คลังความรู้บัญชี ภาษี และโปรแกรมบัญชีออนไลน์

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บทความน่ารู้ด้านบัญชี ภาษี การเงิน และธุรกิจที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

ล่าสุด

9 May 2024

จักรพงษ์

10 min

ยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เสียภาษีอย่างไร?

คอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? … เมื่อรายได้ทั้งปีเกิน 6 หมื่นบาทต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี(ภ.ง.ด.94) และประจำปี(ภ.ง.ด.90) โดยไม่สนใจว่าจะมีภาษีที่ต้องจ่ายหรือไม่ ทั้งนี้ถ้ารายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรด้วย การแข่งขันอย่างดุเดือดบนโลกออนไลน์ทำให้เกิดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ๆเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอีกหนึ่งอาชีพที่เติบโตไปพร้อมกับกระแสเหล่านี้นี้ คือ คอนเทนต์ครีเอเตอร์(Content Creator) ไม่ว่าจะเป็น ยูทูปเบอร์ (Youtuber) ติ๊กต๊อกเกอร์ (TikToker) หรืออินฟลูเอนเซอร์(Influencer) ที่จะสร้างเนื้อหาที่มีสาระตลกขบขันเพื่อให้เกิดการกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม ยิ่งมีคนชื่นชอบมากเท่าไหร่ รายได้ก็จะเยอะขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า หรือส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาก็ตาม ทำให้อาชีพกลุ่มนี้เป็นที่จับตามองของกรมสรรพากรว่าเสียภาษีกันบ้างหรือเปล่า แล้วภาษีที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้มีอะไรบ้าง เรามีดูกันครับ รายได้ของยูทูปเบอร์ ติ๊กต๊อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์  มีอะไรบ้าง? เพราะเป็นอาชีพที่พึ่งได้รับความนิยมมาไม่นาน ในด้านภาษีจึงยังไม่มีข้อกำหนดภาษีสำหรับอาชีพเหล่านี้โดยเฉพาะ การคำนวณภาษีในปัจจุบันจึงต้องนำประเภทรายได้มาพิจารณาดูว่าแต่ละรายได้เป็นประเภทไหน ซึ่งรายได้แต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่นำมาหักได้ไม่เท่ากันครับ โดยรายได้หลักๆ จะมาจากค่ารีวิวสินค้า ส่วนแบ่งค่าโฆษณา สรุปเป็นตารางได้ดังนี้ครับ เมื่อแยกได้ว่ามีรายได้ประเภทอะไรบ้าง เราก็จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(Personal Income Tax: PIT) ต่อได้ ในขณะเดียวกันถ้ารายได้รวมเกิน 1.8 ล้านต่อปีก็จะมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax: VAT) อีก 7% จากรายได้เพิ่มเติม ทีนี้เรามาทำความเข้าใจในแต่ละภาษีกันครับ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเราทราบประเภทของรายได้ว่าเรามีประเภทไหนบ้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ตามตารางด้านบนแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการคำนวณ ดังนี้ครับ ขั้นตอนที่ 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิขั้นตอนที่ 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท แต่เนื่องจากการรีวิวสินค้าเป็นรายได้ประเภทที่ 2 ทำให้จะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้เพียง 1 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 1 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 8.4 แสนStep2 : เงินได้สุทธิ 8.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 83,000 บาทถ้าอยากทราบวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบละเอียดขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? PEAK ขอเล่า : กำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าปีใดเรามีรายได้ทั้งปีถึง 6 หมื่นบาท(กรณีสถานะสมรส ต้องรายได้ถึง 1.2 แสนบาท) ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งดังนี้ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) นอกจากภาษีเงินได้ เราต้องตรวจสอบอีกว่ารายได้รวมกันทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ เพราะถ้าปีใดเกินจะมีหน้าที่เพิ่มเติมคือ ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยต้องยื่นเสียภาษีเป็นรายเดือนตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แล้วเมื่อเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) หน้าที่ที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องทำเพิ่มเติมคือเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้จ้างเพิ่มเติม เช่น เดิมเราคิดค่ารีวิวสินค้าครั้ง 1,000 บาท แต่เมื่อเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)แล้ว เราต้องเรียเก็บค่ารีวิวสินค้าเป็น 1,070 บาท โดยเรายังได้รับรายได้เท่าเดิมคือ 1,000 บาท แต่อีก 70 บาท(1,000*7%) เราต้องนำเงินส่งกรมสรรพากร  ในเชิงธุรกิจข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินแพงขึ้นอีก 7% ถ้าเราไม่ได้โดดเด่นพอ ผู้ว่าจ้างอาจไปใช้บริการคนที่รีวิวสินค้าได้เหมือนเราแต่ค่าตัวถูกกว่า แต่ในส่วนของข้อดีก็มีเช่นกัน คือ เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราจ่ายไปขอคืนได้ หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยได้ว่าก็เสียภาษีเงินได้ไปแล้ว ทำไมยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก? เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้เก็บจากรายได้ที่เราได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ สรุปภาษียูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? เมื่อเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์มีรายได้จากการค่ารีวิวสินค้า ค่าโชว์ตัว ส่วนแบ่งโฆษณาต้องยื่นแบบภาษีครึ่งและสิ้นปี(ภ.ง.ด.90/94) พร้อมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้ารายได้รวมทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรอีกด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

8 May 2024

PEAK Account

1 min

Update Function 08/05/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. To automatically add the display of contact names in the signature block on the document 📢 For every business that issues documents through the program, when issuing documents to customers, the signature block on the document will automatically display the customer’s name. This allows users who send documents to customers/partners to not have to manually write the contact person’s name and helps users work more conveniently. Thank you for the suggestion, by SEALONG (THAILAND) CO., LTD. ✨ 2. Add an option to search for documents or display information by month range 📢 For users searching for documents, they can select a document’s month range or data display. Additionally, they can choose a non-consecutive month range, in cases where a business’s accounting period does not align with the calendar year. This helps users search for documents more efficiently. ✨ 3. Add the display of search results on the print report page 📢 For advanced document search users, when searching for documents and wanting to print a document report, the system will display the search criteria details. This allows users to review the information before printing the report ✨ 4. Add support for 123Service financial channels 📢 For every business, the system now adds support for 123Service financial channels, allowing for a much wider variety of financial transaction options.

8 May 2024

PEAK Account

3 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 08/05/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. เพิ่มการแสดงชื่อผู้ติดต่อที่ช่องลายเซ็นต์บนหน้าเอกสารให้อัตโนมัติ 📢 สำหรับทุกกิจการที่ออกเอกสารในโปรแกรม เมื่อออกเอกสารให้กับลูกค้า ช่องลายเซ็นต์หน้าเอกสารระบบจะแสดงชื่อผู้คู่ค้าให้อัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ส่งเอกสารให้กับลูกค้า/คู่ค้าไม่ต้องเขียนชื่อผู้ติดต่อเองและช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยบริษัท ซีลอง (ประเทศไทย) จำกัด ✨ 2. เพิ่มตัวเลือกปุ่มค้นหาเอกสารหรือการแสดงข้อมูลตามช่วงเดือน 📢 สำหรับผู้ใช้งานที่ค้นหาเอกสาร สามารถเลือกระบุช่วงเดือนของเอกสารหรือการแสดงข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถเลือกช่วงเดือนแบบข้ามปีได้ กรณีที่กิจการมีรอบบัญชีที่ไม่ตรงปีปฏิทิน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเอกสารได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ✨ 3. เพิ่มการแสดงข้อมูลการค้นหาหน้าพิมพ์รายงาน 📢 สำหรับผู้ใช้งานที่ค้นหาเอกสารขั้นสูง เมื่อค้นหาเอกสารและต้องการพิมพ์รายงานเอกสาร ระบบจะแสดงรายละเอียดเงื่อนไขที่ได้ค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลก่อนพิมพ์รายงาน ✨ 4. เพิ่มการรองรับช่องการเงิน 123Service 📢 สำหรับทุกกิจการ ระบบเพิ่มการรองรับช่องทางการเงิน 123Service เพื่อรองรับช่องทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม

บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

อ่านบทความเพิ่มเติม

27 Mar 2024

PEAK Account

12 min

“นักบัญชี” บทบาทสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้

ประเด็นสำคัญ  ในยุคสมัยที่ธุรกิจมีความซับซ้อน การเงินกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ขับเคลื่อนความสำเร็จ เจ้าของธุรกิจหลายคนจึงมองหานักบัญชีมืออาชีพเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ  แล้วธุรกิจขนาดเล็กล่ะ? จำเป็นต้องจ้างนักบัญชีด้วยหรือ? ก็ต้องบอกว่าหากเจ้าของธุรกิจที่ต้องการข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ควรมีนักบัญชีมืออาชีพมาช่วยจัดการ แต่การจ้างนักบัญชีสักคน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติหลายประการด้วยเช่นกัน นักบัญชีกับบทบาทในกิจการ บทความนี้ PEAK ร่วมกับ OfficeMate จะพาคุณไปรู้จักกับบทบาทที่หลากหลาย ทักษะที่จำเป็น รวมถึงประเภทของนักบัญชี เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้ประกอบการที่กำลังมองหานักบัญชี นักบัญชีเปรียบเสมือนผู้ดูแลด้านการเงินของธุรกิจ หน้าที่หลักของพวกเขาไม่ได้จำกัดอยู่แค่การบันทึกรายรับรายจ่ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องสำคัญต่างๆ เหล่านี้ด้วยเช่นกัน 1. การจัดทำบัญชี นักบัญชีทำหน้าที่จัดทำงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และรายงานทางการเงินอื่นๆ เปรียบเสมือนภาพสะท้อนสถานะทางการเงินของธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจถึงสถานะทางการเงิน สามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การเสียภาษี นักบัญชีจะคำนวณภาษี เตรียมเอกสาร และยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจให้ครบถ้วน ถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยให้ธุรกิจไม่ต้องเสียค่าปรับ เงินเพิ่มจากการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องโดยไม่จำเป็นได้ 3. การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน นักบัญชีจะวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน เช่น อัตราส่วนทางการเงิน จุดคุ้มทุน กระแสเงินสด เพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่อง ช่วยให้เจ้าของธุรกิจทราบว่าธุรกิจมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ หรือหากมีความผิดปกติทางการเงินเกิดขึ้น นักบัญชีจะได้นำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหาร เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที  4. การให้คำปรึกษาทางการเงิน นักบัญชีสามารถให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษี การจัดการเงินทุน การลงทุน และอื่นๆ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจบริหารจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักบัญชีมืออาชีพควรมีทักษะอะไรบ้าง นอกเหนือจากความรู้ด้านบัญชีซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญแล้ว นักบัญชีจำเป็นจะต้องมีทักษะบางประการที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการทำงานร่วมกับ ทีมอื่นๆ ในบริษัทได้เป็นอย่างดี ได้แก่ 1. การใช้โปรแกรมบัญชี นักบัญชีควรมีความเชี่ยวชาญในการใช้งานโปรแกรมบัญชีที่รองรับระบบบัญชีของบริษัท ซึ่งจะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และลดความผิดพลาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ 2. การสื่อสาร หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของนักบัญชี ก็คือ การอธิบายข้อมูลทางการเงินให้เจ้าของธุรกิจเข้าใจได้อย่างชัดเจน เช่น การนำเสนอผลประกอบการ อธิบายสาเหตุของกำไรหรือขาดทุน ดังนั้น นักบัญชีจึงควรมีทักษะในการสื่อสารที่ดี เพื่อถ่ายทอดข้อมูลดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. กฎหมาย นักบัญชีควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายธุรกิจ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง 4. การคิดวิเคราะห์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน หาสาเหตุของปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข เช่น การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ปัญหาที่เกิดขึ้น ตลอดจนแนวทางแก้ไขที่ควรปฏิบัติ เป็นต้น  นักบัญชีกับประเภทงานบัญชีของกิจการ การจัดการงานบัญชีนั้นจะเกี่ยวข้องกับงานหลายส่วน จึงสามารถแบ่งงานบัญชีออกเป็นประเภทต่างๆ ซึ่งมีความรับผิดชอบการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1. การบัญชีการเงิน เป็นงานบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและนำเสนอรายงานทางการเงิน ตลอดจนงบการเงินของกิจการที่จัดทำขึ้นภายใต้มาตรฐานบัญชี เพื่อนำข้อมูลต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและนอกองค์กร 2. การบัญชีบริหาร เป็นการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินขององค์กรต่อฝ่ายบริหารเพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 3. การบัญชีต้นทุน เป็นวิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลต้นทุนของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุนของกิจการ เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิต ต้นทุนขาย ตลอดจนตีราคาสินค้าคงเหลือ เพื่อนำไปสู่การวางแผนบริหารจัดการต้นทุนต่อไป 4. การตรวจสอบบัญชี เป็นกระบวนการตรวจสอบรายการทางบัญชี ตลอดจนหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชีของบุคคลหรือองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นว่ารายการต่างๆ ได้มีการถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้อง เหมาะสม  เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี และข้อบังคับของกฎหมาย โดยปกติการตรวจสอบบัญชีจะทำโดยผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditor) เพื่อขจัดปัญหาความลำเอียงในการปฏิบัติงานตรวจสอบ 5. การบัญชีภาษี เป็นกระบวนการจัดทำบัญชีของกิจการ โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนข้อมูลทางบัญชีบางรายการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร เพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้ รวมทั้งการจัดทำรายการที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดของกฎหมายภาษีอากร  6. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนา ติดตั้ง ใช้งาน และตรวจสอบขั้นตอนการบัญชี ตลอดจนระบบที่ใช้ในกระบวนการบัญชี รวมถึงทิศทางบุคลากรทางการบัญชี และการจัดการซอฟต์แวร์ ข้อดี vs ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี ข้อดีของการจ้างนักบัญชี ข้อจำกัดของการจ้างนักบัญชี สรุป ข้อมูลข้างต้น เป็นการวิเคราะห์เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังวางแผนจัดการด้านการเงิน หรือพัฒนาระบบบัญชีของกิจการ อย่าลืมศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ถี่ถ้วน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจ หากเป็นเรื่องอุปกรณ์จำเป็นในการจัดการบัญชี ไม่ว่าจะเป็นแฟ้มเก็บเอกสาร แบบฟอร์มหนังสือรับรองการหักภาษี บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ หรือแบบฟอร์มเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ แนะนำที่ มีสินค้าที่ช่วยให้นักบัญชีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

29 Nov 2023

จักรพงษ์

16 min

รายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท?

เราควรจดบริษัทเมื่อไหร่ ในแง่ตัวเลขจะดูได้ 2 มุม คือ 1. ด้านภาษี ต้องคำนวณเปรียบเทียบภาษีของบุคคลที่มีอัตราขั้นบันไดที่ 0-35% และภาษีบริษัทที่ 0-20% ถ้าดูที่เพดานภาษีไม่ใช่ว่าบริษัทจะมีภาษีที่ถูกกว่าเพราะวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกัน 2. ด้านบัญชี การเป็นบริษัทจะมีต้นทุนจัดการธุรกิจที่เพิ่มมาก เช่น ค่าทำบัญชี ค่าสอบบัญชี และค่าจัดตั้งบริษัท ในเชิงตัวเลขเราต้องมาพิจารณาว่าถ้าเป็นบริษัทแล้ว ภาษีที่ประหยัดได้จะคุ้มค่ากับต้นทุนในการจัดการธุรกิจที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ เมื่อทำธุรกิจมาระยะหนึ่ง คำถามที่จะปึ๊งขึ้นมาในหัวของผู้ประกอบการหลายคน คือ เมื่อไหร่ที่เราต้องจดบริษัท? รายได้หรือกำไรเท่านี้ถือว่าเยอะพอที่จะจดบริษัทแล้วหรือยัง? ผมเคยได้ทำบทความเรื่อง ทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลแบบไหนดีที่สุด? แนะนำให้อ่านก่อนจะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นครับ แต่ถ้าอยากมองแบบง่ายๆ บทความนี้ผมจะพาทุกคนมาดูในมุมของตัวเลขกันครับว่าตัวเลขเท่าไหร่ที่ควรจดบริษัทดีครับ สิ่งที่ต้องพิจารณาก่อนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท หลักคิดที่เราจะนำมาพิจารณาจะเน้นในเรื่องของตัวเลขทางการเงินทั้งด้านบัญชีและภาษีที่จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบการ โดยผมได้แบ่งออกมาเป็น 6 หัวข้อย่อย ดังนี้ครับ 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง 6. ค่าใช้จ่ายแฝง 1. อัตราภาษีที่เสียในปัจจุบัน เบื้องต้นต้องดูว่าในนามบุคคลธรรมดาคุณเสียภาษีสูงสุดที่อัตราเท่าใดในช่วง 5%-35% จากนั้นเอามาเทียบกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุดที่ 20% ถ้าอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่า 20% ก็เป็นอาจสัญญาณแรกแล้วว่าคุณต้องเริ่มจดทะเบียนบริษัท แต่ยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้าย เรามาดูข้อต่อไปกันครับ 2. การเป็นนิติบุคคลแบบ SMEs กรมสรรพากรมีการกำหนดลักษณะเฉพาะของ SMEs ขึ้นมาเพื่อบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่นิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจให้เกิดการลงทุน โดยเงื่อนไขการเป็น SMEs มี 2 ข้อ คือ กำไรสุทธิทางภาษี อัตราภาษี 0 -300,000 บาท ยกเว้นภาษี 300,0001 – 3,000,000 บาท 15% มากกว่า 3,000,000 ขึ้นไป 20% 3. จำนวนภาษีที่คำนวณได้ การที่มีอัตราภาษีบุคคลธรรมดาสูงกว่านิติบุคคลอาจไม่ได้สรุปว่าควรต้องจดเป็นบริษัทเพราะอัตราภาษีที่ต่างกันมาจากวิธีคำนวณภาษีที่แตกต่างกันนั่นเองครับ เราลองมาดูวิธีคำนวณภาษีทั้งสองประเภทกันครับ 1. การคำนวณภาษีของบุคคลธรรมดา Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ Step 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 2. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล Step 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย* = กำไรทางบัญชี Step 2 : กำไรทางบัญชี บวก/หัก รายการปรับปรุงทางภาษี = กำไรทางภาษี Step 3 : กำไรทางภาษี คูณ อัตราภาษีนิติบุคคลสูงสุด 20% = ภาษีที่ต้องจ่าย สรุปแล้วเราไม่ได้ดูแค่อัตราภาษี แต่ให้ดูที่จำนวนเงินที่เสียภาษีเพื่อเปรียบกัน แม้อัตราภาษีจะสูงกว่าแต่อาจพบว่าจำนวนภาษีที่เสียน้อยกว่าก็ได้ครับ เพราะขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น อัตราการหักค่าใช้จ่ายของเราได้มากแค่ไหน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้เยอะไหม หรือว่าเรามีรายการปรับปรุงภาษีที่ให้ประโยชน์ต่อเราไหม ผมขอยกตัวอย่างการคำนวณเปรียบเทียบความประหยัดทางภาษีเงินได้เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น โดยเงื่อนไขคือบุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายตามจริง และมีเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัวเท่านั้น ขณะที่นิติบุคคลมีรายได้ไม่ถึง 30 ล้าน และทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาทจึงเข้าเงื่อนไขอัตราภาษีของ SMEs และไม่มีรายการปรับปรุงทางภาษีใดๆ เกิดขึ้น ตัวอย่างที่ 1 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสน Step 2 : เงินได้สุทธิ 4.4 แสน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน = กำไรทางบัญชี 5 แสนบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 5 แสน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 5 แสนบาท  Step 3 : กำไรทางภาษี 5 แสน * อัตราภาษีSMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 30,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1 ล้านบาท บุคคลธรรมดาจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบริษัท ตัวอย่างที่ 2 นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 2 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท บุคคลธรรมดา : Step 1:  รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสน – ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 1.44 ล้านบาท Step 2 : เงินได้สุทธิ 1.44 ล้าน * อัตราภาษีขั้นบันได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 225,000 บาท นิติบุคคล (SMEs) : Step 1 : รายได้ขายสินค้า 2 ล้าน – รายจ่าย 5 แสนบาท = กำไรทางบัญชี 1.5 ล้านบาท Step 2 : กำไรทางบัญชี 1.5 ล้าน – รายการปรับปรุงทางภาษี 0 บาท = กำไรทางภาษี 1.5 ล้านบาท Step 3 : กำไรทางภาษี 1.5 ล้าน * อัตราภาษี SMEs = ภาษีที่ต้องชำระ 180,000 บาท จากตัวอย่างจะเห็นว่าที่รายได้ 1.5 ล้านบาท บริษัทจะประหยัดภาษีกว่าการเป็นบุคคลธรรมดา 4. การจัดทำและเก็บเอกสาร เอ๊ะ เราดูเรื่องตัวเลขทำไมต้องคุยเรื่องของเอกสารกันนะ! หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยขึ้นมา ผมจะบอกว่ามันสัมพันธ์กันครับ เพราะบุคคลธรรมดาที่จ่ายค่าใช้จ่ายแล้วขอเอกสารจากผู้ขายไม่ได้ หรือไม่อยากยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสาร รายได้บางประเภทสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ทำให้ไม่ต้องเก็บเอกสารเป็นหลักฐานรายจ่าย แต่ถ้าเกิดว่ารายจ่ายที่จ่ายจริงมันสูงกว่าอัตราเหมาล่ะ เช่น จ่ายจริง 1 แสน แต่หักเหมาได้เพียง 6 หมื่น? แบบนี้ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บเอกสารมากขึ้น เพราะทุกรายจ่ายต้องมีเอกสารพิสูจน์จึงจะใช้รายจ่ายแบบตามจริงได้ รวมถึงเป็นการเตรียมตัวจดบริษัทในอนาคตด้วย เพราะว่ารายจ่ายของบริษัทต้องมีเอกสารทุกอย่างครับ 5. รายได้จะถึง 1.8 ล้านบาทแล้วหรือยัง เวลาเสียภาษีเงินได้จะดูที่กำไรของธุรกิจ แต่เคยได้ยินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กันไหมครับ เป็นภาษีอีกตัวที่เราที่ต้องสนใจ เพราะมันจะพิจารณาจากยอดรายได้ไม่ใช่กำไรของธุรกิจ ถามว่าทำไมต้องให้ความสนใจมัน กล่าวๆง่ายคือ ตอนจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มทำได้ง่าย แต่ตอนจะเลิกบริษัทจะมีขั้นตอนที่ต้องรอตรวจสอบนานและอาจถูกปรับเงินเพิ่มจากการทำผิดได้ เรียกว่าเข้าง่ายออกยากนั่นเองครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือบริษัทเมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการในปีเกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งส่งผลต่อภาระทางภาษีที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมมากขึ้น เช่น ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายสินค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ต้องนำส่งแบบ ภ.พ.30 ให้กรมสรรพากรทุกเดือน เมื่อไม่ว่าบุคคลหรือบริษัทต้องก็ต้องทำ แล้วเราจะพิจารณาเรื่องนี้กันทำไมละ? มีเหตุผลอยู่ 2 ข้อ คือ 6. ค่าใช้จ่ายแฝง ที่กล่าวมาข้างต้นจะเน้นเรื่องของความประหยัดในมุมภาษีเป็นหลัก ซึ่งเมื่อบริษัทมีกำไรสูงมากจนถึงจุดหนึ่งการเป็นบริษัทจะคุ้มค่ามากกว่าในด้านภาษี แต่เราลองมองกันในอีกด้านหนึ่งคือ การจดบริษัทจะมีค่าใช้จ่ายตามมาเพิ่ม คือ ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนบริษัท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดทุกๆ ปี เช่น ค่าบริการทำบัญชีและค่าตรวจสอบบัญชี ซึ่งมูลค่ารวมๆ แล้วก็อาจสูงถึง 1 แสนบาทต่อปี ดังนั้นเราต้องเปรียบเทียบเพิ่มด้วยว่าภาษีที่เราประหยัดไปคุ้มค่ากับเงิน (กระแสเงินสด) ที่เราต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่ เช่น เมื่อจดบริษัทสามารถประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น 50,000 บาท แต่เรามีค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพิ่มขึ้นอีก 100,000 บาท แบบนี้ก็อาจไม่คุ้มค่าใช่ไหมครับ สรุปแล้วรายได้หรือกำไรเท่าไหร่ ควรจดทะเบียนเป็นบริษัท? สรุปแล้วการพิจารณาว่าจะจดบริษัทไหมในมุมของจำนวนเงินจะดูได้ 2 มุม คือ ด้านภาษี และการจัดการธุรกิจ ในส่วนของภาษีจะพิจารณาการประหยัดภาษีเงินได้เป็นหลัก ซึ่งรูปแบบไหนประหยัดกว่าคงตอบได้ยากอยู่เพราะขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ การหักค่าใช้จ่าย ในส่วนด้านต้นทุนของการบริหารจัดการธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นก็อาจเป็นอีกการตัดสินใจว่าถ้าเราจดบริษัทแล้วประหยัดภาษีได้มากขึ้น และมันคุ้มค่ากับจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายเพิ่มเป็นค่าจดบริษัท ค่าทำบัญชีรายเดือน และค่าสอบบัญชีรายปีหรือไม่ ดังนั้นผมไม่อาจฟันธงได้ว่ารายได้หรือกำไรเท่าไหร่ควรจดบริษัท แต่ผู้ประกอบต้องลองคำนวณและเปรียบเทียบเองตามขั้นตอนที่ได้ให้ตัวอย่างไว้เบื้องต้น ซึ่งจะได้คำตอบที่ดีที่สุดครับ หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณยังไม่แน่ใจหรืออยากได้ความมั่นใจเพิ่มว่าควรต้องจดเป็นบริษัทหรือนิติบุคคลแล้วหรือยัง ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

อ่านบทความเพิ่มเติม

9 May 2024

จักรพงษ์

10 min

ยูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ เสียภาษีอย่างไร?

คอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? … เมื่อรายได้ทั้งปีเกิน 6 หมื่นบาทต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ครึ่งปี(ภ.ง.ด.94) และประจำปี(ภ.ง.ด.90) โดยไม่สนใจว่าจะมีภาษีที่ต้องจ่ายหรือไม่ ทั้งนี้ถ้ารายได้ทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรด้วย การแข่งขันอย่างดุเดือดบนโลกออนไลน์ทำให้เกิดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใหม่ๆเกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอีกหนึ่งอาชีพที่เติบโตไปพร้อมกับกระแสเหล่านี้นี้ คือ คอนเทนต์ครีเอเตอร์(Content Creator) ไม่ว่าจะเป็น ยูทูปเบอร์ (Youtuber) ติ๊กต๊อกเกอร์ (TikToker) หรืออินฟลูเอนเซอร์(Influencer) ที่จะสร้างเนื้อหาที่มีสาระตลกขบขันเพื่อให้เกิดการกดไลค์ กดแชร์ และกดติดตาม ยิ่งมีคนชื่นชอบมากเท่าไหร่ รายได้ก็จะเยอะขึ้นตาม ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า หรือส่วนแบ่งจากค่าโฆษณาก็ตาม ทำให้อาชีพกลุ่มนี้เป็นที่จับตามองของกรมสรรพากรว่าเสียภาษีกันบ้างหรือเปล่า แล้วภาษีที่เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องรู้มีอะไรบ้าง เรามีดูกันครับ รายได้ของยูทูปเบอร์ ติ๊กต๊อกเกอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์  มีอะไรบ้าง? เพราะเป็นอาชีพที่พึ่งได้รับความนิยมมาไม่นาน ในด้านภาษีจึงยังไม่มีข้อกำหนดภาษีสำหรับอาชีพเหล่านี้โดยเฉพาะ การคำนวณภาษีในปัจจุบันจึงต้องนำประเภทรายได้มาพิจารณาดูว่าแต่ละรายได้เป็นประเภทไหน ซึ่งรายได้แต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายที่นำมาหักได้ไม่เท่ากันครับ โดยรายได้หลักๆ จะมาจากค่ารีวิวสินค้า ส่วนแบ่งค่าโฆษณา สรุปเป็นตารางได้ดังนี้ครับ เมื่อแยกได้ว่ามีรายได้ประเภทอะไรบ้าง เราก็จะนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(Personal Income Tax: PIT) ต่อได้ ในขณะเดียวกันถ้ารายได้รวมเกิน 1.8 ล้านต่อปีก็จะมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value Added Tax: VAT) อีก 7% จากรายได้เพิ่มเติม ทีนี้เรามาทำความเข้าใจในแต่ละภาษีกันครับ 1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อเราทราบประเภทของรายได้ว่าเรามีประเภทไหนบ้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่สามารถหักได้ตามตารางด้านบนแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการคำนวณ ดังนี้ครับ ขั้นตอนที่ 1 : รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิขั้นตอนที่ 2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท แต่เนื่องจากการรีวิวสินค้าเป็นรายได้ประเภทที่ 2 ทำให้จะหักค่าใช้จ่ายสูงสุดได้เพียง 1 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 1 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 8.4 แสนStep2 : เงินได้สุทธิ 8.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 83,000 บาทถ้าอยากทราบวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบละเอียดขึ้น ผมขอแนะนำให้อ่านบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? PEAK ขอเล่า : กำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าปีใดเรามีรายได้ทั้งปีถึง 6 หมื่นบาท(กรณีสถานะสมรส ต้องรายได้ถึง 1.2 แสนบาท) ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีละ 2 ครั้งดังนี้ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) นอกจากภาษีเงินได้ เราต้องตรวจสอบอีกว่ารายได้รวมกันทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่ เพราะถ้าปีใดเกินจะมีหน้าที่เพิ่มเติมคือ ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รายได้เกิน 1.8 ล้านบาท โดยต้องยื่นเสียภาษีเป็นรายเดือนตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แล้วเมื่อเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) หน้าที่ที่คอนเทนต์ครีเอเตอร์ต้องทำเพิ่มเติมคือเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากผู้จ้างเพิ่มเติม เช่น เดิมเราคิดค่ารีวิวสินค้าครั้ง 1,000 บาท แต่เมื่อเราจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)แล้ว เราต้องเรียเก็บค่ารีวิวสินค้าเป็น 1,070 บาท โดยเรายังได้รับรายได้เท่าเดิมคือ 1,000 บาท แต่อีก 70 บาท(1,000*7%) เราต้องนำเงินส่งกรมสรรพากร  ในเชิงธุรกิจข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินแพงขึ้นอีก 7% ถ้าเราไม่ได้โดดเด่นพอ ผู้ว่าจ้างอาจไปใช้บริการคนที่รีวิวสินค้าได้เหมือนเราแต่ค่าตัวถูกกว่า แต่ในส่วนของข้อดีก็มีเช่นกัน คือ เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำส่วนที่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ที่เราจ่ายไปขอคืนได้ หลายคนอาจจะเกิดข้อสงสัยได้ว่าก็เสียภาษีเงินได้ไปแล้ว ทำไมยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก? เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้เก็บจากรายได้ที่เราได้รับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ แต่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะเป็นภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการ สรุปภาษียูทูปเบอร์ อินฟลูเอนเซอร์ และคอนเทนต์ครีเอเตอร์เสียภาษีอย่างไร? เมื่อเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์มีรายได้จากการค่ารีวิวสินค้า ค่าโชว์ตัว ส่วนแบ่งโฆษณาต้องยื่นแบบภาษีครึ่งและสิ้นปี(ภ.ง.ด.90/94) พร้อมเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้ารายได้รวมทั้งปีเกิน 1.8 ล้านบาทจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเรียกเก็บภาษีอีก 7% ให้กรมสรรพากรอีกด้วย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

6 May 2024

จักรพงษ์

12 min

บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม?

เชื่อไหมครับว่ามีหลายคนมักเข้าใจผิดว่าบุคคลธรรมดามีรายได้น้อย หรือเคยโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ ถือว่าไม่มีภาระเกี่ยวกับภาษีอะไรแล้ว ผมขอบอกได้เลยว่าผิด! ครับ จริงๆ แล้วจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาการเสียภาษีอยู่  เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ผมขอแบ่งหน้าที่ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 2 เรื่อง คือ หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ และหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ ครับ 1. หน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หน้าที่แรก คือ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรว่าในปีที่ผ่านมาว่าบุคคลธรรมดามีรายได้อะไรบ้าง จำนวนเงินทั้งหมดเท่าไหร่ผ่านการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือชื่อสั้นๆ ที่หลายคนอาจเคยได้ยินบ่อยๆ เช่น ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.94  ทั้งนี้คนที่มีหน้ายื่นแบบฯ ต้องเข้า 2 เงื่อนไข คือ หนึ่ง ต้องเป็นบุคคลธรรมดา และสอง มีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผมได้เอาเกณฑ์ขั้นต่ำมาทำเป็นตารางเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ PEAK ขอเล่า : เมื่อเข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ข้อข้างต้นแล้วก็เข้าเงื่อนไขที่ต้องยื่นแบบ โดยสรรพากรกำหนดระยะเวลาปีละ 2 ครั้ง ดังนี้ 1.1 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการรายได้ประเภท 40(5)-(8) เช่น ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ ค่าขายสินค้า เป็นต้น ที่ได้รับตั้งแต่มกราคมถึงมิถุนายน โดยยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษีนั้นด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 และภาษีที่เสียนี้นำไปเป็นเครดิตหักออกจากภาษีสิ้นปีได้  เช่น นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8) ตั้งแต่เดือน 1 – 6 ปี 2566 รวมทั้งหมด 200,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566 1.2 “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี” เป็นการยื่นแบบแสดงรายการเงินได้พึงประเมินที่ได้รับแล้วตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม และต้องยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป โดยถ้าทั้งปีมีรายได้จากเงินเดือน(เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1) เพียงอย่างใดให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 91 แต่ถ้ามีรายได้ที่มากกว่าเงินเดือนให้ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90 แทน  เช่น นาย ก มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวที่ได้รับในปี 2566 รวมทั้งหมด 300,000 บาท นาย ก สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 ได้ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2567 PEAK ขอเล่า : 2. หน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนที่ไม่เข้าเงื่อนไขของหน้าที่ในการยื่นแบบภาษี ผมขอยินดีด้วยครับ เพราะนอกจากไม่ต้องยื่นแบบภาษีแล้วก็ไม่ต้องเสียภาษีด้วยครับ แต่ใครที่เข้าเงื่อนไขก็ต้องมาทำขั้นตอนนี้กันต่อ นั่นก็คือการคำนวณยอดภาษีที่ต้องชำระให้กรมสรรพากรกันครับ แต่ไม่ต้องกังวลนะครับ ในขั้นตอนนี้เมื่อคำนวณแล้วอาจจะมียอดภาษีที่ต้องชำระหรืออาจไม่มีภาษีก็ได้ครับ การคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาอย่างละเอียดผมขอแนะนำบทความ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณภาษีอย่างไร? ส่วนวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเบื้องต้น ผมสรุปให้ดังนี้ครับ Step1: รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย หัก ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิStep2 : เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่ายStep2: เงินได้สุทธิ คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย PEAK ขอเล่า : ตัวอย่าง นาย ก มีรายได้จากการขายสินค้า 1 ล้านบาท มีรายจ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง 5 แสนบาท ภาษีที่ต้องชำระคำนวณได้ดังนี้ Step1:  รายได้ขายสินค้า 1 ล้าน หัก รายจ่าย 5 แสน หัก ลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่น = เงินได้สุทธิ 4.4 แสนStep2: เงินได้สุทธิ 4.4 แสน คูณ อัตราภาษีขั้นบรรได 5% – 35% = ภาษีที่ต้องจ่าย 21,500 บาท สรุปแล้ว บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ต้องยื่นแบบเสียภาษีไหม? ผมขอทบทวนอีกให้อีกครั้ง ถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดามีรายได้ขั้นต่ำเกินเกณฑ์ที่กำหนดต้องมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91/94) เมื่อมีหน้าที่ต้องยื่นแบบก็จะต้องคำนวณยอดภาษีแล้วชำระให้กรมสรรพากรด้วย  แต่ถ้าคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ยื่นแค่แบบแสดงรายการภาษีเงินได้อย่างเดียวได้เลยครับ ขอเตือนตรงจุดนี้ว่าหลายคนมักเข้าใจผิดว่าตนเองเป็น บุคคลธรรมดามีรายได้น้อย ไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้จึงโดนปรับกันมาแล้ว จำไว้ว่าหน้าที่ในการยื่นแบบภาษีและหน้าที่ในการเสียภาษีเป็นคนละส่วนกันครับ 3. ผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ไหม? สรรพากรเปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถผ่อนชำระได้ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี โดยแบ่งผ่อน 3 งวดเท่า ๆ กันและไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ผู้เสียภาษีติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกัน โดย งวดที่ 1: ชำระพร้อมยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 30 กันยายน หรือวันที่ 31 มีนาคมงวดที่ 2: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 1งวดที่ 3: ชำระภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ต้องชำระงวดที่ 2 ถ้าภาษีงวดใดงวดหนึ่งมิได้ชำระภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวด และต้องชำระคืนภาษีที่เหลือทั้งหมดพร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ 4. ถ้าไม่ยื่นแบบแสดงรายการ หรือไม่ชำระภาษีจะมีความผิดอะไรบ้าง หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว คุณต้องการที่ปรึกษาเพื่อวางแผนและจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ PEAK เรามีพันธมิตรสำนักงานบัญชีมากกว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมช่วยดูแลคุณ สนใจ คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

27 Mar 2024

PEAK Account

12 min

เฟอร์นิเจอร์สำคัญ เปลี่ยนพื้นที่ทำงานให้มีประสิทธิภาพได้

ประเด็นสำคัญ เฟอร์นิเจอร์สำคัญ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การจัดพื้นที่ทำงานให้เหมาะสมเปรียบเสมือนการวางรากฐานการทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพ โดยเฟอร์นิเจอร์ 3 ชิ้นหลักที่มีความสำคัญต่อการทำงาน ได้แก่ โต๊ะทำงาน เก้าอี้ทำงาน และลิ้นชักใส่ของ เปรียบเสมือนอาวุธคู่กายที่จะช่วยให้การทำงานของคุณราบรื่น สะดวกสบายมากขึ้น 1. โต๊ะทำงาน การเลือกใช้โต๊ะทำงานควรให้ความสำคัญกับขนาดที่เหมาะสม หากมีพื้นที่ทำงานขนาดใหญ่ กว้างขวาง ไม่ควรเลือกโต๊ะที่แคบจนเกินไป อาจทำให้รู้สึกอึดอัด เคลื่อนไหวลำบาก ให้เลือกโต๊ะทำงานขนาด 160 x 80 ซม. ก็เพียงพอแล้ว เช่นเดียวกับห้องที่มีพื้นที่ทำงานจำกัด หากเลือกโต๊ะที่เล็กเกินไป อาจทำให้วางของได้ไม่เพียงพอ ทางที่ดีควรเลือกโต๊ะทำงานขนาด 120 x 60 ซม. ถึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน นอกจากขนาดโต๊ะแล้ว ความสูงของโต๊ะก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ควรเลือกโต๊ะทำงานที่สามารถปรับระดับได้ เพื่อให้เหมาะกับสรีระของผู้ใช้งาน ช่วยให้นั่งทำงานได้อย่างสบาย โดยไม่ต้องก้มหรือโน้มตัวมากเกินไป ทั้งนี้ โต๊ะทำงานที่วัสดุทนทาน ทำความสะอาด และดูแลรักษาง่าย จะช่วยยืดอายุการใช้งาน ให้คุณนั่งทำงานกับโต๊ะตัวโปรดได้นานยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเปลี่ยนโต๊ะบ่อยๆ ให้สิ้นเปลือง OfficeMate แนะนำโต๊ะที่เหมาะสมสำหรับทำงาน โต๊ะทำงานที่ดีจะส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต ประสิทธิภาพในการทำงาน และบรรยากาศการทำงาน แนะนำโต๊ะทำงานเฟอร์ราเดค รุ่น ST120DA-P จาก OFM ช่วยปรับให้ท่านั่งให้ถูกต้อง ลดอาการปวดเมื่อย คุ้มค่าเกินราคา โต๊ะทำงานที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ  ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: nbsp; 2. เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้ทำงานที่เหมาะกับการนั่งทำงานตลอดวัน ควรมีพนักพิงที่รองรับส่วนโค้งตามธรรมชาติของหลังส่วนล่าง รองรับช่วงเอวให้กระดูกสันหลังของผู้นั่งอยู่ในแนวตรง และควรปรับระดับความสูง พนักพิง หรือที่วางแขนได้ เพื่อรองรับสรีระของผู้ใช้งาน ช่วยให้นั่งทำงานได้อย่างสบาย ลดอาการปวดหลัง คอ และลดความเมื่อยล้า นอกจากนี้ วัสดุของเก้าอี้ควรเป็นวัสดุที่ระบายอากาศได้ดี และทำความสะอาดง่าย เช่น ผ้าตาข่าย ช่วยให้นั่งทำงานได้นานโดยไม่รู้สึกอึดอัด หรือเลือกเก้าอี้ที่มีฟังก์ชันโยกเอน ช่วยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งทำงานเป็นเวลานานได้ OfficeMate แนะนำเก้าอี้สุขภาพที่เหมาะสมสำหรับทำงาน การนั่งทำงานในท่าที่ถูกต้อง ช่วยให้มีสมาธิ และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เก้าอี้ Haru ช่วยให้คุณนั่งทำงานได้อย่างสบายโดยไม่ต้องกังวลเรื่องอาการปวดเมื่อย ส่งผลให้คุณมีสมาธิจดจ่อกับงานมากขึ้น เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพและประสิทธิภาพการทำงานของคุณ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: nbsp; 3. ชั้นวางของ โต๊ะทำงานที่รก ไม่เป็นระเบียบ อาจสะท้อนถึงความคิด และการทำงานที่ยุ่งเหยิง การจัดระเบียบพื้นที่ทำงานด้วยลิ้นชักเก็บของที่เหมาะสม จึงเป็นกุญแจสำคัญสู่งานที่มีประสิทธิภาพ และความคิดสร้างสรรค์ ฉะนั้น การมีลิ้นชักวางของดีๆ จะช่วยเก็บของให้เป็นระเบียบ หาง่าย และช่วยให้โต๊ะทำงานดูเรียบร้อยขึ้น เริ่มจากการเลือกลิ้นชักให้เหมาะสมกับพื้นที่ทำงาน โต๊ะทำงานขนาดเล็กควรเลือกตู้ลิ้นชักแบบกะทัดรัด สูงไม่เกินระดับสายตา ช่วยให้หยิบจับของสะดวก เช่น ตู้ลิ้นชัก 2-3 ลิ้นชัก วางซ้อนกัน หรือตู้ลิ้นชักแบบติดใต้โต๊ะ ส่วนโต๊ะทำงานขนาดใหญ่ ให้เลือกตู้ลิ้นชักที่มีหลายลิ้นชัก เก็บของได้มากขึ้น เช่น ตู้ที่มี 4-5 ลิ้นชัก หรือตู้ลิ้นชักแบบตั้งพื้นความสูงเหนือโต๊ะ เป็นการเพิ่มพื้นที่ในการเก็บของไปในตัวด้วย ควรเลี่ยงลิ้นชักที่ใหญ่เทอะทะ กีดขวางการทำงาน และมีน้ำหนักมากจนเกินไป ทำให้ไม่สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย รวมถึงไม่ควรเลือกลิ้นชักที่แคบ ความจุไม่เพียงพอต่อการเก็บของ เพราะหากวางของจนแน่นเกินไป อาจทำให้ลิ้นชักพังเสียหาย หรือหยิบจับสิ่งของได้ไม่สะดวก OfficeMate แนะนำลิ้นชักใส่ของที่เหมาะสมสำหรับห้องทำงาน ลิ้นชักเปรียบเสมือนผู้ช่วยตัวจิ๋วสำหรับโต๊ะทำงาน ช่วยเก็บของให้เป็นระเบียบ หยิบจับสะดวก เพิ่มพื้นที่ทำงานให้กว้างขวางขึ้น การเลือกลิ้นชักที่เหมาะสม จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และราบรื่น OFM แนะนำตู้ลิ้นชักเหล็กล้อเลื่อน 3 ชั้น สีขาว เฟอร์ราเดค ตอบโจทย์คุณ! หมดปัญหาของรก หาของไม่เจอ พร้อมเพิ่มพื้นที่ทำงานได้อีกเยอะ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก: nbsp; สรุป นอกจากเฟอร์นิเจอร์ 3 ชิ้นหลักแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน เช่น แสงสว่าง การระบายอากาศ และการตกแต่งพื้นที่ทำงาน ช่วยเพิ่มประสบการณ์การทำงานที่ดีขึ้น หากไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง อาจลองเอาคำแนะนำที่ OfficeMate นำมาฝากไปปรับใช้กับพื้นที่ทำงานของคุณได้  หากต้องการเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ที่ช่วยให้พื้นที่ทำงานของคุณดูเป็นระเบียบ สะดวก สบาย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เข้ามาเลือกดูได้ที่ OfficeMate เมื่อกิจการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่จะช่วยสร้างพื้นที่การทำงานที่มีประสิทธิภาพเรียบร้อยแล้ว ต้องการบันทึกค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นรายจ่ายของบริษัทอย่างครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำแล้ว PEAK โปรแกรมบีญชีออนไลน์ คือ คำตอบของการทำงานบัญชีที่มีประสิทธิภาพ

27 Mar 2024

PEAK Account

7 min

ตู้เอกสาร จัดเก็บให้เป็นระเบียบได้อย่างไร

ประเด็นสำคัญ  5 เคล็ดลับจัดเก็บตู้เอกสารอย่างมืออาชีพ 1. คัดแยกเอกสาร การจัดระเบียบตู้เอกสารควรเริ่มต้นด้วยการคัดแยกเอกสาร แยกประเภทให้ชัดเจนว่าเอกสารไหนสำคัญ ควรเก็บไว้ เอกสารไหนไม่จำเป็น เช่น ใบปลิว โฆษณา เอกสารเก่าที่หมดอายุ ควรทิ้ง หรือนำไปรีไซเคิล รวมถึงควรแยกเอกสารตามวันที่ โดยเรียงลำดับจากเก่าไปใหม่ ไม่ควรเก็บไว้รวมกัน สำหรับเอกสารสำคัญ ก็ควรแยกประเภทให้ชัดเจนด้วยเช่นกัน เช่น ใบเสร็จรับเงิน แยกเป็นปี 2567, 2566 หรือหากเป็นเอกสารสัญญา ใบทะเบียน ประกัน ให้แยกเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน 2. ตั้งระบบการจัดเก็บให้หาง่าย สะดวก รวดเร็ว เลือกวิธีจัดเก็บเอกสารที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเอง และควรเลือกให้เหมาะกับชนิดของเอกสารที่จัดเก็บด้วย เช่น  เหมาะสำหรับเอกสารไม่หนามาก รวมถึงเอกสารที่หยิบเข้า-ออกบ่อยครั้ง เพื่อให้หาง่าย และสามารถหยิบออกมาใช้งานได้อย่างสะดวก เหมาะสำหรับเอกสารจำนวนมาก ไม่ควรใส่ซองบางๆ เนื่องจากเอกสารมีความหนา จึงต้องการความแข็งแรงของแฟ้มมารองรับปริมาณเอกสาร เหมาะสำหรับเอกสารเก่า ไม่ค่อยได้ใช้งาน หรือเอกสารที่ต้องกำจัด ที่สำคัญ อย่าลืมติดชื่อเอกสารไว้หน้ากล่อง เพื่อความสะดวกต่อการทำลาย หรือนำไปรีไซเคิล ทั้งนี้ ควรตั้งชื่อหมวดหมู่ให้ชัดเจน สื่อความหมายที่เข้าใจง่าย จัดเรียงเอกสารตามลำดับ เช่น ลำดับตัวอักษร และลำดับวันที่ 3. เก็บเอกสารในตู้ที่เหมาะสม ตู้เอกสารที่เหมาะสมควรจะปลอดภัย ให้เลือกตู้เอกสารที่มีขนาดพอเหมาะกับจำนวนเอกสาร ไม่เล็กจนแน่นเกินไป หรือใหญ่จนเหลือพื้นที่ว่างมากเกินไป และควรเลือกตู้ที่มีชั้นวาง มีพื้นที่แบ่งเป็นช่องสำหรับเก็บเอกสารแต่ละหมวดหมู่ 4. ทำความสะอาดตู้เอกสารเป็นประจำ สุขอนามัยดีของตู้เก็บเอกสาร ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน ดังนั้น ควรรักษาความสะอาดของตู้ รวมถึงบริเวณโดยรอบตู้เอกสารด้วยเป็นอย่างดี เช่น เช็ดฝุ่นทั้งด้านใน และด้านนอกตู้เอกสารอย่างน้อยเดือนละครั้ง จัดเก็บเอกสารให้เรียบร้อย ไม่วางซ้อนกันจนยุ่งเหยิง หมั่นกำจัดเอกสารที่ไม่จำเป็น และไม่ควรนำสิ่งของที่ไม่จำเป็นเข้าไปรวมกับเอกสาร เพื่อไม่ให้ตู้ล้น จนไม่มีพื้นที่จัดเก็บเอกสารจำเป็น 5. ใช้เทคโนโลยีช่วยจัดเก็บเอกสาร ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และชาญฉลาด ช่วยเก็บเอกสาร พร้อมอำนวยความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งาน แถมยังมีให้เลือกหลากหลาย และใช้ฟรีอีกด้วย OfficeMate แนะนำให้เก็บเอกสารด้วยวิธีที่ง่าย และรวดเร็ว ด้วยการสแกนเอกสารสำคัญเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือ Cloud Storage เช่น Google Drive, Dropbox ตั้งชื่อไฟล์ให้ชัดเจน ค้นหาได้ง่าย ที่สำคัญควรสำรองข้อมูลไว้เป็นประจำ เพื่อป้องกันเอกสารเสียหาย หรือสูญหาย สรุป การจัดตู้เอกสารให้เป็นระเบียบ จะช่วยให้สามารถค้นหาเอกสารที่ใช้ในการทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ดังนั้น เราจึงควรจัดระบบการจัดเก็บเอกสารอย่างเป็นระบบ และเลือกวิธีการจัดเก็บเอกสารที่เหมาะสมกับการใช้งาน อย่ารอช้า! มาเริ่มจัดการตู้เอกสารของคุณให้เป็นระเบียบ เริ่มต้นด้วย 5 ขั้นตอนง่ายๆ จาก OfficeMate ได้เลย หรือใครยังหาตัวช่วยจัดเก็บเอกสารเพิ่มเติม OfficeMate ยังมีอุปกรณ์สำนักงาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับคุณ พร้อมมอบประสบการณ์ในการจัดเก็บเอกสารที่คุณอาจไม่เคยพบมาก่อน สามารถเข้ามาเลือกดูได้ที่ OfficeMate นอกจากการจัดเก็บเอกสารอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การสร้างเอกสารสำคัญทางธุรกิจก็เป็นสิ่งสำคัญ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ออกบิลเงินสด, ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารบัญชีต่างๆ ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ในไม่กี่ขั้นตอน สร้างเอกสารทางธุรกิจ ครบถ้วน ถูกต้อง แม่นยำ ป้องกันปัญหาอย่างมืออาชีพ

อ่านบทความเพิ่มเติม

การใช้โปรแกรม

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน PEAK

อ่านบทความเพิ่มเติม

8 May 2024

PEAK Account

1 min

Update Function 08/05/2024

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. To automatically add the display of contact names in the signature block on the document 📢 For every business that issues documents through the program, when issuing documents to customers, the signature block on the document will automatically display the customer’s name. This allows users who send documents to customers/partners to not have to manually write the contact person’s name and helps users work more conveniently. Thank you for the suggestion, by SEALONG (THAILAND) CO., LTD. ✨ 2. Add an option to search for documents or display information by month range 📢 For users searching for documents, they can select a document’s month range or data display. Additionally, they can choose a non-consecutive month range, in cases where a business’s accounting period does not align with the calendar year. This helps users search for documents more efficiently. ✨ 3. Add the display of search results on the print report page 📢 For advanced document search users, when searching for documents and wanting to print a document report, the system will display the search criteria details. This allows users to review the information before printing the report ✨ 4. Add support for 123Service financial channels 📢 For every business, the system now adds support for 123Service financial channels, allowing for a much wider variety of financial transaction options.

8 May 2024

PEAK Account

3 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 08/05/2024

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. เพิ่มการแสดงชื่อผู้ติดต่อที่ช่องลายเซ็นต์บนหน้าเอกสารให้อัตโนมัติ 📢 สำหรับทุกกิจการที่ออกเอกสารในโปรแกรม เมื่อออกเอกสารให้กับลูกค้า ช่องลายเซ็นต์หน้าเอกสารระบบจะแสดงชื่อผู้คู่ค้าให้อัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ส่งเอกสารให้กับลูกค้า/คู่ค้าไม่ต้องเขียนชื่อผู้ติดต่อเองและช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ขอขอบคุณข้อเสนอแนะ โดยบริษัท ซีลอง (ประเทศไทย) จำกัด ✨ 2. เพิ่มตัวเลือกปุ่มค้นหาเอกสารหรือการแสดงข้อมูลตามช่วงเดือน 📢 สำหรับผู้ใช้งานที่ค้นหาเอกสาร สามารถเลือกระบุช่วงเดือนของเอกสารหรือการแสดงข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถเลือกช่วงเดือนแบบข้ามปีได้ กรณีที่กิจการมีรอบบัญชีที่ไม่ตรงปีปฏิทิน เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเอกสารได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ✨ 3. เพิ่มการแสดงข้อมูลการค้นหาหน้าพิมพ์รายงาน 📢 สำหรับผู้ใช้งานที่ค้นหาเอกสารขั้นสูง เมื่อค้นหาเอกสารและต้องการพิมพ์รายงานเอกสาร ระบบจะแสดงรายละเอียดเงื่อนไขที่ได้ค้นหา เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลก่อนพิมพ์รายงาน ✨ 4. เพิ่มการรองรับช่องการเงิน 123Service 📢 สำหรับทุกกิจการ ระบบเพิ่มการรองรับช่องทางการเงิน 123Service เพื่อรองรับช่องทางการเงินที่หลากหลายมากขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม

ข่าวสาร

อัปเดตข่าวประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น และเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

30 Apr 2024

PEAK Account

14 min

ระเบียบการแข่งขัน PEAK Digital Accounting Championship 2024

ไฟล์ระเบียบการแข่งขัน โครงการค้นหา “สุดยอดว่าที่นักบัญชี” แห่งยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถและทดสอบความรู้การใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์1.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ด้านการบัญชี1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา1.4 มอบโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนจากสถาบันอื่น 2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 2.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี โดยต้องมีสถานภาพเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน2.2 สมาชิกทีมละ 2 คน อายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน2.3 แต่ละสถาบันสามารถมีอาจารย์ประจำภาควิชาได้ไม่เกิน 2 ท่าน 3. ขอบเขตเนื้อหาการแข่งขัน 3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีและภาษี3.2 การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์3.3 การวิเคราะห์และประยุกต์การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ตามประเภทของธุรกิจ 4. การรับสมัคร 4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2567 4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ bit.ly/peak-dac-2024 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอีเมล์ยืนยันจากระบบ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มส่งผลงานได้หลังจากได้รับอีเมลยืนยันการสมัครเท่านั้น 4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันและส่งผลงานวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ภายในเวลา 23.59 น.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำส่งผลงานรอบคัดเลือกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.4.1 ทำวิดีโอบน TikTok เพื่อแนะนำ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs ไทย ภายใต้หัวข้อ “PEAK, Friend of Business”4.4.2 ความยาวไม่เกิน 2 นาที4.4.3 รูปแบบวิดีโอเป็นแนวตั้ง (9:16)4.4.4  อัปโหลดบนแอปพลิเคชัน TikTok พร้อมเปิดสาธารณะ4.4.5  Mention @peakaccount และติดแฮชแท็ก จำนวน 3 แฮชแท็ก ดังต่อไปนี้   #PEAKDAC2024 #PEAK #โปรแกรมบัญชีออนไลน์4.4.6 หลังจากวิดีโอถูกเผยแพร่บน TikTok ผู้สมัครต้องคัดลอกลิงก์ของวิดีโอ เพื่อนำ ไปกรอกในฟอร์มตามลิงก์ข้อ 4.24.4.7 แต่ละทีมสามารถส่งผลงานวิดีโอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากมีการส่งผลงานมากกว่า 1 ครั้ง ทางคณะกรรมการจะพิจารณาจากการส่งผลงานครั้งแรกเท่านั้น 4.5  คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 ทีม เพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทางอีเมลผู้เข้าแข่งขัน และเฟสบุ๊คแฟนเพจ PEAK – โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAKaccount.com วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567 หมายเหตุ : หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 5. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 24 ทีม ต้องเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ : ไม่มีบริการที่จอดรถ ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตามสามารถจอดพาหนะได้บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ อาคารจามจุรี 9 หรือศูนย์การค้าเเอมพาร์ค หรือศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยอัตราค่าบริการที่จอดรถเป็นไปตามระเบียบของผู้ให้บริการ 6. กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขัน09.00 – 10.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน10.00 – 10.30 น. เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขัน10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15 นาที10.45 – 11.45 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 1 (ข้อสอบปรนัย)11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 – 14.30 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 2-3 (ภาคปฎิบัติและวิเคราะห์)14.30 – 15.30 น. กิจกรรมให้ความรู้จากวิทยากรพิเศษ15.30 – 15.35 น. ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์15.35 – 16.30 น. การนำเสนอผลการวิเคราะห์16.30 – 17.00 น. ประกาศผลการแข่งขัน พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงาน หมายเหตุ : ไม่มีบริการอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตาม ผู้เข้าสอบต้องนั่งประจำที่สอบ ก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 10 นาที 7. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยแต่ละรอบมีเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้ 7.1  รอบคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากผลงานคลิปวิดีโอของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 24 ทีม ได้แก่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้ 7.2  รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ผลรวม 100 คะแนน โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การตอบคำถามความรู้ด้านบัญชีและภาษี (30 คะแนน)เป็นการตอบคำถามรูปแบบปรนัยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 30 คะแนน โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี การบัญชี และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรม PEAK บันทึกบัญชี และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (50 คะแนน)เป็นการบันทึกบัญชีตามโจทย์ที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์และตอบคำถาม โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีเนื้อหาประกอบด้วย การสมัครและสร้างกิจการ การบันทึกยอดยกมา การบันทึกรายการค้าระหว่างงวดบัญชี การเรียกดูรายงานเอกสาร และงบการเงิน ส่วนที่ 3 การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (20 คะแนน)เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ให้แก่คณะกรรมการ โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำข้อสอบส่วนที่ 2 โดยใช้ระยะเวลาการนำเสนอ 3 นาที และถามตอบ 5 นาที รวมเป็น 8 นาที ต่อทีมเนื้อหาประกอบด้วย วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจ ถามตอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับแรกเท่านั้น (ระดับปวส. 3 ทีม และระดับปริญญาตรี 3 ทีม) เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 กับคณะกรรมการ เพื่อให้กรรมการได้ซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินอันดับผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด 8. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำโน้ตบุ๊กมาจำนวน 1 เครื่อง ต่อ 1 ทีม โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมปลั๊กชาร์จ ไฟสำหรับโน้ตบุ๊ก และ Wifi ให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของสถาบัน8.3 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกัน และแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ภายในเวลาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน8.4 ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องเขียน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ รวมถึงนาฬิกา Smart Watch เข้าแข่งขัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการจัดเตรียมเครื่องเขียน และกระดาษทดให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.5 ห้ามผู้เข้าแข่งขันยืมอุปกรณ์ใด ๆ จากผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นขณะแข่งขัน8.6 ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระทำการใด ๆ ที่ทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริต8.7 ผู้เข้าแข่งขันที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก หรือผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ สามารถแข่งขันด้วยจำนวนสมาชิกที่เหลือได้ หมายเหตุ : หากฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 9. รางวัลการแข่งขัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สมาชิกของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 24 ทีม จะได้รับเกียรติบัตรโดย PEAK 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด

7 Feb 2024

admincontent

2 min

BeNeat มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7%

BeNeat แอปพลิเคชันเรียกคุณแม่บ้านมืออาชีพ สะดวก ใช้งานง่าย เลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ บริการทำความสะอาดแบบรายชั่วโมง ให้บ้านน่าอยู่ขึ้นได้ในพริบตา คุณแม่บ้านบีนีทมืออาชีพไปพร้อมอุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดแบบครบครัน พร้อมทั้งรับประกันความพึงพอใจ พิเศษ! ลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7% เมื่อจองบริการทำความสะอาดรายชั่วโมงแบบแพ็กเกจ 5 ครั้งขึ้นไป เพียงแจ้งโค้ดส่วนลดรับสิทธิ์ ผ่าน LINE @BeNeat เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ – ระยะเวลาโปรโมชั่น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 – จำกัดเพียง 200 แพ็กเกจเท่านั้น ตลอดรายการส่งเสริมการขาย หรือจนกว่าสิทธิ์จะหมด – สามารถจองบริการไว้ล่วงหน้าได้ ไม่มีวันหมดอายุ – รหัสส่วนลดสามารถใช้ได้ 1 ครั้ง/ รหัสผู้ใช้งาน – พื้นที่ให้บริการ : กรุงเทพ ปริมณฑล เชียงใหม่ และชลบุรี – สิทธิพิเศษนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยน/ทอนเป็นเงินสด หรือใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ – เงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมเป็นไปตามนโยบายทางบริษัทฯ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2113-1138, [email protected] หรือ LINE @BeNeat

อ่านบทความเพิ่มเติม