จักรพงษ์ ทรงกำพลพันธุ์

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

11 ก.ย. 2024

จักรพงษ์

15 min

ขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ใครที่กำลังจะขายที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้องสงสัยแน่ๆ ว่าเราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวข้องในทางภาษีบ้าง เพื่อเตรียมตัวและเตรียมเงินก่อนตกลงทำสัญญาซื้อขายและวางแผนทางการเงิน เช่น เราจะให้ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดค่าธรรมการโอน หรือภาษีอะไรบ้าง เป็นต้น วันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักภาษีและวิธีคำนวณภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์กันครับ ทำความรู้จักก่อนว่า อสังหาริมทรัพย์คืออะไร ? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติ กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินกับทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย”  จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปให้ง่ายๆ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสิ่งอื่นใดที่อยู่ติดกับที่ดินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทรัพย์ตามธรรมชาติที่ประกอบเป็นอันเดียวกับดิน เช่น แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ดินนั้นก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ในทางภาษี เราต้องทราบว่าได้อสังหาริมทรัพย์มาได้อย่างไร? กรมสรรพากร แบ่งการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 2 กรณี คือ1. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งค้าหรือหากำไรเช่น เราซื้อที่ดินมาเพื่อเก็งกำไรและขาย หรือซื้อที่ดินเพื่อจัดสรร ปลูกสร้างอาคาร คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารโรงงานเพื่อจำหน่าย เป็นต้น2. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร แบ่งออกเป็น2.1 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา(ได้มาฟรี มีคนยกให้)2.2 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร เช่น ซื้อที่ดินมาเพื่อทำการเกษตรกรรม ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างมาเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ภาระภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง? ไม่ว่าผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จะมี 4 ภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ได้แก่  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย(Withholding Tax :WHT)2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ(Specific Business Tax :SBT)3. อากรแสตมป์(Stamp Duty) 4. ค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับฐานภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้คำนวณจะมี 2 ฐาน คือ ราคาซื้อขายจริง และราคาประเมินทุนทรัพย์จากกรมธนารักษ์ที่จะมีประเมินใหม่ทุกๆ 4 ปี สำหรับราคาประเมินที่ดินรอบปัจจุบันใช้สำหรับรอบบัญชีปี 2566 – 2569 (เริ่ม 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2569) เบื้องต้นสามารถตรวจสอบราคาประเมินด้วยตนเองได้ที่ 1. เว็บไซต์กรมธนารักษ์ . แอปพลิเคชันของกรมธนารักษ์  TRD Property Valuation3. Call Center กรมธนารักษ์ โทร 0-2270-0360-63 และ 0-2059-4999 PEAK ขอเล่า : การคำนวณภาษีเงินได้อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา อย่างแรกเราต้องเข้าใจว่า “บุคคลธรรมดา” ในทางภาษีไม่ได้หมายถึงเพียงแค่บุคคลที่มีชีวิตจริง แต่รวมถึงบุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลด้วย  สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดามีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการคำนวณจะผันแปรไปตามวิธีการได้มาของอสังหาริมทรัพย์นั้นว่าได้รับมาจากมรดก/เสน่หา ได้มาเพื่อจะนำมาค้าหากำไรหรือได้มาเพื่อใช้ไม่ได้มุ่งค้าหากำไร ถ้าได้มาเพื่อค้าหากำไรจะไม่สามารถเลือกใช้สิทธิ์ “ภาษีสุดท้าย Final Tax” ได้ ทำให้เมื่อบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี (นับวันชนวัน) นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปี (นับวันชนวัน) ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% กรณีผู้ขายมิได้มุ่งค้าหากำไร เช่น บุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเกินกว่า 1 ปี ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก เมื่อโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะได้รับใบสีฟ้า เรียกว่า “ใบเสร็จรับเงินในราชการกรมที่ดิน” จะแสดงรายละเอียดค่าภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นจะมีรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งใครที่เลือกนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปคำนวณภาษีสิ้นปีอีกครั้ง สามารถใช้ใบเสร็จดังกล่าวเป็นหลักฐานเพื่อใช้เครดิตภาษีได้ แต่คำแนะนำเบื้องต้น คือ ถ้าผู้ขายมีรายได้จากทางอื่นๆ ด้วย การนำรายได้จากการขายอสังริมทรัพย์มารวมด้วยมักจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น จึงไม่ควรเลือกนำมารวมกับภาษีสิ้นปีครับ วิธีการความคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเงินได้สุทธิเฉลี่ยต่อปี ขั้นตอนที่ 2 นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษีเงินได้(ขั้นที่ 1) 1 – 300,000 บาท 5% (ขั้นที่ 2) 300,001 – 500,000 บาท 10%(ขั้นที่ 3) 500,001 – 750,000 บาท 15%(ขั้นที่ 4) 750,001 – 1,000,000 บาท 20% (ขั้นที่ 5) 1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% (ขั้นที่ 6) 2,000,001 – 4,000,000 บาท 30% (ขั้นที่ 7) 4,000,001 บาท ขึ้นไป 40% ขั้นตอนที่ 3 คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา= ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี x จำนวนปีถือครอง ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา นาย ก ได้รับที่ดินจากมรดก เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์โดยการมุ่งการค้าหรือหากำไร นาย ข ซื้อที่ดินเพื่อค้าขาย เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท การคำนวณภาษีเงินได้ภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคล สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคลมีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียในอัตรา 1%  เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้นิติบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภ.ง.ด.50 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร ซึ่งปกตินิติบุคคลจะเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร เพราะกรมสรรพากรกำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่นิติบุคคลมีไว้ในการประกอบกิจการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% ซึ่งในทางปฏิบัติค่อนข้างยากที่นิติบุคคลจะเข้ากรณีที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เพราะปกติจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาก่อนอย่างที่อธิบายข้างต้น ทั้งนี้ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก ตัวอย่าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ค จำกัด ซื้อที่ดินมาเมื่อปี พ.ศ. 2562 นำขายไป 3,000,000 บาท โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมใน พ.ศ. 2567 และราคาประเมินที่ 2,000,000 บาท อย่างไรก็ตาม ใครที่กังวลว่าการคำนวณดูยาก ซับซ้อน สบายใจได้เลยครับ เพราะภาษีทั้งหมดข้างต้นเมื่อเรามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะเป็นคนคำนวณแทนเราเองครับ แต่ถ้าเราเข้าใจการคำนวณก็สามารถคำนวณตัวเลขเบื้องต้นเพื่อประมาณค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ข่าวดีคือไม่ว่าผู้ขายจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็สามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน เพียงแค่กรอกข้อมูลที่จำเป็น ระบบก็จะคำนวณตัวเลขทั้งหมดให้อัตโนมัติครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณยังต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

30 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

5 min

ใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์แทนลายเซ็นจริงหรือไม่ประทับตรานิติบุคคลบนใบ 50 ทวิได้ไหม? 

การจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน หรือการจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรก็ตามที่ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเอาไว้ หนึ่งในหน้าที่ของผู้จ่ายเงินคือต้องมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า “ใบ 50 ทวิ” กิจการบางแห่งมีการออกเอกสารหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือนเยอะมาก การปริ้นเอกสารและเซ็นลายมือจริงทุกใบ หรือแม้แต่การประทับตรานิติบุคคลทุกใบ ก็เป็นภาระเวลาในการจัดทำไม่น้อย  ถ้าตัดขั้นตอนบางอย่างทำให้การจัดทำเอกสารหัก ณ ที่จ่ายเร็วขึ้น ก็คงจะช่วยผู้ประกอบการหรือนักบัญชีได้มากโขเลยทีเดียว ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามยอดฮิตเพื่อลดเวลาในการจัดทำเอกสารดังกล่าวกันครับ 1. ใช้ลายเซ็นที่สแกนไว้ในคอมพิวเตอร์บนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ50ทวิ) ได้ไหม? ได้ครับ นอกจากการเซ็นด้วยลายมือจริงแล้ว เรายังสามารถใช้วิธีการอื่นแทนได้ เช่น ใช้การประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้ อ้างอิงตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) 2. ไม่ประทับตราประทับนิติบุคคลบนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ50ทวิ) ได้ไหม? ได้ครับ เพราะ การประทับตรานิติบุคคลไม่ได้เป็นข้อบังคับให้ทำ โดยไม่สนใจว่านิติบุคคลจะมีตราประทับอยู่แล้วหรือไม่ ขอเพียงแค่มีข้อความอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) ครบถ้วนและถูกต้องก็พอครับ แต่ถ้าเรามีตราประทับนิติบุคคลอยู่แล้ว ถ้าเลือกประทับตราไปด้วยทุกครั้งก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจของผู้รับว่าเอกสารนี้ออกจากเราจริงๆ และถือเป็นการควบคุมภายในที่ดีของกิจการเราด้วยครับ ย้ำอีกครั้ง การจัดทำหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ไม่จำเป็นต้องเซ็นลายมือจริง หรือไม่ต้องประทับตรานิติบุคคลก็ได้ แต่ถ้าอยากทำเพื่อการควบคุมภายในที่ดีจะเลือกทำก็ได้ครับ สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาต้องออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวนมาก โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยกิจการสร้างหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายในรูปแบบที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสวยงามให้อัตโนมัติ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปีถึงจะทำลายทิ้งได้

การจัดการเอกสารบัญชีและภาษีอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ การเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินและภาษีไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่สำคัญด้วย เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปี สิ่งที่นักบัญชีหรือผู้ประกอบการต้องสงสัยเป็นแน่ว่าเหล่าเอกสารบัญชีต่างๆ ที่ได้รับมา หรือที่จัดทำระหว่างปี พอเราปิดงบการเงินเสร็จแล้ว จะทิ้งได้เลยไหม? หรือต้องเก็บต่อไปอีกกี่ปี? จะได้ไม่มีปัญหากับสรรพากร หน่วยงานอื่นๆ ในภายหลัง วันนี้ผมจะพาทุกคนมาดูกันว่าในประเทศเรามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารไว้อย่างไรครับ ก่อนที่เราจะไปอ้างอิงตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผมอยากขออธิบายเป็นภาษาที่ง่ายๆ คือ เราต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่บางหน่วยงานก็มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาในการจัดเก็บเอกสารได้ ทำให้เรามีหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสารที่นานขึ้น ตัวกฎหมายที่ให้อำนาจนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันต่อครับ เริ่มแรกจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 14 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ ตัวถัดมาคือการเก็บเอกสารภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87/3 ที่กำหนดเอกสาร 5 ประเภท ได้แก่  1.ต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ 2.สำเนาใบกำกับภาษีขาย 3.รายงานภาษีซื้อ 4.รายงานภาษีขาย5.รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี แต่อธิบดีกรมสรรพากรสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ PEAK ขอเล่า : และตัวสุดท้าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30-31 จะถูกนำมาใช้เมื่อกฎหมายใดๆ ให้สิทธิเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรียกตรวจเอกสาร แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ จะให้มีอายุความสูงถึง 10 ปี เท่ากับว่าผู้ประกอบการมีสิทธิโดนเรียกตรวจเอกสารย้อนหลังได้สูงถึง 10 ปีเลยครับ ตัวอย่างเช่น อายุความการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากร หรือกรณีที่บุคคลธรรมดามีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานจึงออกหมายเรียกแต่ก็ไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากรเช่นกัน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ภายในอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 สรุปแล้ว ทั้งกฎหมายบัญชีและภาษีพูดตรงกันคือให้ผู้ประกอบการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีและภาษีไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ก็สามารถขยายระยะเวลาเป็น 7 ปีได้ แต่ถ้ากฎหมายใดไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บเอกสารหรืออายุความการประเมินภาษีไว้ ก็ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดอายุความสูงถึง 10 ปี ดังนั้นการเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีแบบระมัดระวังที่สุดก็ควรจัดเก็บที่ 10 ปีครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดเก็บเอกสาร ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

22 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

วงจรเงินสด (Cash Cycle) สิ่งกำหนดโชคชะตา SMEs

สิ่งหนึ่งที่เรารู้มาจนถึงตอนนี้ว่าแม้ธุรกิจจะสร้างกำไรได้มากมายขนาดไหน แต่ถ้าบริหารเงินสดไม่ได้ดี ไม่เข้าใจการไหลเวียนของเงิน อาจทำให้ธุรกิจของเราสะดุด เพราะไม่มีเงินมาซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ได้ ใน Ep ก่อนหน้านี้ได้สอนให้เราได้รู้แล้วว่ากิจการเรามีปัญหาเรื่องเงินสดไหม ไม่ว่าจะเป็นการเช็คเงินคงเหลือ การดูเงินสดเข้าออกในแต่ละกิจกรรมของงบกระแสเงินสด รวมถึงการคำนวณระยะเวลาคงเหลือก่อนที่กิจการจะไม่มีเงินใช้ แต่คำตอบที่ยังไม่ได้หา คือ แล้วปัญหาเงินสดที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร? เรามีสิ่งหนึ่งที่จะนำมาช่วยไขคำตอบนี้ได้ คือ การวิเคราะห์ ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ วงจรเงินสด (Cash Cycle) คืออะไร? ในทางทฤษฎีเรามีตัววัดหนึ่งที่เรียกกันว่า ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ ซึ่งค่าที่ได้จะบอกจำนวนวันที่กิจการจะได้รับเงินสดจากการดำเนินงาน เราเรียกมันว่า ‘วงจร’ เพราะสูตรจะคำนวณระยะเวลาตั้งแต่ซื้อสินค้า ระยะเวลาที่สินค้าที่อยู่ในคลัง จนถึงระยะเวลาที่จะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เมื่อสินค้าถูกขายออกไป สรุปอีกครั้งคือ วงจรเงินสด จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะเวลา ได้แก่  1. การซื้อสินค้าและจ่ายเงินให้เจ้าหนี้  2. การเก็บสินค้าในสต๊อกไว้นานแค่ไหน  3. เมื่อขายสินค้าแล้วเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ภายในกี่วัน ซึ่งถ้าเราคำนวณทั้ง 3 เรื่องนี้ได้ ก็จะรู้ทันทีว่าปัญหาเงินสดไปอยู่ที่ส่วนไหนของกิจการ แต่ก่อนที่จะคำนวณขึ้นเป็นวงจรเงินสดได้นั้น เราต้องแยกคำนวณแต่ละส่วนก่อน จึงค่อยนำมาบวกหรือลบกัน เรามาเริ่มทีละส่วนกันได้เลยครับ 3 วงจรเงินสด (Cash Cycle) ที่ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์ วงจรที่ 1 : วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรสินค้าหรือระยะขายสินค้า คือ ตั้งแต่วันที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก จนเอาออกจากสต๊อกเพราะขายได้ ใช้เวลากี่วัน ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะขายของแต่ละชิ้นได้ ความเสี่ยงคือ เงินจม หรือสินค้าอาจเสียหรือล้าสมัยไปแล้ว ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ทุกๆครั้งที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก ไม่กี่วันก็มีคนซื้อ อาจเกิดจากเป็นสินค้าขายดี หรือกิจการบริหารสินค้าให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่สต๊อกของมากจนเกินไป ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะสินค้าเข้ามาและขายออกได้เร็ว โดยในสูตรจะใช้ ระยะขายสินค้า = ยอดสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นงวด ÷ ต้นทุนสินค้าที่ขาย x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 2 : วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้หรือระยะเก็บหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ขายสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะเก็บเงินได้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ซึ่งไม่ควรเกินกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้า แต่ถ้าเกินแปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินเกินกำหนดชำระ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการเก็บเงินจากลูกหนี้ ถ้าค่าต่ำกว่าเครดิตเทอม แปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินก่อนกำหนดชำระ ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี และจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าจำนวนวันต่ำกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้าโดยในสูตรจะใช้ ระยะเก็บหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 3 : วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้หรือระยะจ่ายหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ซึ่งอาจหมายถึงการได้รับเครดิตเทอมที่นาน หรือเราตั้งใจจ่ายหนี้ช้ากว่ากำหนดก็ได้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการจ่ายหนี้เร็ว ซึ่งอาจหมายถึงกิจการมีความน่าเชื่อถือน้อยจึงได้รับเครดิตเทอมน้อย หรืออาจเพราะของที่เราซื้อมักจะซื้อขายเป็นเงินสดมากกว่าการให้เครดิตเทอม ดังนั้น จำนวนวันยิ่งมาก ยิ่งดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ค่าควรมากเพราะเราได้เครดิตเทอมที่นาน ไม่ใช่จากการที่จ่ายเกินกำหนดชำระ เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจพังลงได้ โดยในสูตรจะใช้ ระยะจ่ายหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) ดังนั้น เทคนิคบริหารวงจรกระแสเงินสดให้ธุรกิจคล่องตัว คือ1.ขายสินค้าได้เร็ว2.เก็บเงินได้เร็ว 3.จ่ายหนี้ให้ช้า โดยนำจำนวนวงจรย่อยทั้ง 3 วงจรมาบวกลบกันตามสูตร วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาชำระหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า เงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือเยอะ ซึ่งเกิดความเสี่ยงที่กิจการจะไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอในการชำระหนี้ได้ทัน หรือไม่มีเงินมาซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายได้ ถ้า ‘จำนวนวันมาก’ แปลว่าเราสามารถบริหารจัดการเปลี่ยนลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือได้ดี และมีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอจะนำไปชำระหนี้ และซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายต่อได้ ดังนั้น กิจการที่มีสภาพคล่องที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เมื่อคำนวณวงจรเงินสด (Cash Cycle) มักได้จะค่าจำนวนวันติดลบ  การคำนวณวงจรเงินสด จะทำให้เรารู้ว่าภาพรวมการหมุนเวียนของเงินสดว่ามีปัญหาไหม ซึ่งถ้าค่าที่คำนวณเป็นบวก แสดงว่ากิจการกำลังมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานเมื่อรู้ว่ามีเงินสดมีปัญหาแล้ว เราสามารถเข้าไปค้นหาต้นตอที่วงจรย่อยทั้ง 3 วงจรต่อได้ และลองดูว่าอะไรที่ทำให้แต่ละวงย่อยมีปัญหา เช่น ลูกหนี้จ่ายเกินกำหนดชำระเสมอ หรือสินค้าส่วนใหญ่ที่สต๊อกไว้ขายไม่ค่อยดี เป็นต้น สรุปอีกครั้ง คือ วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) ตอนนี้เราทราบกันแล้วทั้งวิธีดูว่าเงินสดมีปัญหาหรือไม่ และปัญหานั้นเกิดจากอะไร คำถามถัดมาคือ เงินสดต้องมีจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเพียงและปลอดภัยในการทำธุรกิจ? ผมเตรียมวิธีคำนวณให้ง่ายๆ ไว้ให้ทุกท่านแล้ว แล้วเจอกันใน Ep หน้าครับ! โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 ก.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial Accounting Tax Accounting วัตถุประสงค์ บัญชีการเงิน บัญชีภาษี เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษี มาตรฐาน/กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร  ความรู้ที่ใช้ บัญชีตามมาตรฐาน กฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

วิธีเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO 

การประกอบธุรกิจ มักมีการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือบริการกับคู่ค้าหลายราย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้า ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ VATINFO ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้าได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ “VATINFO” ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำไมร้านค้าถึงคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)? กิจการหรือร้านค้าคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ร้านค้าที่มียอดขายต่อปี เกินกว่า 1,800,000 บาท หรือ ประเภทธุรกิจที่ระบุไว้ในกฎหมาย ว่าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปัจจุบันอยู่ที่ 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีข้อดีหลายประการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ส่งผลดีกับธุรกิจอย่างไร VATINFO คืออะไร VATINFO หรือ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยกรมสรรพากรVATINFO ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในประเทศไทยได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาติดต่อกรมสรรพากรโดยตรง ประโยชน์ของ VATINFO ขั้นตอนการเช็กรายชื่อกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO ระบบจะแสดงข้อมูลกิจการชื่อ ที่อยู่ วันที่จดทะเบียนVAT ของสำนักงาน และสาขา (ถ้ามี)ในกรณีที่กิจการที่ค้นหาไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจด VAT ระบบจะขึ้นคำว่า “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ท่านค้นหาไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรุณาตรวจสอบหรือทำรายการใหม่” ประโยชน์ที่ได้จากการเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับเหตุผลที่คนมักอยากรู้ว่ากิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุผลทางการค้าเพื่อตรวจสอบความมีตัวตนและดูว่าคนที่เราทำธุรกรรมด้วยสามารถออกใบกำกับภาษีให้เราได้ ขอสรุปสั้นเป็น 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ 1 ทำให้มั่นใจว่าได้รับใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ขายเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกับกรมสรรพากร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใบกำกับภาษีเหล่านี้สามารถนำไปใช้หักภาษีซื้อหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 2 เป็นการยืนยันว่ากิจการมีตัวตนอยู่จริง การซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของธุรกรรม และช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกลวง ทำให้บางธุรกิจจะค้าขายกับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่านั้น 3 สามารถตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องในการออกใบกำกับภาษีได้ ข้อมูลการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มักจะรวมถึงชื่อบริษัท ที่อยู่ และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องสำหรับการออกใบกำกับภาษีได้ จบไปแล้วกับวิธีเช็กง่ายๆ ว่ากิจการที่เราจะค้าขายด้วยจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT หรือไม่ ผ่านระบบ “VATINFO” ของกรมสรรพากรนอกจากนี้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ยังเชื่อมต่อข้อมูลกิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มให้โดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่สร้างรายชื่อผู้ติดต่อไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย เพียงแค่กรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก ระบบก็จะขึ้นรายชื่อกิจการ และที่อยู่ของกิจการนั้นให้อัตโนมัติ ช่วยลดงานและเวลาของนักบัญชีได้อย่างมาก PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

นักบัญชีเฮ! สรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบภาษีออนไลน์จนถึงปี 2570

รู้หรือไม่ว่าการยื่นแบบภาษีทั้งหลายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต(ออนไลน์) ที่ได้สิทธิขยายเวลาเพิ่มเติมอีก 8 วัน จากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีนั้น มีวันหมดอายุ แปลว่าถ้าสรรพากรไม่ได้ออกกฎหมายฉบับใหม่มาต่ออายุการขยายเวลา เราก็จะไม่สามารถยืดระยะเวลาออกไปอีก 8 วันได้เลย ถ้ายืดเวลายื่นแบบไม่ได้ เท่ากับนักบัญชีต้องรีบทำบัญชีและภาษีให้เร็วขึ้นตามวันสิ้นสุดการยื่นแบบกระดาษเหมือนเดิมนั่นเอง การประกาศขยายเวลาการยื่นแบบภาษีทางอินเทอร์เน็ต แต่ๆ ข่าวดีมาแล้ว กรมสรรพากรได้ออกประกาศกระทรวงการคลังมาเพื่อขยายระยะเวลาสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี โดยมีผลตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จนถึง 31 มกราคม 2570 รวมเป็นระยะเวลาถึง 3 ปีเลยครับ เชื่อว่ามีบางคนที่อ่านมาถึงจุดนี้ โดยเฉพาะมือใหม่ที่กำลังหัดยื่นภาษีว่าสิทธิการยื่นแบบภาษีออกไปอีก 8 วันจากวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษี นับยังไง เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น ผมทำตารางสรุปมาให้แล้ว ตารางสรุปวันสิ้นสุดการยื่นแบบภาษี สิ่งที่ต้องทราบคือ กรณีที่บวกวันเพิ่มไปอีก 8 วันแล้วตกวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันสิ้นสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีออนไลน์จะขยับไปเป็นวันทำการถัดไปแทนครับ นักบัญชีที่เคยยื่นภาษีมาสักพักก็จะทราบดีว่า การยื่นแบบภาษีรอบแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นปกติ” แต่ถ้ามาตรวจพบทีหลังว่าทำแบบภาษีผิด เช่น มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีรายการมากเกินไป อาจต้องปรับปรุงแบบ ทำให้แบบที่ยื่นหลังครั้งแรก เราจะเรียกว่า “ยื่นเพิ่มเติม” โอเคถ้าเข้าใจแล้ว ล่ะยังไงต่อ? ผมตอบว่าก็ไม่มีอะไรครับ แต่ๆๆ ปัญหาจะเกิดทันทีถ้าการยื่นครั้งแรกเป็นการยื่นแบบกระดาษ และต่อมามีการปรับปรุงจึงยื่นเพิ่มเติมไปเป็นแบบออนไลน์ แบบนี้จะยังได้สิทธิเพิ่มอีก 8 วันหรือไม่? จะสังเกตว่าการวิธีที่ใช้ยื่นแบบไม่เหมือนกันนั้น ส่งผลต่อการที่เราจะได้สิทธิหรือไม่ได้สิทธิขยายระยะเวลายื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน ผมได้สรุปเป็นตารางเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น ดังนี้ครับ ตารางเปรียบเทียบการยื่นแบบกระดาษ vs ยื่นแบบออนไลน์ การขยายเวลาการยื่นแบบเพิ่มอีก 8 วัน เท่ากับว่านักบัญชีจะมีระยะเวลาทำบัญชีและตรวจสอบภาษีได้ละเอียดมากขึ้น แต่ทำไมขยายเวลาแล้ว นักบัญชีก็ยังทำจนถึงวันสุดท้ายอยู่ดี อันนี้ก็ลองสอบถามนักบัญชีดูเล่นๆ ก็ได้นะครับ🤣 สรุป ตอนนี้นักบัญชีคงโล่งใจไปมากแล้วใช่ไหมครับ เรายังได้รับสิทธิขยายอีก 8 วันเหมือนเดิม และยังไม่พอสิทธินี้มีผลบังคับไปจนถึงเดือนมกราคม 2570 พูดง่ายๆ ก็คือ อีก 3 ปี คุณคือผู้โชคดี ขอแสดงความยินดีด้วยคร๊าบบ แต่ที่สำคัญอย่าลืมว่าจะได้สิทธิต้องเป็นการยื่นแบบภาษีผ่านทางออนไลน์เท่านั้นนะครับ เอ้า ทำไมล่ะ! ก็เพราะสรรพากรต่ออายุกฎหมายนี้เพื่อจูงใจให้คนหันมายื่นแบบภาษีทางออนไลน์แทนแบบกระดาษครับ ถือได้ว่าได้ทั้งประหยัดเวลา ไม่เปลืองกระดาษ เหมือนรักษ์โลกร้อนไปในตัวเลยยย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK มีฟังก์ชั่น PEAK Tax ช่วยผู้ประกอบการและนักบัญชีจัดการภาษีให้เป็นเรื่องง๊าย ง่าย ช่วยทั้งทำแบบฟอร์มภาษี ปิดภาษีอัตโนมัติได้ทันที ช่วยประหยัดการทำภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

16 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

5 เรื่องต้องรู้! การกระทบยอดรายได้บัญชีและภาษี (ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50)

หนึ่งในเรื่องที่ผู้ประกอบการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะต้องโดนเวลาขอคืนภาษี คือ เจ้าหน้าที่สรรพากรจะขอรายงานหนึ่งที่เรียกว่า “รายงานกระทบยอดรายได้ทางบัญชีและภาษี” หรือที่นักบัญชีชอบเรียกกันว่า “กระทบยอด 30 vs 50” ซึ่งมีสมมติฐานว่ารายได้ที่บันทึกทางบัญชีควรต้องเท่ากับรายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) แต่หลายคนไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำด้วยเหรอ? ทำไมต้องขอ? แล้วต้องทำยังไง? ในบทความนี้ผมจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจว่าทำไมเราต้องกระทบยอดรายได้ไปจนถึงสาธิตการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าอยากรู้กันแล้วใช่ไหมล่ะครับ อ่านกันต่อได้เล้ยยยย⏩⏩⏩ 1. ทำไมต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ?  เหตุผลเบื้องหลังการกระทบยอดรายได้ ง่ายๆ คือ เพื่อตรวจสอบจำนวนรายได้ที่บันทึกบัญชี (ภ.ง.ด.50 หรือ งบการเงิน) กับ รายได้ที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ว่าตรงกัน และยื่นภาษีครบถ้วน PEAK ขอเล่า : จริงๆ ผู้ประกอบการควรต้องกระทบยอดรายได้ทุกเดือนอยู่แล้ว(แต่คนส่วนใหญ่มักจะทำเป็นรายปี!) เพื่อดูว่ารายได้บันทึกบัญชีในแต่ละเดือนได้นำส่งภาษีครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ทำ แล้วมาพบทีหลัง ก็จะโดนค่าปรับย้อนหลัง ซึ่งบอกเลยว่าค่าปรับภาษีมูลค่าเพิ่มแพงสุดๆในบรรดาทุกภาษี เช่น วันดีคืนดีโดนสรรพากรเรียกตรวจ พบว่ายื่นภาษีมูลค่าเพิ่มขาดไป 10,000 บาท เราจะต้องนำส่งภาษีที่ขาดและค่าปรับอีก 2 เท่า แปลว่าต้องจ่ายรวม 30,000 บาท (ภาษี 10,000 + ค่าปรับ 10,000*2เท่า) นอกจากนี้ยังมีเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนอีกด้วย เรียกว่าโดนปรับทีหนึ่ง อาจเตรียมปิดกิจการได้เลย อ๊ากกก น่ากลัวมากก 😱😱 2. กิจการที่ต้องกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ไม่ใช่ว่าทุกครั้งมีหน้าที่ต้องกระทบยอดรายได้ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 นะครับ เพราะภ.พ.30 นั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบที่จดภาษีมูลค่า (VAT) เท่านั้น – เน้นว่า ถ้าใครไม่ได้จด VAT ก็ไม่ต้องทำครับ – ดังนั้นกลุ่มที่ต้องกระทบยอดรายได้ หลักๆจะประกอบด้วย 1. บุคคลธรรมดา ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)2. นิติบุคคล ที่จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) 3. ข้อมูลที่ใช้กระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 ถ้าวันนี้เราเป็นผู้ประกอบการจด VAT รู้ตัวแล้วว่าทำไมต้องทำ คำถามถัดไป คือ ถ้าจะทำต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง? ผมได้สรุปเอกสารออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ครับ 4. วิธีกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 เมื่อเตรียมเอกสารที่ได้บอกครบถ้วน ต่อไปเราจะเริ่มมากระทบยอดรายได้กันครับ สูตร  คือ “ รายได้ทางบัญชี(ภ.ง.ด.50) ลบ รายได้ทางภาษีVAT(ภ.พ.30) = 0 ” หือออ แค่นี้เองเหรอ! ใช่ครับและตาไม่ฝาดแน่นอน ถ้าธุรกิจไม่ซับซ้อน เช่น ธุรกิจขายสินค้า เมื่อนำรายได้ทางบัญชีและทางภาษีมาลบกันแล้วมักจะไม่มีผลต่างครับ แปลว่าอาจยื่นภาษีได้ถูกต้อง (ผมใช่คำว่า “อาจ” แม้บางครั้งไม่มีผลต่าง แต่ก็มีกรณีที่มีรายได้แต่ไม่บันทึกบัญชีและยื่นภาษีด้วย) สำหรับธุรกิจที่เริ่มมีความซับซ้อนขึ้น เช่น ขายสินค้าแต่มีการเก็บมัดจำล่วงหน้า หรือธุรกิจให้บริการที่มีลูกหนี้การค้า วิธีกระทบยอดยังคงเป็นหลักการเดิม แต่จะเพิ่มรายการอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของผลต่างเข้ามาคำนวณด้วย หลักๆ ผมจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจขายสินค้า และธุรกิจให้บริการ ดังนี้ ธุรกิจขายสินค้า ธุรกิจขายสินค้าที่ไม่มีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า เมื่อนำรายได้ตามบัญชีหักรายได้ทางภาษีมักจะไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้ามีการรับเงินมัดจำล่วงหน้า จะต้องนำเงินมัดจำคงค้างปลายงวดและต้นงวดมาปรับด้วยตามรูปภาพ ธุรกิจให้บริการ ธุรกิจให้บริการการรับรู้รายได้ทางบัญชีและทางภาษีVAT มักจะเป็นคนละวันกัน ทำให้ต้องนำลูกหนี้การค้าปลายงวดและต้นงวดมากระทบยอดด้วย อีกทั้งถ้ามีการรับเงินมัดจำก็ต้องนำมากระทบยอดด้วยเช่นกัน ข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น คือ ยอดลูกหนี้การค้าปกติจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มไปด้วย ดังนั้นเมื่อนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอด อย่าลืมว่าต้องถอด VAT ออกจากลูกหนี้การค้าเสมอ ไม่งั้นจะเกิดผลต่างขึ้นได้ 5. สาเหตุผลต่างและวิธีแก้ไข บางครั้งชีวิตก็ไม่ได้ราบเรียบเสมอไป ถ้าเราใส่ตัวเลขไปครบถ้วนแล้ว แต่เกิดผลต่าง ไม่ได้แปลว่าจะเกิดความผิดพลาดเสมอไป จริงๆมีหลายเหตุผลมากที่ทำให้เกิดผลต่าง ดังนั้นก่อนที่เราจะไปแก้ไขปัญหา เรามาเข้าสิ่งที่อาจทำให้เกิดผลต่างจากการกระทบยอดรายได้กันครับ สาเหตุผลต่างที่ควรรู้ กรณีธุรกิจขายสินค้าวันที่รับรู้รายได้ทางบัญชีและภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นวันเดียวกัน คือ วันที่ส่งมอบสินค้า ทำให้ไม่เกิดผลต่าง แต่ถ้าเป็นธุรกิจบริการจะรับรู้รายได้ทางบัญชีเมื่อให้บริการเสร็จ แต่ภาษีจะรับรู้เมื่อได้รับชำระเงินแล้ว นี้จึงเป็นเหตุผลที่ธุรกิจบริการจะต้องนำลูกหนี้การค้ามากระทบยอดด้วย รายได้ที่บันทึกบัญชีไม่ได้จำเป็นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอ เช่น ธุรกิจขายเนื้อหมูสดและขายมีดหั่นหมู ตอนบันทึกบัญชีจะบันทึกรายได้ทั้งขายหมูและขายมีด แต่ตอนเสียภาษีมูลค่าจะเสียจากรายได้ขายมีดเท่านั้น เพราะการขายเนื้อหมูเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  รายการที่ใช้กระทบยอดผิด หรือไม่ครบ เช่น ธุรกิจขายสินค้า แต่ใช้วิธีกระทบยอดของธุรกิจให้บริการ หรือ ธุรกิจบริการใช้ยอดลูกหนี้ที่ยังไม่ได้ถอดVAT หรือ ไม่ได้นำเงินมัดจำ รวมถึงรายการอื่นๆ เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สิน รายได้ที่ไม่ต้องเสียVAT มากระทบ เป็นต้น ข้อนี้จะเป็นเรื่องที่กิจการทำผิดจริงๆ เช่น บันทึกบัญชีรายได้แต่ไม่ได้นำไปเสียVAT หรือนำรายได้ไปเสียVAT แต่ไม่ได้บันทึกบัญชีรายได้ เป็นต้น วิธีแก้ไขเมื่อเกิดผลต่าง ถ้าผลต่างเกิดจากการกระทบยอดผิดวิธี ไม่ครบถ้วน หรือเข้าใจผิด เมื่อรู้สาเหตุแล้วต้องรีบแก้ไขทันทีก่อนยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน แต่ส่วนใหญ่มักจะมาทำหลังจากยื่นแบบ ภ.พ.30 ไปแล้ว จึงต้องยื่นแก้ไขแบบภาษีเพิ่มเติมให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบต้องเสียทั้งค่าปรับและเงินเพิ่มครับ สรุป ท้ายนี้ผมหวังว่าผู้อ่านทุกคนจะเข้าใจและเห็นความสำคัญของการกระทบยอดรายได้ ภ.พ.30 vs ภ.ง.ด.50 มากขึ้นนะครับ ก่อนจากกันไป ผมได้สรุปเนื้อหาให้อีกครั้งเป็น checklist สั้นๆ ดังนี้ครับ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

9 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

ยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เสียภาษีอย่างไร?

คอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? … เมื่อรายได้ทั้งปีเกิน 6 หมื่นบาทต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี(ภ.ง.ด.94) และประจำปี(ภ.ง.ด.90) โดยไม่สนใจว่าจะมีภาษีที่ต้องจ่ายหรือไม่ ทั้งนี้ถ้ารายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรด้วย การแข่งขันอย่างดุเดือดบนโลกออนไลน์ทำให้เกิดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ๆเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอีกหนึ่งอาชีพที่เติบโตไปพร้อมกับกระแสเหล่านี้นี้ คือ คอนเทนต์ครีเอเตอร์(Content Creator) ไม่ว่าจะเป็น ยูทูปเบอร์ (Youtuber) ติ๊กต๊อกเกอร์ (TikToker) หรืออินฟลูเอนเซอร์(Influencer) ที่จะสร้างเนื้อหาที่มีสาระตลกขบขันเพื่อให้เกิดการกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม ยิ่งมีคนชื่นชอบมากเท่าไหร่ รายได้ก็จะเยอะขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า หรือส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาก็ตาม ทำให้อาชีพกลุ่มนี้เป็นที่จับตามองของกรมสรรพากรว่าเสียภาษีกันบ้างหรือเปล่า แล้วภาษีที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้มีอะไรบ้าง เรามีดูกันครับ รายได้ของยูทูปเบอร์ ติ๊กต๊อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์  มีอะไรบ้าง? เพราะเป็นอาชีพที่พึ่งได้รับความนิยมมาไม่นาน ในด้านภาษีจึงยังไม่มีข้อกำหนดภาษีสำหรับอาชีพเหล่านี้โดยเฉพาะ การคำนวณภาษีในปัจจุบันจึงต้องนำประเภทรายได้มาพิจารณาดูว่าแต่ละรายได้เป็นประเภทไหน ซึ่งรายได้แต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่นำมาหักได้ไม่เท่ากันครับ โดยรายได้หลักๆ จะมาจากค่ารีวิวสินค้า ส่วนแบ่งค่าโฆษณา สรุปเป็นตารางได้ดังนี้ครับ เมื่อแยกได้ว่ามีรายได้ประเภทอะไรบ้าง เราก็จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(Personal Income Tax: PIT) ต่อได้ ในขณะเดียวกันถ้ารายได้รวมเกิน 1.8 ล้านต่อปีก็จะมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax: VAT) อีก 7% จากรายได้เพิ่มเติม ทีนี้เรามาทำความเข้าใจในแต่ละภาษีกันครับ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเราทราบประเภทของรายได้ว่าเรามีประเภทไหนบ้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ตามตารางด้านบนแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการคำนวณ ดังนี้ครับ ขั้นตอนที่ 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิขั้นตอนที่ 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท แต่เนื่องจากการรีวิวสินค้าเป็นรายได้ประเภทที่ 2 ทำให้จะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้เพียง 1 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 1 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 8.4 แสนStep2 : เงินได้สุทธิ 8.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 83,000 บาทถ้าอยากทราบวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบละเอียดขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? PEAK ขอเล่า : กำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าปีใดเรามีรายได้ทั้งปีถึง 6 หมื่นบาท(กรณีสถานะสมรส ต้องรายได้ถึง 1.2 แสนบาท) ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งดังนี้ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) นอกจากภาษีเงินได้ เราต้องตรวจสอบอีกว่ารายได้รวมกันทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ เพราะถ้าปีใดเกินจะมีหน้าที่เพิ่มเติมคือ ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยต้องยื่นเสียภาษีเป็นรายเดือนตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แล้วเมื่อเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) หน้าที่ที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องทำเพิ่มเติมคือเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้จ้างเพิ่มเติม เช่น เดิมเราคิดค่ารีวิวสินค้าครั้ง 1,000 บาท แต่เมื่อเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)แล้ว เราต้องเรียเก็บค่ารีวิวสินค้าเป็น 1,070 บาท โดยเรายังได้รับรายได้เท่าเดิมคือ 1,000 บาท แต่อีก 70 บาท(1,000*7%) เราต้องนำเงินส่งกรมสรรพากร  ในเชิงธุรกิจข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินแพงขึ้นอีก 7% ถ้าเราไม่ได้โดดเด่นพอ ผู้ว่าจ้างอาจไปใช้บริการคนที่รีวิวสินค้าได้เหมือนเราแต่ค่าตัวถูกกว่า แต่ในส่วนของข้อดีก็มีเช่นกัน คือ เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราจ่ายไปขอคืนได้ หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยได้ว่าก็เสียภาษีเงินได้ไปแล้ว ทำไมยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก? เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้เก็บจากรายได้ที่เราได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ สรุปภาษียูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? เมื่อเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์มีรายได้จากการค่ารีวิวสินค้า ค่าโชว์ตัว ส่วนแบ่งโฆษณาต้องยื่นแบบภาษีครึ่งและสิ้นปี(ภ.ง.ด.90/94) พร้อมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้ารายได้รวมทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรอีกด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

6 พ.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม?

เชื่อไหมครับว่ามีหลายคนมักเข้าใจผิดว่าบุคคลธรรมดามีรายได้น้อย หรือเคยโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ ถือว่าไม่มีภาระเกี่ยวกับภาษีอะไรแล้ว ผมขอบอกได้เลยว่าผิด! ครับ จริงๆ แล้วจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาการเสียภาษีอยู่  เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ผมขอแบ่งหน้าที่ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 2 เรื่อง คือ หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ ครับ 1. หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หน้าที่แรก คือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่าในปีที่ผ่านมาว่าบุคคลธรรมดามีรายได้อะไรบ้าง จำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ผ่านการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือชื่อสั้นๆ ที่หลายคนอาจเคยได้ยินบ่อยๆ เช่น ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.94  ทั้งนี้คนที่มีหน้ายื่นแบบฯ ต้องเข้า 2 เงื่อนไข คือ หนึ่ง ต้องเป็นบุคคลธรรมดา และสอง มีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผมได้เอาเกณฑ์ขั้นต่ำมาทำเป็นตารางเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ PEAK ขอเล่า : เมื่อเข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อข้างต้นแล้วก็เข้าเงื่อนไขที่ต้องยื่นแบบ โดยสรรพากรกำหนดระยะเวลาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ 1.1 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการรายได้ประเภท 40(5)-(8) เช่น ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่าขายสินค้า เป็นต้น ที่ได้รับตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้นด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้  เช่น นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8) ตั้งแต่เดือน 1 – 6 ปี 2566 รวมทั้งหมด 200,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566 1.2 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้วตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม และต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยถ้าทั้งปีมีรายได้จากเงินเดือน(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1) เพียงอย่างใดให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 91 แต่ถ้ามีรายได้ที่มากกว่าเงินเดือนให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90 แทน  เช่น นาย ก มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวที่ได้รับในปี 2566 รวมทั้งหมด 300,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 PEAK ขอเล่า : 2. หน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่ไม่เข้าเงื่อนไขของหน้าที่ในการยื่นแบบภาษี ผมขอยินดีด้วยครับ เพราะนอกจากไม่ต้องยื่นแบบภาษีแล้วก็ไม่ต้องเสียภาษีด้วยครับ แต่ใครที่เข้าเงื่อนไขก็ต้องมาทำขั้นตอนนี้กันต่อ นั่นก็คือการคำนวณยอดภาษีที่ต้องชำระให้กรมสรรพากรกันครับ แต่ไม่ต้องกังวลนะครับ ในขั้นตอนนี้เมื่อคำนวณแล้วอาจจะมียอดภาษีที่ต้องชำระหรืออาจไม่มีภาษีก็ได้ครับ การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาอย่างละเอียดผมขอแนะนำบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? ส่วนวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเบื้องต้น ผมสรุปให้ดังนี้ครับ Step1: รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิStep2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่ายStep2: เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย PEAK ขอเล่า : ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 5 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสนStep2: เงินได้สุทธิ 4.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท สรุปแล้ว บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม? ผมขอทบทวนอีกให้อีกครั้ง ถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดามีรายได้ขั้นต่ำเกินเกณฑ์ที่กำหนดต้องมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91/94) เมื่อมีหน้าที่ต้องยื่นแบบก็จะต้องคำนวณยอดภาษีแล้วชำระให้กรมสรรพากรด้วย  แต่ถ้าคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ยื่นแค่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้อย่างเดียวได้เลยครับ ขอเตือนตรงจุดนี้ว่าหลายคนมักเข้าใจผิดว่าตนเองเป็น บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้จึงโดนปรับกันมาแล้ว จำไว้ว่าหน้าที่ในการยื่นแบบภาษีและหน้าที่ในการเสียภาษีเป็นคนละส่วนกันครับ 3. ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไหม? สรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี โดยแบ่งผ่อน 3 งวดเท่า ๆ กันและไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ผู้เสียภาษีติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย งวดที่ 1: ชำระพร้อมยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคมงวดที่ 2: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1งวดที่ 3: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2 ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ 4. ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

31 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

9 min

ร้านค้าออนไลน์ต้องรู้ แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร

ประเด็นสำคัญ  เรียกได้ว่าเหล่าร้านค้าออนไลน์ต้องเตรียมตัวอย่างหนักเลยทีเดียว เมื่อกรมสรรพากรได้ออกกฎหมายบังคับให้กลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, Line, Grab และอื่นๆ ต้องนำส่งข้อมูลรายได้ บัญชีธนาคาร เลขบัตรประชาชน ทั้งหมดของร้านค้าที่ขายสินค้าหรือให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นให้แก่กรมสรรพากรทุกปี มีผลบังคับใช้เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 รายละเอียดเชิงลึกมีอะไรบ้าง เรามาดูกันต่อครับ ทำไมกรมสรรพากรต้องบังคับแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ส่งรายได้ของร้านค้าออนไลน์? ก่อนหน้านี้สรรพากรเคยออกกฎหมาย E-payment ที่บังคับให้เหล่าธนาคาร หรือผู้ให้บริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) ต้องนำส่งรายการบัญชีของผู้ฝากเงินที่เข้าเงื่อนไขที่มีเงินเข้า 3,000 ครั้ง หรือเงินเข้า 400 ครั้งและมียอดเกิน 2 ล้านบาทให้แก่กรมสรรพากร เพื่อตรวจจับบุคคลที่หลีกเลี่ยงภาษีหรือส่งภาษีไม่ครบ ส่วนตัวเชื่อว่าวิธีการดังกล่าว บางครั้งก็พิสูจน์ได้ยากว่าเงินรับมาจากรายได้หรือเงินโอนทั่วไป และยังมีช่องโหว่ในการหลบหลีกเพื่อไม่เข้าเงื่อนไขดังกล่าว กรมสรรพากรจึงหาแนวทางใหม่เพิ่มเติมที่ตรงประเด็นมากขึ้น โดยเล็งเป้าไปยังกลุ่มผู้ค้าขายออนไลน์ที่ยังมีแนวโน้มว่าส่งภาษีไม่ครบหรือไม่ถูกต้อง  แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องส่งข้อมูลรายได้ให้กรมสรรพากร รายละเอียดต่างๆ ของกฎหมายฉบับนี้ถูกกำหนดอยู่ที่ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่อง กำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มมีบัญชีพิเศษ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ต้องนำส่งข้อมูลร้านค้าออนไลน์ต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ได้แก่ 1. จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย และ 2. มีรายได้เกิน 1 พันล้านบาทต่อปี PEAK ขอเล่า : ร้านค้าออนไลน์จะต้องถูกนำส่งข้อมูลอะไรบ้าง? จากเอกสารแนบที่กรมสรรพากรกำหนดรายละเอียดข้อมูลที่ต้องนำส่ง ผมขอสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องถูกนำส่งไว้ ดังนี้ครับ 1. เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขทะเบียนนิติบุคคล 2. ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อนิติบุคคล 3. จำนวนรายได้ที่ใช้คิดฐานคำนวณค่านายหน้าและค่าธรรมเนียมการชำระเงิน (พูดง่ายๆ คือ รายได้ทั้งหมดของร้านค้าแต่ละร้าน) 4. ชื่อธนาคารและเลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินจากแพลตฟอร์มออนไลน์ นั่นแปลว่ากรมสรรพากรจะรู้รายได้ของร้านค้าอย่างละเอียด ทุกบาท ทุกสตางค์ และรู้ว่าร้านค้าชื่ออะไร และใช้บัญชีอะไรในการรับรายได้อีกด้วย พออ่านมาถึงตรงนี้ผู้ประกอบการคงเริ่มขนลุกกันแล้วใช่ไหมละคร๊าบบ ข้อมูลจะถูกส่งให้กรมสรรพากรเมื่อไหร่? กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป นั่นหมายความว่าข้อมูลรายได้ที่ร้านค้าออนไลน์ขายสินค้าหรือให้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นรายได้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นรอบบัญชีของแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องนำส่งข้อมูลดังกล่าวภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตัวอย่าง เช่น แพลตฟอร์มออนไลน์ S จะต้องนำส่งข้อมูลรายได้ของร้านค้าทุกร้านที่ขายบนแพลตฟอร์ม S ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 – 31 ธันวาคม 2567 ให้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 (150 วัน) PEAK ขอเล่า : กฎหมายฉบับนี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร? เชื่อว่าคำถามนี้หลายคนคงมีคำถามในใจกันแล้ว แต่คำตอบนั้นก็อาจจะไม่ได้เหมือนกัน ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังมองในฝั่งไหน เช่น ในมุมของคนที่เสียภาษีอย่างถูกต้องมาโดยตลอด เขาจะเชื่อว่ากฎหมายนี้จะส่งเสริมความเป็นธรรมในการค้าขายมากขึ้น เพราะเดิมคู่แข่งไม่เสียภาษีอย่างถูกต้อง ทำให้คู่แข่งขายสินค้าได้ดีกว่าเพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า และเกิดกระแสเงินสดที่มากกว่า แต่ในมุมของคนที่เสียภาษีไม่ครบถ้วนหรือหลีกเลี่ยง กฎหมายตัวนี้จะเข้ามาปิดช่องโหว่แทบทุกด้านที่เคยมีอยู่ ทำให้การหลีกเลี่ยงยากมากขึ้น  สุดท้ายนี้กฎหมายฉบับนี้จะบังคับให้ทุกคนทำบัญชี ภาษีได้ถูกต้องมากขึ้น ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมพร้อม โดยเริ่มจากเก็บเอกสารให้ครบถ้วน ถูกต้อง หรือหาสำนักงานบัญชีที่น่าเชื่อถือมาช่วยจัดการ รวมถึงการหาโปรแกรมจัดการด้านบัญชีที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากแพลตฟอร์มออนไลน์มาลงบันทึกบัญชีได้แบบเรียลไทม์  ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก หรือสนใจโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากแพลตฟอร์ม Shopee Lazada TikTok ทดลองใช้ฟรี 30 วัน คลิก 

18 ม.ค. 2024

จักรพงษ์

11 min

e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp จากบทความ เรื่องต้องรู้ เกี่ยวกับ e-Tax Invoice และ e-Tax Invoice by Time Stamp คืออะไร กันมาแล้ว ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ e-Tax Invoice อีกหนึ่งประเภทว่าคืออะไร และธุรกิจประเภทใดที่ควรเข้าร่วมโครงการ e-Tax Invoice ประเภทนี้ สำหรับคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ต่อ ผมเชื่อว่าธุรกิจของคุณมีความพร้อมทางด้านระบบงาน มีการออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินจำนวนมาก และพร้อมเปลี่ยนธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล นับจากนี้เรามาทำความรู้จักโครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ในเชิงลึกกันต่อเลยครับ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร? โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี รวมถึงใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และใบรับที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และมีหน้าที่นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 5 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ e-Tax Invoice & e-Receipt ออกได้ ไม่เพียงแต่ใบกำกับภาษีเท่านั้นที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบออนไลน์ได้ กรมสรรพากรยังได้อนุมัติเอกสารอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. ใบกำกับภาษี (เต็มรูป) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร 2. ใบกำกับภาษี (อย่างย่อ) ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร 3. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร 4. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร 5. ใบรับ (ใบเสร็จรับเงิน) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt มีดังต่อไปนี้ 1. เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ที่อยู่ภายใต้การรับรองของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (NRCA) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) 3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและนำส่งให้แก่ผู้รับมีความถูกต้องครบถ้วนโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ 4. ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับอนุมัติหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice by Time Stamp) ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบ XML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล 2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธีต่างๆ 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการอัปโหลดเอกสารในรูปแบบ XML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th 3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง 3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ ขั้นตอนการสมัคร e-Tax Invoice & e-Receipt 1. จัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) จากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 2 ราย ได้แก่ บริษัท ไทยดิจิทัล ไอดี จำกัด (www.thaidigitalid.com) และบริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ( ) ทั้งนี้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดเก็บด้วยอุปกรณ์ USB Token หรือ HSM และการเลือกใช้อุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม และลักษณะการใช้งานของผู้ประกอบการแต่ละราย 2. ดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม Ultimate Sign&View ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์  3. เชื่อมต่ออุปกรณ์ Token หรือ HSM ที่มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และตั้งค่าโปรแกรม 4. ลงทะเบียน บ.อ.01 ผ่านโปรแกรมฯ โดยระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ระบบจะแสดงชื่อสถานประกอบการและที่ตั้งสำนักงาน ให้ตรวจสอบข้อมูล ระบุอีเมลที่ใช้ในการติดต่อกรมสรรพากร และลงลายมือชื่อเพื่อยืนยันการลงทะเบียน 5. ตรวจสอบอีเมล และสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภทผู้ประกอบการ (Corporate) และกำหนดรหัสผ่าน (Password) ด้วยตนเอง 6. เข้าสู่ระบบบริการสมาชิก ที่เว็บไซต์ 7. เมื่อได้รับอนุมัติตามคำขอ บ.อ.01 แล้วระบบจะสร้างบัญชีผู้ใช้งานประเภท ผู้ประกอบการ(Corporate) ในนามของสำนักงานใหญ่ ที่ขึ้นต้นด้วย CA ตามด้วยเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร13 หลัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถสร้างบัญชีผู้ใช้งาน และกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้งานภายในองค์กรได้ตามประเภทผู้ใช้งาน 8. จากนั้น ท่านสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax Invoice & e-Receipt ได้แล้ว ซึ่งขั้นตอนการยื่นคำขอใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสรุปเป็นแผนภาพง่ายๆ ได้ดังนี้ จากขั้นตอนการสมัครจะบางท่านจะคิดว่าขั้นตอนกระบวนการดูยุ่งยากและซับซ้อน แต่ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกใช้บริการผ่าน Service provide ทาง Service provide จะมีบริการช่วยทำตั้งแต่ขั้นตอนการของการจัดหาใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Certificate) การสมัครเข้าโครงการ e-Tax Invoice และ e-Receipt ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องกังวลกับเรื่องเหล่านี้ และสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้เลยครับ ขั้นตอนการเชื่อมต่อ e-Tax Invoice & e-Receipt กับโปรแกรม PEAK ปัจจุบัน PEAK สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ(Service provide) e-Tax Invoice & e-Receipt ถึง 2 ราย ได้แก่ 1) บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (INET), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ INET เพิ่มเติมได้ที่นี่ 2) บจ. ฟรีเวชั่น จำกัด (Leceipt), สนใจอ่านวิธีเชื่อมต่อกับ Leceipt เพิ่มเติมได้ที่นี่ นอกจากผู้ให้บริการ e-Tax Invoice & e-Receipt จะช่วยคุณตั้งแต่การสมัครและขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์แล้ว PEAK ยังช่วยทำให้การส่งออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไปยังคู่ค้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิกครับ PEAK ขอเล่า : การออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ทั้ง 2 รูปแบบ ทั้ง e-Tax Invoice by Time Stamp และ e-Tax Invoice & e-Receipt จะสร้างความสะดวก ลดปัญหาในการจัดเก็บเอกสารทั้งกับกิจการ ร้านค้า และผู้ซื้อ นอกจากนั้นยังรองรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาครัฐในอนาคตอีกหลายๆ มาตรการ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลไม่ควรพลาด สำหรับใครที่สนใจอยากรู้รายละเอียดระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่เหลืออีกหนึ่งโครงการ นั่นคือ โครงการ e-Tax Invoice & e-Receipt ตามไปอ่านกันต่อได้ที่บทความ e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร ขั้นตอนการสมัคร และการใช้งาน PEAK ช่วยผู้ประกอบการให้สามารถออกเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้ทั้ง 2 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น e-Tax Invoice by Time Stamp หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt เพียงแค่คลิกเชื่อมต่อกับ PEAK หลังจากนี้คุณก็สามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่ายๆ ผ่านโปรแกรม PEAK ได้แล้วครับ ถ้าอยากรู้ว่าง่ายขนาดไหน แนะนำให้ลองดูวิดีโอสั้นๆ การเชื่อมต่อระบบและวิธีการส่งใบกำกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ได้เลยครับ ออกเอกสารง่ายในไม่กี่คลิก

11 ก.ย. 2024

จักรพงษ์

15 min

ขายอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมอะไรบ้าง

ใครที่กำลังจะขายที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้องสงสัยแน่ๆ ว่าเราต้องจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรที่เกี่ยวข้องในทางภาษีบ้าง เพื่อเตรียมตัวและเตรียมเงินก่อนตกลงทำสัญญาซื้อขายและวางแผนทางการเงิน เช่น เราจะให้ผู้ซื้อเป็นผู้รับผิดค่าธรรมการโอน หรือภาษีอะไรบ้าง เป็นต้น วันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักภาษีและวิธีคำนวณภาษีการขายอสังหาริมทรัพย์กันครับ ทำความรู้จักก่อนว่า อสังหาริมทรัพย์คืออะไร ? ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 139 บัญญัติ กล่าวว่า อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดินกับทรัพย์อันติดกับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สินอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย”  จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปให้ง่ายๆ ก็คือ อสังหาริมทรัพย์ คือ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เช่น อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงสิ่งอื่นใดที่อยู่ติดกับที่ดินซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้ นอกจากนี้ทรัพย์ตามธรรมชาติที่ประกอบเป็นอันเดียวกับดิน เช่น แม่น้ำ บึง แร่ กรวด ทราย ที่อยู่ในอาณาบริเวณที่ดินนั้นก็จัดว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ในทางภาษี เราต้องทราบว่าได้อสังหาริมทรัพย์มาได้อย่างไร? กรมสรรพากร แบ่งการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ออกเป็น 2 กรณี คือ1. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยมุ่งค้าหรือหากำไรเช่น เราซื้อที่ดินมาเพื่อเก็งกำไรและขาย หรือซื้อที่ดินเพื่อจัดสรร ปลูกสร้างอาคาร คอนโด ทาวน์เฮ้าส์ อาคารโรงงานเพื่อจำหน่าย เป็นต้น2. การได้รับอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร แบ่งออกเป็น2.1 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับมาโดยทางมรดก หรือได้รับจากการให้โดยเสน่หา(ได้มาฟรี มีคนยกให้)2.2 อสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่มุ่งค้าหรือหากำไร เช่น ซื้อที่ดินมาเพื่อทำการเกษตรกรรม ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างมาเพื่ออยู่อาศัย เป็นต้น ภาระภาษีจากการขายอสังหาริมทรัพย์ มีอะไรบ้าง? ไม่ว่าผู้ขายอสังหาริมทรัพย์จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล จะมี 4 ภาระค่าใช้จ่ายในการซื้อขาย ได้แก่  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย(Withholding Tax :WHT)2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ(Specific Business Tax :SBT)3. อากรแสตมป์(Stamp Duty) 4. ค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ สำหรับฐานภาษีอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้คำนวณจะมี 2 ฐาน คือ ราคาซื้อขายจริง และราคาประเมินทุนทรัพย์จากกรมธนารักษ์ที่จะมีประเมินใหม่ทุกๆ 4 ปี สำหรับราคาประเมินที่ดินรอบปัจจุบันใช้สำหรับรอบบัญชีปี 2566 – 2569 (เริ่ม 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2569) เบื้องต้นสามารถตรวจสอบราคาประเมินด้วยตนเองได้ที่ 1. เว็บไซต์กรมธนารักษ์ . แอปพลิเคชันของกรมธนารักษ์  TRD Property Valuation3. Call Center กรมธนารักษ์ โทร 0-2270-0360-63 และ 0-2059-4999 PEAK ขอเล่า : การคำนวณภาษีเงินได้อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดา อย่างแรกเราต้องเข้าใจว่า “บุคคลธรรมดา” ในทางภาษีไม่ได้หมายถึงเพียงแค่บุคคลที่มีชีวิตจริง แต่รวมถึงบุคคลธรรมดา ผู้ถึงแก่ความตาย กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลด้วย  สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลธรรมดามีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการคำนวณจะผันแปรไปตามวิธีการได้มาของอสังหาริมทรัพย์นั้นว่าได้รับมาจากมรดก/เสน่หา ได้มาเพื่อจะนำมาค้าหากำไรหรือได้มาเพื่อใช้ไม่ได้มุ่งค้าหากำไร ถ้าได้มาเพื่อค้าหากำไรจะไม่สามารถเลือกใช้สิทธิ์ “ภาษีสุดท้าย Final Tax” ได้ ทำให้เมื่อบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือบุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์ภายใน 5 ปี (นับวันชนวัน) นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเป็นเวลาน้อยกว่า 1 ปี (นับวันชนวัน) ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% กรณีผู้ขายมิได้มุ่งค้าหากำไร เช่น บุคคลธรรมดาที่ขายอสังหาริมทรัพย์เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านหลังที่ขายเกินกว่า 1 ปี ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก เมื่อโอนกรรมสิทธิ์และชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จะได้รับใบสีฟ้า เรียกว่า “ใบเสร็จรับเงินในราชการกรมที่ดิน” จะแสดงรายละเอียดค่าภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นจะมีรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งใครที่เลือกนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปคำนวณภาษีสิ้นปีอีกครั้ง สามารถใช้ใบเสร็จดังกล่าวเป็นหลักฐานเพื่อใช้เครดิตภาษีได้ แต่คำแนะนำเบื้องต้น คือ ถ้าผู้ขายมีรายได้จากทางอื่นๆ ด้วย การนำรายได้จากการขายอสังริมทรัพย์มารวมด้วยมักจะทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น และต้องจ่ายภาษีมากขึ้น จึงไม่ควรเลือกนำมารวมกับภาษีสิ้นปีครับ วิธีการความคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ขั้นตอนที่ 1 คำนวณเงินได้สุทธิเฉลี่ยต่อปี ขั้นตอนที่ 2 นำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี ช่วงเงินได้สุทธิ อัตราภาษีเงินได้(ขั้นที่ 1) 1 – 300,000 บาท 5% (ขั้นที่ 2) 300,001 – 500,000 บาท 10%(ขั้นที่ 3) 500,001 – 750,000 บาท 15%(ขั้นที่ 4) 750,001 – 1,000,000 บาท 20% (ขั้นที่ 5) 1,000,001 – 2,000,000 บาท 25% (ขั้นที่ 6) 2,000,001 – 4,000,000 บาท 30% (ขั้นที่ 7) 4,000,001 บาท ขึ้นไป 40% ขั้นตอนที่ 3 คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา= ภาษีเงินได้เฉลี่ยต่อปี x จำนวนปีถือครอง ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา นาย ก ได้รับที่ดินจากมรดก เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท ตัวอย่าง การขายอสังหาริมทรัพย์โดยการมุ่งการค้าหรือหากำไร นาย ข ซื้อที่ดินเพื่อค้าขาย เมื่อ พ.ศ.2562 และได้จดทะเบียนขายที่ดิน เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2566 ถือครองมา 5 ปี (ปี2562-2566) ตกลงโอนในราคา 3,000,000 บาท และพนักงานเจ้าหน้าที่คำนวณราคาประเมินทุนทรัพย์ ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเงิน 2,000,000 บาท การคำนวณภาษีเงินได้ภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคล สำหรับหลักการคำนวณภาษีอสังหาริมทรัพย์ของนิติบุคคลมีดังนี้ 1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต้องเสียในอัตรา 1%  เพราะถือว่ามีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้นิติบุคคลต้องนำรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพยไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี ภ.ง.ด.50 อีกครั้ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เคยถูกหักไว้ สามารถนำใช้เป็นเครดิตภาษีเพื่อลดยอดภาษีสิ้นปีที่ต้องชำระได้  2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องเสียในอัตรา 3.3% กรณีผู้ขายเป็นผู้ค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร ซึ่งปกตินิติบุคคลจะเข้าเงื่อนไขมุ่งค้าหากำไร เพราะกรมสรรพากรกำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่นิติบุคคลมีไว้ในการประกอบกิจการต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะไม่ต้องเสียอากรแสตมป์อีก 3. อากรแสตมป์ ต้องเสียในอัตรา 0.5% ซึ่งในทางปฏิบัติค่อนข้างยากที่นิติบุคคลจะเข้ากรณีที่ต้องเสียอากรแสตมป์ เพราะปกติจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมาก่อนอย่างที่อธิบายข้างต้น ทั้งนี้ถ้าเสียอากรแสตมป์แล้ว จะไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก ตัวอย่าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ค จำกัด ซื้อที่ดินมาเมื่อปี พ.ศ. 2562 นำขายไป 3,000,000 บาท โดยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และนิติกรรมใน พ.ศ. 2567 และราคาประเมินที่ 2,000,000 บาท อย่างไรก็ตาม ใครที่กังวลว่าการคำนวณดูยาก ซับซ้อน สบายใจได้เลยครับ เพราะภาษีทั้งหมดข้างต้นเมื่อเรามีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน เจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะเป็นคนคำนวณแทนเราเองครับ แต่ถ้าเราเข้าใจการคำนวณก็สามารถคำนวณตัวเลขเบื้องต้นเพื่อประมาณค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ข่าวดีคือไม่ว่าผู้ขายจะเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็สามารถใช้โปรแกรมคำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ของกรมที่ดิน เพียงแค่กรอกข้อมูลที่จำเป็น ระบบก็จะคำนวณตัวเลขทั้งหมดให้อัตโนมัติครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณยังต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

30 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

5 min

ใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์แทนลายเซ็นจริงหรือไม่ประทับตรานิติบุคคลบนใบ 50 ทวิได้ไหม? 

การจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน หรือการจ่ายค่าใช้จ่ายอะไรก็ตามที่ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเอาไว้ หนึ่งในหน้าที่ของผู้จ่ายเงินคือต้องมีการออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า “ใบ 50 ทวิ” กิจการบางแห่งมีการออกเอกสารหัก ณ ที่จ่ายต่อเดือนเยอะมาก การปริ้นเอกสารและเซ็นลายมือจริงทุกใบ หรือแม้แต่การประทับตรานิติบุคคลทุกใบ ก็เป็นภาระเวลาในการจัดทำไม่น้อย  ถ้าตัดขั้นตอนบางอย่างทำให้การจัดทำเอกสารหัก ณ ที่จ่ายเร็วขึ้น ก็คงจะช่วยผู้ประกอบการหรือนักบัญชีได้มากโขเลยทีเดียว ในบทความนี้เราจะมาตอบคำถามยอดฮิตเพื่อลดเวลาในการจัดทำเอกสารดังกล่าวกันครับ 1. ใช้ลายเซ็นที่สแกนไว้ในคอมพิวเตอร์บนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ50ทวิ) ได้ไหม? ได้ครับ นอกจากการเซ็นด้วยลายมือจริงแล้ว เรายังสามารถใช้วิธีการอื่นแทนได้ เช่น ใช้การประทับลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยตรายาง หรือจะพิมพ์ลายมือชื่อผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการเก็บลายมือชื่อไว้ (SCAN) ก็ได้ อ้างอิงตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) 2. ไม่ประทับตราประทับนิติบุคคลบนหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (ใบ50ทวิ) ได้ไหม? ได้ครับ เพราะ การประทับตรานิติบุคคลไม่ได้เป็นข้อบังคับให้ทำ โดยไม่สนใจว่านิติบุคคลจะมีตราประทับอยู่แล้วหรือไม่ ขอเพียงแค่มีข้อความอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) ครบถ้วนและถูกต้องก็พอครับ แต่ถ้าเรามีตราประทับนิติบุคคลอยู่แล้ว ถ้าเลือกประทับตราไปด้วยทุกครั้งก็จะช่วยเพิ่มความมั่นใจของผู้รับว่าเอกสารนี้ออกจากเราจริงๆ และถือเป็นการควบคุมภายในที่ดีของกิจการเราด้วยครับ ย้ำอีกครั้ง การจัดทำหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ไม่จำเป็นต้องเซ็นลายมือจริง หรือไม่ต้องประทับตรานิติบุคคลก็ได้ แต่ถ้าอยากทำเพื่อการควบคุมภายในที่ดีจะเลือกทำก็ได้ครับ สำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหาต้องออกหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายจำนวนมาก โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK สามารถช่วยกิจการสร้างหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายในรูปแบบที่ถูกต้อง ครบถ้วน และสวยงามให้อัตโนมัติ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

23 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

6 min

เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปีถึงจะทำลายทิ้งได้

การจัดการเอกสารบัญชีและภาษีอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ การเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินและภาษีไม่เพียงแต่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างราบรื่น แต่ยังเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายที่สำคัญด้วย เอกสารบัญชีและภาษี ต้องเก็บไว้กี่ปี สิ่งที่นักบัญชีหรือผู้ประกอบการต้องสงสัยเป็นแน่ว่าเหล่าเอกสารบัญชีต่างๆ ที่ได้รับมา หรือที่จัดทำระหว่างปี พอเราปิดงบการเงินเสร็จแล้ว จะทิ้งได้เลยไหม? หรือต้องเก็บต่อไปอีกกี่ปี? จะได้ไม่มีปัญหากับสรรพากร หน่วยงานอื่นๆ ในภายหลัง วันนี้ผมจะพาทุกคนมาดูกันว่าในประเทศเรามีข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารไว้อย่างไรครับ ก่อนที่เราจะไปอ้างอิงตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผมอยากขออธิบายเป็นภาษาที่ง่ายๆ คือ เราต้องเก็บเอกสารทางบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่บางหน่วยงานก็มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาในการจัดเก็บเอกสารได้ ทำให้เรามีหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสารที่นานขึ้น ตัวกฎหมายที่ให้อำนาจนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันต่อครับ เริ่มแรกจากพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 มาตรา 14 ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันปิดบัญชี แต่อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ ตัวถัดมาคือการเก็บเอกสารภาษี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87/3 ที่กำหนดเอกสาร 5 ประเภท ได้แก่  1.ต้นฉบับใบกำกับภาษีซื้อ 2.สำเนาใบกำกับภาษีขาย 3.รายงานภาษีซื้อ 4.รายงานภาษีขาย5.รายงานสินค้าและวัตถุดิบ ต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงานแล้วแต่กรณี แต่อธิบดีกรมสรรพากรสามารถสั่งขยายระยะเวลาให้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้ PEAK ขอเล่า : และตัวสุดท้าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30-31 จะถูกนำมาใช้เมื่อกฎหมายใดๆ ให้สิทธิเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเรียกตรวจเอกสาร แต่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาไว้ จะให้มีอายุความสูงถึง 10 ปี เท่ากับว่าผู้ประกอบการมีสิทธิโดนเรียกตรวจเอกสารย้อนหลังได้สูงถึง 10 ปีเลยครับ ตัวอย่างเช่น อายุความการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากร หรือกรณีที่บุคคลธรรมดามีเงินได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษีแต่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานจึงออกหมายเรียกแต่ก็ไม่ได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลรัษฎากรเช่นกัน เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกและประเมินภาษีได้ภายในอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 สรุปแล้ว ทั้งกฎหมายบัญชีและภาษีพูดตรงกันคือให้ผู้ประกอบการจัดเก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีและภาษีไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ก็สามารถขยายระยะเวลาเป็น 7 ปีได้ แต่ถ้ากฎหมายใดไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาจัดเก็บเอกสารหรืออายุความการประเมินภาษีไว้ ก็ยังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่กำหนดอายุความสูงถึง 10 ปี ดังนั้นการเก็บเอกสารทางบัญชีและภาษีแบบระมัดระวังที่สุดก็ควรจัดเก็บที่ 10 ปีครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว หากคุณต้องการสอบถามเพิ่มเติม หรืออยากได้คนที่ช่วยให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดเก็บเอกสาร ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

22 ส.ค. 2024

จักรพงษ์

10 min

วงจรเงินสด (Cash Cycle) สิ่งกำหนดโชคชะตา SMEs

สิ่งหนึ่งที่เรารู้มาจนถึงตอนนี้ว่าแม้ธุรกิจจะสร้างกำไรได้มากมายขนาดไหน แต่ถ้าบริหารเงินสดไม่ได้ดี ไม่เข้าใจการไหลเวียนของเงิน อาจทำให้ธุรกิจของเราสะดุด เพราะไม่มีเงินมาซื้อสินค้าหรือจ่ายเจ้าหนี้ได้ ใน Ep ก่อนหน้านี้ได้สอนให้เราได้รู้แล้วว่ากิจการเรามีปัญหาเรื่องเงินสดไหม ไม่ว่าจะเป็นการเช็คเงินคงเหลือ การดูเงินสดเข้าออกในแต่ละกิจกรรมของงบกระแสเงินสด รวมถึงการคำนวณระยะเวลาคงเหลือก่อนที่กิจการจะไม่มีเงินใช้ แต่คำตอบที่ยังไม่ได้หา คือ แล้วปัญหาเงินสดที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร? เรามีสิ่งหนึ่งที่จะนำมาช่วยไขคำตอบนี้ได้ คือ การวิเคราะห์ ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ วงจรเงินสด (Cash Cycle) คืออะไร? ในทางทฤษฎีเรามีตัววัดหนึ่งที่เรียกกันว่า ‘วงจรเงินสด (Cash Cycle)’ ซึ่งค่าที่ได้จะบอกจำนวนวันที่กิจการจะได้รับเงินสดจากการดำเนินงาน เราเรียกมันว่า ‘วงจร’ เพราะสูตรจะคำนวณระยะเวลาตั้งแต่ซื้อสินค้า ระยะเวลาที่สินค้าที่อยู่ในคลัง จนถึงระยะเวลาที่จะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เมื่อสินค้าถูกขายออกไป สรุปอีกครั้งคือ วงจรเงินสด จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะเวลา ได้แก่  1. การซื้อสินค้าและจ่ายเงินให้เจ้าหนี้  2. การเก็บสินค้าในสต๊อกไว้นานแค่ไหน  3. เมื่อขายสินค้าแล้วเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ภายในกี่วัน ซึ่งถ้าเราคำนวณทั้ง 3 เรื่องนี้ได้ ก็จะรู้ทันทีว่าปัญหาเงินสดไปอยู่ที่ส่วนไหนของกิจการ แต่ก่อนที่จะคำนวณขึ้นเป็นวงจรเงินสดได้นั้น เราต้องแยกคำนวณแต่ละส่วนก่อน จึงค่อยนำมาบวกหรือลบกัน เรามาเริ่มทีละส่วนกันได้เลยครับ 3 วงจรเงินสด (Cash Cycle) ที่ผู้ประกอบการควรวิเคราะห์ วงจรที่ 1 : วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรสินค้าหรือระยะขายสินค้า คือ ตั้งแต่วันที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก จนเอาออกจากสต๊อกเพราะขายได้ ใช้เวลากี่วัน ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะขายของแต่ละชิ้นได้ ความเสี่ยงคือ เงินจม หรือสินค้าอาจเสียหรือล้าสมัยไปแล้ว ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ทุกๆครั้งที่สินค้าเข้ามาในสต๊อก ไม่กี่วันก็มีคนซื้อ อาจเกิดจากเป็นสินค้าขายดี หรือกิจการบริหารสินค้าให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่สต๊อกของมากจนเกินไป ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี เพราะสินค้าเข้ามาและขายออกได้เร็ว โดยในสูตรจะใช้ ระยะขายสินค้า = ยอดสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นงวด ÷ ต้นทุนสินค้าที่ขาย x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 2 : วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้หรือระยะเก็บหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ขายสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะเก็บเงินได้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานกว่าจะเก็บเงินจากลูกหนี้ได้ ซึ่งไม่ควรเกินกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้า แต่ถ้าเกินแปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินเกินกำหนดชำระ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการเก็บเงินจากลูกหนี้ ถ้าค่าต่ำกว่าเครดิตเทอม แปลว่าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินก่อนกำหนดชำระ ดังนั้น จำนวนวันยิ่งน้อย ยิ่งดี และจะดีมากขึ้นไปอีกถ้าจำนวนวันต่ำกว่าเครดิตเทอมที่ให้ลูกค้าโดยในสูตรจะใช้ ระยะเก็บหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) วงจรที่ 3 : วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้หรือระยะจ่ายหนี้ คือ ตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้า ใช้เวลากี่วันถึงจะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันเยอะ’ แปลว่า ใช้เวลานานที่จะจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ ซึ่งอาจหมายถึงการได้รับเครดิตเทอมที่นาน หรือเราตั้งใจจ่ายหนี้ช้ากว่ากำหนดก็ได้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า ใช้เวลาเร็วในการจ่ายหนี้เร็ว ซึ่งอาจหมายถึงกิจการมีความน่าเชื่อถือน้อยจึงได้รับเครดิตเทอมน้อย หรืออาจเพราะของที่เราซื้อมักจะซื้อขายเป็นเงินสดมากกว่าการให้เครดิตเทอม ดังนั้น จำนวนวันยิ่งมาก ยิ่งดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ค่าควรมากเพราะเราได้เครดิตเทอมที่นาน ไม่ใช่จากการที่จ่ายเกินกำหนดชำระ เพราะจะทำให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจพังลงได้ โดยในสูตรจะใช้ ระยะจ่ายหนี้ = ยอดลูกหนี้การค้า ณ สิ้นงวด ÷ ยอดรายได้ x จำนวนวัน (ขึ้นอยู่กับการวัดผล ปกติจะวัดผลทุกสิ้นปี จะใช้ 365วัน) ดังนั้น เทคนิคบริหารวงจรกระแสเงินสดให้ธุรกิจคล่องตัว คือ1.ขายสินค้าได้เร็ว2.เก็บเงินได้เร็ว 3.จ่ายหนี้ให้ช้า โดยนำจำนวนวงจรย่อยทั้ง 3 วงจรมาบวกลบกันตามสูตร วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ – ระยะเวลาชำระหนี้ ถ้า ‘จำนวนวันน้อย’ แปลว่า เงินทุนจมอยู่ในลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือเยอะ ซึ่งเกิดความเสี่ยงที่กิจการจะไม่มีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอในการชำระหนี้ได้ทัน หรือไม่มีเงินมาซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายได้ ถ้า ‘จำนวนวันมาก’ แปลว่าเราสามารถบริหารจัดการเปลี่ยนลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือได้ดี และมีเงินหมุนเวียนที่เพียงพอจะนำไปชำระหนี้ และซื้อสินค้าล็อตใหม่มาขายต่อได้ ดังนั้น กิจการที่มีสภาพคล่องที่ดี ไม่มีปัญหาเรื่องเงิน เมื่อคำนวณวงจรเงินสด (Cash Cycle) มักได้จะค่าจำนวนวันติดลบ  การคำนวณวงจรเงินสด จะทำให้เรารู้ว่าภาพรวมการหมุนเวียนของเงินสดว่ามีปัญหาไหม ซึ่งถ้าค่าที่คำนวณเป็นบวก แสดงว่ากิจการกำลังมีปัญหาเรื่องการดำเนินงานเมื่อรู้ว่ามีเงินสดมีปัญหาแล้ว เราสามารถเข้าไปค้นหาต้นตอที่วงจรย่อยทั้ง 3 วงจรต่อได้ และลองดูว่าอะไรที่ทำให้แต่ละวงย่อยมีปัญหา เช่น ลูกหนี้จ่ายเกินกำหนดชำระเสมอ หรือสินค้าส่วนใหญ่ที่สต๊อกไว้ขายไม่ค่อยดี เป็นต้น สรุปอีกครั้ง คือ วงจรสินค้า (ยิ่งขายสินค้าเร็ว ยิ่งดี) วงจรลูกหนี้ (ยิ่งเก็บหนี้เร็ว ยิ่งดี) วงจรเจ้าหนี้ (ยิ่งจ่ายหนี้ช้า ยิ่งดี) ตอนนี้เราทราบกันแล้วทั้งวิธีดูว่าเงินสดมีปัญหาหรือไม่ และปัญหานั้นเกิดจากอะไร คำถามถัดมาคือ เงินสดต้องมีจำนวนเท่าไหร่ถึงจะเพียงและปลอดภัยในการทำธุรกิจ? ผมเตรียมวิธีคำนวณให้ง่ายๆ ไว้ให้ทุกท่านแล้ว แล้วเจอกันใน Ep หน้าครับ! โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

