้นควรเข้าใจในการบริหารเงินสด และการติดตามจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ถ้าในสถานะที่เงินคล่องก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเงินเริ่มฝืด แล้วเรารู้ตัวทันว่ากำลังจะมีปัญหา เราจะหาทางออกได้เร็วขึ้น เช่น เตรียมหาแหล่งเงินทุนล่วงหน้า บริหารจัดการค่าใช้จ่าย ซึ่งคงจะเป็นเรื่องเลวร้ายมากๆ ถ้าไปรู้ตัวอีกทีตอนเงินหมดแล้วครับ และแม้กิจการจะทำกำไรได้มากมายแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีเงินสดมาหมุนเวียนเพื่อซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ก็จะทำให้กิจการขาดสภาพคล่อง หรือร้ายแรงที่สุดอาจโดนเจ้าหนี้ฟ้องร้องและปิดกิจการได้เลยครับ สำหรับ Ep ถัดไป ผมจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบว่า เมื่อเรารู้แล้วว่ากิจการกำลังจะมีปัญหาด้านเงินสด แล้วปัญหาหาในอยู่ในส่วนไหนของกิจการ เราจะพบคำตอบนี้ได้จากสิ่งที่เรียกว่า วงจรเงินสด หรือ Cash Cycle  โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

15 ส.ค. 2024

PEAK Account

12 min

บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร (ตอนที่ 1)

การบริหารธุรกิจให้มีระบบและประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการบัญชีที่ต้องตรงไปตรงมา บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจพื้นฐานของการจัดการบัญชี เพื่อช่วยในการบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบ และลดความสับสนในการบริหาร สำหรับ Ep นี้ ผมจะผู้อ่านทุกท่านไปลงลึกในเรื่องของการใช้ข้อมูลบัญชีและทำความเข้าใจผลประกอบการจากการอ่านงบกำไรขาดทุน เพื่อบริหารกิจการให้มีระบบ มาติดตามกันต่อได้เลยครับ พอพูดถึงเรื่องของ “การบริหาร” เอย “ระบบบัญชี” เอย หลายคิดจะคิดว่ามันต้องเป็นเรื่องยาก หรือซับซ้อน ละก็ไม่อยากจะไปแตะมันแน่ๆ แต่! สิ่งที่เราจะมาพูดในบทความนี้ เราจะไม่ได้ลงลึกในเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะผู้ประกอบการทุกคนจะต้องรู้ ถ้าไม่รู้ก็อาจจะตามหลังคนอื่น และจะพลาดสิ่งดีๆไปครับ เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานและเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจ เพราะธุรกิจจะอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีครับ ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด ตอนที่ 1 ทำความเข้าใจ “ผลประกอบการ” ช่วยบริหารธุรกิจได้ตรงจุด มาเริ่มกันเลยในเรื่องที่ 1  “ผลประกอบการ” ถ้ามองง่ายๆ ก็คือบทสรุปจากการทำธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ผลประกอบการใน 1 ปีที่ผ่านมา รายได้เป็นไง ค่าใช้จ่ายเยอะไหม กำไรไหม หรือขาดทุน บางคนอาจจะเรียกมันว่ารายรับ รายจ่ายด้วยซ้ำโดยปกติมันจะแสดงบนงบกำไรขาดทุนประจำปีของบริษัทอยู่แล้ว แต่ถ้าใครเคยอ่านจะเห็นว่ามันมีข้อความหลายบรรทัดเลย แต่บรรทัดที่ผู้ประกอบต้องอ่านเป็นมีดังนี้ 1. รายได้ (Revenue) รายรับก่อนหักรายจ่าย เช่น ถ้าธุรกิจขายสินค้า ก็เป็นรายได้จากการขายสินค้าที่ยังไม่ได้หักต้นทุนสินค้า และถ้าธุรกิจให้บริการ ก็เป็นรายได้จากการให้บริการที่ยังไม่ได้หักค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือค่าแรง เป็นต้น การรับรู้รายได้ทำให้เราทราบว่าใน 1 ปีที่ผ่านมา เราขายสินค้าหรือให้บริการได้มากหรือน้อยแค่ไหน บางคนเอารายได้ที่เกิดขึ้นจริง (actual) เทียบกับรายได้ที่ตั้งเป้าหมาย (budget) ไว้ เพื่อดูว่าทำยอดขายได้ตามเป้าไหม หรือบางคนก่อนทำธุรกิจคิดว่าต้องรุ่ง ต้องขายดีแน่ๆ พอมาขายจริง เห็นตัวเลขจริง ทำให้รู้ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด หรือเอารายได้แต่ละปีมาเทียบกันเพื่อดูอัตราการเติบโต (growth rate) ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เช่นกัน รายได้เป็นจุดแรกที่เราต้องให้ความสนใจมากๆ เพราะธุรกิจจะไปต่อได้หรือไม่ ก็ต้องดูว่าผู้ประกอบการสามารถหาอาหาร(รายได้)ที่ทำให้กิจการอยู่รอดนั้นเพียงพอหรือไม่ 2. ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense) ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนสินค้า เงินเดือนค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเล็กๆน้อยๆ ถ้าเราไปโฟกัสทุกรายจ่าย คุณคงเป็นลมไปก่อน แต่โชคดีที่ยังมีเทคนิคนำมาช่วยได้ ก็คือ เราต้องให้ความสนใจเฉพาะต้นทุนสินค้าและบริการ ซึ่งแต่ละธุรกิจอาจจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจขายเครื่องสำอางต้นทุนอาจจะเป็น ค่าผลิตสินค้า หรือธุรกิจให้บริการ เช่น โรงแรม ต้นทุนอาจจะเป็นค่าจ้างพนักงานให้บริการ 3. กำไรขั้นต้น (Gross Profit) “กำไรขั้นต้น” คืออะไร? ถ้าพูดว่า “กำไร” เฉยๆ คนก็จะเข้าใจว่าอ๋อ กำไร = รายรับ หัก รายจ่าย ไง แต่พอมีคำว่า “ขั้นต้น” หลายคงสับสนว่ามันคือตัวเดียวกันหรือป่าว สรุป กำไรขั้นต้น คือ รายได้ หัก ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ เช่น ธุรกิจขายสินค้าได้เงิน 1,000 บาท ต้นทุนสินค้า 400 บาท ค่าจ้างพนักงานขายวันละ 300 บาท ดังนั้นกำไรขั้นต้นเท่ากับ 600 บาท (รายได้ 100 บาท หัก ต้นทุนค่าสินค้า 400 บาท) ค่าจ้างพนักงานขายถือว่าเป็นต้นทุนทางอ้อมเลยไม่นำมาคิดในกำไรขั้นต้น สิ่งที่กำไรขั้นต้นบอกเรา คือ เวลาขายสินค้า 1 ชิ้นจะได้กำไรกี่บาท จากตัวอย่างจะจะเห็นว่าถ้าขาย 1 ชิ้นได้กำไรขั้นต้น 600 บาท ถ้าอยากได้กำไรมาก ก็ต้องขายให้ได้หลายๆชิ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่าไหร่ ทำไมยังไม่ต้องคำนึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างคนขาย ส่วนตัวมองว่า กำไรขั้นต้น มีแนวคิดคือ หนึ่ง ของที่นำมาขาย 1 ชิ้นต้องได้กำไรก่อน เช่น ขายของ 1,000 บาท แต่ต้นทุนสินค้า 1,200 บาท แบบนี้ก็ไม่ต้องไปสนใจค่าใช้จ่ายอื่นแล้ว ยังไงก็เจ๊ง 100% สอง ถ้าขายของแล้วยังมีกำไรขั้นต้น แต่ค่าใช้จ่ายอื่นเยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเราสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ ให้ลดลงได้ทีหลัง  ดังนั้นกำไรขั้นต้น เป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะผู้ประกอบการบางคนไม่เคยรู้ว่าต้นทุนสินค้ามากกว่าราคาขายที่ตั้งไว้ ทำให้เงินสดขาดมือ สอดคล้องกับวลีที่ว่า “ยิ่งขาย เท่ากับ ยิ่งเจ๊ง” ทำไมต้องสนใจค่าใช้จ่ายหลัก? เพราะมันมีจำนวนมูลค่าที่สูงและส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ถ้าเราไม่สนใจหรือไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ วันหนึ่งมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสูงกว่ารายได้จนธุรกิจขาดทุนการควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถทำได้หลายวิธี แล้วแต่ลักษณะประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจขายสินค้า ถ้าเรารู้ว่าสินค้าไหนขายดี ขายได้เยอะ เราสามารถเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์เพื่อซื้อสินค้าล็อตใหญ่แต่ราคาต่อชิ้นถูกขึ้นได้ แม้แต่ค่าแรงงานที่เราสามารถหาเทคโนโลยีมาช่วยให้ลดการจ้างแรงงานคนได้ เป็นต้น 4. กำไรสุทธิ (Net Profit) แล้วก็มาถึงตัวสุดท้าย ตัวทีเด็ดของผลประกอบการเลย คือ “กำไรสุทธิ” เราสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เลย สูตรคือ กำไรสุทธิ = รายได้ – รายจ่ายทั้งหมดของธุรกิจ ถ้ารายได้มากกว่ารายจ่าย แปลว่าธุรกิจในปียังไปได้ดี สามารถทำกำไรได้ แปลว่ายิ่งขายยิ่งได้กำไร แต่ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย จนเกิด “ขาดทุนสุทธิ” อันนี้ต้องดูสาเหตุแล้วครับว่าเกิดอะไร เช่น รายได้น้อยกว่าทุกปี หรือมีรายจ่ายบางตัวสูงขึ้นมากๆในปีนี้ เป็นต้น นั่นแปลว่าถ้าธุรกิจมีกำไร ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเราก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าธุรกิจขาดทุนอาจเริ่มเห็นสัญญาณที่ธุรกิจกำลังเผชิญปัญหาอะไรบางอย่าง ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ อาจจะเจ๊งจริงๆก็ได้ครับ อย่างน้อยๆ ผู้ประกอบการมือใหม่ หรือคนที่ไม่เคยเข้าใจตัวเลขเลย ก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่ควรรู้และเข้าใจคือเรื่องของผลประกอบการ เพราะค่อนข้างตรงตัว และจับต้องได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น รายได้ (Revenue) กำไรขั้นต้น (Gross Profit) ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense) หรือกำไรสุทธิ (Net Profit) การดูตัวเลขและวิเคราะห์ผลอย่างถูกต้องได้นั้น ตัวเลขเหล่านี้ต้องได้รับความใส่ใจก่อน คือ บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา เราจึงจะสามารถนำข้อมูลไปตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ลองจินตนาการว่าถ้าบันทึกบัญชีผิดๆ ถูกๆ ข้อมูลที่เราเห็นคงเอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลยครับเอาล่ะ! นี่แค่เรื่องแรกนะครับ ใน Ep ถัดไป เราจะยังอยู่กับหัวข้อเดิม แต่จะไปดูในเรื่องที่เหลืออยู่อีก 4 เรื่อง แอบบอกก่อนเลยว่า เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด นี้สำคัญสุดๆ เลยครับ เพราะ SMEs หลายรายเจ๊งก็เพราะบริหารเงินสดไม่เป็นนี้แหละครับ   และสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน Ep. 1 สามารถอ่านได้ที่ “รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 ก.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial Accounting Tax Accounting วัตถุประสงค์ บัญชีการเงิน บัญชีภาษี เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษี มาตรฐาน/กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร  ความรู้ที่ใช้ บัญชีตามมาตรฐาน กฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

13 มิ.ย. 2024

PEAK Account

10 min

ปิดงบการเงินเสร็จแล้ว…ต้องขอเอกสารอะไรบ้างจากสำนักงานบัญชี?

การปิดงบการเงินถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการปิดงบของงานบัญชี แต่ยังมีเอกสารสำคัญอีกหลายรายการที่ผู้ประกอบการควรขอคืนจากสำนักงานบัญชีเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้นในบทความนี้จะพาผู้ประกอบการมาเช็กลิสต์เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย ทำไมต้องขอเอกสารคืนจากสำนักงานบัญชี? โดยทั่วไป การปิดงบการเงินจะดำเนินการโดยการจ้างสำนักงานบัญชีหรือนักบัญชีที่รับทําบัญชีปิดงบ ซึ่งจะทำการบันทึกรายการธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในช่วงรอบบัญชี ปรับปรุงบัญชี ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และจัดทำงบการเงิน  แต่หลังจากปิดงบแล้ว ผู้ประกอบการควรขอเอกสารคืนด้วย การขอเอกสารคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบ มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการหลายประการ ช่วยให้มีหลักฐานครบถ้วน ป้องกันความเสี่ยง และประกอบการทำธุรกรรมอื่นๆ ได้สะดวก ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรเก็บเอกสารทางบัญชีไว้เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อป้องกันความเสี่ยงและเพื่อใช้ประกอบการตรวจสอบในอนาคต นอกจากเอกสารที่ระบุข้างต้นแล้ว ผู้ประกอบการยังสามารถขอเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมจากสำนักงานบัญชีได้ตามความต้องการ 1. เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน เอกสารทางบัญชีเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้ประกอบการตรวจสอบภาษี หรือใช้ประกอบธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ 2. เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เจ้าของธุรกิจและผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางบัญชี เปรียบเทียบกับเอกสารต้นฉบับ เผื่อมีข้อผิดพลาด 3. เพื่อประกอบการวิเคราะห์ ข้อมูลในเอกสารทางบัญชีสามารถนำมาวิเคราะห์ ประเมินผลการดำเนินงาน วางแผนธุรกิจ และติดตามความก้าวหน้า 4. เพื่อป้องกันกรณีเกิดข้อพิพาท เอกสารทางบัญชีสามารถใช้เป็นหลักฐานในกรณีเกิดข้อพิพาททางการเงิน เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังจากปิดงบการเงิน เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบ บริษัท มีความสำคัญต่อทั้งทางบัญชีและภาษี การเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เอกสารที่ต้องขอคืนจากสำนักงานบัญชีหลังปิดงบการเงิน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้ 1. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี 1.1 สมุดรายวัน (JV)  สมุดรายวัน เป็นเอกสารที่ใช้บันทึกรายการค้าทุกอย่างของกิจการ มีทั้งหมด 5 เล่ม ประกอบด้วย 1.2 บัญชีแยกประเภท(GL)  บัญชีแยกประเภท คือ บัญชีที่รวบรวมการบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นไว้เป็นหมวดหมู่ หลังจากการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป เรียบร้อยแล้ว จัดเรียงลำดับผังบัญชีของกิจการ เช่น บัญชีเงินสด เป็นบัญชีที่รวบรวมรายการค้าที่เกี่ยวกับเงินสด บัญชีลูกหนี้ เป็นบัญชีที่รวบรวม รายการค้าที่เกี่ยวกับลูกหนี้ การบันทึกรายการในแต่ละบัญชี จะบันทึกไม่ปะปนกันเพื่อให้ตรงตามข้อเท็จจริง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และสะดวก ในการค้นหาหรือแก้ไขข้อผิดพลาด 1.3 งบทดลอง(TB)  งบทดลอง คือ รายงานที่สรุปยอดคงเหลือของแต่ละบัญชี ใช้สำหรับตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปจัดทำงบการเงิน เป็นเอกสารที่แสดงภาพรวมของสถานะทางการเงิน ณ สิ้นงวด 1.4 งบการเงิน งบการเงิน เอกสารสำคัญที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ประกอบด้วย งบฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด(ถ้ามี) และหมายเหตุประกอบงบการเงิน 1.5 หน้ารายงานผู้สอบบัญชี หน้ารายงานผู้สอบบัญชี ผู้สอบจะแสดงความเห็นว่างบการเงินของกิจการถูกต้อง ผิดเฉพาะบางส่วน หรือไม่ถูกต้องเลย รายงานความเห็นผู้สอบบัญชีจึงเป็นอีกหนึ่งข้อมูลสำคัญที่แสดงไว้ในงบการเงิน เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลตามมาตรการบัญชีที่รับรองทั่วไป 1.6 เอกสารรายรับ-รายจ่าย เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ รวมถึงสัญญาต่างๆ 1.7 รายละเอียดประกอบยอดสินทรัพย์ หนี้สินคงเหลือ เช่น ทะเบียนทรัพย์สิน ทะเบียนสินค้า รายละเอียดลูกหนี้ และเจ้าหนี้คงเหลือ 2. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาษี 2.1 แบบนำส่งภาษี แบบนำส่งภาษี เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับรายงานข้อมูลรายรับ-รายจ่าย และเสียภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากร มีหลายแบบสำหรับประเภทของภาษี เช่น ภ.ง.ด. 1, ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53 , ภ.ง.ด. 51, ภ.ง.ด.51, ภ.พ. 30 2.2 ใบแนบแบบภาษี  ใบแนบแบบภาษี คือ เอกสารเพิ่มเติมที่ใช้ประกอบแบบนำส่งภาษี เพื่อแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย หรือข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษี 2.3 ใบเสร็จรับเงินค่าภาษี นอกจากเอกสารที่ระบุไว้ข้างต้นแล้ว อาจมีเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมที่อาจจำเป็น ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจและความต้องการของผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการ ควรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจากสำนักงานบัญชีที่รับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่าได้รับเอกสารครบถ้วนและตรงตามความต้องการ จะเห็นว่ามีเอกสารบัญชีหลากหลายประเภทจนอาจสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดการด้วยตนเอง สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการจัดการเอกสารบัญชีด้วยตนเอง ทาง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยจัดการเอกสารธุรกิจได้ง่ายๆ ให้คุณทำธุรกิจ อย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโตให้ธุรกิจของคุณก้าวไปสู่ความสำเร็จ

17 พ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นสำคัญ : ใบเสร็จรับเงินคืออะไร? ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่มีการออกโดยผู้รับเงินหรือเจ้าของกิจการทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้นไป เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในใบเสร็จรับเงินนั้นจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันตลอดจนราคาที่ตกลงกันให้ครบถ้วน เพราะการออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำทันทีที่มีการรับเงินมาไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากบิลเงินสดอย่างไร? หลายคนมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินว่าเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ นั้นมีอยู่ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นเอกสารที่มักออกเมื่อมีรายการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีราคาสูง มีบริการดูแลหลังการขาย ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้โดยนำชื่อและที่อยู่ให้กับทางร้านค้าหรือบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั้น เพื่อให้ร้านค้านั้นออกใบเสร็จรับเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง 2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นใบเสร็จที่ได้รับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใบเสร็จรูปแบบนี้จะมีการแสดงรายการสินค้าและบริการคล้ายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี แต่จะไม่มีการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบเสร็จรับเงินต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ หากเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ควรมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” เด่นชัด และมีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าและบริการระบุอยู่ในใบเสร็จรับเงินด้วย ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ 1. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีบุคคลธรรมดาใช้บิลเงินสด/ใบเสร็จรับเงิน 2. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีนิติบุคคล ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี 3. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีไม่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินไม่ได้ หากไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า มีบทลงโทษอย่างไร? ในกรณีผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ไม่ยอมออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบเสร็จรับเงินและตัวอย่างใบเสร็จรับเงินที่สร้างจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสร็จรับเงิน สรุป ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันการชำระเงินของเจ้าของธุรกิจ ควรทำการตรวจสอบข้อมูลในใบเสร็จรับเงินและเก็บใบเสร็จรับเงินไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

15 พ.ค. 2024

PEAK Account

13 min

ทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าได้ง่ายๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่

ประเด็นสำคัญ : บัญชีรายรับรายจ่ายคืออะไร? บัญชีรายรับรายจ่าย คือ กระบวนการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายสำหรับกิจการที่มีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เหตุผลที่ร้านค้าควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย การเปิดร้านค้าเป็นของตนเองไม่ว่าจะร้านค้าที่มีหน้าร้านหรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เห็นผลประกอบการระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เมื่อทางร้านค้าเห็นตัวเลขบัญชีที่เกิดขึ้นจะทำให้วางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ว่าค่าใช้จ่ายใดควรลดลงเพื่อประหยัดต้นทุน สร้างผลกำไรสูงขึ้น หรือควรไปลงทุนกับสินค้าใดจึงจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นต้น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้ามีประโยชน์อย่างไร? เมื่อร้านค้ามีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประการ ดังนี้ ควรเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องมีในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ก็คือ “แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้นประกอบไปด้วย “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ รายละเอียดในแบบฟอร์มรายงานเงินสดรายรับ-รายจ่าย แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้  ตัวอย่างการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าแพลตฟอร์มต่างๆ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง e-Commerce e-Commerce คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดีจะช่วยสร้างความสะดวกให้ผู้ประกอบการธุรกิจ e-Commerce หลายๆ ประการ เช่น “ข้อมูลเยอะมาก นักบัญชีทำไม่ทัน ลองเชื่อมระบบดู” การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Marketplace Marketplace ก็คือ แพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมาก ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะได้มาเจอกัน ตัวอย่าง Marketplace ยอดนิยมที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ก็คือ Shopee Lazada  โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้คนขายของออนไลน์ออกใบเสร็จรับเงินได้ง่ายๆ จัดการงานบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Social Commerce Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ LINE Shopping เป็นต้น การขายในลักษณะนี้ลูกค้าจะได้ปฏิสัมพันธ์กับทางร้านค้าโดยตรง ทำให้ธุรกิจสามารถทราบความต้องการ และเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีการเชื่อมต่อหลากหลายโปรแกรมพันธมิตร เพื่อจัดการงานขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการรายการสั่งซื้อ การบันทึกบัญชี หรือการจัดการสต็อกสินค้า เป็นต้น  ต้องการนักบัญชีช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร? สำหรับร้านค้าที่ต้องการนักบัญชีเข้ามาช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร PEAK ให้บริการรับทำบัญชีที่แตกต่าง เน้นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ธุรกิจมีบัญชีที่เป็นระบบ สามารถใช้ข้อมูลงบการเงินเพื่อการตัดสินใจได้ และประสบความสำเร็จในระยะยาว เราดูแลงานจดทะเบียนบริษัท งานจัดการภาษี และการทำบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นรากฐาน สำหรับการเติบโตของธุรกิจคุณ พร้อมทั้งช่วยให้คุณเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจของคุณ แล้วให้เราดูแลเรื่องบัญชี“ สรุป การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจร้านค้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยให้ได้เห็นสถานะทางการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจในระยะยาว หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่ควรละเลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

13 พ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

ตัวอย่างแบบฟอร์มใบเสนอราคา และรายละเอียดที่ต้องมีในเอกสาร

ประเด็นสำคัญ ทำความรู้จัก “ใบเสนอราคา” ใบเสนอราคาเป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้กับลูกค้าหรือผู้ที่สนใจสินค้าหรือบริการนั้นๆ เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลที่ควรมีในใบเสนอราคาจะประกอบไปด้วยรายการสินค้าและบริการที่ชัดเจน มีรายละเอียดเงื่อนไข ค่าใช้จ่าย ครบถ้วน เพื่อให้ผู้สนใจนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ อีกทั้งยังช่วยส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย ความสำคัญของใบเสนอราคา ใบเสนอราคามีความสำคัญต่อใบเสนอราคาทั้งในแง่ของการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และความน่าเชื่อถือของบริษัท ดังนี้ รูปแบบการทำฟอร์มใบเสนอราคา การจัดทำใบเสนอราคาโดยทั่วไปนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาแบบ Manual 2. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชี รายละเอียดที่ต้องมีในฟอร์มใบเสนอราคา ใบเสนอราคาประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่  ส่วน Header ประกอบด้วย ส่วน Description ประกอบด้วย ส่วน Footer ประกอบด้วย  ตัวอย่างเอกสารแบบฟอร์มใบเสนอราคา ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาไทย ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาอังกฤษ การสร้างใบเสนอราคา ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถสร้างใบเสนอราคาได้ง่ายๆ ในไม่กี่นาที ครบถ้วน ถูกต้องในทุกรายละเอียด พบกับขั้นตอนสร้างใบเสนอราคาจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสนอราคา สรุป ใบเสนอราคาเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ออกให้กับลูกค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลในใบเสนอราคาควรมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

10 พ.ค. 2024

PEAK Account

11 min

ความสำคัญของใบแจ้งหนี้คืออะไร? ต่างจากใบวางบิลอย่างไร?

ประเด็นสำคัญ ก่อนอื่นต้องขอแนะนำใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ก่อน… ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ รวมไปถึงบริษัทต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดของสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายและกำหนดวันที่ลูกค้าต้องจ่ายชำระกับทางบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้นี้ส่วนใหญ่มักจะใช้กับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ หรือธุรกิจที่มีการใช้เครดิตในการชำระเงิน รวมไปถึงพ่อค้า – แม่ค้าที่มีธุรกิจขายส่งสินค้าจำนวนมาก เพื่อให้ร้านค้ามีความน่าเชื่อถือ ใบแจ้งหนี้คืออะไร? ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว บริษัทหรือผู้ประกอบการจะออกใบแจ้งหนี้ทุกครั้ง เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่ามีสินค้าที่ซื้อไปทั้งหมดเท่าไหร่? ต้องชำระเงินเท่าไหร่? และกำหนดชำระเงินเมื่อไหร่? พูดง่ายๆ ใบแจ้งหนี้ก็เปรียบเสมือนใบสรุปรายการ เมื่อมีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น ใบแจ้งหนี้จะบอกรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้ขาย และลูกค้าเข้าใจตรงกัน โดยไม่เกิดความเข้าใจผิด ใบวางบิลคืออะไร? ใบวางบิล (Billing Note) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีใบแจ้งหนี้ แจ้งค่าใช้จ่าย และระยะเวลากำหนดวันที่เรียกเก็บเงินแล้ว ใบวางบิลจะถูกออกเมื่อถึงกำหนดชำระเงินตามที่ใบแจ้งหนี้ได้บอกไว้ โดยจะรวมยอดคงเหลือที่ต้องชำระทั้งหมด และสรุปค่าใช้จ่ายรายการสินค้าต่างๆ ดังนั้นหลายบริษัทมักใช้ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้เป็นใบเดียวกัน เพื่อความชัดเจน และความสะดวกในการใช้งาน ใบแจ้งหนี้และใบวางบิลต่างกันอย่างไร? “ใบแจ้งหนี้” และ “ใบวางบิล” เป็นเอกสารที่ระบุยอดชำระให้แก่คู่ค้าเช่นเดียวกัน แต่ “ใบแจ้งหนี้” เป็นเอกสารที่เราแจ้งให้คู่ค้าทราบหลังจบงาน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายว่ามีค่าสินค้า ค่าบริการอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่ และคู่ค้าควรชำระเมื่อใด ส่วน “ใบวางบิล” จะออกมาเมื่อถึงเวลาชำระเงิน โดยจะรวมยอดคงค้างทั้งหมด และสรุปว่ามีรายการค่าใช้จ่ายใดบ้าง และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งบางทีบริษัทคู่ค้าจะแจ้งมาว่าต้องการให้ออกใบวางบิลโดยรวมค่าใช้จ่ายใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นกับการตกลงของเราและคู่ค้าด้วย  ข้อควรระวังเกี่ยวกับใบแจ้งหนี้และใบวางบิล สิ่งที่สำคัญมากๆ ของการออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ ความชัดเจน และความถูกต้อง สิ่งที่มักจะผิดพลาดในการออกเอกสารนี้คือ การกรอกรายละเอียดต่างๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา จนต้องนำกลับไปแก้ไขใหม่ รวมไปถึงเรื่องของการลืมส่งเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับเงินล่าช้ากว่ากำหนด จะทำให้มีปัญหาในการชำระเงิน และอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่หลายบริษัทมักจะพบเจอกันบ่อยๆ คือ วันรับวางบิลของลูกค้า ใบวางบิลต้องไปถึงมือลูกค้าในช่วงเวลาที่บริษัทของลูกค้ามีกำหนดการวางบิล หากล่าช้า หรือติดวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ อาจจะทำให้บริษัทไม่ได้รับเงินจากลูกค้าในเดือนนั้นๆ ทำให้ต้องรออีก 1 เดือน หรือจนกว่าจะถึงรอบวางบิลใหม่  และแน่นอนมันต้องมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นตามมา เช่น กำหนดวางบิลของลูกค้าคือวันที่ 1 – 5 ของทุกเดือน แต่เอกสารวางบิลของเราใส่รายละเอียดผิด ต้องนำไปแก้ไขแล้วส่งถึงมือลูกค้าในวันที่ 6 ก็จำเป็นที่จะต้องรอลูกค้าทำเรื่องชำระอีกทีในช่วงวันที่ 1 – 5 ของเดือนต่อไป แล้วค่าสินค้า ค่าพนักงาน ค่าภาษี ค่าบริการที่ลูกค้าได้รับหรือใช้ไปแล้วล่ะ ใครจะเป็นคนจ่ายก่อน? แน่นอนว่าคำตอบก็คือเรา ถ้าวางบิลไม่ทันค่าใช้จ่ายต่างๆ เราต้องเป็นคนจัดการรับผิดชอบออกไปก่อนทั้งหมด และนั้นอาจจะทำให้บริษัทของเราเกิดปัญหสทางการเงินได้ ดังนั้นเรื่องระยะเวลา และความถูกต้องในใบวางบิลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   เช็กให้ชัวร์ก่อนออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ ข้อมูลต้องชัวร์! ข้อมูลผู้ออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ ข้อมูลผู้รับใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ 5 สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นตอนของการออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ทั้งหมด การสร้างใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK ได้ที่การสร้างใบแจ้งหนี้  และการสร้างใบวางบิล “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ สรุป ใบแจ้งหนี้และใบวางบิล เอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดราคาของสินค้า หรือบริการ ให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินและวันครบกำหนดที่ต้องจ่าย ดังนั้นในการจัดทำใบแจ้งหนี้และใบวางบิล จึงควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า เพื่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

27 มี.ค. 2024

PEAK Account

12 min

“นักบัญชี” บทบาทสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้

ประเด็นสำคัญ  ในยุคสมัยที่ธุรกิจมีความซับซ้อน การเงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนความสำเร็จ เจ้าของธุรกิจหลายคนจึงมองหานักบัญชีมืออาชีพเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ  แล้วธุรกิจขนาดเล็กล่ะ? จำเป็นต้องจ้างนักบัญชีด้วยหรือ? ก็ต้องบอกว่าหากเจ้าของธุรกิจที่ต้องการข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ควรมีนักบัญชีมืออาชีพมาช่วยจัดการ แต่การจ้างนักบัญชีสักคน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติหลายประการด้วยเช่นกัน นักบัญชีกับบทบาทในกิจการ บทความนี้ PEAK ร่วมกับ OfficeMate จะพาคุณไปรู้จักกับบทบาทที่หลากหลาย ทักษะที่จำเป็น รวมถึงประเภทของนักบัญชี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ประกอบการที่กำลังมองหานักบัญชี นักบัญชีเปรียบเสมือนผู้ดูแลด้านการเงินของธุรกิจ หน้าที่หลักของพวกเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่การบันทึกรายรับรายจ่ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องสำคัญต่างๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน 1. การจัดทำบัญชี นักบัญชีทำหน้าที่จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และรายงานทางการเงินอื่นๆ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนสถานะทางการเงินของธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจถึงสถานะทางการเงิน สามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การเสียภาษี นักบัญชีจะคำนวณภาษี เตรียมเอกสาร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้ครบถ้วน ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยให้ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าปรับ เงินเพิ่มจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องโดยไม่จำเป็นได้ 3. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน นักบัญชีจะวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น อัตราส่วนทางการเงิน จุดคุ้มทุน กระแสเงินสด เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง ช่วยให้เจ้าของธุรกิจทราบว่าธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ หรือหากมีความผิดปกติทางการเงินเกิดขึ้น นักบัญชีจะได้นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที  4. การให้คำปรึกษาทางการเงิน นักบัญชีสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี การจัดการเงินทุน การลงทุน และอื่นๆ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจบริหารจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักบัญชีมืออาชีพควรมีทักษะอะไรบ้าง นอกเหนือจากความรู้ด้านบัญชีซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญแล้ว นักบัญชีจำเป็นจะต้องมีทักษะบางประการที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับ ทีมอื่นๆ ในบริษัทได้เป็นอย่างดี ได้แก่ 1. การใช้โปรแกรมบัญชี นักบัญชีควรมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานโปรแกรมบัญชีที่รองรับระบบบัญชีของบริษัท ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และลดความผิดพลาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ 2. การสื่อสาร หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักบัญชี ก็คือ การอธิบายข้อมูลทางการเงินให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจได้อย่างชัดเจน เช่น การนำเสนอผลประกอบการ อธิบายสาเหตุของกำไรหรือขาดทุน ดังนั้น นักบัญชีจึงควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดี เพื่อถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กฎหมาย นักบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายธุรกิจ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 4. การคิดวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน หาสาเหตุของปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข เช่น การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางแก้ไขที่ควรปฏิบัติ เป็นต้น  นักบัญชีกับประเภทงานบัญชีของกิจการ การจัดการงานบัญชีนั้นจะเกี่ยวข้องกับงานหลายส่วน จึงสามารถแบ่งงานบัญชีออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งมีความรับผิดชอบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. การบัญชีการเงิน เป็นงานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและนำเสนอรายงานทางการเงิน ตลอดจนงบการเงินของกิจการที่จัดทำขึ้นภายใต้มาตรฐานบัญชี เพื่อนำข้อมูลต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและนอกองค์กร 2. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินขององค์กรต่อฝ่ายบริหารเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การบัญชีต้นทุน เป็นวิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต้นทุนของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุนของกิจการ เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิต ต้นทุนขาย ตลอดจนตีราคาสินค้าคงเหลือ เพื่อนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการต้นทุนต่อไป 4. การตรวจสอบบัญชี เป็นกระบวนการตรวจสอบรายการทางบัญชี ตลอดจนหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชีของบุคคลหรือองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่ารายการต่างๆ ได้มีการถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้อง เหมาะสม  เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และข้อบังคับของกฎหมาย โดยปกติการตรวจสอบบัญชีจะทำโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) เพื่อขจัดปัญหาความลำเอียงในการปฏิบัติงานตรวจสอบ 5. การบัญชีภาษี เป็นกระบวนการจัดทำบัญชีของกิจการ โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนข้อมูลทางบัญชีบางรายการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ รวมทั้งการจัดทำรายการที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร  6. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ติดตั้ง ใช้งาน และตรวจสอบขั้นตอนการบัญชี ตลอดจนระบบที่ใช้ในกระบวนการบัญชี รวมถึงทิศทางบุคลากรทางการบัญชี และการจัดการซอฟต์แวร์ ข้อดี vs ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี ข้อดีของการจ้างนักบัญชี ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี สรุป ข้อมูลข้างต้น เป็นการวิเคราะห์เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังวางแผนจัดการด้านการเงิน หรือพัฒนาระบบบัญชีของกิจการ อย่าลืมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ หากเป็นเรื่องอุปกรณ์จำเป็นในการจัดการบัญชี ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มเก็บเอกสาร แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ หรือแบบฟอร์มเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ แนะนำที่ มีสินค้าที่ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

29 พ.ย. 2024

จักรพงษ์

9 min

3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ

คุณเคยทำธุรกิจไปอย่างไรเป้าหมายไหม? ทำไปเรื่อยๆ รายได้เติบโตขึ้นก็ดีใจ รายได้ลดลงก็เสียใจแต่ธุรกิจก็ยังไปต่อได้ คำถาม คือ ธุรกิจโตแค่ไหนที่เราจะถือว่าปีนั้นประสบความสำเร็จหรือทำได้ตามเป้าหมาย หรือรายได้ลดลงแค่ไหนที่ถือว่าธุรกิจอยู่ในภาวะเสี่ยง คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้ด้วยการกำหนดตัวเลขหนึ่งขึ้นมาเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะต้องบรรลุให้ได้ในปีนั้น เช่น รายได้ปีนี้ต้องมากกว่าปีที่แล้ว 200% ถ้าเราทำได้ก็ถือว่าบรรลุเป้าหมายขององค์กรและยังสามารถใช้เป็น KPI ของฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ได้ เช่น แผนกขาย แผนกหาลูกค้า เป็นต้น ที่เราพูดกันไปข้างต้นไม่ได้มีแค่มิติในมุมของรายได้ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้กับรายจ่ายได้เช่นกัน รายจ่ายปีนี้ต้องน้อยกว่าปีที่แล้ว หรือให้เพิ่มขึ้นได้ตามสัดส่วนของยอดขาย ถ้ารายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ถือว่าแผนกที่เกี่ยวข้องไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านรายจ่ายนั้นๆ ได้ เช่น แผนกการตลาด แผนกผลิต เป็นต้น สิ่งที่พูดมาข้างต้นคือส่วนหนึ่งของการทำงบประมาณ หรือที่เราเรียกว่าการทำ Budgeting นั่นเอง เชื่อว่าพอเฉลยมาถึงจุดนี้ทุกคนก็น่าจะร้อง อ๋อ มากขึ้น การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คืออะไร? การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลข ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของตัวเงินหรือปริมาณ เช่น กำหนดเป็นจำนวนเงินบาท ปริมาณชิ้นที่ขายได้ หรือจำนวนครั้งที่ใช้ เป็นต้น ซึ่งตัวเลขจะถูกกำหนดตามรอบที่ใช้วัดผล เช่น เป็นรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งหรือ หรือรายปีก็ได้ ไม่ว่าจะวัดผลเป็นรายใดก็ตาม เมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับงบประมาณที่วางแผนไว้ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะดีหรือแย่กว่าที่ประมาณการไว้ก็ได้ แต่ตัวเลขที่แตกต่างจากผลที่วางไว้ จะต้องหาสาเหตุให้ได้ว่าเกิดจากปัจจัยใดเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและใช้ช่วยวางแผนในการจัดทำงบประมาณในครั้งถัดไปได้ 3 ขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำงบประมาณ 1. กำหนดตัวเลขที่อยากได้และเป็นไปได้ เริ่มจากกำหนดเป้าหมาย และกลยุทธ์ของกิจการก่อนว่าอยากไปไกลแค่ไหน เร็วแค่ไหน ด้วยวิธีอะไร เช่น ฝั่งรายได้ ถ้าอยากเติบโตเร็ว ต้องกำหนดเป้าที่ท้าทาย เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้น 200-300% พร้อมกำหนดวิธีการที่จะทำให้ยอดขายเป็นไปตามที่กำหนดได้จริง 2. รู้ว่าอะไรที่ขับเคลื่อน (Driver) รายได้และรายจ่าย เช่น ยอดขายอาจถูกขับเคลื่อนด้วยจำนวนชิ้นของสินค้าที่ขายได้ หรือจำนวนตัวแทนจำหน่ายที่หาได้ในแต่ละปี ส่วนค่าใช้จ่ายอาจกำหนดจากจำนวนวัตถุดิบที่ควรใช้ในการผลิตสินค้า 1 ชิ้น หรือจำนวนต้นทุนค่ายิงโฆษณาต่อลูกค้า 1 คนที่หาได้ เป็นต้น สิ่งที่ควรรู้ คือ ตัวขับเคลื่อน(driver)รายได้และรายจ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจมีไม่เหมือนกัน ไม่สามารถเลียนแบบของคนอื่นได้ แต่โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมเดียวกันจะใช้ตัวขับเคลื่อนคล้ายๆ กัน เช่น ธุรกิจโรงแรมตัวขับเคลื่อนรายได้ คือ จำนวนห้องที่ลูกค้าใช้บริการ แต่ในธุรกิจขายสินค้า จะใช้จำนวนสินค้าที่ขายได้ เป็นต้น 3. ทบทวนภาพรวม เมื่อกำหนดตัวเลขประมาณการของรายได้และรายจ่ายเสร็จแล้ว ให้ทำการทบทวนว่ารายได้ที่กำหนดสอดคล้องกับรายจ่ายที่กำหนดหรือไม่ บางครั้งอาจพบว่าตั้งเป้ายอดขายจากจำนวนชิ้นที่ขายได้สูงขึ้นมาก แต่รายจ่ายด้านการขายและการตลาดเท่าเดิมหรือลดลง ทำให้เราอาจพบความไม่สอดคล้องระหว่างรายได้และรายจ่ายในบางกรณีได้ จริงๆ แล้วขั้นตอนการจัดทำงบประมาณแบบสมบูรณ์มีรายละเอียดที่เยอะกว่านี้มาก แต่ในซีรีย์บทความนี้เราเน้นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ให้สามารถนำไปใช้ได้โดยง่ายและเข้าใจเร็วที่สุด จึงไม่ได้อธิบายขั้นตอนการจัดทำแบบละเอียดนั่นเอง ตัวอย่างงบประมาณการในระยะเวลา 1 ปี ในฝั่งรายได้ อาจจะไม่ค่อยมีความซับซ้อน เพราะมักมีรายได้หลักของกิจการประเภทเดียว ทำให้การประมาณการจะง่าย เช่น กำหนดเป็นยอดรายได้ที่ต้องการ หรือ% ที่เพิ่มขึ้นของแต่ละไตรมาส เป็นต้น สำหรับส่วนของรายจ่าย มักจะไม่สามารถกำหนดยอดประมาณการเป็นก้อนเดียวได้ เพราะรายจ่ายมีหลายประเภท และแต่ละประเภทจะมีตัวขับเคลื่อน(driver) ที่แตกต่างกัน การจัดทำงบประมาณ (ฺBudgeting) คือ การวางแผนรายได้-รายจ่ายล่วงหน้าเป็นตัวเลขสำหรับรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ตัวเลขสำหรับรายได้ รายจ่ายที่ต้องทำได้ภายใน 3 เดือน 6 เดือน หรือ 12 เดือน การวางแผนตัวเลขล่วงหน้า จะช่วยให้การทำธุรกิจสนุก เพราะมีเป้าหมาย และจะหาวิธีเพื่อทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุให้ได้ สุดท้ายเมื่อครบกำหนดรอบการวัดผล ผู้บริหารจะต้องนำตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงมาเทียบกับตัวเลขที่วางแผนว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ พร้อมหาสาเหตุว่าอะไรเป็นปัจจัยเชิงบวกและเชิงลบของตัวเลขเหล่านั้น เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณในครั้งถัดไป สำหรับในตอนถัดไป เราจะคุยกันในเรื่องการใช้เงินให้ถูกประเภท เช่น เงินกู้ที่มาระยะสั้นเพียง 3 เดือน แต่บริษัทนำไปลงทุนก่อสร้างสินทรัพย์ที่ใช้เวลานาน 1 ปี หรือเงินที่กู้มาระยะยาวแต่ใช้สำหรับใช้จ่ายในระยะสั้น ดีหรือไม่ดี และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจอย่างไรบ้าง เราจะมาไขคำตอบกันในตอนหน้า โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปีถึงจะทำลายทิ้งได้

การจัดการเอกสารบัญชีและภาษีอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ การเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินและภาษีไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่สำคัญด้วย เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปี สิ่งที่นักบัญชีหรือผู้ประกอบการต้องสงสัยเป็นแน่ว่าเหล่าเอกสารบัญชีต่างๆ ที่ได้รับมา หรือที่จัดทำระหว่างปี พอเราปิดงบการเงินเสร็จแล้ว จะทิ้งได้เลยไหม? หรือต้องเก็บต่อไปอีกกี่ปี? จะได้ไม่มีปัญหากับสรรพากร หน่วยงานอื่นๆ ในภายหลัง วันนี้ผมจะพาทุกคนมาดูกันว่าในประเทศเรามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารไว้อย่างไรครับ ก่อนที่เราจะไปอ้างอิงตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผมอยากขออธิบายเป็นภาษาที่ง่ายๆ คือ เราต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่บางหน่วยงานก็มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาในการจัดเก็บเอกสารได้ ทำให้เรามีหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสารที่นานขึ้น ตัวกฎหมายที่ให้อำนาจนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันต่อครับ เริ่มแรกจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 14 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ ตัวถัดมาคือการเก็บเอกสารภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87/3 ที่กำหนดเอกสาร 5 ประเภท ได้แก่  1.ต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ 2.สำเนาใบกำกับภาษีขาย 3.รายงานภาษีซื้อ 4.รายงานภาษีขาย5.รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี แต่อธิบดีกรมสรรพากรสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ PEAK ขอเล่า : และตัวสุดท้าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30-31 จะถูกนำมาใช้เมื่อกฎหมายใดๆ ให้สิทธิเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรียกตรวจเอกสาร แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ จะให้มีอายุความสูงถึง 10 ปี เท่ากับว่าผู้ประกอบการมีสิทธิโดนเรียกตรวจเอกสารย้อนหลังได้สูงถึง 10 ปีเลยครับ ตัวอย่างเช่น อายุความการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากร หรือกรณีที่บุคคลธรรมดามีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานจึงออกหมายเรียกแต่ก็ไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากรเช่นกัน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ภายในอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 สรุปแล้ว ทั้งกฎหมายบัญชีและภาษีพูดตรงกันคือให้ผู้ประกอบการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีและภาษีไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ก็สามารถขยายระยะเวลาเป็น 7 ปีได้ แต่ถ้ากฎหมายใดไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บเอกสารหรืออายุความการประเมินภาษีไว้ ก็ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดอายุความสูงถึง 10 ปี ดังนั้นการเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีแบบระมัดระวังที่สุดก็ควรจัดเก็บที่ 10 ปีครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดเก็บเอกสาร ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

22 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

วงจรเงินสด (Cash Cycle) สิ่งกำหนดโชคชะตา SMEs

สิ่งหนึ่งที่เรารู้มาจนถึงตอนนี้ว่าแม้ธุรกิจจะสร้างกำไรได้มากมายขนาดไหน แต่ถ้าบริหารเงินสดไม่ได้ดี ไม่เข้าใจการไหลเวียนของเงิน อาจทำให้ธุรกิจของเราสะดุด เพราะไม่มีเงินมาซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ได้ ใน Ep ก่อนหน้านี้ได้สอนให้เราได้รู้แล้วว่ากิจการเรามีปัญหาเรื่องเงินสดไหม ไม่ว่าจะเป็นการเช็คเงินคงเหลือ การดูเงินสดเข้าออกในแต่ละกิจกรรมของงบกระแสเงินสด รวมถึงการคำนวณระยะเวลาคงเหลือก่อนที่กิจการจะไม่มีเงินใช้ แต่คำตอบที่ยังไม่ได้หา คือ แล้วปัญหาเงินสดที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร? เรามีสิ่งหนึ่งที่จะนำมาช่วยไขคำตอบนี้ได้ คือ การวิเคราะห์ ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ วงจรเงินสด (Cash Cycle) คืออะไร? ในทางทฤษฎีเรามีตัววัดหนึ่งที่เรียกกันว่า ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ ซึ่งค่าที่ได้จะบอกจำนวนวันที่กิจการจะได้รับเงินสดจากการดำเนินงาน เราเรียกมันว่า ‘วงจร’ เพราะสูตรจะคำนวณระยะเวลาตั้งแต่ซื้อสินค้า ระยะเวลาที่สินค้าที่อยู่ในคลัง จนถึงระยะเวลาที่จะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เมื่อสินค้าถูกขายออกไป สรุปอีกครั้งคือ วงจรเงินสด จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะเวลา ได้แก่  1. การซื้อสินค้าและจ่ายเงินให้เจ้าหนี้  2. การเก็บสินค้าในสต๊อกไว้นานแค่ไหน  3. เมื่อขายสินค้าแล้วเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ภายในกี่วัน ซึ่งถ้าเราคำนวณทั้ง 3 เรื่องนี้ได้ ก็จะรู้ทันทีว่าปัญหาเงินสดไปอยู่ที่ส่วนไหนของกิจการ แต่ก่อนที่จะคำนวณขึ้นเป็นวงจรเงินสดได้นั้น เราต้องแยกคำนวณแต่ละส่วนก่อน จึงค่อยนำมาบวกหรือลบกัน เรามาเริ่มทีละส่วนกันได้เลยครับ 3 วงจรเงินสด (Cash Cycle) ที่ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์ วงจรที่ 1 : วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรสินค้าหรือระยะขายสินค้า คือ ตั้งแต่วันที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก จนเอาออกจากสต๊อกเพราะขายได้ ใช้เวลากี่วัน ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะขายของแต่ละชิ้นได้ ความเสี่ยงคือ เงินจม หรือสินค้าอาจเสียหรือล้าสมัยไปแล้ว ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ทุกๆครั้งที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก ไม่กี่วันก็มีคนซื้อ อาจเกิดจากเป็นสินค้าขายดี หรือกิจการบริหารสินค้าให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่สต๊อกของมากจนเกินไป ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะสินค้าเข้ามาและขายออกได้เร็ว โดยในสูตรจะใช้ ระยะขายสินค้า = ยอดสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นงวด ÷ ต้นทุนสินค้าที่ขาย x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 2 : วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้หรือระยะเก็บหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ขายสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะเก็บเงินได้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ซึ่งไม่ควรเกินกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้า แต่ถ้าเกินแปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินเกินกำหนดชำระ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการเก็บเงินจากลูกหนี้ ถ้าค่าต่ำกว่าเครดิตเทอม แปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินก่อนกำหนดชำระ ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี และจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าจำนวนวันต่ำกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้าโดยในสูตรจะใช้ ระยะเก็บหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 3 : วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้หรือระยะจ่ายหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ซึ่งอาจหมายถึงการได้รับเครดิตเทอมที่นาน หรือเราตั้งใจจ่ายหนี้ช้ากว่ากำหนดก็ได้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการจ่ายหนี้เร็ว ซึ่งอาจหมายถึงกิจการมีความน่าเชื่อถือน้อยจึงได้รับเครดิตเทอมน้อย หรืออาจเพราะของที่เราซื้อมักจะซื้อขายเป็นเงินสดมากกว่าการให้เครดิตเทอม ดังนั้น จำนวนวันยิ่งมาก ยิ่งดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ค่าควรมากเพราะเราได้เครดิตเทอมที่นาน ไม่ใช่จากการที่จ่ายเกินกำหนดชำระ เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจพังลงได้ โดยในสูตรจะใช้ ระยะจ่ายหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) ดังนั้น เทคนิคบริหารวงจรกระแสเงินสดให้ธุรกิจคล่องตัว คือ1.ขายสินค้าได้เร็ว2.เก็บเงินได้เร็ว 3.จ่ายหนี้ให้ช้า โดยนำจำนวนวงจรย่อยทั้ง 3 วงจรมาบวกลบกันตามสูตร วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาชำระหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า เงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือเยอะ ซึ่งเกิดความเสี่ยงที่กิจการจะไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอในการชำระหนี้ได้ทัน หรือไม่มีเงินมาซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายได้ ถ้า ‘จำนวนวันมาก’ แปลว่าเราสามารถบริหารจัดการเปลี่ยนลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือได้ดี และมีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอจะนำไปชำระหนี้ และซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายต่อได้ ดังนั้น กิจการที่มีสภาพคล่องที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เมื่อคำนวณวงจรเงินสด (Cash Cycle) มักได้จะค่าจำนวนวันติดลบ  การคำนวณวงจรเงินสด จะทำให้เรารู้ว่าภาพรวมการหมุนเวียนของเงินสดว่ามีปัญหาไหม ซึ่งถ้าค่าที่คำนวณเป็นบวก แสดงว่ากิจการกำลังมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานเมื่อรู้ว่ามีเงินสดมีปัญหาแล้ว เราสามารถเข้าไปค้นหาต้นตอที่วงจรย่อยทั้ง 3 วงจรต่อได้ และลองดูว่าอะไรที่ทำให้แต่ละวงย่อยมีปัญหา เช่น ลูกหนี้จ่ายเกินกำหนดชำระเสมอ หรือสินค้าส่วนใหญ่ที่สต๊อกไว้ขายไม่ค่อยดี เป็นต้น สรุปอีกครั้ง คือ วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) ตอนนี้เราทราบกันแล้วทั้งวิธีดูว่าเงินสดมีปัญหาหรือไม่ และปัญหานั้นเกิดจากอะไร คำถามถัดมาคือ เงินสดต้องมีจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเพียงและปลอดภัยในการทำธุรกิจ? ผมเตรียมวิธีคำนวณให้ง่ายๆ ไว้ให้ทุกท่านแล้ว ในบทความธุรกิจควรมีเงินสดขั้นต่ำกี่เดือน ถึงจะเรียกว่าปลอดภัย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

16 ส.ค. 2024

PEAK Account

13 min

“บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” (ตอนที่2)

ใน Ep นี้เป็นภาคต่อจากครั้งที่แล้วในหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” เดิมเราพูดถึงเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้เรื่องแรก คือ เรื่อง “ผลประกอบการ” ซึ่งประกอบไปด้วย “รายได้” “ค่าใช้จ่าย” และ “กำไร” ว่าคืออะไรและสำคัญอย่างไร ก่อนจะเริ่มเรื่องถัดไป เพื่อเป็นการทบทวน ผมขอสรุปอีกครั้งว่า 2 เรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรู้มีอะไรกันบ้างครับ 2 เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด ตอนที่ 2 : บริหารเงินสดและกระแสเงินสดอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน “82% ของธุรกิจเจ๊งเพราะเรื่องเงิน!” นี้เป็นงานวิจัยที่ U.S. Bank เคยทำขึ้น โดยสาเหตุอาจมาจากการละเลยเรื่องเงิน หรือการบริหารเงินได้ไม่ดีพอ จากประสบการณ์ ผมพบว่าผู้ประกอบการหลายรายประเมินค่าการบริหารเงินต่ำเกินไป ชอบคิดว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องง่าย เช่น “ขายของได้รับเงิน เอาเงินที่รับมาไปซื้อของมาขายต่อ แค่นั้นเอง”  ถ้าในโลกแห่งความเป็นจริงเงินที่เราได้รับมาในแต่ละวันมันมากกว่าเงินสดจ่ายเสมอ ประโยคข้างบนคงเป็นเรื่องจริง สิ่งที่ตลกร้ายคือ ความจริงมันตรงกันข้าม มีหลายเหตุการณ์ที่เข้ามาทำให้เงินสดบางครั้งไม่เพียงพอต่อการจ่าย และที่สำคัญเคยเกิดขึ้นกับธุรกิจที่มีรายได้ และกำไรก็ดีมาแล้ว ทำไมจึงเป็นแบบนั้นได้ สาเหตุเบื้องหลังคืออะไร มาดูกันต่อครับ ทำไมเงินสดมีปัญหา? ท่านผู้อ่านเคยเจอสถานการณ์ที่ เราต้องขายของเป็นเงินเชื่อ แต่ซื้อของต้องจ่ายเป็นเงินสด หรือขายของเป็นเงินเชื่อ แต่เก็บหนี้ไม่ได้ หรือขายของได้ แต่รายจ่ายมีเยอะกว่า ไหมครับ? บางคนอาจแย้งว่าก็ขายของเป็นเงินสดสิ จะให้ติดหนี้ทำไม บางธุรกิจถ้าไม่ขายเชื่อ ลูกค้าก็จะหนีไปซื้อคนอื่นครับ จะรอแต่แต่ขายเป็นเงินสดธุรกิจคงไม่รอด บางคนแย้งว่าลูกหนี้ไม่จ่ายเงิน ก็ไปตามทวงสิ คุณเคยได้ยินคำว่า “ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย” ไหมครับ? แหละครับคำตอบ วิธีวัดว่าเงินสดกำลังจะมีปัญหาหรือไม่? แม้เราจะพยายามแก้ปัญหาต่างๆ ให้ดีขึ้น แต่ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงปัญหาได้ตลอด ผู้ประกอบการเองต้องตรวจสอบสถานะการเงินของตัวเองอยู่เสมอว่าคล่องตัวหรือมีความเสี่ยงอยู่หรือไม่ ตามวิธีดังนี้ 1. เงินสดและเงินฝากธนาคาร ทั้งเงินสดและเงินฝากธนาคารเป็นจุดเริ่มต้นที่จะเอาไปใช้คำนวณสถานะทางการเงิน ดังนั้นเราต้องมีข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่ปัญหาที่เจอคือ กิจการหลายแห่งไม่ได้บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ใช้เงินส่วนตัวปนกับเงินกิจการทำให้เงินสดไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงยากมากที่จะคำนวณได้ว่าเงินสดเงินฝากธนาคารที่มีอยู่เพียงพอการใช้จ่ายในธุรกิจหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำอันดันแรก คือ แยกเงินส่วนตัวกับเงินกิจการออกจากกัน บันทึกบัญชีให้ถูกต้อง ตรวจสอบเงินที่มีอยู่จริงกับเงินที่บันทึกบัญชี แล้วดูว่าตอนนี้มีเงินสดคงเหลือในกิจการกี่บาท เพียงพอจะจ่ายค่าใช้จ่ายในวันพรุ่งนี้ สัปดาห์หน้า หรือในเดือนหน้าหรือไม่ 2. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (OCF) ใครที่ยังไม่รู้จักคำว่า “กระแสเงินสด” ให้เราจินตนาการว่า “เงินสด” คือเงินที่คงเหลือในกระเป๋า แต่ “กระแสเงินสด” คือ การไหลเข้าของเงินที่รับและการไหลออกของเงินที่จ่ายออกไป กระแสเงินสด จะบอกเราได้ว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี เรารับเงินหรือจ่ายเงินมากกว่ากัน แต่จะไม่ได้บอกว่าเงินสดคงเหลือเท่าไหร่ คนที่เคยอ่านงบกระแสเงินสด จะพบว่างบกระแสเงินสดจะแสดงการไหลเวียนของเงินเป็น 3 ส่วน ดังนี้ แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” เพราะการไหลเวียนของเงินสดจากการทำธุรกิจ ไม่รวมการลงทุนและจัดหาเงิน โดยถ้าเงินรับมากกว่าเงินจ่าย แบบนี้ดี แต่ถ้าเงินจ่ายมากกว่าเงินรับบ่อยๆ แสดงว่าเราเก็บเงินจากลูกหนี้หรือขายของไม่ค่อยได้ แต่รายจ่ายมีทุกวัน แบบนี้จะเสี่ยงมาก เพราะสุดท้ายธุรกิจหาเงินมาจ่ายไม่ทัน 3. กระแสเงินสดสุทธิ (Net Cash Flow) แค่อ่านชื่อหัวข้อก็ยากแล้ว แต่จริงๆ “กระแสเงินสดสุทธิ” มันคือจับกระแสเงินสดทั้ง 3 ส่วนในงบกระแสเงินสดมารวม แล้วสรุปว่าในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ใน 1 ปี กิจการมีเงินสดรับหรือเงินจ่ายมากกว่ากัน ในเมื่อดู “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แล้ว ทำไมยังต้องดู “กระแสเงินสดสุทธิ” อีก? เพราะมีบางกรณีที่ธุรกิจขายสินค้าดีมาก เก็บเงินได้ดี แต่ดันเอาเงินไปลงทุนมากกว่าเงินที่จากการดำเนินงาน จนธุรกิจสะดุด ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ว่า “ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่ยังเจ๊งอยู่ดี” สรุปเราต้องให้ความสำคัญกับ “กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน” แต่ก็อย่าละเลยดูภาพรวมของกระแสเงินสดผ่าน “กระแสเงินสดสุทธิ” ด้วยครับ PEAK ขอเล่า : 4. ระยะเวลาจนกว่าเงินจะหมด (Runway) Runway พอแปลเป็นไทยนี้ดูแปลกมากเลยครับ การคำนวณนี้จะเหมาะกับกิจการที่รายจ่ายมากกว่ารายรับ และไม่รู้รายรับจะครอบคลุมรายจ่ายเมื่อไหร่ สิ่งที่เราต้องกังวลคือเงินจ่ายออกทุกวัน แต่เงินสดคงเหลือที่มีอยู่จะเพียงพอได้อีกกี่วันก่อนเงินจะหมด  การคำนวณง่ายมากเลยครับ ตัวอย่าง เช่น เงินสดคงเหลือตอนนี้มี 100,000 บาท รายได้ต่อเดือน 20,000 บาท รายจ่ายต่อเดือน 30,000 บาท คุณจะเห็นว่ารายจ่ายมากว่ารายรับ 10,000 บาทต่อเดือน Runway = เงินสดคงเหลือ / รายจ่ายส่วนเกิน จากตัวอย่าง Runway = เงินสด 100,000 / รายจ่ายส่วนเกิน 10,000 = 10 แปลว่าถ้ารายจ่ายยังมากกว่ารายรับในอัตราเท่าเดิม เงินที่เหลืออยู่ใช้ได้แค่อีก 10 เดือนเท่านั้น ถ้าหาเงินจากที่อื่นมาหมุนไม่ได้ เท่ากับธุรกิจต้องปิด ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้เลย คือ ลองดูเงินคงเหลือทั้งเงินสดและเงินฝาก และดูว่าแต่ละเดือนเฉลี่ยแล้วเราจ่ายมากกว่ารับกี่บาท ลองคำนวณดูครับ แต่ผมเชื่อว่าธุรกิจของผู้อ่านคงมีเงินเข้ามากกว่าเงินจ่ายอยู่แล้วล่ะครับ PEAK ขอเล่า : ทำไมการบริหารเงินสดและกระแสเงินสดถึงสำคัญ การบริหารเงินสด เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุด โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่ยังไม่เกราะป้องกันทางการเงินที่ไม่แข็งแรง ทั้งในเรื่องความเข้าใจในการบริหารเงินสด รวมถึงการเข้าแหล่งเงินทุนได้ยากกว่าบริษัทใหญ่ๆ ดังนั้นควรเข้าใจในการบริหารเงินสด และการติดตามจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ถ้าในสถานะที่เงินคล่องก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเงินเริ่มฝืด แล้วเรารู้ตัวทันว่ากำลังจะมีปัญหา เราจะหาทางออกได้เร็วขึ้น เช่น เตรียมหาแหล่งเงินทุนล่วงหน้า บริหารจัดการค่าใช้จ่าย ซึ่งคงจะเป็นเรื่องเลวร้ายมากๆ ถ้าไปรู้ตัวอีกทีตอนเงินหมดแล้วครับ และแม้กิจการจะทำกำไรได้มากมายแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีเงินสดมาหมุนเวียนเพื่อซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ก็จะทำให้กิจการขาดสภาพคล่อง หรือร้ายแรงที่สุดอาจโดนเจ้าหนี้ฟ้องร้องและปิดกิจการได้เลยครับ สำหรับ Ep ถัดไป ผมจะพาทุกท่านไปค้นหาคำตอบว่า เมื่อเรารู้แล้วว่ากิจการกำลังจะมีปัญหาด้านเงินสด แล้วปัญหาหาในอยู่ในส่วนไหนของกิจการ เราจะพบคำตอบนี้ได้จากสิ่งที่เรียกว่า วงจรเงินสด หรือ Cash Cycle  โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

15 ส.ค. 2024

PEAK Account

12 min

บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร (ตอนที่ 1)

