Key Performance Indicators คือ เครื่องมือในการวัดผลธุรกิจที่ดีที่องค์กรนิยมใช้โดยเฉพาะในยุคที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง เพราะสามารถช่วยให้องค์กรสามารถติดตามและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่ง KPI จะมีการวัดผลอย่างไร ทำไมสำคัญกับองค์กรไปดูกัน
KPI หรือ Key Performance Indicators คืออะไร
KPI หรือ Key Performance Indicators คือ เป็นวิธีวัดผลการทำธุรกิจในด้านต่าง ๆ ขององค์กร ด้วยการดูว่าผลตรงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ไหม ทำให้องค์กรสามารถติดตามความก้าวหน้า ประเมินประสิทธิภาพ และปรับปรุงการทำธุรกิจได้ดีมากขึ้น โดยแต่ละตัวอักษรมีความหมาย ดังนี้
- K (Key) หมายถึง สิ่งสำคัญหรือกุญแจสู่ความสำเร็จ
- P (Performance) หมายถึง ผลการปฏิบัติงานหรือประสิทธิภาพ
- I (Indicator) หมายถึง ตัวชี้วัดหรือมาตรวัด
ประเภทการวัดผล KPI
การวัดผลการปฏิบัติงานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและเป้าหมายที่ต้องการวัด โดยตัวชี้วัด KPI แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การวัดผลทางตรงและการวัดผลทางอ้อม
การวัดผลทางตรง
การวัดผลทางตรงเป็นการประเมินผลงานที่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้ชัดเจน ไม่ต้องตีความหรือแปลผล เช่น ยอดขาย จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ อัตราของเสีย หรือจำนวนลูกค้าใหม่ ข้อดีของการวัดผลแบบนี้คือเราสามารถตรวจสอบได้และมีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน ทำให้การประเมินผลมีความโปร่งใส
การวัดผลทางอ้อม
การวัดผลทางอ้อมเป็นการประเมินผลงานที่ไม่สามารถวัดเป็นตัวเลขได้โดยตรง ต้องอาศัยการสังเกต การประเมิน หรือการสำรวจความคิดเห็น เช่น การให้บริการ ความประทับใจของลูกค้า หรือการมีผู้นำ การวัดผลประเภทนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับมุมมองและการตีความของผู้ประเมิน
ความสำคัญต่อองค์กร
KPI มีความสำคัญต่อองค์กรในหลายด้าน สามารถช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าในการทำงานของพนักงานและประเมินความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังใช้ประเมินผลงานของพนักงาน การพิจารณาผลตอบแทน และการวางแผนพัฒนาบุคลากร รวมถึงช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และการจัดสรรทรัพยากรขององค์กร
ใช้หลักการ SMART ในการตั้ง KPI
หลักการ SMART เป็นแนวทางมาตรฐานในการกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพ มาดูรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ
- Specific มีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร
- Measurable วัดผลได้เป็นตัวเลขที่ชัดเจน
- Achievable สามารถบรรลุได้จริง ไม่ยากหรือง่ายจนเกินไป
- Realistic สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
- Time-bound มีกรอบเวลาที่ชัดเจนในการวัดผล
ตัวอย่างการตั้ง KPI ในองค์กร
การกำหนด key performance indicators เป็นการสร้างมาตรฐานการวัดผลที่ตรงตามเป้าหมายขององค์กร มาดูตัวอย่างการตั้ง KPI ในแต่ละแผนก
ฝ่ายขายและการตลาด
- ยอดขายรายเดือนเพิ่มขึ้น 15% เทียบกับปีก่อน
- จำนวนลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้น 10 รายต่อเดือน
- อัตราการรักษาลูกค้าเดิม 90%
- ความพึงพอใจของลูกค้าไม่ต่ำกว่า 4.5 จาก 5 คะแนน
ฝ่ายผลิต
- อัตราของเสียไม่เกิน 2% ของการผลิตทั้งหมด
- ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 10%
- ลดต้นทุนการผลิตลง 5%
- จำนวนอุบัติเหตุในการทำงานเป็นศูนย์
ฝ่ายบุคคล
- อัตราการลาออกของพนักงานไม่เกิน 5% ต่อปี
- จัดฝึกอบรมพนักงาน 40 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
- ความพึงพอใจของพนักงานไม่ต่ำกว่า 80%
- เวลาในการสรรหาพนักงานใหม่ไม่เกิน 30 วัน
ข้อควรระวังในการใช้ KPI
การกำหนดและใช้ KPI (Key Performance Indicators) เป็นการวัดผลความสำเร็จขององค์กรหรือโครงการ แต่หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง อาจเกิดการตีความที่ผิดพลาด หรือการสร้างผลกระทบเชิงลบต่อการทำงานโดยรวม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงข้อควรระวังต่าง ๆ เพื่อให้การใช้ KPI สอดคล้องกับเป้าหมายที่แท้จริง และช่วยพัฒนาองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
- ไม่ควรตั้งเป้าหมายที่สูงหรือต่ำเกินไป
- ควรทบทวนและปรับปรุง KPI อย่างสม่ำเสมอ
- ต้องสื่อสารให้พนักงานเข้าใจเป้าหมายตรงกัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ KPI เป็นเครื่องมือกดดันพนักงาน
- ควรมีระบบติดตามและให้ feedback อย่างสร้างสรรค์
ประโยชน์ของการใช้ KPI ที่ดี
KPI (Key Performance Indicators) เป็นตัวชี้วัดที่ช่วยให้องค์กรรู้ความคืบหน้าของการทำธุรกิจว่าได้ตามเป้าหมายที่ตั้งใจไหม การใช้ KPI ที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยวัดผลสำเร็จ แต่ยังสร้างแรงจูงใจให้ทีมงานพัฒนาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น การเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้ KPI จะช่วยเพิ่มโอกาสในการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กรในระยะยาว
- องค์กรมีทิศทางชัดเจน
- ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้กลยุทธ์
- กระตุ้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- สร้างมาตรฐานการทำงาน
- เพิ่มแรงจูงใจให้พนักงาน
การใช้ KPI จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน แต่ต้องระวังความเหมาะสมและความเป็นกลางในการประเมินผล เพื่อคนในองค์กรอยากพัฒนาเปลี่ยนแปลงการทำงานจริง ๆ ซึ่ง Key Performance Indicators คือ เครื่องมือที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ หากใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine