tax-income-under-section40

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บจากบุคคลทั่วไป ปกติจัดเก็บเป็นรายปีโดยผู้เงินได้ต้องยื่นแบบภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

สำหรับเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเรียกว่าเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเกิดจากหน้าที่งานที่ทำ กิจการที่ทำหรือเนื่องจากทรัพย์สิน ได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน ประโยชน์อื่นใดที่คำนวณได้เป็นตัวเงิน เงินภาษีที่ผู้จ่ายออกแทน หรือเครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

เงินได้พึงประเมิน มีกี่ประเภท

เงินได้พึงประเมินแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่

1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น เงินดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม เบี้ยประชุม เป็นต้น

3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิอย่างอื่น

4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร เป็นต้น

5. เงินได้ประเภทที่ 5 ได้แก่ รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การผิดสัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชาชีพกฎหมาย การประกอบโรคศิลป(แพทย์) วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประรีตศิลปกรรม

7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาก่อสร้าง ที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้อื่นๆนอกจาก 1-7 ได้แก่เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร อุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากรกำหนดให้เงินได้แต่ละประเภทข้างต้นหักค่าใช้จ่ายได้ โดยมีเกณฑ์ในการหักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้

ตารางอัตราการหักค่าใช้จ่ายตามประเภทเงินได้
อ้างอิง: พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 629) พ.ศ.2560

การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปัจจุบัน มีหลายแอพพลิเคชั่นที่ช่วยคำนวณภาษีให้เลือกใช้ เช่น RD Smart Tax, PIT90, PIT91, iTAXPRO, TAX Instead, CHANG TAX เป็นต้น

ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com
หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK