ทางโปรแกรม PEAK จะรองรับธุรกิจประเภทซื้อมาขาย-ไป และบริการ หากเป็นธุรกิจผลิตยังไม่รองรับ ซึ่งจะมีวิธีการใช้งานประยุกต์ตามขั้นตอนดังนี้
ข้อมูลตัวอย่าง นำสินค้า AA และ สินค้า BB มาผลิตให้เป็นสินค้า CC
ขั้นตอนที่ 1: ขั้นตอนบันทึกซื้อสินค้าที่นำมาผลิตเข้าสต็อก
ตัวอย่าง
ทำการซื้อสินค้า AA และ BB เข้าระบบสต็อก โดยทำการบันทึกที่หน้ารายจ่าย>> บันทึกรายการจ่าย (แต่หากมีสินค้าในสต็อกอยู่แล้ว สามารถข้ามไปทำขั้นตอนที่ 2ได้)
ขั้นตอนที่ 2: ขั้นตอนการตัดสินค้าออกจากสต็อกมาผลิต
สมมติ ทำการตัดสินค้า AA และสินค้า BB มาผลิต จำนวน 50.00 หน่วย
โดยทำการสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงินที่หน้ารายรับ>> ใบเสร็จรับเงิน
2.1. ลูกค้า/ผู้จ่ายเงิน: สามารถระบุเป็นชื่อกิจการตนเอง หรือสร้างผู้ติดต่อใหม่ว่า “นำมาผลิต”
2.2 วันที่ออก: ระบุวันที่เรานำสินค้าออกจากสต็อกเพื่อผลิต
2.3. เอกสารเลขที่: ระบบจะทำการรันให้อัตโนมัติตามที่ตั้งค่าไว้ แต่ทางเราแนะนำให้สร้างเลขที่เอกสารแยกจากเอกสารขายเพื่อเวลาดึงรายงานขายจะได้พบข้อแตกต่างว่าเอกสารไหนขายเอกสารไหนเป็นเอกสารที่ใช้ประยุกต์
2.4. ช่องสินค้า/บริการ ให้ทำการระบุรหัสสินค้าที่นำมาผลิต และราคาที่ทำการซื้อเข้ามา พร้อมระบุส่วนลดให้เท่ากับราคาที่ซื้อเข้ามา ให้ราคาสุทธิเท่ากับศูนย์บาท
เมื่อระบุข้อมูลเอกสารใบเสร็จรับเงินเรียบร้อย ให้ทำการกดอนุมัติเอกสารใบเสร็จรับเงิน
ขั้นตอนที่ 3: ทำการแก้ไขผังบัญชีของเอกสารใบเสร็จรับเงิน
โดยกดคลิกที่เลขที่บันทึก จะทำการแก้ไขผังบัญชี 510103 – ต้นทุนขายสินค้า เป็นผังบัญชีสินค้าระหว่างผลิต หรือผังบัญชีตามที่ต้องการ เช่น งานระหว่างทำ หรือหากผังบัญชีที่ระบบมีให้ไม่ตอบโจทย์ สามารถกดเพิ่มผังบัญชีใหม่ได้ โดยกด คลิกวิธีการเพิ่มที่นี่
ในตัวอย่างใช้ผังบัญชีระหว่างผลิตซึ่งผังบัญชีดังกล่าวเป็นการเพิ่มผังบัญชีใหม่
หมายเหตุ: หากทำการแก้ไขข้อมูลที่สมุดบัญชีรายวันโดยตรง ในอนาคตหากมีการกดบันทึกบัญชีใหม่ หรือคำนวณต้นทุนขายใหม่ ระบบจะทำการลงบันทึกบัญชีใหม่ ตามผังบัญชีที่ระบบควรจะลงบันทึก
หากในอนาคตมีการกดบันทึกบัญชีใหม่ หรือคำนวณต้นทุนขายใหม่ แนะนำให้ทำการสร้างสมุดบัญชีรายวันขึ้นมา ปรับปรุงรายการต่างหาก
เมื่อทำการแก้ไขผังบัญชีเรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลง หรือกดอนุมัติรายการ
ขั้นตอนที่ 4: ขั้นตอนการบันทึกสินค้าที่ผลิตเสร็จเข้าสต็อก
4.1. ระบุรายการสินค้า CC ที่ทำการผลิตเสร็จแล้วเข้าสต็อก
โดยราคาต้นทุนต่อหน่วย จะเป็นสินค้า AA (233.64) + สินค้า BB (467.29) = 700.93 บาท
4.2. กดปุ่ม + เพิ่มรายการ
4.3. ระบุผังบัญชีสินค้าระหว่างผลิต (ตามที่ระบุผังบัญชีในขั้นตอนที่ 3 ที่ทำการแก้ไขผังบัญชีในสมุดบัญชีรายวัน) โดยใส่ตามราคาต้นทุนที่ซื้อสินค้า AA และ BB เข้ามาและใส่ติดลบ เพราะไม่ได้ทำการชำระเงินครั้งที่ 2
– จบขั้นตอนประยุกต์ใช้งานประเภทธุรกิจผลิต –