อากรแสตมป์เป็นภาษีรูปแบบหนึ่งที่จัดเก็บภาษีจากการทำตราสารหรือเอกสารต่าง ๆ ทางกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแสตมป์ทั่วไปที่ใช้ในการส่งจดหมาย แต่ในความเป็นจริงอากรแสตมป์มีความสำคัญในด้านกฎหมายและธุรกรรมทางการเงิน การเข้าใจว่าอากรแสตมป์ใช้ทำอะไรได้บ้าง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรเรียนรู้ โดยเฉพาะผู้ที่มีกิจการเป็นของตัวเอง
อากรแสตมป์ คืออะไร
อากรแสตมป์ คือ ภาษีตามประมวลรัษฎากรรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจะจัดเก็บในลักษณะของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับเอกสารราชการและสัญญาต่าง ๆ เช่น สัญญาซื้อขาย ใบมอบอำนาจ โดยอากรบนเอกสารเหล่านี้เป็นการแสดงว่าภาษีได้ถูกชำระเรียบร้อยแล้ว และเอกสารนั้นได้รับการรับรองตามกฎหมาย สามารถช่วยป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี แถมยังช่วยรับรองความถูกต้องของเอกสารทางกฎหมายอีกด้วย
อากรแสตมป์ ไม่ใช่แสตมป์ปกติ
หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าอากรแสตมป์เป็นแสตมป์ที่ใช้ในการส่งจดหมายหรือไปรษณีย์ แต่ความจริงแล้วอากรแสตมป์กับแสตมป์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยแสตมป์ หรือ ตราไปรษณียากร มีลักษณะเป็นกระดาษรูปสี่เหลี่ยม โดยจะนำไปใช้ติดบนซองจดหมายเพื่อใช้เป็นหลักฐานว่าได้ชำระค่าบริการส่งไปรษณีย์แล้ว ซึ่งจะมีแสตมป์ทั่วไปกับแสตมป์ที่ระลึกที่มีการออกแบบเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ เป็นต้น
รูปแบบของอากรแสตมป์
- ขนาดอากรแสตมป์ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดความกว้าง 2 ซม. และความยาว 3 ซม.
- ในส่วนด้านบน จะมีข้อความเขียนว่า “อากรแสตมป์”
- ในส่วนตรงกลาง จะเป็นตราสัญลักษณ์พระอุเทนทราธิราชทรงพิณ หรือตราของกรมสรรพากรนั่นเอง
- ในส่วนด้านล่าง จะบอกถึงราคาของอากรแสตมป์ ซึ่งจะมีตั้งแต่ราคา 1 บาท สีน้ำเงิน ราคา 5 บาท สีเขียว และ20 บาท สีแดง
เอกสารที่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง
การทำตราสารหรือเอกสารบางประเภทในประเทศไทยต้องมีการประทับตราอากรแสตมป์เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเอกสารที่ต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาจำนอง สัญญาร่วมลงทุน สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ สัญญาจ้างทำของ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาค้ำประกัน และเอกสารอื่น ๆ ที่มีผลทางกฎหมาย
วิธีการเสียค่าอากรแสตมป์
- กรณีแสตมป์ปิดทับ คือ การเสียค่าอากรโดยปิดแสตมป์ทับกระดาษทันทีที่มีการทำเอกสารฉบับนี้ขึ้นมา หรืออาจจะเสียก่อนที่จะทำเอกสารขึ้นมาก็ได้ โดยราคานั้นต้องไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียแล้วำทำการขีดฆ่าแสตมป์นั้นด้วย
- กรณีแสตมป์ดุน ในปัจจุบันวิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากเท่าไหร่ โดยจะใช้กระดาษที่มีแสตมป์ดุน หรือยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ดุนกระดาษเป็นรอยแสตมป์ แล้วจ่ายเงินในราคาไม่น้อยกว่าอากรที่ต้องเสียพร้อมขีดฆ่า
- กรณีชำระเป็นตัวเงิน คือ การเสียอากรเป็นตัวเงินราคาไม่น้อยกว่าไปกว่าอากรที่ต้องเสียตามหมวดอากรแสตมป์ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ข้อควรรู้เกี่ยวกับอากรแสตมป์
- อากรแสตมป์สามารถใช้รองรับความถูกต้องของเอกสารหรือตราสารทางกฎหมายได้
- การไม่เสียอากรไม่เกี่ยวข้องกับการที่เอกสารนั้นจะมีผลหรือไม่มีผลตามกฎหมาย เพียงแต่จะใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้น*
- สามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร
สรุปบทความ
อากรแสตมป์เป็นส่วนสำคัญในการทำตราสารและเอกสารทางกฎหมายในประเทศไทย ความเข้าใจในเรื่องอากรแสตมป์และการใช้แสตมป์อากรอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมทางการเงินหรือจัดการกับเอกสารสำคัญ โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจมือใหม่ที่ต้องเรียนรู้เรื่องบัญชี การเงิน และภาษีเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินกิจการ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเหล่านักลงทุน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine