สำหรับผู้ที่เริ่มต้นยื่นภาษีควรรู้จักคำว่า “ภ.ง.ด.” หรือย่อมาจาก “ภาษีเงินได้”  ซึ่งเป็นแบบฟอร์มการยื่นภาษีประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายได้และการหักภาษีในประเทศไทย โดยภาษีที่ธุรกิจจะต้องยื่นนั้นส่วนใหญ่คือภาษี ภ.ง.ด. 1 ซึ่งภาษี ภ.ง.ด.1 คืออะไร แตกต่างจากภ.ง.ด.1ก อย่างไร บทความนี้เราจะพาไปหาคำตอบคำถามกัน

ภ.ง.ด.1 คืออะไร แตกต่างจากภ.ง.ด.1ก อย่างไร 

ภ.ง.ด. มีหลายประเภทโดยหลัก ๆ แล้วจะแบ่งเป็นกรณีบุคคลธรรมดาและกรณีนิติบุคคล โดยภ.ง.ด.1 คือแบบฟอร์มของการเสียภาษีกรณีนิติบุคคล ซึ่งเราจะขอพาไปทำความรู้จักกับความแตกต่างของการเสียภาษีกรณีบุคคลธรรมดาและกรณีนิติบุคคล พร้อมพาไปรู้จักภ.ง.ด.1 คืออะไร แตกต่างจาก ภ.ง.ด.1ก และอื่น ๆ กัน 

กรณีบุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภ.ง.ด.90 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(1) – 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรหลายประเภทหรือประเภทเดียว แต่มิใช่เงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

ภ.ง.ด.90

ภ.ง.ด.91 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีภาษีถัดไป

ภ.ง.ด.91

ภ.ง.ด.94 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีกำหนดยื่นแบบภายในวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 กันยายน ของปีภาษีเดียวกัน

ภ.ง.ด.94

หมายเหตุ
เงินได้ตามมาตรา 40(1) ได้แก่ เงินได้จากการจ้างแรงงานได้แก่เงินดือน ค่าจ้าง โบนัส เป็นต้น
40(2) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ได้แก่ ค่านายหน้า ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น
40(3) ได้แก่ เงินได้จากค่าลิขสิทธืหรือค่าสิทธิ์อย่างอื่น
40(4) ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล เป็นต้น
40(5) รายได้จากการให้เช่า
40(6) รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
40(7) รายได้จากการรับเหมา
40(8) รายได้อื่นๆที่ไม่ใช่ 40(1) – 40(7) ได้แก่ รายได้จากธุรกิจ เกษตร ขนส่งอุตสาหกรรม

กรณีนิติบุคคล

นิติบุคคล คือ หน่วยงานทางกฎหมายที่แยกออกจากบุคคลธรรมดา เช่น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น เมื่อนิติบุคคลมีรายได้จากการประกอบกิจการ ก็ต้องมีหน้าที่ชำระภาษีให้กับรัฐบาล ซึ่งภาษีที่นิติบุคคลต้องเสียก็จะมีหลายประเภทและแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

1. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภ.ง.ด.1 คือ แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า เป็นต้น ให้แก่ผู้เสียภาษีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบภ.ง.ด.1 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

ภ.ง.ด.1

ซึ่งแตกต่างจากภ.ง.ด.1ก คือ แบบยื่นภาษีที่รายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส หรือผลประโยชน์อื่น ๆ ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างตลอดทั้งปี โดยจะยื่นแค่ปีละครั้งเท่านั้น

ภ.ง.ด.91

ภ.ง.ด.1 ก

ภ.ง.ด.2 คือ แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภท ค่าลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิต่างๆ ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยตั๋วเงิน เงินปันผล เป็นต้น โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.2 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

ภ.ง.ด.2

ภ.ง.ด.3 คือ แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายเงินได้ที่เป็นบุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคมหรือคณะบุคคล ที่จ่ายเงินได้ประเภทค่าเช่าทรัพย์สิน ค่ารับเหมา ค่าบริการ ค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง เป็นต้น ซึ่งผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบภ.ง.ด.3 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

ภ.ง.ด.3

ภ.ง.ด.53 คือ แบบยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับกรณีผู้จ่ายได้ที่เป็นรัฐบาล องค์กรรัฐบาล บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่จ่ายเงินได้ประเภท ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่านายหน้า ค่าบริการค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่าขนส่ง ซึ่งผู้รับเงินเป็นนิติบุคคล โดยผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องยื่นแบบภ.ง.ด.53 ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน

ภ.ง.ด.53

2. ภาษีนิติบุคคล

ภ.ง.ด.51 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้สำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) กิจการทั่วไป SMEs Start-up ใช้วิธีประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทั้งปีและคำนวณภาษีจากกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ วิธีนี้ถ้าประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิจริงของรอบปีบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควรจะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด โดยกิจการต้องยื่นแบบภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

ภ.ง.ด.51

ภ.ง.ด.50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปีสำหรับบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยนำรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการมาคำนวณเสียภาษี

ภ.ง.ด.50
อัตราการเสียภาษี

กรณีนิติบุคคลหรือบริษัททั่วไปที่ไม่เข้าเงื่อนไข SMEs เสียภาษีในอัตราร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ

สำหรับกิจการที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 เพื่อสรุปภาษีขายและภาษีซื้อ ยื่นต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าในเดือนนั้นจะมีรายการซื้อขายหรือไม่

วิธีการยื่นภ.ง.ด.1 ก และ ภ.ง.ด.1 ต่างกันอย่างไร 

โดยนิติบุคคลจะต้องนำส่งรายได้ทั้งปี ภ.ง.ด.1 ก ให้กรมสรรพากรปีละ 1 ครั้ง โดยจะต้องดำเนินการยื่นแบบให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป ซึ่งแตกต่างจากตัว ภ.ง.ด.1 ที่ต้องยื่นเดือนละครั้ง โดยจะต้องดำเนินการยื่นแบบให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป (ถ้ายื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ทางอินเทอร์เน็ตผ่านกรมสรรพากรจะขยายระยะเวลาการยื่นแบบให้เพิ่มได้อีก 8 วัน )

การยื่นแบบรายการภาษีเป็นหน้าที่ที่ผู้เสียภาษีไม่ควรละเลย การวางแผนและยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนดจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายค่าปรับทางภาษีได้ การทำบัญชีจึงเป็นสิ่งสำคัญกับธุรกิจและงานภาษี โปรแกรมบัญชี PEAK จึงเป็นโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้งานบัญชีภาษีง่ายสำหรับทุกคน PEAK มีระบบจัดการธุรกิจแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างเป็นระบบ

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com 
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์