ขายของใน Shopee สมัครอย่างไร เสียค่าใช้จ่ายไหม

การขายของใน Shopee กลายเป็นทางเลือกยอดนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ การขายของในช้อปปี้เป็นแพลตฟอร์มนี้มีผู้ใช้งานจำนวนมากและมีระบบที่ใช้งานง่าย สำหรับผู้ที่สนใจแต่ยังไม่รู้วิธีขายของใน shopee ว่าควรจะเริ่มอย่างไรดี ทำอย่างไรได้บ้าง และเสียค่าใช้จ่ายไหม วันนี้เรามีวิธีการขายของใน Shopee ตั้งแต่วิธีการสมัครขายของใน Shopee และรายละเอียดเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมต่าง ๆ มาฝากทุกคนกันให้สามารถวางแผนการขายของได้ตามเป้าหมายกัน

จะเริ่มสมัครขายของใน Shopee อย่างไร

การสมัครขายของใน Shopee ทำได้ง่าย ๆ เพียงใช้โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ก็สามารถสมัครขายของใน Shopee ได้ทันที โดยสามารถเริ่มต้นสมัครขายของใน Shopee ได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

1. สร้างบัญชี Shopee ผ่านแอปพลิเคชัน

  1. ทำการดาวน์โหลด Shopee Seller Centre ได้ทั้งระบบ IOS และ Android
  2. เลือก “ลงทะเบียน” พร้อมกรอกหมายเลขโทรศัพท์ หลังจากนั้นให้ใส่รหัสยืนยันตัวตน (OTP) พร้อมตั้งรหัสผ่านของตัวเอง
  3. เลือกการสร้างบัญชีใหม่ กรอกรายละเอียดให้เรียบร้อย แล้วล็อกอินเข้าสู่หน้า Seller Centre ของแอป Shopee เพื่อเริ่มการขายสินค้าได้เลย

2. สร้างบัญชี Shopee ผ่านคอมพิวเตอร์

  • ขั้นตอนแรกเข้าสู่เว็บไซต์ Shopee แล้วกดเลือกเริ่มต้นขายสินค้า
  • ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ทั้งข้อมูลประเภทร้านค้า และโปรแกรมส่งเสริมการขายว่ามีอะไรบ้าง
  • จากนั้นกรอกเบอร์โทรศัพท์เพื่อทำการสมัครบัญชี Shopee โดยใส่รหัส OTP แล้วกดยืนยัน ตั้งค่ารหัสผ่านของตัวเอง
  • เลือกการสร้างบัญชีใหม่ด้วยการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วนจากนั้นล็อกอินเข้าสู่หน้า Seller Centre เพื่อเริ่มต้นขายสินค้าได้เลย 

สมัครขายของใน Shopee เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

สมัครขายของใน Shopee เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

การขายของใน Shopee ไม่มีค่าใช้จ่าย ฟรีค่าแรกเข้า แต่ยังมีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ผู้ขายควรทราบเพื่อการวางแผนต้นทุนอย่างถูกต้อง ดังนี้

1. ค่าธรรมเนียมจากการขาย ใน shopee 

ค่าธรรมเนียมจากการขายเป็นส่วนที่ Shopee เรียกเก็บเมื่อมีการขายสินค้าสำเร็จ โดยทั่วไปแล้ว Shopee จะคิดค่าธรรมเนียมนี้เป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้าที่ขายได้ ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมอาจแตกต่างกันไปตามหมวดหมู่ของสินค้าและโปรโมชั่น ซึ่งในสินค้าหมวดหมู่อิเล็กทรอนิกส์ จะคิดที่ 3% ส่วนหมวดหมู่อื่น ๆ จะคิดที่ 5% (โดยไม่รวมค่าขนส่งและส่วนลดอื่น ๆ )

2. ค่าธรรมเนียมชำระเงินแบบปลายทาง

การชำระเงินแบบปลายทางหรือ COD (Cash on Delivery) การชำระเงินวิธีนี้ผู้ขายจะมีค่าธรรมเนียมชำระเงินปลายทางที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม COD เป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายที่ชำระผ่านวิธีนี้ โดยจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมชำระปลายทาง ที่ 2% จากผู้ขาย (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว)

3. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัญชีธนาคาร

สำหรับการชำระเงินผ่านบัญชีธนาคาร ทั้งการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร หรือ Mobile Banking ผู้ขายต้องเสียค่าธรรมเนียม 2% เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินที่ทำธุรกรรม (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว)

4. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต

การชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเป็นอีกวิธีที่สะดวกสบายสำหรับผู้ซื้อ แต่สำหรับผู้ขายต้องถูกหักค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดเงินที่ทำธุรกรรม โดยจะหัก 2% เมื่อผู้ซื้อชำระค่าสินค้าแล้ว (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว)

5. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน AirPay Wallet

การชำระเงิน AirPay Wallet ใน Shopee เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สำหรับผู้ขายการรับชำระเงินผ่าน AirPay Wallet จะมีค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม 2% ของยอดทั้งหมด (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว)

6. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต แบบผ่อนชำระ

การจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตแบบผ่อนชำระ โดยเฉพาะในสินค้าที่มีราคาสูงจะช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ขายการให้บริการผ่อนชำระนี้จะมีค่าธรรมเนียม 5% โดย 2% มาจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรส่วน 3% มาจากการเลือกผ่อนชำระ (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว)

7. ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่าน SpayLater

SpayLater เป็นบริการชำระเงินแบบผ่อนชำระที่มอบความยืดหยุ่นแก่ผู้ซื้อ ทำการชำระเงินในภายหลัง สำหรับผู้ขาย การรับชำระเงินผ่าน SpayLater สำหรับผู้ขายจะมีค่าธรรมเนียม 2% ไม่ว่าจะชำระผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันก็ตาม (รวมค่าขนส่งสินค้า ส่วนลด และการใช้ Shopee Coin แล้ว)

สรุปบทความ

สรุปบทความ

สำหรับผู้ที่อยากเริ่มเส้นทางธุรกิจออนไลน์การขายของใน Shopee ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีมาก ๆ โดยสามารถสมัครขายของใน Shopee ได้ง่าย ๆ ทั้งผ่านแอปพลิเคชันและคอมพิวเตอร์เลย แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดการขายของในช้อปปี้ มีค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แฝงอยู่ เราจะต้องมีการทำบัญชีอย่างรอบคอบเพื่อคำนวณความคุ้มค่าของต้นทุนและการคิดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย

PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีบริการเชื่อมต่อ API กับพันธมิตรแพลตฟอร์ม FASTSHIP (แพลตฟอร์มขนส่งสินค้าและพัสดุ), TORYORDONLINE (แพลตฟอร์มค้าส่งออนไลน์), CLOUDCOMMERCE (แพลตฟอร์มเพื่อธุรกิจ e-Commerceครบวงจร), SELLSUKI (แพลตฟอร์ม e-Commerce Solution สำหรับธุรกิจออนไลน์) เป็นต้น ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น การบันทึกบัญชีเป็นอัตโนมัติมีความรวดเร็ว และถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ต้องรอรับเอกสารแล้วค่อยบันทึกบัญชี 

ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท
คลิก https://www.peakaccount.com (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
PEAK Call Center : 1485
LINE : @peakaccount
สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine