PEAK Account

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

17 พ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นสำคัญ : ใบเสร็จรับเงินคืออะไร? ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่มีการออกโดยผู้รับเงินหรือเจ้าของกิจการทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้นไป เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในใบเสร็จรับเงินนั้นจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันตลอดจนราคาที่ตกลงกันให้ครบถ้วน เพราะการออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำทันทีที่มีการรับเงินมาไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากบิลเงินสดอย่างไร? หลายคนมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินว่าเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ นั้นมีอยู่ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นเอกสารที่มักออกเมื่อมีรายการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีราคาสูง มีบริการดูแลหลังการขาย ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้โดยนำชื่อและที่อยู่ให้กับทางร้านค้าหรือบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั้น เพื่อให้ร้านค้านั้นออกใบเสร็จรับเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง 2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นใบเสร็จที่ได้รับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใบเสร็จรูปแบบนี้จะมีการแสดงรายการสินค้าและบริการคล้ายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี แต่จะไม่มีการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบเสร็จรับเงินต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ หากเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ควรมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” เด่นชัด และมีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าและบริการระบุอยู่ในใบเสร็จรับเงินด้วย ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ 1. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีบุคคลธรรมดาใช้บิลเงินสด/ใบเสร็จรับเงิน 2. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีนิติบุคคล ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี 3. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีไม่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินไม่ได้ หากไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า มีบทลงโทษอย่างไร? ในกรณีผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ไม่ยอมออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบเสร็จรับเงินและตัวอย่างใบเสร็จรับเงินที่สร้างจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสร็จรับเงิน สรุป ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันการชำระเงินของเจ้าของธุรกิจ ควรทำการตรวจสอบข้อมูลในใบเสร็จรับเงินและเก็บใบเสร็จรับเงินไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

15 พ.ค. 2024

PEAK Account

13 min

ทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าได้ง่ายๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่

ประเด็นสำคัญ : บัญชีรายรับรายจ่ายคืออะไร? บัญชีรายรับรายจ่าย คือ กระบวนการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายสำหรับกิจการที่มีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เหตุผลที่ร้านค้าควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย การเปิดร้านค้าเป็นของตนเองไม่ว่าจะร้านค้าที่มีหน้าร้านหรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เห็นผลประกอบการระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เมื่อทางร้านค้าเห็นตัวเลขบัญชีที่เกิดขึ้นจะทำให้วางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ว่าค่าใช้จ่ายใดควรลดลงเพื่อประหยัดต้นทุน สร้างผลกำไรสูงขึ้น หรือควรไปลงทุนกับสินค้าใดจึงจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นต้น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้ามีประโยชน์อย่างไร? เมื่อร้านค้ามีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประการ ดังนี้ ควรเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องมีในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ก็คือ “แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้นประกอบไปด้วย “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ รายละเอียดในแบบฟอร์มรายงานเงินสดรายรับ-รายจ่าย แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้  ตัวอย่างการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าแพลตฟอร์มต่างๆ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง e-Commerce e-Commerce คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดีจะช่วยสร้างความสะดวกให้ผู้ประกอบการธุรกิจ e-Commerce หลายๆ ประการ เช่น “ข้อมูลเยอะมาก นักบัญชีทำไม่ทัน ลองเชื่อมระบบดู” การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Marketplace Marketplace ก็คือ แพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมาก ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะได้มาเจอกัน ตัวอย่าง Marketplace ยอดนิยมที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ก็คือ Shopee Lazada  โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้คนขายของออนไลน์ออกใบเสร็จรับเงินได้ง่ายๆ จัดการงานบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Social Commerce Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ LINE Shopping เป็นต้น การขายในลักษณะนี้ลูกค้าจะได้ปฏิสัมพันธ์กับทางร้านค้าโดยตรง ทำให้ธุรกิจสามารถทราบความต้องการ และเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีการเชื่อมต่อหลากหลายโปรแกรมพันธมิตร เพื่อจัดการงานขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการรายการสั่งซื้อ การบันทึกบัญชี หรือการจัดการสต็อกสินค้า เป็นต้น  ต้องการนักบัญชีช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร? สำหรับร้านค้าที่ต้องการนักบัญชีเข้ามาช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร PEAK ให้บริการรับทำบัญชีที่แตกต่าง เน้นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ธุรกิจมีบัญชีที่เป็นระบบ สามารถใช้ข้อมูลงบการเงินเพื่อการตัดสินใจได้ และประสบความสำเร็จในระยะยาว เราดูแลงานจดทะเบียนบริษัท งานจัดการภาษี และการทำบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นรากฐาน สำหรับการเติบโตของธุรกิจคุณ พร้อมทั้งช่วยให้คุณเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจของคุณ แล้วให้เราดูแลเรื่องบัญชี“ สรุป การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจร้านค้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยให้ได้เห็นสถานะทางการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจในระยะยาว หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่ควรละเลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

14 พ.ค. 2024

PEAK Account

5 min

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อันดับ 1 ในใจผู้ประกอบการ เสริมสร้างการทำงานอย่างเป็นระบบ สนับสนุนทุกการเติบโตของ Beneat

เพราะ Beneat เป็นแพลตฟอร์มเรียกใช้บริการแม่บ้านออนไลน์แบบครบวงจรที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ จัดการเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการงานบัญชีที่ถือเป็นหัวใจของธุรกิจ Beneat เลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่ตอบโจทย์การทำง่านอย่าง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ คำตอบที่ใช่ของธุรกิจที่ต้องการจัดการงานบัญชีที่เป็นระบบ อานนท์ น้อยอ่ำ Chief Executive Officer, Beneat ได้กล่าสถึงจุดเริ่มต้นของการใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ว่า “ Beneat  เป็นแพลตฟอร์มเรียกใช้บริการแม่บ้านออนไลน์ ก่อตั้งมาประมาณ 7 โดยเริ่มต้นจากการให้บริการแม่บ้าน แล้วก็ต่อยอดมาเป็นบริการด้านการทำความสะอาดแบบครบวงจร  โดยจุดเริ่มต้นของเรา เริ่มจากกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการทำความสะอาดประเภทที่พักระยะสั้นก่อน ก็คือพวก Airbnb เนื่องจากกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้จะคุ้นเคยกับเทคโนโลยี หลังจากนั้นเราก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และขยายไปยังลูกค้ากลุ่มต่างๆ มากขึ้น  ตอนที่เราเป็น Start-up ใหม่ๆ ตอนแรกเราจะบันทึกบัญชีผ่าน Spreadsheet ธรรมดา หลังจากนั้นพอเราเริ่มมีเอกสารมากขึ้น การจัดการต่างๆ เพิ่มขึ้น เราก็เลยเริ่มมองหาสิ่งที่เป็นระบบมากขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเลือก PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์” PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ตอบโจทย์งานบัญชีแบบครบวงจร สร้างประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจแบบเหนือชั้น เมื่อเรื่มต้นใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ Beneat ก็พบว่าเป็นสิ่งตอบโจทย์สำหรับการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาโดยที่ไม่ต้องกังวลกับข้อมูลอีกต่อไป คุณอานนท์กล่าวว่า “การใช้ออนไลน์สะดวกมาก เราทำงานที่ไหนก็ได้ และพอองค์กรเริ่มโตขึ้น ก็สามารถส่งต่อข้อมูลกันได้รวดเร็ว PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานที่ครบวงจร รองรับการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ และถ้าองค์กรเราใหญ่ขึ้น เราสามารถขยายฟีเจอร์ที่เราต้องการได้  ถ้าเกิดไม่มี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ธุรกิจเราคงไม่สามารถสเกลแบบนี้ได้ เพราะทุกคนคงต้องนั่งทำงานที่ออฟฟิศ แล้วก็ต้องทำงานกับเอกสารมากมาย การตัดสินใจก็ช้า การหาข้อมูลก็ช้า ผมคิดว่าเราไม่สามารถทำแบบรั้นได้อีกแล้วในยุคของการแข่งขันปัจจุบัน” PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สร้างความเชื่อมั่น พร้อมดูแลทุกการใช้งานอย่างมืออาชีพ สิ่งที่ Beneat ประทับใจในการใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การดูแลผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง “ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีการดูแลผู้ใช้งานที่ดี  คือ บางทีเราไม่เข้าใจการใช้งานในบางฟีเจอร์ PEAK ก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการอย่างรวดเร็ว ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราประทับใจ และเชื่อมั่นว่าในการใช้ PEAK เมื่อเกิดปัญหาจะมีคน Support ตลอดเวลา”

13 พ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

ตัวอย่างแบบฟอร์มใบเสนอราคา และรายละเอียดที่ต้องมีในเอกสาร

ประเด็นสำคัญ ทำความรู้จัก “ใบเสนอราคา” ใบเสนอราคาเป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้กับลูกค้าหรือผู้ที่สนใจสินค้าหรือบริการนั้นๆ เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลที่ควรมีในใบเสนอราคาจะประกอบไปด้วยรายการสินค้าและบริการที่ชัดเจน มีรายละเอียดเงื่อนไข ค่าใช้จ่าย ครบถ้วน เพื่อให้ผู้สนใจนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ อีกทั้งยังช่วยส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย ความสำคัญของใบเสนอราคา ใบเสนอราคามีความสำคัญต่อใบเสนอราคาทั้งในแง่ของการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และความน่าเชื่อถือของบริษัท ดังนี้ รูปแบบการทำฟอร์มใบเสนอราคา การจัดทำใบเสนอราคาโดยทั่วไปนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาแบบ Manual 2. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชี รายละเอียดที่ต้องมีในฟอร์มใบเสนอราคา ใบเสนอราคาประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่  ส่วน Header ประกอบด้วย ส่วน Description ประกอบด้วย ส่วน Footer ประกอบด้วย  ตัวอย่างเอกสารแบบฟอร์มใบเสนอราคา ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาไทย ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาอังกฤษ การสร้างใบเสนอราคา ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถสร้างใบเสนอราคาได้ง่ายๆ ในไม่กี่นาที ครบถ้วน ถูกต้องในทุกรายละเอียด พบกับขั้นตอนสร้างใบเสนอราคาจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสนอราคา สรุป ใบเสนอราคาเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ออกให้กับลูกค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลในใบเสนอราคาควรมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

10 พ.ค. 2024

PEAK Account

11 min

ความสำคัญของใบแจ้งหนี้คืออะไร? ต่างจากใบวางบิลอย่างไร?

ประเด็นสำคัญ ก่อนอื่นต้องขอแนะนำใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ก่อน… ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ รวมไปถึงบริษัทต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดของสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายและกำหนดวันที่ลูกค้าต้องจ่ายชำระกับทางบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้นี้ส่วนใหญ่มักจะใช้กับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ หรือธุรกิจที่มีการใช้เครดิตในการชำระเงิน รวมไปถึงพ่อค้า – แม่ค้าที่มีธุรกิจขายส่งสินค้าจำนวนมาก เพื่อให้ร้านค้ามีความน่าเชื่อถือ ใบแจ้งหนี้คืออะไร? ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว บริษัทหรือผู้ประกอบการจะออกใบแจ้งหนี้ทุกครั้ง เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่ามีสินค้าที่ซื้อไปทั้งหมดเท่าไหร่? ต้องชำระเงินเท่าไหร่? และกำหนดชำระเงินเมื่อไหร่? พูดง่ายๆ ใบแจ้งหนี้ก็เปรียบเสมือนใบสรุปรายการ เมื่อมีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น ใบแจ้งหนี้จะบอกรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้ขาย และลูกค้าเข้าใจตรงกัน โดยไม่เกิดความเข้าใจผิด ใบวางบิลคืออะไร? ใบวางบิล (Billing Note) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีใบแจ้งหนี้ แจ้งค่าใช้จ่าย และระยะเวลากำหนดวันที่เรียกเก็บเงินแล้ว ใบวางบิลจะถูกออกเมื่อถึงกำหนดชำระเงินตามที่ใบแจ้งหนี้ได้บอกไว้ โดยจะรวมยอดคงเหลือที่ต้องชำระทั้งหมด และสรุปค่าใช้จ่ายรายการสินค้าต่างๆ ดังนั้นหลายบริษัทมักใช้ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้เป็นใบเดียวกัน เพื่อความชัดเจน และความสะดวกในการใช้งาน ใบแจ้งหนี้และใบวางบิลต่างกันอย่างไร? “ใบแจ้งหนี้” และ “ใบวางบิล” เป็นเอกสารที่ระบุยอดชำระให้แก่คู่ค้าเช่นเดียวกัน แต่ “ใบแจ้งหนี้” เป็นเอกสารที่เราแจ้งให้คู่ค้าทราบหลังจบงาน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายว่ามีค่าสินค้า ค่าบริการอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่ และคู่ค้าควรชำระเมื่อใด ส่วน “ใบวางบิล” จะออกมาเมื่อถึงเวลาชำระเงิน โดยจะรวมยอดคงค้างทั้งหมด และสรุปว่ามีรายการค่าใช้จ่ายใดบ้าง และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งบางทีบริษัทคู่ค้าจะแจ้งมาว่าต้องการให้ออกใบวางบิลโดยรวมค่าใช้จ่ายใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นกับการตกลงของเราและคู่ค้าด้วย  ข้อควรระวังเกี่ยวกับใบแจ้งหนี้และใบวางบิล สิ่งที่สำคัญมากๆ ของการออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ ความชัดเจน และความถูกต้อง สิ่งที่มักจะผิดพลาดในการออกเอกสารนี้คือ การกรอกรายละเอียดต่างๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา จนต้องนำกลับไปแก้ไขใหม่ รวมไปถึงเรื่องของการลืมส่งเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับเงินล่าช้ากว่ากำหนด จะทำให้มีปัญหาในการชำระเงิน และอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่หลายบริษัทมักจะพบเจอกันบ่อยๆ คือ วันรับวางบิลของลูกค้า ใบวางบิลต้องไปถึงมือลูกค้าในช่วงเวลาที่บริษัทของลูกค้ามีกำหนดการวางบิล หากล่าช้า หรือติดวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ อาจจะทำให้บริษัทไม่ได้รับเงินจากลูกค้าในเดือนนั้นๆ ทำให้ต้องรออีก 1 เดือน หรือจนกว่าจะถึงรอบวางบิลใหม่  และแน่นอนมันต้องมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นตามมา เช่น กำหนดวางบิลของลูกค้าคือวันที่ 1 – 5 ของทุกเดือน แต่เอกสารวางบิลของเราใส่รายละเอียดผิด ต้องนำไปแก้ไขแล้วส่งถึงมือลูกค้าในวันที่ 6 ก็จำเป็นที่จะต้องรอลูกค้าทำเรื่องชำระอีกทีในช่วงวันที่ 1 – 5 ของเดือนต่อไป แล้วค่าสินค้า ค่าพนักงาน ค่าภาษี ค่าบริการที่ลูกค้าได้รับหรือใช้ไปแล้วล่ะ ใครจะเป็นคนจ่ายก่อน? แน่นอนว่าคำตอบก็คือเรา ถ้าวางบิลไม่ทันค่าใช้จ่ายต่างๆ เราต้องเป็นคนจัดการรับผิดชอบออกไปก่อนทั้งหมด และนั้นอาจจะทำให้บริษัทของเราเกิดปัญหสทางการเงินได้ ดังนั้นเรื่องระยะเวลา และความถูกต้องในใบวางบิลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   เช็กให้ชัวร์ก่อนออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ ข้อมูลต้องชัวร์! ข้อมูลผู้ออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ ข้อมูลผู้รับใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ 5 สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นตอนของการออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ทั้งหมด การสร้างใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK ได้ที่การสร้างใบแจ้งหนี้  และการสร้างใบวางบิล “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ สรุป ใบแจ้งหนี้และใบวางบิล เอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดราคาของสินค้า หรือบริการ ให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินและวันครบกำหนดที่ต้องจ่าย ดังนั้นในการจัดทำใบแจ้งหนี้และใบวางบิล จึงควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า เพื่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

8 พ.ค. 2024

PEAK Account

1 min

Update Function 08/05/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. To automatically add the display of contact names in the signature block on the document 📢 For every business that issues documents through the program, when issuing documents to customers, the signature block on the document will automatically display the customer’s name. This allows users who send documents to customers/partners to not have to manually write the contact person’s name and helps users work more conveniently. Thank you for the suggestion, by SEALONG (THAILAND) CO., LTD. ✨ 2. Add an option to search for documents or display information by month range 📢 For users searching for documents, they can select a document’s month range or data display. Additionally, they can choose a non-consecutive month range, in cases where a business’s accounting period does not align with the calendar year. This helps users search for documents more efficiently. ✨ 3. Add the display of search results on the print report page 📢 For advanced document search users, when searching for documents and wanting to print a document report, the system will display the search criteria details. This allows users to review the information before printing the report ✨ 4. Add support for 123Service financial channels 📢 For every business, the system now adds support for 123Service financial channels, allowing for a much wider variety of financial transaction options.

8 พ.ค. 2024

PEAK Account

3 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 08/05/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. เพิ่มการแสดงชื่อผู้ติดต่อที่ช่องลายเซ็นต์บนหน้าเอกสารให้อัตโนมัติ 📢 สำหรับทุกกิจการที่ออกเอกสารในโปรแกรม เมื่อออกเอกสารให้กับลูกค้า ช่องลายเซ็นต์หน้าเอกสารระบบจะแสดงชื่อผู้คู่ค้าให้อัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ส่งเอกสารให้กับลูกค้า/คู่ค้าไม่ต้องเขียนชื่อผู้ติดต่อเองและช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยบริษัท ซีลอง (ประเทศไทย) จำกัด ✨ 2. เพิ่มตัวเลือกปุ่มค้นหาเอกสารหรือการแสดงข้อมูลตามช่วงเดือน 📢 สำหรับผู้ใช้งานที่ค้นหาเอกสาร สามารถเลือกระบุช่วงเดือนของเอกสารหรือการแสดงข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถเลือกช่วงเดือนแบบข้ามปีได้ กรณีที่กิจการมีรอบบัญชีที่ไม่ตรงปีปฏิทิน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเอกสารได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ✨ 3. เพิ่มการแสดงข้อมูลการค้นหาหน้าพิมพ์รายงาน 📢 สำหรับผู้ใช้งานที่ค้นหาเอกสารขั้นสูง เมื่อค้นหาเอกสารและต้องการพิมพ์รายงานเอกสาร ระบบจะแสดงรายละเอียดเงื่อนไขที่ได้ค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลก่อนพิมพ์รายงาน ✨ 4. เพิ่มการรองรับช่องการเงิน 123Service 📢 สำหรับทุกกิจการ ระบบเพิ่มการรองรับช่องทางการเงิน 123Service เพื่อรองรับช่องทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น

2 พ.ค. 2024

PEAK Account

30 min

เรื่องสำคัญของ “ใบกำกับภาษี” ที่เจ้าของกิจการควรรู้ และใครออกได้บ้าง?

ประเด็นสำคัญ : ใบกำกับภาษีคืออะไร ใบกำกับภาษี (Tax invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดทำและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยใบกำกับภาษีจะแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในแต่ละครั้ง  โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT ย่อมาจาก Value added tax) เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต ทั้งที่ผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ โดยปกติผู้ประกอบการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการ แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรโดยการยื่นแบบภ.พ.30  ใครเป็นผู้มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี การออกใบกำกับภาษีแต่ละประเภท กรมสรรพากรได้แบ่งประเภทของใบกำกับภาษีออกเป็น 7 ประเภทดังนี้ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงรายละเอียดของใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบเท่านั้น เนื่องจากเป็นประเภทใบกำกับภาษีที่กิจการส่วนใหญ่ใช้งาน การออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไปมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือบริการ (เว้นแต่ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปต้องมีรายการดังต่อไปนี้ 1. ตำแหน่งที่แสดงคำว่า “ใบกำกับภาษี” คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความมุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ในชุดเดียวกัน โดยใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังนี้ 2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบกำกับภาษี 2.1 ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้ แต่กรณีผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้ได้รับใบกำกับภาษีที่เป็นนิติบุคคล สามารถใช้คำย่อสำหรับบอกสถานะได้ เช่น บริษัทจำกัด ใช้คำว่า บ. ……จก. หรือ บจ., ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำว่า หจก. เป็นต้น 2.2 ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) กรณีที่เป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือ “HO” หรือ “HQ” หรือ ระบุเป็น ตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย กรณีที่เป็นสาขา ให้ระบุคำว่า “สาขาที่…”, “Branch No. …”, ”br.no. …” หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่…” ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย ข้อสังเกต 2.3 เลขประจำตัวผู้เสียอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี       ข้อสังเกต ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการไว้ในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เฉพาะกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ที่เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น แต่ถ้าผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ใช่ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ไม่จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรเมื่อออกใบกำกับภาษี 3. ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ 3.1 ชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 3.2 ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ข้อสังเกต การระบุชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ จะตีพิมพ์หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับตราด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ 4. รายการ “หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขของเล่ม  (ถ้ามี)” ใบกำกับภาษีที่ไม่มีหมายเลขลำดับ จะไม่สามารถนำไปคำนวณภาษีซื้อได้ 5. รายการ “ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ” ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจําเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกํากับภาษีด้วย ให้กระทําได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็นสินค้า หรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 6. รายการ “จํานวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คํานวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง” 7. รายการ “วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี” วัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี เป็นรายการที่เป็นสาระสําคัญที่ประมวลรัษฎากรกําหนดให้ต้องมีในใบกํากับภาษี และเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น คือ เป็นวันที่ได้มีการส่งมอบสินค้า โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น ได้รับชําระค่าสินค้าหรือบริการ หรือวันที่ออกใบกํากับภาษี โดยวัน เดือน ปี ที่ออกใบกํากับภาษี จะใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) หรือคริสต์ศักราช (ค.ศ.) ก็ได้ ภาพตัวอย่างใบกำกับภาษี วิธีการจัดทํารายการของใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป ออกใบกำกับภาษีได้เมื่อไร หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีมีการกำหนดจุดรับรู้ภาษีซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการถูกกำหนดว่ามีภาระภาษีเกิดขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิ์และหน้าที่ในการเรียกเก็บ VATจากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการรวมไปถึงการออกใบกำกับภาษีตามมา ซึ่งจุดรับรู้ภาษีแบ่งออกตามกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้ 1. การขายสินค้า ในการขายสินค้า โดยส่วนใหญ่มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่ หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการขายสินค้า แบ่งออกเป็น 3 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 1.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้า ในการขายสินค้าทั่วไป กิจการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าผู้ขายยังไม่ได้รับชำระค่าสินค้า กรณีนี้พบมากที่สุดในการขายสินค้า 1.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการรับชำระเงินสำหรับค่าสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ยังไม่ได้มีการส่งมอบสินค้าก็ตาม กิจการก็ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า กรณีนี้เกิดจากการรับชำระค่าสินค้าใน รูปแบบเงินมัดจำก่อนส่งมอบสินค้า 1.3 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้า เมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ลูกค้าก่อนส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ก็ต้องออกใบกำกับภาษีทันทีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ถึงแม้ว่ายังไม่มีการส่งมอบสินค้า หรือยังไม่ได้รับชำระเงินค่าสินค้าก็ตาม 2. การให้บริการ ในการให้บริการของกิจการ มีด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่  หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ แบ่งออกเป็น 2 กรณี ขึ้นอยู่กับจุดที่รับรู้ภาษี 2.1 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการก่อนการให้บริการ   เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการรับชำระค่าบริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการให้บริการ 2.2 การออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการก่อนการรับชำระค่าบริการ เป็นการออกใบกำกับภาษีเมื่อมีการใช้บริการซึ่งถือเป็นจุดที่รับรู้ภาษี ถึงแม้ว่าจะยังไม่ได้มีการรับชำระเงินก็ตาม ในทางปฏิบัติ การออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการมักจะออกใบกำกับภาษีเมื่อรับชำระค่าบริการ โดยไม่ได้คำนึงถึงว่าจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการให้บริการก็ตาม ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษีในการให้บริการ กิจการควรออกใบกำกับภาษีถึงแม้ว่ากิจการจะยังไม่ได้รับชำระเงิน แต่มีการให้บริการก่อนรับชำระเงิน อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป การให้บริการและการรับชำระเงินมักจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยมากจะเป็นการรับชำระเงิน ก่อนการให้บริการ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าในการให้บริการ การออกใบกำกับภาษี กิจการจะออกเมื่อมีการรับชำระเงิน สิ่งที่สำคัญคือผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำ ก็คือ การจัดทำทั้งต้นฉบับใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษี ตลอดจนเก็บรักษาเพื่อเป็นหลักฐานประกอบในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) โดยเก็บไว้ที่สถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้จัดทำใบกำกับภาษี “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีหรือไม่ ใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีอย่างแน่นอน เนื่องจากใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องออกให้ลูกค้า โดยใบกำกับภาษีมีผลกับเรื่องภาษีดังนี้ จุดที่ต้องระวังในการออกใบกำกับภาษี ในการออกใบกำกับภาษีให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กรมสรรพากรกำหนดนั้นมีจุดที่ควรระวัง ดังต่อไปนี้ 1. สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี สิ่งที่ต้องระวังเป็นอันดับแรกในการออกใบกำกับภาษี ก็คือ สิทธิ์ในการออกใบกำกับภาษี กิจการใดที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการนั้นสามารถออกใบกำกับภาษีได้ แต่หากกิจการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีการออกใบกำกับภาษี จะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย 2. ระบุรายละเอียดในใบกำกับภาษีให้ครบถ้วน ในการออกใบกำกับภาษีนั้น ผู้ประกอบการต้องตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ไม่ว่าจะเป็นชื่อที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าและบริการ รายละเอียดราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น 3. ออกใบกำกับภาษีให้ทันต่อสถานการณ์ ทุกครั้งเมื่อเกิดจุดความรับผิดในการเสียมูลค่าเพิ่ม (Tax Point) ในการขายสินค้าและบริการขึ้นมา ผู้ประกอบการจะต้องมีการออกใบกำกับภาษีเพื่อส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าและบริการนั้นทันที หากละเลย หรือฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 4. ไม่หลงลืมการเสียภาษี เมื่อมีการออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าและบริการขึ้นมาแล้วนั้น กิจการต้องไม่ลืมที่จะลงรายงานภาษีขาย และจ่ายภาษีให้ถูกต้องเป็นประจำ มิฉะนั้นจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมายเช่นเดียวกัน 5. แสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้า ในกรณีที่ใบกำกับภาษีเกิดมีความผิดพลาดใดๆ ที่ทำให้ต้องมีการแก้ไขข้อมูล หรือยกเลิกใบกำกับภาษีดังกล่าวนั้น กิจการต้องดำเนินการให้เรียบร้อยโดยไม่ขาดตกบกพร่อง การขายสินค้าและบริการที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี ตามปกติแล้วผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการขายสินค้าและบริการ จะต้องมีการออกใบกำกับภาษีทุกครั้ง แต่ในบางกรณีกรมสรรพากรก็มีการยกเว้นเช่นกัน สำหรับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีการขายสินค้าหรือบริการครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท โดยผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องออกใบกำกับภาษีนั้นจะต้องเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ สรุป จากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าต้องออกใบกำกับภาษีกิจการก็จะมีความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการออกใบกำกับภาษี จุดที่ต้องออกใบกำกับภาษี มีความเข้าใจว่าต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไร ซึ่งมีผลต่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตรงตามงวดเวลาในการขายสินค้าหรือให้บริการ PEAK โปรแกรมบัญชีที่ช่วยกิจการเตรียมเอกสารทางบัญชีและสร้างเอกสารทางออนไลน์ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ในแบบที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นใบเสนอราคา ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ทั้งยังรองรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการรับชำระเงินผ่าน QR CODE เมื่อสร้างเอกสารแล้ว ระบบจะบันทึกรายการบัญชีให้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้กิจการออกใบกำกับภาษี ได้อย่างถูกต้อง ตรงตามงวดเวลาและยื่นแบบได้ภายในกำหนดเวลา รวมทั้งบันทึกบัญชีได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม อ้างอิง:ประเภทของใบกำกับภาษี | กรมสรรพากร – The Revenue Department (rd.go.th)หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษี ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อไหร่? (peakaccount.com),7 ตุลาคม 2564taxinvoice.pdf (rd.go.th), คู่มือใบกำกับภาษี, กรมสรรพากร

30 เม.ย. 2024

PEAK Account

14 min

ระเบียบการแข่งขัน PEAK Digital Accounting Championship 2024

ไฟล์ระเบียบการแข่งขัน หมายเหตุ: กำหนดการมีการเปลี่ยนแปลง ปิดรับสมัครในวันที่ 7 มิ.ย. 2567 เวลา 23.59 น. และประกาศผลรอบคัดเลือก 12 มิ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. โครงการค้นหา “สุดยอดว่าที่นักบัญชี” แห่งยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถและทดสอบความรู้การใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์1.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ด้านการบัญชี1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา1.4 มอบโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนจากสถาบันอื่น 2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 2.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี โดยต้องมีสถานภาพเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน2.2 สมาชิกทีมละ 2 คน อายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน2.3 แต่ละสถาบันสามารถมีอาจารย์ประจำภาควิชาได้ไม่เกิน 2 ท่าน 3. ขอบเขตเนื้อหาการแข่งขัน 3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีและภาษี3.2 การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์3.3 การวิเคราะห์และประยุกต์การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ตามประเภทของธุรกิจ 4. การรับสมัคร 4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ bit.ly/peak-dac-2024 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอีเมล์ยืนยันจากระบบ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มส่งผลงานได้หลังจากได้รับอีเมลยืนยันการสมัครเท่านั้น 4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันและส่งผลงานวันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2567 ภายในเวลา 23.59 น.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำส่งผลงานรอบคัดเลือกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.4.1 ทำวิดีโอบน TikTok เพื่อแนะนำ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs ไทย ภายใต้หัวข้อ “PEAK, Friend of Business”4.4.2 ความยาวไม่เกิน 2 นาที4.4.3 รูปแบบวิดีโอเป็นแนวตั้ง (9:16)4.4.4  อัปโหลดบนแอปพลิเคชัน TikTok พร้อมเปิดสาธารณะ4.4.5  Mention @peakaccount และติดแฮชแท็ก จำนวน 3 แฮชแท็ก ดังต่อไปนี้   #PEAKDAC2024 #PEAK #โปรแกรมบัญชีออนไลน์4.4.6 หลังจากวิดีโอถูกเผยแพร่บน TikTok ผู้สมัครต้องคัดลอกลิงก์ของวิดีโอ เพื่อนำ ไปกรอกในฟอร์มตามลิงก์ข้อ 4.24.4.7 แต่ละทีมสามารถส่งผลงานวิดีโอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากมีการส่งผลงานมากกว่า 1 ครั้ง ทางคณะกรรมการจะพิจารณาจากการส่งผลงานครั้งแรกเท่านั้น 4.5  คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 ทีม เพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทางอีเมลผู้เข้าแข่งขัน และเฟสบุ๊คแฟนเพจ PEAK – โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAKaccount.com วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2567 หมายเหตุ : หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 5. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 24 ทีม ต้องเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ : ไม่มีบริการที่จอดรถ ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตามสามารถจอดพาหนะได้บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ อาคารจามจุรี 9 หรือศูนย์การค้าเเอมพาร์ค หรือศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยอัตราค่าบริการที่จอดรถเป็นไปตามระเบียบของผู้ให้บริการ 6. กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขัน09.00 – 10.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน10.00 – 10.30 น. เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขัน10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15 นาที10.45 – 11.45 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 1 (ข้อสอบปรนัย)11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 – 14.30 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 2-3 (ภาคปฎิบัติและวิเคราะห์)14.30 – 15.30 น. กิจกรรมให้ความรู้จากวิทยากรพิเศษ15.30 – 15.35 น. ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์15.35 – 16.30 น. การนำเสนอผลการวิเคราะห์16.30 – 17.00 น. ประกาศผลการแข่งขัน พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงาน หมายเหตุ : ไม่มีบริการอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตาม ผู้เข้าสอบต้องนั่งประจำที่สอบ ก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 10 นาที 7. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยแต่ละรอบมีเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้ 7.1  รอบคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากผลงานคลิปวิดีโอของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 24 ทีม ได้แก่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้ 7.2  รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ผลรวม 100 คะแนน โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การตอบคำถามความรู้ด้านบัญชีและภาษี (30 คะแนน)เป็นการตอบคำถามรูปแบบปรนัยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 30 คะแนน โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี การบัญชี และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรม PEAK บันทึกบัญชี และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (50 คะแนน)เป็นการบันทึกบัญชีตามโจทย์ที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์และตอบคำถาม โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีเนื้อหาประกอบด้วย การสมัครและสร้างกิจการ การบันทึกยอดยกมา การบันทึกรายการค้าระหว่างงวดบัญชี การเรียกดูรายงานเอกสาร และงบการเงิน ส่วนที่ 3 การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (20 คะแนน)เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ให้แก่คณะกรรมการ โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำข้อสอบส่วนที่ 2 โดยใช้ระยะเวลาการนำเสนอ 3 นาที และถามตอบ 5 นาที รวมเป็น 8 นาที ต่อทีมเนื้อหาประกอบด้วย วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจ ถามตอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับแรกเท่านั้น (ระดับปวส. 3 ทีม และระดับปริญญาตรี 3 ทีม) เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 กับคณะกรรมการ เพื่อให้กรรมการได้ซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินอันดับผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด 8. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำโน้ตบุ๊กมาจำนวน 1 เครื่อง ต่อ 1 ทีม โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมปลั๊กชาร์จ ไฟสำหรับโน้ตบุ๊ก และ Wifi ให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของสถาบัน8.3 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกัน และแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ภายในเวลาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน8.4 ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องเขียน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ รวมถึงนาฬิกา Smart Watch เข้าแข่งขัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการจัดเตรียมเครื่องเขียน และกระดาษทดให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.5 ห้ามผู้เข้าแข่งขันยืมอุปกรณ์ใด ๆ จากผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นขณะแข่งขัน8.6 ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระทำการใด ๆ ที่ทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริต8.7 ผู้เข้าแข่งขันที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก หรือผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ สามารถแข่งขันด้วยจำนวนสมาชิกที่เหลือได้ หมายเหตุ : หากฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 9. รางวัลการแข่งขัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สมาชิกของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 24 ทีม จะได้รับเกียรติบัตรโดย PEAK 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด

26 เม.ย. 2024

PEAK Account

4 min

PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เสริมสร้างประสิทธิภาพ การบริหารจัดการงานบัญชี TARAD.COM

เมื่อพูดถึงชื่อของเว็บไซต์ TARAD.COM หลายๆ คนก็คงจะรู้จักคุ้นเคยกันในรูปแบบของแพลตฟอร์ม e-Commerce ที่เป็นแหล่งรวมของสินค้านานาชนิดกันเป็นอย่างดี แต่ความจริงแล้ว TARAD.COM ได้มีการขยายธุรกิจมาดูแลเรื่องระบบการชำระเงินออนไลน์ในนามของ Play Solutions ด้วย และจากการดูแลเรื่องของระบบการชำระเงินนี้เอง ทำให้ต้องมีการวางแผนบริหารจัดการเรื่องบัญชีเป็นอย่างดี  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยลดการใช้กระดาษ ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในรูปแบบดิจิทัล คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ CEO & Co Founder ของ TARAD.COM Group และ Play Solutions ได้กล่าวถึงแนวคิดในเรื่องนี้ว่า “การจัดการบัญชีของบริษัท ปัจจุบันจะเป็นการใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์ เนื่องจากบริษัทมีนโยบายงดการใช้กระดาษ เพราะฉะนั้นเอกสารทั้งหมดจะปรับเปลี่ยนมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทั้งด้านรายรับและรายจ่าย รวมถึงการส่งเอกสารให้กับทางภาครัฐก็จะเป็นดิจิทัลทั้งหมด ซึ่งการใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยตอบโจทย์เรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี” PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจรู้ผลกำไร ขาดทุน ค่าใช้จ่าย อย่างถูกต้อง ทันเวลา นอกจากนโยบายการลดปริมาณการใช้กระดาษแล้ว คุณภาวุธยังได้กล่าวถึงสิ่งสำคัญที่โปรแกรมบัญชีออนไลน์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้กับ TARAD.COM และ Play Solutions เพิ่มเติมว่า “ปัญหาของคนทำธุรกิจ SMEs โดยทั่วไป ก็คือ การไม่รู้ผลประกอบการที่แท้จริง ไม่รู้กำไร ขาดทุน จะรู้แค่เพียงเงินสดในกระเป๋า หรือเงินในบัญชีเท่านั้น โดยที่มุมมองของเจ้าของธุรกิจกับมุมมองของคนทำบัญชีเป็นคนละมุมมองกัน การมองตัวเลขกันคนละตัว ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่ควรได้รับการแก้ไข ซึ่งโปรแกรม PEAK เข้ามาแก้ปัญหาในจุดนี้ได้เป็นอย่างดี” “เมื่อบริษัทมีการใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ก็จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลเดียวกับทางบัญชีได้เลย จะเห็นได้ทันทีว่าทีมบัญชีมีการลงรายได้อย่างไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร กำไรเท่าไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ”  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์เชื่อมต่อแพลตฟอร์มออนไลน์ ขยายช่องทางธุรกิจด้วยนวัตกรรมทันสมัย

26 เม.ย. 2024

PEAK Account

4 min

PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ นวัตกรรมบัญชีที่ Techsauce ไว้วางใจ

หากจะพูดถึงแพลตฟอร์มให้ความรู้ทางธุรกิจและเทคโนโลยี Techsauce เป็นหนึ่งในองค์ที่ได้รับการ ยอมรับในการรวม Content ด้านเทคโนโลยี ในโลกธุรกิจ และนวัตกรรมองค์กรไว้อย่างครบวงจร และจากการที่ Techsauce ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ Tech Startup ก็ทำให้ Techsauce มีความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีงานบัญชีด้วยเช่นกัน  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ บริหารจัดการงานบัญชีอย่างเป็นระบบ ตอบโจทย์การทำงานทุกที่ทุกเวลา คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ว่ามีเหตุผลหลักมาจากต้องการซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยบริหารจัดการงานบัญชีอย่างเป็นระบบ สามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา  “เนื่องจาก Techsauce เป็นกิจการที่มีผลงานทั้งรูปแบบของออนไลน์ และกิจกรรมอีเวนท์ต่างๆ ค่อนข้างมาก เราต้องการใช้ซอฟต์แวร์ระบบออนไลน์เข้ามาช่วยระบบบัญชี ให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว” จากช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา Techsauce ก็ประสบสภาวะเดียวกับบริษัททั่วไป ที่พนักงานบัญชีไม่สามารถเข้ามาเจอหน้ากันได้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เป็นสิ่งที่เข้ามาตอบโจทย์สถานการณ์ที่เกิดขึ้น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รองรับการทำรายงานทางการเงินหลากหลายมิติ ช่วยพัฒนาการทำงานบัญชีอย่างมืออาชีพ คุณอรนุชกล่าวถึงการใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ว่า Techsauce มีการใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนปลายน้ำของงานบัญชี ตั้งแต่ออกใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ และเรื่องของการปิดงบการเงิน  “สิ่งที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจเลือกใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์  ก็คือ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้าใจความต้องการของผู้ประกอบการเป็นอย่างดี ก่อนหน้านี้เรามีปัญหาคือไม่สามารถปิดงบการเงินได้ทันตามรอบ ทำให้ต้องมองหาแพลตฟอร์มที่ช่วยรองรับในการทำรายงานทางการเงินหลากหลายมิติ การมี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เข้ามาช่วย ทำให้ระบบบัญชีของเราดีมากขึ้น” 

17 พ.ค. 2024

PEAK Account

9 min

ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ ที่มีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน

ประเด็นสำคัญ : ใบเสร็จรับเงินคืออะไร? ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่มีการออกโดยผู้รับเงินหรือเจ้าของกิจการทุกครั้ง เมื่อมีการซื้อขายสินค้าหรือบริการเกินราคา 100 บาทเกิดขึ้นไป เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าได้รับการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในใบเสร็จรับเงินนั้นจะต้องระบุรายการสินค้าหรือบริการที่ซื้อขายกันตลอดจนราคาที่ตกลงกันให้ครบถ้วน เพราะการออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่ต้องทำทันทีที่มีการรับเงินมาไม่ว่าผู้ซื้อหรือลูกค้าจะร้องขอหรือไม่ก็ตาม ใบเสร็จรับเงินแตกต่างจากบิลเงินสดอย่างไร? หลายคนมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินว่าเอกสารทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งข้อสังเกตง่ายๆ นั้นมีอยู่ดังนี้ ใบเสร็จรับเงินมีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินที่ใช้กันโดยทั่วไปนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้ 1. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป เป็นเอกสารที่มักออกเมื่อมีรายการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีราคาสูง มีบริการดูแลหลังการขาย ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถขอใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้โดยนำชื่อและที่อยู่ให้กับทางร้านค้าหรือบริษัทที่มีการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการนั้น เพื่อให้ร้านค้านั้นออกใบเสร็จรับเงินด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง 2. ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีแบบย่อ เป็นใบเสร็จที่ได้รับโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า หรือการซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่มีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ใบเสร็จรูปแบบนี้จะมีการแสดงรายการสินค้าและบริการคล้ายใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี แต่จะไม่มีการระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าและบริการ ใบเสร็จรับเงินต้องประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง? ใบเสร็จรับเงินประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญดังต่อไปนี้ หากเป็นใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ควรมีคำว่า “ใบกำกับภาษี” เด่นชัด และมีชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าและบริการระบุอยู่ในใบเสร็จรับเงินด้วย ตัวอย่างใบเสร็จรับเงินรูปแบบต่างๆ 1. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีบุคคลธรรมดาใช้บิลเงินสด/ใบเสร็จรับเงิน 2. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีนิติบุคคล ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี 3. ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน กรณีไม่ถูกต้อง ใช้เป็นหลักฐานการจ่ายเงินไม่ได้ หากไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ลูกค้า มีบทลงโทษอย่างไร? ในกรณีผู้ขาย หรือเจ้าของกิจการ ไม่ยอมออกใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงินให้กับลูกค้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 127 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การสร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบเสร็จรับเงินและตัวอย่างใบเสร็จรับเงินที่สร้างจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสร็จรับเงิน สรุป ใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ต้องจัดทำอย่างถูกต้อง เนื่องจากใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่ใช้ในการยืนยันการชำระเงินของเจ้าของธุรกิจ ควรทำการตรวจสอบข้อมูลในใบเสร็จรับเงินและเก็บใบเสร็จรับเงินไว้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

15 พ.ค. 2024

PEAK Account

13 min

ทําบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าได้ง่ายๆ สำหรับพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่

ประเด็นสำคัญ : บัญชีรายรับรายจ่ายคืออะไร? บัญชีรายรับรายจ่าย คือ กระบวนการบันทึกข้อมูลรายรับและรายจ่ายสำหรับกิจการที่มีการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ เหตุผลที่ร้านค้าควรทำบัญชีรายรับรายจ่าย การเปิดร้านค้าเป็นของตนเองไม่ว่าจะร้านค้าที่มีหน้าร้านหรือการเปิดร้านค้าออนไลน์ การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เห็นผลประกอบการระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง เมื่อทางร้านค้าเห็นตัวเลขบัญชีที่เกิดขึ้นจะทำให้วางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้ว่าค่าใช้จ่ายใดควรลดลงเพื่อประหยัดต้นทุน สร้างผลกำไรสูงขึ้น หรือควรไปลงทุนกับสินค้าใดจึงจะได้กำไรเพิ่มขึ้น เป็นต้น การทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้ามีประโยชน์อย่างไร? เมื่อร้านค้ามีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างถูกต้อง จะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประการ ดังนี้ ควรเริ่มต้นทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องมีในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้า ก็คือ “แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย” ซึ่งเป็นแบบฟอร์มตามรูปแบบที่กรมสรรพากรกำหนด ซึ่งการจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรนั้นประกอบไปด้วย “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ รายละเอียดในแบบฟอร์มรายงานเงินสดรายรับ-รายจ่าย แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย ประกอบไปด้วยรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้  ตัวอย่างการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ทำบัญชีรายรับรายจ่ายร้านค้าแพลตฟอร์มต่างๆ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง e-Commerce e-Commerce คือ การขายสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการขายผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งการใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่ดีจะช่วยสร้างความสะดวกให้ผู้ประกอบการธุรกิจ e-Commerce หลายๆ ประการ เช่น “ข้อมูลเยอะมาก นักบัญชีทำไม่ทัน ลองเชื่อมระบบดู” การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Marketplace Marketplace ก็คือ แพลตฟอร์มที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าจำนวนมาก ที่ผู้ซื้อและผู้ขายจะได้มาเจอกัน ตัวอย่าง Marketplace ยอดนิยมที่เรารู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ก็คือ Shopee Lazada  โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้คนขายของออนไลน์ออกใบเสร็จรับเงินได้ง่ายๆ จัดการงานบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายสำหรับการขายผ่านช่องทาง Social Commerce Social Commerce เป็นการซื้อขายสินค้า-บริการผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Instagram และ LINE Shopping เป็นต้น การขายในลักษณะนี้ลูกค้าจะได้ปฏิสัมพันธ์กับทางร้านค้าโดยตรง ทำให้ธุรกิจสามารถทราบความต้องการ และเก็บข้อมูลลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์มีการเชื่อมต่อหลากหลายโปรแกรมพันธมิตร เพื่อจัดการงานขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการรายการสั่งซื้อ การบันทึกบัญชี หรือการจัดการสต็อกสินค้า เป็นต้น  ต้องการนักบัญชีช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร? สำหรับร้านค้าที่ต้องการนักบัญชีเข้ามาช่วยทำรายรับรายจ่ายส่งกรมสรรพากร PEAK ให้บริการรับทำบัญชีที่แตกต่าง เน้นการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อให้ธุรกิจมีบัญชีที่เป็นระบบ สามารถใช้ข้อมูลงบการเงินเพื่อการตัดสินใจได้ และประสบความสำเร็จในระยะยาว เราดูแลงานจดทะเบียนบริษัท งานจัดการภาษี และการทำบัญชีที่ถูกต้อง เพื่อเป็นรากฐาน สำหรับการเติบโตของธุรกิจคุณ พร้อมทั้งช่วยให้คุณเข้าถึงสินเชื่อและแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ให้คุณได้โฟกัสกับธุรกิจของคุณ แล้วให้เราดูแลเรื่องบัญชี“ สรุป การทำบัญชีรายรับรายจ่ายมีความสำคัญกับธุรกิจร้านค้า ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ช่วยให้ได้เห็นสถานะทางการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจในระยะยาว หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจึงเป็นสิ่งที่ร้านค้าไม่ควรละเลย ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

14 พ.ค. 2024

PEAK Account

5 min

โปรแกรมบัญชีออนไลน์ อันดับ 1 ในใจผู้ประกอบการ เสริมสร้างการทำงานอย่างเป็นระบบ สนับสนุนทุกการเติบโตของ Beneat

เพราะ Beneat เป็นแพลตฟอร์มเรียกใช้บริการแม่บ้านออนไลน์แบบครบวงจรที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ จัดการเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการททำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเรื่องของการงานบัญชีที่ถือเป็นหัวใจของธุรกิจ Beneat เลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่ตอบโจทย์การทำง่านอย่าง PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ คำตอบที่ใช่ของธุรกิจที่ต้องการจัดการงานบัญชีที่เป็นระบบ อานนท์ น้อยอ่ำ Chief Executive Officer, Beneat ได้กล่าสถึงจุดเริ่มต้นของการใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ว่า “ Beneat  เป็นแพลตฟอร์มเรียกใช้บริการแม่บ้านออนไลน์ ก่อตั้งมาประมาณ 7 โดยเริ่มต้นจากการให้บริการแม่บ้าน แล้วก็ต่อยอดมาเป็นบริการด้านการทำความสะอาดแบบครบวงจร  โดยจุดเริ่มต้นของเรา เริ่มจากกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการทำความสะอาดประเภทที่พักระยะสั้นก่อน ก็คือพวก Airbnb เนื่องจากกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้จะคุ้นเคยกับเทคโนโลยี หลังจากนั้นเราก็เริ่มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และขยายไปยังลูกค้ากลุ่มต่างๆ มากขึ้น  ตอนที่เราเป็น Start-up ใหม่ๆ ตอนแรกเราจะบันทึกบัญชีผ่าน Spreadsheet ธรรมดา หลังจากนั้นพอเราเริ่มมีเอกสารมากขึ้น การจัดการต่างๆ เพิ่มขึ้น เราก็เลยเริ่มมองหาสิ่งที่เป็นระบบมากขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเลือก PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์” PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ตอบโจทย์งานบัญชีแบบครบวงจร สร้างประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจแบบเหนือชั้น เมื่อเรื่มต้นใช้ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ Beneat ก็พบว่าเป็นสิ่งตอบโจทย์สำหรับการทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาโดยที่ไม่ต้องกังวลกับข้อมูลอีกต่อไป คุณอานนท์กล่าวว่า “การใช้ออนไลน์สะดวกมาก เราทำงานที่ไหนก็ได้ และพอองค์กรเริ่มโตขึ้น ก็สามารถส่งต่อข้อมูลกันได้รวดเร็ว PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานที่ครบวงจร รองรับการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ และถ้าองค์กรเราใหญ่ขึ้น เราสามารถขยายฟีเจอร์ที่เราต้องการได้  ถ้าเกิดไม่มี PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ธุรกิจเราคงไม่สามารถสเกลแบบนี้ได้ เพราะทุกคนคงต้องนั่งทำงานที่ออฟฟิศ แล้วก็ต้องทำงานกับเอกสารมากมาย การตัดสินใจก็ช้า การหาข้อมูลก็ช้า ผมคิดว่าเราไม่สามารถทำแบบรั้นได้อีกแล้วในยุคของการแข่งขันปัจจุบัน” PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สร้างความเชื่อมั่น พร้อมดูแลทุกการใช้งานอย่างมืออาชีพ สิ่งที่ Beneat ประทับใจในการใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การดูแลผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง “ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีการดูแลผู้ใช้งานที่ดี  คือ บางทีเราไม่เข้าใจการใช้งานในบางฟีเจอร์ PEAK ก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการอย่างรวดเร็ว ตรงนี้เป็นสิ่งที่เราประทับใจ และเชื่อมั่นว่าในการใช้ PEAK เมื่อเกิดปัญหาจะมีคน Support ตลอดเวลา”

13 พ.ค. 2024

PEAK Account

7 min

ตัวอย่างแบบฟอร์มใบเสนอราคา และรายละเอียดที่ต้องมีในเอกสาร

ประเด็นสำคัญ ทำความรู้จัก “ใบเสนอราคา” ใบเสนอราคาเป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้กับลูกค้าหรือผู้ที่สนใจสินค้าหรือบริการนั้นๆ เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลที่ควรมีในใบเสนอราคาจะประกอบไปด้วยรายการสินค้าและบริการที่ชัดเจน มีรายละเอียดเงื่อนไข ค่าใช้จ่าย ครบถ้วน เพื่อให้ผู้สนใจนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ อีกทั้งยังช่วยส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย ความสำคัญของใบเสนอราคา ใบเสนอราคามีความสำคัญต่อใบเสนอราคาทั้งในแง่ของการตัดสินใจซื้อของลูกค้า และความน่าเชื่อถือของบริษัท ดังนี้ รูปแบบการทำฟอร์มใบเสนอราคา การจัดทำใบเสนอราคาโดยทั่วไปนั้นสามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาแบบ Manual 2. การจัดทำแบบฟอร์มใบเสนอราคาผ่านระบบบัญชี รายละเอียดที่ต้องมีในฟอร์มใบเสนอราคา ใบเสนอราคาประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่  ส่วน Header ประกอบด้วย ส่วน Description ประกอบด้วย ส่วน Footer ประกอบด้วย  ตัวอย่างเอกสารแบบฟอร์มใบเสนอราคา ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาไทย ฟอร์มใบเสนอราคาภาษาอังกฤษ การสร้างใบเสนอราคา ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถสร้างใบเสนอราคาได้ง่ายๆ ในไม่กี่นาที ครบถ้วน ถูกต้องในทุกรายละเอียด พบกับขั้นตอนสร้างใบเสนอราคาจากโปรแกรม PEAK ได้ที่ การสร้างใบเสนอราคา สรุป ใบเสนอราคาเป็นเอกสารสำคัญทางธุรกิจที่ออกให้กับลูกค้าเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งข้อมูลในใบเสนอราคาควรมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างครบถ้วน ถูกต้อง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย  PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

10 พ.ค. 2024

PEAK Account

11 min

ความสำคัญของใบแจ้งหนี้คืออะไร? ต่างจากใบวางบิลอย่างไร?

ประเด็นสำคัญ ก่อนอื่นต้องขอแนะนำใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ก่อน… ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ เอกสารที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ รวมไปถึงบริษัทต่างๆ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดของสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายและกำหนดวันที่ลูกค้าต้องจ่ายชำระกับทางบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจ ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้นี้ส่วนใหญ่มักจะใช้กับบริษัทที่มีขนาดใหญ่ หรือธุรกิจที่มีการใช้เครดิตในการชำระเงิน รวมไปถึงพ่อค้า – แม่ค้าที่มีธุรกิจขายส่งสินค้าจำนวนมาก เพื่อให้ร้านค้ามีความน่าเชื่อถือ ใบแจ้งหนี้คืออะไร? ใบแจ้งหนี้ (Invoice) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือบริการเรียบร้อยแล้ว บริษัทหรือผู้ประกอบการจะออกใบแจ้งหนี้ทุกครั้ง เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่ามีสินค้าที่ซื้อไปทั้งหมดเท่าไหร่? ต้องชำระเงินเท่าไหร่? และกำหนดชำระเงินเมื่อไหร่? พูดง่ายๆ ใบแจ้งหนี้ก็เปรียบเสมือนใบสรุปรายการ เมื่อมีการซื้อ – ขายเกิดขึ้น ใบแจ้งหนี้จะบอกรายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ผู้ขาย และลูกค้าเข้าใจตรงกัน โดยไม่เกิดความเข้าใจผิด ใบวางบิลคืออะไร? ใบวางบิล (Billing Note) คือ เอกสารสำคัญทางด้านบัญชีและภาษีที่จัดทำขึ้นเมื่อมีใบแจ้งหนี้ แจ้งค่าใช้จ่าย และระยะเวลากำหนดวันที่เรียกเก็บเงินแล้ว ใบวางบิลจะถูกออกเมื่อถึงกำหนดชำระเงินตามที่ใบแจ้งหนี้ได้บอกไว้ โดยจะรวมยอดคงเหลือที่ต้องชำระทั้งหมด และสรุปค่าใช้จ่ายรายการสินค้าต่างๆ ดังนั้นหลายบริษัทมักใช้ใบวางบิลและใบแจ้งหนี้เป็นใบเดียวกัน เพื่อความชัดเจน และความสะดวกในการใช้งาน ใบแจ้งหนี้และใบวางบิลต่างกันอย่างไร? “ใบแจ้งหนี้” และ “ใบวางบิล” เป็นเอกสารที่ระบุยอดชำระให้แก่คู่ค้าเช่นเดียวกัน แต่ “ใบแจ้งหนี้” เป็นเอกสารที่เราแจ้งให้คู่ค้าทราบหลังจบงาน โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายว่ามีค่าสินค้า ค่าบริการอะไรบ้าง เป็นจำนวนเท่าไหร่ และคู่ค้าควรชำระเมื่อใด ส่วน “ใบวางบิล” จะออกมาเมื่อถึงเวลาชำระเงิน โดยจะรวมยอดคงค้างทั้งหมด และสรุปว่ามีรายการค่าใช้จ่ายใดบ้าง และเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งบางทีบริษัทคู่ค้าจะแจ้งมาว่าต้องการให้ออกใบวางบิลโดยรวมค่าใช้จ่ายใดบ้าง ทั้งนี้ขึ้นกับการตกลงของเราและคู่ค้าด้วย  ข้อควรระวังเกี่ยวกับใบแจ้งหนี้และใบวางบิล สิ่งที่สำคัญมากๆ ของการออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ คือ ความชัดเจน และความถูกต้อง สิ่งที่มักจะผิดพลาดในการออกเอกสารนี้คือ การกรอกรายละเอียดต่างๆ ไม่ครบถ้วน ไม่ตรงตามใบเสนอราคา จนต้องนำกลับไปแก้ไขใหม่ รวมไปถึงเรื่องของการลืมส่งเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับเงินล่าช้ากว่ากำหนด จะทำให้มีปัญหาในการชำระเงิน และอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่หลายบริษัทมักจะพบเจอกันบ่อยๆ คือ วันรับวางบิลของลูกค้า ใบวางบิลต้องไปถึงมือลูกค้าในช่วงเวลาที่บริษัทของลูกค้ามีกำหนดการวางบิล หากล่าช้า หรือติดวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ อาจจะทำให้บริษัทไม่ได้รับเงินจากลูกค้าในเดือนนั้นๆ ทำให้ต้องรออีก 1 เดือน หรือจนกว่าจะถึงรอบวางบิลใหม่  และแน่นอนมันต้องมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นตามมา เช่น กำหนดวางบิลของลูกค้าคือวันที่ 1 – 5 ของทุกเดือน แต่เอกสารวางบิลของเราใส่รายละเอียดผิด ต้องนำไปแก้ไขแล้วส่งถึงมือลูกค้าในวันที่ 6 ก็จำเป็นที่จะต้องรอลูกค้าทำเรื่องชำระอีกทีในช่วงวันที่ 1 – 5 ของเดือนต่อไป แล้วค่าสินค้า ค่าพนักงาน ค่าภาษี ค่าบริการที่ลูกค้าได้รับหรือใช้ไปแล้วล่ะ ใครจะเป็นคนจ่ายก่อน? แน่นอนว่าคำตอบก็คือเรา ถ้าวางบิลไม่ทันค่าใช้จ่ายต่างๆ เราต้องเป็นคนจัดการรับผิดชอบออกไปก่อนทั้งหมด และนั้นอาจจะทำให้บริษัทของเราเกิดปัญหสทางการเงินได้ ดังนั้นเรื่องระยะเวลา และความถูกต้องในใบวางบิลเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   เช็กให้ชัวร์ก่อนออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ ข้อมูลต้องชัวร์! ข้อมูลผู้ออกใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ ข้อมูลผู้รับใบวางบิลและใบแจ้งหนี้ 5 สิ่งที่ต้องจัดเตรียมในขั้นตอนของการออกใบวางบิล และใบแจ้งหนี้ทั้งหมด การสร้างใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกใบเสร็จรับเงินได้อย่างมืออาชีพในไม่กี่ขั้นตอน พบกับขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้/ใบวางบิล ด้วยโปรแกรม PEAK ได้ที่การสร้างใบแจ้งหนี้  และการสร้างใบวางบิล “ออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ง่ายๆ ด้วยระบบ PEAK“ สรุป ใบแจ้งหนี้และใบวางบิล เอกสารสำคัญที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ จัดทำขึ้นเพื่อแจ้งยอดราคาของสินค้า หรือบริการ ให้ลูกค้าทราบถึงจำนวนเงินและวันครบกำหนดที่ต้องจ่าย ดังนั้นในการจัดทำใบแจ้งหนี้และใบวางบิล จึงควรตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า เพื่อความน่าเชื่อถือของธุรกิจอีกด้วย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาท คลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย) PEAK Call Center : 1485 LINE : @peakaccount สอบถามเพิ่มเติม

8 พ.ค. 2024

PEAK Account

1 min

Update Function 08/05/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. To automatically add the display of contact names in the signature block on the document 📢 For every business that issues documents through the program, when issuing documents to customers, the signature block on the document will automatically display the customer’s name. This allows users who send documents to customers/partners to not have to manually write the contact person’s name and helps users work more conveniently. Thank you for the suggestion, by SEALONG (THAILAND) CO., LTD. ✨ 2. Add an option to search for documents or display information by month range 📢 For users searching for documents, they can select a document’s month range or data display. Additionally, they can choose a non-consecutive month range, in cases where a business’s accounting period does not align with the calendar year. This helps users search for documents more efficiently. ✨ 3. Add the display of search results on the print report page 📢 For advanced document search users, when searching for documents and wanting to print a document report, the system will display the search criteria details. This allows users to review the information before printing the report ✨ 4. Add support for 123Service financial channels 📢 For every business, the system now adds support for 123Service financial channels, allowing for a much wider variety of financial transaction options.