howto-use-recurring-expense-AA010

ในกรณีที่บริษัทมีการจ่ายชำระเงินแต่เป็นการจ่ายชำระเงินล่วงหน้าให้ผู้ขาย อีกทั้งต้องการรับรู้การจ่ายชำระเงินดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้า จากนั้นทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละเดือน

เบื้องต้นสามารถใช้ฟังก์ชันบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน (Recurring Expense) บน NEW PEAK ทำรายการได้ แต่ ” การตัดค่าใช้จ่ายล่วงหน้าหน้าเข้าค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน มูลค่าที่ต้องการทยอยตัดจ่ายนั้นต้องมีมูลค่าเท่ากัน “

ตัวอย่างการบันทึก กิจการมีการจ่ายชำระเงินค่าสินค้าล่วงหน้าเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ต้องการให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายสินค้าเดือนละ 5,000 บาท เป็นจำนวน 20 เดือน โดยให้ตัดทุกต้นเดือน โดยการบันทึกแบ่งได้ 2 ส่วนดังนี้

ส่วนที่ 1: บันทึกจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้าจากลูกค้า

ขั้นตอนที่ 1: บันทึกจ่ายเงินค่าสินค้าล่วงหน้า

ทางทีมงานขออนุญาตยกตัวอย่าง สร้างเอกสารบันทึกค่าใช้จ่าย โดยระบุลงผังบัญชี “ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า-ค่าสินค้า จำนวน 1.00 หน่วย ราคาระบุ 100,000 บาท”

ขั้นตอนที่ 2: ข้อมูลการชำระเงิน ให้ระบุข้อมูลการจ่ายชำระเงินที่จ่ายให้ผู้ขายสินค้า

ขั้นตอนที่ 3: ตรวจสอบข้อมูลหากถูกต้องกดปุ่ม ” อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย “ เพื่อบันทึกเอกสาร

ตัวอย่างการลงบันทึกบัญชีจากเอกสารบันทึกค่าใช้จ่าย

ส่วนที่ 2: การทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายโดยการประยุกต์ใช้งานฟังก์ชันบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน (Recurring Expense)

** เงื่อนไขการใช้ฟังก์ชั่น Recurring Expenseคือ มีการทยอยรับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนมูลค่าต้องเท่ากันทุกเดือนไม่สามารถมีเดือนใดเดือนหนึ่งไม่เท่ากันได้ **

ขั้นตอนที่ 1 :เลือกแถบเมนู ” รายจ่าย ” >> ” เมนูบันทึกค่าใช้จ่าย” >> ” ดูทั้งหมด “

ขั้นตอนที่ 2 :กดปุ่ม ” + บันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือน “ เพื่อทำรายการ

ขั้นตอนที่ 3 : กรอกรายละเอียดบนเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง

รายละเอียดแต่ละส่วนของเอกสารมีดังนี้

  • ข้อมูลลูกค้า : ระบุผู้ติดต่อที่ต้องการสร้างเอกสาร
  • กลุ่มจัดประเภท : ระบุประเภทกลุ่ม ให้ทำการระบุประเภทกลุ่มตามที่ต้องการ(ไม่จำเป็นต้องระบุข้อมูลส่วนนี้ก็ได้)
  • เอกสารรายเดือน : ระบุเอกสารได้ว่าต้องการสร้างวันที่เท่าไหร่ เช่น มีการจ่ายเงินล่วงหน้าให้ผู้ขาย 100,000 บาท ทำการตัดเป็นค่าใช้จ่ายเดือนละ 5,000 บาทเป็นเวลา 20 เดือน โดยตัดทุกต้นเดือนในแต่ละเดือนซึ่งจะเป็นเป็น 5 ส่วนคือ
    • รอบการสร้าง: ระบุทุกวันที่ของเดือน
    • วันที่ : จากตัวอย่างระบุวันต้นเดือนของเดือน
    • เริ่มตั้งแต่: วันที่ให้ระบบเริ่มสร้างเอกสาร
    • สิ้นสุด: เนื่องจากตัวอย่างมีการตัดค่าใช้จ่าย 20 งวด จึงระบุจำนวนครั้ง และระบุครั้งที่สิ้นสุด 20 ค่ะ
    • สร้างเอกสารเป็น: เมื่อระบบสร้างบันทึกค่าใช้จ่าย ต้องการให้เอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายอยู่ในสถานะใด ทางทีมงานขอสมมุติเลือกเป็นรออนุมัติ
  • ข้อมูลราคาและภาษี : ระบุข้อมูลราคาและภาษีที่ต้องการออกข้อมูล
  • รายการ : ระบุข้อมูลสินค้า/บริการ ที่ต้องการตัดเป็นค่าใช้จ่าย และราคา

ขั้นตอนที่ 4: กรอกรายละเอียดข้อมูลรับชำระเงิน

กดปุ่ม “ขั้นสูง “ เพื่อทำรายการตัดค่าใช้จ่ายล่วงหน้าออกและรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายแทน

ติ๊กข้อมูลช่อง ” ค่าธรรมเนียมหรือรายการปรับปรุง ” โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ปรับปรุง : ระบุ ” หักเงินที่ต้องจ่าย “
  • ปรับปรุงด้วยบัญชี : ระบุผังบัญชี ” 115101 – ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า-ค่าสินค้า “
  • จำนวนเงินที่ปรับปรุง: จากตัวอย่างระบุจำนวนเงิน 5,000 บาท

ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง ถ้าข้อมูลถูกต้องให้กดปุ่ม ” บันทึก

ดังนั้น เมื่อถึงต้นเดือน ระบบจะทำการสร้างเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายให้ และทำการปรับปรุงรายการค่าใช้จ่ายล่วงหน้า เข้าค่าใช้จ่ายให้อัตโนมัติตามที่กำหนดไว้ค่ะ

-จบขั้นตอนวิธีการรับรู้ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเป็นค่าใช้จ่ายของแต่ละเดือน ด้วยฟังก์ชันค่าใช้จ่ายรายเดือน (Recurring Expense)