เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ หลายอาชีพมีความเสี่ยงที่จะตกงาน หลายคนเชื่อกันว่าการทำงานแบบซ้ำๆ เดิมอย่างงานบัญชีมีโอกาสถูกแทนที่ด้วย AI นักบัญชีจะเรียนรู้และพัฒนาทักษะอะไรบ้างเพื่อให้อยู่รอดและไม่เสี่ยงต่อการตกงานในยุคดิจิทัล
ยุคดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ทุกวันนี้โลกเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี Digital Transformation จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้
Digital Transformation คือ การเปลี่ยนแปลงแนวคิดและนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลมาปรับใช้ในองค์กรธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ และการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า รวมถึงขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร โดยตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการจนถึงผู้บริหารระดับสูงควรมีส่วนร่วมในการปรับตัวไปกับองค์กรด้วยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและเพื่อป้องกันการเกิด Digital Disruption
Digital Disruption คือ ภาวะการหยุดชะงักของธุรกิจ เนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีรูปแบบธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่ รวมทั้งแพลตฟอร์มและนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากพื้นฐานของดิจิทัล เช่น ธุรกิจ E-Commerce ได้แก่ แอปพลิเคชัน Shopee และ Lazada เป็นต้น บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Grab, Bolt, Taxi OK เป็นต้น บริการชมภาพยนตร์ผ่านแอปพลิเคชันสตรีมมิ่ง เช่น Netflix, Disney plus Hotstar, HBO GO เป็นต้น โดย Digital Disruption จะส่งผลกับธุรกิจดังต่อไปนี้
1. เทคโนโลยีของสมาร์ทโฟนที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข่าวสาร ข้อมูล ได้อย่างง่ายดายทุกที่ ทุกเวลา ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจจึงต้องปรับให้ทันต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค
2. ผู้นำองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ดีและกว้างไกล เนื่องจากการทำธุรกิจในปัจจุบันอาศัยความรวดเร็วเป็นสำคัญ ไม่สำคัญว่าเป็นองค์กรขนาดใหญ่เพราะในยุคนี้ธุรกิจขนาดเล็กที่ผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่ดีและกว้างไกลย่อมปรับตัวทันต่อเทคโนโลยีได้ดีกว่า
3 ธุรกิจต้องปรับตัวโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น Cloud, Big data, RPA, Blockchain, Data Analytics, Machine Learning, AI เป็นต้น
เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของนักบัญชี
จากการเกิด Digital Disruption และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ธุรกิจส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ทำให้ต้องเร่งปรับตัวโดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร ทั้งในแง่ของการผลิต การจัดซื้อ การจัดจำหน่าย การรับ-จ่ายเงิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของนักบัญชีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของนักบัญชี ได้แก่
1. Advance Data Analytics
คือ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น Big Data ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวนมากมายมหาศาล(Volume), ข้อมูลมีความหลากหลายและซับซ้อน (Variety), ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา (Velocity), ข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลคนละที่หรือคนละชนิด แต่มีการจัดระเบียบหรือวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ (Veracity) และข้อมูลมีความซับซ้อนสูงจึงต้องมีกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผล (Complexity) โดยนักบัญชีจะนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารให้นำไปใช้ในการวางแผนตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจ
ปัจจุบันในวงการบัญชีมีการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data (Big Data Analytics) ได้แก่
- 1 ในองค์กรขนาดใหญ่เริ่มมีการทำ Big Data Analytics โดยกระบวนการจัดทำมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้วยกัน 3 ฝ่าย ได้แก่ Data Engineer, Data Scientist และ Data Analyst โดยนักบัญชีจะมีบทบาทเป็น Data Analyst ในเชิงบัญชีบริหาร
- 2 ธุรกิจที่ปรึกษาทางด้านสอบบัญชีรายใหญ่ระดับโลก 4 ราย (Big Four) ได้ใช้ Big Data Analytics ในการสอบบัญชี โดยวิธีการ Sampling Audit (การสุ่มตัวอย่าง) เป็น 100%
- 3 กรมสรรพากรมีการลงนามร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ผู้เสียภาษี สร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษี เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่และวิเคราะห์ข้อมูลด้านภาษี เพื่อขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลและเป็นการร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรของกรมสรรพากรด้าน Data Science ให้มีความรู้ความสามารถที่สอดคล้องกับทักษะในอนาคต
2.RPA (Robotic Process Automation)
คือ โปรแกรมออกแบบการสร้างหุ่นยนต์ (Robot) โดยเป็นการเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ ให้ทำงานตามรูปแบบที่กำหนดสำหรับงานที่มีจำนวนมาก เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการทำ Transaction Process ซึ่งมีลักษณะทำซ้ำๆ และไม่มีความซับซ้อน เป็นงานที่มีข้อกำหนดตายตัวตามข้อมูลที่มนุษย์ป้อนให้ มีเงื่อนไขการตัดสินใจที่เป็นแบบแผน รวมทั้งงานประเภทที่มักเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เป็นระบบที่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร การบันทึกใบแจ้งหนี้ (Invoice Processing) เป็นต้น
ประโยชน์ของRPA ได้แก่
- ช่วยลดปริมาณงานที่ต้องทำซ้ำ งานเสร็จเร็วขึ้น
- ลดความผิดพลาดของงานที่เกิดจาก human error
- ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
- สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
3.ระบบ Cloud และการใช้ Software as a Service (SaaS)
Cloud เป็นหน่วยพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิทัล โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลจากอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การประมวลผลระบบ Cloud แบ่งออกได้เป็น 3 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่
- IaaS เป็นการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน หมายถึง ผู้ให้บริการ Cloud ที่มีพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ให้ตั้งแต่พื้นที่จัดเก็บข้อมูลไปจนถึงการโฮสต์เว็บ โดยผู้ใช้สามารถจัดการและบำรุงรักษาข้อมูลเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ ถึงแม้ผู้ใช้จะเช่าเพียงแค่ทรัพยากรประมวลผลเท่านั้น ตัวอย่างของ IaaS เช่น Dropbox ที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึง แก้ไขและเพิ่มข้อมูลได้ตามที่ต้องการ, Netflix ใช้โมเดล IaaS ในการจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาลจากลูกค้าทั่วโลกที่เข้าถึงเป็นประจำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- PaaS เป็นการบริการด้านแพลตฟอร์ม ที่เพิ่มการควบคุมมากขึ้นสำหรับผู้ให้บริการคลาวด์ PaaS ให้บริการแพลตฟอร์มเสมือนสำหรับการพัฒนาและการทดสอบแบ็กเอนด์ โดยให้กรอบการทำงานเสมือนโปรแกรมเมอร์ที่สามารถใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ออนไลน์ได้ โดยที่เซิร์ฟเวอร์และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั้งหมดยังคงจัดการโดยผู้ให้บริการอยู่
- SaaS หมายถึง ซอฟต์แวร์ใดก็ตามที่ทำงานผ่านคลาวด์ เช่น Dropbox Paper เป็น แอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้าง แก้ไข แชร์ และทำงานร่วมกันในไฟล์ข้อความทางออนไลน์ได้ โดยผู้ให้บริการเป็นผู้ดูแลระบบ โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชันได้ตามต้องการและทำงานกับไฟล์จากอุปกรณ์ใดก็ได้
ประโยชน์ของคลาวด์ ได้แก่
1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ รวมทั้งการจ้างพนักงานด้านไอที
2. การสำรองข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ช่วยลดความเสี่ยงในการสำรองไฟล์และการเก็บข้อมูลไว้เพียงที่เดียว
3. มีความปลอดภัยของข้อมูลในการเข้าสู่ระบบ โดยใช้ password และผู้ใช้สามารถตั้งค่าความปลอดภัยบนคลาวด์เองได้
4.AI (Artificial Intelligence)
AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามารถคิด วิเคราะห์ วางแผนและตัดสินใจได้รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นได้ อาชีพที่มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจนหรือมีรูปแบบการทำงานที่เป็นมาตรฐานมีโอกาสถูก AI เข้าไปแทนที่ได้ อย่างงานบัญชีที่มีลักษณะการทำซ้ำเดิมๆ
AI มีประโยชน์ต่อภาคธุรกิจดังนี้
1. ใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีจำนวนมากได้อย่างแม่นยำ
AI สามารถประมวลผลข้อมูลด้วยความถูกต้องแม่นยำและนำเสนอได้ภายในเวลาที่จำกัด ตัวอย่างเช่น การค้นหาข้อมูลโดยใส่คีย์เวิร์ดใน Google ซึ่งใช้ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้คำค้นหาหรือคีย์เวิร์ดทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ปัจจุบันมีมัลแวร์ (ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย) เกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ระบบ AI ช่วยในการตรวจสอบติดตามแยกแยะได้ว่าไฟล์ไหนเป็นมัลแวร์คุกคาม
2. ใช้ในการประเมินพฤติกรรมผู้บริโภค
AI ช่วยประเมินผลพฤติกรรมผู้บริโภคจากประวิติการสั่งซื้อ โดยสามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างถูกต้องเพื่อให้ขายสินค้าได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้ AI ยังช่วยสร้างแบรนด์ด้วยภาพลักษณ์ที่ทันสมัย ตั้งแต่การสร้างเว็บไซต์ หรือการช่วยทำ SEO ที่ตอบโจทย์ในการค้นหาของลูกค้ารวมทั้งเชื่อมโยงเนื้อหาที่ดึงดูดผู้อ่าน ไปจนถึงการโปรโมทสินค้าและทำโฆษณา
3. ช่วยผู้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลในการตัดสินใจ
AI ช่วยประมวลผลข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจสำหรับเจ้าของธุรกิจให้ได้ทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุดและใช้เวลาน้อยที่สุด ในการตัดสินใจจากข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล ปราศจากอารมณ์ ความคิดเห็นหรือความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งต่างจากการตัดสินใจของมนุษย์
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดังที่กล่าวมา ทำให้ผู้ประกอบการในองค์กรทุกระดับเกิดการตื่นตัว เพื่อเป็นการขับเคลื่อนองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการ SMEs ก็ต่างให้ความสนใจโดยเฉพาะด้านบัญชีและภาษี เพื่อให้การบริหารจัดการทางด้านบัญชีและภาษีมีประสิทธิภาพ การจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีออนไลน์จึงตอบโจทย์ด้วยเป็นระบบ Cloud Accounting Software ตัวอย่างเช่น โปรแกรมบัญชี PEAK ใช้เทคโนโลยี OCR ของ Google ที่มาช่วยอ่านเอกสารทางบัญชีเพียงอัปโหลดรูปก็สามารถบันทึกบัญชีได้ ตัดปัญหาเรื่องเอกสารหาย หาใบเสร็จไม่เจอ ช่วยรองรับการเติบโตของธุรกิจ Feature นี้เหมาะกับธุรกิจ SMEs ที่ใช้บริการร่วมกับสำนักงานบัญชีและธุรกิจ SMEs ที่ต้องการจัดเอกสารให้มีความเป็นระบบระเบียบ เพียงอัปโหลดรูป นักบัญชีก็สามารถเข้าไปทำบัญชีและภาษีได้โดยไม่ต้องกลัวเอกสารหาย ใช้ AI และ Big Data ที่พัฒนาขึ้นที่ทำให้การบันทึกบัญชีง่ายขึ้นและใช้ดุลยพินิจเบื้องต้นในการแสดงและจัดประเภทรายการบัญชี ผู้สนใจสามารถศึกษาได้จากลิงก์นี้ http://blogpeakaccount.todsorb.dev/blog/file-vault-เก็บเอกสาร-บันทึกบัญช/?fbclid=IwAR2rtLe1-AAjb3mGr0PBrP6ElB8wA-bH8eSBIXCW5MrEHoi8vYfozjsb-_หากต้องการนำเข้าไฟล์ภาพได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น PEAK ได้พัฒนา Feature ที่เชื่อมต่อกันกับแอปพลิเคชัน LINEตามลิงก์นี้http://blogpeakaccount.todsorb.dev/blog/line-connect-peak/
PEAK ยังมีระบบใหม่ https://lin.ee/mbYtwT4 ที่พัฒนาลงใน Application LINE ซึ่งรองรับการออกเอกสารทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย มีระบบตอบกลับเป็นหน้าลิงก์เอกสารที่ส่งให้คู่ค้าได้ทันที พร้อมทั้งลงบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีลดต้นทุนในการเก็บเอกสาร ลดระยะเวลาในการทำงานและช่วยในการจัดทำบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
บทบาทใหม่ของนักบัญชีเพื่อตอบรับ Digital Transformation
จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้นักบัญชีต้องปรับบทบาทใหม่จากหน้าที่การปิดบัญชี จัดทำงบการเงินและจัดทำรายงานสำหรับผู้บริหาร มาเป็นการให้ข้อมูลในแนววิเคราะห์เชิงลึกแก่ผู้บริหาร ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจ นักบัญชีจึงต้องปรับบทบาทไปสู่การเป็นคู่คิดทางธุรกิจ หรือ Business Partner ซึ่ง Associated of International Certified Professional Accountants ได้ให้มุมมองของแนวโน้มการเป็น Business Partnerของ นักบัญชีไว้ดังนี้
1. ระบบงานบัญชีมีประสิทธิภาพ (Efficiency) มาก
เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ระบบบัญชีจะมีมาตรฐานและมีความเป็นระบบอัตโนมัติ นักบัญชีมีเวลาเพิ่มขึ้น สามารถทำงานในฐานะนักบัญชีบริหารที่สนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารได้มากขึ้น
2. การทำงานในเชิงวิเคราะห์ข้อมูล (Information) เพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้บริหารต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจซึ่งข้อมูลเป็น Big Data นักบัญชีจึงต้องพัฒนาความสามารถทางเทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ Cloud, Business Intelligence (BI), Big Data Analytics เป็นต้น เพื่อช่วยจัดการข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกสำหรับผู้บริหาร
3. ผู้บริหารคาดหวังว่านักบัญชีจะมีบทบาทสำคัญ (Influence) ในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ
การเกิด Digital Disruption ทำให้องค์กรทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี รวมทั้งสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้เรียกว่า VUCA World โดย VUCA ย่อมาจากคำว่า Volatility(ความผันผวน), Uncertainty (ความไม่แน่นอน), Complexity (ความสลับซับซ้อน), Ambiguity (ความคลุมเครือ) นักบัญชีจึงได้รับการคาดหวังให้มีบทบาทสำคัญดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
4 ทักษะสำคัญของนักบัญชีในยุคดิจิทัล
เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับตนเองและองค์กรในการทำงานในยุคดิจิทัล มีทักษะสำคัญ 4 ประการที่จำเป็นสำหรับนักบัญชีดังต่อไปนี้
1. ทักษะทางด้านธุรกิจ (Business Skill)
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนักบัญชีมีหน้าที่จัดเตรียมข้อมูล วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงานเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร เพื่อตอบรับกับ Digital Transformation นักบัญชีควรพัฒนาทักษะทางด้านธุรกิจดังนี้
1.1 ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (Data Analytical Skill)
นักบัญชีควรมีความเข้าใจขอบเขตและการดำเนินการทางธุรกิจที่ทำบัญชีอย่างถ่องแท้ ควรติดตามความรู้ ข่าวสาร ข้อมูลในทางธุรกิจ พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ การวิเคราะห์ความเสี่ยง การคิดในเชิงกลยุทธ์เพื่อปรับบทบาทไปสู่การเป็น Business Partner ให้กับผู้บริหารในยุคดิจิทัล นักบัญชีควรพัฒนาทักษะการวิเคราะห์แบบ Business Insight ทำความเข้าใจธุรกิจในหลากหลายมิติและมองไปข้างหน้า (Forward-looking) สามารถระบุประเด็นสำคัญ ตั้งคำถาม ออกแบบและเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ช่วยผู้บริหารวางแผนกลยุทธ์ เพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ
1.2 ทักษะในการจัดการ (Administrative Skill)
นักบัญชีต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการทีมงาน การเจรจาต่อรอง ความสามารถทำงานร่วมกันกับ Business Function อื่นๆ ในองค์กร ได้แก่ หน่วยงานขาย จัดซื้อ ทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกระบวนการทำงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อสร้างข้อมูลแบบเชิงลึก (Insight) ที่เสนอแนวทางการแก้ปัญหา (Solution) ที่เหมาะสม ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนองคาพยพของทั้งองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
2. ทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Skill)
เพื่อเตรียมเข้าสู่ยุคดิจิทัล นักบัญชีต้องเปิดใจและมอง Digital Transformation เป็นโอกาสแทนที่จะมองเป็นวิกฤตโดยนักบัญชีควรพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องได้แก่
2.1 Data Mining คือ การวิเคราะห์แยกแยะและหาความสัมพันธ์ของข้อมูล Big Data
2.2 Data Visualization คือ การสรุปและแสดงข้อมูลในรูปแผนภาพ กราฟ แผนภูมิหรือวิดีโอ ซึ่งจะช่วยให้เห็นข้อมูลเชิงลึกและแสดงแนวโน้มในอนาคต เครื่องมือที่เป็น Data Visualization ได้แก่ Power BI, Tableau, Google Data Studio เป็นต้น
2.3 Data Modelling คือ การสร้างแบบจำลองข้อมูล หรือแนวคิดที่ใช้อธิบายโครงสร้าง ความสัมพันธ์และความหมายของข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจง่ายขึ้น
3.ทักษะความรู้ความชำนาญทางด้านวิชาชีพ (Professional Skill)
การเกิด Digital Disruption ทำให้นักบัญชีต้องพัฒนาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพให้มีความเป็นมืออาชีพ ทั้งทักษะทางด้านสติปัญญา (Intellectual Skill) และทักษะทางด้านเทคนิคทั่วไปและเทคนิคเฉพาะทางด้านวิชาชีพ (Technical Skill) นักบัญชีต้องติดตามความรู้อย่างสม่ำเสมอสำหรับมาตรฐานบัญชีและกฎหมายภาษีที่มีการอัปเดตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็น Lifelong learning ที่ต้องพัฒนาและรักษามาตรฐานของวิชาชีพ
4. ทักษะทางด้านอารมณ์การสื่อสาร (Soft Skill)
นอกเหนือไปจากทักษะความรู้ที่ใช้ในการทำงานหรือที่เรียกว่า Hard Skill แล้ว นักบัญชีควรมี Soft Skill ซึ่งเป็นทักษะทางด้านอารมณ์ ความสามารถในการประสานงานและการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการพัฒนาตนเอง ซึ่งมีความสำคัญในการทำงานเป็นทีมและทำงานกับเพื่อนร่วมงานต่างสาขาอาชีพ
ถ้านักบัญชีมีความพร้อมซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติในทักษะต่างๆ ดังที่กล่าวมาจะช่วยเพิ่มคุณค่าในตัวนักบัญชีให้เป็นนักบัญชีที่มีคุณภาพในยุคดิจิทัล เป็นคู่คิดทางธุรกิจซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยนำพาให้องค์กรอยู่รอด ช่วยขับเคลื่อนทิศทางให้ธุรกิจประสบความสำเร็จเติบโตและมีความสามารถในการแข่งข้นที่มีความรุนแรงในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วได้
ให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จกับโปรแกรมบัญชี PEAK peakaccount.com
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30 วัน!
อ้างอิง:
https://www.tfac.or.th/Article/Detail/124851
Big Data Analytics, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 8 พฤษภาคม 2563
https://www.tfac.or.th/en/Article/Detail/123469
ทักษะและเทคโนโลยีที่สำคัญสำหรับนักบัญชีบริหาร, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 21 เมษายน 2563
https://www.tfac.or.th/Article/Detail/126283
นักบัญชีบริหารในยุคดิจิทัล, สภาวิชาชีพบัญชีฯ, 18 พฤษภาคม 2563
https://www.dropbox.com/th_TH/business/resources/what-is-the-cloud
Cloudคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร,
Dropbox
https://techsauce.co/tech-and-biz/improve-business-with-rpa-uipath
ติดอาวุธธุรกิจ ด้วย RPA: UiPath Platform ฝ่าวิกฤติ COVID-19, TECHSAUCE, 29 มกราคม 2564
http://www1.ldd.go.th/WEB_CIT/knowledge/6201/KLY6201C4/01BigData.pdf
หลักสูตรความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ Big Data, นายภูวดล แสงทอง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ
Data Mining คืออะไร ทำไมจึงเป็นสิ่งที่องค์กรระดับโลกต้องจับตา
https://www.facebook.com/mdrthaicom/posts/3852197918184180
VUCA World คืออะไร สำคัญยังไง ไปรู้จักกัน!, mdr-thai.com, 17 มิถุนายน 2564