tax-fake-tax-invoice

ใบกำกับภาษีเป็นเสมือนหลักฐานทางการเงิน ที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการขอคืนภาษีได้ หากขอคืนภาษีแล้วรัฐพบว่าหลักฐานเหล่านี้ไม่ถูกต้อง ก็นับเป็นความผิดที่ร้ายแรงมากถึงขั้นจำคุก

แบบไหนเรียกใบกำกับภาษีปลอม

1. ใบกับภาษีที่ออกโดยไม่มีการซื้อขายจริง

2. ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ว่าใครเป็นผู้ออกใบกำกับภาษี

3. ใบกำกับภาษีที่มีการแก้ไขข้อความ หรือลบข้อความในใบกำกับภาษีจริงออก

4. ใบกำกับภาษีที่ออกโดยคู่ค้าที่ไม่จด VAT (การออกใบกำกับภาษีได้ จำเป็นต้องมีการจด VAT)

5. ใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการออกให้กับคู่ค้าที่ไม่ซื้อสินค้าและบริการจริง เช่น ผู้ประกอบการจดทะเบียนร้านค้าปลีก ขายสินค้าโดยไม่ได้ออกใบกำกับภาษี แล้วนำรายการนั้นมาออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบให้แก่บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ผู้ซื้อสินค้าจริง

6.ใบกำกับภาษีที่ออกโดยมีรายการสินค้าและบริการไม่ตรงตามจริง

7. ใบกำกับภาษีที่ออกโดยมีมูลค่าสินค้าและบริการไม่ตรงตามจริง

8. ใบกำกับภาษีที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน ออกให้ผู้ซื้อใบกำกับภาษีโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม

โทษของการใช้ใบกำกับภาษีปลอม

ผู้ขาย :

 ใบกำกับภาษีปลอม : จำคุกกระทงละ 1 ปี (1 ใบกำกับภาษีปลอม = 1 กระทง)

ผู้ซื้อ :

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท

เมื่อรู้แล้วผู้ทำกิจการควรตรวจสอบและจัดทำเอกสารทางบัญชีอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้กิจการและตัวเจ้าของกิจการเสี่ยงโทษ แล้วที่สำคัญ การออกเอกสารต่างๆ และรับเอกสารที่ถูกต้อง จะทำให้ตัวเจ้าของธุรกิจเองรับรู้สถานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการ และนำมาช่วยในการบริหารได้ ซึ่ง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการและคนทำบัญชีออกเอกสารได้อย่างถูกต้อง มีข้อมูลครบถ้วน และยังมี Dashboard สรุปการเงินของกิจการ ให้เจ้าของกิจการหรือผู้ที่กำเป็นต้องใช้ของมูลทางการเงินในการบริหารกิจการสามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ใส่ใจบัญชีและภาษี

สมัครใช้งานโปรแกรม PEAK ฟรี คลิก https://peakaccount.com