การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์เป็นการทำธุรกรรมทางการเงินที่นอกจากเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับคนส่วนใหญ่อีกด้วย หลายคนมักจะนิยมใช้เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ ไปจนถึงการโอนเงินให้เพื่อนหรือครอบครัวก็ตาม ซึ่งการโอนเงินผ่านระบบนั้น นับว่าช่วยทำให้ชีวิตได้รับสะดวกสบายมากขึ้น แต่ทั้งนี้หากมีการเงินเข้าออกบัญชีบ่อย หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่าโอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม และมีผลกระทบอะไรกับเราบ้างไปดูกัน
โอนเงินเข้าออกบ่อยเป็นไรไหม
ตามจริงแล้วเงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ ไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่หากทำบ่อยเกินไปและมีมูลค่ารวมที่สูง ก็อาจถูกตรวจสอบภาษีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรต้องการตรวจสอบว่าที่มาของเงินนั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตรวจสอบที่มาของเงินเพื่อป้องกันการฟอกเงินหรือการได้เงินมาแบบผิดกฎหมายนั่นเอง
เงินเข้าออกบัญชีบ่อยห้ามเกินกี่ครั้ง
ปัจจุบันมีกฎหมายที่ระบุว่าสามารถมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีห้ามเกินกี่ครั้งต่อปีขึ้นมา ซึ่งถ้าหากมีการโอนเงินเข้าออกบัญชีจำนวนมาก และมีมูลค่าสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ธนาคารจะต้องรายงานข้อมูลให้กรมสรรพากรทราบ และหากพฤติกรรมการทำธุรกรรมผิดปกติ เช่น การโอนเงินไปมาระหว่างบัญชีหลาย ๆ บัญชีบ่อยครั้ง กรมสรรพากรอาจจะสงสัยว่าเรามีการฟอกเงินหรือทำผิดกฎหมายได้ ซึ่งจำนวนหารโอนเงินที่กำหนดไว้มีดังนี้
- ฝากเงินหรือรับเงินด้วยการโอน 3,000 ครั้งต่อปีต่อหนึ่งธนาคาร อาจจำเป็นต้องชี้แจงที่มาของเงิน
- ฝากหรือรับโอนเข้าบัญชี รวมทุกบัญชีใน 1 ธนาคาร 400 ครั้งต่อปี และมียอดเงินรับรวม 2,000,000 บาทต่อปี ธนาคารจะต้องส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
ถูกสรรพากรเรียกตรวจสอบต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
เมื่อถูกกรมสรรพากรเรียกตรวจสอบไม่ต้องตกใจไป ให้เราควรเตรียมเอกสารต่าง ๆเกี่ยวข้องให้ครบถ้วนเพื่ออำนวยความสะดวกกับเจ้าหน้าที่และเพื่อป้องกันเอกสารตกหล่นจนมีปัญหาตามมาได้ ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมโดยทั่วไปจะมีดังนี้
- บัตรประชาชน ใช้ในการยืนยันตัวตน
- หนังสือแจ้งการตรวจสอบ หนังสือที่กรมสรรพากรส่งมาแจ้งรายละเอียดการตรวจสอบ
- เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ และเอกสารใบเสร็จรับเงินค่าบริการต่าง ๆ เช่น ค่าเช่า ค่าดอกเบี้ย เป็นต้น
- เอกสารการซื้อขาย หากธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ
- สมุดบัญชีธนาคาร เพื่อแสดงรายการเงินเข้าออก
- เอกสารแสดงค่าใช้จ่าย ใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ เอกสารลดหย่อนภาษี เช่น ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าเล่าเรียน
- เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สัญญาเช่า สัญญาซื้อขาย ทะเบียนพาหนะ
ต้องทำยังไงถึงจะไม่เสียภาษี
เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีที่จะต้องเสียในแต่ละปีได้ เพราะนอกจากจะเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะต่างๆ อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดหย่อนภาษีที่ต้องจ่ายอย่างถูกกฎหมายด้วยวิธีการ ดังนี้
- ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส บุตร ผู้สูงอายุ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน และค่าบริจาคต่าง ๆ เป็นต้น
- ลงทุนในเครื่องมือลดหย่อนภาษี เช่น กองทุน SSF, RMF และประกันชีวิตที่นำมาเป็นส่วนลดภาษีที่ต้องชำระได้
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หากมีรายได้หลายช่องทาง หรือมีธุรกิจส่วนตัว ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเพื่อวางแผนการเสียภาษีให้เหมาะสมกับสถานการณ์
สิ่งที่ไม่ควรทำ
- หลีกเลี่ยงการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การไม่ยื่นภาษีถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ซึ่งอาจถูกปรับย้อนหลังเป็นเงินจำนวนมากได้
- แจ้งข้อมูลเท็จ การให้ข้อมูลเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีเป็นความผิดทางอาญา
- ซ่อนรายได้ การไม่รายงานรายได้ทั้งหมดจะถูกนับเป็นการทำผิดกฎหมาย
การโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ทุกวันเป็นเรื่องปกติของคนส่วนใหญ่ แต่ทั้งนี้เงินเข้าออกบัญชีบ่อย ๆ อาจนำมาซึ่งปัญหาที่คุณไม่คาดคิดขึ้นได้ ดังนั้น การโอนเงินอย่างมีระเบียบและวางแผนอย่างรอบคอบจะสามารถช่วยลดค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น และลดปัญหาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะปัญหาด้านกฎหมายได้ นอกจากนี้ การรู้จักการจัดการธุรกรรมของตนเองจะช่วยให้คุณสามารถปกป้องทรัพย์สินของตัวเองให้ปลอดภัยได้อีกด้วย
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://www.peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengin