เคล็ดลับ ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สำหรับเจ้าของธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะ!

ความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ เพราะนอกจากจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างถูกต้องตามกำหนด ไม่เสียค่าปรับจากการจ่ายภาษีไม่ครบ ยังอาจช่วยลดจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละครั้งได้อีกด้วย เพราะมีค่าใช้จ่ายมากมายที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้นั่นเอง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่ภาครัฐได้ออกนโยบายลดหย่อนภาษี มาช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการแข่งขันด้านธุรกิจ ให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจในการก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการกันมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้เราก็จะพาผู้ประกอบการทุกท่านไปดูกันว่า ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล สามารถทำได้อย่างไรบ้าง พร้อมแล้วมาดูกันเลย

ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล คืออะไร?

การลดหย่อนภาษีคือสิทธิ์ของผู้ประกอบการ รวมไปถึงประชาชนที่ทางรัฐบาลกำหนดว่าค่าใช้จ่ายประเภทใดที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ โดยส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในชีวิตประจำวัน และในบางกรณีอาจเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่ทางภาครัฐพยายามผลักดันด้วยเช่นกัน

ทำไมผู้ประกอบการต้องรู้เรื่อง ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

การลดหย่อนภาษีนิติบุคคลทำได้หลายรูปแบบมาก มีค่าใช้จ่ายจำเป็นมากมายในการทำธุรกิจที่สามารถนำมาลดหย่อนกับรัฐบาล ช่วยให้สามารถปรับหยัดค่าเสียภาษี หรืออาจได้เงินภาษีคืนมากกว่าที่คิดไว้ เพื่อให้สามารถนำเงินไปใช้ในการต่อยอดธุรกิจในส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่ศึกษาอย่างละเอียด ตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ว่าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือใหม่ หรือเมื่อรัฐบาลมีนโยบายใหม่ ๆ ที่ออกมาเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำบางอย่างไปลดหย่อนภาษีได้ก็จะได้ตามทัน และรีบปรับตัวตามนั่นเอง 

เช็กเงื่อนไขการเสียภาษีนิติบุคคล

สำหรับธุรกิจ SMEs ที่ได้รับการจดทะเบียนนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว จะมีเงื่อนไขในการเสียภาษี คือ
มีทุนจดทะเบียนบริษัทไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 30 ล้านบาท โดยในกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรกจะไม่ต้องเสียภาษี
กำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001 – 3 ล้านบาท มีอัตราภาษี 15% และหากกำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป จะมีอัตราภาษี 20%
หากธุรกิจที่ไม่เข้าข่ายเป็น SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล จะมีอัตราภาษี 20% ตั้งแต่กำไรบาทแรก

สำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า สามารถศึกษาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าได้ที่ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า ต้องรู้ภาษีอะไรบ้าง?

เคล็ดลับลดหย่อนภาษีนิติบุคคลด้วยค่าใช้จ่าย 7 ประเภท

7 ประเภทค่าใช้จ่าย ที่ใช้ ลดหย่อนภาษีนิติบุคคล

สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีพนักงานไม่เกิน 200 คน และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 200 ล้านบาท จะมีค่าใช้จ่ายที่นำไปใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ ที่ช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ประกอบไปด้วย 6 ประเภทค่าใช้จ่ายดังนี้

1. ค่าจัดตั้งบริษัท ทำบัญชี และการสอบบัญชี
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้ทำการจดทะเบียนบริษัทนิติบุคคลแล้ว โดยมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในรอบบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ก็สามารถนำรายละเอียดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกับการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท การทำบัญชี ไปจนถึงการสอบบัญชี ในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีติดต่อกันมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ถึง 2 เท่าเลยทีเดียว

2. ค่าเสื่อมสภาพของคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งของจำเป็นต้องมีในการดำเนินธุรกิจ ภาครัฐจึงออกนโยบายให้ผู้ประกอบการสามารถคิดค่าเสื่อมราคาในอัตรา 40% ของมูลค่าอุปกรณ์ โดยจะทำการทยอยหักภายใน 3 รอบบัญชีนับตั้งแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา นอกจากนี้ยังรวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

3. ค่าเสื่อมอาคาร
ผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการเป็นอาคาร หรือโรงงานสามารถนำค่าเสื่อมของอาคารมาคิดค่าเสื่อมได้ในอัตรา 25% ของต้นทุน โดยส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 5% ต่อปี

4. ค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร
โรงงานที่มีเครื่องจักรสามารถนำค่าเสื่อมของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยคิดค่าเสื่อมในอัตรา 40% ของมูลค่า ส่วนที่เหลือสามารถหักได้ในแต่ละรอบบัญชีไม่เกิน 20% ต่อปี

5. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุ
อีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ถึง 2 เท่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนยังไม่รู้ คือค่าจ้างผู้สูงอายุนั่นเอง เพราะรัฐบาลมีเป้าหมายในการสนับสนุน SMEs ในการจ้างผู้สูงอายุ เพื่อกระจายรายได้ จึงทำให้มีนโยบายนี้ออกมารองรับ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • เป็นลูกจ้างบริษัทอยู่ก่อนแล้วหรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
  • ค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
  • มีการจ้างผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของลูกจ้างทั้งหมด
  • ผู้สูงอายุต้องไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จ้าง หรือบริษัทอื่นที่อยู่ในเครือเดียวกัน

6. เงินบริจาค
เงินบริจาคเป็นอีกหนึ่งค่าใช้จ่ายที่นำมาใช้ลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 กรณีดังนี้
6.1 บริจาคให้กับ สถาบันการศึกษารัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา ที่มีศักยภาพสูง
ผู้ประกอบการสามารถนำเงินบริจาคมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่จะไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายการบริจาค

6.2 บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิหลักหักค่าใช้จ่าย

6.3 เงินบริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้ง 4 กองทุน
สามารถนำเงินบริจาคหักรายจ่ายได้ 2 เท่า ทั้งนี้เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

7. รายจ่ายในการฝึกอบรม
สำหรับการฝึกอบรบให้พนักงานในบริษัทก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้เช่นกัน ทั้งในกรณีที่ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม และการฝึกอบรบให้ลูกจ้างตนเอง โดยสามารถแบ่งรายละเอียดได้ดังนี้
7.1  ส่งลูกจ้างไปเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม

  • เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การฝึกอบรม ตั้งแต่ค่าลงทะเบียนเรียน ค่าที่พัก อาหาร และค่าเดินทาง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สถานการศึกษาเรียกเก็บกับทางบริษัท 
  • มีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษา 
  • รายงานค่าใช้จ่าย 
  • มีเงื่อนไขให้พนักงานกลับเข้าทำงานที่องค์กรหลังศึกษาหรือฝึกอบรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

7.2 ฝึกอบรมลูกจ้างตนเอง

  • ต้องเป็นหลักสูตรที่จัดเพื่อพัฒนาพนักงานในองค์กร ซึ่งได้รับการรับรองจากกระทรวงแรงงาน และค่าใช้จ่ายต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน
  • กำหนดเงื่อนไขเข้าทำงาน
  • อุปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกอบรมต้องกำหนดขนาดและคุณสมบัติ เพื่อให้ไม่เข้าไปปะปนกับที่ใช้ในบริษัทปกติ
  • ทำทะเบียนลูกจ้างเพื่อเป็นหลักฐาน
  • ต้องเป็นประโยชน์ต่อกิจการ

รู้เรื่องภาษีให้รอบด้าน อาจช่วยลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้มากกว่าที่คิด

การจัดการภาษีนิติบุคคลอย่างถูกต้องและครบถ้วนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เพราะสามารถช่วยลดภาระทางภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการนำค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องมาหักลดหย่อน หรือการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อย่างถูกวิธี นอกจากนี้ หากมีการเตรียมเอกสารทางบัญชีอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การจัดทำรายงานภาษีเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากขึ้น

PEAK Tax เป็นฟังก์ชันหนึ่งในโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ที่ช่วยให้การจัดการภาษีของธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมตั้งแต่การคำนวณและสร้างแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ไปจนถึงการตรวจสอบความถูกต้องของแบบภาษีก่อนส่ง เพื่อป้องกันข้อผิดพลาด นอกจากนี้ PEAK Tax ยังช่วยสรุปและจัดทำรายงานภาษีได้อย่างเป็นระบบ รองรับการนำเข้าข้อมูลจากระบบขายออนไลน์ เช่น Shopee, Lazada และ TikTok Shop ช่วยลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลา และทำให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น​

ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://www.peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine