ความรู้ธุรกิจ

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

13 min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

24 min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

4 เม.ย. 2025

PEAK Account

16 min

โปรแกรม Payroll คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? ทำไมทุกองค์กรควรมี!

การจ่ายเงินเดือนอาจดูเหมือนงานประจำที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วมีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจเยอะมาก ตั้งแต่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าคอม ประกันสังคม ภาษี ไปจนถึงการบันทึกบัญชี ถ้าทำด้วยมือหรือ Excel อาจทำให้เสียเวลา หรือผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นโปรแกรมสำหรับทำ Payroll ที่ดีจึงไม่ใช่แค่เรื่องของความสะดวก แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณบริหารงานเงินเดือนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น มาดูกันว่า โปรแกรม Payroll ที่ตอบโจทย์ SME ควรมีอะไรบ้าง โปรแกรม Payroll คืออะไร? โปรแกรม Payroll หรือ โปรแกรมเงินเดือน คือโปรแกรมที่ช่วยจัดการเรื่องการจ่ายเงินเดือน จัดการบริหารเกี่ยวกับเงินเดือน การจ่ายค่าจ้าง ค่านอกเวลา เบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชันของพนักงานทุกคนภายในองค์กร ซึ่งโปรแกรม Payroll จะช่วยดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่การช่วยคำนวณด้านภาษี ไปจนถึงการออกเอกสารที่ต้องมอบให้พนักงานหลังจากจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วอีกด้วย ทำให้โปรแกรมประเภทนี้เข้ามาเป็นส่วนช่วยให้การทำงานของผู้ที่รับหน้าที่ตรงนี้ได้ง่ายดายขึ้น ช่วยลดปัญหาข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น สามารถใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ การนำเครื่องมือนี้เข้ามา จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่พนักงานในองค์กรได้  ทำไมผู้ประกอบการทุกคนควรมี โปรแกรม Payroll  ผู้ประกอบการหลายท่านอาจคิดว่า รอพนักงานเยอะ ๆ ก่อนค่อยหาโปรแกรม Payroll มาใช้ แต่ตามจริงแล้วไม่จำเป็นต้องรอพนักงานหลักร้อยคนก็สามารถเริ่มใช้ได้เลย เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวก ลดงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง และเป็นการวางระบบแผนงานการจ่ายเงินอย่างเป็นระเบียบ ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารที่วุ่นวาย ทำให้การจัดการเรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ผู้ประกอบการเริ่มใช้ตั้งแต่เนิ่น ๆ  โปรแกรม Payroll ที่ดีเป็นอย่างไร? โปรแกรม Payroll หรือโปรแกรมเงินเดือน คือเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการด้านการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชัน หรือสวัสดิการอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนที่ทุกกิจการต้องบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โปรแกรม Payroll ที่ดีจะช่วยให้งานด้านนี้เป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานแบบแมนนวล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านการเงินขององค์กรอย่างมีระบบและเป็นมืออาชีพ แล้วโปรแกรม Payroll ที่ดีเป็นอย่างไร? มาดูกันเลย 1. ออกสลิปเงินเดือนได้ทันทีได้ง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ เจ้าของกิจการหลายคนต้องเสียเวลากับการจัดทำสลิปเงินเดือนให้พนักงานทีละคน ซึ่งยิ่งมีพนักงานหลายคนก็ยิ่งใช้เวลานาน โปรแกรมที่ดีควรช่วยให้คุณสร้างสลิปเงินเดือนได้ในไม่กี่ขั้นตอน โดยดึงข้อมูลจากการคำนวณที่ระบบทำไว้แล้วมาใส่ในฟอร์มสลิปให้อัตโนมัติ พร้อมระบุรายการต่าง ๆ อย่างชัดเจน เช่น ฐานเงินเดือน โบนัส หรือรายการหักต่าง ๆ จากนั้นก็สามารถดาวน์โหลดหรือส่งให้พนักงานได้เลยทันที ไม่ต้องทำซ้ำหลายรอบ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีควรมีระบบสร้างสลิปจากข้อมูลที่มีในระบบ และคำนวณเงินเดือนให้อัตโนมัติ สามารถปรับรูปแบบ สีหรือใส่โลโก้บริษัทได้ สามารถ export เป็นไฟล์ PDF หรือส่งให้พนักงานผ่าน E-mail ได้ทันที โปรแกรมสลิปเงินเดือนที่ดีระบุรายการหัก-จ่ายอย่างชัดเจน เช่น ฐานเงินเดือน โบนัส หักประกันสังคม ภาษี เป็นต้น สมมุติว่าคุณมีพนักงาน 15 คน แต่ละคนมีค่าล่วงเวลาและโบนัสต่างกัน หากไม่มีระบบช่วย คงต้องนั่งกรอก Excel ทีละคน แล้วพิมพ์สลิปด้วยมือ แต่ถ้าใช้โปรแกรม Payroll คุณกรอกข้อมูลหรืออัปโหลด Excel แล้วกด “สร้างสลิป” ได้เลยภายในไม่กี่วินาที 2. เชื่อมต่อกับระบบประกันสังคมออนไลน์ พร้อมยื่นในระบบ SSO e-service ได้เลย การยื่นประกันสังคมผ่านระบบ SSO e-service ทุกเดือนถือเป็นภาระที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และถ้าทำแบบแมนนวลอาจใช้เวลามาก โปรแกรมที่ดีควรมีระบบเตรียมไฟล์สำหรับยื่นแบบอัตโนมัติ โดยดึงข้อมูลจากเงินเดือนของพนักงานมาแปลงเป็นรูปแบบที่ประกันสังคมกำหนดไว้ ช่วยลดเวลาการกรอกข้อมูลและมั่นใจได้ว่าส่งครบ ถูกต้อง และทันเวลา ดังนั้นควรเลือกโปรแกรมที่สามารถดึงข้อมูลค่าจ้างจากเงินเดือนที่คำนวณไว้แล้ว มาสร้างไฟล์นำส่งที่ตรงตามรูปแบบของประกันสังคม พร้อมมีลิงก์หรือปุ่มเชื่อมตรงเข้าสู่ระบบ SSO ได้เลย เพื่อให้คุณสามารถยื่นข้อมูลเข้าสู่ระบบ SSO e-service ได้ทันทีจากในระบบ ไม่ต้องเสียเวลาสลับไปกรอกข้อมูลใหม่ทีละช่อง ช่วยลดโอกาสผิดพลาดจากการคีย์ข้อมูลซ้ำ และยังทำให้การยื่นงานในแต่ละเดือนกลายเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วขึ้นมาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือฝ่ายบุคคลที่ต้องดูแลพนักงานจำนวนมาก หรือมีหลายสาขา เพราะระบบจะช่วยรวมข้อมูลทุกอย่างไว้ให้ในที่เดียว พร้อมใช้งานทันที และมั่นใจได้ว่าทำตามรูปแบบที่ประกันสังคมกำหนดอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกครั้ง 3. คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ การคำนวณภาษีเงินเดือนเป็นงานที่ต้องเป๊ะ เพราะถ้าคำนวณผิด ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ก็อาจกระทบกับพนักงานหรือทำให้คุณต้องเสียเวลายื่นแก้ไขย้อนหลัง โปรแกรมทำเงินเดือนที่ดีควรคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้อัตโนมัติ โดยอิงตามฐานเงินเดือนและสิทธิลดหย่อนที่กฎหมายกำหนด พร้อมสร้างรายงานหรือเอกสารประกอบการยื่นแบบภาษีให้ครบถ้วน ลดงานซ้ำซ้อนและลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการคำนวณ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีควรรองรับการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดตามอัตรากฎหมาย เช่น ลดหย่อนต่าง ๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว เบี้ยประกันชีวิต ฯลฯ สามารถสรุปยอดนำส่งภาษีและสร้างไฟล์นำส่งแบบ ภ.ง.ด.1 และสร้างใบแนบภาษีและรายงานภาษีประจำเดือนได้ ยกตัวอย่างเช่น หากพนักงานมีเบี้ยเลี้ยงพิเศษ โบนัส หรือค่าคอมมิชชันเพิ่มขึ้นในเดือนใด ระบบต้องสามารถคำนวณภาษีได้ถูกต้องแบบ real-time โดยที่คุณไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลขหรือเปิดตารางภาษีดูเอง 4. เชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชี เพื่อบันทึกบัญชีอัตโนมัติ เมื่อจ่ายเงินเดือนแล้ว ก็ต้องมีการบันทึกบัญชีตามมา เช่น บันทึกค่าใช้จ่าย เงินหักภาษี หรือประกันสังคม ถ้าต้องทำแยกกันจะเสียเวลามาก โปรแกรมที่ดีควรเชื่อมต่อกับระบบบัญชีโดยตรง เมื่อคำนวณ Payroll เสร็จ สามารถสั่งบันทึกรายการบัญชีได้เลยทันที ข้อมูลจะถูกลงบัญชีแยกประเภทอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ทำให้งานบัญชีและงานเงินเดือนไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ต้องทำซ้ำสองรอบ ลดโอกาสผิดพลาด ทำงบการเงินประจำเดือนเร็วขึ้น และทำให้ระบบบัญชี-เงินเดือน “คุยกันรู้เรื่อง” ซึ่งสำคัญมากสำหรับ SME ที่มีทีมงานเล็กและเวลาจำกัด กิจการไหนที่ควรใช้โปรแกรม Payroll สำหรับผู้ประกอบการท่านไหนที่ยังตัดสินใจว่าจะใช้โปรแกรม Payroll ดีหรือไม่ ในส่วนนี้เรามาดูกันว่าองค์กร กิจการไหนบ้างที่ควรเริ่มต้นนำโปรแกรมเหล่านี้มาปรับใช้โดยทันที กิจการที่มีพนักงานจำนวนมาก แน่นอนว่าเมื่อจำนวนพนักงานที่เยอะ ทำให้การจัดการเรื่องเงินเดือนกลายเป็นเรื่องยาก วุ่นวาย เพราะนอกจากต้องมาคอยนั่งคำนวณเงินให้ทีละคนแล้ว พนักงานแต่ละคนอาจยังมีค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย นอกจากนี้หลังจากที่คำนวณเสร็จต้องออกสลิปเงินเดือนให้พนักงานส่งให้แต่ละคนอีกต่างหาก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานเยอะ ต้องเริ่มต้นใช้โปรแกรม Payroll โดยทันที กิจการที่ต้องการทำระบบบัญชีให้เรียบร้อย การจัดการเรื่องบัญชีในองค์กรให้เป็นระบบกลายเป็นเรื่องสำคัญที่บางครั้งอาจเป็นจุดพาไปสู่ความสำเร็จขององค์กรเลยก็ได้ เพราะองค์กรที่มีระบบบัญชีดี ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งการจ่ายเงินเดือนพนักงานก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี ซึ่งโปรแกรม Payroll ก็เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลการจ่ายเงินให้เป็นระเบียบมากขึ้น เรียกดูข้อมูลได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถเรียกดูตามแผนก เพื่อให้เห็นภาพรวมการจ่ายเงินเดือนขององค์กร ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ที่สำคัญคือข้อมูลจะไม่หายไปไหนเพราะอยู่ในโปรแกรม และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องกลัวข้อมูลรั่วไหล เพราะหลาย ๆ โปรแกรมสามารถเลือกผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้ กิจการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ก่อนที่ AI จะเป็นกระแสทุกวันนี้ โปรแกรมช่วยทำงานอย่าง โปรแกรมจัดการเงินเดือน ก็ขึ้นชื่อเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เพราะเข้ามาช่วยจัดการลดขั้นตอนการทำงานที่กินเวลา แต่ไม่จำเป็นมาก ช่วยให้การทำงานหลายอย่างในองค์กรง่ายมากยิ่งขึ้น อันเป็นส่วนช่วยให้พนักงานสามารถใช้เวลากับงานที่จำเป็นมากกว่าได้ แนะนำ PEAK Payroll สำหรับคำนวณค่าจ้างเพื่อผู้ประกอบการ โปรแกรมบัญชี PEAK ไม่ได้ดูแลเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบัญชีอย่างเดียว แต่ยังมี PEAK Payroll เป็นโปรแกรม Payroll ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่บัญชี หรือ HR จัดการกับระบบ Payroll ได้อย่างง่ายดาย ลดขั้นตอนการทำงาน และด้วยการออกแบบโปรแกรมที่เข้าใจผู้ใช้งานจริง ๆ จึงใช้งานง่าย ไม่ว่ากิจการของคุณจะให้พนักงานบัญชีดูแลเรื่องเงินเดือน หรือเจ้าหน้าที่บุคคลก็รับรองว่าเข้าใจการใช้งานได้ไม่ยากแน่นอน  ซึ่งตัวโปรแกรม Payroll ของ PEAK สามารถดูแลเรื่องระบบการจ่ายเงินเดือนได้ครบวงจรตั้งแต่การคำนวณเงินเดือน เก็บข้อมูล ออกสลิปเงินเดือน ไปจนถึงการทำรายงานต่าง ๆ เรียกได้ว่าโปรแกรมเดียวจบ ยิ่งองค์กรไหนอย่างจัดการระบบบัญชี PEAK คือคำตอบแน่นอน สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจ มองหาโปรแกรมดูแลเรื่องการจ่ายเงินเดือนพนักงานอยู่ บอกเลยว่าห้ามพลาดโปรแกรมบัญชี PEAK เริ่มต้นใช้งาน PEAK Payroll วันนี้ เพื่อการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ ไม่ว่ากิจการของคุณจะมีพนักงานหลัก 10 หรือหลัก 100 การเริ่มต้นใช้โปรแกรม Payroll ในการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานตั้งแต่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นการช่วยลดขั้นตอนการทำงาน แถมยังเป็นการวางรากฐานด้านระบบบัญชีให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นอย่ามัวลังเลแล้วมาเริ่มต้นใช้กันได้เลย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

25 มี.ค. 2025

PEAK Account

7 min

เชื่อม empeo x PEAK จัดการเงินเดือนง่ายขึ้น ลดเวลาทำงานซ้ำซ้อน

เบื่อไหม? กับการจัดการเงินเดือนที่ยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และเสี่ยงข้อผิดพลาด การทำเงินเดือนแต่ละครั้งอาจใช้เวลานาน ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำ ๆ และยังมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดที่ทำให้ต้องย้อนกลับไปแก้ไขซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เสียเวลาและเพิ่มภาระงานที่ไม่จำเป็น แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อคุณชื่อมต่อข้อมูลแบบอัตโนมัติจาก empeo เข้าสู่ระบบโปรแกรมบัญชี PEAK ทำให้การจัดการเงินเดือนและข้อมูลบัญชีเป็นเรื่องที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น empeo เป็นระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) ที่ครบวงจร ช่วยจัดการตั้งแต่การคำนวณเงินเดือน การจัดเก็บข้อมูลพนักงาน การบริหารเวลาทำงาน ไปจนถึงการสร้าง Engagement ในองค์กร ผ่านฟังก์ชันที่ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง เชื่อมต่อระหว่าง empeo กับโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ดีอย่างไร empeo x PEAK คือ การเชื่อมต่อระหว่างระบบ HR อย่าง empeo กับโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ซึ่งช่วยให้การจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน และการบันทึกบัญชีเป็นเรื่องง่ายและอัตโนมัติมากขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพของการจัดการงานบุคคลและงานบัญชีจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังนี้ จัดการเงินเดือนครบวงจร ระบบสามารถคำนวณเงินเดือน ค่าล่วงเวลา (OT) โบนัส และการหักภาษีได้อย่างแม่นยำ พร้อมบันทึกข้อมูลทั้งหมดลงในระบบบัญชีของ PEAK โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีอัตโนมัติ ข้อมูลสรุปเงินเดือนและการจ่ายเงินจะถูกบันทึกลงใน PEAK ทันที ข้อมูลที่บันทึกในระบบจะถูกอัปเดตแบบเรียลไทม์ ทำให้คุณสามารถติดตามข้อมูลทางการเงินและสถานะการจ่ายเงินเดือนได้ทันที ลดขั้นตอนซ้ำซ้อน ไม่ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำซ้อน ลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด ข้อมูลถูกซิงค์ระหว่าง empeo และ PEAK โดยอัตโนมัติ ประหยัดเวลาและลดภาระงานของทีม HR ทำไมต้องใช้ empeo x PEAK? การใช้ empeo ร่วมกับ PEAK ไม่เพียงช่วยลดเวลาทำงาน แต่ยังเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณและการบันทึกข้อมูลทางบัญชี ทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ระบบสามารถสร้างรายงานสรุปเงินเดือนได้อย่างครบถ้วน และรองรับการตรวจสอบเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นภาษีได้ทันที ซึ่งช่วยให้การจัดการด้านบัญชีและงาน HR มีความสอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์ เหมาะกับใคร? เริ่มต้นใช้ empeo x PEAK ง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน เปลี่ยนวิธีการจัดการเงินเดือนและบัญชีให้เป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว! 👉 เริ่มต้นใช้งานฟรีวันนี้ สิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้า PEAK รับข้อเสนอ 3 ต่อ 1: ทดลองใช้งานฟรี 30 วันเต็ม!2: สมัครใช้งานต่อแบบแพ็กเกจรายปี จ่ายเพียง 10 เดือน ใช้ได้นาน 13 เดือน3: สำหรับแพ็กเกจ Pro ขึ้นไป เมื่อซื้อ IOMO รับสิทธิ์ติดตั้ง ฟรี 1 จุด (มูลค่า 4,500 บาท)*เฉพาะลูกค้าใหม่ ที่ไม่เคยใช้บริการ empeo มาก่อนเท่านั้น กรอก code EMPEO30P ได้เลย ระยะเวลาคูปอง: วันนี้ – 30 มิถุนายน 2568  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

7 มี.ค. 2025

PEAK Account

13 min

ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ง่ายขึ้น 2 เท่า แค่เชื่อม ZORT กับ PEAK

สำหรับเจ้าของธุรกิจ E-commerce อย่างร้านค้าออนไลน์ที่ขายบน Shopee, Lazada หรือ Facebook การทำบัญชีอาจเป็นงานที่ใช้เวลานานและมีความยุ่งยาก โดยเฉพาะการบันทึกข้อมูลการขาย การซื้อ และการคืนสินค้า แต่ตอนนี้การทำบัญชีไม่ต้องยุ่งยากอีกต่อไป ด้วยการเชื่อมต่อระหว่าง PEAK x ZORT จะช่วยให้ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ง่ายขึ้น 2 เท่า ในบทความนี้จะพาทุกคนมาดูว่าทำไมต้องใช้ PEAK x ZORT พร้อมรีวิวจากผู้ใช้งานจริง PEAK x ZORT คืออะไร ช่วยทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ได้อย่างไร? PEAK x ZORT คือการเชื่อมต่อระหว่าง PEAK (โปรแกรมบัญชีออนไลน์) และ ZORT (ระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกสินค้า) เพื่อช่วยให้ธุรกิจ E-commerce ทำงานได้อย่างอัตโนมัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีบทบาทหลักดังนี้ เมื่อเชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ข้อมูลจากคำสั่งซื้อและการขายจะถูกส่งไปยังระบบบัญชีอัตโนมัติ ลดความซ้ำซ้อนของการบันทึกข้อมูล และช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามรายรับ รายจ่าย และกำไร-ขาดทุนได้แบบเรียลไทม์​ ทำไมร้านค้าออนไลน์ ต้องใช้ PEAK x ZORT ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ได้ครบวงจรในที่เดียว ธุรกิจ E-commerce หรือร้านค้าออนไลน์ มีหลายกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้า การรับชำระเงิน ค่าใช้จ่ายต่างๆ และการคำนวณภาษี หากต้องทำทุกอย่างเอง เจ้าของร้านค้าจะต้องเสียเวลาในการบันทึกข้อมูล คีย์เอกสาร และตรวจสอบยอดขายที่อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ PEAK x ZORT ช่วยให้คุณสามารถรวมทุกกระบวนการบัญชีไว้ในที่เดียว สรุป: ระบบช่วยให้คุณทำบัญชีครบทุกขั้นตอนแบบอัตโนมัติ ไม่ต้องแยกจัดการหลายระบบให้ยุ่งยาก ลดขั้นตอนทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ให้แม่นยำและอัตโนมัติ ไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อน การทำบัญชีด้วยมืออาจต้องคีย์ข้อมูลซ้ำหลายรอบ เช่น จากระบบขายไปยังระบบบัญชี หรือจากใบสั่งซื้อไปเป็นรายจ่าย ระบบ PEAK x ZORT ช่วยให้ข้อมูลเชื่อมต่อกันโดยอัตโนมัติ ลดโอกาสผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลเอง อัปเดตบัญชีอัตโนมัติ เมื่อมีการขายสินค้า ระบบจะสร้างเอกสาร เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีทันที โดยไม่ต้องทำเอง ลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ (Human Error) การคีย์ข้อมูลด้วยตนเองมีโอกาสผิดพลาดสูง ไม่ว่าจะเป็นการใส่ตัวเลขผิด การคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง หรือการบันทึกเอกสารผิด ระบบช่วยให้มั่นใจว่าข้อมูลมีความแม่นยำ ลดภาระงานบัญชีที่ใช้เวลา ระบบช่วยให้คุณทำบัญชีได้เร็วขึ้นกว่าเดิม เจ้าของร้านสามารถโฟกัสที่การขายและขยายธุรกิจได้เต็มที่ อัปเดตข้อมูลทำบัญชีร้านค้าออนไลน์แบบเรียลไทม์ รู้สต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ เชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ทำให้ข้อมูลสต๊อกอัปเดตอัตโนมัติเมื่อมีการขายหรือคืนสินค้า เจ้าของร้านสามารถตรวจสอบว่าสินค้าคงเหลือเท่าไหร่ ควรสั่งเพิ่มเมื่อใด และหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าหมดสต๊อกโดยไม่รู้ตัว ติดตามยอดขายได้ทุกช่องทาง PEAK และ ZORT รองรับการขายจากหลายแพลตฟอร์ม เช่น Shopee, Lazada, Facebook, LINE SHOPPING และอื่นๆ ทำให้เห็นยอดขายจากทุกช่องทางในที่เดียว สถานะการเงินอัปเดตทันที PEAK แสดงข้อมูลรายรับ รายจ่าย และกำไรแบบเรียลไทม์ เจ้าของร้านสามารถวิเคราะห์ผลประกอบการและตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ รายงานธุรกิจที่แม่นยำและเข้าใจง่าย ไม่ต้องรอสิ้นเดือนเพื่อดูรายงาน เพราะระบบสามารถดึงข้อมูลได้ตลอดเวลา ทั้งรายงานสรุปยอดขาย รายจ่าย และผลกำไร สรุป: PEAK x ZORT ช่วยให้ข้อมูลทางธุรกิจของคุณอัปเดตแบบเรียลไทม์ ลดความผิดพลาดและช่วยให้คุณบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ร่วมกับนักบัญชีได้ง่ายขึ้น ระบบออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานร่วมกับนักบัญชี PEAK มีฟีเจอร์ที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีสามารถเข้าถึงข้อมูลเดียวกันได้ โดยไม่ต้องส่งเอกสารไปมา เช่น นักบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้น นักบัญชีสามารถดึงข้อมูลจาก PEAK เพื่อยื่นภาษี จัดทำงบการเงิน และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีให้เจ้าของธุรกิจได้โดยไม่ต้องขอเอกสารเพิ่มเติม รองรับการทำงานออนไลน์ เจ้าของร้านและนักบัญชีสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ ไม่ต้องเดินทางไปพบกัน ลดเวลาการทำงานร่วมกัน สรุป: PEAK x ZORT ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและนักบัญชีทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา และลดปัญหาความผิดพลาดจากการส่งข้อมูลผิดพลาด PEAK x ZORT ช่วยทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ได้อย่างไรบ้าง? เมื่อเชื่อมต่อ ZORT กับ PEAK ข้อมูลสำคัญจะส่งตรงถึงกันอัตโนมัติ ไม่ต้องคีย์ซ้ำ ไม่ต้องสลับระบบไปมา ลดเวลาและลดความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมถึง: 1. รายการขาย: บันทึกอัตโนมัติ ลดเวลาทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ ทุกครั้งที่มีคำสั่งซื้อจาก ZORT ระบบจะสร้างเอกสารทางบัญชีใน PEAK ทันที 2. รายการซื้อ: ควบคุมต้นทุน และดูบัญชีร้านค้าออนไลน์แบบเรียลไทม์ เมื่อลงบันทึก ใบสั่งซื้อ หรือค่าใช้จ่ายใน ZORT ข้อมูลจะถูกส่งไปยัง PEAK โดยอัตโนมัติ 3. รายการรับคืนสินค้า: อัปเดตการทำบัญชีร้านค้าออนไลน์และสต๊อกสินค้าอัตโนมัติ หากลูกค้าทำการคืนสินค้า ZORT จะส่งข้อมูลไปยัง PEAK เพื่ออัปเดตรายการบัญชี 4. รายการคืนสินค้า (กรณีซื้อ) : ตรวจสอบต้นทุนสินค้าได้ง่ายขึ้น หากร้านค้าคืนสินค้าที่ซื้อมา ZORT จะส่งข้อมูลไปยัง PEAK ให้โดยอัตโนมัติ รีวิวจากผู้ที่เชื่อม ZORT ร่วมกับ PEAK ทำบัญชีร้านค้าออนไลน์ “ZORT ช่วยจัดการตัดสต๊อก และดึงเข้า Peak ระบบบัญชีได้ทันที ทำให้เราจัดการสต๊อกและบัญชีได้อย่าง Seamless” นพรัตน์ อาฒยะพันธ์, Northland Tea, บริษัท ชาดีออร์แกนิค จำกัด อยากทำบัญชีร้านค้าออนไลน์และจัดการออเดอร์ได้ง่ายขึ้น? ถ้าคุณเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องวุ่นกับการบันทึกบัญชีและจัดการออเดอร์ทุกวัน PEAK x ZORT ช่วยให้ทุกอย่างเป็นเรื่องง่าย! แค่เชื่อมต่อระบบ ข้อมูลการขาย รายการซื้อ และการคืนสินค้าจะอัปเดตอัตโนมัติ ไม่ต้องคีย์เอง ไม่ต้องสลับไปมาระหว่างระบบ ลดงานซ้ำซ้อนและข้อผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคำสั่งซื้อจาก ZORT จะถูกบันทึกเข้า PEAK ทันที พร้อมออกใบเสร็จและใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ ไม่ต้องเสียเวลาจัดการเอกสารเอง นอกจากนี้ ระบบยังช่วยอัปเดตสต๊อกสินค้า คำนวณต้นทุน และดูรายงานทางการเงินได้แบบเรียลไทม์ ทำให้คุณบริหารธุรกิจได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายของผ่าน Shopee, Lazada, Facebook หรือช่องทางไหน PEAK x ZORT ก็ช่วยให้คุณเห็นภาพรวมธุรกิจได้ชัดเจน วางแผนการเงินได้อย่างมั่นใจ ลองเชื่อมต่อ PEAK x ZORT วันนี้ แล้วคุณจะรู้ว่า “การทำบัญชีร้านค้าออนไลน์” ไม่ได้ยากอย่างที่คิด! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

5 มี.ค. 2025

PEAK Account

22 min

รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ของคุณ!

สำนักงานบัญชีถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสนับสนุนธุรกิจ SME ให้ดำเนินงานได้อย่างราบรื่น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็ว ความคาดหวังของลูกค้าสูงขึ้น และกฎระเบียบด้านบัญชีภาษีมีความซับซ้อนมากขึ้น การทำงานในสำนักงานบัญชีแบบเดิมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารสำนักงานบัญชี จึงเป็นเรื่องที่ทุกสำนักงานบัญชีควรให้ความสำคัญ ไม่เพียงช่วยลดความผิดพลาด แต่ยังเพิ่มคุณภาพบริการและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำ รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ที่สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรของคุณให้ทำงานได้เร็วขึ้น มีระบบมากขึ้น และช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้ลูกค้าจะมีอะไรบ้างนั้นมาติดตามกันได้เลย ทำไมต้องให้ความสำคัญ กับ กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานบัญชี ในยุคที่ธุรกิจแข่งขันกันสูงขึ้นทุกวัน สำนักงานบัญชีก็หนีไม่พ้นแรงกดดันนี้เช่นกัน หากคุณเป็นเจ้าของสำนักงานบัญชี แล้วเลือกที่จะทำงานแบบเดิมๆ โดยไม่มองหาแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพ อาจทำให้สำนักงานของคุณเสียเปรียบและตามคู่แข่งไม่ทัน แล้วผลลัพธ์คืออะไร?ลูกค้าอาจเลือกใช้บริการจากสำนักงานที่ตอบโจทย์ได้รวดเร็วกว่า ให้บริการที่ครบถ้วนกว่า หรือมีการใช้เทคโนโลยีช่วยทำงานจนประหยัดเวลาลูกค้าได้มากกว่า นี่อาจส่งผลให้จำนวนผู้จ้างลดลง และที่สำคัญไปกว่านั้น ประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำลงอาจกระทบคุณภาพงานและความพึงพอใจของลูกค้าเดิมด้วย ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพให้สำนักงานบัญชี ให้ประโยชน์อย่างไร การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในสำนักงานบัญชี ไม่ใช่แค่การทำให้ทุกอย่างเร็วขึ้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพงาน ลดข้อผิดพลาด และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในระยะยาว มาดูกันว่า หากสำนักงานบัญชีของคุณปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะได้ประโยชน์อะไรบ้าง 1. ลดงานซ้ำซ้อน ประหยัดเวลามากขึ้น เคยสังเกตไหมว่า เวลาส่วนใหญ่ในสำนักงานบัญชีหมดไปกับงานเดิมๆ เช่น การกรอกข้อมูลซ้ำในเอกสารหลายชุด ออกใบกำกับภาษี บันทึกบัญชี ไปจนถึงการจัดทำรายงานภาษีทุกเดือน งานเหล่านี้ใช้เวลามาก และมักเป็นจุดที่เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ✅ ถ้าสำนักงานของคุณมีระบบที่ช่วยดึงข้อมูลเข้ามาอัตโนมัติ หรือสร้างเอกสารต่างๆ ได้จากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว คุณจะลดเวลาทำงานซ้ำซ้อนลงอย่างมหาศาล ทีมงานก็จะมีเวลาไปโฟกัสกับงานที่สำคัญกว่า เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนออินไซต์ให้กับลูกค้า หรือให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แทนการทำงานเอกสารล้วนๆ 2. ลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ (Human Error) ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ อย่างตัวเลขผิด หรือการพิมพ์ข้อมูลซ้ำไม่ตรงกัน อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้กับสำนักงานบัญชีได้ ไม่ว่าจะเป็นการยื่นภาษีผิด ส่งงบการเงินไม่ครบ หรือทำให้ลูกค้าสูญเสียความเชื่อมั่น ✅ เมื่อใช้ระบบดิจิทัลหรือโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สามารถเชื่อมข้อมูลและตรวจสอบความถูกต้องได้อัตโนมัติ โอกาสเกิดข้อผิดพลาดจะลดลงทันที และคุณยังสามารถตั้งระบบแจ้งเตือนเมื่อข้อมูลผิดปกติได้อีกด้วย 3. ยกระดับการให้บริการลูกค้า สร้างความประทับใจ ทุกวันนี้ ลูกค้าคาดหวังมากกว่าการได้รับงบการเงินหรือเอกสารภาษีตรงเวลา แต่พวกเขาต้องการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ต้องการคำแนะนำที่แม่นยำจากสำนักงานบัญชีที่เข้าใจธุรกิจของพวกเขาจริงๆ ✅ หากสำนักงานบัญชีของคุณทำงานรวดเร็ว ส่งข้อมูลได้ครบถ้วนและตรงเวลา รวมถึงสามารถให้คำแนะนำเชิงวิเคราะห์จากข้อมูลที่แม่นยำได้ คุณจะกลายเป็น “ที่ปรึกษาทางธุรกิจ” ที่ลูกค้าไว้วางใจ ไม่ใช่แค่ “ผู้ทำบัญชี” ธรรมดา และนั่นจะทำให้ลูกค้าพร้อมแนะนำต่อให้กับเพื่อนเจ้าของธุรกิจรายอื่นๆ ด้วย ทั้งหมดนี้คือเหตุผลว่าทำไมการเพิ่มประสิทธิภาพสำนักงานบัญชี ไม่ใช่แค่ “ทางเลือก” แต่คือสิ่งจำเป็นในการอยู่รอดและเติบโตในยุคนี้ รวม 5 กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 1 จัดการระบบการทำงาน แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน ปัญหาหลักของสำนักงานบัญชีหลายแห่งมักเกิดจากการทำงานซ้ำซ้อนและขาดการแบ่งหน้าที่ที่ชัดเจน ทำให้พนักงานทำงานหนักเกินไปและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย โดยเฉพาะในสำนักงานบัญชีที่มีการทำงานหลายขั้นตอนที่ต้องการความแม่นยำและรวดเร็ว การจัดการระบบงานให้มีความชัดเจนและมีขั้นตอนที่เป็นระเบียบจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดภาระการทำงานที่ไม่จำเป็นและสามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ หนึ่งในวิธีที่สามารถช่วยจัดระเบียบงานให้มีประสิทธิภาพคือการแบ่งหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญของแต่ละคน โดยการมอบหมายงานให้กับบุคคลที่มีความชำนาญในแต่ละด้าน เช่น การทำบัญชี การตรวจสอบภาษี หรือการจัดการเอกสาร ซึ่งจะทำให้แต่ละคนสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อนกัน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความรับผิดชอบและการติดตามผลได้อย่างชัดเจน การใช้เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการงานก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เช่นการใช้ Workflow หรือ Project Management Tool ที่ช่วยในการติดตามงานได้อย่างเป็นระบบและโปร่งใสมากขึ้น เครื่องมือเหล่านี้ เช่น Trello หรือ Notion จะช่วยให้ทุกคนสามารถเห็นภาพรวมของโครงการได้ทันที พร้อมกับกำหนดเป้าหมายและขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน สามารถติดตามความคืบหน้าของงานแต่ละชิ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งพาความจำหรือการคุยกันในแต่ละครั้ง ซึ่งช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาในการติดต่อสื่อสารและทำให้ทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น การจัดระเบียบงานอย่างมีระบบนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงานบัญชีและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 2 ทำการตลาดอย่างสม่ำเสมอ สำนักงานบัญชีหลายแห่งมักมองข้ามกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้รายได้ไม่เติบโตตามที่คาดหวัง การเริ่มให้ความสำคัญกับการตลาดและการโฆษณาเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และสร้างโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับสำนักงานบัญชี การทำการตลาดสำหรับสำนักงานบัญชีสามารถเริ่มต้นได้จากการสร้างแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์และแสดงถึงความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เช่น การให้คำปรึกษาด้านภาษี การจัดทำบัญชี และบริการทางการเงินสำหรับธุรกิจต่าง ๆ การสร้างตัวตนของแบรนด์ให้ชัดเจนและมีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจในการใช้บริการ ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างเว็บไซต์ที่เป็นหน้าสำนักงานออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่สำนักงานบัญชีมีและสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่ายดาย นอกจากเว็บไซต์แล้ว การใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางในการโปรโมทสำนักงานบัญชีก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ เช่น การเปิดบัญชี Facebook, Instagram หรือ LinkedIn ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและตรงกลุ่ม รวมถึงการสร้างเนื้อหาผ่านช่องทาง TikTok ที่เป็นที่นิยมในยุคดิจิทัล โดยการนำเสนอคอนเทนต์สั้น ๆ ที่ให้ข้อมูลสาระสำคัญเกี่ยวกับการบัญชีหรือภาษี ซึ่งช่วยสร้างการรับรู้เกี่ยวกับบริการและแสดงถึงความเชี่ยวชาญของสำนักงานบัญชี การทำการตลาดออนไลน์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ยังเปิดโอกาสให้สำนักงานบัญชีสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ที่มีความสนใจในบริการด้านการเงินและบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกใช้ช่องทางออนไลน์ที่เหมาะสมจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มรายได้ในระยะยาว กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 3 ให้ความสำคัญในเรื่องการให้บริการ การหาลูกค้าใหม่เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่การทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำๆ เป็นสิ่งที่ยากกว่า และสามารถสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาวได้มากกว่า ลูกค้าที่เคยใช้บริการกับเราหากได้รับการดูแลอย่างดีและมีความประทับใจในการบริการ พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้บริการอีกครั้ง การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน การให้บริการที่ดีเริ่มต้นจากการติดตามลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ หากลูกค้ามีข้อสงสัยหรือคำถาม ควรตอบกลับอย่างรวดเร็วและให้ข้อมูลที่ชัดเจนและครบถ้วน เพื่อไม่ให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องรอนานหรือไม่สามารถติดต่อได้ สิ่งนี้จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าพวกเขามีความสำคัญ และสร้างความไว้วางใจในบริการของเรา นอกจากนี้ การทำงานให้มีประสิทธิภาพและตรงตามเป้าหมายของลูกค้าก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ลูกค้าเห็นถึงความสามารถและความใส่ใจในการทำงานของเรา การทำงานที่ตรงตามเวลาหรือผลลัพธ์ที่ลูกค้าต้องการ โดยไม่มีข้อผิดพลาด จะช่วยเสริมสร้างความประทับใจและเพิ่มโอกาสในการกลับมาใช้บริการซ้ำ อีกทั้ง การพัฒนาการบริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การขอข้อเสนอแนะจากลูกค้า หรือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน สามารถทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีและรู้สึกว่าเรามีการพัฒนาอยู่เสมอ ทำให้การให้บริการไม่เพียงแค่เป็นการตอบสนองความต้องการในขณะนั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจและพร้อมกลับมาใช้บริการอีกครั้ง กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 4 ขอ Feedback จากลูกค้าเสมอ การขอ Feedback จากลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะสำนักงานบัญชีที่ต้องการพัฒนาและปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ฟีดแบคจากลูกค้าช่วยให้เราทราบถึงจุดที่เราทำได้ดีและจุดที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการได้ดียิ่งขึ้น เป้าหมายหลักของการขอฟีดแบคคือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวและช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาใช้บริการ วิธีการขอฟีดแบคอาจทำได้หลายวิธี เช่น การนัดพูดคุยสั้น ๆ กับลูกค้าเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสรุปผลการทำงานและประเมินผลการให้บริการในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถใช้แบบฟอร์มสำหรับให้ลูกค้ากรอกความคิดเห็น หรือคำแนะนำหลังจากการให้บริการเสร็จสิ้น ซึ่งแบบฟอร์มเหล่านี้สามารถใช้ในการประเมินความพึงพอใจของลูกค้าและระบุจุดที่ต้องการปรับปรุงหรือพัฒนาเพิ่มเติม การขอฟีดแบคควรทำอย่างสม่ำเสมอและในลักษณะที่ไม่รู้สึกว่าเป็นการรบกวนลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าเรามีความตั้งใจที่จะปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การนำฟีดแบคมาใช้ปรับปรุงการทำงานหรือบริการที่ไม่ดี จะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความใส่ใจและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันได้มากขึ้น ฟีดแบคที่ดีไม่เพียงแต่ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถพัฒนาได้ แต่ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในระยะยาว กลยุทธ์สร้างประสิทธิภาพการทำงาน ข้อที่ 5 ปรับใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในการทำงาน การปรับใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ในการทำงานถือเป็นหนึ่งในวิธีที่มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะในสำนักงานบัญชีที่ต้องจัดการข้อมูลจำนวนมาก การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการลดจำนวนเอกสารและกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน เช่น การออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารต่าง ๆ ที่โปรแกรมบัญชีสามารถช่วยจัดการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีฟังก์ชันที่สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล ไม่ต้องใช้พื้นที่เก็บเอกสารจำนวนมาก ช่วยลดปัญหาเรื่องการจัดเก็บเอกสารที่ซับซ้อน และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายทุกที่ทุกเวลา ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการทำงานด้วยมือ นอกจากนี้ การใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ยังช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ให้สำนักงานบัญชีดูทันสมัยและก้าวทันเทคโนโลยี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจในปัจจุบันให้ความสำคัญมาก การปรับใช้เทคโนโลยีในสำนักงานบัญชีไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ว่าสำนักงานของเรามีความพร้อมในการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและมีระบบการจัดการที่ดี ด้วยเหตุนี้ การเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและมีประโยชน์ในระยะยาวทั้งสำหรับสำนักงานบัญชีและลูกค้า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการพัฒนาธุรกิจในยุคดิจิทัลนี้ 👉 ลองใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ที่ช่วยให้สำนักงานบัญชีทำงานได้ง่ายขึ้น ลดเวลาทำงานซ้ำซ้อน พร้อมเครื่องมือช่วยจัดการภาษีและเอกสารแบบครบวงจรคลิกเลยเพื่อเริ่มต้นใช้ฟรี! พร้อม สร้างประสิทธิภาพการทำงานให้สำนักงานบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชี PEAK หรือยัง? PEAK เป็นโปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจและสำนักงานบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยระบบที่ครอบคลุมทุกฟังก์ชันทางบัญชี ตั้งแต่การออกใบกำกับภาษี การบันทึกบัญชี การจัดการภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีหัก ณ ที่จ่าย ไปจนถึงการสร้างรายงานทางการเงินแบบเรียลไทม์ PEAK ช่วยลดงานเอกสารที่ยุ่งยาก ลดความผิดพลาดในการทำบัญชี และช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา รองรับการทำงานร่วมกับระบบ E-Tax Invoice และ E-Receipt ตามมาตรฐานกรมสรรพากร อีกทั้งยังมีอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย และรองรับการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ทำให้การบริหารจัดการบัญชีของธุรกิจเป็นเรื่องสะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

14 ก.พ. 2025

PEAK Account

16 min

e-Tax Invoice ตัวช่วยจัดการเอกสาร ลดความยุ่งยากให้ธุรกิจ SMEs

ก้าวเข้าสู่ปี 2568 ในยุคที่เกือบทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนดิจิตอลแทบทั้งหมด ประเทศไทยก็พัฒนาตามยุคสมัยในหลายด้าน รวมไปถึงด้านเอกสารต่าง ๆ ที่หน่วยงานส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมสรรพากรส่งเสริมให้ผู้ประกอบปัจจุบันการเปลี่ยนมาใช้ เพราะช่วยลดความยุ่งยากด้านงานเอกสาร และเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับกฎหมายในปัจจุบันอีกด้วย ในบทความนี้ PEAK ขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น จะเป็นอย่างไรบ้างมาติดตามกันได้เลย e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือ รูปแบบการออกใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบออนไลน์เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการซื้อขายของคนไทยที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น สามารถส่งเอกสารให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงสามารถส่งเอกสารออนไลน์ให้กรมสรรพากรได้ทันทีเช่นกัน ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ธุรกิจ SMEs สามารถจัดการกับเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  ข้อมูลจำเป็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากรูปแบบเอกสารเปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้มีข้อมูลรายละเอียดจำเป็นเล็กน้อยที่เจ้าของกิจการควรรู้ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของเรานั้นถูกต้องทุกประการ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) หรือการปรับทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยเสมอ หลังจากลงลายมือชื่อหรือประทับแล้ว เอกสารฉบับดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายได้ ทำไมธุรกิจ SMEs ต้องใช้ e-Tax Invoice? หลังจากที่เรารู้จักใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้นแล้ว ในส่วนถัดมาเรามาดูข้อดีที่เจ้าของเจ้าของกิจการ SMEs จะได้รับหากเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ใบกำกับภาษีกระดาษรูปแบบเดิมกันดีกว่า ซึ่งข้อดีหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 4 ข้อดังนี้ ลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร หนึ่งในปัญหาที่เจ้าของกิจการ SMEs หลายท่านต้องประสบพบเจอคงหนีไม่พ้นเรื่องของเอกสารที่เยอะจนบางครั้งทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่สามารถโฟกัสกับธุรกิจได้เต็มที่เท่าที่ควร การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดปัญหาส่วนนี้ลงไปได้อย่างแน่นอน เพราะด้วยเอกสารที่อยู่บนออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องหาที่จัดเก็บ หรือคอยหาเอกสารให้วุ่นวาย นอกจากนี้ยังลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร เพราะความสะดวกรวดเร็วในการส่งให้ผู้ซื้อและสรรพากรได้อย่างง่ายดาย หมดห่วงเรื่องเอกสารสูญหาย ต่อยอดจากข้อที่แล้ว นอกจากการลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร ยังเป็นการป้องกันข้อมูลสูญหายที่เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเก็บเอกสารแบบกระดาษ ซึ่งการเก็บเอกสารที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์นั้น หากจัดให้เป็นระเบียบรับรองว่าข้อมูลไม่มีทางสูญหายแน่นอน อีกทั้งเวลาต้องการเรียกดูเอกสารก็ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุน หลายท่านอาจสงสัยว่าการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร แต่ถ้าลองคำนวนดูแล้วการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ 1 แผ่นนั้น มีต้นทุนที่แฝงมาด้วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่ากระดาษ ค่าหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารออกมา อาจรวมไปถึงค่าซองเอกสาร และค่าจัดส่งอีกด้วย หากเปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็บอกลาต้นทุนเหล่านี้ไปได้เลย ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมในส่วนนี้ ยกตัวอย่างเช่น Easy E-Receipt นโยบายที่ในปีพ.ศ. 2568 ก็กลับมาอีกครั้ง โดยเป็นนโยบายที่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษีออนไลน์จากสินค้าหรือบริการที่ซื้อในช่วงเวลาที่กำหนด มายื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น  “การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากจะช่วยจัดการเอกสารแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนแฝง และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายผ่านนโยบายของภาครัฐอีกด้วย” e-Tax Invoice มีกี่รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? e-Tax Invoice มีทั้งหมด 2 รูปแบบประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร แต่ละแบบเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาดูกันต่อเลย 1. e-Tax Invoice & Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแรกแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Recepit) ซึ่งเอกสารรูปแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แบบไม่จำกัดรายได้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ก่อนทำการส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงกรมสรรพากรจำเป็นต้องลงลายมือชื่อดิจิตอลให้เรียบร้อยเพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้การส่ง e-Tax Invoice & Receipt ให้กรมสรรพากรจะต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ XML หรือ PDF/A3 เท่านั้น คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice & Receipt  สำหรับขั้นตอนการใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภท e-Tax Invoice & Receipt มีขั้นตอนทั้งหมด 3 ส่วนที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย ไม่เป็นการเพิ่มงานแน่นอน 2. e-Tax Invoice by Time Stamp ในส่วนของ e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท และได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จำนวนที่ไม่มาก โดยการส่งเอกสาร e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการที่ธุรกิจออกร่างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นทำการส่งอีเมลให้ลูกค้า และ CC อีเมลไปที่ [email protected] เพื่อให้ระบบทำการ Time Stamp หรือประทับเวลาให้ หลังจากนั้นระบบจะส่งเอกสารที่ประทับเวลาแล้วให้ลูกค้าและธุรกิจอีกครั้ง คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp เจ้าของกิจการที่ต้องการยื่นขอการจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ต้องมีคุณสมบัติดังนี้  ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบ e-Tax Invoice by Time Stamp อาจมีขั้นตอนมากกว่าเล็กน้อย แต่สะดวกไม่แพ้กัน อยากลดความยุ่งยากเรื่องเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือคำตอบ ตอนนี้ทุกท่านรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นแล้ว ทราบถึงข้อดีที่ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาความยุ่งยากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต่าง ๆ รวมไปถึงเป็นการลดต้นทุน และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้แก่ธุรกิจผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย  สำหรับเจ้าของกิจการ SMEs ท่านไหนที่กำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย ที่ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการทำ e-Tax Invoice ช่วยให้การจัดการบัญชีในธุรกิจของคุณสะดวก สามารถจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เตรียมความพร้อมมุ่งสู่การเติบโตในอนาคต ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 ก.พ. 2025

PEAK Account

7 min

สำนักงานบัญชี ประหยัดเวลาการทำบัญชีด้วยการใช้ AI

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ การใช้ AI ได้กลายเป็นตัวช่วยสำคัญในการยกระดับการทำงานของสำนักงานบัญชี ทำให้กระบวนการต่างๆ รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับข้อดีของการใช้ AI ในการทำบัญชีและวิธีการนำมาใช้เพื่อช่วยประหยัดเวลาในงานของคุณ ทำไมการทำบัญชีด้วยการใช้ AI ถึงสำคัญสำหรับสำนักงานบัญชี? นำ AI มาปรับใช้ในงานของสำนักงานบัญชีได้อย่างไร 1. การบันทึกบัญชีด้วยระบบ AI ระบบบัญชีที่มี AI ช่วยแนะนำ รายการบันทึกบัญชีที่ใช้บ่อย จะช่วยให้นักบัญชีทำงานได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น เพราะ AI จะเรียนรู้พฤติกรรมการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน และเสนอรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องแบบอัตโนมัติ ลดเวลาการค้นหารายการบัญชีที่ซับซ้อนหรือใช้บ่อย ตัวอย่างเช่น ข้อดี 2. การวิเคราะห์งบการเงินและคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจ PEAK ใช้ AI วิเคราะห์งบกำไรขาดทุน ช่วยให้นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจเห็นภาพรวมผลประกอบการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งคาดการณ์แนวโน้มทางการเงินในอนาคต AI จะดึงข้อมูลในระบบมาคำนวณและสรุปเป็นกราฟหรือรายงานแบบเข้าใจง่าย เช่น ข้อดี 3. การตรวจสอบความผิดพลาดในการทำบัญชี AI สามารถ ตรวจสอบความถูกต้องของงบทดลอง (Trial Balance) ได้อัตโนมัติ หากพบข้อผิดพลาดหรือยอดไม่ตรง ระบบจะแสดง สัญลักษณ์ธงสี (Flag) เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้งานทันที เช่น ข้อดี ข้อดีของการทำบัญชีด้วยการใช้ AI ลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดเวลาและทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการบัญชี ทำให้สำนักงานบัญชีสามารถลดต้นทุนได้ เพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า เวลาที่ประหยัดได้จากการใช้ AI สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น รองรับการขยายตัวของธุรกิจ สำนักงานบัญชีสามารถรองรับลูกค้าใหม่ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มทีมงานหรือทรัพยากรเพิ่มเติม PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยสำนักงานบัญชีและธุรกิจประหยัดเวลาและเพิ่มความแม่นยำด้วยระบบ AI ที่สามารถแนะนำรายการบันทึกบัญชีที่ใช้บ่อยๆได้ เพราะ PEAK ตระหนักเห็นถึงความสำคัญในการนำ AI มาปรับใช้ในสำนักงานบัญชีไม่เพียงช่วยประหยัดเวลา แต่ยังช่วยเพิ่มคุณภาพและความแม่นยำในการทำงาน ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

31 ม.ค. 2025

PEAK Account

9 min

บอจ.5 คืออะไร ธุรกิจประเภทไหนต้องยื่นบ้าง ยื่นได้ตอนไหน

บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น หรือ บอจ.5 คือ เอกสารสำคัญที่บริษัทจำกัดต้องจัดทำและนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี เพื่อแสดงโครงสร้างการถือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของบริษัท โดยการยื่น บอจ.5 นั้นจะช่วยแสดงว่าธุรกิจเรามีความโปร่งใสและทำตามกฎหมาย จึงเป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญมาก ๆ  บอจ.5 คือ อะไร สำคัญอย่างไร บอจ.5 เป็นแบบฟอร์มทางกฎหมายที่ใช้บันทึกและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด โดยจะแสดงรายละเอียดของผู้ถือหุ้นทั้งหมด จำนวนหุ้นที่ถือ และมูลค่าหุ้น  การยื่น บอจ.5 มีความสำคัญในหลายด้าน ทั้งแสดงว่าธุรกิจเรามีความโปร่งใส ทำตามกฎหมาย และมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ บอจ.5 ยังเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมประมูลงาน การขอสินเชื่อ หรือการทำสัญญาทางธุรกิจอีกด้วย เอกสาร บอจ.5 จะประกอบด้วยข้อมูลสำคัญโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหุ้นแต่ละราย จำนวนหุ้นที่ถือครอง เลขที่ใบหุ้น มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว วันที่จดทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้น และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในรอบปี นอกจากนี้ บอจ.5 ยังต้องระบุรายละเอียดของบริษัท เช่น ชื่อบริษัท เลขทะเบียนนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน และจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทด้วย ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นในรอบปี เช่น การโอนหุ้น การเพิ่มทุน หรือลดทุน บริษัทจะต้องระบุข้อมูลเหล่านี้ลงใน บอจ.5 ด้วย เพื่อให้ข้อมูลผู้ถือหุ้นมีความถูกต้องและครบถ้วนที่สุด นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้น บอจ.5 ยังต้องระบุรายละเอียดของบริษัทเองด้วย เช่น ชื่อบริษัท เลขทะเบียนนิติบุคคล ทุนจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัท และจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทออกจำหน่าย โดยข้อมูลใน บอจ.5 นี้ถือเป็นหลักฐานสำคัญที่หน่วยงานต่างๆ รวมถึงสถาบันการเงินและคู่ค้าทางธุรกิจใช้ประกอบการตรวจสอบความน่าเชื่อถือและโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท บอจ.5 ใครต้องยื่นบ้าง การยื่น บอจ.5 เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัทจำกัดทุกแห่ง โดยมีกำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อให้การรายงานข้อมูลผู้ถือหุ้นถูกต้องและทันเวลา  การยื่นแบบ บอจ.5 เป็นหน้าที่สำคัญของนิติบุคคล โดยตามกฎหมาย กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจะต้องเป็นผู้ลงนามรับรองความถูกต้องของข้อมูลที่กรอกในแบบ บอจ.5 และเป็นผู้ยื่นแบบนี้ต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง อย่างไรก็ตาม หากกรรมการผู้มีอำนาจไม่สะดวกเดินทางไปยื่นเอง ก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแทนได้ โดยต้องแนบหนังสือมอบอำนาจลงนามโดยกรรมการ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของทั้งกรรมการผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ เพื่อยืนยันความถูกต้องในการดำเนินการ ทั้งนี้ผู้ยื่นจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนตามที่กำหนด เช่น การยื่นแบบ บอจ.5 สามารถทำได้ 2 ช่องทาง คือ การยื่นแบบ บอจ.5 มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการอัปเดตข้อมูลผู้ถือหุ้นและกรรมการให้เป็นปัจจุบัน หากไม่ยื่นภายในเวลาที่กำหนด อาจมีโทษปรับตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ ข้อมูลในแบบ บอจ.5 ยังเป็นหลักฐานสำคัญที่หน่วยงานต่างๆ ใช้ตรวจสอบ เช่น การขอสินเชื่อจากธนาคาร การตรวจสอบสิทธิ์ในการลงนามในสัญญาทางธุรกิจ หรือการยืนยันโครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัท ต้องยื่นเมื่อไหร่ หากไม่นำส่งจะมีค่าปรับอะไรบ้าง การยื่นแบบ บอจ.5 เป็นหน้าที่สำคัญของบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทย โดยกฎหมายกำหนดให้บริษัทต้องยื่น บอจ.5 ภายใน 14 วัน นับจากวันที่จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี หรือไม่เกินเดือนมกราคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับว่ากรณีใดจะถึงก่อน กำหนดนี้มีขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นปัจจุบันและโปร่งใสอยู่เสมอ หากบริษัทไม่นำส่ง บอจ.5 ตามกำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับเพิ่มวันละไม่เกิน 500 บาท จนกว่าจะดำเนินการให้ถูกต้อง นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว การยื่นล่าช้าหรือไม่ยื่นเลย อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของบริษัทด้วย เพราะ บอจ.5 เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญที่คู่ค้า สถาบันการเงิน และหน่วยงานภาครัฐใช้พิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อหรือการเข้าร่วมประมูลงาน ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนและยื่นแบบ บอจ.5 ให้ตรงเวลา เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือ และหลีกเลี่ยงการเสียค่าปรับโดยไม่จำเป็น การจัดทำและยื่น บอจ.5 อย่างถูกต้องและตรงเวลา ไม่เพียงแต่เพื่อให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย แต่ยังสะท้อนถึงการบริหารจัดการที่โปร่งใสและความเป็นมืออาชีพในการทำธุรกิจอีกด้วย ผู้ประกอบการจึงควรเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นให้ครบถ้วนและตรวจสอบความถูกต้องก่อนยื่นเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาค่าปรับและลดความเสี่ยงด้านความน่าเชื่อถือในอนาคตโดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ พร้อมเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับธุรกิจในการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

31 ม.ค. 2025

PEAK Account

14 min

“โปรแกรมบัญชี” ที่ใช่! ตัวช่วยสำคัญสำหรับสำนักงานบัญชี

การเลือก “โปรแกรมบัญชี” ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสำนักงานบัญชีที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ในบทความนี้จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจว่าโปรแกรมบัญชีที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร และจะช่วยพัฒนาธุรกิจของสำนักงานบัญชีได้อย่างไรบ้าง คุณสมบัติที่สำคัญของ โปรแกรมบัญชี สำหรับสำนักงานบัญชี การเลือกโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และลดเวลาในการทำงานประจำ คุณสมบัติเด่นที่ควรพิจารณา ได้แก่ ข้อที่ 1 โปรแกรมบัญชี ที่ทำงานแบบ Cloud-Based โปรแกรมบัญชีแบบ Cloud-Based ช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา รองรับการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ ลดภาระด้านการจัดการเซิร์ฟเวอร์และต้นทุนฮาร์ดแวร์ อีกทั้งยังมีระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง ลดความเสี่ยงจากการสูญหายของข้อมูล ข้อที่ 2 การรองรับการจัดทำภาษี โปรแกรมควรมีฟังก์ชันที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารภาษี เนื่องจากสำนักงานบัญชีต้องดำเนินการเกี่ยวกับภาษีอย่างต่อเนื่อง โปรแกรมที่ดีควรมีระบบช่วยคำนวณและจัดทำเอกสารภาษี เช่น ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53 และ ภ.พ.30 พร้อมทั้งรองรับการยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบของกรมสรรพากร เพื่อความสะดวกและลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการกรอกข้อมูลเอง​ ข้อที่ 3 โปรแกรมบัญชีที่ดี ต้องมีระบบ AI ช่วยแนะนำการบันทึกรายการบัญชีที่บันทึกบ่อย ระบบ AI ที่สามารถจดจำรายการบัญชีที่ใช้บ่อย และแนะนำการบันทึกบัญชีแบบอัตโนมัติ ช่วยลดเวลาในการทำงาน ลดความผิดพลาด และทำให้กระบวนการบัญชีเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น​จะช่วยลดเวลาในการทำงานและลดข้อผิดพลาดในการป้อนข้อมูล ข้อที่ 4 เชื่อมต่อข้อมูลจากภายนอกได้ง่ายด้วย API โปรแกรมควรรองรับการเชื่อมต่อ API กับแหล่งข้อมูลภายนอก เช่น ระบบธนาคาร ระบบ ERP หรือแพลตฟอร์ม E-Commerce อย่าง Shopee, Lazada, TikTok Shop ได้ จะช่วยให้การบันทึกบัญชีเป็นไปโดยอัตโนมัติ ลดภาระงานของนักบัญชี และช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น​ ข้อที่ 5 อัปโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์ได้ง่าย โปรแกรมควรรองรับการอัปโหลดและดาวน์โหลดข้อมูล เช่น ไฟล์ Excel, CSV หรือ PDF เพื่อให้สำนักงานบัญชีสามารถอัปโหลดข้อมูลจากระบบอื่นเข้ามาประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังควรมีฟังก์ชันในการส่งออกเอกสารบัญชี เช่น งบการเงิน รายงานภาษี และรายงานกระแสเงินสด เพื่อการใช้งานที่สะดวกและครบถ้วน​ ประโยชน์ของ “โปรแกรมบัญชี” สำหรับสำนักงานบัญชี 1. ประหยัดเวลาและลดข้อผิดพลาด ช่วยลดระยะเวลาการทำงานและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานด้วยมือ ระบบอัตโนมัติในโปรแกรมบัญชีช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การออกใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ และใบเสร็จรับเงินอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังสามารถคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ รวมถึงการกระทบยอดทางการเงินโดยอัตโนมัติ ช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการคำนวณหรือการบันทึกข้อมูลผิดพลาด 2. เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า เมื่อสำนักงานบัญชีสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า นอกจากนี้ โปรแกรมบัญชียังช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถส่งมอบเอกสารและรายงานทางบัญชีได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือในการให้บริการ ลูกค้าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสำนักงานบัญชีกับลูกค้ามีความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ 3. ช่วยในการวางแผนและตัดสินใจ โปรแกรมบัญชีที่มีประสิทธิภาพช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถจัดทำรายงานทางการเงินและภาษีได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ข้อมูลที่ได้จากโปรแกรมบัญชีช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงินและให้คำแนะนำที่มีประสิทธิภาพแก่ลูกค้าได้อย่างแม่นยำ การมีรายงานทางการเงินที่ชัดเจนช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถวางแผนการดำเนินงานและการจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม วิธีเลือก โปรแกรมบัญชี ที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานบัญชี การเลือกโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานบัญชีมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากโปรแกรมบัญชีที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดข้อผิดพลาด และช่วยให้การจัดการบัญชีเป็นระบบมากขึ้น บทความนี้จะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีเลือกโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสม ดังนี้ 1. วิเคราะห์ความต้องการของสำนักงานบัญช ก่อนตัดสินใจเลือกโปรแกรมบัญชี คุณควรวิเคราะห์ความต้องการของสำนักงานบัญชีอย่างละเอียด ตัวอย่างคำถามที่ควรถามตัวเอง ได้แก่✅ ณมีลูกค้าจำนวนมากหรือมีหลายสาขาหรือไม่?ควรเลือกโปรแกรมที่รองรับการทำงานแบบหลายผู้ใช้พร้อมกันได้✅ สำนักงานของคุณต้องจัดการเอกสารจำนวนมากหรือไม่ เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน หรือเอกสารภาษีควรเลือกโปรแกรมที่มีฟังก์ชันสร้างและจัดการเอกสารได้ครบถ้วน✅ สำนักงานของคุณมีหลายแผนกที่ต้องทำงานร่วมกันหรือไม่ควรเลือกโปรแกรมที่รองรับการใช้งานบนระบบ Cloud หรือสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากหลายอุปกรณ์ ตัวอย่าง:หากสำนักงานของคุณต้องรองรับลูกค้าหลายราย การเลือกโปรแกรมที่สามารถสร้างเอกสารจำนวนมากในเวลาอันสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โปรแกรมบัญชี PEAK ที่รองรับการออกเอกสารทางบัญชีอย่างครบถ้วน ทั้งใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ และใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยให้คุณทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น​ 2. ทดลองใช้งานก่อนตัดสินใจ การทดลองใช้งานก่อนตัดสินใจซื้อเป็นวิธีที่ดีในการประเมินว่าโปรแกรมบัญชีสามารถตอบโจทย์ความต้องการของสำนักงานบัญชีได้หรือไม่ หลายโปรแกรมมีบริการทดลองใช้งานฟรี 7 – 30 วัน ซึ่งคุณสามารถใช้เพื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆ เช่น:✅สร้างและบันทึกเอกสาร – ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ และใบเสร็จรับเงิน✅การเชื่อมต่อกับระบบภายนอก – เช่น การนำเข้าข้อมูลจาก Shopee หรือ Lazada✅สนับสนุนด้านภาษี – เช่น การสรุปแบบภาษี ภ.พ. 30 หรือภ.ง.ด. 3, 53 อย่างเป็นระบบ ตัวอย่าง:โปรแกรม PEAK มีระบบทดลองใช้งานฟรีที่ช่วยให้คุณทดสอบการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ได้ก่อนตัดสินใจสมัครใช้งานจริง อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบขายของออนไลน์ ทั้ง Shopee และ Lazada เพื่อช่วยให้การจัดการเอกสารเป็นระบบมากขึ้น​ 3. ตรวจสอบบริการหลังการขา บริการหลังการขายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การใช้งานโปรแกรมบัญชีราบรื่น หากโปรแกรมมีทีมสนับสนุนที่ให้บริการอย่างมืออาชีพ จะช่วยลดปัญหาการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้มากขึ้น ควรตรวจสอบว่าโปรแกรมมีบริการดังนี้:✅มีทีมงานให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางเทคนิคและการใช้งาน✅อบรมการใช้งาน มีหลักสูตรฝึกอบรมหรือคลิปวิดีโอสอนการใช้งาน✅บริการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน มีช่องทางติดต่อที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เช่น Live Chat, โทรศัพท์ หรือ Email ตัวอย่าง:โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK มีทีมสนับสนุนลูกค้าที่พร้อมให้บริการผ่านช่องทางต่างๆ เช่น โทรศัพท์, แชท และ Email อีกทั้งยังมีคลังความรู้และคู่มือการใช้งานที่ช่วยให้คุณแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย​ แนะนำ โปรแกรมบัญชี PEAK ตัวช่วยที่สำนักงานบัญชีควรเลือกใช้ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK รองรับทั้ง 5 คุณสมบัติที่กล่าวมาเบื้องต้น เพื่อตอบโจทย์สำนักงานบัญชีโดยเฉพาะ ด้วยระบบที่ช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น ลดข้อผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพการทำบัญชี ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อข้อมูลอัตโนมัติ ระบบคลาวด์ที่ปลอดภัย รายงานที่อ่านง่าย AI ช่วยบันทึกบัญชี และเครื่องมือจัดการไฟล์ที่ยืดหยุ่น ทุกฟังก์ชันถูกพัฒนาเพื่อช่วยให้นักบัญชีทำงานได้เร็วขึ้นและแม่นยำขึ้น การเลือกโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จของสำนักงานบัญชี โปรแกรมที่ดีไม่เพียงช่วยลดความซับซ้อนในการทำงาน แต่ยังช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับบริการที่สำนักงานบัญชีมอบให้กับลูกค้า เลือกโปรแกรมที่มีคุณสมบัติตรงกับความต้องการ เช่น โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK และเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่วันนี้ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

6 ก.ค. 2025

PEAK Account

15 min

จดทะเบียนเพิ่มทุน เตรียมความพร้อมก่อนขยายธุรกิจ!

การดำเนินธุรกิจทุกธุรกิจมีเป้าหมายเพิ่มขยายการเติบโตให้ได้มากที่สุด และในเส้นทางการเติบโตของหลายองค์กร ก็มักจะมีการ จดทะเบียนเพิ่มทุน เข้ามาด้วยเสมอ เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งที่บริษัทมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้มากขึ้น เจ้าของธุรกิจหลายคนเลือกที่จะ จดทะเบียน เพิ่มทุน เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจต่อสำหรับรองรับการเติบโตในอนาคต สำหรับท่านไหนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนเพิ่มทุน บทความนี้เรารวบรวมทุกเรื่องที่ควรรู้จะมีอะไรบ้าง มาหาคำตอบกัน จดทะเบียนเพิ่มทุน คืออะไร? การจดทะเบียนเพิ่มทุน คือ การที่บริษัทที่มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าต้องการเพิ่มเงินทุนในการทำธุรกิจ ซึ่งแน่นอนว่าในการจดทะเบียนครั้งแรกเริ่มจะต้องมีการแจ้งเงินทุนที่ใช้ในการจดทะเบียนอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายธุรกิจที่ไม่ว่าจะต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต หรือการเงินขาดสภาพคล่องก็มักที่จะต้องแจ้งจดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำเงินทุนเข้ามาใช้ขยายหรือแก้ปัญหาธุรกิจต่อไป ทำไมต้อง จดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้เงินเพิ่มในการบริหารธุรกิจ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนเข้ามา เพื่อให้บริษัทมีเงินทุนสำหรับใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ นอกจากนี้สำหรับมองว่าการที่บริษัทของเราเงินทุนจดทะเบียนที่สูง จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือตามไปด้วย อย่างไรก็ตามกรณีนี้อาจไม่จำเป็นมากขนาดนั้น ควรวิเคราะห์เงินในการจดทะเบียนจากแผนธุรกิจ และรูปแบบของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า หากจำเป็นต้องขยายธุรกิจจริง ๆ ค่อยจดทะเบียนเพิ่มทุนภายหลังได้  เมื่อไหร่ที่ควร จดทะเบียนเพิ่มทุน สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนก็มีจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการจดเพิ่ม เพื่อให้ธุรกิจใช้เงินได้อย่างคุ้มค่า ไม่ต้องรีบจดทะเบียนทุนสูงตั้งแต่แรก โดยปกติแล้วช่วงเวลาที่ควรจดทะเบียนเพิ่มทุนแบ่งออกเป็น 2 ช่วงหลัก ๆ  ดังนี้ 1. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อนำทุนมาขยายธุรกิจ จะเป็นช่วงที่บริษัทกำลังเติบโต จำเป็นต้องขยายธุรกิจ เพิ่มพนักงาน เพิ่มเครื่องจักร หรือสาขา เมื่อธุรกิจของเราดำเนินไปจนถึงจุดนั้นแล้ว ย่อมสามารถเพิ่มเงินทุนเข้าไปในการดำเนินธุรกิจต่อได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินใจจดทะเบียนเพิ่มแนะนำให้ลองคาดการณ์รายได้ จัดวางแผนการดำเนินธุรกิจในอนาคต เงินทุนที่เพิ่มเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไรให้เรียบร้อยเพื่อการใช้เงินได้อย่างคุ้มค่านั่นเอง 2. จดทะเบียนเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มหุ้นส่วนในองค์กร นอกจากนี้ในการเพิ่มทุนหลายครั้งไม่เพียงแค่เป็นการขยายธุรกิจแต่เป็นการรับหุ้นส่วนรายใหญ่เข้ามาเพิ่มเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นนั่นเอง โดยลักษณะนี้วัตถุประสงค์อาจไม่ใช่การนำเงินไปใช้ในการขยายเพียงอย่างเดียว แต่หลายครั้งได้คู่คิดด้านธุรกิจมาเพิ่มก็สามารถจดเข้ามาเพื่อช่วยกันดำเนินธุรกิจต่อไปในอนาคตได้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่หลายองค์กรใช้เพื่อขยายการเติบโต และนอกเหนือจากสองข้อที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ในบางครั้งบริษัทที่อาจไม่ได้ดำเนินธุรกิจไปได้ดีมากนัก ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมในการช่วยกู้ธุรกิจให้อยู่รอดได้ และในกรณีที่ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ เจ้าของธุรกิจก็มักจะเป็นผู้ที่นำเงินของตัวเองอัดฉีดเข้ามาเพื่อเพิ่มเงินทุนให้บริษัท โดยต้องการให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปด้วย ทั้งนี้ก่อนที่จะเลือกใช้วิธีนี้ ขอแนะนำให้จัดทำแผนกู้วิกฤตให้เรียบร้อย เงินที่นำเข้ามาจะนำไปใช้ทำอะไร และความเป็นไปได้ในการฟื้นตัวของธุรกิจนั้นมีมากน้อยแค่ไหน เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้แม่นยำขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการเพิ่มทุน เช่น  บริษัท A เป็นบริษัท Tech Startup แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เพิ่งเริ่มต้นได้ปีกว่า เริ่มต้นจดบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่ด้วยแนวโน้มเทรนด์ของสุขภาพที่จากการวิเคราะห์ของเจ้าของธุรกิจแล้ว มองว่าน่าจะมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงยอดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันต่อวันก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยด้านโอกาสทั้งในมุมของเทรนด์ภาพรวม และยอดการใช้งานในปัจจุบัน ทำให้บริษัท A ตัดสินใจที่จะเพิ่มเงินทุนเพื่อทำการพัฒนาแอปพลิเคชันให้สามารถรองรับการใช้งานที่มากขึ้น การทำการตลาดที่เจาะกลุ่มโดยใช้ตัวอย่าง Persona จากกลุ่มลูกค้าปัจจุบัน และมองหากลุ่มใหม่ รวมไปถึงการ พัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าในใช้งานแอปพลิเคชัน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่บริษัท A ต้องการพัฒนาเป็นการนำเงินทุนที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเข้ามาใช้ในการจ้างพนักงาน งบการตลาด สวัสดิการเพื่อดึงดูดพนักงานมากฝีมือมาร่วมในโปรเจกต์นี้ โดยแนวโน้มของบริษัท A เป็นไปในทางที่ดี และการจดทะเบียนเพิ่มทุนครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตในอนาคต และเป็นบันไดไปสู่เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นขององค์กร เอกสารสำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุน ในส่วนถัดมาเราขอพาทุกท่านมาดูเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการจดทะเบียนเพิ่มทุนกันบ้าง โดยเอกสารที่ต้องใช้ทั้งหมดประกอบไปด้วยเอกสารดังนี้ 1. เอกสารคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (บอจ. 1) 2. แบบรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด 3. แบบจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ หรือ มติพิเศษ (บอจ. 4) 4. หนังสือบริคณหสนธิ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พร้อมจ่ายค่าอากรแสตมป์ 50 บาท 5. หลักฐานรับเงินค่าหุ้นเพิ่มทุน ที่บริษัทออกให้ผู้ถือหุ้น 6. คำสั่งศาลในกรณีที่ฟื้นฟูกิจการ 7. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการที่ลงชื่ออยู่ในคำขอจดทะเบียน 8. สำเนาหลักฐานรับรองลายมือชื่อ ถ้ามี 9. หนังสือมอบอำนาจ ถ้ามี 10. สำหรับธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเพิ่มเติมมากกว่า 5 ล้านบาท จำเป็นต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติมตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนมีด้วยกัน 10 ฉบับข้างต้น นอกจากนี้เอกสารทุกฉบับที่เป็นสำเนา จำเป็นต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้อง ยกเว้นในส่วนของบัตรประชาชนที่เจ้าของบัตรต้องเป็นผู้ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองความถูกต้องด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในการจดทะเบียนเพิ่มทุนจะมีค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระดังนี้ ขั้นตอนการ จดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สำหรับขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัท สามารถทำตาม 3 ขั้นตอนได้ดังนี้ 1. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ขั้นตอนแรกเป็นการออกหนังสือสำหรับการนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยสามารถทำได้ผ่านช่องทางการส่งไปรษณีย์ หรือการส่งหนังสือมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทที่มีหุ้นผู้ถือ หรือมีข้อบังคับ จำเป็นที่จะต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้จำเป็นต้องดำเนินการก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามแต่ข้อบังคับกำหนดไว้ 2. จัดการประชุมผู้ถือหุ้น ถัดมาเมื่อทำการออกหนังสือนัดประชุมเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนของการจัดประชุมจริง โดยผู้ร่วมประชุมต้องมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คนขึ้นไป อีกทั้งเมื่อนับจำนวนหุ้นของผู้ร่วมประชุมแล้วต้องมากกว่า 1 ใน 4 ของหุ้นทุนทั้งหมด โดยในการประชุมจะเป็นวาระการอนุมัติการจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งคะแนนที่ได้รับต้องมากกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิ์ลงคะแนนทั้งหมดที่เข้าร่วมในการประชุม 3. ยื่นจดทะเบียนเพิ่มทุน เมื่อประชุมและได้รับการอนุมัติในการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมแล้ว เป็นขั้นตอนการยื่นเอกสารให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยต้องดำเนินการภายใน 14 วันหลังจากที่มีมติให้เพิ่มทุนในการจดทะเบียน เพียง 3 ขั้นตอนก็เสร็จเรียบร้อย อย่าลืมตรวจสอบเอกสารที่ต้องนำไปใช้ในการเพิ่มทุนให้เรียบร้อย เพื่อให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญในการจดทะเบียนเพิ่มทุน คือการรู้ว่าต้องเพิ่มทุนเมื่อไหร่ การจดทะเบียนไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด จะมีขั้นตอนเอกสารที่น้อยกว่าในขั้นตอนจดทะเบียนบริษัทครั้งแรก ทั้งนี้สิ่งที่ควรให้ความสำคัญแท้จริงคือเหตุผลในการเพิ่มทุน และการวางแผนถึงอนาคตหลังจากที่ทำการเพิ่มทุนแล้ว เพื่อให้สามารถต่อยอดจากจำนวนทุนที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ สำหรับท่านไหนที่กำลังคิดตัดสินใจในการจดทะเบียนเพิ่มทุน และเตรียมความพร้อมในการขยายธุรกิจให้เติบโต PEAK Account โปรแกรมบัญชีออนไลน์ครบวงจร พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลระบบบัญชีของคุณให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงโปรแกรมอื่น ๆ อาทิ PEAK Payroll โปรแกรมเงินเดือน, PEAK Asset โปรแกรมจัดการสินทรัพย์, PEAK Board โปรแกรมวิเคราะห์ธุรกิจ, PEAK Tax โปรแกรมจัดการภาษี ซึ่งโปรแกรมทั้งหมดมาพร้อมคู่มือการใช้งาน ปรับใช้ในองค์กรได้อย่างง่ายดาย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

13 min

ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO) คืออะไร พร้อมตัวอย่าง

ใบสั่งซื้อ PO (Purchase Order): หัวใจสำคัญของการควบคุมต้นทุนและสร้างระบบให้ธุรกิจคุณ ในการดำเนินธุรกิจยุคใหม่ที่การแข่งขันสูง การบริหารจัดการต้นทุนและการควบคุมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีระบบเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเอกสารสำคัญอย่าง ใบสั่งซื้อ (Purchase Order หรือ PO) ที่เป็นมากกว่าแค่กระดาษ แต่คือกลไกสำคัญในการบริหารจัดการการเงินและสร้างความโปร่งใสให้ธุรกิจของคุณ มาดูกันว่าทำไมใบ PO ถึงเป็นหัวใจสำคัญที่ทุกกิจการไม่ควรมองข้าม ใบสั่งซื้อ PO สำคัญอย่างไรกับธุรกิจของคุณ? การใช้ใบสั่งซื้อ PO อย่างถูกวิธี ไม่เพียงช่วยให้คุณจัดการเรื่องการจัดซื้อได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานโดยรวม ใบสั่งซื้อ PO คืออะไร แตกต่างจากใบขอซื้อ PR อย่างไร? ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีเอกสารสำคัญสองประเภทที่มักสร้างความสับสนให้กับผู้ประกอบการ นั่นคือ ใบสั่งซื้อ (PO) และ ใบขอซื้อ (PR) แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่มีวัตถุประสงค์และการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความเข้าใจความต่างนี้กัน ใบสั่งซื้อ (Purchase Order – PO) คือ ใบสั่งซื้อ (PO) เป็นเอกสารทางธุรกิจที่ออกโดย ฝ่ายจัดซื้อขององค์กร (ผู้ซื้อ) เพื่อ สั่งซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (Supplier) อย่างเป็นทางการ เปรียบเสมือนสัญญาซื้อขายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายเมื่อผู้ขายตอบรับ ใบสั่งซื้อ PO จะถูกจัดทำขึ้น หลังจากที่ใบขอซื้อ (PR) ได้รับการอนุมัติแล้ว โดยจะมีรายละเอียดครบถ้วน เช่น: ใบขอซื้อ (Purchase Requisition – PR) คือ ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสาร ภายในองค์กร ที่แผนกต่าง ๆ (เช่น แผนกผลิต, แผนกการตลาด) ใช้แจ้งความต้องการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการไปยัง ฝ่ายจัดซื้อ โดยระบุรายละเอียดสินค้าที่ต้องการ เหตุผลที่ต้องใช้ และงบประมาณที่เกี่ยวข้อง เอกสาร PR ต้องได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากหัวหน้าแผนกหรือผู้มีอำนาจก่อนที่จะส่งต่อไปยังฝ่ายจัดซื้อ เพื่อยืนยันความจำเป็นและความเหมาะสมของการจัดซื้อ ระบบ PR ช่วยควบคุมการใช้จ่าย ป้องกันการสั่งซื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงป้องกันการทุจริตของพนักงานและผู้ขาย สรุปความแตกต่างง่ายๆ: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีใน ใบสั่งซื้อ PO ใบสั่งซื้อ PO ที่สมบูรณ์และถูกต้อง ควรประกอบด้วยข้อมูลสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดข้อผิดพลาดและข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต: ข้อมูลสำคัญที่ต้องมีในใบขอซื้อ PR ใบขอซื้อ (PR) แม้จะเป็นเอกสารภายใน แต่ก็มีความสำคัญไม่แพ้ใบสั่งซื้อ โดยข้อมูลที่ครบถ้วนในใบ PR จะช่วยให้ฝ่ายจัดซื้อดำเนินการได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว: ตัวอย่างใบสั่งซื้อ PO และ ใบขอซื้อ PR เพื่อให้เข้าใจรูปแบบและองค์ประกอบของเอกสารทั้งสองประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ลองจินตนาการถึงโครงสร้างพื้นฐานดังนี้: ตัวอย่างโครงสร้างใบขอซื้อ PR ตัวอย่างใบขอซื้อ PO สรุปท้ายบทความ การมีระบบเอกสารการสั่งซื้อที่แข็งแกร่ง ไม่เพียงช่วยควบคุมค่าใช้จ่าย ป้องกันการทุจริต และสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อขององค์กรได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการบริหารจัดการธุรกิจในภาพรวม เจ้าของธุรกิจจึงควรเข้าใจและใช้ประโยชน์จากใบสั่งซื้อ PO อย่างเต็มที่ สำหรับธุรกิจยุคใหม่ การพึ่งพาระบบมือหรือเอกสารกระดาษอาจไม่เพียงพออีกต่อไป PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยฟังก์ชันที่รองรับการสร้างใบสั่งซื้อ (PO) ได้อย่างง่ายดาย คุณสามารถจัดการคำสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ PEAK ช่วยให้คุณบันทึกและติดตามข้อมูลการสั่งซื้อ สินค้า บันทึกซื้อสินค้า และเงื่อนไขการชำระเงินได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งสามารถ เชื่อมโยงข้อมูลกับใบส่งสินค้าและใบแจ้งหนี้ได้ทันที ทำให้การจัดการบัญชีตั้งแต่การสั่งซื้อ การรับสินค้า ไปจนถึงการชำระเงินเป็นไปอย่างราบรื่น มีระบบ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาด ประหยัดเวลา และช่วยให้คุณมีข้อมูลเชิงลึกสำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีขึ้นเสมอ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม คลิก

27 มิ.ย. 2025

PEAK Account

24 min

เริ่มธุรกิจให้ถูกต้อง! จดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนบริษัท ภาษีมูลค่าเพิ่ม

การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและท้าทาบ แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ จดทะเบียนการค้า ซึ่งไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว หรือกำลังจะจัดตั้งนิติบุคคล การทำความเข้าใจขั้นตอนและประเภทของการจดทะเบียนจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามกฎหมาย บทความนี้จะพาคุณรู้จักการจดทะเบียนแต่ละประเภทมากขึ้น  จดทะเบียนพาณิชย์ คืออะไร ทำไมต้องจด? การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ การแจ้งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบว่าคุณกำลังดำเนินกิจการค้า ซึ่งมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายประการ เช่น: ประเภทการ จดทะเบียนพาณิชย์: บุคคลธรรมดา vs. นิติบุคคล ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จดทะเบียนพาณิชย์ หรีอ จดทะเบียนการค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ตามลักษณะของกิจการ ดังนี้ 1. จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการดำเนินธุรกิจในนามส่วนตัว (กิจการเจ้าของคนเดียว) ไม่ได้มีการแยกนิติบุคคลออกจากเจ้าของกิจการ การจดทะเบียนประเภทนี้จะเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก ข้อดีคือขั้นตอนไม่ซับซ้อนและค่าใช้จ่ายน้อย ความรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์สินส่วนตัวของเจ้าของด้วย สรุปง่ายๆ: หากคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เปิดร้าน มีหน้าร้าน มีการซื้อมาขายไป หรือให้บริการที่มีลักษณะเป็นการค้าอย่างสม่ำเสมอ และมีรายได้ในระดับหนึ่ง คุณมีหน้าที่ต้อง จดทะเบียนการค้า บุคคลธรรมดา  ใครบ้างที่ “ได้รับการยกเว้น” ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์? 2. จดทะเบียนนิติบุคคล การเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีผลต่อทั้งความรับผิดชอบทางกฎหมาย ภาระภาษี และความน่าเชื่อถือในสายตาคู่ค้าและลูกค้า โดยหลักๆ แล้ว รูปแบบนิติบุคคลที่นิยมจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจในประเทศไทยมี 3 รูปแบบดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) เป็นสัญญาที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อประกอบกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันกำไร สถานะทางกฎหมาย: ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือ ไม่จดทะเบียน ก็ได้ ความรับผิดชอบ: หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน หมายความว่า หากห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สินของกิจการ หุ้นส่วนแต่ละคนจะต้องนำทรัพย์สินส่วนตัวมาใช้ชำระหนี้ด้วย ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาลงหุ้นได้ การบริหารจัดการ: หุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการได้ เว้นแต่จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น ข้อดี: จัดตั้งง่าย มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีหุ้นส่วนไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง ข้อเสีย: ความรับผิดชอบไม่จำกัด ทำให้ทรัพย์สินส่วนตัวมีความเสี่ยง 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด (Limited Partnership) นิยาม: เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทขึ้นไป สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคล แยกจากตัวบุคคลผู้เป็นหุ้นส่วน ความรับผิดชอบ: มีหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ทุนจดทะเบียน: ไม่มีข้อกำหนดขั้นต่ำของทุนจดทะเบียน หุ้นส่วนสามารถนำเงิน หรือทรัพย์สินมาลงหุ้นได้ (ห้ามนำแรงงานมาลงหุ้นในส่วนของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด) การบริหารจัดการ: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น ข้อดี: หุ้นส่วนบางคนสามารถจำกัดความรับผิดชอบได้ ทำให้ดึงดูดผู้ร่วมลงทุนได้ง่ายขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน ข้อเสีย: การบริหารจัดการถูกจำกัดโดยหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น 3. บริษัทจำกัด (Limited Company) นิยาม: องค์การธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ สถานะทางกฎหมาย: เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากผู้ถือหุ้นอย่างสิ้นเชิง ความรับผิดชอบ: ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ตนยังชำระไม่ครบ (หากชำระเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีความรับผิดเพิ่มเติม) ทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นจะไม่ถูกนำมาใช้ชำระหนี้ของบริษัท ทุนจดทะเบียน: ปัจจุบันกฎหมายกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำเพียง 10 บาท โดยหุ้นสามัญต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท และต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (ข้อมูลอัปเดต ณ ปัจจุบัน) แม้ไม่มีขั้นต่ำสูง แต่โดยทั่วไปนิยมจดทะเบียนทุนสูงขึ้นเพื่อความน่าเชื่อถือ การบริหารจัดการ: ดำเนินการโดยคณะกรรมการบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น มีการประชุมผู้ถือหุ้นและปฏิบัติตามระเบียบที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัด การระดมทุน: สามารถระดมทุนได้ง่ายกว่าผ่านการออกหุ้นเพิ่ม ข้อดี: ความรับผิดชอบจำกัด ทำให้ความเสี่ยงส่วนตัวของผู้ลงทุนต่ำ มีความน่าเชื่อถือสูง เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจและระดมทุน มีโครงสร้างที่เป็นระบบ ข้อเสีย: มีขั้นตอนการจัดตั้งและบริหารจัดการที่ซับซ้อนกว่า มีค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดกว่า จดทะเบียนบริษัท ต่างจากแบบอื่นอย่างไร? การจดทะเบียนบริษัทแตกต่างจากการประกอบกิจการในนามบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนตรงที่ บริษัทจำกัดมี สถานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้น โดยสิ้นเชิง นี่คือหัวใจสำคัญที่ทำให้การจดทะเบียนบริษัทเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ จดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ที่ไหน? หลังจากที่ทำตามขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัทเรียบร้อยแล้ว สามารถดำเนินการได้ที่: หลัง “จดทะเบียนบริษัท” ต้องทำอะไรต่อ? เมื่อบริษัทของคุณได้รับการจดทะเบียนอย่างสมบูรณ์แล้ว ยังมีขั้นตอนสำคัญอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการต่อเพื่อการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย: การจดทะเบียนบริษัทเป็นก้าวแรกที่สำคัญสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน การศึกษาข้อมูลและเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบจะช่วยให้ธุรกิจของคุณดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จในระยะยาว ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT) เมื่อธุรกิจของคุณเติบโตและถึงจุดที่ต้อง จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) การทำความเข้าใจเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ VAT ไม่ใช่แค่หน้าที่ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการการเงินที่ส่งผลต่อต้นทุนและราคาขายสินค้าหรือบริการของคุณโดยตรง การทำความเข้าใจ VAT อย่างลึกซึ้งจะช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และใช้ประโยชน์จากระบบภาษีนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร? ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT คือภาษีทางอ้อมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยเก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตและจำหน่าย ตั้งแต่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 7% สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจคือ VAT ไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการโดยตรง แต่เป็นภาระของผู้บริโภคคนสุดท้าย ผู้ประกอบการมีหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” ในการเรียกเก็บ VAT จากลูกค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากร ใครมีหน้าที่ “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? ผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่: ข้อยกเว้น: กิจการบางประเภทได้รับการยกเว้น VAT เช่น กิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร การให้บริการทางการแพทย์ การประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การจัดส่งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน รวมถึงกิจการขนาดเล็กที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (และไม่ได้เลือกจดทะเบียนโดยความสมัครใจ) ทำไมต้อง “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม”? นอกเหนือจากเป็นข้อบังคับตามกฎหมายเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การจดทะเบียน VAT ยังมีประโยชน์ในบางแง่มุม: สรุปท้ายบทความ การเริ่มต้นธุรกิจต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่ การจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา ที่ง่ายและเหมาะกับคนเดียว ไปจนถึง ห้างหุ้นส่วน ที่มีหุ้นส่วนหลายคนแต่ความรับผิดชอบต่างกัน และ บริษัทจำกัด ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและจำกัดความรับผิดของผู้ถือหุ้น การเลือกรูปแบบที่ใช่ตั้งแต่แรกจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างมั่นคง และอย่าลืมว่าเมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ การ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย เพื่อความสะดวกและแม่นยำในการจัดการบัญชี ภาษี และเตรียมพร้อมสำหรับ VAT โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK จะเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่ทำให้การทำบัญชีเป็นเรื่องง่ายขึ้น ไม่ว่าคุณจะเลือกรูปแบบธุรกิจใด PEAK ก็พร้อมสนับสนุนให้การเงินของคุณเป็นระบบ ตรวจสอบได้ ด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน เช่น การออกใบกำกับภาษี, และ การสร้างแบบยื่น ภ.พ.30 เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นในยุคดิจิทัล  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

4 เม.ย. 2025

PEAK Account

16 min

โปรแกรม Payroll คืออะไร? ทำอะไรได้บ้าง? ทำไมทุกองค์กรควรมี!

การจ่ายเงินเดือนอาจดูเหมือนงานประจำที่ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่จริง ๆ แล้วมีรายละเอียดที่ต้องใส่ใจเยอะมาก ตั้งแต่การคำนวณค่าล่วงเวลา ค่าคอม ประกันสังคม ภาษี ไปจนถึงการบันทึกบัญชี ถ้าทำด้วยมือหรือ Excel อาจทำให้เสียเวลา หรือผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นโปรแกรมสำหรับทำ Payroll ที่ดีจึงไม่ใช่แค่เรื่องของความสะดวก แต่เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณบริหารงานเงินเดือนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น มาดูกันว่า โปรแกรม Payroll ที่ตอบโจทย์ SME ควรมีอะไรบ้าง โปรแกรม Payroll คืออะไร? โปรแกรม Payroll หรือ โปรแกรมเงินเดือน คือโปรแกรมที่ช่วยจัดการเรื่องการจ่ายเงินเดือน จัดการบริหารเกี่ยวกับเงินเดือน การจ่ายค่าจ้าง ค่านอกเวลา เบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชันของพนักงานทุกคนภายในองค์กร ซึ่งโปรแกรม Payroll จะช่วยดูแลทุกขั้นตอนตั้งแต่การช่วยคำนวณด้านภาษี ไปจนถึงการออกเอกสารที่ต้องมอบให้พนักงานหลังจากจ่ายเงินเรียบร้อยแล้วอีกด้วย ทำให้โปรแกรมประเภทนี้เข้ามาเป็นส่วนช่วยให้การทำงานของผู้ที่รับหน้าที่ตรงนี้ได้ง่ายดายขึ้น ช่วยลดปัญหาข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น สามารถใช้งานได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ การนำเครื่องมือนี้เข้ามา จะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่พนักงานในองค์กรได้  ทำไมผู้ประกอบการทุกคนควรมี โปรแกรม Payroll  ผู้ประกอบการหลายท่านอาจคิดว่า รอพนักงานเยอะ ๆ ก่อนค่อยหาโปรแกรม Payroll มาใช้ แต่ตามจริงแล้วไม่จำเป็นต้องรอพนักงานหลักร้อยคนก็สามารถเริ่มใช้ได้เลย เพราะจะช่วยอำนวยความสะดวก ลดงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง และเป็นการวางระบบแผนงานการจ่ายเงินอย่างเป็นระเบียบ ไม่ต้องกังวลเรื่องเอกสารที่วุ่นวาย ทำให้การจัดการเรื่องเงินเป็นเรื่องง่ายมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ผู้ประกอบการเริ่มใช้ตั้งแต่เนิ่น ๆ  โปรแกรม Payroll ที่ดีเป็นอย่างไร? โปรแกรม Payroll หรือโปรแกรมเงินเดือน คือเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการด้านการจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าคอมมิชชัน หรือสวัสดิการอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นต้นทุนที่ทุกกิจการต้องบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ โปรแกรม Payroll ที่ดีจะช่วยให้งานด้านนี้เป็นเรื่องง่ายและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการทำงานแบบแมนนวล ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการด้านการเงินขององค์กรอย่างมีระบบและเป็นมืออาชีพ แล้วโปรแกรม Payroll ที่ดีเป็นอย่างไร? มาดูกันเลย 1. ออกสลิปเงินเดือนได้ทันทีได้ง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ เจ้าของกิจการหลายคนต้องเสียเวลากับการจัดทำสลิปเงินเดือนให้พนักงานทีละคน ซึ่งยิ่งมีพนักงานหลายคนก็ยิ่งใช้เวลานาน โปรแกรมที่ดีควรช่วยให้คุณสร้างสลิปเงินเดือนได้ในไม่กี่ขั้นตอน โดยดึงข้อมูลจากการคำนวณที่ระบบทำไว้แล้วมาใส่ในฟอร์มสลิปให้อัตโนมัติ พร้อมระบุรายการต่าง ๆ อย่างชัดเจน เช่น ฐานเงินเดือน โบนัส หรือรายการหักต่าง ๆ จากนั้นก็สามารถดาวน์โหลดหรือส่งให้พนักงานได้เลยทันที ไม่ต้องทำซ้ำหลายรอบ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีควรมีระบบสร้างสลิปจากข้อมูลที่มีในระบบ และคำนวณเงินเดือนให้อัตโนมัติ สามารถปรับรูปแบบ สีหรือใส่โลโก้บริษัทได้ สามารถ export เป็นไฟล์ PDF หรือส่งให้พนักงานผ่าน E-mail ได้ทันที โปรแกรมสลิปเงินเดือนที่ดีระบุรายการหัก-จ่ายอย่างชัดเจน เช่น ฐานเงินเดือน โบนัส หักประกันสังคม ภาษี เป็นต้น สมมุติว่าคุณมีพนักงาน 15 คน แต่ละคนมีค่าล่วงเวลาและโบนัสต่างกัน หากไม่มีระบบช่วย คงต้องนั่งกรอก Excel ทีละคน แล้วพิมพ์สลิปด้วยมือ แต่ถ้าใช้โปรแกรม Payroll คุณกรอกข้อมูลหรืออัปโหลด Excel แล้วกด “สร้างสลิป” ได้เลยภายในไม่กี่วินาที 2. เชื่อมต่อกับระบบประกันสังคมออนไลน์ พร้อมยื่นในระบบ SSO e-service ได้เลย การยื่นประกันสังคมผ่านระบบ SSO e-service ทุกเดือนถือเป็นภาระที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และถ้าทำแบบแมนนวลอาจใช้เวลามาก โปรแกรมที่ดีควรมีระบบเตรียมไฟล์สำหรับยื่นแบบอัตโนมัติ โดยดึงข้อมูลจากเงินเดือนของพนักงานมาแปลงเป็นรูปแบบที่ประกันสังคมกำหนดไว้ ช่วยลดเวลาการกรอกข้อมูลและมั่นใจได้ว่าส่งครบ ถูกต้อง และทันเวลา ดังนั้นควรเลือกโปรแกรมที่สามารถดึงข้อมูลค่าจ้างจากเงินเดือนที่คำนวณไว้แล้ว มาสร้างไฟล์นำส่งที่ตรงตามรูปแบบของประกันสังคม พร้อมมีลิงก์หรือปุ่มเชื่อมตรงเข้าสู่ระบบ SSO ได้เลย เพื่อให้คุณสามารถยื่นข้อมูลเข้าสู่ระบบ SSO e-service ได้ทันทีจากในระบบ ไม่ต้องเสียเวลาสลับไปกรอกข้อมูลใหม่ทีละช่อง ช่วยลดโอกาสผิดพลาดจากการคีย์ข้อมูลซ้ำ และยังทำให้การยื่นงานในแต่ละเดือนกลายเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วขึ้นมาก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเจ้าของธุรกิจหรือฝ่ายบุคคลที่ต้องดูแลพนักงานจำนวนมาก หรือมีหลายสาขา เพราะระบบจะช่วยรวมข้อมูลทุกอย่างไว้ให้ในที่เดียว พร้อมใช้งานทันที และมั่นใจได้ว่าทำตามรูปแบบที่ประกันสังคมกำหนดอย่างถูกต้องครบถ้วนทุกครั้ง 3. คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ การคำนวณภาษีเงินเดือนเป็นงานที่ต้องเป๊ะ เพราะถ้าคำนวณผิด ไม่ว่าจะน้อยหรือมาก ก็อาจกระทบกับพนักงานหรือทำให้คุณต้องเสียเวลายื่นแก้ไขย้อนหลัง โปรแกรมทำเงินเดือนที่ดีควรคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้อัตโนมัติ โดยอิงตามฐานเงินเดือนและสิทธิลดหย่อนที่กฎหมายกำหนด พร้อมสร้างรายงานหรือเอกสารประกอบการยื่นแบบภาษีให้ครบถ้วน ลดงานซ้ำซ้อนและลดความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการคำนวณ โปรแกรมเงินเดือนที่ดีควรรองรับการคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดตามอัตรากฎหมาย เช่น ลดหย่อนต่าง ๆ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว เบี้ยประกันชีวิต ฯลฯ สามารถสรุปยอดนำส่งภาษีและสร้างไฟล์นำส่งแบบ ภ.ง.ด.1 และสร้างใบแนบภาษีและรายงานภาษีประจำเดือนได้ ยกตัวอย่างเช่น หากพนักงานมีเบี้ยเลี้ยงพิเศษ โบนัส หรือค่าคอมมิชชันเพิ่มขึ้นในเดือนใด ระบบต้องสามารถคำนวณภาษีได้ถูกต้องแบบ real-time โดยที่คุณไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลขหรือเปิดตารางภาษีดูเอง 4. เชื่อมต่อกับโปรแกรมบัญชี เพื่อบันทึกบัญชีอัตโนมัติ เมื่อจ่ายเงินเดือนแล้ว ก็ต้องมีการบันทึกบัญชีตามมา เช่น บันทึกค่าใช้จ่าย เงินหักภาษี หรือประกันสังคม ถ้าต้องทำแยกกันจะเสียเวลามาก โปรแกรมที่ดีควรเชื่อมต่อกับระบบบัญชีโดยตรง เมื่อคำนวณ Payroll เสร็จ สามารถสั่งบันทึกรายการบัญชีได้เลยทันที ข้อมูลจะถูกลงบัญชีแยกประเภทอย่างถูกต้องตามมาตรฐาน ทำให้งานบัญชีและงานเงินเดือนไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ต้องทำซ้ำสองรอบ ลดโอกาสผิดพลาด ทำงบการเงินประจำเดือนเร็วขึ้น และทำให้ระบบบัญชี-เงินเดือน “คุยกันรู้เรื่อง” ซึ่งสำคัญมากสำหรับ SME ที่มีทีมงานเล็กและเวลาจำกัด กิจการไหนที่ควรใช้โปรแกรม Payroll สำหรับผู้ประกอบการท่านไหนที่ยังตัดสินใจว่าจะใช้โปรแกรม Payroll ดีหรือไม่ ในส่วนนี้เรามาดูกันว่าองค์กร กิจการไหนบ้างที่ควรเริ่มต้นนำโปรแกรมเหล่านี้มาปรับใช้โดยทันที กิจการที่มีพนักงานจำนวนมาก แน่นอนว่าเมื่อจำนวนพนักงานที่เยอะ ทำให้การจัดการเรื่องเงินเดือนกลายเป็นเรื่องยาก วุ่นวาย เพราะนอกจากต้องมาคอยนั่งคำนวณเงินให้ทีละคนแล้ว พนักงานแต่ละคนอาจยังมีค่าล่วงเวลา เบี้ยเลี้ยงอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย นอกจากนี้หลังจากที่คำนวณเสร็จต้องออกสลิปเงินเดือนให้พนักงานส่งให้แต่ละคนอีกต่างหาก ด้วยเหตุนี้เราจึงขอแนะนำให้ผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงานเยอะ ต้องเริ่มต้นใช้โปรแกรม Payroll โดยทันที กิจการที่ต้องการทำระบบบัญชีให้เรียบร้อย การจัดการเรื่องบัญชีในองค์กรให้เป็นระบบกลายเป็นเรื่องสำคัญที่บางครั้งอาจเป็นจุดพาไปสู่ความสำเร็จขององค์กรเลยก็ได้ เพราะองค์กรที่มีระบบบัญชีดี ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น ซึ่งการจ่ายเงินเดือนพนักงานก็เป็นอีกหนึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชี ซึ่งโปรแกรม Payroll ก็เข้ามาช่วยในการจัดเก็บข้อมูลการจ่ายเงินให้เป็นระเบียบมากขึ้น เรียกดูข้อมูลได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถเรียกดูตามแผนก เพื่อให้เห็นภาพรวมการจ่ายเงินเดือนขององค์กร ให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ ที่สำคัญคือข้อมูลจะไม่หายไปไหนเพราะอยู่ในโปรแกรม และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยสูง ไม่ต้องกลัวข้อมูลรั่วไหล เพราะหลาย ๆ โปรแกรมสามารถเลือกผู้ที่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้ กิจการที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ก่อนที่ AI จะเป็นกระแสทุกวันนี้ โปรแกรมช่วยทำงานอย่าง โปรแกรมจัดการเงินเดือน ก็ขึ้นชื่อเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน เพราะเข้ามาช่วยจัดการลดขั้นตอนการทำงานที่กินเวลา แต่ไม่จำเป็นมาก ช่วยให้การทำงานหลายอย่างในองค์กรง่ายมากยิ่งขึ้น อันเป็นส่วนช่วยให้พนักงานสามารถใช้เวลากับงานที่จำเป็นมากกว่าได้ แนะนำ PEAK Payroll สำหรับคำนวณค่าจ้างเพื่อผู้ประกอบการ โปรแกรมบัญชี PEAK ไม่ได้ดูแลเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับบัญชีอย่างเดียว แต่ยังมี PEAK Payroll เป็นโปรแกรม Payroll ที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่บัญชี หรือ HR จัดการกับระบบ Payroll ได้อย่างง่ายดาย ลดขั้นตอนการทำงาน และด้วยการออกแบบโปรแกรมที่เข้าใจผู้ใช้งานจริง ๆ จึงใช้งานง่าย ไม่ว่ากิจการของคุณจะให้พนักงานบัญชีดูแลเรื่องเงินเดือน หรือเจ้าหน้าที่บุคคลก็รับรองว่าเข้าใจการใช้งานได้ไม่ยากแน่นอน  ซึ่งตัวโปรแกรม Payroll ของ PEAK สามารถดูแลเรื่องระบบการจ่ายเงินเดือนได้ครบวงจรตั้งแต่การคำนวณเงินเดือน เก็บข้อมูล ออกสลิปเงินเดือน ไปจนถึงการทำรายงานต่าง ๆ เรียกได้ว่าโปรแกรมเดียวจบ ยิ่งองค์กรไหนอย่างจัดการระบบบัญชี PEAK คือคำตอบแน่นอน สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจ มองหาโปรแกรมดูแลเรื่องการจ่ายเงินเดือนพนักงานอยู่ บอกเลยว่าห้ามพลาดโปรแกรมบัญชี PEAK เริ่มต้นใช้งาน PEAK Payroll วันนี้ เพื่อการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ ไม่ว่ากิจการของคุณจะมีพนักงานหลัก 10 หรือหลัก 100 การเริ่มต้นใช้โปรแกรม Payroll ในการจ่ายเงินเดือนให้พนักงานตั้งแต่ตอนนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะเป็นการช่วยลดขั้นตอนการทำงาน แถมยังเป็นการวางรากฐานด้านระบบบัญชีให้ดีตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นอย่ามัวลังเลแล้วมาเริ่มต้นใช้กันได้เลย! ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

25 มี.ค. 2025

PEAK Account

7 min

เชื่อม empeo x PEAK จัดการเงินเดือนง่ายขึ้น ลดเวลาทำงานซ้ำซ้อน

เบื่อไหม? กับการจัดการเงินเดือนที่ยุ่งยาก ซ้ำซ้อน และเสี่ยงข้อผิดพลาด การทำเงินเดือนแต่ละครั้งอาจใช้เวลานาน ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำ ๆ และยังมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดที่ทำให้ต้องย้อนกลับไปแก้ไขซ้ำ ๆ ซึ่งทำให้เสียเวลาและเพิ่มภาระงานที่ไม่จำเป็น แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อคุณชื่อมต่อข้อมูลแบบอัตโนมัติจาก empeo เข้าสู่ระบบโปรแกรมบัญชี PEAK ทำให้การจัดการเงินเดือนและข้อมูลบัญชีเป็นเรื่องที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น empeo เป็นระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (HR) ที่ครบวงจร ช่วยจัดการตั้งแต่การคำนวณเงินเดือน การจัดเก็บข้อมูลพนักงาน การบริหารเวลาทำงาน ไปจนถึงการสร้าง Engagement ในองค์กร ผ่านฟังก์ชันที่ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมและสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่ง เชื่อมต่อระหว่าง empeo กับโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ดีอย่างไร empeo x PEAK คือ การเชื่อมต่อระหว่างระบบ HR อย่าง empeo กับโปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ซึ่งช่วยให้การจัดการข้อมูลพนักงาน การคำนวณเงินเดือน และการบันทึกบัญชีเป็นเรื่องง่ายและอัตโนมัติมากขึ้น รวมถึงประสิทธิภาพของการจัดการงานบุคคลและงานบัญชีจะเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ดังนี้ จัดการเงินเดือนครบวงจร ระบบสามารถคำนวณเงินเดือน ค่าล่วงเวลา (OT) โบนัส และการหักภาษีได้อย่างแม่นยำ พร้อมบันทึกข้อมูลทั้งหมดลงในระบบบัญชีของ PEAK โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีอัตโนมัติ ข้อมูลสรุปเงินเดือนและการจ่ายเงินจะถูกบันทึกลงใน PEAK ทันที ข้อมูลที่บันทึกในระบบจะถูกอัปเดตแบบเรียลไทม์ ทำให้คุณสามารถติดตามข้อมูลทางการเงินและสถานะการจ่ายเงินเดือนได้ทันที ลดขั้นตอนซ้ำซ้อน ไม่ต้องคีย์ข้อมูลซ้ำซ้อน ลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด ข้อมูลถูกซิงค์ระหว่าง empeo และ PEAK โดยอัตโนมัติ ประหยัดเวลาและลดภาระงานของทีม HR ทำไมต้องใช้ empeo x PEAK? การใช้ empeo ร่วมกับ PEAK ไม่เพียงช่วยลดเวลาทำงาน แต่ยังเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณและการบันทึกข้อมูลทางบัญชี ทำให้เห็นภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ระบบสามารถสร้างรายงานสรุปเงินเดือนได้อย่างครบถ้วน และรองรับการตรวจสอบเอกสารเพื่อใช้ในการยื่นภาษีได้ทันที ซึ่งช่วยให้การจัดการด้านบัญชีและงาน HR มีความสอดคล้องกันอย่างสมบูรณ์ เหมาะกับใคร? เริ่มต้นใช้ empeo x PEAK ง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน เปลี่ยนวิธีการจัดการเงินเดือนและบัญชีให้เป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว! 👉 เริ่มต้นใช้งานฟรีวันนี้ สิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้า PEAK รับข้อเสนอ 3 ต่อ 1: ทดลองใช้งานฟรี 30 วันเต็ม!2: สมัครใช้งานต่อแบบแพ็กเกจรายปี จ่ายเพียง 10 เดือน ใช้ได้นาน 13 เดือน3: สำหรับแพ็กเกจ Pro ขึ้นไป เมื่อซื้อ IOMO รับสิทธิ์ติดตั้ง ฟรี 1 จุด (มูลค่า 4,500 บาท)*เฉพาะลูกค้าใหม่ ที่ไม่เคยใช้บริการ empeo มาก่อนเท่านั้น กรอก code EMPEO30P ได้เลย ระยะเวลาคูปอง: วันนี้ – 30 มิถุนายน 2568  ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก