วิธีบันทึกปรับปรุงภาษีขาย – ภาษีซื้อ
Case 1: กรณีภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ
ในเดือนที่ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากร ดังตัวอย่างต่อไปนี้ เดือนพ.ย. 25XX กิจการค้าขายสินค้าไปทั้งสิ้น 120,000 บาท และซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 80,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็น ดังนี้
ภาษีขาย = 120,000 x 7% = 8,400 บาท
ภาษีซื้อ = 80,000 x 7% = 5,600 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ดังนั้นเดือน พ.ย. กิจการจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่กรมสรรพากร = 8,400 – 5,600 = 2,800 บาท และภายในวันที่ 15 ธ.ค. 25XX จะต้องนำเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 2,800 บาท ไปยื่นชำระที่กรมสรรพากร
1.1 วิธีการบันทึกโอนปิดบัญชีภาษีซื้อ ภาษีขายไปบัญชีเจ้าหนี้กรมสรรพากร คือ เข้าไปที่หน้าบัญชี >> บัญชีรายวัน >> สร้างและบันทึกได้ตามตัวอย่างด้านล่าง
1.2 เมื่อมีการจ่ายชำระเงินให้แก่กรมสรรพากรสามารถบันทึกได้ตามตัวอย่างค่ะ
Case 2: กรณีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย
ในเดือนที่ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย ผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร ดังตัวอย่างต่อไปนี้
เดือนพ.ย. 25XX กิจการค้าขายสินค้าไปทั้งสิ้น 120,000 บาท และซื้อสินค้ามาเพื่อขายจำนวน 180,000 บาท การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นดังนี้
ภาษีขาย = 120,000 x 7% = 8,400 บาท
ภาษีซื้อ = 180,000 x 7% = 12,600 บาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ดังนั้น เดือน พ.ย. กิจการมีสิทธิ์ที่จะยื่นขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร = 8,400 – 12,600 = 4,200 บาท และภายในวันที่ 15 ธ.ค. 25XX สามารถไปยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 4,200 บาท
ดังนั้น ภายในวันที่ 15 ธ.ค. 25XX สามารถไปยื่นขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 4,200 บาท
2.1 วิธีการบันทึกโอนปิดบัญชีภาษีซื้อ ภาษีขายไปบัญชีลูกหนี้กรรมสรรพากร คือ เข้าไปที่หน้าบัญชี >> บัญชีรายวัน >> สร้างและบันทึกได้ตามตัวอย่างด้านล่าง
2.2 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป สามารถขอคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร สามารถบันทึกได้ตามตัวอย่างค่ะ
ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com
หรือเข้าใช้งานโปรแกรม คลิก เข้าสู่ระบบ PEAK