กรณีซื้อขายสินค้าที่เป็นหน่วยใหญ่และหน่วยย่อย สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 สร้างรหัสสินค้า 2 รหัส คือ รหัสสินค้า หน่วยย่อย หน่วยใหญ่
ขั้นตอนที่ 2 ซื้อสินค้าที่เป็นหน่วยใหญ่
ขั้นตอนที่ 3 ปรับปรุงสินค้าจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อย
ขั้นตอนที่ 4 ขายสินค้าหน่วยย่อย
ตัวอย่าง
กิจการทำการขายน้ำ ซื้อน้ำเป็นแพคและขายเป็นขวด
ขั้นตอนที่ 1 สร้างรหัสสินค้า 2 รหัส คือ รหัสสินค้า หน่วยย่อย หน่วยใหญ่

ขั้นตอนที่ 2 ซื้อสินค้าที่เป็นหน่วยใหญ่ (น้ำเป็นแพ็ค)
เข้าที่เมนูรายจ่าย >> ซื้อสินค้า >> สร้าง
ตัวอย่าง
ซื้อน้ำดื่มเป็นแพค ทั้งหมด 12 แพค

เลือกช่องทางการจ่ายเงินตามที่เงินออกจริงหรือหากยังไม่มีการชำระเงินให้กดปุ่มยังไม่ชำระเพื่อทำการตั้งหนี้ไว้

เมื่อกดอนุมัติซื้อสินค้าน้ำดื่มเป็นแพคจะเข้าคลังสินค้า

ขั้นตอนที่ 3
ปรับปรุงสินค้าจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อย
ขั้นตอนที่ 3.1 ปรับปรุงสินค้าหน่วยใหญ่ออกจากสต๊อกสินค้า
โดยเข้าที่เมนูรายรับ >> ใบเสร็จรับเงิน >> สร้าง
เลือกผู้ติดต่ออาจจะใช้คำว่า “ปรับปรุงสินค้า”
เลือกสินค้าน้ำดื่ม(แพ็ค) จำนวนเท่าที่ซื้อมา คือ 12 แพ็ค
ระบุราคาเป็น 0 เพราะเป็นการประยุกต์ตัดสต๊อกสินค้า

ส่วนช่องทางการรับเงินระบุเป็นอะไรก็ได้เพราะมูลค่าเท่ากับ 0

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี จะเห็นได้ว่ามีการ Dr. ต้นทุนขายสินค้า Cr.สินค้าคงเหลือ ตอนซื้อมาออก
หรือสามารถเปลี่ยนผังบัญชีต้นทุนขายเป็นผังบัญชีที่ตนเองต้องการ

เมื่อเข้าดูที่สต๊อกสินค้าจะมียอดเป็น 0 หรือสามารถปรับปรุงจำนวนตามที่ตนเองต้องการได้

ขั้นตอนที่ 3.2 ปรับปรุงสินค้าหน่วยย่อยเข้า สต๊อกสินค้า
โดยเข้าที่เมนูรายจ่าย >> ซื้อสินค้า >> สร้าง
เลือกผู้ติดต่ออาจจะใช้คำว่า “ปรับปรุงสินค้า”
เลือกสินค้าน้ำดื่ม(ขวด) จำนวนเท่าที่ซื้อมา คือ 12 แพ็ค แพ็ค ละ 12 ขวด จะเท่ากับ 144 ขวด
ราคาซื้อต่อแพ็ค ราคา 60 บาท เฉลี่ยแล้วต้นทุนอยู่ที่ 5 บาท

ช่องทางการจ่ายเงินให้เลือกขั้นสูงเลือกผังบัญชีเหมือนสมุดรายวัน ขั้นตอนที่ 3.1 เช่น ต้นทุนขายสินค้าหรือผังบัญชีที่ต้องการ จากนั้นกดอนุมัติซื้อสินค้า

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

ตัวอย่างหน้าสินค้าที่เป็นหน่วยย่อย น้ำดื่ม(ขวด)

ขั้นตอนที่ 4 การขายสินค้าแบบหน่วยย่อย
สร้างเอกสารตามที่ต้องการ เช่น ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน และระบุข้อมูลตามที่ต้องการ
จากตัวอย่าง ขายสินค้าน้ำดื่มเป็นแพคให้นาย ก 100 ขวด ราคา ขวดละ 10 บาท

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี

ตัวอย่างหน้าสินค้าที่เป็นหน่วยย่อย น้ำดื่ม(ขวด)

-จบขั้นตอนกรณีซื้อสินค้าที่เป็นหน่วยใหญ่และขายสินค้าที่เป็นหน่วยย่อย(NI023)-