
ในกรณีที่กิจการมีการจ่ายซื้อสินค้าหรือใช้บริการต่างๆให้กับต่างประเทศ เช่น Google, Facebook กิจการจะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการนั้นๆด้วย โดยคำนวณจากมูลค่าสินค้าหรือบริการนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น หากซื้อสินค้าจากต่างประเทศในราคา 1,000 บาท จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราจะต้องนำส่งให้สรรพากรคือ 70 บาท (1,000*7%) โดยเราต้องนำส่งภาษีด้วยการยื่นแบบ ภ.พ.36 ภายในเดือนถัดไป โดยเมื่อชำระเงินตามแบบ ภ.พ.36แล้ว จะมีขั้นตอนในการลงบันทึกรายการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ทำการสร้างรายการจ่ายโดยไปที่เมนู “รายจ่าย” จากนั้นไปที่ “บันทึกค่าใช้จ่าย” และกด “สร้าง”

ขั้นตอนที่ 2 : กรอกข้อมูลผู้ติดต่อโดยใส่เป็น “กรมสรรพากร” และลงรายการโดยเลือกผังบัญชีเป็น “บัญชีพัก” และให้ใส่ภาษีเท่ากับ 7%

ขั้นตอนที่ 3 : เลือกช่องทางการชำระเงินโดยเลือกตั้งค่า “ขั้นสูง” จากนั้นกดเพิ่ม “ค่าธรรมเนียมหรือรายการปรับปรุง” โดยบันทึกรายการดังนี้
- ในช่องทางการชำระเงิน(สีม่วง) ให้ใส่ช่องทางที่กิจการชำระเงินให้กับกรมสรรพากร โดยในกรณีที่ยกตัวอย่างจะเป็นจำนวนเงิน 70 บาท
- ในช่องรายการปรับปรุง(สีน้ำเงิน) ให้เลือก “หักเงินที่ต้องจ่าย” และเลือกผังบัญชีเป็น “บัญชีพัก” โดยในกรณีที่ยกตัวอย่างจะเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท
จากนั้นกด “อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย”

เมื่อทำการกดอนุมัติแล้ว หากต้องการดูการบันทึกบัญชีสามารถทำได้โดยไปที่แถบ “ข้อมูลเอกสาร” และกดที่ “เลขที่เอกสารที่อ้างอิง”

ระบบจะแสดงหน้ารายการบันทึกบัญชีดังภาพ ซึ่งจะเห็นว่าระบบจะล้างรายการที่เราบันทึก “บัญชีพัก” ออกให้

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อกิจการได้รับใบเสร็จจากกรมสรรพากร ให้นำวันที่และเลขที่ใบเสร็จนั้นมาทำการลงทะเบียนเสมือนเป็นใบกำกับภาษีซื้อได้ ดังรูป

-จบขั้นตอนการบันทึกรายการภาษี ภ.พ.36-