19 ก.ค. 2024

จักรพงษ์

12 min

“รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

ผู้ประกอบการหลายท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่า รายจ่ายที่บันทึกไว้ในระบบบัญชี ล้วนสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด แต่ความจริงแล้ว “รายจ่ายทางบัญชี” กับ “รายจ่ายทางภาษี” นั้นมีความแตกต่างกัน “ขาดทุนแต่ยังเสียภาษี” หรือ “กำไรน้อยแต่เสียภาษีเยอะ” เป็นประโยคที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ประกอบการหลายคน นั่นก็เพราะรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรทางบัญชี ไม่ได้มีความหมายเหมือนทางภาษีครับ ความแตกต่างระหว่างรายจ่ายทางบัญชีและรายจ่ายทางภาษี รายจ่ายทางบัญชี หมายถึง ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่กิจการเกิดขึ้นในระหว่างรอบบัญชี รายจ่ายเหล่านี้ถูกบันทึกลงในงบการเงิน เพื่อสะท้อนถึงสภาพคล่องของกิจการ รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน เช่น ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าแรงงาน เป็นต้น รายจ่ายทางบัญชีมีความสำคัญเนื่องจากจะส่งผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ รายจ่ายทางภาษี หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายภาษียอมรับให้หักออกจากรายได้รวมของกิจการได้ก่อนที่จะคำนวณภาษี รายจ่ายเหล่านี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เช่น ค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา หรือค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด เป็นต้น  ทำไม“กำไรทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “กำไรทางภาษี” ยกตัวอย่าง เช่น กิจการมีรายได้ขายสินค้า 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 400,000บาท ธุรกิจจึงมีกำไรทางบัญชี 600,000 บาท ถ้ากำไรเท่านี้ คิดในใจไว้ก่อนเลยว่าจะเสียภาษี 600,000 X 20% = 30,000 บาท แต่สมมติค่าใช้จ่ายมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่มีเอกสารรับรองที่น่าเชื่อถือว่าจ่ายให้ใคร หรือเอาค่าใช้จ่ายส่วนตัวมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ แบบนี้สรรพากรจะไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีได้ เวลาคำนวณภาษีจะถูกคิดว่า รายได้ 1,000,000 แต่ค่าใช้จ่ายเป็น 0 บาท ทันที แปลว่าธุรกิจจะมีกำไรทางภาษี 1,000,000 บาท นำมาคำนวณภาษี 1,000,000X 20% =  200,000 บาท นั่นหมายความว่าต้องเสียภาษีถึง 200,000 บาทนั่นเอง PEAK ขอเล่า : เห็นไหมว่าถ้าเราเอารายได้ หักค่าใช้จ่ายทางบัญชีเป็นตัวตั้งจะได้กำไรตัวเลขหนึ่ง(ตอนคำนวณภาษีจะไม่ใช้กำไรทางบัญชีนี้) แต่พอคำนวณภาษีก็ต้องใช้รายได้ หักค่าใช้จ่ายตามนิยามภาษี ก็จะได้กำไรอีกตัวเลขหนึ่งไปคำนวณภาษีครับ รายจ่ายทางบัญชี ที่เป็น รายจ่ายทางภาษี “ไม่ได้” มีอะไรบ้าง? มาดูกัน ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะต้องสงสัยกันแน่ๆ ว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ทางภาษีไม่ยอมรับบ้าง ผมได้เตรียมตัวอย่างที่เจอบ่อยๆ มาให้ดูกันครับ 1. รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จ เช่น ซื้อของจริง จ่ายเงินจริง แต่ผู้ขายออกเอกสารให้ไม่ได้ เรามักจะเจอแบบนี้บ่อยๆ เวลาไปซื้อของในตลาด หรือร้านขายของชำที่จะออกเอกสารรับเงินให้เราไม่ได้ ทำให้สรรพากรไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเราซื้อของไปจริง หรือว่าจ่ายไปเป็นค่าอะไร 2. รายจ่ายที่เอกสารไม่น่าเชื่อถือ เช่น ร้านค้าบางร้าน เขียนรายการสิ่งของที่เราซื้อในกระดาษเปล่าๆ ลายมือก็อ่านไม่ออกว่าเขียนอะไร แบบนี้สรรพากรมองว่าใครๆ ก็เขียนบนกระดาษเปล่าได้ ซึ่งตรวจสอบไม่ได้เลยว่าร้านค้าเป็นคนเขียน หรือว่าเราตกแต่งรายจ่ายโดยเขียนขึ้นมาเอง 3. รายจ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ เช่น กรรมการซื้อเสื้อผ้าส่วนตัว จ่ายค่าอาหารส่วนตัวแล้วเบิกบริษัท แบบนี้สรรพากรถือว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทโดยเลย อีกทั้งกรรมการได้ผลประโยชน์ล้วนๆ  บทความนี้เราไม่ได้โฟกัสเรื่องของภาษีนะครับ ข้างบนเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นว่าเวลาพูดเรื่องทางบัญชีและภาษี ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันเสมอไป “บัญชี” ไม่เท่ากับ ”ภาษี” ทำไมต้องคิดให้แตกต่างกัน ทำไมไม่ทำให้มันเข้าใจง่ายๆ? จริงๆ แล้วมันก็มีเหตุผลเบื้องหลังที่ทำให้เราไม่สามารถใช้กำไรทางบัญชีและทางภาษีเป็นตัวเดียวกันได้ แล้วสิ่งนั้นคืออะไร มีอะไรบ้าง ผมสรุปออกมาเป็นตารางแบบเข้าใจง่ายให้แล้วครับ ตารางสรุปความแตกต่างทางบัญชีและภาษี  Financial Accounting Tax Accounting วัตถุประสงค์ บัญชีการเงิน บัญชีภาษี เพื่อใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล เพื่อใช้ในการคำนวณและจัดการด้านภาษี มาตรฐาน/กฎหมาย มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการบัญชีประมวลรัษฎากร  ความรู้ที่ใช้ บัญชีตามมาตรฐาน กฎหมายบัญชี จะเห็นว่าทางบัญชีและภาษีที่แตกต่างกัน จริงๆ มาจากวัตถุประสงค์การใช้ที่ไม่เหมือนกัน พอวัตถุประสงค์ต่าง ก็ต้องใช้วิธีวัดที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์นั้นๆ ด้วย สิ่งที่ใช้วัดก็คือ มาตรฐานหรือกฎหมาย เพื่อกำหนดว่าสิ่งใดถูก ผิด อะไรทำได้ ไม่ได้นั่นเอง บัญชีการเงิน (Financial Accounting) คืออะไร ?  บัญชีการเงิน คือ บัญชีที่ใช้สำหรับส่งงบการเงินให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD) เป็นประจำทุกปี เพื่อสื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอกไม่ว่าจะเป็น นักลงทุน ผู้ให้กู้ หรือหน่วยงานกำกับดูแล เนื่องจากมีบุคคลภายนอกใช้งบการเงินของเราไปตัดสินใจ ข้อมูลควรถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือ ภาครัฐจึงกำหนดข้อมูลทางบัญชีนี้ต้องจัดทำภายใต้ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งปัจจุบันมี 2 ฉบับใหญ่ๆ ได้แก่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(PAEs) ใช้กับบริษัทมหาชน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ(NPAEs) ใช้กับบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เป็นต้น ดังนั้นกำไรที่ได้จากบัญชีการเงิน เรียกว่า “กำไรทางบัญชี” นั่นเอง บัญชีภาษี (Tax Accounting) คืออะไร ?  บัญชีภาษี คือ การนำบัญชีทางการเงินมาปรับปรุงให้เป็นบัญชีทางภาษีเพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายให้ภาครัฐ และจะปรับปรุงเฉพาะรายการที่นิยามทางบัญชีและภาษีไม่เหมือนกัน เช่น ค่าใช้จ่ายทางบัญชีบางกรณี สรรพากรไม่ยอมรับให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ตอนคำนวณภาษี  จากตัวอย่างที่เคยยกไป เช่น กิจการจ่ายค่าใช้จ่ายไปจริง แต่ไม่มีเอกสารที่น่าเชื่อถือประกอบการจ่ายเงิน แบบนี้ทางบัญชีให้เป็นรายจ่ายได้ แต่ทางบัญชีจะไม่ถือว่าเป็นรายจ่าย เวลาคำนวณภาษีจึงเสียภาษีมากขึ้น พอเป็นเรื่องภาษี จึงควรมีความเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีของแต่ละกิจการ ภาครัฐจึงออกกฎหมายฉบับหนึ่งที่เรียกว่า “ประมวลรัษฎากร” มาเป็นมาตรฐานในการกำหนดนิยามรายได้ ค่าใช้จ่ายทางภาษีคืออะไร และต้องยื่นภาษี ยื่นอย่างไร เป็นต้น ดังนั้นกำไรทางบัญชีที่ปรับปรุงทางภาษีแล้ว เรียกว่า “กำไรทางภาษี” นั่นเองครับ ผมหวังว่าทุกคนน่าจะเข้าใจความหมายของ “บัญชี” ไม่เท่ากับ “ภาษี” กันมากขึ้นนะครับ จะได้เข้าใจว่าตัวเลขบัญชีเป็นแบบนี้ ทำไมนักบัญชีถึงคำนวณภาษีออกมาไม่ตามที่เห็นตัวเลขทางบัญชี และสิ่งที่ก่อให้เกิดความแตกต่างนั้นก็มาจากวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน โดยบัญชีการเงิน ใช้สื่อสารข้อมูลทางการเงินให้กับผู้ใช้ข้อมูลภายนอก เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานกำกับดูแล ส่วนบัญชีภาษี จะใช้เพื่อคำนวณภาษีและนำส่งภาษีแก่ภาครัฐ ใน Ep ถัดๆไป เราจะเริ่มเจาะลึกเข้าไปในเรื่องบัญชีและภาษีมากขึ้น โดยจะเริ่มจากการใช้บัญชีในการบริหารกิจการให้มีระบบ กับหัวข้อ “บัญชีทำให้ตรง ลดความงงในการบริหาร” รอติดตามตอนถัดไปได้เลย โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2024

จักรพงษ์

7 min

วิธีเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO 

การประกอบธุรกิจ มักมีการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือบริการกับคู่ค้าหลายราย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้า ถือเป็นขั้นตอนสำคัญ กรมสรรพากรจึงได้พัฒนาระบบ VATINFO ขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ของคู่ค้าได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ “VATINFO” ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำไมร้านค้าถึงคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)? กิจการหรือร้านค้าคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ร้านค้าที่มียอดขายต่อปี เกินกว่า 1,800,000 บาท หรือ ประเภทธุรกิจที่ระบุไว้ในกฎหมาย ว่าต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ในปัจจุบันอยู่ที่ 7% ของมูลค่าสินค้าหรือบริการ (หลังหักส่วนลดแล้ว) การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีข้อดีหลายประการ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ส่งผลดีกับธุรกิจอย่างไร VATINFO คืออะไร VATINFO หรือ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยกรมสรรพากรVATINFO ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในประเทศไทยได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาติดต่อกรมสรรพากรโดยตรง ประโยชน์ของ VATINFO ขั้นตอนการเช็กรายชื่อกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผ่าน VATINFO ระบบจะแสดงข้อมูลกิจการชื่อ ที่อยู่ วันที่จดทะเบียนVAT ของสำนักงาน และสาขา (ถ้ามี)ในกรณีที่กิจการที่ค้นหาไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจด VAT ระบบจะขึ้นคำว่า “เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ท่านค้นหาไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม กรุณาตรวจสอบหรือทำรายการใหม่” ประโยชน์ที่ได้จากการเช็กกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับเหตุผลที่คนมักอยากรู้ว่ากิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุผลทางการค้าเพื่อตรวจสอบความมีตัวตนและดูว่าคนที่เราทำธุรกรรมด้วยสามารถออกใบกำกับภาษีให้เราได้ ขอสรุปสั้นเป็น 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้ 1 ทำให้มั่นใจว่าได้รับใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การตรวจสอบสถานะการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ช่วยให้มั่นใจได้ว่าผู้ขายเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายกับกรมสรรพากร ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย ใบกำกับภาษีเหล่านี้สามารถนำไปใช้หักภาษีซื้อหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 2 เป็นการยืนยันว่ากิจการมีตัวตนอยู่จริง การซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของธุรกรรม และช่วยลดความเสี่ยงในการถูกหลอกลวง ทำให้บางธุรกิจจะค้าขายกับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เท่านั้น 3 สามารถตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องในการออกใบกำกับภาษีได้ ข้อมูลการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มักจะรวมถึงชื่อบริษัท ที่อยู่ และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เพื่อตรวจสอบที่อยู่ที่ถูกต้องสำหรับการออกใบกำกับภาษีได้ จบไปแล้วกับวิธีเช็กง่ายๆ ว่ากิจการที่เราจะค้าขายด้วยจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ VAT หรือไม่ ผ่านระบบ “VATINFO” ของกรมสรรพากรนอกจากนี้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ยังเชื่อมต่อข้อมูลกิจการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มให้โดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่สร้างรายชื่อผู้ติดต่อไม่ว่าจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย เพียงแค่กรอกเลขนิติบุคคล 13 หลัก ระบบก็จะขึ้นรายชื่อกิจการ และที่อยู่ของกิจการนั้นให้อัตโนมัติ ช่วยลดงานและเวลาของนักบัญชีได้อย่างมาก PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก