
ในกรณีที่กิจการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสถานบริการพยาบาล เช่น สถาบันเสริมความงาม, คลินิกทันตกรรม, คลินิกแพทย์ผิวหนัง เป็นต้น แล้วมีการแบ่งรายได้ให้แก่แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ สามารถประยุกต์ใช้งาน โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ขั้นตอนที่ 1 : เพิ่มผังบัญชีที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ เช่น ค่าทำศัลยกรรม และหัตถการต่างๆ
- ขั้นตอนที่ 2 : บันทึกรายได้ของกิจการ และแพทย์ของกิจการ
- ขั้นตอนที่ 3 : บันทึกจ่ายรายได้ให้แก่แพทย์ของกิจการ
ขั้นตอนที่ 1 : เพิ่มผังบัญชีที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ เช่น ค่าทำศัลยกรรม และหัตถการต่างๆ
- สำหรับบันทึกรายได้และจ่าย ของแพทย์ในกิจการ โดยบันทึกเป็นหนี้สินหมุนเวียนอื่น และเลือกประเภทเงินได้เป็น 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
- สาเหตุที่บันทึกเป็นหนี้สินหมุนเวียนอื่น เพราะว่า กิจการได้รับชำระค่าบริการมา แต่ยังไม่มีการจ่ายชำระให้แก่แพทย์ของกิจการ
ขั้นตอนการเพิ่มผังบัญชี สามารถทำตามลิงก์ คลิกที่นี่ ได้เลย

ยกตัวอย่างเช่น กิจการ A เป็นคลินิกทันตกรรม โดยวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 2022 มีค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้าที่มาใช้บริการคลินิก เป็นจำนวนเงิน 2,500 บาท แบ่งเป็นรายได้ของคลินิก และแพทย์ทันตกรรม ดังนี้
- รายได้ของคลินิก 40% : 2,500 x 40 % = 1,000 บาท
- รายได้ของแพทย์ 60% : 2,500 x 60 % = 1,500 บาท
ขั้นตอนที่ 2 : บันทึกรายได้ของกิจการ และแพทย์ของกิจการ มีวิธีการดังนี้
เมื่อกิจการมีการรับชำระเงิน และออกใบเสร็จรับเงิน สามารถทำได้ดังนี้
- เข้าไปที่เมนูรายรับ
- เลือก “ใบเสร็จรับเงิน” และ “สร้าง”

ระบบจะแสดงหน้าสร้างใบเสร็จรับเงิน ให้กรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยข้อมูลของรายการให้ทำการระบุข้อมูลดังนี้
- บรรทัดที่ 1 : เลือกบริการจากฐานข้อมูลที่กิจการได้เพิ่มไว้ ในส่วนนี้จะผูกผังบัญชีที่เป็นรายได้ของกิจการ
- บรรทัดที่ 2 : เลือกผังบัญชีที่สร้างแยก สำหรับแพทย์ของกิจการโดยเฉพาะ
เมื่อกิจการมีการกรอกข้อมูล และเลือกช่องทางการรับชำระเงินเรียบร้อยแล้ว สามารถกดอนุมัติใบเสร็จรับเงินได้เลย

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี จะสังเกตได้ว่า
- ระบบมีการบันทึกตั้งเจ้าหนี้ผังบัญชีที่เกี่ยวกับแพทย์ไว้

ขั้นตอนที่ 3 : บันทึกจ่ายรายได้ให้แก่แพทย์ของกิจการ
วันที่ 30 เม.ย. 2022 กิจการทำการจ่ายชำระค่าแพทย์ประจำเดือนเมษายน ให้แก่แพทย์ของกิจการ โดยมีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 20,000 บาท สามารถทำได้ดังนี้
- เข้าไปที่เมนูรายจ่าย
- เลือก “บันทึกค่าใช้จ่าย” และ “สร้าง”

ระบบจะแสดงหน้าสร้างค่าใช้จ่าย ให้กรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดย
- เลือกผังบัญชีที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าทำศัลยกรรม และหัตถการต่างๆ
- ระบุราคาที่ต้องชำระให้แก่แพทย์ เช่น 20,000 บาท
- ระบุหัก ณ ที่จ่าย เช่น คิดอัตราแบบเหมา 30 % = 6,000 บาท

เมื่อมีการกรอกข้อมูล และเลือกช่องทางชำระเงินแล้ว คลิก “อนุมัติบันทึกค่าใช้จ่าย” ได้เลย

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี จะสังเกตได้ว่า
- ระบบมีการล้างเจ้าหนี้ผังบัญชีที่เกี่ยวกับแพทย์
- ระบบจะบันทึก ภ.ง.ด.3 ค้างจ่ายให้

ตัวอย่างหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

– จบขั้นตอนวิธีการบันทึกรับและจ่าย สำหรับประเภทธุรกิจด้านสถานบริการพยาบาล –