ธุรกิจ SMEs เป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดย SMEs ย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises หมายถึง ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบกิจการ 3 ประเภทดังต่อไปนี้
ประเภทของธุรกิจ SMEs ประกอบด้วย
1. กิจการการผลิต
หมายถึง กิจการที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยใช้แรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิตในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม เหมืองแร่ เช่น โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตอาหารกระป๋อง โรงงานผลิตเครื่องดื่ม เป็นต้น
2. กิจการการค้า
หมายถึง กิจการที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง หรือคือการซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาเพื่อจัดจำหน่าย มีทั้งกิจการค้าส่ง และกิจการค้าปลีก เช่น กิจการห้างสรรพสินค้า กิจการขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป กิจการขายเครื่องกีฬา เป็นต้น
3. กิจการบริการ
หมายถึง ธุรกิจที่เน้นการให้บริการหรือขายบริการ ไม่ได้จำหน่ายสินค้า เช่น กิจการประกันภัย ธุรกิจโรงแรม ร้านเสริมสวย โรงภาพยนตร์ กิจการรับทำบัญชี เป็นต้น
โดยตามประกาศสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้กำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมลงวันที่ 21 มกราคม 2563 ไว้ดังนี้
ปัญหาที่พบบ่อยของการทำธุรกิจ SMEs
1. ปัญหาด้านเงินลงทุน
เมื่อพูดถึงปัญหาที่พบเป็นอันดับต้นๆ ของผู้ประกอบการ SMEs มักประสบปัญหาในด้านเงินทุน เนื่องจากยังไม่มีการจัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบ หรือขาดหลักทรัพย์ในการค้ำประกันเงินกู้อย่างสินเชื่อ SMEs หรือในบางกิจการอาจเป็นช่วงเริ่มต้น ทำให้ยังลงทุนได้ไม่มากพอ
2. ปัญหาด้านการตลาด
ผู้ประกอบการ SMEs มักต้องดูแลหลายอย่างพร้อมกัน การตลาดสมัยนี้เปลี่ยนไปเร็วเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทันในเรื่องการตลาด และการเปิดเสรี ทางการค้าตลอดจนความสะดวกรวดเร็วในการขนส่ง ทำให้มีสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าในท้องถิ่นมากขึ้น
3. ปัญหาด้านการบริหารจัดการ
ผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์ในการจัดการและการบริหารงานอย่างเป็นระบบ ส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการแข่งขันทางธุรกิจในยุคที่ต้องมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และมีข้อจำกัดในการปรับระบบการทำงานเมื่อกิจการมีการขยายตัว
4. ปัญหาด้านแรงงาน
การขาดแคลนแรงงานที่มีความชำนาญและมีฝีมือ เนื่องจากธุรกิจ SMEs เป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก การค้นหา หรือประกาศรับสมัครงานอาจไม่ไปถึงคนที่มีความชำนาญในการทำงาน แต่หากมีการประกาศในแหล่งที่มีกลุ่มคนที่มีความชำนาญ ก็ช่วยให้ได้คนที่มีฝีมือมาร่วมงานได้ หรือหาคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ก็ช่วยลดปัญหาข้อนี้ได้
5. ปัญหาทางด้านบัญชี
งานบัญชี นอกจากมีความจำเป็นในการจัดการภาษีแล้ว ยังทำให้ผู้ประกอบการทราบสถานการณ์ทางธุรกิจที่แท้จริง การทำบัญชีผิดพลาด หรือไม่ทำบัญชีเลย จะทำให้เห็นภาพรวมกระแสเงินเข้า-ออกของบริษัทไม่ชัดเจร และอาจเกิดความขัดแย้งกันภายในองค์กรระหว่างหุ้นส่วนได้
จากปัญหาของ SMEs ดังกล่าว การวางแผนในการบริหารด้านบัญชีและภาษีเป็นสิ่งสำคัญ
งานบัญชีและภาษีที่ธุรกิจ SMEs จำเป็นต้องทำมีดังนี้
1. การจดทะเบียนธุรกิจไม่ว่าจะอยุ่ในรูปบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีผลต่อรูปแบบการเสียภาษี
2. การรวบรวมเอกสารที่ใช้ในการบันทึกรายการบัญชีให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จรับเงิน ใบส่งสินค้า ใบรับสินค้า ใบแจ้งหนี้ เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่จะใช้ในการบันทึกรายการบัญชี
3. ในกรณีที่กิจการจดทะเบียนในรูปนิติบุคคล ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี เจ้าของธุรกิจควรจัดทำบัญชีเดียว หรือการจัดทำบัญชีเพียงชุดเดียวเพื่อให้ผู้ประกอบการรู้สถานะของกิจการและสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างถูกต้อง จัดทำบัญชีและงบการเงินให้สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของกิจการ
4 ภาระภาษีของธุรกิจSMEs ได้แก่
4.1 ผู้ประกอบการSMEs ที่เป็นบุคคลธรรมดา
รายได้จากการประกอบกิจการถิอเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาหรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร และเมื่อหักค่าลดหย่อนแล้วนำไปคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า
4.2 ผู้ประกอบการSMEs ที่เป็นนิติบุคคล
เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ โดยกิจการSMEs ที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000บาท ได้รับยกเว้นภาษี และสามารถหักค่าใช้จ่าย ค่าจดทะเบียนตั้งบริษัท ค่าสอบบัญชี ค่าทำบัญชีได้เป็น 2 เท่า
งานบัญชีเป็นสิ่งที่จำเป็นกับการทำธุรกิจ SMEs หากธุรกิจของคุณยังไม่เคยทำบัญชีอย่างมีระบบ หรือใช้โปรแกรมบัญชีเพื่อจัดการงานบัญชีได้สะดวกขึ้น สมัครใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี คลิก peakaccount.com หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมทาง inbox ของ Facebook PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์