Amazon คืออะไร
เชื่อว่าเพื่อนๆนักธุรกิจทุกท่านนั้นรู้จัก Amazon ตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเริ่มจากการเป็นเพียงเวปไซด์ขายหนังสือออนไลน์ ซึ่งต่อมา ได้มีการขยายธุรกิจสู่สินค้าอื่นได้แก่ DVD, CD, ซอฟต์แวร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เสื้อผ้า, เฟอร์นิเจอร์, ของเล่น ฯลฯ นอกเหนือจากอีคอมเมิร์ซ Amazon ยังเป็นผู้บุกเบิก Kindle ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง ซึ่งเป็นดิจิทัลคอนเทนต์ที่ดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ต
เชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะเคยซื้อของผ่าน Amazon มาบ้าง แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่า Amazon ยังเป็นผู้บุกเบิก และเป็นผู้นำในการให้บริการ Cloud Computing ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีนั้น Amazon ได้เริ่มที่จะนำระบบ Cloud Computing มาใช้จัดการภายในองกรค์ตัวเอง เริ่มต้นตั้งแต่ Cloud Accounting, ระบบจัดการคลังสินค้า, วางระบบการขนส่ง ฯลฯ จนต่อมาเริ่มมีการเก็บข้อมูลการซื้อของลูกค้ามากขึ้นพัฒนาการไปสู่ ระบบแนะนำสินค้า (Recommendation Engine) เพื่อที่จะแนะนำสินค้าให้กับลูกค้า โดยประมวลจากประวัติการซื้อสินค้าของลูกค้าผู้นั้น เมื่อเปรียบเทียบกับลูกค้าคนอื่นๆ ซึ่ง Recommendation Engine ของ Amazon ในยุคต่อมาได้ถูกบัญญัติรวมเป็น Analytics และหรือ Big Data ซึ่งเป็นเทรนด์ยอดนิยมของธุรกิจไอทีในปัจจุบัน ซึ่งระบบการใช้ข้อมูลของ Amazon นั้นเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้กับ PEAK ของเราในการที่จะนำระบบ Cloud Accounting เข้ามาพัฒนางานหลังบ้านของ SME ไทยให้ไปสู่ความสำเร็จในอีกขั้นให้จงได้ แต่แน่นอนว่าระดับ Amazon แล้วนั้นการใช้ข้อมูลคงไม่จบแต่เพียงเท่านี้ แต่ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลจนนำไปสู่ระบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน นั่นก็คือ Anticipatory Shipping
การส่งสินค้าล่วงหน้าด้วยการคาดการณ์ (Anticipatory Shipping) คืออะไร
เทคนิคของ Amazon คือการคาดการณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ เพื่อที่จะส่งสินค้าไปเก็บไว้ก่อนในคลังสินค้าที่ใกล้เคียงกับลูกค้ามากที่สุด และเมื่อลูกค้าได้ทำการสั่งซื้อสินค้า จึงจะถูกส่งไปยังบ้านของลูกค้าจากคลังสินค้าที่อยู่ใกล้บ้าน Anticipatory Shipping ของ Amazon ได้ถูกจด สิทธิบัตรเพื่อป้องกันการถูกลอกเลียนแบบโดยคู่แข่ง และจะประหยัดเวลาในการนำส่งสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งแทนที่จะต้องส่งสินค้ามาจากคลังสินค้าส่วนกลาง ที่ต้องใช้เวลาหลายวัน สามารถถูกนำส่งจากคลังสินค้าใกล้บ้านได้เลย
ตัวอย่าง Anticipatory Shipping
เนื่องจาก Amazon มีข้อมูลการซื้อของลูกค้าจำนวนมาก สมมติว่าฐานข้อมูลวิเคราะห์ นางสาว A ซึ่งชอบซื้อชุดออกกำลังกายออกใหม่จาก Gymshark ซึ่งเป็นชุดออกกำลังกายสำหรับผู้หญิงสายออกกำลังกายหนักโดยเฉพาะ ที่จากประวัติการซื้อสินค้าก่อนหน้า สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า นางสาว A เป็นนักออกกำลังกายตัวยง และทุกครั้งที่มีการเปิดตัวคอลเลคชั่นใหม่ๆ เธอได้ทำการสั่งซื้อภายในสัปดาห์แรกของการเปิดตัวทุกครั้ง Amazon จะสามารถใช้ Anticipatory Shipping ในการส่งชุดออกกำลังกายที่ออกใหม่ล่าสุด ไปยังคลังสินค้าที่อยู่ใกล้บ้านของเธอ หลังจากที่ได้ทำการคำนวณอย่างแม่นยำแล้วว่า ลูกค้าผู้นี้จะต้องสั่งซื้อชุดออกกำลังกายนี้ภายในหนึ่งสัปดาห์อย่างแน่นอน ก็จะสามารถนำส่งให้กับเธอได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า
SME ไทยจะเริ่มต้นจัดการ Big data ได้อย่างไร
เราจะเห็นว่าการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลของ Amazon นั้นดูยิ่งใหญ่และซับซ้อนมากเกินกว่าความเข้าใจได้ แต่จริงๆแล้วนั้นการจัดการข้อมูลเริ่มต้นได้ง่ายๆ ตั้งแต่ร้านโชว์ห่วยเล็กๆ ไปจนถึงบริษัทระดับมหาชนเลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่น : คุณป้าเจ้าของร้านขายของชำหน้าโรงเรียนปฐม แนะนำไอติมออกใหม่ให้กับลูกค้าบางคน
ตัวอย่างที่ 2 : แม่ค้าออนไลน์สามารถแนะนำลิปสติกสีออกใหม่ให้กับลูกค้าที่ชอบซื้อเครื่องสำอางใหม่ๆเป็นประจำ
เชื่อว่าเพื่อนๆนักธุรกิจของ PEAK น่าจะอ๋อกันแล้ว ใช่ครับนี่คือการใช้ดาต้า เพียงแต่ดาต้าถูกใช้โดยเก็บข้อมูลไว้ในความจำของเจ้าของร้านนั่นเอง ซึ่งผู้ประกอบการทุกท่านน่าจะเคยมีประสบการณ์แนะนำสินค้าให้ลูกค้ามาบ้าง ซึ่งแน่นอนถ้าเรารู้จักลูกค้าท่านนั้นดีพอก็จะสามารถแนะนำสิ่งที่เค้าอยากซื้อได้ นำไปสู่การปิดการขายอีกหนึ่งออเดอร์อย่างง่ายดาย
แค่ใช้เพียงดาต้าเล็กๆแบบนี้ยังสามารถที่จะเพิ่มปริมาณการซื้อที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ดังนั้นทาง PEAK Academy อยากให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ไทยให้ความสำคัญกับการ จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ เพื่อที่จะช่วยให้การใช้ข้อมูลเหล่านี้มาสเกลยอดทางธุรกิจได้อย่างมั่นคงและก้าวกระโดด
ระบบ PEAK Cloud Accounting ดีกับการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า อย่างไร
จัดเก็บได้ทั้งข้อมูลลูกค้า และเอกสารต่างๆได้ในทีเดียว
เชื่อว่าผู้ประกอบการทุกท่านเคยประสบปัญหาเอกสารหาย หรือหาเอกสารสำคัญไม่เจอในช่วงเวลาที่ต้องการเนื่องจากมีเอกสารเยอะมากๆ สำนักงาน หรือโรงงานเจอน้ำท่วมเอกสารหาย หรือแม้แต่ต้องการเอกสารเร่งด่วนระหว่างการท่องเที่ยว ลูกค้าของ PEAK Account ทุกบัญชีจะได้รับพื้นที่จัดเก็บเอกสารผ่านระบบคลาวด์แบบไม่จำกัด ทั้งเวลา และปริมาณ สามารถเรียกดูเอกสารต่างๆที่เก็บไว้ได้จากทุกที่ ทุกเวลาให้ผู้ประกอบการทุกท่านมั่นใจเหมือนมีเอกสารทุกอย่างอยู่กับตัวตลอดเวลา
รวบรวมข้อมูลแสดงในรูปของ Dashboard ให้เลยไม่ต้องเก่งเรื่องตัวเลขก็สามารถทำงานได้
ผู้ประกอบการหลายๆท่านนั้นขายเก่ง บริหารงานได้อย่างยอดเยี่ยมแต่ในบางครั้งก็ไม่ชอบเรื่องตัวเลข หรือจำให้นำข้อมูลตัวเลขมากมายมานั่งจัดเรียง วิเคราะห์ก็เสียเวลามากเกินไป ไม่มีเวลาจะไปดูแลธุรกิจหลัก ทาง PEAK Account เรานำตัวเลขทางบัญชีของลูกค้า มาจัดทำ Dashboard วิเคราะห์ข้อมูลให้ทำให้เจ้าของธุรกิจ สามารถเรียกดูสถาณะการเงินได้ทันที ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์ หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
ข้อมูลปลอดภัยระดับโลก
สำรองข้อมูลอัตโนมัติให้ทุก 5 นาที ใช้เซิฟเวอร์จากผู้ให้บริการระดับโลก ให้บริการโดย Microsoft Azure ให้เจ้าของธุรกิจทุกท่านสามารถวางใจว่าข้อมูลจะปลอดภัยจากทั้งการสูญหาย และการโดนโจรกรรม
รองรับการเชื่อมต่อ API ที่ใช้งานได้จริง
เรามีบริการนักบัญชีเข้าไปช่วยทำความเข้าใจระบบการทำงาน และวางระบบการเชื่อมต่อ API ที่ถูกต้องตามหลักบัญชีในอนาคตลูกค้าเชื่อมโยงระบบรองรับการเป็น Cloud Computing ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
หวังว่าบทความของ PEAK Academy ของเราจะเป็นประโยชน์สำหรับเพื่อนๆนักธุรกิจได้นำไปใช้ประโยชน์กัน ทางเรา PEAK Academy จะนำเสนอบทความที่มีประโยชน์อื่นๆ ทั้งในเรื่องของบัญชีและธุรกิจให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ได้อ่านกันเรื่อยๆ
ถ้านักธุรกิจ SME ท่านใดกำลังมองหาโปรแกรมบัญชีดีๆ ที่ใช้ลงบัญชีได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมไปถึงจัดทำเอกสารทางธุรกิจได้อย่างมืออาชีพ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นโปรแกรมชั้นนำที่ครอบคลุมการทำบัญชีมากที่สุดในประเทศไทย ช่วยให้เพื่อนๆนักธุรกิจ SME ทุกท่านมีเวลาไปโฟกัสกับการทำธุรกิจมากขึ้น และสามารถตรวจสอบบัญชีได้ตลอดเวลา ทั้งผ่านคอมพิวเตอร์ และผ่าน Application LINE ในมือถือ โดยไม่ต้องลงโปรแกรม
ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน https://secure.peakengine.com/Home/Register
ดูวีดีโอแนะนำการใช้งานได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=9puaO6s7I8k