การบริหารธุรกิจให้มีระบบและประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการบัญชีที่ต้องตรงไปตรงมา บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจพื้นฐานของการจัดการบัญชี เพื่อช่วยในการบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบ และลดความสับสนในการบริหาร สำหรับ Ep นี้ ผมจะผู้อ่านทุกท่านไปลงลึกในเรื่องของการใช้ข้อมูลบัญชีและทำความเข้าใจผลประกอบการจากการอ่านงบกำไรขาดทุน เพื่อบริหารกิจการให้มีระบบ มาติดตามกันต่อได้เลยครับ พอพูดถึงเรื่องของ “การบริหาร” เอย “ระบบบัญชี” เอย หลายคิดจะคิดว่ามันต้องเป็นเรื่องยาก หรือซับซ้อน ละก็ไม่อยากจะไปแตะมันแน่ๆ แต่! สิ่งที่เราจะมาพูดในบทความนี้ เราจะไม่ได้ลงลึกในเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะผู้ประกอบการทุกคนจะต้องรู้ ถ้าไม่รู้ก็อาจจะตามหลังคนอื่น และจะพลาดสิ่งดีๆไปครับ เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานและเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจ เพราะธุรกิจจะอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีครับ ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด ตอนที่ 1 ทำความเข้าใจ “ผลประกอบการ” ช่วยบริหารธุรกิจได้ตรงจุด มาเริ่มกันเลยในเรื่องที่ 1  “ผลประกอบการ” ถ้ามองง่ายๆ ก็คือบทสรุปจากการทำธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ผลประกอบการใน 1 ปีที่ผ่านมา รายได้เป็นไง ค่าใช้จ่ายเยอะไหม กำไรไหม หรือขาดทุน บางคนอาจจะเรียกมันว่ารายรับ รายจ่ายด้วยซ้ำโดยปกติมันจะแสดงบนงบกำไรขาดทุนประจำปีของบริษัทอยู่แล้ว แต่ถ้าใครเคยอ่านจะเห็นว่ามันมีข้อความหลายบรรทัดเลย แต่บรรทัดที่ผู้ประกอบต้องอ่านเป็นมีดังนี้ 1. รายได้ (Revenue) รายรับก่อนหักรายจ่าย เช่น ถ้าธุรกิจขายสินค้า ก็เป็นรายได้จากการขายสินค้าที่ยังไม่ได้หักต้นทุนสินค้า และถ้าธุรกิจให้บริการ ก็เป็นรายได้จากการให้บริการที่ยังไม่ได้หักค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือค่าแรง เป็นต้น การรับรู้รายได้ทำให้เราทราบว่าใน 1 ปีที่ผ่านมา เราขายสินค้าหรือให้บริการได้มากหรือน้อยแค่ไหน บางคนเอารายได้ที่เกิดขึ้นจริง (actual) เทียบกับรายได้ที่ตั้งเป้าหมาย (budget) ไว้ เพื่อดูว่าทำยอดขายได้ตามเป้าไหม หรือบางคนก่อนทำธุรกิจคิดว่าต้องรุ่ง ต้องขายดีแน่ๆ พอมาขายจริง เห็นตัวเลขจริง ทำให้รู้ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด หรือเอารายได้แต่ละปีมาเทียบกันเพื่อดูอัตราการเติบโต (growth rate) ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เช่นกัน รายได้เป็นจุดแรกที่เราต้องให้ความสนใจมากๆ เพราะธุรกิจจะไปต่อได้หรือไม่ ก็ต้องดูว่าผู้ประกอบการสามารถหาอาหาร(รายได้)ที่ทำให้กิจการอยู่รอดนั้นเพียงพอหรือไม่ 2. ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense) ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนสินค้า เงินเดือนค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเล็กๆน้อยๆ ถ้าเราไปโฟกัสทุกรายจ่าย คุณคงเป็นลมไปก่อน แต่โชคดีที่ยังมีเทคนิคนำมาช่วยได้ ก็คือ เราต้องให้ความสนใจเฉพาะต้นทุนสินค้าและบริการ ซึ่งแต่ละธุรกิจอาจจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจขายเครื่องสำอางต้นทุนอาจจะเป็น ค่าผลิตสินค้า หรือธุรกิจให้บริการ เช่น โรงแรม ต้นทุนอาจจะเป็นค่าจ้างพนักงานให้บริการ 3. กำไรขั้นต้น (Gross Profit) “กำไรขั้นต้น” คืออะไร? ถ้าพูดว่า “กำไร” เฉยๆ คนก็จะเข้าใจว่าอ๋อ กำไร = รายรับ หัก รายจ่าย ไง แต่พอมีคำว่า “ขั้นต้น” หลายคงสับสนว่ามันคือตัวเดียวกันหรือป่าว สรุป กำไรขั้นต้น คือ รายได้ หัก ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ เช่น ธุรกิจขายสินค้าได้เงิน 1,000 บาท ต้นทุนสินค้า 400 บาท ค่าจ้างพนักงานขายวันละ 300 บาท ดังนั้นกำไรขั้นต้นเท่ากับ 600 บาท (รายได้ 100 บาท หัก ต้นทุนค่าสินค้า 400 บาท) ค่าจ้างพนักงานขายถือว่าเป็นต้นทุนทางอ้อมเลยไม่นำมาคิดในกำไรขั้นต้น สิ่งที่กำไรขั้นต้นบอกเรา คือ เวลาขายสินค้า 1 ชิ้นจะได้กำไรกี่บาท จากตัวอย่างจะจะเห็นว่าถ้าขาย 1 ชิ้นได้กำไรขั้นต้น 600 บาท ถ้าอยากได้กำไรมาก ก็ต้องขายให้ได้หลายๆชิ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่าไหร่ ทำไมยังไม่ต้องคำนึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างคนขาย ส่วนตัวมองว่า กำไรขั้นต้น มีแนวคิดคือ หนึ่ง ของที่นำมาขาย 1 ชิ้นต้องได้กำไรก่อน เช่น ขายของ 1,000 บาท แต่ต้นทุนสินค้า 1,200 บาท แบบนี้ก็ไม่ต้องไปสนใจค่าใช้จ่ายอื่นแล้ว ยังไงก็เจ๊ง 100% สอง ถ้าขายของแล้วยังมีกำไรขั้นต้น แต่ค่าใช้จ่ายอื่นเยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเราสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ ให้ลดลงได้ทีหลัง  ดังนั้นกำไรขั้นต้น เป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะผู้ประกอบการบางคนไม่เคยรู้ว่าต้นทุนสินค้ามากกว่าราคาขายที่ตั้งไว้ ทำให้เงินสดขาดมือ สอดคล้องกับวลีที่ว่า “ยิ่งขาย เท่ากับ ยิ่งเจ๊ง” ทำไมต้องสนใจค่าใช้จ่ายหลัก? เพราะมันมีจำนวนมูลค่าที่สูงและส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ถ้าเราไม่สนใจหรือไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ วันหนึ่งมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสูงกว่ารายได้จนธุรกิจขาดทุนการควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถทำได้หลายวิธี แล้วแต่ลักษณะประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจขายสินค้า ถ้าเรารู้ว่าสินค้าไหนขายดี ขายได้เยอะ เราสามารถเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์เพื่อซื้อสินค้าล็อตใหญ่แต่ราคาต่อชิ้นถูกขึ้นได้ แม้แต่ค่าแรงงานที่เราสามารถหาเทคโนโลยีมาช่วยให้ลดการจ้างแรงงานคนได้ เป็นต้น 4. กำไรสุทธิ (Net Profit) แล้วก็มาถึงตัวสุดท้าย ตัวทีเด็ดของผลประกอบการเลย คือ “กำไรสุทธิ” เราสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เลย สูตรคือ กำไรสุทธิ = รายได้ – รายจ่ายทั้งหมดของธุรกิจ ถ้ารายได้มากกว่ารายจ่าย แปลว่าธุรกิจในปียังไปได้ดี สามารถทำกำไรได้ แปลว่ายิ่งขายยิ่งได้กำไร แต่ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย จนเกิด “ขาดทุนสุทธิ” อันนี้ต้องดูสาเหตุแล้วครับว่าเกิดอะไร เช่น รายได้น้อยกว่าทุกปี หรือมีรายจ่ายบางตัวสูงขึ้นมากๆในปีนี้ เป็นต้น นั่นแปลว่าถ้าธุรกิจมีกำไร ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเราก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าธุรกิจขาดทุนอาจเริ่มเห็นสัญญาณที่ธุรกิจกำลังเผชิญปัญหาอะไรบางอย่าง ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ อาจจะเจ๊งจริงๆก็ได้ครับ อย่างน้อยๆ ผู้ประกอบการมือใหม่ หรือคนที่ไม่เคยเข้าใจตัวเลขเลย ก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่ควรรู้และเข้าใจคือเรื่องของผลประกอบการ เพราะค่อนข้างตรงตัว และจับต้องได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น รายได้ (Revenue) กำไรขั้นต้น (Gross Profit) ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense) หรือกำไรสุทธิ (Net Profit) การดูตัวเลขและวิเคราะห์ผลอย่างถูกต้องได้นั้น ตัวเลขเหล่านี้ต้องได้รับความใส่ใจก่อน คือ บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา เราจึงจะสามารถนำข้อมูลไปตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ลองจินตนาการว่าถ้าบันทึกบัญชีผิดๆ ถูกๆ ข้อมูลที่เราเห็นคงเอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลยครับเอาล่ะ! นี่แค่เรื่องแรกนะครับ ใน Ep ถัดไป เราจะยังอยู่กับหัวข้อเดิม แต่จะไปดูในเรื่องที่เหลืออยู่อีก 4 เรื่อง แอบบอกก่อนเลยว่า เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด นี้สำคัญสุดๆ เลยครับ เพราะ SMEs หลายรายเจ๊งก็เพราะบริหารเงินสดไม่เป็นนี้แหละครับ   และสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน Ep. 1 สามารถอ่านได้ที่ “รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 ก.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial Accounting Tax Accounting วัตถุประสงค์ บัญชีการเงิน บัญชีภาษี เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษี มาตรฐาน/กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร  ความรู้ที่ใช้ บัญชีตามมาตรฐาน กฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก