ภาษีศุลกากร มีอะไรบ้าง

ในโลกยุคดิจิทัลเราสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้มากขึ้น แค่เพียงคลิกเดียวก็ได้รับสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์จากทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทันใจ ทำให้ผู้ผลิตต้องพากันแข่งขันกันการนำเสนอสินค้าใหม่ ๆ หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และนั่นทำให้การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายมาเป็นโอกาสในการทำธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ทั้งนี้ก่อนจะก้าวเข้าสู่สนามการค้าจำเป็นต้องทำความรู้จักกฎเกณฑ์สำคัญที่คอยกำกับการค้าขายระหว่างประเทศเสียก่อนนั่นคือ ภาษีศุลกากร นั่นเอง เราจะได้รู้จักกับภาษีศุลกากรว่าคืออะไร มีกี่ประเภท ผ่านบทความนี้ เพื่อให้เราสามารถทำธุรกิจได้สะดวกมากขึ้น

ภาษีศุลกากร คืออะไร?

ภาษีศุลกากร คือ การเรียกเก็บภาษีนำเข้าและส่งออกสินค้าข้ามพรมแดนโดยรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบ หรือสินค้าอื่น ๆ ก็ตาม ซึ่งภาษีนี้เป็นกลไกที่รัฐบาลใช้เพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจ การค้า และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งการทำความเข้าใจเรื่องภาษีศุลกากรไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจเรื่องจำนวนเงินภาษีที่ต้องจ่ายเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงราคาสินค้าและการแข่งขันในตลาดอีกด้วย

ภาษีศุลกากรมีกี่ประเภท

ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาล ดังนี้

ภาษีนำเข้า

ภาษีศุลกากรแม้จะมีการแบ่งประเภทออกมาเป็นหลายรูปแบบ แต่จุดประสงค์หลักก็คือการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสร้างรายได้และปกป้องผลประโยชน์ให้กับประเทศ ทั้งนี้อัตราภาษีและประเภทของภาษีที่เรียกเก็บจะแตกต่างกันไปตามชนิดของสินค้าและนโยบายของรัฐบาลดังนี้

ภาษีส่งออก

ภาษีส่งออกจะถูกเก็บก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการส่งออกไปสู่ประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดเก็บภาษีประเภทนี้มักถูกนำมาใช้ในกรณีที่รัฐบาลต้องการควบคุมการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่า หรือสินค้าที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการพัฒนาภายในประเทศ

การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง?

การนำเข้า-ส่งออกสินค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

การนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภาษีหลายประเภท ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า ประเทศต้นทางหรือปลายทางเป็นหลัก รวมถึงนโยบายทางการค้าของรัฐบาลในขณะนั้น สำหรับภาษีที่สัมพันธ์กับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจะมีดังนี้

ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าเข้ามาในประเทศไทยนั้น จะต้องเสียภาษีหลายชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ประเทศต้นทาง และมูลค่าของสินค้า โดยภาษีที่พบบ่อยในการนำเข้าสินค้า ได้แก่

  1. อากรขาเข้า (Import Duty) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าเกือบทุกประเภทที่นำเข้ามาในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ และสร้างรายได้ของรัฐ สำหรับการคำนวณภาษีนั้นจะมีวิธีการคำนวณ คือ คำนวณจากมูลค่าของสินค้า (CIF: Cost, Insurance, Freight) คูณกับอัตราอากรขาเข้าที่กำหนดไว้สำหรับสินค้าชนิดนั้น
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ รวมถึงสินค้าที่นำเข้าด้วย โดยในปัจจุบันอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจะอยู่ที่ 7% โดยสามารถคำนวณจาก (มูลค่าสินค้า CIF + อากรขาเข้า) คูณด้วย 7%
  3. ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้าพิเศษบางประเภท เช่น สุรา บุหรี่ น้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการบริโภคสินค้าบางชนิด และยังสร้างรายได้ให้กับรัฐ โดยสามารถคำนวณได้จาก (CIF + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษีสรรพสามิต) / 1 – (1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)

ภาษีที่ต้องจ่ายเมื่อส่งออกสินค้า

โดยทั่วไปแล้วการส่งออกสินค้าจากประเทศไทยนั้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรขาออก แต่เนื่องจากนโยบายที่ส่งเสริมการส่งออกของรัฐบาลเพื่อเพิ่มจำนวนรายได้เข้าสู่ประเทศ จึงทำให้มีภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทาง สำหรับภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีความสัมพันธ์กับการส่งออกสินค้ามีดังนี้

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แม้ว่าจะส่งออกสินค้า แต่ผู้ประกอบการที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ ก็ยังต้องออกใบกำกับภาษี โดยใช้อัตรา 0% เพื่อแสดงว่าสินค้าถูกส่งออกไปแล้ว และมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จ่ายไปในต้นทุนการผลิตได้
  • ค่าธรรมเนียมศุลกากร เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพิธีการทางศุลกากร เช่น ค่าตรวจสอบสินค้า ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตส่งออก
  • ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ อาจมีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าธรรมเนียมของบริษัทขนส่ง ค่าประกันภัย
การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การเข้าใจภาษีศุลกากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การนำเข้าและส่งออกของเราดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเริ่มตั้งแต่การคำนวณภาษี การจัดการเอกสาร จนกระทั่งการชำระเงิน ซึ่งทุกขั้นตอนจำเป็นต้องวางแผนและตรวจสอบอย่างละเอียด รอบคอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจภาษีศุลกากร ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการลดค่าใช้จ่าย และยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านการแข่งขันในตลาดโลกอีกด้วย 

ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://www.peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine