ทำความเข้าใจผลประกอบการ จากการอ่านงบกำไรขาดทุน

การบริหารธุรกิจให้มีระบบและประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในส่วนของการจัดการบัญชีที่ต้องตรงไปตรงมา บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจพื้นฐานของการจัดการบัญชี เพื่อช่วยในการบริหารธุรกิจอย่างเป็นระบบ และลดความสับสนในการบริหาร สำหรับ Ep นี้ ผมจะผู้อ่านทุกท่านไปลงลึกในเรื่องของการใช้ข้อมูลบัญชีและทำความเข้าใจผลประกอบการจากการอ่านงบกำไรขาดทุน เพื่อบริหารกิจการให้มีระบบ มาติดตามกันต่อได้เลยครับ

พอพูดถึงเรื่องของ “การบริหาร” เอย “ระบบบัญชี” เอย หลายคิดจะคิดว่ามันต้องเป็นเรื่องยาก หรือซับซ้อน ละก็ไม่อยากจะไปแตะมันแน่ๆ แต่! สิ่งที่เราจะมาพูดในบทความนี้ เราจะไม่ได้ลงลึกในเรื่องที่ซับซ้อนเกินไป แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งพื้นฐานที่จะผู้ประกอบการทุกคนจะต้องรู้ ถ้าไม่รู้ก็อาจจะตามหลังคนอื่น และจะพลาดสิ่งดีๆไปครับ

เรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้

เรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้ เป็นพื้นฐานและเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจ เพราะธุรกิจจะอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีครับ ประกอบด้วย

เรื่องที่ 1 ผลประกอบการ

เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด

ตอนที่ 1 ทำความเข้าใจ “ผลประกอบการ” ช่วยบริหารธุรกิจได้ตรงจุด

เข้าใจผลประกอบการ จากการอ่านงบกำไรขาดทุน

มาเริ่มกันเลยในเรื่องที่ 1  “ผลประกอบการ” ถ้ามองง่ายๆ ก็คือบทสรุปจากการทำธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ผลประกอบการใน 1 ปีที่ผ่านมา รายได้เป็นไง ค่าใช้จ่ายเยอะไหม กำไรไหม หรือขาดทุน บางคนอาจจะเรียกมันว่ารายรับ รายจ่ายด้วยซ้ำโดยปกติมันจะแสดงบนงบกำไรขาดทุนประจำปีของบริษัทอยู่แล้ว แต่ถ้าใครเคยอ่านจะเห็นว่ามันมีข้อความหลายบรรทัดเลย แต่บรรทัดที่ผู้ประกอบต้องอ่านเป็นมีดังนี้

เข้าใจผลประกอบการช่วยบริหารธุรกิจได้อย่างไร

1. รายได้ (Revenue)

รายรับก่อนหักรายจ่าย เช่น ถ้าธุรกิจขายสินค้า ก็เป็นรายได้จากการขายสินค้าที่ยังไม่ได้หักต้นทุนสินค้า และถ้าธุรกิจให้บริการ ก็เป็นรายได้จากการให้บริการที่ยังไม่ได้หักค่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือค่าแรง เป็นต้น

การรับรู้รายได้ทำให้เราทราบว่าใน 1 ปีที่ผ่านมา เราขายสินค้าหรือให้บริการได้มากหรือน้อยแค่ไหน บางคนเอารายได้ที่เกิดขึ้นจริง (actual) เทียบกับรายได้ที่ตั้งเป้าหมาย (budget) ไว้ เพื่อดูว่าทำยอดขายได้ตามเป้าไหม หรือบางคนก่อนทำธุรกิจคิดว่าต้องรุ่ง ต้องขายดีแน่ๆ พอมาขายจริง เห็นตัวเลขจริง ทำให้รู้ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด หรือเอารายได้แต่ละปีมาเทียบกันเพื่อดูอัตราการเติบโต (growth rate) ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เช่นกัน

รายได้เป็นจุดแรกที่เราต้องให้ความสนใจมากๆ เพราะธุรกิจจะไปต่อได้หรือไม่ ก็ต้องดูว่าผู้ประกอบการสามารถหาอาหาร(รายได้)ที่ทำให้กิจการอยู่รอดนั้นเพียงพอหรือไม่

2. ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense)

ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนสินค้า เงินเดือนค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดเล็กๆน้อยๆ ถ้าเราไปโฟกัสทุกรายจ่าย คุณคงเป็นลมไปก่อน แต่โชคดีที่ยังมีเทคนิคนำมาช่วยได้ ก็คือ เราต้องให้ความสนใจเฉพาะต้นทุนสินค้าและบริการ ซึ่งแต่ละธุรกิจอาจจะมีต้นทุนที่แตกต่างกันไป เช่น ธุรกิจขายเครื่องสำอางต้นทุนอาจจะเป็น ค่าผลิตสินค้า หรือธุรกิจให้บริการ เช่น โรงแรม ต้นทุนอาจจะเป็นค่าจ้างพนักงานให้บริการ

เข้าใจผลประกอบการช่วยบริหารธุรกิจได้อย่างไร

3. กำไรขั้นต้น (Gross Profit)

“กำไรขั้นต้น” คืออะไร? ถ้าพูดว่า “กำไร” เฉยๆ คนก็จะเข้าใจว่าอ๋อ กำไร = รายรับ หัก รายจ่าย ไง แต่พอมีคำว่า “ขั้นต้น” หลายคงสับสนว่ามันคือตัวเดียวกันหรือป่าว

สรุป กำไรขั้นต้น คือ รายได้ หัก ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรายได้ เช่น ธุรกิจขายสินค้าได้เงิน 1,000 บาท ต้นทุนสินค้า 400 บาท ค่าจ้างพนักงานขายวันละ 300 บาท ดังนั้นกำไรขั้นต้นเท่ากับ 600 บาท (รายได้ 100 บาท หัก ต้นทุนค่าสินค้า 400 บาท) ค่าจ้างพนักงานขายถือว่าเป็นต้นทุนทางอ้อมเลยไม่นำมาคิดในกำไรขั้นต้น

สิ่งที่กำไรขั้นต้นบอกเรา คือ เวลาขายสินค้า 1 ชิ้นจะได้กำไรกี่บาท จากตัวอย่างจะจะเห็นว่าถ้าขาย 1 ชิ้นได้กำไรขั้นต้น 600 บาท ถ้าอยากได้กำไรมาก ก็ต้องขายให้ได้หลายๆชิ้น โดยไม่ได้คำนึงว่าจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่าไหร่

ทำไมยังไม่ต้องคำนึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างคนขาย ส่วนตัวมองว่า กำไรขั้นต้น มีแนวคิดคือ หนึ่ง ของที่นำมาขาย 1 ชิ้นต้องได้กำไรก่อน เช่น ขายของ 1,000 บาท แต่ต้นทุนสินค้า 1,200 บาท แบบนี้ก็ไม่ต้องไปสนใจค่าใช้จ่ายอื่นแล้ว ยังไงก็เจ๊ง 100% สอง ถ้าขายของแล้วยังมีกำไรขั้นต้น แต่ค่าใช้จ่ายอื่นเยอะก็ไม่เป็นปัญหา เพราะเราสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายทางอ้อมอื่นๆ ให้ลดลงได้ทีหลัง 

ดังนั้นกำไรขั้นต้น เป็นจุดที่สำคัญมาก เพราะผู้ประกอบการบางคนไม่เคยรู้ว่าต้นทุนสินค้ามากกว่าราคาขายที่ตั้งไว้ ทำให้เงินสดขาดมือ สอดคล้องกับวลีที่ว่า “ยิ่งขาย เท่ากับ ยิ่งเจ๊ง

ทำไมต้องสนใจค่าใช้จ่ายหลัก?

เพราะมันมีจำนวนมูลค่าที่สูงและส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ถ้าเราไม่สนใจหรือไม่สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ วันหนึ่งมันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสูงกว่ารายได้จนธุรกิจขาดทุนการควบคุมค่าใช้จ่าย สามารถทำได้หลายวิธี แล้วแต่ลักษณะประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจขายสินค้า ถ้าเรารู้ว่าสินค้าไหนขายดี ขายได้เยอะ เราสามารถเจรจาต่อรองกับซัพพลายเออร์เพื่อซื้อสินค้าล็อตใหญ่แต่ราคาต่อชิ้นถูกขึ้นได้ แม้แต่ค่าแรงงานที่เราสามารถหาเทคโนโลยีมาช่วยให้ลดการจ้างแรงงานคนได้ เป็นต้น

4. กำไรสุทธิ (Net Profit)

แล้วก็มาถึงตัวสุดท้าย ตัวทีเด็ดของผลประกอบการเลย คือ “กำไรสุทธิ” เราสามารถเข้าใจได้ง่ายๆ เลย สูตรคือ กำไรสุทธิ = รายได้ – รายจ่ายทั้งหมดของธุรกิจ ถ้ารายได้มากกว่ารายจ่าย แปลว่าธุรกิจในปียังไปได้ดี สามารถทำกำไรได้ แปลว่ายิ่งขายยิ่งได้กำไร แต่ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่าย จนเกิด “ขาดทุนสุทธิ” อันนี้ต้องดูสาเหตุแล้วครับว่าเกิดอะไร เช่น รายได้น้อยกว่าทุกปี หรือมีรายจ่ายบางตัวสูงขึ้นมากๆในปีนี้ เป็นต้น นั่นแปลว่าถ้าธุรกิจมีกำไร ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเราก็ยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ แต่ถ้าธุรกิจขาดทุนอาจเริ่มเห็นสัญญาณที่ธุรกิจกำลังเผชิญปัญหาอะไรบางอย่าง ซึ่งถ้าไม่รีบแก้ อาจจะเจ๊งจริงๆก็ได้ครับ

อย่างน้อยๆ ผู้ประกอบการมือใหม่ หรือคนที่ไม่เคยเข้าใจตัวเลขเลย ก็จะได้รู้ว่าสิ่งที่ควรรู้และเข้าใจคือเรื่องของผลประกอบการ เพราะค่อนข้างตรงตัว และจับต้องได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น รายได้ (Revenue) กำไรขั้นต้น (Gross Profit) ค่าใช้จ่ายหลัก (Expense) หรือกำไรสุทธิ (Net Profit)

การดูตัวเลขและวิเคราะห์ผลอย่างถูกต้องได้นั้น ตัวเลขเหล่านี้ต้องได้รับความใส่ใจก่อน คือ บันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา เราจึงจะสามารถนำข้อมูลไปตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ลองจินตนาการว่าถ้าบันทึกบัญชีผิดๆ ถูกๆ ข้อมูลที่เราเห็นคงเอาไปทำประโยชน์อะไรไม่ได้เลยครับ
เอาล่ะ! นี่แค่เรื่องแรกนะครับ ใน Ep ถัดไป เราจะยังอยู่กับหัวข้อเดิม แต่จะไปดูในเรื่องที่เหลืออยู่อีก 4 เรื่อง แอบบอกก่อนเลยว่า เรื่องที่ 2 เงินสดและกระแสเงินสด นี้สำคัญสุดๆ เลยครับ เพราะ SMEs หลายรายเจ๊งก็เพราะบริหารเงินสดไม่เป็นนี้แหละครับ  

และสำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่าน Ep. 1 สามารถอ่านได้ที่ “รายจ่ายทางบัญชี” ไม่เท่ากับ “รายจ่ายทางภาษี” เข้าใจความต่าง ช่วยกิจการประหยัดภาษีได้

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @systemseedwebs-comสอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine