บันทึกบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

24 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

12 min

บุคคลธรรมดากับการจัดทำบัญชีเงินสดรับจ่าย

ปกติบุคคลธรรมดาไม่ต้องจัดทำบัญชี แต่ในทางภาษีถ้าใครที่มีที่มีรายได้ประเภท 40(5)-(8) จะถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” ตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไม่จัดทำรายงานดังกล่าวจะมีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท รู้หรือไม่ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกัน ถ้าใครยังไม่รู้ก็ไม่แปลก เพราะจริงๆ กฎหมายบัญชีก็ไม่ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาทำบัญชี แต่จริงๆ แล้วทางภาษีจะมีการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลที่มีรายได้บางประเภทต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายด้วยครับ ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักกับ 2 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีกันก่อน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development: DBD) และกรมสรรพากร (Revenue Department: RD) ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีแตกต่างกัน ดังนี้ครับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (The Department of Business Development :DBD) พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ไม่ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาต้องจัดทำบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ว่าอยากให้บุคคลธรรมดาประเภทใดที่ต้องจัดทำบัญชี ในปัจจุบันมีกำหนดขึ้นมาเพียง 2 ประเภทเท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ ดังนั้นบุคคลที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจข้างต้น จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีใดๆ เพื่อส่งให้ DBD ครับ กรมสรรพากร (The Revenue Department :RD) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือพูดง่ายๆ ว่าคนที่ไม่ได้จด VAT ที่มีรายได้ประเภท 40(5) – (8) เช่น รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ รับเหมาก่อสร้าง หรือธุรกิจพาณิชย์อื่นๆ ต้องจัดทำบัญชีหรือรายงานที่แสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน ที่เรียกว่า “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” โดย คนที่เคยยื่นภาษีบุคคลธรรมดาแล้ว จะคุ้นชินกับการเลือกหักรายจ่ายหักตามจริงและหักแบบเหมา และอาจคิดว่าถ้าหักแบบเหมาไม่ต้องทำรายงานนี้ได้ บอกเลยไม่ว่าเราจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบใด ก็ต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างคือถ้าหักรายจ่ายตามจริงต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบทุกรายการที่จ่ายเงิน แต่ถ้าหักแบบเหมาไม่จำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบทุกรายการก็ได้ครับ สรุปแล้ว ในทางภาษีได้กำหนดให้คนที่มี รายได้ประเภท 40(5) – (8) ต้องจัดทำรายงานแสดงรายรับ-รายจ่ายเก็บไว้ แต่ไม่ต้องกังวลว่าการจัดทำรายงานต้องทำอย่างไร จะยุ่งยากหรือไม่นะครับ เพราะทางกรมสรรพากรก็ได้ให้แบบฟอร์ม และตัวอย่างการกรอกมาให้เราด้วยครับ คำอธิบายการกรอกรายละเอียด 1. วัน/ เดือน/ปี : บันทึกวันที่เกิดรายการรับเงินหรือจ่ายเงิน 2. รายการ : บันทึกรายละเอียด เช่น ยอดขายสินค้า ค่าซื้อสินค้า ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงินเดือน เป็นต้น 3. รายรับ : บันทึก “จำนวนเงิน” ที่ได้รับเข้ามาตามรายละเอียดในช่องรายการ 4. รายจ่ายซื้อสินค้า : บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายซื้อสินค้า กรณีขายเชื่อให้อธิบายเพิ่มในช่องหมายเหตุ 5. รายจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น : ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เราจะเห็นได้ว่าการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เพราะบันทึกตามเกณฑ์เงินสด ส่วนเหตุผลที่ต้องจัดทำ ก็เพื่อเป็นรายละเอียดประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตัวรายงานนี้ไม่ถูกกำหนดให้นำส่งกรมสรรพากร แต่ต้องจัดทำและเก็บไว้เพื่อการเรียกตรวจสอบประเมินของ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบไม่จัดทำรายงานแสดงรายได้-รายจ่าย จะมีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาทครับ อีกด้านหนึ่งการทำรายงานรับ-จ่ายไม่ใช่แค่เพียงเอื้ออำนวยการยื่นภาษีเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่จะได้ประโยชน์ทางอ้อมไปด้วย ข้อดีของทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย  สรุปแล้วบุคคลธรรมดาต้องทำบัญชีหรือไม่? ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาถ้ามีรายได้จากการทำธุรกิจตาม 40(5)-(8) เช่น รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ รับเหมาก่อสร้าง หรือธุรกิจพาณิชย์อื่นๆ มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายประจำวันจัดเก็บไว้ และการทำรายงานดังกล่าวจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ว่าในแต่ละเดือน เรามีกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกิจกันแน่ เพราะผู้ประกอบการหลายคนมักคิดว่าตัวเองทำธุรกิจมีกำไรทั้งๆที่ขายขาดทุนมาตลอด นอกจากนี้เราจะรู้ว่ารายได้ส่วนใหญ่ของเรามาจากการขายสินค้าหรือให้บริการตัวไหน และเห็นรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ได้ว่าต้นทุนไหนที่สามารถลดได้เพื่อเพิ่มกำไรในระยะยาวได้ครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นทำบัญชีอย่างไร และอยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก ที่มา: ??ู่มือ-การจัดบันทึกเงินสดรับ-จ่าย.pdf จักรพงษ์ ทรงกำพลพันธุ์ PEAK’s Assistant to CEO นักบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA) และผู้สอบบัญชีภาษีอากร(TA) ประสบการณ์สอบบัญชีจาก Big4 เพื่อต่อยอดและถ่ายทอดความรู้บัญชี ภาษีที่ถูกต้องให้แก่นักบัญชี ผู้สอบบัญชี รวมถึงผู้ประกอบการที่ใช้ข้อมูลการเงินเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ

5 ต.ค. 2023

PEAK Account

11 min

การเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ให้เหมาะสมกับองค์กร

ในยุคที่ HR หลายๆ คน ได้รู้จักกับโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์กันแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่าองค์กรหรือบริษัท ต้องเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนอันไหนดี เพราะการเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนนั้นเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนและการบริหารจัดการข้อมูลพนักงานขององค์กร และในปัจจุบัน ก็มีโปรแกรมให้เลือกใช้มากมาย หลากหลายรูปแบบอีกด้วย จึงต้องพิจารณาจากปัจจัยสำคัญต่างๆ เพื่อให้ได้โปรแกรมที่เหมาะสมทั้งในด้านการใช้งานและงบประมาณขององค์กร โดยวิธีการเลือกนั้น มีหลักการสำคัญๆ ดังนี้ 1. ค้นหาเป้าหมายในการใช้งาน ขั้นแรกในการตามหาโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เหมาะสมกับองค์กร HR จะต้องทราบปัญหาในการทำงานต่างๆ พร้อมกับ List ปัญหานั้นๆ ไว้เป็นข้อๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการคิดเงินเดือน การสรรหา หรือการบริหารจัดการด้านต่างๆ เช่น       จาก List ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ทราบว่า องค์กรนี้ต้องการโปรแกรมเงินเดือนแบบไหน มีฟังก์ชันที่สามารถรองรับปัญหาต่างๆ นี้ได้ครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้โปรแกรมที่เลือกใช้ตอบโจทย์และคุ้มค่าให้มากที่สุด 2. ความเหมาะสมกับขนาดและรูปแบบธุรกิจ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีที่สุด ไม่ได้แปลว่าจะเหมาะกับทุกๆ องค์กรหรือธุรกิจเสมอไป เพราะในแต่ละองค์กรจะมีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านวัฒนธรรม ขนาดองค์กร หรือรูปแบบธุรกิจ ทำให้ความเหมาะสมในการใช้งานโปรแกรมเงินเดือนนั้น แตกต่างกันไป เช่น องค์กรที่มีขนาดเล็ก ก็จะมีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับองค์กรใหญ่ๆ จึงไม่จำเป็นต้องเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนที่มีฟังก์ชันหลากหลายจนใช้งานได้ไม่คุ้มค่า หรือเป็นองค์กรที่มีพนักงานเป็นวัยสูงอายุ ก็ควรเลือกโปรแกรมที่เน้นความใช้งานง่าย รูปแบบสบายตา เป็นต้น 3. ความสามารถในการปรับแต่ง  เพราะมีระบบการจัดการที่แตกต่างกัน โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เลือกใช้ควรมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งตามข้อจำกัด เงื่อนไขและสิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจ เช่น มีการคำนวณเบี้ยขยันแบบพิเศษ การแบ่งงวดคำนวณเงินเดือนหลายงวด เป็นต้น และที่สำคัญคือ การปรับแต่งในรูปแบบต่างๆ นั้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ จะได้มีการวางแผนการใช้งานให้คุ้มค่ามากที่สุด 4. ความปลอดภัย หนึ่งในเรื่องสำคัญของทุกๆ องค์กร คือเรื่องความปลอดภัยของโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ เพราะข้อมูลเงินเดือนและข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน จึงควรเลือกโปรแกรมที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง อยู่บนระบบที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการรั่วไหลข้อมูลสำคัญขององค์กร 5. การบริการหลังการขาย สำหรับการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงโปรแกรมเงินเดือนนั้น หากมีปัญหาระหว่างการใช้งาน ก็จำเป็นต้องมีช่องทางให้ติดต่อสำหรับช่วยแก้ปัญหาหรือขอคำแนะนำต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น การบริการหลังการขายจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะหาก HR ติดปัญหาในการใช้งานแล้ว อาจเพิ่มปัญหาด้านอื่นๆ ในองค์กรตามมาได้เช่นกัน จึงควรเลือกโปรแกรมเงินเดือนที่มีบริการหลังการขายที่ดี มีช่องทางให้ติดต่อง่าย สะดวก และมีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ 6. งบประมาณ เรื่องสำคัญอีกเรื่องในการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ คือ เรื่องงบประมาณในการซื้อโปรแกรมนั่นเอง ควรพิจารณาความเหมาะสมของราคาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งความคุ้มค่าของบริการ เพื่อให้เลือกโปรแกรมที่มีคุณภาพ บริการดีและไม่เกินจากงบประมาณตั้งไว้ แต่ก็ไม่ควรใช้ราคาเป็นตัวตั้งในการเลือกโปรแกรมเพียงอย่างเดียว เพราะอาจทำให้ได้โปรแกรมที่ไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร ไม่สามารถแก้ปัญหารการทำงานบางอย่างได้ สุดท้ายก็จะทำให้การใช้งานโปรแกรมไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปในที่สุด 7. การพัฒนาอยู่เสมอ เรื่องสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ นั่นคือ ควรเลือกโปรแกรมที่มีการปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงตามคำแนะนำจากลูกค้า หรือการพัฒนาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และทุกองค์กร ทุกบริษัทก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปข้างอยู่เสมอเช่นเดียวกัน สรุปการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ การเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เหมาะสม และตอบโจทย์จะช่วยให้การบริหารองค์กรดำเนินไปตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น ดังนั้นการเลือกโปรแกรมเงินเดือนจึงเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามความต้องการ และสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในการทำงานของ HR ได้จริง เช่น HumanSoft โปรแกรมบริหารงานบุคคล ที่เป็นระบบออนไลน์ 100% รองรับการใช้งานครอบคลุมทุกการทำงานของ HR มีความยืดหยุ่นสูง ทำงานบนระบบที่มีความปลอดภัยระดับโลก  มีบริการหลังการขาย และพัฒนาโปรแกรมอยู่เสมอ อีกทั้งยังสามารถเลือกราคาเป็นแพ็คเก็จเพื่อแยกการใช้สำหรับแต่ละองค์กรได้ ทำให้ได้ใช้โปรแกรมที่เหมาะสม ในราคาที่แสนจะคุ้มค่าอีกด้วย นอกจากนี้ HumanSoft ยังสามารถทำงานเชื่อมต่อกับ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ทำให้จัดการงานด้านภาษีได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้นไปอีก โดยเมื่อองค์กรจ่ายเงินเดือนจากระบบ HumanSoft ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งมายัง PEAK โดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเงินเดือนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โปรโมชั่น สุด wow! สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สมัครใช้งาน โปรแกรมคิดเงินเดือน HumanSoft วันนี้ เฉพาะผู้ที่สมัครแพ็กเกจ Professional แบบรายปี มูลค่ามากกว่า 49,000 บาท ( รายละเอียดแพ็กเกจ เพิ่มเติม  nbsp;) คุ้ม 3 ต่อ ต่อที่ 1 รับเครื่องสแกนลายนิ้วมือและใบหน้า รุ่นใหม่ล่าสุด มูลค่า 11,900 บาท ทันที ต่อที่ 2 ทดลองใช้งาน โปรแกรม HumanSoft ฟรี 30 วัน ครบทุกฟังก์ชัน ต่อที่ 3 แถมฟรี ฟังก์ชั่น E-learning & E-library จำนวน 5 บทเรียน เงื่อนไขการรับสิทธิ์ 1. สิทธิพิเศษนี้ สำหรับลูกค้าปัจจุบัน ของโปรแกรม PEAK เท่านั้น 2. ลูกค้า 1 ท่าน สามารถใช้สิทธิ์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น 3. ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ 4. ส่วนลดไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ 5. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไขโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2566 นี้เท่านั้น หรือจนกว่าสินค้าจะหมด

24 ต.ค. 2023

จักรพงษ์

12 min

บุคคลธรรมดากับการจัดทำบัญชีเงินสดรับจ่าย

ปกติบุคคลธรรมดาไม่ต้องจัดทำบัญชี แต่ในทางภาษีถ้าใครที่มีที่มีรายได้ประเภท 40(5)-(8) จะถูกกำหนดให้ต้องจัดทำ “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” ตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนดเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี ทั้งนี้หากผู้ประกอบการไม่จัดทำรายงานดังกล่าวจะมีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท รู้หรือไม่ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาก็ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกัน ถ้าใครยังไม่รู้ก็ไม่แปลก เพราะจริงๆ กฎหมายบัญชีก็ไม่ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาทำบัญชี แต่จริงๆ แล้วทางภาษีจะมีการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลที่มีรายได้บางประเภทต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายด้วยครับ ก่อนอื่นเราลองมาทำความรู้จักกับ 2 หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีกันก่อน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development: DBD) และกรมสรรพากร (Revenue Department: RD) ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีแตกต่างกัน ดังนี้ครับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (The Department of Business Development :DBD) พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ไม่ได้กำหนดให้บุคคลธรรมดาต้องจัดทำบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ว่าอยากให้บุคคลธรรมดาประเภทใดที่ต้องจัดทำบัญชี ในปัจจุบันมีกำหนดขึ้นมาเพียง 2 ประเภทเท่านั้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ ดังนั้นบุคคลที่ไม่ได้ประกอบธุรกิจข้างต้น จึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีใดๆ เพื่อส่งให้ DBD ครับ กรมสรรพากร (The Revenue Department :RD) ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือพูดง่ายๆ ว่าคนที่ไม่ได้จด VAT ที่มีรายได้ประเภท 40(5) – (8) เช่น รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ รับเหมาก่อสร้าง หรือธุรกิจพาณิชย์อื่นๆ ต้องจัดทำบัญชีหรือรายงานที่แสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน ที่เรียกว่า “รายงานเงินสดรับ-จ่าย” โดย คนที่เคยยื่นภาษีบุคคลธรรมดาแล้ว จะคุ้นชินกับการเลือกหักรายจ่ายหักตามจริงและหักแบบเหมา และอาจคิดว่าถ้าหักแบบเหมาไม่ต้องทำรายงานนี้ได้ บอกเลยไม่ว่าเราจะเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบใด ก็ต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างคือถ้าหักรายจ่ายตามจริงต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบทุกรายการที่จ่ายเงิน แต่ถ้าหักแบบเหมาไม่จำเป็นต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบทุกรายการก็ได้ครับ สรุปแล้ว ในทางภาษีได้กำหนดให้คนที่มี รายได้ประเภท 40(5) – (8) ต้องจัดทำรายงานแสดงรายรับ-รายจ่ายเก็บไว้ แต่ไม่ต้องกังวลว่าการจัดทำรายงานต้องทำอย่างไร จะยุ่งยากหรือไม่นะครับ เพราะทางกรมสรรพากรก็ได้ให้แบบฟอร์ม และตัวอย่างการกรอกมาให้เราด้วยครับ คำอธิบายการกรอกรายละเอียด 1. วัน/ เดือน/ปี : บันทึกวันที่เกิดรายการรับเงินหรือจ่ายเงิน 2. รายการ : บันทึกรายละเอียด เช่น ยอดขายสินค้า ค่าซื้อสินค้า ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า เงินเดือน เป็นต้น 3. รายรับ : บันทึก “จำนวนเงิน” ที่ได้รับเข้ามาตามรายละเอียดในช่องรายการ 4. รายจ่ายซื้อสินค้า : บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายซื้อสินค้า กรณีขายเชื่อให้อธิบายเพิ่มในช่องหมายเหตุ 5. รายจ่ายค่าใช้จ่ายอื่น : ใช้บันทึก “จำนวนเงิน” ที่จ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ เราจะเห็นได้ว่าการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายค่อนข้างเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน เพราะบันทึกตามเกณฑ์เงินสด ส่วนเหตุผลที่ต้องจัดทำ ก็เพื่อเป็นรายละเอียดประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตัวรายงานนี้ไม่ถูกกำหนดให้นำส่งกรมสรรพากร แต่ต้องจัดทำและเก็บไว้เพื่อการเรียกตรวจสอบประเมินของ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบไม่จัดทำรายงานแสดงรายได้-รายจ่าย จะมีค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาทครับ อีกด้านหนึ่งการทำรายงานรับ-จ่ายไม่ใช่แค่เพียงเอื้ออำนวยการยื่นภาษีเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อผู้ประกอบการที่จะได้ประโยชน์ทางอ้อมไปด้วย ข้อดีของทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย  สรุปแล้วบุคคลธรรมดาต้องทำบัญชีหรือไม่? ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาถ้ามีรายได้จากการทำธุรกิจตาม 40(5)-(8) เช่น รายได้จากค่าเช่าทรัพย์สิน วิชาชีพอิสระ รับเหมาก่อสร้าง หรือธุรกิจพาณิชย์อื่นๆ มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายประจำวันจัดเก็บไว้ และการทำรายงานดังกล่าวจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ว่าในแต่ละเดือน เรามีกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกิจกันแน่ เพราะผู้ประกอบการหลายคนมักคิดว่าตัวเองทำธุรกิจมีกำไรทั้งๆที่ขายขาดทุนมาตลอด นอกจากนี้เราจะรู้ว่ารายได้ส่วนใหญ่ของเรามาจากการขายสินค้าหรือให้บริการตัวไหน และเห็นรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพื่อนำมาวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ได้ว่าต้นทุนไหนที่สามารถลดได้เพื่อเพิ่มกำไรในระยะยาวได้ครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นทำบัญชีอย่างไร และอยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก ที่มา: ??ู่มือ-การจัดบันทึกเงินสดรับ-จ่าย.pdf จักรพงษ์ ทรงกำพลพันธุ์ PEAK’s Assistant to CEO นักบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA) และผู้สอบบัญชีภาษีอากร(TA) ประสบการณ์สอบบัญชีจาก Big4 เพื่อต่อยอดและถ่ายทอดความรู้บัญชี ภาษีที่ถูกต้องให้แก่นักบัญชี ผู้สอบบัญชี รวมถึงผู้ประกอบการที่ใช้ข้อมูลการเงินเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ

5 ต.ค. 2023

PEAK Account

11 min

การเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ให้เหมาะสมกับองค์กร

ในยุคที่ HR หลายๆ คน ได้รู้จักกับโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์กันแล้ว แต่ก็ยังไม่รู้ว่าองค์กรหรือบริษัท ต้องเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนอันไหนดี เพราะการเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนนั้นเป็นเรื่องสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนและการบริหารจัดการข้อมูลพนักงานขององค์กร และในปัจจุบัน ก็มีโปรแกรมให้เลือกใช้มากมาย หลากหลายรูปแบบอีกด้วย จึงต้องพิจารณาจากปัจจัยสำคัญต่างๆ เพื่อให้ได้โปรแกรมที่เหมาะสมทั้งในด้านการใช้งานและงบประมาณขององค์กร โดยวิธีการเลือกนั้น มีหลักการสำคัญๆ ดังนี้ 1. ค้นหาเป้าหมายในการใช้งาน ขั้นแรกในการตามหาโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เหมาะสมกับองค์กร HR จะต้องทราบปัญหาในการทำงานต่างๆ พร้อมกับ List ปัญหานั้นๆ ไว้เป็นข้อๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการคิดเงินเดือน การสรรหา หรือการบริหารจัดการด้านต่างๆ เช่น       จาก List ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ทราบว่า องค์กรนี้ต้องการโปรแกรมเงินเดือนแบบไหน มีฟังก์ชันที่สามารถรองรับปัญหาต่างๆ นี้ได้ครบถ้วนหรือไม่ เพื่อให้โปรแกรมที่เลือกใช้ตอบโจทย์และคุ้มค่าให้มากที่สุด 2. ความเหมาะสมกับขนาดและรูปแบบธุรกิจ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีที่สุด ไม่ได้แปลว่าจะเหมาะกับทุกๆ องค์กรหรือธุรกิจเสมอไป เพราะในแต่ละองค์กรจะมีรูปแบบการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านวัฒนธรรม ขนาดองค์กร หรือรูปแบบธุรกิจ ทำให้ความเหมาะสมในการใช้งานโปรแกรมเงินเดือนนั้น แตกต่างกันไป เช่น องค์กรที่มีขนาดเล็ก ก็จะมีการใช้งานที่ไม่ซับซ้อนเท่ากับองค์กรใหญ่ๆ จึงไม่จำเป็นต้องเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนที่มีฟังก์ชันหลากหลายจนใช้งานได้ไม่คุ้มค่า หรือเป็นองค์กรที่มีพนักงานเป็นวัยสูงอายุ ก็ควรเลือกโปรแกรมที่เน้นความใช้งานง่าย รูปแบบสบายตา เป็นต้น 3. ความสามารถในการปรับแต่ง  เพราะมีระบบการจัดการที่แตกต่างกัน โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เลือกใช้ควรมีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งตามข้อจำกัด เงื่อนไขและสิ่งแวดล้อมภายในธุรกิจ เช่น มีการคำนวณเบี้ยขยันแบบพิเศษ การแบ่งงวดคำนวณเงินเดือนหลายงวด เป็นต้น และที่สำคัญคือ การปรับแต่งในรูปแบบต่างๆ นั้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่ จะได้มีการวางแผนการใช้งานให้คุ้มค่ามากที่สุด 4. ความปลอดภัย หนึ่งในเรื่องสำคัญของทุกๆ องค์กร คือเรื่องความปลอดภัยของโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ เพราะข้อมูลเงินเดือนและข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน จึงควรเลือกโปรแกรมที่มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง อยู่บนระบบที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการรั่วไหลข้อมูลสำคัญขององค์กร 5. การบริการหลังการขาย สำหรับการใช้โปรแกรมต่างๆ รวมถึงโปรแกรมเงินเดือนนั้น หากมีปัญหาระหว่างการใช้งาน ก็จำเป็นต้องมีช่องทางให้ติดต่อสำหรับช่วยแก้ปัญหาหรือขอคำแนะนำต่างๆ อยู่ตลอดเวลา  ดังนั้น การบริการหลังการขายจึงเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ เพราะหาก HR ติดปัญหาในการใช้งานแล้ว อาจเพิ่มปัญหาด้านอื่นๆ ในองค์กรตามมาได้เช่นกัน จึงควรเลือกโปรแกรมเงินเดือนที่มีบริการหลังการขายที่ดี มีช่องทางให้ติดต่อง่าย สะดวก และมีความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ 6. งบประมาณ เรื่องสำคัญอีกเรื่องในการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ คือ เรื่องงบประมาณในการซื้อโปรแกรมนั่นเอง ควรพิจารณาความเหมาะสมของราคาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งความคุ้มค่าของบริการ เพื่อให้เลือกโปรแกรมที่มีคุณภาพ บริการดีและไม่เกินจากงบประมาณตั้งไว้ แต่ก็ไม่ควรใช้ราคาเป็นตัวตั้งในการเลือกโปรแกรมเพียงอย่างเดียว เพราะอาจทำให้ได้โปรแกรมที่ไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร ไม่สามารถแก้ปัญหารการทำงานบางอย่างได้ สุดท้ายก็จะทำให้การใช้งานโปรแกรมไม่คุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไปในที่สุด 7. การพัฒนาอยู่เสมอ เรื่องสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ นั่นคือ ควรเลือกโปรแกรมที่มีการปรับปรุงหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงตามคำแนะนำจากลูกค้า หรือการพัฒนาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เพราะโลกใบนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และทุกองค์กร ทุกบริษัทก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวไปข้างอยู่เสมอเช่นเดียวกัน สรุปการเลือกโปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ การเลือกใช้โปรแกรมเงินเดือนออนไลน์ที่เหมาะสม และตอบโจทย์จะช่วยให้การบริหารองค์กรดำเนินไปตามเป้าหมายได้อย่างราบรื่น ดังนั้นการเลือกโปรแกรมเงินเดือนจึงเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้โปรแกรมที่ตรงตามความต้องการ และสามารถช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ในการทำงานของ HR ได้จริง เช่น HumanSoft โปรแกรมบริหารงานบุคคล ที่เป็นระบบออนไลน์ 100% รองรับการใช้งานครอบคลุมทุกการทำงานของ HR มีความยืดหยุ่นสูง ทำงานบนระบบที่มีความปลอดภัยระดับโลก  มีบริการหลังการขาย และพัฒนาโปรแกรมอยู่เสมอ อีกทั้งยังสามารถเลือกราคาเป็นแพ็คเก็จเพื่อแยกการใช้สำหรับแต่ละองค์กรได้ ทำให้ได้ใช้โปรแกรมที่เหมาะสม ในราคาที่แสนจะคุ้มค่าอีกด้วย นอกจากนี้ HumanSoft ยังสามารถทำงานเชื่อมต่อกับ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ทำให้จัดการงานด้านภาษีได้อย่างสะดวก รวดเร็วมากขึ้นไปอีก โดยเมื่อองค์กรจ่ายเงินเดือนจากระบบ HumanSoft ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งมายัง PEAK โดยอัตโนมัติ ทำให้สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเงินเดือนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โปรโมชั่น สุด wow! สำหรับลูกค้าปัจจุบันที่ใช้งาน โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สมัครใช้งาน โปรแกรมคิดเงินเดือน HumanSoft วันนี้ เฉพาะผู้ที่สมัครแพ็กเกจ Professional แบบรายปี มูลค่ามากกว่า 49,000 บาท ( รายละเอียดแพ็กเกจ เพิ่มเติม  nbsp;) คุ้ม 3 ต่อ ต่อที่ 1 รับเครื่องสแกนลายนิ้วมือและใบหน้า รุ่นใหม่ล่าสุด มูลค่า 11,900 บาท ทันที ต่อที่ 2 ทดลองใช้งาน โปรแกรม HumanSoft ฟรี 30 วัน ครบทุกฟังก์ชัน ต่อที่ 3 แถมฟรี ฟังก์ชั่น E-learning & E-library จำนวน 5 บทเรียน เงื่อนไขการรับสิทธิ์ 1. สิทธิพิเศษนี้ สำหรับลูกค้าปัจจุบัน ของโปรแกรม PEAK เท่านั้น 2. ลูกค้า 1 ท่าน สามารถใช้สิทธิ์ได้ 1 ครั้งเท่านั้น 3. ไม่สามารถใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ 4. ส่วนลดไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ 5. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด และเงื่อนไขโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2566 นี้เท่านั้น หรือจนกว่าสินค้าจะหมด