ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูง การตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องวางแผนและกำหนดกลยุทธ์เพื่อความอยู่รอดและเติบโตของธุรกิจ ซึ่งนักบัญชีกับการตลาดมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร การตลาดมีความสำคัญกับนักบัญชีหรือไม่ มาตามดูกันในบทความนี้
นักบัญชีกับการตลาดเกี่ยวข้องกันอย่างไร
นักบัญชีกับการตลาดมีความเกี่ยวข้องกัน ในที่นี้จะขออธิบายความเกี่ยวข้องของการตลาดกับนักบัญชีเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ ความเกี่ยวข้องของการตลาดกับนักบัญชีในองค์กรและสำนักงานบัญชี ดังนี้
สำหรับนักบัญชีในองค์กร
ผู้ประกอบการต้องตั้งเป้าหมายและวางแผนการตลาด ซึ่งการวางแผนการตลาดที่ดี ควรมีลักษณะเฉพาะเจาะจง สามารถวัดผลลัพธ์ได้ ทำได้จริงภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น การกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มยอดขายของกิจการ 10% เป็นต้น
นักบัญชีขององค์กรจึงมีบทบาทในการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการดังนี้
1. แนวทางการเติบโตของธุรกิจ
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับยอดขาย โดยไม่คำนึงถึงความสามารถในการทำกำไรของสินค้าแต่ละประเภท นอกจากนี้ผู้ประกอบการมักจะให้ความสำคัญกับยอดขายของสินค้าที่ขายดี ซึ่งไม่ทำให้เกิดกำไรสูงสุด
นักบัญชีสามารถให้คำแนะนำแก่เจ้าของกิจการได้เพราะทราบข้อมูลยอดขาย ต้นทุนขาย และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าขนส่ง ค่าบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบกำไรของสินค้าแต่ละประเภท ซึ่งช่วยในการตัดสินใจวางกลยุทธ์ทางการตลาดได้เป็นอย่างดี ก่อให้เกิดกำไรสูงสุดแก่กิจการ
2. การประหยัดต้นทุนของกิจการ
เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด นอกจากการให้คำแนะนำในการเพิ่มยอดขายของกิจการแล้ว นักบัญชียังสามารถให้คำแนะนำในการลดต้นทุนของกิจการได้อีกด้วย เช่น การให้ข้อมูลต้นทุนขายของสินค้าว่าเกิดจากต้นทุนชนิดใดเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนวัตถุดิบ ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าขนส่ง ค่าแรง เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลในการเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายบริหารที่กิจการจ่ายไปแล้วและก่อให้เกิดรายได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายดังกล่าวก็จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการตลาดของกิจการ
3. ความเสี่ยงของธุรกิจ
นักบัญชีสามารถให้คำแนะนำโดยระบุความเสี่ยงของธุรกิจเพื่อจะได้หาทางป้องกันได้ เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากสินค้าหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ สินค้าค้างสต็อกเป็นเวลานาน หรือความเสี่ยงจากการทุจริตของพนักงานขายที่เก็บเงินจากลูกค้า ความเสี่ยงจากลูกหนี้ที่ค้างชำระเกินกำหนด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการตลาดของธุรกิจทั้งสิ้น
สำหรับสำนักงานบัญชี
สำนักงานบัญชีถือเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่ง ไม่ว่าจะรูปแบบธุรกิจจะเป็นแบบบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด ในการดำเนินธุรกิจย่อมต้องอาศัยการตลาดเป็นพื้นฐานสำคัญ เพราะการตลาดเป็นกิจกรรมในทางธุรกิจที่เป็นการนำบริการไปสู่ผู้ใช้บริการให้ได้รับความพีงพอใจ ปัจจุบันธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการแข่งขันสูง ผู้ประกอบการจึงต้องกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ทางการตลาด รวมทั้งการกำหนด ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) หรือในที่นี้หมายถึง 7Ps ได้แก่ Product (ผลิตภัณฑ์), Price (ราคา), Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย), Promotion (การส่งเสริมการขาย), People (ทรัพยากรบุคคลขององค์กร), Process (กระบวนการและขั้นตอนของสินค้าและบริการ), Physical Evidence (สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ลูกค้าที่มาใช้บริการต้องพบ) เพื่อให้ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้ามากที่สุด มีความยินดีที่จะจ่ายค่าบริการและใช้บริการของสำนักงานบัญชีอย่างต่อเนื่องทุกปี
ความสำคัญของการตลาดกับนักบัญชี
การตลาดมีความสำคัญกับวิชาชีพบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีที่รับทำบัญชี ปิดงบการเงิน การวางระบบบัญชี การให้คำปรึกษาด้านบัญชีและภาษี การรับจดทะเบียน นิติบุคคล เป็นต้น โดยการตลาดมีความสำคัญดังนี้
ช่วยในการสร้างแบรนด์ของสำนักงานบัญชีให้เป็นที่จดจำของลูกค้า
ปัจจุบันธุรกิจสำนักงานบัญชีมีการแข่งขันสูง สำนักงานบัญชีที่ประสบความสำเร็จควรต้องมีแบรนด์ที่เป็นที่จดจำของลูกค้า แบรนด์เป็นเอกลักษณ์ที่จะทำให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น โดยต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนแลให้ความสำคัญกับความต้องการของลูกค้า ได้แก่ การปิดงบการเงิน ยื่น งบการเงิน และยื่นแบบภาษี ถูกต้องครบถ้วนทันตามกำหนดเวลา หรือการให้คำแนะนำในการวางแผนภาษีซึ่งช่วยให้ลูกค้าไม่เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่มจากภาษีย้อนหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ในยุคดิจิทัล การที่สำนักงานบัญชีมีการสื่อสารกับลูกค้าผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น Facebook, You-tube, Line เป็นต้น ทั้งการนำเสนอ Content ในรูปแบบของรูปภาพ บทความและเสียง หรือการตอบคำถามทางบัญชีและภาษี เป็นต้น ทำให้แบรนด์ของสำนักงานบัญชีนั้นมีความโดดเด่นและเป็นที่จดจำในโลกดิจิทัล
ช่วยในการประเมิน SWOT ของสำนักงานบัญชี
การประเมิน SWOT เป็นเทคนิคการวิเคราะห์ทางการตลาดของกิจการ โดยเป็นการวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมและศักยภาพในการประเมินสถานการณ์ในการประกอบธุรกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบกิจการรู้จุดอ่อน จุดแข็ง จากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบจากการประกอบธุรกิจ การนำ SWOT มาใช้เป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและสร้างความได้เปรียบทางการตลาด เทคนิค SWOT นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกธุรกิจรวมทั้งธุรกิจสำนักงานบัญชีด้วย
เทคนิค SWOT ประกอบด้วย
ก. Strength จุดแข็ง
เป็นการวิเคราะห์จุดเด่นหรือข้อได้เปรียบของกิจการ ที่เกิดจากสภาพแวดล้อมสภาพในของกิจการเอง เช่น จุดแข็งทางด้านการเงิน จุดแข็งทางด้านทรัพยากรบุคคล เป็นต้น โดยกิจการสามารถนำจุดแข็งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด
ข. Weakness จุดอ่อน
เป็นการวิเคราะห์จุดด้อยหรือข้อเสียเปรียบของกิจการ ซึ่งเป็นข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในของกิจการ เช่น การขาดสภาพคล่อง การขาดการกำหนดนโยบายในการบริหาร บุคลากรไม่มีคุณภาพ เป็นต้น ซึ่งกิจการจะต้องหาวิธีปรับปรุงหรือกำจัดข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไป
ค. Opportunities ปัจจัยภายนอก
โอกาสเป็นผลจากจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อต่อการดำเนินงานของบริษัท แตกต่างจากจุดแข็งที่เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายในในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยผู้ประกอบการจะต้องแสวงหาซึ่งโอกาสอยู่เสมอ โดยโอกาสต่างๆ นั้นประกอบไปด้วย สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสภาพการแข่งขันในตลาด เป็นต้น
ง. Threats อุปสรรค
อุปสรรคเป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ เช่นอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เป็นต้น
โดยสำนักงานบัญชีสามารถวิเคราะห์ SWOT โดยประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของกิจการ เช่น
จุดแข็ง ได้แก่ การมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มีประสบการณ์ทางด้านบัญชี การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ทันสมัยอย่างโปรแกรม PEAK เป็นต้น
จุดอ่อน ได้แก่ จำนวนบุคลากรของสำนักงานบัญชีมีไม่เพียงพอ หรือบุคลากรไม่มีคุณภาพ ทำให้การให้บริการล่าช้า ตลอดจนการใช้โปรแกรมบัญชีที่ไม่ทันสมัย เป็นต้น
โอกาส ได้แก่ เทคโนโลยีที่ทันสมัยทำให้การปิดบัญชีถูกต้อง รวดเร็ว อย่างปัจจุบันมีโปรแกรมออนไลน์ที่ช่วยในการปิดบัญชีได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าได้รับข้อมูลแบบ real time ที่ถูกต้อง
อุปสรรค ได้แก่ การแข่งขันทางด้านราคาสูง มีจำนวนผู้ให้บริการเป็นจำนวนมาก เป็นต้น 3. ช่วยในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายและลูกค้า
ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด หลายคนคุ้นเคยกันดีกับ Marketing Mix 4Ps หรือส่วนประสมทางการตลาดซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงานการตลาด เป็นปัจจัยที่กิจการสามารถควบคุมได้ กิจการธุรกิจจะต้องสร้างส่วนประสมการตลาดที่เหมาะสมในการวางกลยุทธ์ทางการตลาด (ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ,2541:35-36,337) 4Ps ประกอบด้วย Product (ผลิตภัณฑ์หรือบริการ) Price (ราคา) Place (ช่องทางการจัดจำหน่าย) Promotion (การส่งเสริมการขาย)
ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ ได้แก่ สำนักงานบัญชี ส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสมกับธุรกิจบริการ ได้แก่ 7Ps เป็นการต่อยอดจาก 4Ps โดยมีอีก 3Ps เพิ่มเข้ามา คือPeople Process Physical Evidence ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจบริการ โดย People คือ การจัดการเกี่ยวกับบุคลากร Process คือ กระบวนการในการให้บริการ Physical Evidence คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ลูกค้าที่มาใช้บริการต้องเจอ
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง การนำแนวคิด 7Ps มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดของสำนักงานบัญชี ดังนี้
1. Product
ในที่นี้หมายถึงบริการซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เป็นกระบวนการในการให้บริการแก่ลูกค้า สำหรับสำนักงานบัญชี หมายถึง บริการรับทำบัญชี ปิดงบการเงิน ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ยื่นงบการเงิน การวางระบบบัญชี การให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษี การรับจดทะเบียนบริษัท เป็นต้น
2.Price
การกำหนดราคา ใช้นโยบายราคาถัวเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูง (Medium High Price) โดยพิจารณาจากปริมาณงานที่ต้องให้บริการ รวมทั้งประเมินจากยอดขายต่อเดือนของกิจการ เน้นคุณภาพในการให้บริการ เช่นนอกจากจะรับทำบัญชีแล้วยังมีการให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีและภาษีโดยตลอดด้วย ซึ่งไม่ใช่การแข่งขันกับตลาดล่างที่คิดค่าบริการถูกเพื่อให้ได้ลูกค้า แต่ไม่เน้นคุณภาพของงาน
3. Place
การให้บริการทั้งที่สำนักงานบัญชีหรือที่ตั้งของลูกค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของลูกค้า เช่น สถานที่ตั้งของสำนักงานบัญชีอยู่ในพื้นที่ที่เดินทางเข้าถึงสะดวก มีที่จอดรถเพียงพอ เป็นต้น
4. Promotion
การส่งเสริมการขายของสำนักงานบัญชี เช่น การเปิดเพจของสำนักงานบัญชีใน Facebook มีการทำContent ในรูปของการให้ความรู้ด้วยบทความหรือคลิป หรือการตอบคำถามผ่านแฟนเพจทาง Facebook รวมทั้งการจัดสัมมนาทางบัญชีและภาษีและให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้บริการของสำนักงานบัญชี
5. People
การจ้างบุคลากรของสำนักงานบัญชีที่มีวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี มีประสบการณ์ทางด้านบัญชีอย่างน้อย 2 ปี มีใจรักในงานให้บริการ มีความสามารถในการใช้โปรแกรมบัญชี นอกจากนี้ยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงาน เช่น การปรับเงินเดือนสำหรับผู้ที่สอบ Tax Auditor ได้ เป็นต้น
6. Process
การจัดระบบการทำงานของสำนักงานบัญชี โดยจัดทำคู่มือการทำงานเพื่อให้การทำงานมีระบบเดียวกัน ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพของงานได้ มีการอบรมพนักงานทางด้านบัญชี กฎหมายภาษีอากร อย่างสม่ำเสมอ มีช่องทางการติดต่อกับลูกค้าที่ง่ายและสะดวก เช่น Line Application, E-mail เป็นต้น รวมถึงการนำโปรแกรมบัญชีที่ทันสมัยมาให้บริการแก่ลูกค้า อย่างโปรแกรมPEAK ที่ทำงานผ่านระบบออนไลน์ มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์นักบัญชีและเจ้าของกิจการ ให้ทำบัญชีได้ง่ายและถูกต้อง
7. Physical Evidence
เน้นการเป็นสำนักงานบัญชียุคใหม่ ด้วยการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยให้กับพนักงานแต่ละคน กระดาษหรือซองของสำนักงานที่ใช้ติดต่อลูกค้ามีชื่อที่อยู่ของสำนักงานให้ครบถ้วน รวมทั้งการพิมพ์ข้อมูลภาษาอังกฤษ หรือภาษาจีน ใน Brochure หรือ Website สำหรับลูกค้าต่างชาติ
ทำไมนักบัญชีควรมีความรู้ทางการตลาด
ดังที่กล่าวมาข้างต้น โดยสรุป ไม่ว่าจะเป็นนักบัญชีขององค์กรหรือสำนักงานบัญชี ควรมีความรู้ทางการตลาด เนื่องจาก
สำหรับนักบัญชีขององค์กร
เมื่อนักบัญชีมีความรู้ทางการตลาดจะสามารถเตรียมข้อมูลรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ประกอบการได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถพยากรณ์ยอดขาย และวางแผนการตลาดได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขันและส่งผลต่อการเติบโตขององค์กรในอนาคต
สำหรับสำนักงานบัญชี
การตลาดเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำธุรกิจ สำนักงานบัญชีถือเป็นธุรกิจให้บริการ ถึงแม้จะเป็นการให้บริการด้านงานบัญชี การให้บริการก็เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการสำนักงานบัญชีต้องให้ความสำคัญ การนำแนวคิด SWOT และ 7Ps มาใช้จะช่วยให้สำนักงานบัญชีมีความโดดเด่น มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ประทับใจของลูกค้า
PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ตอบโจทย์ผู้ประกอบการและนักบัญชี ด้วยฟีเจอร์ที่ทันสมัย ปัจจุบันPEAK มีสำนักงานบัญชีที่เป็นพันธมิตรทั่วประเทศกว่า 600 รายที่ให้บริการทำบัญชีด้วยคามถูกต้อง รวดเร็ว
ติดตามความรู้จาก โปรแกรมบัญชี PEAK ได้ที่ peakaccount.com
ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! ครบทุกฟีเจอร์ นาน 30
วัน!
อ้างอิง:
4 เรื่องที่นักบัญชีควรแนะผู้ประกอบการในการวางเป้าหมายธุรกิจ (flowaccount.com)
4 เทคนิคสร้างความสำเร็จให้สำนักงานบัญชี | Prosoft ibiz
7P คืออะไร? รู้จักกับ Marketing Mix 7Ps – GreedisGoods
แผนการตลาดของสำนักงานบัญชียุคใหม่ (ตอน1) (smlaudit.com)