ความรู้ภาษี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

12 มี.ค. 2025

PEAK Account

13 min

7 ประเภทค่าใช้จ่าย ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

ความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างถูกต้องตามกำหนด ไม่เสียค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ครบ ยังอาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้นั่นเอง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ภาครัฐได้ออกนโยบายลดหย่อนภาษี มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการแข่งขันด้านธุรกิจ ให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราก็จะพาผู้ประกอบการทุกท่านไปดูกันว่า ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล คืออะไร? การลดหย่อนภาษีคือสิทธิ์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงประชาชนที่ทางรัฐบาลกำหนดว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และในบางกรณีอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันด้วยเช่นกัน ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่อง ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลทำได้หลายรูปแบบมาก มีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาลดหย่อนกับรัฐบาล ช่วยให้สามารถปรับหยัดค่าเสียภาษี หรืออาจได้เงินภาษีคืนมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อให้สามารถนำเงินไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ศึกษาอย่างละเอียด ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือใหม่ หรือเมื่อรัฐบาลมีนโยบายใหม่ ๆ ที่ออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำบางอย่างไปลดหย่อนภาษีได้ก็จะได้ตามทัน และรีบปรับตัวตามนั่นเอง  เช็กเงื่อนไขการเสียภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษี คือมีทุนจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยในกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกจะไม่ต้องเสียภาษีกำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001 – 3 ล้านบาท มีอัตราภาษี 15% และหากกำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป จะมีอัตราภาษี 20%หากธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็น SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะมีอัตราภาษี 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า สามารถศึกษาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าได้ที่ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง? เคล็ดลับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลด้วยค่าใช้จ่าย 7 ประเภท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่ายที่นำไปใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ประกอบไปด้วย 6 ประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าจัดตั้งบริษัท ทำบัญชี และการสอบบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็สามารถนำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี ไปจนถึงการสอบบัญชี ในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีติดต่อกันมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว 2. ค่าเสื่อมสภาพของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงออกนโยบายให้ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าอุปกรณ์ โดยจะทำการทยอยหักภายใน 3 รอบบัญชีนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 3. ค่าเสื่อมอาคารผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคาร หรือโรงงานสามารถนำค่าเสื่อมของอาคารมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 5% ต่อปี 4. ค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรโรงงานที่มีเครื่องจักรสามารถนำค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยคิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่า ส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 20% ต่อปี 5. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ คือค่าจ้างผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายในการสนับสนุน SMEs ในการจ้างผู้สูงอายุ เพื่อกระจายรายได้ จึงทำให้มีนโยบายนี้ออกมารองรับ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 6. เงินบริจาคเงินบริจาคเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้6.1 บริจาคให้กับ สถาบันการศึกษารัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูงผู้ประกอบการสามารถนำเงินบริจาคมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่จะไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายการบริจาค 6.2 บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย 6.3 เงินบริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้ง 4 กองทุนสามารถนำเงินบริจาคหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งนี้เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย 7. รายจ่ายในการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรบให้พนักงานในบริษัทก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ทั้งในกรณีที่ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และการฝึกอบรบให้ลูกจ้างตนเอง โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้7.1  ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม 7.2 ฝึกอบรมลูกจ้างตนเอง รู้เรื่องภาษีให้รอบด้าน อาจช่วยลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้มากกว่าที่คิด การจัดการภาษีนิติบุคคลอย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพราะสามารถช่วยลดภาระทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องมาหักลดหย่อน หรือการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ หากมีการเตรียมเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การจัดทำรายงานภาษีเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากขึ้น PEAK Tax เป็นฟังก์ชันหนึ่งในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่ช่วยให้การจัดการภาษีของธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณและสร้างแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของแบบภาษีก่อนส่ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด นอกจากนี้ PEAK Tax ยังช่วยสรุปและจัดทำรายงานภาษีได้อย่างเป็นระบบ รองรับการนำเข้าข้อมูลจากระบบขายออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และ TikTok Shop ช่วยลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และทำให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 มี.ค. 2025

PEAK Account

14 min

เช็กด่วน! รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดาตรงกับรายได้จริงไหม

เรียกได้ว่ามาถึงครึ่งทางแล้วสำหรับเทศกาลยื่นภาษีของบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากปี 2567 หรือที่เรียกกันว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ซึ่งถูกกำหนดให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพื่อเสียภาษีให้เสร็จภายใน 31 มีนาคม 68 แต่ถ้าใครยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตเวลาสิ้นสุดจะขยายจนถึง 8 เมษายน 68 ขณะที่หลายคนยื่นแบบภาษีผ่านไปได้ราบรื่น ไม่มีปัญหา แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มที่พบปัญหาว่า รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา ของกรมสรรพากรนั้นไม่เท่ากับรายได้ที่ตนเองได้รับจริงหรือจดบันทึกไว้ เช่น ระบบแสดงรายได้มาก หรือต่ำกว่าความเป็นจริง แบบนี้คงจะเริ่มปวดหัว ต้องสาเหตุเกิดจากอะไร และต้องทำอย่างไรต่อ ซึ่งเราจะมาหาคำตอบกันในบทความนี้ ตรวจสอบรายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา ผ่านระบบ D-MyTax (Digital MyTax) บางคนอาจยังไม่ทราบว่ากรมสรรพากรมีระบบที่สามารถดึงข้อมูลรายได้เราจากทุกๆ แหล่งที่เราเคยโดนหัก ณ ที่จ่ายไว้หรือมีคนนำส่งข้อมูลไว้ ซึ่งจะนำมาแสดงในระบบใหม่ของกรมสรรพากรที่ชื่อว่า ‘D-MyTax’ หรือ Digital MyTax เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น ขอแสดงตัวอย่างการเข้าไปดูข้อมูลรายได้ในระบบดังกล่าว ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้ 1. เข้าสู่ระบบกรมสรรพากรเพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 3. หลังจากนั้นระบบจะแสดงหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกว่าการยื่นแบบจะ ‘ใช้ข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับ’ หรือจะ ‘กรอกข้อมูลด้วยตนเอง’ ให้เลือก ‘ใช้ข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับ’ เพื่อดูว่าระบบสรรพากรมีข้อมูลรายได้อะไรของเราบ้าง 4. สิ่งที่เราจะเจออันดับแรกยังไม่ใช่ข้อมูล ‘รายได้’ แต่เป็นข้อมูล ‘ค่าลดหย่อน’ ต่างๆ ที่สรรพากรได้รับข้อมูลมาเช่นกัน บางครั้งเราลืมว่ามีสิทธิ์ลดหย่อนส่วนนี้ เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือค่าใช้จ่ายในโครงการ Easy E-Receipt ที่จำไม่ได้ว่าต้นปีที่แล้วจ่ายอะไรไปบ้าง ระบบก็จะแสดงข้อมูลต่างๆออกมาให้ แม้ข้อมูล ‘ค่าลดหย่อน’ จะไม่ได้เกี่ยวกับบทความนี้ แต่ก็เป็นเรื่องดีๆ ที่ผู้อ่านควรรู้  5. เลื่อนลงมาเรื่อยๆ จะเจอไฮไลท์ของบทความนี้แล้วก็คือ ข้อมูล ‘รายได้’ ซึ่งจะแสดงเป็นส่วนๆ  เช่น รายได้เงินเดือน, รายได้จากทรัพย์สิน/การทำธุรกิจ/อาชีพอิสระ เป็นต้น ซึ่งการแสดงข้อมูลในส่วนนี้จะบอกรายละเอียดของรายได้ เช่น วิธีตรวจสอบรายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดาตรงกับรายได้จริงของเราไหม? ถึงตอนนี้แล้วคิดว่าทุกคนคงเห็นภาพมากขึ้นว่าระบบแสดงข้อมูลรายได้เราอย่างไรบ้าง สิ่งที่เราจะทำได้ต่อจากนี้ คือ การตรวจสอบว่ารายได้ที่แสดงในระบบครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เราสามารถตรวจสอบโดยใช้หลายวิธีรวมกันได้ ส่วนตัวของผู้เขียนจะทำบันทึกจดรายได้พร้อมบันทึกวันรับเงินและเก็บเอกสารหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายเพื่อเป็นหลักฐานการรับเงินในแต่ละครั้ง หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าข้อมูลรายได้ที่เรามีและในระบบสรรพากรตรงกันเป๊ะ แบบนี้เรียกว่า ‘ราบรื่น’ ได้เลย แต่ถ้าข้อมูลไม่ตรงกันไม่ว่าจะมากกว่าหรือน้อยกว่า เราสามารถเตรียมรับมือได้ ดังนี้ กรณีข้อมูลรายได้จริง ‘มากกว่า’ รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา 1. รายได้ที่ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น รายได้จากการขายสินค้า หรือรายได้จากการให้บริการแก่บุคคล ซึ่งปกติจะไม่มีการหักภาษี ณ ที่ จ่ายระหว่างกัน ในระบบฯ จึงไม่แสดงข้อมูลนี้ แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ทั้งหมด และยื่นรายได้ให้ครบถ้วน 2. รายได้ที่เราบันทึกไว้ แต่ยังไม่ได้รับเงินจริง เนื่องจากการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาจะถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเมื่อได้รับชำระเงินแล้ว เช่น ให้บริการแก่บริษัทจำกัดแต่ยังไม่ได้รับชำระเงิน แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ที่ยื่นภาษี ต้องเป็นรายได้ที่ได้รับเงินแล้วในปี 2567 3. ผู้จ่ายเงินไม่ได้ยื่นแบบหรือส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้สรรพากร เช่น ผู้จ่ายเงินหักภาษีไว้ แต่ลืมนำส่งภาษีให้สรรพากร หรือบางกรณีที่ไม่มีภาษีต้องหักแต่ต้องยื่นแบบ ซึ่งผู้จ่ายเงินไม่ได้ยื่นแบบ เป็นต้น แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งเรื่องต่อสรรพากรพื้นที่ 4. ผู้จ่ายเงินส่งข้อมูลรายได้น้อยกว่าที่จ่ายจริง กรณีเกิดจากความผิดพลาดของผู้จ่ายเงินที่ยื่นแบบแจ้งสรรพากรต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น รายได้ 100,000 แต่ระบุเป็น 10,000 เป็นต้น แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งเรื่องต่อสรรพากรพื้นที่ 5. ข้อมูลยังไม่เข้าระบบของกรมสรรพากร เช่น บริษัทที่จ่ายเงินเดือนยังไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนด ข้อมูลรายได้ส่วนนี้จึงยังไม่ปรากฏบนระบบ เป็นต้น แก้ไข: สอบถามไปยังผู้จ่ายว่ายื่นแบบไปแล้วหรือไม่ หรืออาจรอให้ผู้จ่ายเงินยื่นแบบก่อน เพื่อให้ข้อมูลขึ้นในระบบ แล้วค่อยยื่นภาษีบุคคลก็ได้เช่นกัน กรณีข้อมูลรายได้จริง ‘น้อยกว่า’ รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา 1. บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน อาจเกิดจากการที่เราบันทึกรายได้ตกหล่น หรือเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบเอง แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ทั้งหมดให้ครบถ้วน เก็บข้อมูลวันที่เกิดรายได้และวันที่ได้รับเงิน 2. รายรับบางอย่างไม่รู้ว่าเป็นรายได้ทางภาษี เช่น รายได้ที่ไม่ถูกหัก ณ ที่จ่ายอาจคิดว่าไม่ต้องยื่นภาษี หรือรายได้ที่ผู้จ่ายออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนแต่ไม่ส่งใบ 50 ทวิมาให้ แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ทั้งหมดให้ครบถ้วน ไม่สนใจว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วหรือไม่ กรณีที่ผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนต้องติดตามใบ 50 ทวิมาเก็บเป็นหลักฐานด้วย 3. ผู้จ่ายเงินส่งข้อมูลรายได้มากกว่าที่จ่ายจริง เกิดจากความผิดพลาดของผู้จ่ายเงินที่ยื่นแบบแจ้งสรรพากรสูงกว่าความเป็นจริง เช่น รายได้ 5,000 แต่ระบุเป็น 50,000 เป็นต้น แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งเรื่องต่อสรรพากรพื้นที่ 4. ผู้จ่ายเงินส่งข้อมูลรายได้ผิดบุคคล เช่น ผู้จ่ายเงินจ้างนาย A แต่ตอนแจ้งสรรพากรระบุว่าผู้รับเงิน คือ นาย B ซึ่งทำให้ข้อมูลรายได้ของนาย A และ นาย B จะไม่ตรงกัน แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งความการแอบอ้างชื่อไปใช้และนำใบแจ้งความไปแจ้งที่สรรพากรพื้นที่ต่อ ทั้งนี้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราเคยให้คนรู้จักใช้บัตรประชาชนเราไปรับเงินแทนหรือไม่ กรณีที่อยู่ระหว่างรอการแก้ไขภาษีจากผู้จ่ายเงิน และจำเป็นต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 สามารถยื่นแบบภาษีตามยอดรายได้ตามที่ถูกต้องแม้จะไม่ตรงกับยอดในระบบสรรพากร และให้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้สรรพากรรับทราบอีกครั้ง สรุป การที่ระบบการยื่นภาษีของกรมสรรพากรสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการมีรายได้ของผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาได้ ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถเช็กข้อมูลที่ตนเองเก็บบันทึกไว้กับข้อมูลในระบบสรรพากรได้เร็วและง่าย กรณีเจอข้อมูลที่แตกต่างกัน สามารถดูรายชื่อและเลขผู้เสียภาษีของผู้จ่ายรายได้เพื่อติดต่อไปสอบถามและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ทันที ขอย้ำอีกครั้งว่าอย่าเข้าระบบเพื่อยื่นภาษีอย่างเดียว แต่ควรตรวจสอบข้อมูลรายได้ให้ครบถ้วน ถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีฟังก์ชันรองรับการช่วยเก็บข้อมูลรายได้ ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย(ใบ50ทวิ) และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

28 ก.พ. 2025

PEAK Account

13 min

เช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทำง่าย สะดวก รวดเร็ว

ในทุกปีเมื่อถึงช่วงเวลายื่นภาษี ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ SME นิติบุคคล หรือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คำถามยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือ “เงินคืนภาษีของเราถึงไหนแล้ว?” แต่ในปัจจุบันภาครัฐได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการด้วยการเปิดระบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การยื่นภาษีออนไลน์ รวมไปถึง เช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ ที่ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ วิธีเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับผู้ประกอบการ จะทำอย่างไร สะดวกมากน้อยแค่ไหน มาร่วมหาคำตอบในบทความนี้ไปพร้อมกัน ทำไมต้องเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์? การเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะช่วยให้คุณรู้ความคืบหน้าว่าแบบภาษีที่ยื่นไปได้รับการตรวจสอบหรือยัง และมีปัญหาอะไรต้องแก้ไขหรือไม่ การติดตามสถานะอย่างใกล้ชิดช่วยให้สามารถจัดการเอกสารเพิ่มเติมได้ทันทีหากมีข้อผิดพลาด ลดความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธการคืนภาษี และยังช่วยให้คุณวางแผนกระแสเงินสดได้อย่างแม่นยำ เพราะการได้รับเงินคืนเร็วขึ้น หมายถึงธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ การใช้ช่องทางออนไลน์ในการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ยังช่วยประหยัดเวลา ลดขั้นตอน และทำให้การติดต่อกับกรมสรรพากรสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าการโทรหรือเดินทางไปด้วยตัวเองอีกด้วย สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้เกี่ยวกับ “การคืนภาษีออนไลน์” ก่อนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ เงื่อนไขการขอคืนภาษีของนิติบุคคล ที่ควรรู้ ก่อนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับการขอคืนภาษีของนิติบุคคล ซึ่งทางกรมสรรพากรก็ได้ทำการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อระบุว่ากิจการใดมีสิทธิ์ในการขอคืนภาษีได้ ซึ่งหลักเกณฑ์สามารถแบ่งออกได้ 3 กรณีตามประเภทภาษี 1. ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร ได้มีการกำหนดเงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์ขอคืนภาษีว่าต้องเป็นกิจการที่เป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และได้ทำการนำส่งภาษีเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี กิจการของคุณเข้าข่ายสามารถขอคืนภาษีได้ตามมาตรา 63 ในส่วนของระยะเวลาในการยื่นขอคืนภาษี สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด  ยกตัวอย่างเช่น  กิจการ A มีรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งในรอบปีนั้นมีการหักภาษีเกินที่กำหนดไป และกิจการ A มีหน้าที่ยื่นภาษีภายใน 150 วัน นับตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี หมายความว่า กิจการ A สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2571 นั่นเอง 2. ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร  อีกหนึ่งรูปแบบการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจะตรงกับกรณีของมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงื่อนไขข้อนี้สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้ทำกิจการเข้าข่ายมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กลุ่มกิจการที่มีการหัก ณ ที่จ่ายมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ยกตัวอย่างเช่น ค่านายหน้า ค่าฝึกอบรม ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร ซึ่งรวมไปถึงบริษัทต่างประเทศที่เข้ามามีรายได้ในประเทศไทยอีกด้วย โดยเงื่อนไขในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายประเภทนี้ต้องเป็นผู้ที่เมื่อจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วเกินจากที่กำหนด และมีระยะเวลาในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่ากับ มาตรา 63 คือ 3 ปีหลังจากวันครบกำหนดยื่นภาษี 3. ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% ซึ่งเป็นเงินภาษีที่หักออกจากสินค้าหรือบริการเพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร รวมไปถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจ่ายเมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการด้วย มีเงื่อนไขและรูปแบบการขอคืนภาษีดังนี้ การเปลี่ยนเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป กรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปเกินที่กำหนดไว้ จะเปลี่ยนเป็นเครดิตภาษี ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายภาษีของเดือนถัดไปได้ ทั้งนี้ถ้าผู้ประกอบการมีเครดิตภาษีเหลือแล้วไม่ได้ทำการยื่นขอคืนภาษีภายในเดือนนั้น หมายความว่าประสงค์ที่จะยกไปใช้ชำระภาษีในเดือนถัดไป ทั้งนี้ถ้าเดือนถัดไปไม่ได้นำเครดิตตรงนี้มาชำระ จะไม่สามารถเก็บเครดิตเพื่อชำระในเดือนถัด ๆ ไปอีกได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือบริการ เมื่อผู้ประกอบการไม่ได้ทำการขอคืนภาษีด้วยการเครดิตภาษี ในกรณีนี้ผู้ประกอบการสามารถทำเรื่องยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดยื่นภาษีของเดือนภาษีนั้น ๆ โดยผู้ประกอบการสามารถทำเรื่องยื่นขอคืนภาษีด้วยแบบ ค. 10 ขอคืนภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้า ในกรณีที่มีการนำเข้าสินค้ารูปแบบการขอคืนภาษีจะแตกต่างกันออกไป โดยผู้ประกอบการที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ที่อำเภอ แต่ถ้าไม่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นคำร้องคืนภาษีที่ด่านศุลกากรขาเข้า ทั้งนี้ยังมีเงื่อนไขพิเศษในกรณีที่ผู้นำเข้าสินค้า มีข้อโต้แย้งตามกฎหมาย หรือมีติดคดีในศาล สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือข้อโต้แย้งอากรขาเข้า 4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ในส่วนขอภาษีธุรกิจเฉพาะ คือธุรกิจที่มีรายได้จากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการให้กู้ยืม และมีการนำส่งภาษีแล้ว แต่จำนวนที่นำส่งเกินกว่ากำหนดที่ต้องเสียภาษี โดยสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ครบรอบยื่นแบบภาษี เช่นเดียวกับการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง ขั้นตอนการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับขั้นตอนการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์สามารถทำได้ผ่าน Digtal My Tax ระบบใหม่ล่าสุดที่ทางกรมสรรพากรออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยเฉพาะ ซึ่ง D-MyTax จะรวมทั้งภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมไปถึงผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แบบ One Portal ที่เดียวจบทุกเรื่องภาษี สำหรับขั้นตอนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ ทำได้ดังนี้ 2. เลือกไปที่เมนู “นิติบุคคล” 3. คลิกที่ปุ่ม [รวมบริการทางภาษี (One Portal)] 4. เลือกวิธีการเข้าสู่ระบบ 5. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะพบกับหน้าเว็บไซต์ที่แสดงสถานะของรายการที่เรายื่นไปแล้วนั่นเอง การเช็คสถานะคืนภาษีออนไลน์ผ่าน D-MyTax เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่เจ้าของธุรกิจยุคใหม่ควรรู้ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าภาษีที่จ่ายเกินจะได้รับคืนแล้ว ยังช่วยให้คุณจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และลดความผิดพลาดได้อย่างมาก เมื่อเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ แล้วพบว่าความล่าช้าควรทำอย่างไร เมื่อเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ แล้วพบว่าเกิดความล่าช้า แนะนำให้รีบติดต่อกรมสรรพากร เพื่อสอบถามถึงสาเหตุ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้า แนะนำให้ผู้ประกอบการเตรียมจัดการบัญชี เอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย และตรวจสอบความถูกต้องให้ชัดเจน เพื่อให้ขั้นตอนการตรวจสอบของกรมสรรพากรง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เท่านี้ก็ช่วยลดปัญหาความล่าช้าลงไปได้แน่นอน อยากจัดการภาษีง่ายขึ้น ขอคืนภาษีได้รวดเร็ว? การขอคืนภาษีอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการ แต่หากมีการ วางแผนการทำบัญชีที่ดี ตั้งแต่ต้น ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ใช้ระบบจัดการบัญชีที่มีประสิทธิภาพและคอยเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์อยู่เสมอ ก็สามารถช่วยให้การขอคืนภาษีเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้การบริหารภาษีง่ายขึ้นคือ PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการช่วยจัดการภาษีครบวงจร รองรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36 รวมถึงภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) เช่น ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 โดยคำนวณและจัดทำแบบฟอร์มภาษีอัตโนมัติ รองรับ e-Tax Invoice และ e-Receipt พร้อมรองรับการยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ลดขั้นตอนการทำงานและช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมทางการเงินได้ง่ายขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ก.พ. 2025

PEAK Account

16 min

e-Tax Invoice ตัวช่วยจัดการเอกสาร ลดความยุ่งยากให้ธุรกิจ SMEs

ก้าวเข้าสู่ปี 2568 ในยุคที่เกือบทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนดิจิตอลแทบทั้งหมด ประเทศไทยก็พัฒนาตามยุคสมัยในหลายด้าน รวมไปถึงด้านเอกสารต่าง ๆ ที่หน่วยงานส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมสรรพากรส่งเสริมให้ผู้ประกอบปัจจุบันการเปลี่ยนมาใช้ เพราะช่วยลดความยุ่งยากด้านงานเอกสาร และเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับกฎหมายในปัจจุบันอีกด้วย ในบทความนี้ PEAK ขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น จะเป็นอย่างไรบ้างมาติดตามกันได้เลย e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือ รูปแบบการออกใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบออนไลน์เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการซื้อขายของคนไทยที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น สามารถส่งเอกสารให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงสามารถส่งเอกสารออนไลน์ให้กรมสรรพากรได้ทันทีเช่นกัน ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ธุรกิจ SMEs สามารถจัดการกับเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  ข้อมูลจำเป็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากรูปแบบเอกสารเปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้มีข้อมูลรายละเอียดจำเป็นเล็กน้อยที่เจ้าของกิจการควรรู้ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของเรานั้นถูกต้องทุกประการ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) หรือการปรับทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยเสมอ หลังจากลงลายมือชื่อหรือประทับแล้ว เอกสารฉบับดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายได้ ทำไมธุรกิจ SMEs ต้องใช้ e-Tax Invoice? หลังจากที่เรารู้จักใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้นแล้ว ในส่วนถัดมาเรามาดูข้อดีที่เจ้าของเจ้าของกิจการ SMEs จะได้รับหากเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ใบกำกับภาษีกระดาษรูปแบบเดิมกันดีกว่า ซึ่งข้อดีหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 4 ข้อดังนี้ ลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร หนึ่งในปัญหาที่เจ้าของกิจการ SMEs หลายท่านต้องประสบพบเจอคงหนีไม่พ้นเรื่องของเอกสารที่เยอะจนบางครั้งทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่สามารถโฟกัสกับธุรกิจได้เต็มที่เท่าที่ควร การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดปัญหาส่วนนี้ลงไปได้อย่างแน่นอน เพราะด้วยเอกสารที่อยู่บนออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องหาที่จัดเก็บ หรือคอยหาเอกสารให้วุ่นวาย นอกจากนี้ยังลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร เพราะความสะดวกรวดเร็วในการส่งให้ผู้ซื้อและสรรพากรได้อย่างง่ายดาย หมดห่วงเรื่องเอกสารสูญหาย ต่อยอดจากข้อที่แล้ว นอกจากการลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร ยังเป็นการป้องกันข้อมูลสูญหายที่เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเก็บเอกสารแบบกระดาษ ซึ่งการเก็บเอกสารที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์นั้น หากจัดให้เป็นระเบียบรับรองว่าข้อมูลไม่มีทางสูญหายแน่นอน อีกทั้งเวลาต้องการเรียกดูเอกสารก็ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุน หลายท่านอาจสงสัยว่าการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร แต่ถ้าลองคำนวนดูแล้วการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ 1 แผ่นนั้น มีต้นทุนที่แฝงมาด้วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่ากระดาษ ค่าหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารออกมา อาจรวมไปถึงค่าซองเอกสาร และค่าจัดส่งอีกด้วย หากเปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็บอกลาต้นทุนเหล่านี้ไปได้เลย ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมในส่วนนี้ ยกตัวอย่างเช่น Easy E-Receipt นโยบายที่ในปีพ.ศ. 2568 ก็กลับมาอีกครั้ง โดยเป็นนโยบายที่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษีออนไลน์จากสินค้าหรือบริการที่ซื้อในช่วงเวลาที่กำหนด มายื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น  “การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากจะช่วยจัดการเอกสารแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนแฝง และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายผ่านนโยบายของภาครัฐอีกด้วย” e-Tax Invoice มีกี่รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? e-Tax Invoice มีทั้งหมด 2 รูปแบบประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร แต่ละแบบเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาดูกันต่อเลย 1. e-Tax Invoice & Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแรกแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Recepit) ซึ่งเอกสารรูปแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แบบไม่จำกัดรายได้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ก่อนทำการส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงกรมสรรพากรจำเป็นต้องลงลายมือชื่อดิจิตอลให้เรียบร้อยเพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้การส่ง e-Tax Invoice & Receipt ให้กรมสรรพากรจะต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ XML หรือ PDF/A3 เท่านั้น คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice & Receipt  สำหรับขั้นตอนการใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภท e-Tax Invoice & Receipt มีขั้นตอนทั้งหมด 3 ส่วนที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย ไม่เป็นการเพิ่มงานแน่นอน 2. e-Tax Invoice by Time Stamp ในส่วนของ e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท และได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จำนวนที่ไม่มาก โดยการส่งเอกสาร e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการที่ธุรกิจออกร่างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นทำการส่งอีเมลให้ลูกค้า และ CC อีเมลไปที่ [email protected] เพื่อให้ระบบทำการ Time Stamp หรือประทับเวลาให้ หลังจากนั้นระบบจะส่งเอกสารที่ประทับเวลาแล้วให้ลูกค้าและธุรกิจอีกครั้ง คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp เจ้าของกิจการที่ต้องการยื่นขอการจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ต้องมีคุณสมบัติดังนี้  ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบ e-Tax Invoice by Time Stamp อาจมีขั้นตอนมากกว่าเล็กน้อย แต่สะดวกไม่แพ้กัน อยากลดความยุ่งยากเรื่องเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือคำตอบ ตอนนี้ทุกท่านรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นแล้ว ทราบถึงข้อดีที่ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาความยุ่งยากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต่าง ๆ รวมไปถึงเป็นการลดต้นทุน และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้แก่ธุรกิจผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย  สำหรับเจ้าของกิจการ SMEs ท่านไหนที่กำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย ที่ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการทำ e-Tax Invoice ช่วยให้การจัดการบัญชีในธุรกิจของคุณสะดวก สามารถจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เตรียมความพร้อมมุ่งสู่การเติบโตในอนาคต ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

24 ม.ค. 2025

PEAK Account

12 min

“ภาษี” บริหารได้อย่าหนี กับ 4 วิธีทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องสำหรับธุรกิจ SMEs

“ภาษี” กับ “ความตาย” คือ สองสิ่งบนโลกที่มวลมนุษย์อย่างเราไม่อาจหนีได้ คือประโยคอันโด่งดังของเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) หนึ่งในรัฐบุรุษผู้สร้างชาติอเมริกา ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของโลกใบนี้ เรื่อง “ความตาย” นี่ เราเห็นกัน 100% แล้วว่าเป็นสิ่งที่หนีไม่ได้จริงๆ แต่ทำไมเรายังเห็นหลายคนไม่จ่ายภาษีทั้งๆ ที่ต้องจ่าย งั้นแบบนี้ “ภาษี” ก็เป็นสิ่งที่หนีได้ใช่ไหม? คำตอบ คือ หนีได้ แต่ผิดกฎหมายนะ! และยังไม่พอ ยังเป็นการหนีได้ชั่วคราวอีกด้วย เพราะจากที่เราเห็นกันในโซเชียลหรือจากการทำบัญชีให้ผู้ประกอบการจะพบเรื่องที่สรรพากรมาตรวจย้อนหลังและโดนปรับแพงๆ จนหลายคนทำธุรกิจต่อไม่ไหวหรือหาเงินมาจ่ายคืนไม่ได้ สุดท้ายก็คือ หนีไม่ได้อยู่ดีนั่นแหละครับ จะดีกว่าไหม ถ้าเราทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่แรก โดยไม่หนี แต่ใช้การบริหารภาษีแทน มาดูกันครับ ผมอยากให้ทุกคนทำภาษีให้ถูกต้อง ยังไม่พอยังทำให้ประหยัดภาษีได้อีกทีด้วย บทความนี้จะไม่ได้พูดเรื่องการวางแผนภาษีแบบละเอียด แต่เริ่มจากเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการทุกคนควรจะรู้ว่าถูกต้องและประหยัดจะทำได้อย่างไรบ้าง เริ่ม! 4 วิธีทำเรื่องภาษีให้ถูกต้อง ก่อนจะประหยัด เราควรรู้ว่าการจัดการภาษีให้ถูกต้องให้กรมสรรพากรยอมรับต้องทำอย่างไร ดังนี้ 1. บันทึกค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน พื้นฐานที่สุด คือ ธุรกิจควรบันทึกค่าใช้จ่ายทุกประเภทอย่างละเอียดและครบถ้วน เพราะเมื่อค่าใช้จ่ายจริงเยอะ กำไรที่จะนำไปคำนวณภาษีจะลดลง ทำให้จ่ายภาษีประจำปีได้ประหยัดมากขึ้น 2. มีเอกสารประกอบค่าใช้จ่ายทุกใบ การมีเอกสารประกอบค่าใช้จ่าย เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี จะช่วยให้การบันทึกค่าใช้จ่ายมีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้เป็นหลักฐานในหักค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง อีกทั้งสามารถยืนยันค่าใช้จ่ายได้ในกรณีที่มีการตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร  3. ไม่มีเอกสารประกอบ ก็เป็นค่าใช้จ่ายได้ ในบางกรณีที่จ่ายเงินแต่ไม่ได้รับเอกสาร เช่น ค่าแท็กซี่ เมื่อเราจ่ายเงิน คนขับรถคงไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้เราได้แน่ แต่ไม่ต้องห่วงเพราะสรรพากรก็เข้าใจในสิ่งนี้เป็นอย่างดี จึงออกคู่มือประกอบการลงค่าใช้จ่ายที่ไม่มีเอกสารมาให้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก! 4. ระบุผู้รับเงินให้ได้ ทุกการจ่ายเงินต้องบอกให้ได้ว่าผู้รับเงินเป็นใคร ไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามได้ว่าเป็นการสร้างรายจ่ายปลอมรึเปล่า? เพราะแม้จะมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่สามารถระบุผู้รับเงินได้ แบบนี้ก็คงไม่มีใครเชื่อ  วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ พยายามจ่ายเงินผ่านการโอนเงิน เพราะในสลิปโอนเงินจะระบุผู้รับเงินได้ ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินสดถ้ายอดเงินน้อยๆ หลักสิบ หลักร้อย เช่น ค่าแท็กซี่ การทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จตามคู่มือของสรรพากรก็เพียงพอ แต่ถ้าจ่ายเงินสดเป็นหลักหมื่น หลักแสนขึ้นไป ควรต้องขอสำเนาบัตรประชาชนและให้ผู้รับเซ็นรับเงินมาด้วยจะทำให้พิสูจน์ผู้รับได้ปลอดภัยขึ้น การทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จ สามารถช่วยยืนยันการจ่ายเงินสดได้ในกรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินอย่างเป็นทางการได้ โดยในระบบ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จได้อย่างสะดวกและง่ายดาย พร้อมรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ทำให้การจัดการเอกสารเป็นระบบและช่วยลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบย้อนหลังจากสรรพากร 4 วิธีพื้นฐานประหยัดภาษี  เมื่อรู้วิธีจัดการภาษีที่ถูกต้องแล้ว เราจะขยับขึ้นมาอีกสเต็ปหนึ่ง คือ การวางแผนภาษีเบื้องต้นเพื่อประหยัดภาษีกัน ซึ่งผมยกตัวอย่างมาให้ ดังนี้ 1. จ่ายเงินตัวเองให้ถูกวิธี ผู้ประกอบการมักคิดว่าเงินบริษัทคือเงินของตัวเอง แต่ในทางกฎหมายถือว่าบริษัทกับผู้ประกอบการเป็นคนละคนกัน ดังนั้นผู้ประกอบไม่สามารถนำเงินบริษัทมาใช้ได้ตามอำเภอใจ เพราะจะทำให้ระบบบัญชีและภาษีมีปัญหา เช่น การเกิดบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการจำนวนมาก  วิธีที่ถูกต้องในการดึงเงินออกจากบริษัท เช่น การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองในฐานะกรรมการ หรือการจ่ายค่าเช่าออฟฟิศถ้ากรรมการใช้บ้านตัวเองในการทำงาน หรือถ้าบริษัทมีกำไรและอยากนำเงินมาใช้ก็สามารถนำเงินออกมาในรูปแบบของการจ่ายเงินปันผลได้ เป็นต้น 2. การซื้อประกันผู้บริหารคนสำคัญ (Keyman)  สำหรับบุคลากรที่สำคัญในองค์กร เช่น ผู้ประกอบการที่เป็นกรรมการ สามารถขออนุมัติผู้ถือหุ้นเพื่อให้สวัสดิการซื้อประกันชีวิตสำหรับผู้บริหาร หรือประกัน Keyman ได้ ข้อดี คือ ค่าเบี้ยประกันสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้  แต่ต้องจำไว้ว่า ค่าเบี้ยที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการนั้น ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีของกรรมการด้วย ดังนั้นอีกมุมที่ต้องพิจารณา คือ เมื่อนำรายได้ค่าเบี้ยประกันมารวมกับเงินได้ทั้งหมดของกรรมการแล้ว ทำให้ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงเกินกว่าฐานภาษีนิติบุคคลไหม ถ้าฐานภาษีบุคคลยังต่ำกว่าฐานภาษีนิติบุคคลแบบนี้ประกันคีย์แมนจะช่วยประหยัดภาษีของกิจการได้ และกรรมการก็ได้สวัสดิการนี้ไปด้วย 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ครบ ภาครัฐมีการออกกฎหมายหลายตัวที่เอื้อประโยชน์ให้ภาคธุรกิจใช้ลดหย่อนภาษีธุรกิจ เช่น การจ้างคนพิการหรือผู้สูงอายุ จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น หรือลดหย่อนภาษีสำหรับการลงทุนในอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการควรติดตามกฎหมายที่มีผลในปัจจุบัน และที่จะออกในอนาคตเพื่อใช้สิทธิ์ที่ภาครัฐออกมาช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ เพราะจากที่ผ่านมาหลายคนเสียสิทธิเพราะไม่รู้ว่ามีสิทธิประโยชน์เหล่านี้ด้วย  4. จัดโครงสร้างกิจการ เช่น การทำธุรกิจที่ผ่านมาอาจทำในรูปแบบของบุคคลธรรมดาซึ่งเสียภาษีสูงสุดที่ 35% ซึ่งอาจพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจมาเป็นนิติบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดที่ 20% อาจทำให้ช่วยประหยัดภาษีได้มหาศาล นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจหลายประเภท อาจปรึกษากับนักบัญชีเพื่อพิจารณาแยกบริษัทสำหรับธุรกิจบางประเภทที่จะช่วยให้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้มากขึ้น เช่น แยกธุรกิจ VAT กับ Non VAT เพื่อหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือการแยกบริษัทเมื่อรายได้รวมใกล้จะถึง 30 ล้านบาท เพราะจะทำให้อัตราภาษีสูงขึ้น หรือแม้แต่การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งเพื่อถือหุ้นในบริษัทลูกก็ยังมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในบทความ ภาษี คือ สิ่งที่ “หนีอย่างถาวร” ไม่ได้ เราจึงควรทำภาษีให้ถูกต้องและวางแผนภาษีให้ประหยัดตั้งแต่แรก เพื่อขจัดปัญหาทางด้านบัญชีและภาษีในภายหลัง การบริหารจัดการภาษีอย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแค่ช่วยลดภาระภาษีแต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจ SMEs ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและทำการศึกษาแนวทางต่าง ๆ เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสูงสุดในการดำเนินธุรกิจของตนเองครับ สำหรับตอนถัดไปเป็นบทสิ้นสุดการเดินทางของซีรีส์ 10 กฎพื้นฐานด้านการเงินสำหรับ SMEs กันแล้ว ผมจึงอยากจะพาทุกท่านไปค้นหาบุคคลผู้ที่จะมาเป็นเบื้องหลังจัดการปัญหาบัญชี ภาษีให้กิจการ และให้คำแนะนำว่านักบัญชีที่เก่งนั้นควรจะมีทักษะและความสามารถใดที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จครับ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

6 min

ถอด VAT คืออะไร? ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้วิธีคำนวณนี้

การถอด VAT เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเจอในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อมีการขายสินค้าที่เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า หรือการถอด VAT จากสินค้าที่ซื้อมาเพื่อที่ช่วยให้เราทราบราคาต้นทุนที่แท้จริงของสิ่งนั้น นอกจากนี้ การถอด VAT ยังช่วยให้นักบัญชีของกิจการจัดการภาษีได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย ซึ่งมีทั้งการถอด VAT 3% และ 7% ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้วิธีการ ถอด VAT เรามีวิธีคำนวณมาฝากกัน ก่อนถอด VAT ควรรู้จัก VAT คืออะไร  VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี จากการผลิตและขายสินค้านั้น จะต้องเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ และต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำภายใน 30 วัน  วิธีถอด VAT คำนวณด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน การถอด VAT เป็นการถอดเพื่อให้เราทราบราคาที่แท้จริงของสินค้าก่อนคิด VAT ว่ามีราคาเท่าไหร่ และสามารถคำนวณภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามอัตราภาษี ดังนี้  วิธีถอด VAT 3% VAT 3% มักใช้กับธุรกิจที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก กิจการที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี  การจ้างทำของ หรือทำงานต่าง ๆ โดยวิธีการคำนวณนั้นจะทำได้โดยการนำราคาสินค้าที่รวม VAT แล้ว มาหารด้วย 1.03 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นราคาที่ไม่รวม VAT ส่วนต่างระหว่างราคารวมกับราคาที่ไม่รวม VAT คือจำนวนภาษีที่ต้องนำส่ง ตัวอย่างการคำนวณ : สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,300 บาท  วิธีถอด VAT 7% การถอด VAT 7% เป็นการคำนวณที่ใช้กับธุรกิจทั่วไปที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคำนวณคล้ายกับการถอด VAT 3% แต่ใช้ตัวหารเป็น 1.07 แทน การถอด VAT ที่ถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจคำนวณต้นทุน กำไร และภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการคำนวณ สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,700 บาท การเสียภาษี VAT ถ้าธุรกิจของเราเป็นทั้งผู้ขายสินค้าและซื้อสินค้ามา เราต้องมีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย โดยนำภาษีขายที่เก็บจากลูกค้าตลอดเดือนภาษี มาลบด้วยภาษีซื้อที่จ่ายให้ซัพพลายเออร์ในเดือนเดียวกัน หากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าภาษีขายสูงกว่าภาษีซื้อ เจ้าของธุรกิจจ่ายส่วนต่างให้กรมสรรพากร แต่หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะรับภาษีส่วนเกินคืน หรือเก็บไว้เป็นเครดิตภาษีสำหรับการคำนวณในรอบเดือนถัดไปได้เลย  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าหรือซื้อสินค้า การถอด VAT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้เราทราบต้นทุนที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มเงินทุนให้สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อีก นอกจากการคำนวณ VAT ด้วยเครื่องคิดเลขแล้ว การใช้ PEAK Tax ยังช่วยให้การคำนวณภาษีและการออกเอกสารใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมรองรับการจัดการภาษีและบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเติบโตไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

9 min

เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs

การบริหารภาษีอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเพิ่มกำไรและบริหารเงินสดได้อย่างเหมาะสม การวางแผนภาษีไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียภาษีเกินความจำเป็น แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEที่สามารถนำไปใช้ได้จริงกัน! 6 กลยุทธ์การวางแผนภาษีธุรกิจ SMEs ปี 2568 1. รู้จักประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้อง การเริ่มต้นวางแผนภาษีสำหรับธุรกิจ SME นั้น ควรเริ่มจากการทำความเข้าใจประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ ภาษีแต่ละประเภทจะมีวิธีการคำนวณและข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งการรู้จักประเภทของภาษีจะช่วยให้การวางแผนภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น และป้องกันการเสียภาษีเกินกว่าที่ควรจะเป็น 1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่คิดจากกำไรสุทธิของธุรกิจ ซึ่งธุรกิจทุกประเภทที่มีการดำเนินการในรูปแบบของนิติบุคคลต้องเสียภาษีนี้ การคำนวณและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเป็นต้องใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ อย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการคำนวณภาษี 1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  เป็นภาษีที่คิดจากการขายสินค้าหรือบริการในบางกรณี การเสียภาษีประเภทนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินการทางธุรกิจของคุณ หากคุณขายสินค้าหรือบริการที่ต้องเสีย VAT ก็จำเป็นต้องคำนวณและยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างถูกต้อง 1.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย  ภาษีที่ถูกหักออกจากเงินได้บางประเภทที่ธุรกิจจ่ายให้กับผู้รับบริการ เช่น ค่าจ้าง ค่าบริการ หรือเงินได้บางประเภท การหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเพื่อให้การดำเนินงานของธุรกิจไม่เกิดปัญหาในอนาคต การรู้ว่าภาษีแต่ละประเภทมีการคำนวณและยื่นเอกสารอย่างไร จะช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและหลีกเลี่ยงค่าปรับที่ไม่จำเป็น 2. วางระบบบัญชีที่โปร่งใส การจัดการบัญชีที่เป็นระบบและโปร่งใสถือเป็นหัวใจสำคัญในการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่มีประสิทธิภาพ การทำบัญชีให้ถูกต้องและมีระเบียบไม่เพียงแต่ช่วยในการจัดการภาษีให้เหมาะสม แต่ยังทำให้เจ้าของธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมทางการเงินของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจในอนาคต โดยคุณสามารถทำได้ ดังนี้ 2.1 การใช้โปรแกรมบัญชี ช่วยจัดการงานบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชี ที่สามารถบันทึกรายรับและรายจ่ายอย่างถูกต้อง และสามารถติดตามธุรกรรมต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ โปรแกรม PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถจัดการภาษีได้ง่ายขึ้น ด้วยฟังก์ชันที่รองรับ e-Tax Invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัวจะช่วยลดความยุ่งยากในการคำนวณภาษีและการรายงานทางการเงิน 2.2 การเก็บเอกสารหลักฐาน  ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จ ใบกำกับภาษี และเอกสารทางการเงินต่าง ๆ จะช่วยให้การตรวจสอบการยื่นภาษีทำได้สะดวกและง่ายขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกตรวจสอบโดยสรรพากรได้ เช่น PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์แบบครบวงจรที่สามารถเก็บเอกสารออนไลน์ได้ 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อีกหนึ่งการวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีคือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4. วางแผนรายรับและรายจ่าย การจัดการรายรับและรายจ่ายอย่างมีแบบแผนช่วยให้ธุรกิจสามารถลดภาระภาษีได้ ดังนี้ 4.1 เลื่อนรายรับ หากอยู่ในช่วงปลายปีและรายได้เกินเป้าหมาย อาจเลื่อนการรับเงินไปต้นปีถัดไปเพื่อกระจายรายได้ในหลายปี 4.2 เร่งรายจ่าย  ซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นหรือชำระค่าใช้จ่ายล่วงหน้าในช่วงปลายปี เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายและลดกำไรสุทธิ 5. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี ผู้ประกอบการควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือผู้ทำบัญชีที่มีความรู้ในด้านกฎหมายภาษีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าธุรกิจได้รับคำแนะนำที่เหมาะสมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 6. ติดตามข่าวสารภาษีอย่างต่อเนื่อง ภาษีเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ตามกฎหมายและสถานการณ์เศรษฐกิจ การตรวจสอบและปรับปรุงแผนภาษีอย่างสม่ำเสมอช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและลดความเสี่ยงในการเสียค่าปรับ การวางแผนภาษีธุรกิจ SME ที่ดีไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถลดภาระภาษีและเพิ่มกำไรได้ แต่ยังช่วยสร้างความมั่นคงทางการเงินและเสริมสร้างความน่าเชื่อถือในสายตาของคู่ค้าและนักลงทุนอีกด้วย เริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่มั่นคงและยั่งยืนของธุรกิจคุณ ด้วย PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่จะช่วยในการบริหารจัดการภาษีภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ม.ค. 2025

PEAK Account

8 min

ผู้เสียภาษีต้องรู้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร แตกต่างจากเลขบัตรประชาชนไหม

คนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องเสียภาษีถ้ารายได้นั้นถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนด ซึ่งในการยื่นภาษีนั้นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่กรมสรรพากรออกให้ผู้ที่ต้องจ่ายเสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลใช้ตัวเลขเหมือนกันไหม เราไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีกัน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี คืออะไร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขเฉพาะที่กรมสรรพากรกำหนดให้ผู้ที่ต้องภาษีแต่ละคน เพื่อให้กรมสรรพากรใช้ในการระบุตัวตนของผู้ยื่นภาษี และใช้ติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้จะมีเป็นเลข 13 หลักทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลแต่เลขจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้ บุคคลธรรมดา  สำหรับบุคคลธรรมดาทั่วไปเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขเดียวกันกับเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ซึ่งออกให้โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำให้ผู้ยื่นภาษีไม่จำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีใหม่ สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้เลย ส่วนผู้ที่ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาก็สามารถแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษีนี้ต่อกรมสรรพากรได้เลย ซึ่งการที่ใช้เลขเดียวกับบัตรประจำตัวแบบนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อน และทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้สะดวกมากขึ้น นิติบุคคล   สำหรับนิติบุคคลเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจะเป็นเลขทะเบียนนิติบุคคล 13 หลักที่ออกให้โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กรธุรกิจอื่น ๆ โดยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคลนี้จะมีความสำคัญในการทำธุรกรรมทางการค้า การออกใบกำกับภาษี และการยื่นแบบแสดงรายการภาษีต่าง ๆ โดยเลขชุดนี้จะติดตัวนิติบุคคลไปตลอดอายุของกิจการ และใช้แสดงตัวตนทางธุรกิจกับคู่ค้าและหน่วยงานราชการได้ นอกจากนี้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษียังเป็นหลักฐานสำคัญว่าธุรกิจทำตามกฎหมาย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้อีกด้วย การขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี สำหรับคนที่ทั่วไปหรือทำธุรกิจส่วนตัวที่มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี และนิติบุคคลที่เริ่มต้นธุรกิจแล้วยังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี เราจำเป็นต้องขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  เพื่อให้การจัดการด้านภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง  โดยมีขั้นตอนการขอที่แตกต่างกันระหว่างบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ดังนี้ บุคคลธรรมดา สำหรับบุคคลธรรมดาการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก เนื่องจากใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับคนต่างด้าวและห้างหุ้นส่วนสามัญที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนให้ขอภายใน 60 วัน เริ่มนับแต่วันที่มีรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.1 สำหรับบุคคลธรรมดา และ แบบ ล.ป.10.2 สำหรับคณะบุคคล นิติบุคคล นิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีโดยอัตโนมัติหลังจากจดทะเบียนบริษัท โดยเลขนี้จะเป็นเลขเดียวกับเลขทะเบียนนิติบุคคล การจดทะเบียนนิติบุคคลและการได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการให้เรียบร้อยก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถออกใบกำกับภาษี ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยให้ขอภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลไทย หรือวันที่นิติบุคคลต่างประเทศเริ่มทำธุรกิจในประเทศไทย โดยแนบเอกสารต่าง  ๆ พร้อมกับแบบ ล.ป.10.3  การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรอง การค้นหาเลขทะเบียนบริษัทที่ระบุในหนังสือรับรองสามารถทำได้โดยการตรวจสอบผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเลขทะเบียนนี้จะเป็นเลขชุดเดียวกันกับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของนิติบุคคล เราสามารถตรวจสอบข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เพื่อช่วยยืนยันตัวตนของคู่ค้า และการทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างมั่นใจ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีเป็นหมายเลขสำคัญที่ใช้ในการระบุตัวตนทางภาษีและธุรกิจ โดยบุคคลธรรมดาจะใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ส่วนนิติบุคคลจะได้รับเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเมื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งก่อนการยื่นภาษีหรือธุรกรรมต่าง ๆ ควรเลขประจำตัวผู้เสียภาษีให้พร้อมเพื่อความถูกต้องในการจัดการภาษีตามกฎหมาย โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

10 ม.ค. 2025

PEAK Account

7 min

ร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt เตรียมความพร้อมอย่างไรดี

ในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า โครงการ Easy E-Receipt 2.0 หรือที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อ ช้อปดีมีคืน ที่จัดขึ้นโดยกรมสรรพากร เป็นโอกาสสำคัญที่ร้านค้าไม่ควรพลาด โดยเฉพาะร้านค้าที่ต้องการเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับรายละเอียดโครงการและการเตรียมความพร้อมสำหรับร้านค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 คืออะไร? โครงการ Easy E-Receipt 2.0 เป็นโครงการที่กรมสรรพากรจัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้าหันมาใช้ระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt แทนการออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินในรูปแบบกระดาษ ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ นอกจากนี้ การเข้าร่วมโครงการยังช่วยให้ร้านค้าสามารถเพิ่มความน่าเชื่อถือและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่มองหาธุรกิจที่มีความโปร่งใส เช็กความพร้อมร้านค้า ก่อนเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ร้านค้าแบบใดที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้? อย่างไรก็ตามยังมีร้านที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0 PEAK ตัวช่วยออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ของคุณ PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการออก e-Tax Invoice & e-Receipt อย่างเต็มรูปแบบ โดยได้รับการรับรองจากกรมสรรพากร จุดเด่นของ PEAK คือการช่วยให้ร้านค้าจัดการเอกสารทางบัญชีได้สะดวกและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง e-Tax Invoice การส่งเอกสารถึงลูกค้า หรือการบันทึกข้อมูลลงในระบบบัญชีโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ PEAK ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนส่งไปยังกรมสรรพากร ทำให้คุณมั่นใจได้ในทุกขั้นตอน การเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มความสะดวกและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ แต่ยังช่วยสร้างโอกาสในการกระตุ้นยอดขายให้ร้านค้า หากคุณต้องการให้ธุรกิจของคุณเติบโตในยุคดิจิทัล การเตรียมตัวเข้าร่วมโครงการนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม PEAK พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาธุรกิจของคุณ สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์วันนี้ เพื่อก้าวเข้าสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

เจ้าของธุรกิจทำสัญญาให้มีผลทางกฎหมาย ต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์

การทำธุรกิจย่อมต้องเกี่ยวข้องกับการทำสัญญาและเอกสารสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เพื่อให้ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าต้องติดอย่างไร เมื่อไหร่ และมีอัตราเท่าไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจเรื่องอากรแสตมป์อย่างละเอียด เพื่อให้การทำสัญญาของเราถูกต้องและใช้ได้ตามกฎหมาย ภาษีอากรแสตมป์ คืออะไร ภาษีอากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการทำนิติกรรมหรือสัญญาต่าง ๆ เพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารและสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยมีลักษณะเป็นแสตมป์ที่ต้องติดลงบนตราสารหรือเอกสารสำคัญภายใน 15 วันหลังจากการลงนาม เช่น สัญญาจ้างงาน สัญญาเช่า หนังสือมอบอำนาจ หรือใบมอบฉันทะ ทั้งนี้ อัตราค่าอากรแสตมป์จะแตกต่างกันไปตามประเภทของตราสาร ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร อากรแสตมป์สำคัญกับการทำสัญญาอย่างไร การติดอากรแสตมป์ไม่ใช่เพียงการปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจในหลายด้าน มาดูกันว่าทำไมอากรแสตมป์จึงมีความสำคัญ ยืนยันความถูกต้องตามกฎหมาย การติดภาษีอากรแสตมป์ในเอกสารหรือสัญญาเป็นการรับรองว่าเอกสารนั้นได้ทำขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เปรียบเสมือนตราประทับรับรองจากภาครัฐ ทำให้เอกสารน่าเชื่อถือและใช้ได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังทำให้เห็นว่าผู้ทำสัญญามีความตั้งใจในการปฏิบัติตามข้อตกลงและเคารพกฎหมาย ป้องกันความขัดแย้ง การติดอากรแสตมป์ช่วยป้องกันข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น เพราะเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งคู่ได้ตกลงทำสัญญานี้กันจริง และสัญญานั้นผ่านการรับรองตามกฎหมายแล้ว ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง สัญญาที่ติดอากรแสตมป์ครบถ้วนจะมีน้ำหนักในการพิจารณามากกว่าสัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์  ใช้ในกระบวนการยุติธรรมได้ สัญญาที่ติดภาษีอากรแสตมป์ครบถ้วนใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้ทันที ในขณะที่สัญญาที่ไม่ได้ติดอากรแสตมป์หรือติดไม่ครบถ้วน อาจถูกปฏิเสธการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในชั้นศาล หรือต้องเสียค่าปรับเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้ ดังนั้น การติดอากรแสตมป์จึงเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม การชำระค่าอากรแสตมป์มีกี่วิธี การชำระค่าอากรแสตมป์สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความสะดวกและลักษณะของเอกสาร ดังนี้ ตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่ต้องจ่าย การชำระอากรแสตมป์ขึ้นอยู่กับประเภทเอกสารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกัน โดยตัวอย่างอัตราอากรแสตมป์ที่พบบ่อย ได้แก่ 1. สัญญาเช่าทรัพย์สินอากรแสตมป์สำหรับสัญญาเช่าทรัพย์สินมีอัตราอยู่ที่ 1 บาทต่อค่าเช่า 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากค่าเช่าระบุไว้ที่ 10,500 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 11 บาท ซึ่งการคำนวณนี้ครอบคลุมถึงสัญญาเช่าประเภทต่าง ๆ เช่น เช่าที่ดิน อาคาร หรืออุปกรณ์ 2. ตั๋วเงิน (ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค)สำหรับเอกสารประเภทตั๋วเงิน เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือเช็ค อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 3 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท เช่น หากยอดเงินในตั๋วเงินระบุไว้ที่ 6,500 บาท ผู้ที่ออกตั๋วจะต้องชำระอากรแสตมป์จำนวน 12 บาท 3. หนังสือมอบอำนาจหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารที่มักใช้ในทางธุรกิจหรือการดำเนินการทางกฎหมาย จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 10 บาทต่อฉบับ โดยไม่มีการคิดเพิ่มตามมูลค่าหรือรายละเอียดของเอกสาร 4. สัญญากู้ยืมเงินในกรณีของสัญญากู้ยืมเงิน อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ตัวอย่างเช่น หากมีการกู้เงินจำนวน 50,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 25 บาท 5. สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ เช่น งานก่อสร้าง หรืองานออกแบบ จะต้องติดอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อค่าแรง 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท เช่น หากค่าแรงรวมทั้งหมดเป็น 15,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องจ่ายคือ 15 บาท 6. สัญญาค้ำประกันสัญญาค้ำประกันที่ใช้ในการรับรองหรือค้ำประกันภาระผูกพันทางการเงิน จะต้องชำระอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อยอดเงินทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท 7. สัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์สำหรับสัญญาซื้อขายหรือโอนลิขสิทธิ์ อากรแสตมป์จะคิดในอัตรา 0.1% ของมูลค่าที่ระบุไว้ในสัญญา เช่น หากมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ระบุไว้ที่ 1,000,000 บาท อากรแสตมป์ที่ต้องชำระคือ 1,000 บาท การติดอากรแสตมป์และจ่ายภาษีอากรแสตมป์ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารและสัญญาต่าง ๆ เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้เอกสารมีผลทางกฎหมายและหากเกิดความขัดแย้งสามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกต้องรู้จัก ภาษีศุลกากรคืออะไร

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น ภาษีศุลกากร คืออะไร? ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ ภาษีนำเข้า ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้ ภาษีส่งออก ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง? การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่ ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้ การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

27 ธ.ค. 2024

PEAK Account

8 min

โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม เงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้ง

การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินที่นอกจากเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่อีกด้วย หลายคนมักจะนิยมใช้เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ไปจนถึงการโอนเงินให้เพื่อนหรือครอบครัวก็ตาม ซึ่งการโอนเงินผ่านระบบนั้น นับว่าช่วยทำให้ชีวิตได้รับสะดวกสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้หากมีการเงินเข้าออกบัญชีบ่อย หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าโอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม และมีผลกระทบอะไรกับเราบ้างไปดูกัน โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม ตามจริงแล้วเงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากทำบ่อยเกินไปและมีมูลค่ารวมที่สูง ก็อาจถูกตรวจสอบภาษีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรต้องการตรวจสอบว่าที่มาของเงินนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบที่มาของเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือการได้เงินมาแบบผิดกฎหมายนั่นเอง เงินเข้าออกบัญชีบ่อยห้ามเกินกี่ครั้ง ปัจจุบันมีกฎหมายที่ระบุว่าสามารถมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้งต่อปีขึ้นมา ซึ่งถ้าหากมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีจำนวนมาก และมีมูลค่าสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลให้กรมสรรพากรทราบ และหากพฤติกรรมการทำธุรกรรมผิดปกติ เช่น การโอนเงินไปมาระหว่างบัญชีหลาย ๆ บัญชีบ่อยครั้ง กรมสรรพากรอาจจะสงสัยว่าเรามีการฟอกเงินหรือทำผิดกฎหมายได้ ซึ่งจำนวนหารโอนเงินที่กำหนดไว้มีดังนี้ ถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบไม่ต้องตกใจไป ให้เราควรเตรียมเอกสารต่าง ๆเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่ออำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่และเพื่อป้องกันเอกสารตกหล่นจนมีปัญหาตามมาได้ ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมโดยทั่วไปจะมีดังนี้ ต้องทำยังไงถึงจะไม่เสียภาษี เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละปีได้ เพราะนอกจากจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายอย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการ ดังนี้ สิ่งที่ไม่ควรทำ การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ทุกวันเป็นเรื่องปกติของคนส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้เงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งปัญหาที่คุณไม่คาดคิดขึ้นได้ ดังนั้น การโอนเงินอย่างมีระเบียบและวางแผนอย่างรอบคอบจะสามารถช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น และลดปัญหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎหมายได้ นอกจากนี้ การรู้จักการจัดการธุรกรรมของตนเองจะช่วยให้คุณสามารถปกป้องทรัพย์สินของตัวเองให้ปลอดภัยได้อีกด้วย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก   (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก 

12 มี.ค. 2025

PEAK Account

13 min

7 ประเภทค่าใช้จ่าย ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

ความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างถูกต้องตามกำหนด ไม่เสียค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ครบ ยังอาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้นั่นเอง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ภาครัฐได้ออกนโยบายลดหย่อนภาษี มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการแข่งขันด้านธุรกิจ ให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราก็จะพาผู้ประกอบการทุกท่านไปดูกันว่า ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล คืออะไร? การลดหย่อนภาษีคือสิทธิ์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงประชาชนที่ทางรัฐบาลกำหนดว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และในบางกรณีอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันด้วยเช่นกัน ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่อง ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลทำได้หลายรูปแบบมาก มีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาลดหย่อนกับรัฐบาล ช่วยให้สามารถปรับหยัดค่าเสียภาษี หรืออาจได้เงินภาษีคืนมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อให้สามารถนำเงินไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ศึกษาอย่างละเอียด ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือใหม่ หรือเมื่อรัฐบาลมีนโยบายใหม่ ๆ ที่ออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำบางอย่างไปลดหย่อนภาษีได้ก็จะได้ตามทัน และรีบปรับตัวตามนั่นเอง  เช็กเงื่อนไขการเสียภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษี คือมีทุนจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยในกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกจะไม่ต้องเสียภาษีกำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001 – 3 ล้านบาท มีอัตราภาษี 15% และหากกำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป จะมีอัตราภาษี 20%หากธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็น SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะมีอัตราภาษี 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า สามารถศึกษาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าได้ที่ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง? เคล็ดลับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลด้วยค่าใช้จ่าย 7 ประเภท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่ายที่นำไปใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ประกอบไปด้วย 6 ประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าจัดตั้งบริษัท ทำบัญชี และการสอบบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็สามารถนำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี ไปจนถึงการสอบบัญชี ในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีติดต่อกันมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว 2. ค่าเสื่อมสภาพของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงออกนโยบายให้ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าอุปกรณ์ โดยจะทำการทยอยหักภายใน 3 รอบบัญชีนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 3. ค่าเสื่อมอาคารผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคาร หรือโรงงานสามารถนำค่าเสื่อมของอาคารมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 5% ต่อปี 4. ค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรโรงงานที่มีเครื่องจักรสามารถนำค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยคิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่า ส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 20% ต่อปี 5. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ คือค่าจ้างผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายในการสนับสนุน SMEs ในการจ้างผู้สูงอายุ เพื่อกระจายรายได้ จึงทำให้มีนโยบายนี้ออกมารองรับ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 6. เงินบริจาคเงินบริจาคเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้6.1 บริจาคให้กับ สถาบันการศึกษารัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูงผู้ประกอบการสามารถนำเงินบริจาคมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่จะไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายการบริจาค 6.2 บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย 6.3 เงินบริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้ง 4 กองทุนสามารถนำเงินบริจาคหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งนี้เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย 7. รายจ่ายในการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรบให้พนักงานในบริษัทก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ทั้งในกรณีที่ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และการฝึกอบรบให้ลูกจ้างตนเอง โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้7.1  ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม 7.2 ฝึกอบรมลูกจ้างตนเอง รู้เรื่องภาษีให้รอบด้าน อาจช่วยลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้มากกว่าที่คิด การจัดการภาษีนิติบุคคลอย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพราะสามารถช่วยลดภาระทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องมาหักลดหย่อน หรือการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ หากมีการเตรียมเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การจัดทำรายงานภาษีเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากขึ้น PEAK Tax เป็นฟังก์ชันหนึ่งในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่ช่วยให้การจัดการภาษีของธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณและสร้างแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของแบบภาษีก่อนส่ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด นอกจากนี้ PEAK Tax ยังช่วยสรุปและจัดทำรายงานภาษีได้อย่างเป็นระบบ รองรับการนำเข้าข้อมูลจากระบบขายออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และ TikTok Shop ช่วยลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และทำให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 มี.ค. 2025

PEAK Account

14 min

เช็กด่วน! รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดาตรงกับรายได้จริงไหม

เรียกได้ว่ามาถึงครึ่งทางแล้วสำหรับเทศกาลยื่นภาษีของบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากปี 2567 หรือที่เรียกกันว่า “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ซึ่งถูกกำหนดให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เพื่อเสียภาษีให้เสร็จภายใน 31 มีนาคม 68 แต่ถ้าใครยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตเวลาสิ้นสุดจะขยายจนถึง 8 เมษายน 68 ขณะที่หลายคนยื่นแบบภาษีผ่านไปได้ราบรื่น ไม่มีปัญหา แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มที่พบปัญหาว่า รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา ของกรมสรรพากรนั้นไม่เท่ากับรายได้ที่ตนเองได้รับจริงหรือจดบันทึกไว้ เช่น ระบบแสดงรายได้มาก หรือต่ำกว่าความเป็นจริง แบบนี้คงจะเริ่มปวดหัว ต้องสาเหตุเกิดจากอะไร และต้องทำอย่างไรต่อ ซึ่งเราจะมาหาคำตอบกันในบทความนี้ ตรวจสอบรายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา ผ่านระบบ D-MyTax (Digital MyTax) บางคนอาจยังไม่ทราบว่ากรมสรรพากรมีระบบที่สามารถดึงข้อมูลรายได้เราจากทุกๆ แหล่งที่เราเคยโดนหัก ณ ที่จ่ายไว้หรือมีคนนำส่งข้อมูลไว้ ซึ่งจะนำมาแสดงในระบบใหม่ของกรมสรรพากรที่ชื่อว่า ‘D-MyTax’ หรือ Digital MyTax เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพมากขึ้น ขอแสดงตัวอย่างการเข้าไปดูข้อมูลรายได้ในระบบดังกล่าว ซึ่งสามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้ 1. เข้าสู่ระบบกรมสรรพากรเพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2. เลือกยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 3. หลังจากนั้นระบบจะแสดงหน้าต่างขึ้นมาให้เลือกว่าการยื่นแบบจะ ‘ใช้ข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับ’ หรือจะ ‘กรอกข้อมูลด้วยตนเอง’ ให้เลือก ‘ใช้ข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับ’ เพื่อดูว่าระบบสรรพากรมีข้อมูลรายได้อะไรของเราบ้าง 4. สิ่งที่เราจะเจออันดับแรกยังไม่ใช่ข้อมูล ‘รายได้’ แต่เป็นข้อมูล ‘ค่าลดหย่อน’ ต่างๆ ที่สรรพากรได้รับข้อมูลมาเช่นกัน บางครั้งเราลืมว่ามีสิทธิ์ลดหย่อนส่วนนี้ เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือค่าใช้จ่ายในโครงการ Easy E-Receipt ที่จำไม่ได้ว่าต้นปีที่แล้วจ่ายอะไรไปบ้าง ระบบก็จะแสดงข้อมูลต่างๆออกมาให้ แม้ข้อมูล ‘ค่าลดหย่อน’ จะไม่ได้เกี่ยวกับบทความนี้ แต่ก็เป็นเรื่องดีๆ ที่ผู้อ่านควรรู้  5. เลื่อนลงมาเรื่อยๆ จะเจอไฮไลท์ของบทความนี้แล้วก็คือ ข้อมูล ‘รายได้’ ซึ่งจะแสดงเป็นส่วนๆ  เช่น รายได้เงินเดือน, รายได้จากทรัพย์สิน/การทำธุรกิจ/อาชีพอิสระ เป็นต้น ซึ่งการแสดงข้อมูลในส่วนนี้จะบอกรายละเอียดของรายได้ เช่น วิธีตรวจสอบรายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดาตรงกับรายได้จริงของเราไหม? ถึงตอนนี้แล้วคิดว่าทุกคนคงเห็นภาพมากขึ้นว่าระบบแสดงข้อมูลรายได้เราอย่างไรบ้าง สิ่งที่เราจะทำได้ต่อจากนี้ คือ การตรวจสอบว่ารายได้ที่แสดงในระบบครบถ้วน ถูกต้องหรือไม่ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น เราสามารถตรวจสอบโดยใช้หลายวิธีรวมกันได้ ส่วนตัวของผู้เขียนจะทำบันทึกจดรายได้พร้อมบันทึกวันรับเงินและเก็บเอกสารหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายเพื่อเป็นหลักฐานการรับเงินในแต่ละครั้ง หลังจากตรวจสอบแล้ว ถ้าข้อมูลรายได้ที่เรามีและในระบบสรรพากรตรงกันเป๊ะ แบบนี้เรียกว่า ‘ราบรื่น’ ได้เลย แต่ถ้าข้อมูลไม่ตรงกันไม่ว่าจะมากกว่าหรือน้อยกว่า เราสามารถเตรียมรับมือได้ ดังนี้ กรณีข้อมูลรายได้จริง ‘มากกว่า’ รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา 1. รายได้ที่ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น รายได้จากการขายสินค้า หรือรายได้จากการให้บริการแก่บุคคล ซึ่งปกติจะไม่มีการหักภาษี ณ ที่ จ่ายระหว่างกัน ในระบบฯ จึงไม่แสดงข้อมูลนี้ แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ทั้งหมด และยื่นรายได้ให้ครบถ้วน 2. รายได้ที่เราบันทึกไว้ แต่ยังไม่ได้รับเงินจริง เนื่องจากการเสียภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาจะถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเมื่อได้รับชำระเงินแล้ว เช่น ให้บริการแก่บริษัทจำกัดแต่ยังไม่ได้รับชำระเงิน แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ที่ยื่นภาษี ต้องเป็นรายได้ที่ได้รับเงินแล้วในปี 2567 3. ผู้จ่ายเงินไม่ได้ยื่นแบบหรือส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้สรรพากร เช่น ผู้จ่ายเงินหักภาษีไว้ แต่ลืมนำส่งภาษีให้สรรพากร หรือบางกรณีที่ไม่มีภาษีต้องหักแต่ต้องยื่นแบบ ซึ่งผู้จ่ายเงินไม่ได้ยื่นแบบ เป็นต้น แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งเรื่องต่อสรรพากรพื้นที่ 4. ผู้จ่ายเงินส่งข้อมูลรายได้น้อยกว่าที่จ่ายจริง กรณีเกิดจากความผิดพลาดของผู้จ่ายเงินที่ยื่นแบบแจ้งสรรพากรต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น รายได้ 100,000 แต่ระบุเป็น 10,000 เป็นต้น แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งเรื่องต่อสรรพากรพื้นที่ 5. ข้อมูลยังไม่เข้าระบบของกรมสรรพากร เช่น บริษัทที่จ่ายเงินเดือนยังไม่ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนด ข้อมูลรายได้ส่วนนี้จึงยังไม่ปรากฏบนระบบ เป็นต้น แก้ไข: สอบถามไปยังผู้จ่ายว่ายื่นแบบไปแล้วหรือไม่ หรืออาจรอให้ผู้จ่ายเงินยื่นแบบก่อน เพื่อให้ข้อมูลขึ้นในระบบ แล้วค่อยยื่นภาษีบุคคลก็ได้เช่นกัน กรณีข้อมูลรายได้จริง ‘น้อยกว่า’ รายได้ในระบบยื่นภาษีบุคคลธรรมมดา 1. บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน อาจเกิดจากการที่เราบันทึกรายได้ตกหล่น หรือเก็บข้อมูลไม่เป็นระบบเอง แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ทั้งหมดให้ครบถ้วน เก็บข้อมูลวันที่เกิดรายได้และวันที่ได้รับเงิน 2. รายรับบางอย่างไม่รู้ว่าเป็นรายได้ทางภาษี เช่น รายได้ที่ไม่ถูกหัก ณ ที่จ่ายอาจคิดว่าไม่ต้องยื่นภาษี หรือรายได้ที่ผู้จ่ายออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนแต่ไม่ส่งใบ 50 ทวิมาให้ แก้ไข: เก็บข้อมูลรายได้ทั้งหมดให้ครบถ้วน ไม่สนใจว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้แล้วหรือไม่ กรณีที่ผู้จ่ายเงินออกภาษีแทนต้องติดตามใบ 50 ทวิมาเก็บเป็นหลักฐานด้วย 3. ผู้จ่ายเงินส่งข้อมูลรายได้มากกว่าที่จ่ายจริง เกิดจากความผิดพลาดของผู้จ่ายเงินที่ยื่นแบบแจ้งสรรพากรสูงกว่าความเป็นจริง เช่น รายได้ 5,000 แต่ระบุเป็น 50,000 เป็นต้น แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งเรื่องต่อสรรพากรพื้นที่ 4. ผู้จ่ายเงินส่งข้อมูลรายได้ผิดบุคคล เช่น ผู้จ่ายเงินจ้างนาย A แต่ตอนแจ้งสรรพากรระบุว่าผู้รับเงิน คือ นาย B ซึ่งทำให้ข้อมูลรายได้ของนาย A และ นาย B จะไม่ตรงกัน แก้ไข: ติดต่อไปยังผู้จ่ายเงิน และแจ้งให้ทำการยื่นปรับปรุงภาษีให้ถูกต้อง กรณีผู้จ่ายเงินไม่ยอมปรับปรุง ควรแจ้งความการแอบอ้างชื่อไปใช้และนำใบแจ้งความไปแจ้งที่สรรพากรพื้นที่ต่อ ทั้งนี้ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเราเคยให้คนรู้จักใช้บัตรประชาชนเราไปรับเงินแทนหรือไม่ กรณีที่อยู่ระหว่างรอการแก้ไขภาษีจากผู้จ่ายเงิน และจำเป็นต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 สามารถยื่นแบบภาษีตามยอดรายได้ตามที่ถูกต้องแม้จะไม่ตรงกับยอดในระบบสรรพากร และให้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้สรรพากรรับทราบอีกครั้ง สรุป การที่ระบบการยื่นภาษีของกรมสรรพากรสามารถเชื่อมโยงข้อมูลการมีรายได้ของผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดาได้ ทำให้ผู้เสียภาษีสามารถเช็กข้อมูลที่ตนเองเก็บบันทึกไว้กับข้อมูลในระบบสรรพากรได้เร็วและง่าย กรณีเจอข้อมูลที่แตกต่างกัน สามารถดูรายชื่อและเลขผู้เสียภาษีของผู้จ่ายรายได้เพื่อติดต่อไปสอบถามและแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ทันที ขอย้ำอีกครั้งว่าอย่าเข้าระบบเพื่อยื่นภาษีอย่างเดียว แต่ควรตรวจสอบข้อมูลรายได้ให้ครบถ้วน ถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีฟังก์ชันรองรับการช่วยเก็บข้อมูลรายได้ ออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย(ใบ50ทวิ) และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

28 ก.พ. 2025

PEAK Account

13 min

เช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทำง่าย สะดวก รวดเร็ว

ในทุกปีเมื่อถึงช่วงเวลายื่นภาษี ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจ SME นิติบุคคล หรือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คำถามยอดฮิตที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือ “เงินคืนภาษีของเราถึงไหนแล้ว?” แต่ในปัจจุบันภาครัฐได้อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการด้วยการเปิดระบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น การยื่นภาษีออนไลน์ รวมไปถึง เช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ ที่ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ วิธีเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับผู้ประกอบการ จะทำอย่างไร สะดวกมากน้อยแค่ไหน มาร่วมหาคำตอบในบทความนี้ไปพร้อมกัน ทำไมต้องเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์? การเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะช่วยให้คุณรู้ความคืบหน้าว่าแบบภาษีที่ยื่นไปได้รับการตรวจสอบหรือยัง และมีปัญหาอะไรต้องแก้ไขหรือไม่ การติดตามสถานะอย่างใกล้ชิดช่วยให้สามารถจัดการเอกสารเพิ่มเติมได้ทันทีหากมีข้อผิดพลาด ลดความเสี่ยงในการถูกปฏิเสธการคืนภาษี และยังช่วยให้คุณวางแผนกระแสเงินสดได้อย่างแม่นยำ เพราะการได้รับเงินคืนเร็วขึ้น หมายถึงธุรกิจมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ การใช้ช่องทางออนไลน์ในการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ยังช่วยประหยัดเวลา ลดขั้นตอน และทำให้การติดต่อกับกรมสรรพากรสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าการโทรหรือเดินทางไปด้วยตัวเองอีกด้วย สิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรรู้เกี่ยวกับ “การคืนภาษีออนไลน์” ก่อนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ เงื่อนไขการขอคืนภาษีของนิติบุคคล ที่ควรรู้ ก่อนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับการขอคืนภาษีของนิติบุคคล ซึ่งทางกรมสรรพากรก็ได้ทำการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อระบุว่ากิจการใดมีสิทธิ์ในการขอคืนภาษีได้ ซึ่งหลักเกณฑ์สามารถแบ่งออกได้ 3 กรณีตามประเภทภาษี 1. ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร ได้มีการกำหนดเงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์ขอคืนภาษีว่าต้องเป็นกิจการที่เป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และได้ทำการนำส่งภาษีเกินกว่าที่ควรต้องเสียภาษี กิจการของคุณเข้าข่ายสามารถขอคืนภาษีได้ตามมาตรา 63 ในส่วนของระยะเวลาในการยื่นขอคืนภาษี สามารถทำได้ภายในระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นภาษีตามที่กฎหมายกำหนด  ยกตัวอย่างเช่น  กิจการ A มีรอบบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ซึ่งในรอบปีนั้นมีการหักภาษีเกินที่กำหนดไป และกิจการ A มีหน้าที่ยื่นภาษีภายใน 150 วัน นับตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี หมายความว่า กิจการ A สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายในวันที่ 30 พฤษภาคม 2571 นั่นเอง 2. ขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย กรณีมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร  อีกหนึ่งรูปแบบการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งจะตรงกับกรณีของมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร โดยเงื่อนไขข้อนี้สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ได้ทำกิจการเข้าข่ายมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น กลุ่มกิจการที่มีการหัก ณ ที่จ่ายมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ยกตัวอย่างเช่น ค่านายหน้า ค่าฝึกอบรม ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร ซึ่งรวมไปถึงบริษัทต่างประเทศที่เข้ามามีรายได้ในประเทศไทยอีกด้วย โดยเงื่อนไขในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายประเภทนี้ต้องเป็นผู้ที่เมื่อจ่ายเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายแล้วเกินจากที่กำหนด และมีระยะเวลาในการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายเท่ากับ มาตรา 63 คือ 3 ปีหลังจากวันครบกำหนดยื่นภาษี 3. ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในส่วนของการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT 7% ซึ่งเป็นเงินภาษีที่หักออกจากสินค้าหรือบริการเพื่อนำส่งให้กับทางกรมสรรพากร รวมไปถึงภาษีที่ผู้ประกอบการจ่ายเมื่อทำการซื้อสินค้าหรือบริการด้วย มีเงื่อนไขและรูปแบบการขอคืนภาษีดังนี้ การเปลี่ยนเป็นเครดิตภาษีในเดือนถัดไป กรณีที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ซื้อสินค้าหรือบริการไปเกินที่กำหนดไว้ จะเปลี่ยนเป็นเครดิตภาษี ซึ่งสามารถนำไปใช้จ่ายภาษีของเดือนถัดไปได้ ทั้งนี้ถ้าผู้ประกอบการมีเครดิตภาษีเหลือแล้วไม่ได้ทำการยื่นขอคืนภาษีภายในเดือนนั้น หมายความว่าประสงค์ที่จะยกไปใช้ชำระภาษีในเดือนถัดไป ทั้งนี้ถ้าเดือนถัดไปไม่ได้นำเครดิตตรงนี้มาชำระ จะไม่สามารถเก็บเครดิตเพื่อชำระในเดือนถัด ๆ ไปอีกได้ ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าหรือบริการ เมื่อผู้ประกอบการไม่ได้ทำการขอคืนภาษีด้วยการเครดิตภาษี ในกรณีนี้ผู้ประกอบการสามารถทำเรื่องยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดยื่นภาษีของเดือนภาษีนั้น ๆ โดยผู้ประกอบการสามารถทำเรื่องยื่นขอคืนภาษีด้วยแบบ ค. 10 ขอคืนภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้า ในกรณีที่มีการนำเข้าสินค้ารูปแบบการขอคืนภาษีจะแตกต่างกันออกไป โดยผู้ประกอบการที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ที่อำเภอ แต่ถ้าไม่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นคำร้องคืนภาษีที่ด่านศุลกากรขาเข้า ทั้งนี้ยังมีเงื่อนไขพิเศษในกรณีที่ผู้นำเข้าสินค้า มีข้อโต้แย้งตามกฎหมาย หรือมีติดคดีในศาล สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือข้อโต้แย้งอากรขาเข้า 4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ในส่วนขอภาษีธุรกิจเฉพาะ คือธุรกิจที่มีรายได้จากดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการให้กู้ยืม และมีการนำส่งภาษีแล้ว แต่จำนวนที่นำส่งเกินกว่ากำหนดที่ต้องเสียภาษี โดยสามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ครบรอบยื่นแบบภาษี เช่นเดียวกับการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง ขั้นตอนการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ สำหรับขั้นตอนการเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์สามารถทำได้ผ่าน Digtal My Tax ระบบใหม่ล่าสุดที่ทางกรมสรรพากรออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนโดยเฉพาะ ซึ่ง D-MyTax จะรวมทั้งภาษีบุคคลธรรมดา นิติบุคคล รวมไปถึงผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล แบบ One Portal ที่เดียวจบทุกเรื่องภาษี สำหรับขั้นตอนเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ ทำได้ดังนี้ 2. เลือกไปที่เมนู “นิติบุคคล” 3. คลิกที่ปุ่ม [รวมบริการทางภาษี (One Portal)] 4. เลือกวิธีการเข้าสู่ระบบ 5. เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะพบกับหน้าเว็บไซต์ที่แสดงสถานะของรายการที่เรายื่นไปแล้วนั่นเอง การเช็คสถานะคืนภาษีออนไลน์ผ่าน D-MyTax เป็นอีกหนึ่งทักษะสำคัญที่เจ้าของธุรกิจยุคใหม่ควรรู้ เพราะนอกจากจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าภาษีที่จ่ายเกินจะได้รับคืนแล้ว ยังช่วยให้คุณจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลา และลดความผิดพลาดได้อย่างมาก เมื่อเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ แล้วพบว่าความล่าช้าควรทำอย่างไร เมื่อเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์ แล้วพบว่าเกิดความล่าช้า แนะนำให้รีบติดต่อกรมสรรพากร เพื่อสอบถามถึงสาเหตุ ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้า แนะนำให้ผู้ประกอบการเตรียมจัดการบัญชี เอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย และตรวจสอบความถูกต้องให้ชัดเจน เพื่อให้ขั้นตอนการตรวจสอบของกรมสรรพากรง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เท่านี้ก็ช่วยลดปัญหาความล่าช้าลงไปได้แน่นอน อยากจัดการภาษีง่ายขึ้น ขอคืนภาษีได้รวดเร็ว? การขอคืนภาษีอาจดูเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับผู้ประกอบการ แต่หากมีการ วางแผนการทำบัญชีที่ดี ตั้งแต่ต้น ตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วน ใช้ระบบจัดการบัญชีที่มีประสิทธิภาพและคอยเช็กสถานะคืนภาษีออนไลน์อยู่เสมอ ก็สามารถช่วยให้การขอคืนภาษีเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้การบริหารภาษีง่ายขึ้นคือ PEAK Tax โปรแกรมการจัดการภาษีออนไลน์ ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการช่วยจัดการภาษีครบวงจร รองรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทั้งแบบ ภ.พ.30 และ ภ.พ.36 รวมถึงภาษีหัก ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) เช่น ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.2, ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 โดยคำนวณและจัดทำแบบฟอร์มภาษีอัตโนมัติ รองรับ e-Tax Invoice และ e-Receipt พร้อมรองรับการยื่นแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร ลดขั้นตอนการทำงานและช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพรวมทางการเงินได้ง่ายขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ก.พ. 2025

PEAK Account

16 min

e-Tax Invoice ตัวช่วยจัดการเอกสาร ลดความยุ่งยากให้ธุรกิจ SMEs

ก้าวเข้าสู่ปี 2568 ในยุคที่เกือบทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนดิจิตอลแทบทั้งหมด ประเทศไทยก็พัฒนาตามยุคสมัยในหลายด้าน รวมไปถึงด้านเอกสารต่าง ๆ ที่หน่วยงานส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมสรรพากรส่งเสริมให้ผู้ประกอบปัจจุบันการเปลี่ยนมาใช้ เพราะช่วยลดความยุ่งยากด้านงานเอกสาร และเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับกฎหมายในปัจจุบันอีกด้วย ในบทความนี้ PEAK ขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น จะเป็นอย่างไรบ้างมาติดตามกันได้เลย e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือ รูปแบบการออกใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบออนไลน์เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการซื้อขายของคนไทยที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น สามารถส่งเอกสารให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงสามารถส่งเอกสารออนไลน์ให้กรมสรรพากรได้ทันทีเช่นกัน ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ธุรกิจ SMEs สามารถจัดการกับเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  ข้อมูลจำเป็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากรูปแบบเอกสารเปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้มีข้อมูลรายละเอียดจำเป็นเล็กน้อยที่เจ้าของกิจการควรรู้ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของเรานั้นถูกต้องทุกประการ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) หรือการปรับทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยเสมอ หลังจากลงลายมือชื่อหรือประทับแล้ว เอกสารฉบับดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายได้ ทำไมธุรกิจ SMEs ต้องใช้ e-Tax Invoice? หลังจากที่เรารู้จักใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้นแล้ว ในส่วนถัดมาเรามาดูข้อดีที่เจ้าของเจ้าของกิจการ SMEs จะได้รับหากเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ใบกำกับภาษีกระดาษรูปแบบเดิมกันดีกว่า ซึ่งข้อดีหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 4 ข้อดังนี้ ลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร หนึ่งในปัญหาที่เจ้าของกิจการ SMEs หลายท่านต้องประสบพบเจอคงหนีไม่พ้นเรื่องของเอกสารที่เยอะจนบางครั้งทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่สามารถโฟกัสกับธุรกิจได้เต็มที่เท่าที่ควร การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดปัญหาส่วนนี้ลงไปได้อย่างแน่นอน เพราะด้วยเอกสารที่อยู่บนออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องหาที่จัดเก็บ หรือคอยหาเอกสารให้วุ่นวาย นอกจากนี้ยังลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร เพราะความสะดวกรวดเร็วในการส่งให้ผู้ซื้อและสรรพากรได้อย่างง่ายดาย หมดห่วงเรื่องเอกสารสูญหาย ต่อยอดจากข้อที่แล้ว นอกจากการลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร ยังเป็นการป้องกันข้อมูลสูญหายที่เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเก็บเอกสารแบบกระดาษ ซึ่งการเก็บเอกสารที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์นั้น หากจัดให้เป็นระเบียบรับรองว่าข้อมูลไม่มีทางสูญหายแน่นอน อีกทั้งเวลาต้องการเรียกดูเอกสารก็ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุน หลายท่านอาจสงสัยว่าการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร แต่ถ้าลองคำนวนดูแล้วการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ 1 แผ่นนั้น มีต้นทุนที่แฝงมาด้วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่ากระดาษ ค่าหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารออกมา อาจรวมไปถึงค่าซองเอกสาร และค่าจัดส่งอีกด้วย หากเปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็บอกลาต้นทุนเหล่านี้ไปได้เลย ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมในส่วนนี้ ยกตัวอย่างเช่น Easy E-Receipt นโยบายที่ในปีพ.ศ. 2568 ก็กลับมาอีกครั้ง โดยเป็นนโยบายที่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษีออนไลน์จากสินค้าหรือบริการที่ซื้อในช่วงเวลาที่กำหนด มายื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น  “การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากจะช่วยจัดการเอกสารแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนแฝง และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายผ่านนโยบายของภาครัฐอีกด้วย” e-Tax Invoice มีกี่รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? e-Tax Invoice มีทั้งหมด 2 รูปแบบประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร แต่ละแบบเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาดูกันต่อเลย 1. e-Tax Invoice & Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแรกแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Recepit) ซึ่งเอกสารรูปแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แบบไม่จำกัดรายได้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ก่อนทำการส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงกรมสรรพากรจำเป็นต้องลงลายมือชื่อดิจิตอลให้เรียบร้อยเพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้การส่ง e-Tax Invoice & Receipt ให้กรมสรรพากรจะต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ XML หรือ PDF/A3 เท่านั้น คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice & Receipt  สำหรับขั้นตอนการใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภท e-Tax Invoice & Receipt มีขั้นตอนทั้งหมด 3 ส่วนที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย ไม่เป็นการเพิ่มงานแน่นอน 2. e-Tax Invoice by Time Stamp ในส่วนของ e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท และได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จำนวนที่ไม่มาก โดยการส่งเอกสาร e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการที่ธุรกิจออกร่างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นทำการส่งอีเมลให้ลูกค้า และ CC อีเมลไปที่ [email protected] เพื่อให้ระบบทำการ Time Stamp หรือประทับเวลาให้ หลังจากนั้นระบบจะส่งเอกสารที่ประทับเวลาแล้วให้ลูกค้าและธุรกิจอีกครั้ง คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp เจ้าของกิจการที่ต้องการยื่นขอการจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ต้องมีคุณสมบัติดังนี้  ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบ e-Tax Invoice by Time Stamp อาจมีขั้นตอนมากกว่าเล็กน้อย แต่สะดวกไม่แพ้กัน อยากลดความยุ่งยากเรื่องเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือคำตอบ ตอนนี้ทุกท่านรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นแล้ว ทราบถึงข้อดีที่ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาความยุ่งยากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต่าง ๆ รวมไปถึงเป็นการลดต้นทุน และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้แก่ธุรกิจผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย  สำหรับเจ้าของกิจการ SMEs ท่านไหนที่กำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย ที่ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการทำ e-Tax Invoice ช่วยให้การจัดการบัญชีในธุรกิจของคุณสะดวก สามารถจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เตรียมความพร้อมมุ่งสู่การเติบโตในอนาคต ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

24 ม.ค. 2025

PEAK Account

12 min

“ภาษี” บริหารได้อย่าหนี กับ 4 วิธีทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องสำหรับธุรกิจ SMEs

“ภาษี” กับ “ความตาย” คือ สองสิ่งบนโลกที่มวลมนุษย์อย่างเราไม่อาจหนีได้ คือประโยคอันโด่งดังของเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) หนึ่งในรัฐบุรุษผู้สร้างชาติอเมริกา ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของโลกใบนี้ เรื่อง “ความตาย” นี่ เราเห็นกัน 100% แล้วว่าเป็นสิ่งที่หนีไม่ได้จริงๆ แต่ทำไมเรายังเห็นหลายคนไม่จ่ายภาษีทั้งๆ ที่ต้องจ่าย งั้นแบบนี้ “ภาษี” ก็เป็นสิ่งที่หนีได้ใช่ไหม? คำตอบ คือ หนีได้ แต่ผิดกฎหมายนะ! และยังไม่พอ ยังเป็นการหนีได้ชั่วคราวอีกด้วย เพราะจากที่เราเห็นกันในโซเชียลหรือจากการทำบัญชีให้ผู้ประกอบการจะพบเรื่องที่สรรพากรมาตรวจย้อนหลังและโดนปรับแพงๆ จนหลายคนทำธุรกิจต่อไม่ไหวหรือหาเงินมาจ่ายคืนไม่ได้ สุดท้ายก็คือ หนีไม่ได้อยู่ดีนั่นแหละครับ จะดีกว่าไหม ถ้าเราทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่แรก โดยไม่หนี แต่ใช้การบริหารภาษีแทน มาดูกันครับ ผมอยากให้ทุกคนทำภาษีให้ถูกต้อง ยังไม่พอยังทำให้ประหยัดภาษีได้อีกทีด้วย บทความนี้จะไม่ได้พูดเรื่องการวางแผนภาษีแบบละเอียด แต่เริ่มจากเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการทุกคนควรจะรู้ว่าถูกต้องและประหยัดจะทำได้อย่างไรบ้าง เริ่ม! 4 วิธีทำเรื่องภาษีให้ถูกต้อง ก่อนจะประหยัด เราควรรู้ว่าการจัดการภาษีให้ถูกต้องให้กรมสรรพากรยอมรับต้องทำอย่างไร ดังนี้ 1. บันทึกค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน พื้นฐานที่สุด คือ ธุรกิจควรบันทึกค่าใช้จ่ายทุกประเภทอย่างละเอียดและครบถ้วน เพราะเมื่อค่าใช้จ่ายจริงเยอะ กำไรที่จะนำไปคำนวณภาษีจะลดลง ทำให้จ่ายภาษีประจำปีได้ประหยัดมากขึ้น 2. มีเอกสารประกอบค่าใช้จ่ายทุกใบ การมีเอกสารประกอบค่าใช้จ่าย เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี จะช่วยให้การบันทึกค่าใช้จ่ายมีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้เป็นหลักฐานในหักค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง อีกทั้งสามารถยืนยันค่าใช้จ่ายได้ในกรณีที่มีการตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร  3. ไม่มีเอกสารประกอบ ก็เป็นค่าใช้จ่ายได้ ในบางกรณีที่จ่ายเงินแต่ไม่ได้รับเอกสาร เช่น ค่าแท็กซี่ เมื่อเราจ่ายเงิน คนขับรถคงไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้เราได้แน่ แต่ไม่ต้องห่วงเพราะสรรพากรก็เข้าใจในสิ่งนี้เป็นอย่างดี จึงออกคู่มือประกอบการลงค่าใช้จ่ายที่ไม่มีเอกสารมาให้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก! 4. ระบุผู้รับเงินให้ได้ ทุกการจ่ายเงินต้องบอกให้ได้ว่าผู้รับเงินเป็นใคร ไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามได้ว่าเป็นการสร้างรายจ่ายปลอมรึเปล่า? เพราะแม้จะมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่สามารถระบุผู้รับเงินได้ แบบนี้ก็คงไม่มีใครเชื่อ  วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ พยายามจ่ายเงินผ่านการโอนเงิน เพราะในสลิปโอนเงินจะระบุผู้รับเงินได้ ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินสดถ้ายอดเงินน้อยๆ หลักสิบ หลักร้อย เช่น ค่าแท็กซี่ การทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จตามคู่มือของสรรพากรก็เพียงพอ แต่ถ้าจ่ายเงินสดเป็นหลักหมื่น หลักแสนขึ้นไป ควรต้องขอสำเนาบัตรประชาชนและให้ผู้รับเซ็นรับเงินมาด้วยจะทำให้พิสูจน์ผู้รับได้ปลอดภัยขึ้น การทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จ สามารถช่วยยืนยันการจ่ายเงินสดได้ในกรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินอย่างเป็นทางการได้ โดยในระบบ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จได้อย่างสะดวกและง่ายดาย พร้อมรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ทำให้การจัดการเอกสารเป็นระบบและช่วยลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบย้อนหลังจากสรรพากร 4 วิธีพื้นฐานประหยัดภาษี  เมื่อรู้วิธีจัดการภาษีที่ถูกต้องแล้ว เราจะขยับขึ้นมาอีกสเต็ปหนึ่ง คือ การวางแผนภาษีเบื้องต้นเพื่อประหยัดภาษีกัน ซึ่งผมยกตัวอย่างมาให้ ดังนี้ 1. จ่ายเงินตัวเองให้ถูกวิธี ผู้ประกอบการมักคิดว่าเงินบริษัทคือเงินของตัวเอง แต่ในทางกฎหมายถือว่าบริษัทกับผู้ประกอบการเป็นคนละคนกัน ดังนั้นผู้ประกอบไม่สามารถนำเงินบริษัทมาใช้ได้ตามอำเภอใจ เพราะจะทำให้ระบบบัญชีและภาษีมีปัญหา เช่น การเกิดบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการจำนวนมาก  วิธีที่ถูกต้องในการดึงเงินออกจากบริษัท เช่น การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองในฐานะกรรมการ หรือการจ่ายค่าเช่าออฟฟิศถ้ากรรมการใช้บ้านตัวเองในการทำงาน หรือถ้าบริษัทมีกำไรและอยากนำเงินมาใช้ก็สามารถนำเงินออกมาในรูปแบบของการจ่ายเงินปันผลได้ เป็นต้น 2. การซื้อประกันผู้บริหารคนสำคัญ (Keyman)  สำหรับบุคลากรที่สำคัญในองค์กร เช่น ผู้ประกอบการที่เป็นกรรมการ สามารถขออนุมัติผู้ถือหุ้นเพื่อให้สวัสดิการซื้อประกันชีวิตสำหรับผู้บริหาร หรือประกัน Keyman ได้ ข้อดี คือ ค่าเบี้ยประกันสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้  แต่ต้องจำไว้ว่า ค่าเบี้ยที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการนั้น ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีของกรรมการด้วย ดังนั้นอีกมุมที่ต้องพิจารณา คือ เมื่อนำรายได้ค่าเบี้ยประกันมารวมกับเงินได้ทั้งหมดของกรรมการแล้ว ทำให้ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงเกินกว่าฐานภาษีนิติบุคคลไหม ถ้าฐานภาษีบุคคลยังต่ำกว่าฐานภาษีนิติบุคคลแบบนี้ประกันคีย์แมนจะช่วยประหยัดภาษีของกิจการได้ และกรรมการก็ได้สวัสดิการนี้ไปด้วย 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ครบ ภาครัฐมีการออกกฎหมายหลายตัวที่เอื้อประโยชน์ให้ภาคธุรกิจใช้ลดหย่อนภาษีธุรกิจ เช่น การจ้างคนพิการหรือผู้สูงอายุ จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น หรือลดหย่อนภาษีสำหรับการลงทุนในอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการควรติดตามกฎหมายที่มีผลในปัจจุบัน และที่จะออกในอนาคตเพื่อใช้สิทธิ์ที่ภาครัฐออกมาช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ เพราะจากที่ผ่านมาหลายคนเสียสิทธิเพราะไม่รู้ว่ามีสิทธิประโยชน์เหล่านี้ด้วย  4. จัดโครงสร้างกิจการ เช่น การทำธุรกิจที่ผ่านมาอาจทำในรูปแบบของบุคคลธรรมดาซึ่งเสียภาษีสูงสุดที่ 35% ซึ่งอาจพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจมาเป็นนิติบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดที่ 20% อาจทำให้ช่วยประหยัดภาษีได้มหาศาล นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจหลายประเภท อาจปรึกษากับนักบัญชีเพื่อพิจารณาแยกบริษัทสำหรับธุรกิจบางประเภทที่จะช่วยให้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้มากขึ้น เช่น แยกธุรกิจ VAT กับ Non VAT เพื่อหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือการแยกบริษัทเมื่อรายได้รวมใกล้จะถึง 30 ล้านบาท เพราะจะทำให้อัตราภาษีสูงขึ้น หรือแม้แต่การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งเพื่อถือหุ้นในบริษัทลูกก็ยังมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในบทความ ภาษี คือ สิ่งที่ “หนีอย่างถาวร” ไม่ได้ เราจึงควรทำภาษีให้ถูกต้องและวางแผนภาษีให้ประหยัดตั้งแต่แรก เพื่อขจัดปัญหาทางด้านบัญชีและภาษีในภายหลัง การบริหารจัดการภาษีอย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแค่ช่วยลดภาระภาษีแต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจ SMEs ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและทำการศึกษาแนวทางต่าง ๆ เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสูงสุดในการดำเนินธุรกิจของตนเองครับ สำหรับตอนถัดไปเป็นบทสิ้นสุดการเดินทางของซีรีส์ 10 กฎพื้นฐานด้านการเงินสำหรับ SMEs กันแล้ว ผมจึงอยากจะพาทุกท่านไปค้นหาบุคคลผู้ที่จะมาเป็นเบื้องหลังจัดการปัญหาบัญชี ภาษีให้กิจการ และให้คำแนะนำว่านักบัญชีที่เก่งนั้นควรจะมีทักษะและความสามารถใดที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จครับ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

17 ม.ค. 2025

PEAK Account

6 min

ถอด VAT คืออะไร? ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้วิธีคำนวณนี้

การถอด VAT เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเจอในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อมีการขายสินค้าที่เราต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า หรือการถอด VAT จากสินค้าที่ซื้อมาเพื่อที่ช่วยให้เราทราบราคาต้นทุนที่แท้จริงของสิ่งนั้น นอกจากนี้ การถอด VAT ยังช่วยให้นักบัญชีของกิจการจัดการภาษีได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย ซึ่งมีทั้งการถอด VAT 3% และ 7% ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้วิธีการ ถอด VAT เรามีวิธีคำนวณมาฝากกัน ก่อนถอด VAT ควรรู้จัก VAT คืออะไร  VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากมูลค่าสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่การผลิตจนถึงการจำหน่าย ไม่ว่าสินค้านั้นจะผลิตที่ประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยผู้ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาท ต่อปี จากการผลิตและขายสินค้านั้น จะต้องเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ และต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำภายใน 30 วัน  วิธีถอด VAT คำนวณด้วยเครื่องคิดเลขง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน การถอด VAT เป็นการถอดเพื่อให้เราทราบราคาที่แท้จริงของสินค้าก่อนคิด VAT ว่ามีราคาเท่าไหร่ และสามารถคำนวณภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันตามอัตราภาษี ดังนี้  วิธีถอด VAT 3% VAT 3% มักใช้กับธุรกิจที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขนาดเล็ก กิจการที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี  การจ้างทำของ หรือทำงานต่าง ๆ โดยวิธีการคำนวณนั้นจะทำได้โดยการนำราคาสินค้าที่รวม VAT แล้ว มาหารด้วย 1.03 ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นราคาที่ไม่รวม VAT ส่วนต่างระหว่างราคารวมกับราคาที่ไม่รวม VAT คือจำนวนภาษีที่ต้องนำส่ง ตัวอย่างการคำนวณ : สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,300 บาท  วิธีถอด VAT 7% การถอด VAT 7% เป็นการคำนวณที่ใช้กับธุรกิจทั่วไปที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการคำนวณคล้ายกับการถอด VAT 3% แต่ใช้ตัวหารเป็น 1.07 แทน การถอด VAT ที่ถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจคำนวณต้นทุน กำไร และภาษีที่ต้องนำส่งได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการคำนวณ สมมติว่าเรามีสินค้าราคารวม VAT อยู่ที่ 10,700 บาท การเสียภาษี VAT ถ้าธุรกิจของเราเป็นทั้งผู้ขายสินค้าและซื้อสินค้ามา เราต้องมีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องจ่าย โดยนำภาษีขายที่เก็บจากลูกค้าตลอดเดือนภาษี มาลบด้วยภาษีซื้อที่จ่ายให้ซัพพลายเออร์ในเดือนเดียวกัน หากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าภาษีขายสูงกว่าภาษีซื้อ เจ้าของธุรกิจจ่ายส่วนต่างให้กรมสรรพากร แต่หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกได้ว่าจะรับภาษีส่วนเกินคืน หรือเก็บไว้เป็นเครดิตภาษีสำหรับการคำนวณในรอบเดือนถัดไปได้เลย  ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ขายสินค้าหรือซื้อสินค้า การถอด VAT ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้เราทราบต้นทุนที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนและบริหารจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มเงินทุนให้สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้อีก นอกจากการคำนวณ VAT ด้วยเครื่องคิดเลขแล้ว การใช้ PEAK Tax ยังช่วยให้การคำนวณภาษีและการออกเอกสารใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย พร้อมรองรับการจัดการภาษีและบัญชีอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเติบโตไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นคง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก