คลังความรู้บัญชี ภาษี และโปรแกรมบัญชีออนไลน์

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บทความน่ารู้ด้านบัญชี ภาษี การเงิน และธุรกิจที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

ล่าสุด

9 May 2025

PEAK Account

5 min

PR, PO, GR คืออะไร? เข้าใจง่ายในฉบับเจ้าของธุรกิจ

การจัดซื้อจัดจ้างในธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ล้วนต้องการความชัดเจนและโปร่งใส เอกสาร 3 ประเภทนี้คือเครื่องมือหลักที่ช่วยให้ทุกขั้นตอนเป็นระบบมากขึ้น 1.ใบขอซื้อ (PR – Purchase Requisition) เป็นเอกสารที่ใช้บอกความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการภายในองค์กร วัตถุประสงค์: ขั้นตอนการใช้งาน: ประโยชน์: 2. ใบสั่งซื้อ (PO – Purchase Order) เป็นเอกสารอย่างเป็นทางการที่ส่งให้กับผู้ขายเพื่อยืนยันการสั่งซื้อ วัตถุประสงค์: ขั้นตอนการใช้งาน: ประโยชน์: 3. ใบรับสินค้า (GR – Goods Receipt) เป็นเอกสารที่ออกเมื่อได้รับสินค้า เพื่อยืนยันว่าของที่ได้รับตรงตามที่สั่งไว้ วัตถุประสงค์: ขั้นตอนการใช้งาน: ประโยชน์: ใช้เอกสารอย่างเป็นระบบ = ธุรกิจเดินหน้าได้ราบรื่น การใช้ PR, PO และ GR อย่างถูกต้องจะช่วยให้การจัดซื้อของคุณโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะทำขายสินค้า หรือบริการ สนใจเข้าร่วม DEMO สาธิตฟีเจอร์ใหม่ PEAK Premium ที่นี่! เจาะลึกทุกฟีเจอร์พร้อม Q&A ถาม-ตอบทุกข้อสงสัย – ฟรีออนไลน์ผ่าน Zoom คลิกลงทะเบียน สนใจใช้งานแพ็กเกจ PEAK PREMIUM  ต้องการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อกลับ คลิกลงทะเบียน

7 May 2025

PEAK Account

3 min

Update Function 07/05/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1.  Reduce errors! Tax invoice date now adjusts automatically based on document issue date. 📢 The system now adjusts the “Tax Invoice Date” field to automatically follow the document’s “Issue Date,” so users don’t have to manually correct it—helping reduce errors from incorrect entries. This invoice date adjustment applies to both document creation and editing pages, providing convenience and accuracy for tax invoice records. ✨ 2. Easier tax filing date entry in PEAK Tax! Auto-suggest filing date based on calendar, with new “Filed Already” option for retroactive entries. 📢 For PEAK Tax users, the system adds convenience when entering data on the “Tax Filing” page by auto-setting the default filing date according to the Revenue Department calendar. This helps reduce redundant data entry and prevents mistakes caused by forgetting to update the filing date. Also added: a “Filed Already” option for users who have already submitted tax forms through other channels and are just recording them in the system—no need to download the file again while still maintaining accurate records. ✨ 3. View dashboard data up to 5 years back, with added arrow buttons for easier navigation. 📢 Users can now view dashboard data in each menu going back up to 5 years. This enables easier historical analysis and performance comparison. Dashboards with extended history include: In addition, left-right arrow buttons have been added on dashboard pages (Home / Revenue / Expense) for easier navigation between months. ✨ 4. Change status of multiple Quotation and Purchase Order documents with a single click! 📢 For businesses managing many Quotations (QO) and Purchase Orders (PO), the system now allows selecting multiple documents and changing their statuses all at once. Users can choose to update statuses based on system rules or mark them all as “Fully Issued” in one go. This helps manage documents faster, saves time, and reduces errors from updating documents one by one. Example of alert when the document does not meet the condition for “Fully Issued” status ✨ 5. Purchase Request (PR) documents no longer require contact name input. 📢 For Premium package users needing flexibility in creating PR documents, the “Contact” field is no longer mandatory. Users may leave it blank if the contact is not yet known or not needed during the request stage. If a Purchase Order (PO) is created from a PR and a contact name has been entered, the system will retain that name to ensure accuracy for the next step. ✨ 6. Redesigned Check In/Check Out screen—easier to use, with reports that match on-screen display. 📢 Users can now manage received and issued checks more easily with a new display aligned with standard document lists. Check statuses are more visible and easier to search. The printed check report is also improved—print results will follow the open tab and match the on-screen sorting. A new “Paid Out” column is added in the check payment report for clearer and more accurate tracking. ✨ 7. Print stock balance report showing SKU, platform, and Barcode. 📢 For e-commerce businesses, users can now print stock balance reports with additional product codes: SKU numbers by platform and Barcodes. Simply check the ‘Show other product codes’ option in the report print window to include these columns in the product/service report. Even if SKU codes are disabled, the system will still display the selected data. This enhances stock management and integration with online sales platforms, making it more accurate and convenient. Additionally, the report layout has been updated to match receipt/payment documents, and users can select the report type and title as needed. Example: Stock Balance Report

7 May 2025

PEAK Account

8 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 07/05/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. ลดโอกาสผิดพลาด! วันที่ใบกำกับภาษีปรับตามวันที่ออกเอกสารอัตโนมัติ 📢 ระบบปรับให้ช่อง “วันที่ใบกำกับภาษี” เปลี่ยนตาม “วันที่ออก” เอกสารอัตโนมัติ ผู้ใช้งานไม่ต้องคอยแก้ไขเอง ช่วยลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลผิด โดยการปรับวันที่ใบกำกับภาษีนี้ ระบบรองรับทั้งในหน้าสร้างและแก้ไขเอกสาร เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกและช่วยให้ทุกกิจการบันทึกข้อมูลใบกำกับภาษีได้แม่นยำยิ่งขึ้น ✨ 2. บันทึกวันที่ยื่นภาษีง่ายขึ้นที่ PEAK Tax! แนะนำวันที่ยื่นอัตโนมัติตามปฏิทิน พร้อมเพิ่มตัวเลือก “ยื่นแบบแล้ว” กรณีสร้างแบบยื่นภาษีย้อนหลัง 📢 สำหรับผู้ใช้งาน PEAK TAX ระบบเพิ่มความสะดวกในการกรอกข้อมูลบนหน้า “ยื่นภาษี” โดย กำหนดค่าเริ่มต้นวันที่ยื่นแบบให้ตรงตามปฏิทินกรมสรรพากร ช่วยลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนและป้องกันความผิดพลาดจากการลืมเปลี่ยนวันที่ยื่นแบบ นอกจากนี้ระบบเพิ่มตัวเลือก “ยื่นแบบแล้ว” สำหรับผู้ที่ยื่นแบบภาษีผ่านช่องทางอื่นมาแล้วและเพิ่งมาบันทึกในระบบ ช่วยให้ไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์อีกครั้งและสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ✨ 3. ย้อนดูข้อมูล Dashboard ย้อนหลังได้สูงสุด 5 ปี พร้อมปุ่มลูกศรดูข้อมูลได้สะดวกขึ้น 📢 ระบบปรับให้ผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูล Dashboard ย้อนหลังในแต่ละเมนูได้สูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังและเปรียบเทียบผลได้ง่ายยิ่งขึ้น โดย Dashboard ที่ระบบเพิ่มให้ดูข้อมูลย้อนหลัง มีดังนี้ นอกจากนี้ ระบบเพิ่มปุ่มลูกศรซ้าย-ขวาบนหน้า Dashboard (หน้าหลัก / รายรับ / รายจ่าย) เพื่อให้ผู้ใช้งานเลื่อนดูข้อมูลเดือนก่อน-เดือนถัดไปได้สะดวกยิ่งขึ้น ✨ 4. เปลี่ยนสถานะเอกสารใบเสนอราคาและใบสั่งซื้อได้หลายรายการในคลิกเดียว! 📢 สำหรับทุกกิจการที่ต้องจัดการใบเสนอราคา (QO) และใบสั่งซื้อ (PO) จำนวนมาก ระบบเพิ่มฟีเจอร์ให้สามารถเลือกเอกสารหลายรายการและเปลี่ยนสถานะพร้อมกันได้ทันที โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนสถานะตามเงื่อนไขของระบบหรือเปลี่ยนให้เป็น “ออกครบแล้ว” ทั้งหมดในครั้งเดียว ช่วยให้จัดการเอกสารได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา และลดข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนทีละใบ ตัวอย่างการแจ้งเตือนกรณีเอกสารไม่ตรงกับเงื่อนไขสถานะออกครบแล้ว ✨ 5. ปรับเอกสารใบขอซื้อ (PR) ไม่จำเป็นต้องกรอกชื่อผู้ติดต่ออีกต่อไป 📢 สำหรับแพ็กเกจ Premium ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจัดทำเอกสารใบขอซื้อ (PR) ระบบปรับให้ช่อง “ผู้ติดต่อ” ไม่บังคับให้ระบุเมื่อสร้างเอกสารอีกต่อไป โดยผู้ใช้งานสามารถเว้นว่างไว้ได้หากยังไม่ทราบข้อมูล หรือยังไม่จำเป็นต้องระบุในขั้นตอนการขอซื้อ ทั้งนี้ หากใบสั่งซื้อ (PO) ถูกสร้างต่อจาก ใบสั่งซื้อ (PR) และมีการระบุชื่อผู้ติดต่อไว้ ระบบจะยังคงล็อกชื่อผู้ติดต่อดังกล่าวไว้เช่นเดิม เพื่อความแม่นยำในการดำเนินการขั้นถัดไป ✨ 6. ปรับดีไซน์หน้าเช็ครับ-จ่ายใหม่ ใช้ง่ายกว่าเดิม พร้อมรายงานที่ตรงตามการแสดงผลในระบบ 📢 ผู้ใช้งานสามารถจัดการเช็ครับและเช็คจ่ายได้ง่ายขึ้น ด้วยหน้าแสดงผลใหม่ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับหน้ารายการเอกสารทั่วไป มองเห็นสถานะเช็คได้ชัดเจน และค้นหาง่ายขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ การพิมพ์รายงานเช็คก็ถูกปรับให้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น — พิมพ์รายงานตามแถบสถานะที่เปิดอยู่ และเรียงลำดับตามที่แสดงในระบบจริง พร้อมเพิ่มคอลัมน์ “จ่ายเงินออก” ในรายงานเช็คจ่าย เพื่อให้การติดตามข้อมูลชัดเจนและตรงจุดยิ่งขึ้น ✨ 7. พิมพ์​รายงานสินค้าคงเหลือแสดงเลข SKU แพลตฟอร์มและ Barcode ได้แล้ว 📢 สำหรับธุรกิจ e-commerce ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์รายงานสินค้าคงเหลือ ให้แสดงข้อมูลรหัสสินค้าอื่น ได้แก่ เลข SKU แต่ละแพลตฟอร์มและ Barcode ได้แล้ว โดยเลือกติ๊กที่ช่อง “แสดงรหัสสินค้าอื่น” บนหน้าต่างพิมพ์รายงานเพื่อเพิ่มคอลัมน์แสดงข้อมูลเหล่านี้ในรายงานสินค้า/บริการ แม้จะปิดใช้งานรหัส SKU อยู่ ระบบก็ยังสามารถแสดงผลตามที่เลือกได้ เพื่อให้การบริหารจัดการสต๊อกสินค้าและการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มขายของออนไลน์แม่นยำและสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังมีการปรับรูปแบบการพิมพ์รายงานให้สอดคล้องกับเอกสารรับ-จ่าย และสามารถเลือกประเภทและหัวรายงานได้ตามต้องการ ตัวอย่างรายงานสินค้าคงเหลือ

อ่านบทความเพิ่มเติม

บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

อ่านบทความเพิ่มเติม

9 May 2025

PEAK Account

5 min

PR, PO, GR คืออะไร? เข้าใจง่ายในฉบับเจ้าของธุรกิจ

การจัดซื้อจัดจ้างในธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ล้วนต้องการความชัดเจนและโปร่งใส เอกสาร 3 ประเภทนี้คือเครื่องมือหลักที่ช่วยให้ทุกขั้นตอนเป็นระบบมากขึ้น 1.ใบขอซื้อ (PR – Purchase Requisition) เป็นเอกสารที่ใช้บอกความต้องการซื้อสินค้า หรือบริการภายในองค์กร วัตถุประสงค์: ขั้นตอนการใช้งาน: ประโยชน์: 2. ใบสั่งซื้อ (PO – Purchase Order) เป็นเอกสารอย่างเป็นทางการที่ส่งให้กับผู้ขายเพื่อยืนยันการสั่งซื้อ วัตถุประสงค์: ขั้นตอนการใช้งาน: ประโยชน์: 3. ใบรับสินค้า (GR – Goods Receipt) เป็นเอกสารที่ออกเมื่อได้รับสินค้า เพื่อยืนยันว่าของที่ได้รับตรงตามที่สั่งไว้ วัตถุประสงค์: ขั้นตอนการใช้งาน: ประโยชน์: ใช้เอกสารอย่างเป็นระบบ = ธุรกิจเดินหน้าได้ราบรื่น การใช้ PR, PO และ GR อย่างถูกต้องจะช่วยให้การจัดซื้อของคุณโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะทำขายสินค้า หรือบริการ สนใจเข้าร่วม DEMO สาธิตฟีเจอร์ใหม่ PEAK Premium ที่นี่! เจาะลึกทุกฟีเจอร์พร้อม Q&A ถาม-ตอบทุกข้อสงสัย – ฟรีออนไลน์ผ่าน Zoom คลิกลงทะเบียน สนใจใช้งานแพ็กเกจ PEAK PREMIUM  ต้องการให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายติดต่อกลับ คลิกลงทะเบียน

4 Apr 2025

PEAK Account

16 min

โปรแกรม Payroll คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? ทำไมทุกองค์กรควรมี!

การจ่ายเงินเดือนอาจดูเหมือนงานประจำที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วมีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจเยอะมาก ตั้งแต่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าคอม ประกันสังคม ภาษี ไปจนถึงการบันทึกบัญชี ถ้าทำด้วยมือหรือ Excel อาจทำให้เสียเวลา หรือผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นโปรแกรมสำหรับทำ Payroll ที่ดีจึงไม่ใช่แค่เรื่องของความสะดวก แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณบริหารงานเงินเดือนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น มาดูกันว่า โปรแกรม Payroll ที่ตอบโจทย์ SME ควรมีอะไรบ้าง โปรแกรม Payroll คืออะไร? โปรแกรม Payroll หรือ โปรแกรมเงินเดือน คือโปรแกรมที่ช่วยจัดการเรื่องการจ่ายเงินเดือน จัดการบริหารเกี่ยวกับเงินเดือน การจ่ายค่าจ้าง ค่านอกเวลา เบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชันของพนักงานทุกคนภายในองค์กร ซึ่งโปรแกรม Payroll จะช่วยดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่การช่วยคำนวณด้านภาษี ไปจนถึงการออกเอกสารที่ต้องมอบให้พนักงานหลังจากจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วอีกด้วย ทำให้โปรแกรมประเภทนี้เข้ามาเป็นส่วนช่วยให้การทำงานของผู้ที่รับหน้าที่ตรงนี้ได้ง่ายดายขึ้น ช่วยลดปัญหาข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น สามารถใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ การนำเครื่องมือนี้เข้ามา จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่พนักงานในองค์กรได้  ทำไมผู้ประกอบการทุกคนควรมี โปรแกรม Payroll  ผู้ประกอบการหลายท่านอาจคิดว่า รอพนักงานเยอะ ๆ ก่อนค่อยหาโปรแกรม Payroll มาใช้ แต่ตามจริงแล้วไม่จำเป็นต้องรอพนักงานหลักร้อยคนก็สามารถเริ่มใช้ได้เลย เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวก ลดงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง และเป็นการวางระบบแผนงานการจ่ายเงินอย่างเป็นระเบียบ ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารที่วุ่นวาย ทำให้การจัดการเรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ผู้ประกอบการเริ่มใช้ตั้งแต่เนิ่น ๆ  โปรแกรม Payroll ที่ดีเป็นอย่างไร? โปรแกรม Payroll หรือโปรแกรมเงินเดือน คือเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการด้านการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชัน หรือสวัสดิการอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนที่ทุกกิจการต้องบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โปรแกรม Payroll ที่ดีจะช่วยให้งานด้านนี้เป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานแบบแมนนวล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านการเงินขององค์กรอย่างมีระบบและเป็นมืออาชีพ แล้วโปรแกรม Payroll ที่ดีเป็นอย่างไร? มาดูกันเลย 1. ออกสลิปเงินเดือนได้ทันทีได้ง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ เจ้าของกิจการหลายคนต้องเสียเวลากับการจัดทำสลิปเงินเดือนให้พนักงานทีละคน ซึ่งยิ่งมีพนักงานหลายคนก็ยิ่งใช้เวลานาน โปรแกรมที่ดีควรช่วยให้คุณสร้างสลิปเงินเดือนได้ในไม่กี่ขั้นตอน โดยดึงข้อมูลจากการคำนวณที่ระบบทำไว้แล้วมาใส่ในฟอร์มสลิปให้อัตโนมัติ พร้อมระบุรายการต่าง ๆ อย่างชัดเจน เช่น ฐานเงินเดือน โบนัส หรือรายการหักต่าง ๆ จากนั้นก็สามารถดาวน์โหลดหรือส่งให้พนักงานได้เลยทันที ไม่ต้องทำซ้ำหลายรอบ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีควรมีระบบสร้างสลิปจากข้อมูลที่มีในระบบ และคำนวณเงินเดือนให้อัตโนมัติ สามารถปรับรูปแบบ สีหรือใส่โลโก้บริษัทได้ สามารถ export เป็นไฟล์ PDF หรือส่งให้พนักงานผ่าน E-mail ได้ทันที โปรแกรมสลิปเงินเดือนที่ดีระบุรายการหัก-จ่ายอย่างชัดเจน เช่น ฐานเงินเดือน โบนัส หักประกันสังคม ภาษี เป็นต้น สมมุติว่าคุณมีพนักงาน 15 คน แต่ละคนมีค่าล่วงเวลาและโบนัสต่างกัน หากไม่มีระบบช่วย คงต้องนั่งกรอก Excel ทีละคน แล้วพิมพ์สลิปด้วยมือ แต่ถ้าใช้โปรแกรม Payroll คุณกรอกข้อมูลหรืออัปโหลด Excel แล้วกด “สร้างสลิป” ได้เลยภายในไม่กี่วินาที 2. เชื่อมต่อกับระบบประกันสังคมออนไลน์ พร้อมยื่นในระบบ SSO e-service ได้เลย การยื่นประกันสังคมผ่านระบบ SSO e-service ทุกเดือนถือเป็นภาระที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และถ้าทำแบบแมนนวลอาจใช้เวลามาก โปรแกรมที่ดีควรมีระบบเตรียมไฟล์สำหรับยื่นแบบอัตโนมัติ โดยดึงข้อมูลจากเงินเดือนของพนักงานมาแปลงเป็นรูปแบบที่ประกันสังคมกำหนดไว้ ช่วยลดเวลาการกรอกข้อมูลและมั่นใจได้ว่าส่งครบ ถูกต้อง และทันเวลา ดังนั้นควรเลือกโปรแกรมที่สามารถดึงข้อมูลค่าจ้างจากเงินเดือนที่คำนวณไว้แล้ว มาสร้างไฟล์นำส่งที่ตรงตามรูปแบบของประกันสังคม พร้อมมีลิงก์หรือปุ่มเชื่อมตรงเข้าสู่ระบบ SSO ได้เลย เพื่อให้คุณสามารถยื่นข้อมูลเข้าสู่ระบบ SSO e-service ได้ทันทีจากในระบบ ไม่ต้องเสียเวลาสลับไปกรอกข้อมูลใหม่ทีละช่อง ช่วยลดโอกาสผิดพลาดจากการคีย์ข้อมูลซ้ำ และยังทำให้การยื่นงานในแต่ละเดือนกลายเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วขึ้นมาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือฝ่ายบุคคลที่ต้องดูแลพนักงานจำนวนมาก หรือมีหลายสาขา เพราะระบบจะช่วยรวมข้อมูลทุกอย่างไว้ให้ในที่เดียว พร้อมใช้งานทันที และมั่นใจได้ว่าทำตามรูปแบบที่ประกันสังคมกำหนดอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกครั้ง 3. คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ การคำนวณภาษีเงินเดือนเป็นงานที่ต้องเป๊ะ เพราะถ้าคำนวณผิด ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ก็อาจกระทบกับพนักงานหรือทำให้คุณต้องเสียเวลายื่นแก้ไขย้อนหลัง โปรแกรมทำเงินเดือนที่ดีควรคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้อัตโนมัติ โดยอิงตามฐานเงินเดือนและสิทธิลดหย่อนที่กฎหมายกำหนด พร้อมสร้างรายงานหรือเอกสารประกอบการยื่นแบบภาษีให้ครบถ้วน ลดงานซ้ำซ้อนและลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการคำนวณ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีควรรองรับการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดตามอัตรากฎหมาย เช่น ลดหย่อนต่าง ๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว เบี้ยประกันชีวิต ฯลฯ สามารถสรุปยอดนำส่งภาษีและสร้างไฟล์นำส่งแบบ ภ.ง.ด.1 และสร้างใบแนบภาษีและรายงานภาษีประจำเดือนได้ ยกตัวอย่างเช่น หากพนักงานมีเบี้ยเลี้ยงพิเศษ โบนัส หรือค่าคอมมิชชันเพิ่มขึ้นในเดือนใด ระบบต้องสามารถคำนวณภาษีได้ถูกต้องแบบ real-time โดยที่คุณไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลขหรือเปิดตารางภาษีดูเอง 4. เชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชี เพื่อบันทึกบัญชีอัตโนมัติ เมื่อจ่ายเงินเดือนแล้ว ก็ต้องมีการบันทึกบัญชีตามมา เช่น บันทึกค่าใช้จ่าย เงินหักภาษี หรือประกันสังคม ถ้าต้องทำแยกกันจะเสียเวลามาก โปรแกรมที่ดีควรเชื่อมต่อกับระบบบัญชีโดยตรง เมื่อคำนวณ Payroll เสร็จ สามารถสั่งบันทึกรายการบัญชีได้เลยทันที ข้อมูลจะถูกลงบัญชีแยกประเภทอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ทำให้งานบัญชีและงานเงินเดือนไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ต้องทำซ้ำสองรอบ ลดโอกาสผิดพลาด ทำงบการเงินประจำเดือนเร็วขึ้น และทำให้ระบบบัญชี-เงินเดือน “คุยกันรู้เรื่อง” ซึ่งสำคัญมากสำหรับ SME ที่มีทีมงานเล็กและเวลาจำกัด กิจการไหนที่ควรใช้โปรแกรม Payroll สำหรับผู้ประกอบการท่านไหนที่ยังตัดสินใจว่าจะใช้โปรแกรม Payroll ดีหรือไม่ ในส่วนนี้เรามาดูกันว่าองค์กร กิจการไหนบ้างที่ควรเริ่มต้นนำโปรแกรมเหล่านี้มาปรับใช้โดยทันที กิจการที่มีพนักงานจำนวนมาก แน่นอนว่าเมื่อจำนวนพนักงานที่เยอะ ทำให้การจัดการเรื่องเงินเดือนกลายเป็นเรื่องยาก วุ่นวาย เพราะนอกจากต้องมาคอยนั่งคำนวณเงินให้ทีละคนแล้ว พนักงานแต่ละคนอาจยังมีค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย นอกจากนี้หลังจากที่คำนวณเสร็จต้องออกสลิปเงินเดือนให้พนักงานส่งให้แต่ละคนอีกต่างหาก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานเยอะ ต้องเริ่มต้นใช้โปรแกรม Payroll โดยทันที กิจการที่ต้องการทำระบบบัญชีให้เรียบร้อย การจัดการเรื่องบัญชีในองค์กรให้เป็นระบบกลายเป็นเรื่องสำคัญที่บางครั้งอาจเป็นจุดพาไปสู่ความสำเร็จขององค์กรเลยก็ได้ เพราะองค์กรที่มีระบบบัญชีดี ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งการจ่ายเงินเดือนพนักงานก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี ซึ่งโปรแกรม Payroll ก็เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลการจ่ายเงินให้เป็นระเบียบมากขึ้น เรียกดูข้อมูลได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถเรียกดูตามแผนก เพื่อให้เห็นภาพรวมการจ่ายเงินเดือนขององค์กร ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ที่สำคัญคือข้อมูลจะไม่หายไปไหนเพราะอยู่ในโปรแกรม และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องกลัวข้อมูลรั่วไหล เพราะหลาย ๆ โปรแกรมสามารถเลือกผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้ กิจการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ก่อนที่ AI จะเป็นกระแสทุกวันนี้ โปรแกรมช่วยทำงานอย่าง โปรแกรมจัดการเงินเดือน ก็ขึ้นชื่อเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เพราะเข้ามาช่วยจัดการลดขั้นตอนการทำงานที่กินเวลา แต่ไม่จำเป็นมาก ช่วยให้การทำงานหลายอย่างในองค์กรง่ายมากยิ่งขึ้น อันเป็นส่วนช่วยให้พนักงานสามารถใช้เวลากับงานที่จำเป็นมากกว่าได้ แนะนำ PEAK Payroll สำหรับคำนวณค่าจ้างเพื่อผู้ประกอบการ โปรแกรมบัญชี PEAK ไม่ได้ดูแลเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบัญชีอย่างเดียว แต่ยังมี PEAK Payroll เป็นโปรแกรม Payroll ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่บัญชี หรือ HR จัดการกับระบบ Payroll ได้อย่างง่ายดาย ลดขั้นตอนการทำงาน และด้วยการออกแบบโปรแกรมที่เข้าใจผู้ใช้งานจริง ๆ จึงใช้งานง่าย ไม่ว่ากิจการของคุณจะให้พนักงานบัญชีดูแลเรื่องเงินเดือน หรือเจ้าหน้าที่บุคคลก็รับรองว่าเข้าใจการใช้งานได้ไม่ยากแน่นอน  ซึ่งตัวโปรแกรม Payroll ของ PEAK สามารถดูแลเรื่องระบบการจ่ายเงินเดือนได้ครบวงจรตั้งแต่การคำนวณเงินเดือน เก็บข้อมูล ออกสลิปเงินเดือน ไปจนถึงการทำรายงานต่าง ๆ เรียกได้ว่าโปรแกรมเดียวจบ ยิ่งองค์กรไหนอย่างจัดการระบบบัญชี PEAK คือคำตอบแน่นอน สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจ มองหาโปรแกรมดูแลเรื่องการจ่ายเงินเดือนพนักงานอยู่ บอกเลยว่าห้ามพลาดโปรแกรมบัญชี PEAK เริ่มต้นใช้งาน PEAK Payroll วันนี้ เพื่อการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ ไม่ว่ากิจการของคุณจะมีพนักงานหลัก 10 หรือหลัก 100 การเริ่มต้นใช้โปรแกรม Payroll ในการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานตั้งแต่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นการช่วยลดขั้นตอนการทำงาน แถมยังเป็นการวางรากฐานด้านระบบบัญชีให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นอย่ามัวลังเลแล้วมาเริ่มต้นใช้กันได้เลย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

อ่านบทความเพิ่มเติม

25 Mar 2025

PEAK Account

7 min

จัดการการส่ง e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ง่ายขึ้นด้วย INET x PEAK

ในยุคที่การทำธุรกิจต้องการความรวดเร็วและความถูกต้องแม่นยำ การจัดการเอกสารทางภาษี เช่น e-Tax Invoice & e-Receipt กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดภาระงานเอกสาร และสร้างความโปร่งใสให้กับกระบวนการทางบัญชี INET x PEAK คือตัวช่วยที่ช่วยให้การส่ง e-Tax Invoice และ e-Receipt เป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบอัตโนมัติที่ช่วยลดข้อผิดพลาด รองรับมาตรฐานของกรมสรรพากร และช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำไม e-Tax Invoice & e-Receipt ถึงสำคัญสำหรับธุรกิจ? การเปลี่ยนผ่านสู่เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นโอกาสในการยกระดับกระบวนการทำงาน โดยเฉพาะกับธุรกิจที่ต้องออกเอกสารจำนวนมากเป็นประจำ“เอกสารที่ถูกต้อง โปร่งใส และส่งได้ทันที คือกุญแจสำคัญสู่ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ”ด้วยระบบที่เชื่อมต่อระหว่าง INET และ PEAK คุณจะสามารถจัดการเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ในคลิกเดียว พร้อมลดความผิดพลาดที่มักเกิดจากการกรอกข้อมูลซ้ำหรือผิดพลาด ข้อดีของการใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt การจัดการ e-Tax Invoice & e-Receipt ด้วยระบบที่เชื่อมต่อระหว่าง INET และ PEAK มอบข้อได้เปรียบทางธุรกิจที่สำคัญ ดังนี้ สิทธิประโยชน์จากกรมสรรพากรที่ SME ไม่ควรพลาด กรมสรรพากรได้ออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลด้วย e-Tax Invoice & e-Receipt โดยมีสิทธิประโยชน์สำคัญที่ช่วยเพิ่มความได้เปรียบทางธุรกิจ เชื่อม INET x PEAK ตัวช่วยที่ตอบโจทย์ธุรกิจดิจิทัล INET x PEAK คือความร่วมมือระหว่างบริษัท Internet Thailand Public Company Limited (INET) และโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์บัญชีออนไลน์ โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการทำบัญชีและการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการและสำนักงานบัญชีไทยให้มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น INET และ PEAK ทำงานร่วมกันอย่างไร? เริ่มต้นใช้งานใน 3 ขั้นตอนง่าย ๆ ทำไมต้องใช้ INET x PEAK? โปรโมชั่นพิเศษจาก INET พิเศษ! สมัคร INET วันนี้ รับฟรี e-Tax Invoice & e-Receipt จำนวน 200 ใบต่อปี เพิ่มความคุ้มค่าให้กับธุรกิจของคุณและลดต้นทุนในการจัดการเอกสาร หากคุณต้องการระบบจัดการ e-Tax Invoice & e-Receipt ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สมัครและเชื่อมต่อ INET กับ PEAK วันนี้ พร้อมรับประโยชน์สูงสุดจากมาตรการสนับสนุนของกรมสรรพากร เริ่มต้นใช้งานฟรีวันนี้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

12 Mar 2025

PEAK Account

13 min

7 ประเภทค่าใช้จ่าย ที่ใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

ความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างถูกต้องตามกำหนด ไม่เสียค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ครบ ยังอาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้นั่นเอง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ภาครัฐได้ออกนโยบายลดหย่อนภาษี มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการแข่งขันด้านธุรกิจ ให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราก็จะพาผู้ประกอบการทุกท่านไปดูกันว่า ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล คืออะไร? การลดหย่อนภาษีคือสิทธิ์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงประชาชนที่ทางรัฐบาลกำหนดว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และในบางกรณีอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันด้วยเช่นกัน ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่อง ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลทำได้หลายรูปแบบมาก มีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาลดหย่อนกับรัฐบาล ช่วยให้สามารถปรับหยัดค่าเสียภาษี หรืออาจได้เงินภาษีคืนมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อให้สามารถนำเงินไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ศึกษาอย่างละเอียด ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือใหม่ หรือเมื่อรัฐบาลมีนโยบายใหม่ ๆ ที่ออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำบางอย่างไปลดหย่อนภาษีได้ก็จะได้ตามทัน และรีบปรับตัวตามนั่นเอง  เช็กเงื่อนไขการเสียภาษีนิติบุคคล สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษี คือมีทุนจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยในกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกจะไม่ต้องเสียภาษีกำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001 – 3 ล้านบาท มีอัตราภาษี 15% และหากกำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป จะมีอัตราภาษี 20%หากธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็น SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะมีอัตราภาษี 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า สามารถศึกษาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าได้ที่ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง? เคล็ดลับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลด้วยค่าใช้จ่าย 7 ประเภท สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่ายที่นำไปใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ประกอบไปด้วย 6 ประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าจัดตั้งบริษัท ทำบัญชี และการสอบบัญชีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็สามารถนำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี ไปจนถึงการสอบบัญชี ในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีติดต่อกันมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว 2. ค่าเสื่อมสภาพของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงออกนโยบายให้ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าอุปกรณ์ โดยจะทำการทยอยหักภายใน 3 รอบบัญชีนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง 3. ค่าเสื่อมอาคารผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคาร หรือโรงงานสามารถนำค่าเสื่อมของอาคารมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 5% ต่อปี 4. ค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรโรงงานที่มีเครื่องจักรสามารถนำค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยคิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่า ส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 20% ต่อปี 5. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ คือค่าจ้างผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายในการสนับสนุน SMEs ในการจ้างผู้สูงอายุ เพื่อกระจายรายได้ จึงทำให้มีนโยบายนี้ออกมารองรับ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ 6. เงินบริจาคเงินบริจาคเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้6.1 บริจาคให้กับ สถาบันการศึกษารัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูงผู้ประกอบการสามารถนำเงินบริจาคมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่จะไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายการบริจาค 6.2 บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการสามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย 6.3 เงินบริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้ง 4 กองทุนสามารถนำเงินบริจาคหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งนี้เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย 7. รายจ่ายในการฝึกอบรมสำหรับการฝึกอบรบให้พนักงานในบริษัทก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ทั้งในกรณีที่ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และการฝึกอบรบให้ลูกจ้างตนเอง โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้7.1  ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม 7.2 ฝึกอบรมลูกจ้างตนเอง รู้เรื่องภาษีให้รอบด้าน อาจช่วยลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้มากกว่าที่คิด การจัดการภาษีนิติบุคคลอย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพราะสามารถช่วยลดภาระทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องมาหักลดหย่อน หรือการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ หากมีการเตรียมเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การจัดทำรายงานภาษีเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากขึ้น PEAK Tax เป็นฟังก์ชันหนึ่งในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่ช่วยให้การจัดการภาษีของธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณและสร้างแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของแบบภาษีก่อนส่ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด นอกจากนี้ PEAK Tax ยังช่วยสรุปและจัดทำรายงานภาษีได้อย่างเป็นระบบ รองรับการนำเข้าข้อมูลจากระบบขายออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และ TikTok Shop ช่วยลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และทำให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

7 Mar 2025

PEAK Account

13 min

ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ง่ายขึ้น 2 เท่า แค่เชื่อม ZORT กับ PEAK

สำหรับเจ้าของธุรกิจ E-commerce อย่างร้านค้าออนไลน์ที่ขายบน Shopee, Lazada หรือ Facebook การทำบัญชีอาจเป็นงานที่ใช้เวลานานและมีความยุ่งยาก โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลการขาย การซื้อ และการคืนสินค้า แต่ตอนนี้การทำบัญชีไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไป ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง PEAK x ZORT จะช่วยให้ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ง่ายขึ้น 2 เท่า ในบทความนี้จะพาทุกคนมาดูว่าทำไมต้องใช้ PEAK x ZORT พร้อมรีวิวจากผู้ใช้งานจริง PEAK x ZORT คืออะไร ช่วยทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ได้อย่างไร? PEAK x ZORT คือการเชื่อมต่อระหว่าง PEAK (โปรแกรมบัญชีออนไลน์) และ ZORT (ระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้า) เพื่อช่วยให้ธุรกิจ E-commerce ทำงานได้อย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีบทบาทหลักดังนี้ เมื่อเชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ข้อมูลจากคำสั่งซื้อและการขายจะถูกส่งไปยังระบบบัญชีอัตโนมัติ ลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล และช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามรายรับ รายจ่าย และกำไร-ขาดทุนได้แบบเรียลไทม์​ ทำไมร้านค้าออนไลน์ ต้องใช้ PEAK x ZORT ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ได้ครบวงจรในที่เดียว ธุรกิจ E-commerce หรือร้านค้าออนไลน์ มีหลายกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า การรับชำระเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ และการคำนวณภาษี หากต้องทำทุกอย่างเอง เจ้าของร้านค้าจะต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูล คีย์เอกสาร และตรวจสอบยอดขายที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ PEAK x ZORT ช่วยให้คุณสามารถรวมทุกกระบวนการบัญชีไว้ในที่เดียว สรุป: ระบบช่วยให้คุณทำบัญชีครบทุกขั้นตอนแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องแยกจัดการหลายระบบให้ยุ่งยาก ลดขั้นตอนทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ให้แม่นยำและอัตโนมัติ ไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน การทำบัญชีด้วยมืออาจต้องคีย์ข้อมูลซ้ำหลายรอบ เช่น จากระบบขายไปยังระบบบัญชี หรือจากใบสั่งซื้อไปเป็นรายจ่าย ระบบ PEAK x ZORT ช่วยให้ข้อมูลเชื่อมต่อกันโดยอัตโนมัติ ลดโอกาสผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลเอง อัปเดตบัญชีอัตโนมัติ เมื่อมีการขายสินค้า ระบบจะสร้างเอกสาร เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีทันที โดยไม่ต้องทำเอง ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Error) การคีย์ข้อมูลด้วยตนเองมีโอกาสผิดพลาดสูง ไม่ว่าจะเป็นการใส่ตัวเลขผิด การคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง หรือการบันทึกเอกสารผิด ระบบช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความแม่นยำ ลดภาระงานบัญชีที่ใช้เวลา ระบบช่วยให้คุณทำบัญชีได้เร็วขึ้นกว่าเดิม เจ้าของร้านสามารถโฟกัสที่การขายและขยายธุรกิจได้เต็มที่ อัปเดตข้อมูลทำบัญชีร้านค้าออนไลน์แบบเรียลไทม์ รู้สต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ เชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ทำให้ข้อมูลสต๊อกอัปเดตอัตโนมัติเมื่อมีการขายหรือคืนสินค้า เจ้าของร้านสามารถตรวจสอบว่าสินค้าคงเหลือเท่าไหร่ ควรสั่งเพิ่มเมื่อใด และหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าหมดสต๊อกโดยไม่รู้ตัว ติดตามยอดขายได้ทุกช่องทาง PEAK และ ZORT รองรับการขายจากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Shopee, Lazada, Facebook, LINE SHOPPING และอื่นๆ ทำให้เห็นยอดขายจากทุกช่องทางในที่เดียว สถานะการเงินอัปเดตทันที PEAK แสดงข้อมูลรายรับ รายจ่าย และกำไรแบบเรียลไทม์ เจ้าของร้านสามารถวิเคราะห์ผลประกอบการและตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ รายงานธุรกิจที่แม่นยำและเข้าใจง่าย ไม่ต้องรอสิ้นเดือนเพื่อดูรายงาน เพราะระบบสามารถดึงข้อมูลได้ตลอดเวลา ทั้งรายงานสรุปยอดขาย รายจ่าย และผลกำไร สรุป: PEAK x ZORT ช่วยให้ข้อมูลทางธุรกิจของคุณอัปเดตแบบเรียลไทม์ ลดความผิดพลาดและช่วยให้คุณบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ร่วมกับนักบัญชีได้ง่ายขึ้น ระบบออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานร่วมกับนักบัญชี PEAK มีฟีเจอร์ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ โดยไม่ต้องส่งเอกสารไปมา เช่น นักบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้น นักบัญชีสามารถดึงข้อมูลจาก PEAK เพื่อยื่นภาษี จัดทำงบการเงิน และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีให้เจ้าของธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอเอกสารเพิ่มเติม รองรับการทำงานออนไลน์ เจ้าของร้านและนักบัญชีสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ไม่ต้องเดินทางไปพบกัน ลดเวลาการทำงานร่วมกัน สรุป: PEAK x ZORT ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา และลดปัญหาความผิดพลาดจากการส่งข้อมูลผิดพลาด PEAK x ZORT ช่วยทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ได้อย่างไรบ้าง? เมื่อเชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ข้อมูลสำคัญจะส่งตรงถึงกันอัตโนมัติ ไม่ต้องคีย์ซ้ำ ไม่ต้องสลับระบบไปมา ลดเวลาและลดความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมถึง: 1. รายการขาย: บันทึกอัตโนมัติ ลดเวลาทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ทุกครั้งที่มีคำสั่งซื้อจาก ZORT ระบบจะสร้างเอกสารทางบัญชีใน PEAK ทันที 2. รายการซื้อ: ควบคุมต้นทุน และดูบัญชีร้านค้าออนไลน์แบบเรียลไทม์ เมื่อลงบันทึก ใบสั่งซื้อ หรือค่าใช้จ่ายใน ZORT ข้อมูลจะถูกส่งไปยัง PEAK โดยอัตโนมัติ 3. รายการรับคืนสินค้า: อัปเดตการทำบัญชีร้านค้าออนไลน์และสต๊อกสินค้าอัตโนมัติ หากลูกค้าทำการคืนสินค้า ZORT จะส่งข้อมูลไปยัง PEAK เพื่ออัปเดตรายการบัญชี 4. รายการคืนสินค้า (กรณีซื้อ) : ตรวจสอบต้นทุนสินค้าได้ง่ายขึ้น หากร้านค้าคืนสินค้าที่ซื้อมา ZORT จะส่งข้อมูลไปยัง PEAK ให้โดยอัตโนมัติ รีวิวจากผู้ที่เชื่อม ZORT ร่วมกับ PEAK ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ “ZORT ช่วยจัดการตัดสต๊อก และดึงเข้า Peak ระบบบัญชีได้ทันที ทำให้เราจัดการสต๊อกและบัญชีได้อย่าง Seamless” นพรัตน์ อาฒยะพันธ์, Northland Tea, บริษัท ชาดีออร์แกนิค จำกัด อยากทำบัญชีร้านค้าออนไลน์และจัดการออเดอร์ได้ง่ายขึ้น? ถ้าคุณเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องวุ่นกับการบันทึกบัญชีและจัดการออเดอร์ทุกวัน PEAK x ZORT ช่วยให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย! แค่เชื่อมต่อระบบ ข้อมูลการขาย รายการซื้อ และการคืนสินค้าจะอัปเดตอัตโนมัติ ไม่ต้องคีย์เอง ไม่ต้องสลับไปมาระหว่างระบบ ลดงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคำสั่งซื้อจาก ZORT จะถูกบันทึกเข้า PEAK ทันที พร้อมออกใบเสร็จและใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาจัดการเอกสารเอง นอกจากนี้ ระบบยังช่วยอัปเดตสต๊อกสินค้า คำนวณต้นทุน และดูรายงานทางการเงินได้แบบเรียลไทม์ ทำให้คุณบริหารธุรกิจได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายของผ่าน Shopee, Lazada, Facebook หรือช่องทางไหน PEAK x ZORT ก็ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดเจน วางแผนการเงินได้อย่างมั่นใจ ลองเชื่อมต่อ PEAK x ZORT วันนี้ แล้วคุณจะรู้ว่า “การทำบัญชีร้านค้าออนไลน์” ไม่ได้ยากอย่างที่คิด! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

5 Mar 2025

PEAK Account

22 min

รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ของคุณ!

สำนักงานบัญชีถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจ SME ให้ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว ความคาดหวังของลูกค้าสูงขึ้น และกฎระเบียบด้านบัญชีภาษีมีความซับซ้อนมากขึ้น การทำงานในสำนักงานบัญชีแบบเดิมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสำนักงานบัญชี จึงเป็นเรื่องที่ทุกสำนักงานบัญชีควรให้ความสำคัญ ไม่เพียงช่วยลดความผิดพลาด แต่ยังเพิ่มคุณภาพบริการและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำ รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ที่สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรของคุณให้ทำงานได้เร็วขึ้น มีระบบมากขึ้น และช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้าจะมีอะไรบ้างนั้นมาติดตามกันได้เลย ทำไมต้องให้ความสำคัญ กับ กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานบัญชี ในยุคที่ธุรกิจแข่งขันกันสูงขึ้นทุกวัน สำนักงานบัญชีก็หนีไม่พ้นแรงกดดันนี้เช่นกัน หากคุณเป็นเจ้าของสำนักงานบัญชี แล้วเลือกที่จะทำงานแบบเดิมๆ โดยไม่มองหาแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพ อาจทำให้สำนักงานของคุณเสียเปรียบและตามคู่แข่งไม่ทัน แล้วผลลัพธ์คืออะไร?ลูกค้าอาจเลือกใช้บริการจากสำนักงานที่ตอบโจทย์ได้รวดเร็วกว่า ให้บริการที่ครบถ้วนกว่า หรือมีการใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานจนประหยัดเวลาลูกค้าได้มากกว่า นี่อาจส่งผลให้จำนวนผู้จ้างลดลง และที่สำคัญไปกว่านั้น ประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำลงอาจกระทบคุณภาพงานและความพึงพอใจของลูกค้าเดิมด้วย ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพให้สำนักงานบัญชี ให้ประโยชน์อย่างไร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสำนักงานบัญชี ไม่ใช่แค่การทำให้ทุกอย่างเร็วขึ้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพงาน ลดข้อผิดพลาด และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในระยะยาว มาดูกันว่า หากสำนักงานบัญชีของคุณปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง 1. ลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลามากขึ้น เคยสังเกตไหมว่า เวลาส่วนใหญ่ในสำนักงานบัญชีหมดไปกับงานเดิมๆ เช่น การกรอกข้อมูลซ้ำในเอกสารหลายชุด ออกใบกำกับภาษี บันทึกบัญชี ไปจนถึงการจัดทำรายงานภาษีทุกเดือน งานเหล่านี้ใช้เวลามาก และมักเป็นจุดที่เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ✅ ถ้าสำนักงานของคุณมีระบบที่ช่วยดึงข้อมูลเข้ามาอัตโนมัติ หรือสร้างเอกสารต่างๆ ได้จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว คุณจะลดเวลาทำงานซ้ำซ้อนลงอย่างมหาศาล ทีมงานก็จะมีเวลาไปโฟกัสกับงานที่สำคัญกว่า เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนออินไซต์ให้กับลูกค้า หรือให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แทนการทำงานเอกสารล้วนๆ 2. ลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ อย่างตัวเลขผิด หรือการพิมพ์ข้อมูลซ้ำไม่ตรงกัน อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับสำนักงานบัญชีได้ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นภาษีผิด ส่งงบการเงินไม่ครบ หรือทำให้ลูกค้าสูญเสียความเชื่อมั่น ✅ เมื่อใช้ระบบดิจิทัลหรือโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สามารถเชื่อมข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องได้อัตโนมัติ โอกาสเกิดข้อผิดพลาดจะลดลงทันที และคุณยังสามารถตั้งระบบแจ้งเตือนเมื่อข้อมูลผิดปกติได้อีกด้วย 3. ยกระดับการให้บริการลูกค้า สร้างความประทับใจ ทุกวันนี้ ลูกค้าคาดหวังมากกว่าการได้รับงบการเงินหรือเอกสารภาษีตรงเวลา แต่พวกเขาต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ต้องการคำแนะนำที่แม่นยำจากสำนักงานบัญชีที่เข้าใจธุรกิจของพวกเขาจริงๆ ✅ หากสำนักงานบัญชีของคุณทำงานรวดเร็ว ส่งข้อมูลได้ครบถ้วนและตรงเวลา รวมถึงสามารถให้คำแนะนำเชิงวิเคราะห์จากข้อมูลที่แม่นยำได้ คุณจะกลายเป็น “ที่ปรึกษาทางธุรกิจ” ที่ลูกค้าไว้วางใจ ไม่ใช่แค่ “ผู้ทำบัญชี” ธรรมดา และนั่นจะทำให้ลูกค้าพร้อมแนะนำต่อให้กับเพื่อนเจ้าของธุรกิจรายอื่นๆ ด้วย ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไมการเพิ่มประสิทธิภาพสำนักงานบัญชี ไม่ใช่แค่ “ทางเลือก” แต่คือสิ่งจำเป็นในการอยู่รอดและเติบโตในยุคนี้ รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 1 จัดการระบบการทำงาน แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน ปัญหาหลักของสำนักงานบัญชีหลายแห่งมักเกิดจากการทำงานซ้ำซ้อนและขาดการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจน ทำให้พนักงานทำงานหนักเกินไปและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย โดยเฉพาะในสำนักงานบัญชีที่มีการทำงานหลายขั้นตอนที่ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว การจัดการระบบงานให้มีความชัดเจนและมีขั้นตอนที่เป็นระเบียบจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดภาระการทำงานที่ไม่จำเป็นและสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยจัดระเบียบงานให้มีประสิทธิภาพคือการแบ่งหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญของแต่ละคน โดยการมอบหมายงานให้กับบุคคลที่มีความชำนาญในแต่ละด้าน เช่น การทำบัญชี การตรวจสอบภาษี หรือการจัดการเอกสาร ซึ่งจะทำให้แต่ละคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความรับผิดชอบและการติดตามผลได้อย่างชัดเจน การใช้เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการงานก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เช่นการใช้ Workflow หรือ Project Management Tool ที่ช่วยในการติดตามงานได้อย่างเป็นระบบและโปร่งใสมากขึ้น เครื่องมือเหล่านี้ เช่น Trello หรือ Notion จะช่วยให้ทุกคนสามารถเห็นภาพรวมของโครงการได้ทันที พร้อมกับกำหนดเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน สามารถติดตามความคืบหน้าของงานแต่ละชิ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความจำหรือการคุยกันในแต่ละครั้ง ซึ่งช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารและทำให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น การจัดระเบียบงานอย่างมีระบบนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงานบัญชีและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 2 ทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ สำนักงานบัญชีหลายแห่งมักมองข้ามกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้รายได้ไม่เติบโตตามที่คาดหวัง การเริ่มให้ความสำคัญกับการตลาดและการโฆษณาเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับสำนักงานบัญชี การทำการตลาดสำหรับสำนักงานบัญชีสามารถเริ่มต้นได้จากการสร้างแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์และแสดงถึงความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านภาษี การจัดทำบัญชี และบริการทางการเงินสำหรับธุรกิจต่าง ๆ การสร้างตัวตนของแบรนด์ให้ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในการใช้บริการ ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างเว็บไซต์ที่เป็นหน้าสำนักงานออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่สำนักงานบัญชีมีและสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่ายดาย นอกจากเว็บไซต์แล้ว การใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการโปรโมทสำนักงานบัญชีก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ เช่น การเปิดบัญชี Facebook, Instagram หรือ LinkedIn ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่ม รวมถึงการสร้างเนื้อหาผ่านช่องทาง TikTok ที่เป็นที่นิยมในยุคดิจิทัล โดยการนำเสนอคอนเทนต์สั้น ๆ ที่ให้ข้อมูลสาระสำคัญเกี่ยวกับการบัญชีหรือภาษี ซึ่งช่วยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับบริการและแสดงถึงความเชี่ยวชาญของสำนักงานบัญชี การทำการตลาดออนไลน์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ยังเปิดโอกาสให้สำนักงานบัญชีสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่มีความสนใจในบริการด้านการเงินและบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้ในระยะยาว กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 3 ให้ความสำคัญในเรื่องการให้บริการ การหาลูกค้าใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำๆ เป็นสิ่งที่ยากกว่า และสามารถสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาวได้มากกว่า ลูกค้าที่เคยใช้บริการกับเราหากได้รับการดูแลอย่างดีและมีความประทับใจในการบริการ พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน การให้บริการที่ดีเริ่มต้นจากการติดตามลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ หากลูกค้ามีข้อสงสัยหรือคำถาม ควรตอบกลับอย่างรวดเร็วและให้ข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วน เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องรอนานหรือไม่สามารถติดต่อได้ สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขามีความสำคัญ และสร้างความไว้วางใจในบริการของเรา นอกจากนี้ การทำงานให้มีประสิทธิภาพและตรงตามเป้าหมายของลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงความสามารถและความใส่ใจในการทำงานของเรา การทำงานที่ตรงตามเวลาหรือผลลัพธ์ที่ลูกค้าต้องการ โดยไม่มีข้อผิดพลาด จะช่วยเสริมสร้างความประทับใจและเพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้บริการซ้ำ อีกทั้ง การพัฒนาการบริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การขอข้อเสนอแนะจากลูกค้า หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน สามารถทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีและรู้สึกว่าเรามีการพัฒนาอยู่เสมอ ทำให้การให้บริการไม่เพียงแค่เป็นการตอบสนองความต้องการในขณะนั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและพร้อมกลับมาใช้บริการอีกครั้ง กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 4 ขอ Feedback จากลูกค้าเสมอ การขอ Feedback จากลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะสำนักงานบัญชีที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ฟีดแบคจากลูกค้าช่วยให้เราทราบถึงจุดที่เราทำได้ดีและจุดที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการได้ดียิ่งขึ้น เป้าหมายหลักของการขอฟีดแบคคือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการ วิธีการขอฟีดแบคอาจทำได้หลายวิธี เช่น การนัดพูดคุยสั้น ๆ กับลูกค้าเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสรุปผลการทำงานและประเมินผลการให้บริการในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถใช้แบบฟอร์มสำหรับให้ลูกค้ากรอกความคิดเห็น หรือคำแนะนำหลังจากการให้บริการเสร็จสิ้น ซึ่งแบบฟอร์มเหล่านี้สามารถใช้ในการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและระบุจุดที่ต้องการปรับปรุงหรือพัฒนาเพิ่มเติม การขอฟีดแบคควรทำอย่างสม่ำเสมอและในลักษณะที่ไม่รู้สึกว่าเป็นการรบกวนลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าเรามีความตั้งใจที่จะปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การนำฟีดแบคมาใช้ปรับปรุงการทำงานหรือบริการที่ไม่ดี จะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความใส่ใจและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้มากขึ้น ฟีดแบคที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถพัฒนาได้ แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในระยะยาว กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 5 ปรับใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในการทำงาน การปรับใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในการทำงานถือเป็นหนึ่งในวิธีที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสำนักงานบัญชีที่ต้องจัดการข้อมูลจำนวนมาก การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการลดจำนวนเอกสารและกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน เช่น การออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารต่าง ๆ ที่โปรแกรมบัญชีสามารถช่วยจัดการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีฟังก์ชันที่สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ไม่ต้องใช้พื้นที่เก็บเอกสารจำนวนมาก ช่วยลดปัญหาเรื่องการจัดเก็บเอกสารที่ซับซ้อน และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการทำงานด้วยมือ นอกจากนี้ การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้สำนักงานบัญชีดูทันสมัยและก้าวทันเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจในปัจจุบันให้ความสำคัญมาก การปรับใช้เทคโนโลยีในสำนักงานบัญชีไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ว่าสำนักงานของเรามีความพร้อมในการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและมีระบบการจัดการที่ดี ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ในระยะยาวทั้งสำหรับสำนักงานบัญชีและลูกค้า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัลนี้ 👉 ลองใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ช่วยให้สำนักงานบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้น ลดเวลาทำงานซ้ำซ้อน พร้อมเครื่องมือช่วยจัดการภาษีและเอกสารแบบครบวงจรคลิกเลยเพื่อเริ่มต้นใช้ฟรี! พร้อม สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชี PEAK หรือยัง? PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจและสำนักงานบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันทางบัญชี ตั้งแต่การออกใบกำกับภาษี การบันทึกบัญชี การจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไปจนถึงการสร้างรายงานทางการเงินแบบเรียลไทม์ PEAK ช่วยลดงานเอกสารที่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาดในการทำบัญชี และช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา รองรับการทำงานร่วมกับระบบ E-Tax Invoice และ E-Receipt ตามมาตรฐานกรมสรรพากร อีกทั้งยังมีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย และรองรับการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทำให้การบริหารจัดการบัญชีของธุรกิจเป็นเรื่องสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

การใช้โปรแกรม

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน PEAK

อ่านบทความเพิ่มเติม

7 May 2025

PEAK Account

3 min

Update Function 07/05/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1.  Reduce errors! Tax invoice date now adjusts automatically based on document issue date. 📢 The system now adjusts the “Tax Invoice Date” field to automatically follow the document’s “Issue Date,” so users don’t have to manually correct it—helping reduce errors from incorrect entries. This invoice date adjustment applies to both document creation and editing pages, providing convenience and accuracy for tax invoice records. ✨ 2. Easier tax filing date entry in PEAK Tax! Auto-suggest filing date based on calendar, with new “Filed Already” option for retroactive entries. 📢 For PEAK Tax users, the system adds convenience when entering data on the “Tax Filing” page by auto-setting the default filing date according to the Revenue Department calendar. This helps reduce redundant data entry and prevents mistakes caused by forgetting to update the filing date. Also added: a “Filed Already” option for users who have already submitted tax forms through other channels and are just recording them in the system—no need to download the file again while still maintaining accurate records. ✨ 3. View dashboard data up to 5 years back, with added arrow buttons for easier navigation. 📢 Users can now view dashboard data in each menu going back up to 5 years. This enables easier historical analysis and performance comparison. Dashboards with extended history include: In addition, left-right arrow buttons have been added on dashboard pages (Home / Revenue / Expense) for easier navigation between months. ✨ 4. Change status of multiple Quotation and Purchase Order documents with a single click! 📢 For businesses managing many Quotations (QO) and Purchase Orders (PO), the system now allows selecting multiple documents and changing their statuses all at once. Users can choose to update statuses based on system rules or mark them all as “Fully Issued” in one go. This helps manage documents faster, saves time, and reduces errors from updating documents one by one. Example of alert when the document does not meet the condition for “Fully Issued” status ✨ 5. Purchase Request (PR) documents no longer require contact name input. 📢 For Premium package users needing flexibility in creating PR documents, the “Contact” field is no longer mandatory. Users may leave it blank if the contact is not yet known or not needed during the request stage. If a Purchase Order (PO) is created from a PR and a contact name has been entered, the system will retain that name to ensure accuracy for the next step. ✨ 6. Redesigned Check In/Check Out screen—easier to use, with reports that match on-screen display. 📢 Users can now manage received and issued checks more easily with a new display aligned with standard document lists. Check statuses are more visible and easier to search. The printed check report is also improved—print results will follow the open tab and match the on-screen sorting. A new “Paid Out” column is added in the check payment report for clearer and more accurate tracking. ✨ 7. Print stock balance report showing SKU, platform, and Barcode. 📢 For e-commerce businesses, users can now print stock balance reports with additional product codes: SKU numbers by platform and Barcodes. Simply check the ‘Show other product codes’ option in the report print window to include these columns in the product/service report. Even if SKU codes are disabled, the system will still display the selected data. This enhances stock management and integration with online sales platforms, making it more accurate and convenient. Additionally, the report layout has been updated to match receipt/payment documents, and users can select the report type and title as needed. Example: Stock Balance Report

7 May 2025

PEAK Account

8 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 07/05/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. ลดโอกาสผิดพลาด! วันที่ใบกำกับภาษีปรับตามวันที่ออกเอกสารอัตโนมัติ 📢 ระบบปรับให้ช่อง “วันที่ใบกำกับภาษี” เปลี่ยนตาม “วันที่ออก” เอกสารอัตโนมัติ ผู้ใช้งานไม่ต้องคอยแก้ไขเอง ช่วยลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลผิด โดยการปรับวันที่ใบกำกับภาษีนี้ ระบบรองรับทั้งในหน้าสร้างและแก้ไขเอกสาร เพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกและช่วยให้ทุกกิจการบันทึกข้อมูลใบกำกับภาษีได้แม่นยำยิ่งขึ้น ✨ 2. บันทึกวันที่ยื่นภาษีง่ายขึ้นที่ PEAK Tax! แนะนำวันที่ยื่นอัตโนมัติตามปฏิทิน พร้อมเพิ่มตัวเลือก “ยื่นแบบแล้ว” กรณีสร้างแบบยื่นภาษีย้อนหลัง 📢 สำหรับผู้ใช้งาน PEAK TAX ระบบเพิ่มความสะดวกในการกรอกข้อมูลบนหน้า “ยื่นภาษี” โดย กำหนดค่าเริ่มต้นวันที่ยื่นแบบให้ตรงตามปฏิทินกรมสรรพากร ช่วยลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนและป้องกันความผิดพลาดจากการลืมเปลี่ยนวันที่ยื่นแบบ นอกจากนี้ระบบเพิ่มตัวเลือก “ยื่นแบบแล้ว” สำหรับผู้ที่ยื่นแบบภาษีผ่านช่องทางอื่นมาแล้วและเพิ่งมาบันทึกในระบบ ช่วยให้ไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์อีกครั้งและสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ✨ 3. ย้อนดูข้อมูล Dashboard ย้อนหลังได้สูงสุด 5 ปี พร้อมปุ่มลูกศรดูข้อมูลได้สะดวกขึ้น 📢 ระบบปรับให้ผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูล Dashboard ย้อนหลังในแต่ละเมนูได้สูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังและเปรียบเทียบผลได้ง่ายยิ่งขึ้น โดย Dashboard ที่ระบบเพิ่มให้ดูข้อมูลย้อนหลัง มีดังนี้ นอกจากนี้ ระบบเพิ่มปุ่มลูกศรซ้าย-ขวาบนหน้า Dashboard (หน้าหลัก / รายรับ / รายจ่าย) เพื่อให้ผู้ใช้งานเลื่อนดูข้อมูลเดือนก่อน-เดือนถัดไปได้สะดวกยิ่งขึ้น ✨ 4. เปลี่ยนสถานะเอกสารใบเสนอราคาและใบสั่งซื้อได้หลายรายการในคลิกเดียว! 📢 สำหรับทุกกิจการที่ต้องจัดการใบเสนอราคา (QO) และใบสั่งซื้อ (PO) จำนวนมาก ระบบเพิ่มฟีเจอร์ให้สามารถเลือกเอกสารหลายรายการและเปลี่ยนสถานะพร้อมกันได้ทันที โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเปลี่ยนสถานะตามเงื่อนไขของระบบหรือเปลี่ยนให้เป็น “ออกครบแล้ว” ทั้งหมดในครั้งเดียว ช่วยให้จัดการเอกสารได้รวดเร็ว ประหยัดเวลา และลดข้อผิดพลาดจากการเปลี่ยนทีละใบ ตัวอย่างการแจ้งเตือนกรณีเอกสารไม่ตรงกับเงื่อนไขสถานะออกครบแล้ว ✨ 5. ปรับเอกสารใบขอซื้อ (PR) ไม่จำเป็นต้องกรอกชื่อผู้ติดต่ออีกต่อไป 📢 สำหรับแพ็กเกจ Premium ที่ต้องการความยืดหยุ่นในการจัดทำเอกสารใบขอซื้อ (PR) ระบบปรับให้ช่อง “ผู้ติดต่อ” ไม่บังคับให้ระบุเมื่อสร้างเอกสารอีกต่อไป โดยผู้ใช้งานสามารถเว้นว่างไว้ได้หากยังไม่ทราบข้อมูล หรือยังไม่จำเป็นต้องระบุในขั้นตอนการขอซื้อ ทั้งนี้ หากใบสั่งซื้อ (PO) ถูกสร้างต่อจาก ใบสั่งซื้อ (PR) และมีการระบุชื่อผู้ติดต่อไว้ ระบบจะยังคงล็อกชื่อผู้ติดต่อดังกล่าวไว้เช่นเดิม เพื่อความแม่นยำในการดำเนินการขั้นถัดไป ✨ 6. ปรับดีไซน์หน้าเช็ครับ-จ่ายใหม่ ใช้ง่ายกว่าเดิม พร้อมรายงานที่ตรงตามการแสดงผลในระบบ 📢 ผู้ใช้งานสามารถจัดการเช็ครับและเช็คจ่ายได้ง่ายขึ้น ด้วยหน้าแสดงผลใหม่ที่ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับหน้ารายการเอกสารทั่วไป มองเห็นสถานะเช็คได้ชัดเจน และค้นหาง่ายขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ การพิมพ์รายงานเช็คก็ถูกปรับให้ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น — พิมพ์รายงานตามแถบสถานะที่เปิดอยู่ และเรียงลำดับตามที่แสดงในระบบจริง พร้อมเพิ่มคอลัมน์ “จ่ายเงินออก” ในรายงานเช็คจ่าย เพื่อให้การติดตามข้อมูลชัดเจนและตรงจุดยิ่งขึ้น ✨ 7. พิมพ์​รายงานสินค้าคงเหลือแสดงเลข SKU แพลตฟอร์มและ Barcode ได้แล้ว 📢 สำหรับธุรกิจ e-commerce ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์รายงานสินค้าคงเหลือ ให้แสดงข้อมูลรหัสสินค้าอื่น ได้แก่ เลข SKU แต่ละแพลตฟอร์มและ Barcode ได้แล้ว โดยเลือกติ๊กที่ช่อง “แสดงรหัสสินค้าอื่น” บนหน้าต่างพิมพ์รายงานเพื่อเพิ่มคอลัมน์แสดงข้อมูลเหล่านี้ในรายงานสินค้า/บริการ แม้จะปิดใช้งานรหัส SKU อยู่ ระบบก็ยังสามารถแสดงผลตามที่เลือกได้ เพื่อให้การบริหารจัดการสต๊อกสินค้าและการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มขายของออนไลน์แม่นยำและสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังมีการปรับรูปแบบการพิมพ์รายงานให้สอดคล้องกับเอกสารรับ-จ่าย และสามารถเลือกประเภทและหัวรายงานได้ตามต้องการ ตัวอย่างรายงานสินค้าคงเหลือ

อ่านบทความเพิ่มเติม

ข่าวสาร

อัปเดตข่าวประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น และเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

30 Apr 2024

PEAK Account

14 min

ระเบียบการแข่งขัน PEAK Digital Accounting Championship 2024

ไฟล์ระเบียบการแข่งขัน หมายเหตุ: กำหนดการมีการเปลี่ยนแปลง ปิดรับสมัครในวันที่ 7 มิ.ย. 2567 เวลา 23.59 น. และประกาศผลรอบคัดเลือก 12 มิ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. โครงการค้นหา “สุดยอดว่าที่นักบัญชี” แห่งยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถและทดสอบความรู้การใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์1.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ด้านการบัญชี1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา1.4 มอบโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนจากสถาบันอื่น 2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 2.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี โดยต้องมีสถานภาพเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน2.2 สมาชิกทีมละ 2 คน อายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน2.3 แต่ละสถาบันสามารถมีอาจารย์ประจำภาควิชาได้ไม่เกิน 2 ท่าน 3. ขอบเขตเนื้อหาการแข่งขัน 3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีและภาษี3.2 การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์3.3 การวิเคราะห์และประยุกต์การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ตามประเภทของธุรกิจ 4. การรับสมัคร 4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ bit.ly/peak-dac-2024 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอีเมล์ยืนยันจากระบบ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มส่งผลงานได้หลังจากได้รับอีเมลยืนยันการสมัครเท่านั้น 4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันและส่งผลงานวันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2567 ภายในเวลา 23.59 น.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำส่งผลงานรอบคัดเลือกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.4.1 ทำวิดีโอบน TikTok เพื่อแนะนำ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs ไทย ภายใต้หัวข้อ “PEAK, Friend of Business”4.4.2 ความยาวไม่เกิน 2 นาที4.4.3 รูปแบบวิดีโอเป็นแนวตั้ง (9:16)4.4.4  อัปโหลดบนแอปพลิเคชัน TikTok พร้อมเปิดสาธารณะ4.4.5  Mention @peakaccount และติดแฮชแท็ก จำนวน 3 แฮชแท็ก ดังต่อไปนี้   #PEAKDAC2024 #PEAK #โปรแกรมบัญชีออนไลน์4.4.6 หลังจากวิดีโอถูกเผยแพร่บน TikTok ผู้สมัครต้องคัดลอกลิงก์ของวิดีโอ เพื่อนำ ไปกรอกในฟอร์มตามลิงก์ข้อ 4.24.4.7 แต่ละทีมสามารถส่งผลงานวิดีโอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากมีการส่งผลงานมากกว่า 1 ครั้ง ทางคณะกรรมการจะพิจารณาจากการส่งผลงานครั้งแรกเท่านั้น 4.5  คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 ทีม เพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทางอีเมลผู้เข้าแข่งขัน และเฟสบุ๊คแฟนเพจ PEAK – โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAKaccount.com วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2567 หมายเหตุ : หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 5. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 24 ทีม ต้องเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ : ไม่มีบริการที่จอดรถ ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตามสามารถจอดพาหนะได้บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ อาคารจามจุรี 9 หรือศูนย์การค้าเเอมพาร์ค หรือศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยอัตราค่าบริการที่จอดรถเป็นไปตามระเบียบของผู้ให้บริการ 6. กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขัน09.00 – 10.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน10.00 – 10.30 น. เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขัน10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15 นาที10.45 – 11.45 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 1 (ข้อสอบปรนัย)11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 – 14.30 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 2-3 (ภาคปฎิบัติและวิเคราะห์)14.30 – 15.30 น. กิจกรรมให้ความรู้จากวิทยากรพิเศษ15.30 – 15.35 น. ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์15.35 – 16.30 น. การนำเสนอผลการวิเคราะห์16.30 – 17.00 น. ประกาศผลการแข่งขัน พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงาน หมายเหตุ : ไม่มีบริการอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตาม ผู้เข้าสอบต้องนั่งประจำที่สอบ ก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 10 นาที 7. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยแต่ละรอบมีเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้ 7.1  รอบคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากผลงานคลิปวิดีโอของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 24 ทีม ได้แก่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้ 7.2  รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ผลรวม 100 คะแนน โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การตอบคำถามความรู้ด้านบัญชีและภาษี (30 คะแนน)เป็นการตอบคำถามรูปแบบปรนัยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 30 คะแนน โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี การบัญชี และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรม PEAK บันทึกบัญชี และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (50 คะแนน)เป็นการบันทึกบัญชีตามโจทย์ที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์และตอบคำถาม โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีเนื้อหาประกอบด้วย การสมัครและสร้างกิจการ การบันทึกยอดยกมา การบันทึกรายการค้าระหว่างงวดบัญชี การเรียกดูรายงานเอกสาร และงบการเงิน ส่วนที่ 3 การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (20 คะแนน)เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ให้แก่คณะกรรมการ โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำข้อสอบส่วนที่ 2 โดยใช้ระยะเวลาการนำเสนอ 3 นาที และถามตอบ 5 นาที รวมเป็น 8 นาที ต่อทีมเนื้อหาประกอบด้วย วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจ ถามตอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับแรกเท่านั้น (ระดับปวส. 3 ทีม และระดับปริญญาตรี 3 ทีม) เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 กับคณะกรรมการ เพื่อให้กรรมการได้ซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินอันดับผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด 8. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำโน้ตบุ๊กมาจำนวน 1 เครื่อง ต่อ 1 ทีม โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมปลั๊กชาร์จ ไฟสำหรับโน้ตบุ๊ก และ Wifi ให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของสถาบัน8.3 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกัน และแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ภายในเวลาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน8.4 ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องเขียน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ รวมถึงนาฬิกา Smart Watch เข้าแข่งขัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการจัดเตรียมเครื่องเขียน และกระดาษทดให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.5 ห้ามผู้เข้าแข่งขันยืมอุปกรณ์ใด ๆ จากผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นขณะแข่งขัน8.6 ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระทำการใด ๆ ที่ทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริต8.7 ผู้เข้าแข่งขันที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก หรือผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ สามารถแข่งขันด้วยจำนวนสมาชิกที่เหลือได้ หมายเหตุ : หากฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 9. รางวัลการแข่งขัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สมาชิกของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 24 ทีม จะได้รับเกียรติบัตรโดย PEAK 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด

7 Feb 2024

PEAK Account

10 min

สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า PEAK รับส่วนลดสูงสุด 7% จาก BeNeat

ในยุคที่ธุรกิจต้องแข่งขันทั้งด้านประสิทธิภาพและภาพลักษณ์ การมี “พื้นที่ทำงานที่สะอาดและมืออาชีพ” ไม่ใช่แค่เรื่องของความเรียบร้อย แต่คือเครื่องมือทางธุรกิจที่ช่วยเสริมความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพการทำงานของทีมเพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีเวลาโฟกัสกับสิ่งสำคัญมากขึ้น ดังนั้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จึงร่วมกับ BeNeat บริการทำความสะอาดแบบมืออาชีพ มอบ สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า PEAK โดยเฉพาะ จะมีสิทธิพิเศษอะไรบ้าง สามารถติดตามได้ในบทความนี้! ทำไมเรื่อง “ความสะอาด” ถึงสำคัญกับธุรกิจ SMEs? ไม่ว่าคุณจะเปิดร้านกาแฟ โชห่วย หรือมีออฟฟิศขนาดเล็ก รวมถึงธุรกิจที่ให้บริการกับองค์กรอื่นอย่างสำนักงานบัญชี ที่ปรึกษาด้ารการตลาด ก็ควรต้องใส่ใจทุกจุดสัมผัส (touchpoint) ตั้งแต่ความสะอาดของห้องประชุม พื้นที่รับรอง ไปจนถึงโต๊ะทำงานของทีม ความสะอาดคือภาพลักษณ์แรกที่ลูกค้าเห็น และยังส่งผลต่อสุขภาพและประสิทธิภาพของทีมงานโดยตรง ยิ่งถ้าคุณไม่มีเวลาหรือพนักงานไม่เพียงพอ การจ้างบริการทำความสะอาดมืออาชีพคือทางออกที่ช่วยคุณประหยัดเวลาและทำให้พื้นที่ทำงานสะอาดได้มาตรฐาน รู้จัก BeNeat บริการทำความสะอาดคุณภาพ ที่ SMEs ไว้ใจ BeNeat คือแพลตฟอร์มบริการจองแม่บ้านออนไลน์ที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งรายบุคคลและองค์กรทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยมีจุดเด่นที่แตกต่างจากบริการทั่วไปตรงที่มีการคัดเลือกแม่บ้านทุกคนผ่านกระบวนการตรวจสอบประวัติ (background check) เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของพนักงาน นอกจากนี้ BeNeat ยังมีการอบรมพนักงานทุกคนให้เข้าใจมาตรฐานการทำความสะอาดเชิงลึก เช่น การใช้อุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดอย่างถูกวิธี รวมถึงมีระบบรับประกันความเสียหายหากเกิดข้อผิดพลาดในการให้บริการ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในคุณภาพการบริการทุกครั้งที่ใช้ BeNeat นอกจากนั้น ลูกค้ายังสามารถจอง เลื่อน หรือยกเลิกบริการได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ที่มีความสะดวกและโปร่งใส เป็นบริการที่ได้รับความนิยมในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่ต้องการบริการทำความสะอาดที่มีมาตรฐานและความสะดวกสบายสูงสุด. BeNeat เหมาะสำหรับธุรกิจ SME และ B2B หลากหลายประเภทที่ต้องการบริการทำความสะอาดที่มีคุณภาพสูง เช่น ออฟฟิศและสำนักงานทั่วไป ซึ่งต้องการให้พื้นที่ทำงานสะอาดอยู่เสมอเพื่อให้ทีมงานสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสียเวลาและทรัพยากรในการจัดหาพนักงานทำความสะอาดเอง หรือธุรกิจหน้าร้าน เช่น คาเฟ่ ร้านค้า หรือโชห่วย ที่ต้องการสร้างความประทับใจแรกให้กับลูกค้า โดยการรักษาความสะอาดของสถานที่ไว้ในมาตรฐานที่ดี ธุรกิจบริการ เช่น คลินิก สปา และโคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่ต้องการมาตรฐานสุขอนามัยสูงเพื่อความมั่นใจของลูกค้า นอกจากนี้ยังเหมาะกับโฮมออฟฟิศหรือสตาร์ทอัพที่ต้องการความยืดหยุ่นและไม่ต้องการจ้างแม่บ้านประจำ เนื่องจาก BeNeat สามารถปรับรูปแบบการให้บริการตามความต้องการของแต่ละธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการแบบรายครั้ง รายเดือน หรือการทำความสะอาดตามรอบ เช่น ก่อนหรือหลังอีเวนต์ สำหรับ SME ที่ต้องการความสะดวกและความมีระเบียบในการจัดการธุรกิจ BeNeat เป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรที่มักถูกใช้ไปในการจัดหาคนทำความสะอาดหรือดูแลเรื่องความสะอาดเอง การใช้บริการ BeNeat ช่วยให้เจ้าของธุรกิจ SME สามารถมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจและการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลาทำงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของธุรกิจ การใช้บริการจาก BeNeat ยังช่วยลดต้นทุนจากการจ้างแม่บ้านประจำ เช่น ค่าประกันสังคมและค่าอุปกรณ์ รวมถึงทำให้ธุรกิจดูเป็นมืออาชีพขึ้นผ่านการรักษามาตรฐานความสะอาดที่ดี ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์และความประทับใจของลูกค้าหรือผู้เยี่ยมชม และที่สำคัญที่สุดคือช่วยให้ทีมงานทำงานได้เต็มประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่สะอาดและเป็นระเบียบ ทำให้ BeNeat เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจ SME ที่ต้องการลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน BeNeat มอบ สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า PEAK โดยเฉพาะ PEAK ร่วมมือกับ BeNeat เพื่อมอบสิทธิพิเศษสุดคุ้มให้แก่ลูกค้าของ PEAK โดยเฉพาะ! เมื่อคุณใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK คุณจะได้รับส่วนลดสูงสุดถึง 7% เมื่อจองบริการทำความสะอาดรายชั่วโมงแบบแพ็กเกจ 5 ครั้งขึ้นไป เพียงแค่แจ้งโค้ดส่วนลดผ่านช่องทาง LINE @BeNeat เพื่อรับสิทธิ์พิเศษนี้ทันที! แต่ต้องรีบหน่อย เพราะสิทธิพิเศษนี้มีระยะเวลาจำกัด! ระยะเวลาโปรโมชั่นโปรโมชั่นนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 เท่านั้น ดังนั้นลูกค้าที่สนใจควรใช้สิทธิ์ให้เร็วที่สุดเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสดีๆ แบบนี้ จำนวนจำกัดสำหรับโปรโมชั่นนี้ จะมีจำนวนแพ็กเกจให้บริการเพียง 200 แพ็กเกจเท่านั้น ซึ่งจะได้รับการจัดสรรจนกว่าจะครบจำนวน หรือจนกว่าระยะเวลาโปรโมชั่นจะหมด หากคุณสนใจจองแพ็กเกจเหล่านี้ ควรทำการจองทันทีเพื่อให้ได้สิทธิ์ก่อนใคร การจองบริการและการใช้งานการจองบริการทำความสะอาดสามารถทำได้ล่วงหน้า และจะไม่มีวันหมดอายุ ดังนั้น ลูกค้าสามารถเลือกเวลาที่สะดวกได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องวันที่หมดอายุของสิทธิ์พิเศษ ข้อดีอีกอย่างคือรหัสส่วนลดสามารถใช้ได้เพียง 1 ครั้งต่อ 1 รหัสผู้ใช้งานเท่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะได้รับสิทธิ์พิเศษนี้ได้อย่างเต็มที่ เงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมสิทธิพิเศษนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดหรือใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ ลูกค้าควรตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมตามที่บริษัท BeNeat กำหนด ซึ่งสามารถสอบถามได้ที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น โทร. 0-2113-1138, อีเมล [email protected] หรือทาง LINE @BeNeat พื้นที่ให้บริการบริการทำความสะอาดของ BeNeat มีการให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล เชียงใหม่ และชลบุรี ดังนั้นลูกค้าในพื้นที่เหล่านี้สามารถรับสิทธิ์พิเศษได้โดยง่าย หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์โทร. 0-2113-1138, [email protected] หรือ LINE @BeNeat

อ่านบทความเพิ่มเติม