tax-missing-payment

บ่อยครั้งผู้ประกอบการจ่ายค่าบริการหรือค่าจ้างทำของแต่ลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้ประกอบการจะมีวิธึจัดการอย่างไร ก่อนอื่นเจ้าของกิจการควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายก่อนว่าคืออะไร

ความหมายของภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ธุรกิจซึ่งเป็นนิติบุคคลหักไว้เมื่อมีการจ่ายเงิน ค่าจ้างทำของ ค่าขนส่ง ค่าบริการ เป็นต้น ให้กับผู้รับเงินทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา

สำหรับผู้รับที่เป็นบุคคลธรรมดา ประเภทของการจ่ายเงินที่ธุรกิจผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายมี ดังนี้

1. การให้เช่าทรัพย์สิน หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 5

2. ค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ได้แก่ กฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม  การบัญชี งานประณีตและศิลปกรรม หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3

3. งานรับเหมา ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3

4. เงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน ชิงโชค หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 5

5. ค่าโฆษณา หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 2

6. ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 3

7. เงินรางวัล ส่วนลด ประโยชน์จากการส่งเสริมการขาย หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ-3

8. ค่าขนส่ง หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1

สำหรับผู้รับที่เป็นนิติบุคคล ประเภทของการจ่ายเงินที่ธุรกิจผู้จ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายมี ดังนี้

1. ค่านายหน้า ค่าลิขสิทธิ์ หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 3

2. ดอกเบี้ยเงินฝาก ตั๋วเงิน หุ้นกู้ หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1

3. การให้เช่าทรัพย์สิน หักภาษีร้อยละ 5

4. ค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ได้แก่ กฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม  การบัญชี งานประณีตและศิลปกรรม หักภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 3

5. เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 10

6. เงินรางวัลในการประกวด แข่งขัน ชิงโชค หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 5

7. ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 3

8. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1

9. ค่าขนส่ง หักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1

โดยจำนวนเงินขั้นต่ำที่ผู้จ่ายเงินต้องหักภาษีณที่จ่ายคือ 1,000 บาท ผู้หัก ณ ที่จ่ายมีหน้าที่ต้องนำส่งแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 53 กรณีผู้รับเงินได้เป็นนิติบุคคล และแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.3 กรณีผู้รับเป็นบุคคลธรรมดา

ลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องทำอย่างไร

ถ้าผู้ประกอบการลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่นกิจการจ่ายค่าบริการโดยปกติกิจการมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ต้องยื่นแบบต่อกรมสรรพากรภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน มีข้อแนะนำสำหรับกิจการดังนี้

1 พิจารณาว่าค่าใช้จ่ายนั้นสามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ โดยพิจารณาจากเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1.1 รายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือไม่
1.2 สามารถระบุตัวตนของผู้ให้บริการได้
1.3 มีการชำระค่าบริการนั้นจริง

ถ้าเข้าทั้ง 3 เงื่อนไขก็สามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้

2. ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายและกิจการต้องออกเงินจ่ายค่าภาษีแทน กิจการไม่สามารถนำภาษีที่ออกแทนให้นี้มาหักเป็นรายจ่ายของกิจการได้เพราะไม่ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ยกเว้นแต่มีสัญญาระบุตั้งแต่แรกว่ากิจการเป็นผู้ออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้

3. กิจการไม่ควรทิ้งบิลค่าใช้จ่ายดังกล่าว ในกรณีที่กิจการSMEsมีกำไรจะเสียภาษีนิติบุคคลในอัตรา 15-20%แต่ถ้าทิ้งบิลค่าใช้จ่ายจะทำให้เสียภาษีเพิ่ม 15-20% ในขณะที่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนำส่งในอัตรา1-5% ถึงแม้จะรวมค่าปรับก็ยังน้อยกว่า 15%

เพื่อให้ไม่เกิดปัญหาลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย กิจการควรจัดทำบัญชีอย่างมีระบบ การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่ดีมีระบบการบันทึกบัญชีแบบอิเล็กทรอนิกส์ ในกรณีการบันทึกค่าบริการที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ระบบจะบันทึกรายการโดยอัตโนมัติและออกใบหักภาษี ณ ที่จ่ายให้เลย และสามารถเรียกรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งภายในเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งจ่ะช่วยแก้ปัญหาการลืมหักภาษี ณ ที่จ่ายได้

PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีที่ช่วยให้บัญชี/ภาษีง่ายสำหรับทุกคน มีระบบจัดการธุรกิจแบบออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยคุณจัดการเรื่องภาษีอย่างมีระบบ

สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์

อ้างอิง:
https//www.getinvoice.net/tax_withheld/ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืออะไร 15 พ.ค.2562
เพจผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี หัวข้อ: ลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ 18 ส.ค. 2563