ในปีภาษี 2568 กรมสรรพากรได้เปิดตัวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ “Easy E-Receipt 2.0” ที่ช่วยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถลดหย่อนภาษีได้มากขึ้น จากการนำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการที่เข้าเงื่อนไขมายื่นลดหย่อนภาษี แต่สินค้าและบริการประเภทใดบ้างที่สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้? บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับประเภทสินค้าที่อยู่ในเกณฑ์ รวมถึงเงื่อนไขต่างๆ เพื่อลดหย่อนภาษีในยุคดิจิทัลให้คุ้มค่าที่สุด
“Easy E-Receipt 2.0” คืออะไร?
มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” เปิดโอกาสให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ยกเว้นห้างหุ้นส่วนสามัญ) นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและบริการภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมาลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 50,000 บาท
“Easy E-Receipt 2.0” ใช้ได้ตอนไหน
ระยะเวลาที่ใช้ได้: ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
สินค้าและบริการที่ลดหย่อนภาษีได้
ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนค่าซื้อสินค้าและค่าบริการภายในประเทศได้สูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
1. ลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท)
- สินค้าและบริการจากร้านค้าที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องมีหลักฐานเป็น e-Tax Invoice แบบเต็มรูป
- สินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีเงื่อนไขดังนี้
หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร รวมถึงข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น E-Book
2. ลดหย่อนเพิ่มเติมตามจำนวนที่จ่ายจริง (สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท)
สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมธุรกิจชุมชน ดังนี้
- สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ได้รับการรับรองจากกรมการพัฒนาชุมชน
- ค่าบริการจากวิสาหกิจชุมชน ที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
- สินค้าหรือบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่จดทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้าและบริการที่ไม่เข้าร่วม “Easy E-Receipt 2.0”
- สุรา เบียร์ และไวน์
- ยาสูบ
- น้ำมัน ก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์) และ เรือ
- ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์และ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าว นอกเหนือจากระยะเวลาของมาตรการ
- ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พัก โรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย หรือค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
เอกสารหลักฐานสำคัญที่ใช้ลดหย่อนในมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0”
ต้องมีหลักฐานการชำระเงินเป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เท่านั้น
ตัวอย่าง e-Tax Invoice & e-Receipt ของ PEAK
สำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าและบริการตามเงื่อนไข ต้องการรองรับมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” และเพิ่มความสะดวกในการจัดการเอกสารทางบัญชี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการเอกสารทางบัญชีได้อย่างสะดวกและครบวงจร ด้วยฟีเจอร์ที่รองรับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) ได้ง่ายเพียงคลิกเดียว โดยเอกสารทั้งหมดเป็นไปตามมาตรฐานของกรมสรรพากร พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถส่งเอกสารถึงลูกค้าได้ทันที
นอกจากนี้ PEAK ยังช่วยให้การจัดการเอกสารเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบที่ครอบคลุมการออกใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีภายในระบบเดียว โดยสามารถส่งข้อมูล e-Tax Invoice และ e-Receipt ไปยังกรมสรรพากรได้โดยตรง ช่วยลดขั้นตอนและประหยัดเวลาในการจัดเตรียมเอกสารได้อย่างมาก รองรับการใช้งานได้ทั้งสำหรับทุกร้านค้าไม่ว่าจะเป็นร้านค้าปลีก ร้านค้าออนไลน์ หรือธุรกิจบริการ ด้วยระบบออนไลน์ 100% ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://www.peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine