คลังความรู้บัญชี ภาษี และโปรแกรมบัญชีออนไลน์

ติดตามข้อมูลข่าวสาร บทความน่ารู้ด้านบัญชี ภาษี การเงิน และธุรกิจที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี

ทั้งหมด

บัญชี

ภาษี

ธุรกิจ

การใช้งานโปรแกรม

ข่าวสาร

ล่าสุด

14 Feb 2025

PEAK Account

16 min

e-Tax Invoice ตัวช่วยจัดการเอกสาร ลดความยุ่งยากให้ธุรกิจ SMEs

ก้าวเข้าสู่ปี 2568 ในยุคที่เกือบทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนดิจิตอลแทบทั้งหมด ประเทศไทยก็พัฒนาตามยุคสมัยในหลายด้าน รวมไปถึงด้านเอกสารต่าง ๆ ที่หน่วยงานส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมสรรพากรส่งเสริมให้ผู้ประกอบปัจจุบันการเปลี่ยนมาใช้ เพราะช่วยลดความยุ่งยากด้านงานเอกสาร และเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับกฎหมายในปัจจุบันอีกด้วย ในบทความนี้ PEAK ขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น จะเป็นอย่างไรบ้างมาติดตามกันได้เลย e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือ รูปแบบการออกใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบออนไลน์เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการซื้อขายของคนไทยที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น สามารถส่งเอกสารให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงสามารถส่งเอกสารออนไลน์ให้กรมสรรพากรได้ทันทีเช่นกัน ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ธุรกิจ SMEs สามารถจัดการกับเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  ข้อมูลจำเป็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากรูปแบบเอกสารเปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้มีข้อมูลรายละเอียดจำเป็นเล็กน้อยที่เจ้าของกิจการควรรู้ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของเรานั้นถูกต้องทุกประการ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) หรือการปรับทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยเสมอ หลังจากลงลายมือชื่อหรือประทับแล้ว เอกสารฉบับดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายได้ ทำไมธุรกิจ SMEs ต้องใช้ e-Tax Invoice? หลังจากที่เรารู้จักใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้นแล้ว ในส่วนถัดมาเรามาดูข้อดีที่เจ้าของเจ้าของกิจการ SMEs จะได้รับหากเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ใบกำกับภาษีกระดาษรูปแบบเดิมกันดีกว่า ซึ่งข้อดีหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 4 ข้อดังนี้ ลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร หนึ่งในปัญหาที่เจ้าของกิจการ SMEs หลายท่านต้องประสบพบเจอคงหนีไม่พ้นเรื่องของเอกสารที่เยอะจนบางครั้งทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่สามารถโฟกัสกับธุรกิจได้เต็มที่เท่าที่ควร การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดปัญหาส่วนนี้ลงไปได้อย่างแน่นอน เพราะด้วยเอกสารที่อยู่บนออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องหาที่จัดเก็บ หรือคอยหาเอกสารให้วุ่นวาย นอกจากนี้ยังลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร เพราะความสะดวกรวดเร็วในการส่งให้ผู้ซื้อและสรรพากรได้อย่างง่ายดาย หมดห่วงเรื่องเอกสารสูญหาย ต่อยอดจากข้อที่แล้ว นอกจากการลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร ยังเป็นการป้องกันข้อมูลสูญหายที่เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเก็บเอกสารแบบกระดาษ ซึ่งการเก็บเอกสารที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์นั้น หากจัดให้เป็นระเบียบรับรองว่าข้อมูลไม่มีทางสูญหายแน่นอน อีกทั้งเวลาต้องการเรียกดูเอกสารก็ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุน หลายท่านอาจสงสัยว่าการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร แต่ถ้าลองคำนวนดูแล้วการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ 1 แผ่นนั้น มีต้นทุนที่แฝงมาด้วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่ากระดาษ ค่าหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารออกมา อาจรวมไปถึงค่าซองเอกสาร และค่าจัดส่งอีกด้วย หากเปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็บอกลาต้นทุนเหล่านี้ไปได้เลย ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมในส่วนนี้ ยกตัวอย่างเช่น Easy E-Receipt นโยบายที่ในปีพ.ศ. 2568 ก็กลับมาอีกครั้ง โดยเป็นนโยบายที่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษีออนไลน์จากสินค้าหรือบริการที่ซื้อในช่วงเวลาที่กำหนด มายื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น  “การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากจะช่วยจัดการเอกสารแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนแฝง และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายผ่านนโยบายของภาครัฐอีกด้วย” e-Tax Invoice มีกี่รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? e-Tax Invoice มีทั้งหมด 2 รูปแบบประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร แต่ละแบบเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาดูกันต่อเลย 1. e-Tax Invoice & Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแรกแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Recepit) ซึ่งเอกสารรูปแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แบบไม่จำกัดรายได้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ก่อนทำการส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงกรมสรรพากรจำเป็นต้องลงลายมือชื่อดิจิตอลให้เรียบร้อยเพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้การส่ง e-Tax Invoice & Receipt ให้กรมสรรพากรจะต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ XML หรือ PDF/A3 เท่านั้น คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice & Receipt  สำหรับขั้นตอนการใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภท e-Tax Invoice & Receipt มีขั้นตอนทั้งหมด 3 ส่วนที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย ไม่เป็นการเพิ่มงานแน่นอน 2. e-Tax Invoice by Time Stamp ในส่วนของ e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท และได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จำนวนที่ไม่มาก โดยการส่งเอกสาร e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการที่ธุรกิจออกร่างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นทำการส่งอีเมลให้ลูกค้า และ CC อีเมลไปที่ [email protected] เพื่อให้ระบบทำการ Time Stamp หรือประทับเวลาให้ หลังจากนั้นระบบจะส่งเอกสารที่ประทับเวลาแล้วให้ลูกค้าและธุรกิจอีกครั้ง คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp เจ้าของกิจการที่ต้องการยื่นขอการจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ต้องมีคุณสมบัติดังนี้  ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบ e-Tax Invoice by Time Stamp อาจมีขั้นตอนมากกว่าเล็กน้อย แต่สะดวกไม่แพ้กัน อยากลดความยุ่งยากเรื่องเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือคำตอบ ตอนนี้ทุกท่านรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นแล้ว ทราบถึงข้อดีที่ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาความยุ่งยากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต่าง ๆ รวมไปถึงเป็นการลดต้นทุน และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้แก่ธุรกิจผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย  สำหรับเจ้าของกิจการ SMEs ท่านไหนที่กำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย ที่ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการทำ e-Tax Invoice ช่วยให้การจัดการบัญชีในธุรกิจของคุณสะดวก สามารถจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เตรียมความพร้อมมุ่งสู่การเติบโตในอนาคต ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

13 Feb 2025

PEAK Account

5 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 13/02/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. เพิ่มระบบคำนวณสูตรที่ช่องจำนวนและราคา ในหน้าสร้างเอกสารรายรับ-รายจ่าย 📢สำหรับกิจการที่ออกเอกสารรายรับ-รายจ่าย ระบบเพิ่มการคำนวณด้วยสูตรที่ช่องจำนวนและราคา เมื่อผู้ใช้งานพิมพ์เครื่องหมาย เท่ากับ (=) ลงในช่อง จะเป็นการเรียกใช้ฟังก์ชันการคำนวณโดยอัตโนมัติของระบบ เช่น =100+50 ระบบจะคำนวณและเปลี่ยนตัวเลขเป็น 150 ให้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ทำข้อมูลในเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 2. เพิ่มประวัติการใช้งานในแต่ละสินค้า/บริการ ช่วยให้ตรวจสอบรายการได้สะดวกยิ่งขึ้น 📢ระบบเพิ่มช่องการดูประวัติแต่ละสินค้า/บริการ โดยจะเก็บประวัติการสร้าง การแก้ไขรายการ รวมถึงราคาขาย โดยผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลสินค้าย้อนหลังได้ด้วยตนเอง ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 3. ปรับให้ระบบอัปเดตข้อมูลหน้าเอกสารอัตโนมัติ กรณีเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลใบกำกับภาษี ช่วยให้ดูข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น 📢เมื่อผู้ใช้งานออกเอกสารค่าใช้จ่ายและมีการเพิ่มใบกำกับภาษี ระบบจะทำการอัปเดตข้อมูลที่หน้าเอกสารค่าใช้จ่ายให้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานดูข้อมูลในเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 4. เพิ่ม Hyperlink ในรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก PEAK TAX ช่วยให้ดูเอกสารได้สะดวกยิ่งขึ้น 📢ระบบปรับรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ดาวน์โหลดจาก PEAK TAX ให้มี Hyperlink เชื่อมไปยังเอกสารหัก ณ ที่จ่ายแต่ละรายการโดยตรง ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลเอกสารได้สะดวกขึ้น ลดขั้นตอนการค้นหา และช่วยให้นำรายงานไปใช้งานต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ✨ 5. เพิ่มการรองรับเงินได้ประเภท 40(2) ในแบบและใบแนบ ภ.ง.ด.1ก ที่ PEAK Payroll ลดข้อผิดพลาดในการทำภาษี 📢สำหรับผู้ใช้งาน PEAK Payroll ระบบปรับให้แบบและใบแนบ ภ.ง.ด.1ก สามารถแสดงข้อมูลเงินได้ทั้งประเภท 40(1) และ 40(2) ได้อย่างถูกต้องตามประเภทเงินได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารภาษีและช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างแม่นยำและครบถ้วน ✨ 6. เพิ่มฟังก์ชันการกล่าวถึงผู้ใช้งานอื่นที่กล่องความคิดเห็นในบัญชีรายวัน 📢สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการกล่าวถึงผู้ใช้งานอื่นในกล่องความคิดเห็นบนบัญชีรายวัน สามารถกล่าวถึงได้ โดยระบบจะทำการแจ้งเตือนผู้ใช้งานที่ถูกกล่าวถึงที่กระดิ่ง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารระหว่างกันได้สะดวกยิ่งขึ้น ✨ 7. เพิ่มฟังก์ชันการบันทึกร่างในใบลดหนี้แบบอ้างอิงเอกสาร 📢สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการบันทึกใบลดหนี้แบบอ้างอิงเอกสารเป็นแบบร่างก่อนบันทึกจริง ระบบรองรับให้ผู้ใช้งานสามารถกดบันทึกร่างใบลดหนี้ได้ ซึ่งการบันทึกร่างใบลดหนี้ ระบบจะแสดงข้อมูลใน เสมือนมีการบันทึกเอกสารจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูล และลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล

13 Feb 2025

PEAK Account

2 min

Update Function 13/02/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. Add Formula Calculation in the Quantity and Price Fields on Income-Expense Documents. 📢 For businesses issuing income-expense documents, entering an “=” symbol in the quantity or price field will trigger an automatic calculation function. For example, typing =100+50 will automatically compute and display 150, making data entry more convenient. ✨ 2. Add Usage History for Each Product/Service for Easier Tracking. 📢 The system now records the creation, modifications, and sales price history of each product. Users can review past product details for better tracking and data accuracy. ✨ 3. Enhanced the system to Automatically Document Updates When Modifying Tax Invoices for Better Data Accuracy. 📢 When users add a tax invoice to an expense document, the system will automatically update the relevant document, ensuring that the latest data is displayed correctly. ✨ 4. Add Hyperlinks in Withholding Tax Reports from PEAK TAX for Quick Access to Documents. 📢 Withholding tax reports downloaded from PEAK TAX now include direct hyperlinks to the corresponding tax documents. This allows users to access information quickly, reducing search time and improving workflow efficiency. ✨ 5. Add Support for Income Type 40(2) in PND 1 Kor Forms on PEAK Payroll to Reduce Tax Errors. 📢 PEAK Payroll now correctly displays income types 40(1) and 40(2) in PND 1 Kor forms, ensuring accurate tax filing and minimizing errors in tax document preparation. ✨ 6. Add User Mentions in the Journal Entry Comment Box for Better Communication. 📢 Users can now mention others in journal entry comments. The mentioned user will receive a notification via the bell icon, improving communication and collaboration within the system. ✨ 7. Add Draft Saving for Credit Notes with Document References to Prevent Errors. 📢 Users can now save draft credit notes before finalizing them. Draft credit notes will appear in the Document Reports and Accounts Receivable Aging Reports as if they were finalized, allowing for better review and error prevention before submission.

อ่านบทความเพิ่มเติม

บัญชี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี

อ่านบทความเพิ่มเติม

31 Jan 2025

PEAK Account

8 min

สเตทเม้น คืออะไร เรื่องที่คนทั่วไปและเจ้าของธุรกิจควรรู้

สเตทเม้น คือ รายงานการเคลื่อนไหวทางการเงินที่แสดงรายละเอียดการทำธุรกรรมในบัญชี ซึ่งสถาบันการเงินจัดทำให้กับลูกค้าเป็นประจำทุกเดือน และเป็นเอกสารสำคัญที่ช่วยให้เรารู้และควบคุมการใช้จ่ายได้ รวมถึงยังรู้ว่ารายการเดินบัญชีมีความถูกต้องหรือไม่ ทำให้เราสามารถบริหารจัดการการเงินได้ง่ายและดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งสเตทเม้นเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง และจะสามารถขอสเตทเม้นได้อย่างไรไปดูกัน สเตทเม้น คืออะไร สเตทเม้น คือ เอกสารทางการเงินที่แสดงรายการเดินบัญชีทั้งหมดในช่วงเวลาหนึ่ง โดยปกติจะเป็นรายเดือน ซึ่งจะระบุรายละเอียดของรายการฝาก ถอน โอน หรือชำระเงินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบัญชี พร้อมทั้งแสดงยอดเงินคงเหลือ ณ สิ้นเดือน สามารถใช้อ้างอิงการทำธุรกรรมทางการเงิน การจัดทำบัญชี และการยื่นภาษีได้ นอกจากนี้ ยังเป็นตัวช่วยในการวางแผนการเงิน และตรวจสอบว่ารายการเดินบัญชีมีความผิดปกติหรือไม่ รายละเอียดสำคัญที่ปรากฏในสเตทเม้น เอกสารที่รวบรวมข้อมูลสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินของเรา ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลหลายส่วนที่จะช่วยบริหารการเงินได้ทั้งส่วนบุคคลและธุรกิจ ดังนี้ สเตทเม้นสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง สเตทเม้น คือ ตัวช่วยในการบริหารการเงินที่มีประโยชน์หลายด้าน สามารถใช้ในการติดตามรายรับรายจ่าย การวางแผนการเงิน การจัดทำบัญชี การยื่นภาษี และการขอสินเชื่อ นอกจากนี้ ยังช่วยตรวจสอบรายการเดินบัญชีและการทำงบประมาณว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้จ่าย ทำให้สามารถควบคุมการเงินได้ดีมากขึ้น ทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคล สเตทเม้นเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนบุคคล ทำให้รู้ว่าตอนนี้จ่ายไปกับอะไรและจ่ายเท่าไหร่บ้าง เพื่อนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองและปรับปรุงนิสัยการใช้จ่ายเกินความจำเป็นของเราได้ นอกจากนี้ ยังนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการออม การลงทุน รวมถึงการจัดการหนี้สินต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น  จัดทำบัญชีธุรกิจ สเตทเม้นเป็นเอกสารสำคัญในการจัดทำบัญชีธุรกิจ ใช้เป็นหลักฐานประกอบการบันทึกรายได้และจัดทำงบการเงิน รวมถึงการคำนวณภาษี ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถติดตามกระแสเงินสด ตรวจสอบและวิเคราะห์รายการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ การขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน สเตทเม้นเป็นเอกสารที่สถาบันการเงินใช้ประกอบในการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของเรา โดยจะพิจารณาจากความสม่ำเสมอของรายได้ พฤติกรรมการใช้จ่าย การออม และประวัติการชำระเงินต่าง ๆ  การมีสเตทเม้นที่แสดงถึงความมั่นคงทางการเงินจะเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อ การสมัครบัตรเครดิต สเตทเม้นเป็นหลักฐานสำคัญในการสมัครบัตรเครดิต โดยธนาคารจะดูว่าเรามีรายรับเท่าไหร่ เพื่อพิจารณาวงเงินบัตรเครดิต และดูว่าเราสามารถจ่ายหนี้ได้มากหรือน้อยขนาดไหน โดยจะดูจากรายได้เฉลี่ยต่อเดือนว่ามีจำนวนเท่าไหร่และมีความสม่ำเสมอไหม รวมถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายผ่านบัญชีนั้นด้วย วิธีขอสเตทเม้น การขอสเตทเม้นสามารถเลือกทำจากช่องทางต่าง ๆ ได้ตามความสะดวกและบริการของแต่ละธนาคาร โดยช่องทางหลัก ๆ ได้แก่ การขอผ่านแอปพลิเคชันธนาคารบนมือถือ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดสเตทเม้นย้อนหลังได้ฟรีโดยไม่มีค่าธรรมเนียม หรือเป็นการขอที่ตู้ ATM โดยใช้บัตร ATM/Debit ให้กดเลือกบริการพิมพ์รายการเดินบัญชี หรือการติดต่อที่สาขาธนาคารโดยตรงพร้อมบัตรประชาชนและสมุดบัญชี ทั้งนี้ การขอสเตทเม้นย้อนหลังเกิน 6 เดือนอาจมีค่าธรรมเนียมตามที่แต่ละธนาคารกำหนด และระยะเวลาในการขอย้อนหลังอาจแตกต่างกันไปตามนโยบายของแต่ละธนาคาร สเตทเม้นคือเอกสารสำคัญมาก ๆ ในการนำมาทำบัญชีธุรกิจ นำมาใช้ขอสินเชื่อและการทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยเราสามารถขอได้ตามความสะดวกที่เราแนะนำไปข้างต้นได้เลย แต่สำหรับผู้ที่มีเงินเข้าออกหลายทางการทำบัญชีอย่างละเอียดยังคงมีความสำคัญมาก ๆ  โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

31 Jan 2025

PEAK Account

6 min

Audit คืออะไร? สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้เพื่อเตรียมพร้อม

Audit คือ สิ่งที่คนทำงานบริษัทได้ยินกันบ่อย ๆ และมีความสำคัญกับธุรกิจอย่างมาก เพราะการ Audit คือ การตรวจสอบและประเมินข้อมูลบัญชีทางการเงินว่ามีความถูกต้องหรือไม่ และประเมินว่าพนักงานและบริษัทได้ทำตามกฎระเบียบขององค์กรและกฎหมายจริง ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระ ซึ่งการ Audit นั้นจะมีความสำคัญกับธุรกิจอย่างไร ทำไมธุรกิจต้องตรวจสอบบัญชีเราไปดูกัน  Audit คือสิ่งสำคัญสำหรับทุกธุรกิจ Audit คือ กระบวนการสำคัญที่ช่วยให้การทำธุรกิจโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ โดยมีบทบาทสำคัญในหลายด้าน ทั้งการสร้างความน่าเชื่อถือ การทำตามกฎหมาย การป้องกันการทุจริต และการสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจ สร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ การตรวจสอบบัญชี หรือ Audit คือ กลไกในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร โดยผู้ตรวจสอบอิสระที่มีความเชี่ยวชาญ จะทำให้งบการเงินของบริษัทน่าเชื่อถือมากขึ้น จนนักลงทุนและสถาบันการเงินมั่นใจในการลงทุนหรือร่วมงานกับองค์กร นอกจากนี้ ยังช่วยทำให้ธุรกิจมีภาพลักษณ์ที่ดีในสายตาคนทั่วไป ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ Audit คือ ตัวช่วยให้องค์กรและคนทั่วไปมั่นใจว่าบริษัททำตามข้อบังคับและกฎหมายจริง ๆ ทั้งด้านการเงินและภาษี เพื่อช่วยป้องกันการถูกปรับจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงช่วยให้องค์กรสามารถปรับปรุงการการทำงานต่าง ๆ ได้สอดคล้องกับข้อกำหนดต่าง ๆ อย่างทันท่วงที ป้องกันการทุจริตและข้อผิดพลาด Audit คือ กระบวนการที่ช่วยค้นหาข้อผิดพลาดในการทำธุรกิจ และป้องกันปัญหาทุจริตที่อาจจะเกิดจขึ้น ผ่านการตรวจสอบภายในและรายการต่าง ๆ อย่างละเอียด ซึ่งถ้าบริษัทมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ธุรกิจสามารถรู้จุดอ่อนของตัวเอง และปรับปรุงได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรง เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ Audit คือ ปัจจัยสำคัญที่เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะการตรวจสอบงบการเงินที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือจากนักลงทุนและจากสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังช่วยให้การวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจ จากข้อมูลทางการเงินที่มีความถูกต้องได้ง่ายและรอบคอบมากขึ้น ประเภทของอาชีพ Audit การ Audit มีความสำคัญกับธุรกิจมากมาย เราจึงจะขอพาไปทำความรู้จักกับอาชีพ Audit ว่ามีประเภทอะไรบ้าง และมีหน้าที่ตรวจสอบธุรกิจส่วนไหน เพื่อให้เจ้าของธุรกิจ พนักงานบัญชี และบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถเตรียมพร้อมรับการตรวจสอบได้อย่างราบรื่น Financial Audit  Financial Audit คือ การตรวจสอบรายงานทางการเงินจากผู้สอบบัญชีอิสระ เพื่อดูว่าข้อมูลมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ตามมาตรฐานการบัญชี  โดยจะครอบคลุมการตรวจสอบรายการบัญชีและเอกสารประกอบต่าง ๆ  Internal Audit  Internal Audit คือ การตรวจสอบภายในที่ดำเนินการโดยพนักงานขององค์กรเอง มีหน้าที่ในการประเมินระบบต่าง ๆ และการบริหารความเสี่ยงในการทำธุรกิจ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรมีการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายที่กำหนด IT Audit  IT Audit คือ การตรวจสอบระบบเทคโนโลยีขององค์กร ว่ามีความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลขนาดไหน และมีการปฏิบัติตามนโยบายหรือไม่ เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านปลอดภัยของข้อมูล การตรวจสอบบัญชี หรือ Audit คือ กระบวนการสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน โดยการสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท ผู้ประกอบการจึงต้องมีการตรวจสอบบัญชีเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างมั่นคง โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ภาษี

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับภาษี

อ่านบทความเพิ่มเติม

14 Feb 2025

PEAK Account

16 min

e-Tax Invoice ตัวช่วยจัดการเอกสาร ลดความยุ่งยากให้ธุรกิจ SMEs

ก้าวเข้าสู่ปี 2568 ในยุคที่เกือบทุกสิ่งล้วนเปลี่ยนมาอยู่บนดิจิตอลแทบทั้งหมด ประเทศไทยก็พัฒนาตามยุคสมัยในหลายด้าน รวมไปถึงด้านเอกสารต่าง ๆ ที่หน่วยงานส่วนใหญ่เปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เกือบทั้งหมดแล้ว ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่กรมสรรพากรส่งเสริมให้ผู้ประกอบปัจจุบันการเปลี่ยนมาใช้ เพราะช่วยลดความยุ่งยากด้านงานเอกสาร และเป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับกฎหมายในปัจจุบันอีกด้วย ในบทความนี้ PEAK ขอพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น จะเป็นอย่างไรบ้างมาติดตามกันได้เลย e-Tax Invoice คืออะไร? e-Tax Invoice หรือใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือ รูปแบบการออกใบกำกับภาษีอยู่ในรูปแบบออนไลน์เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการซื้อขายของคนไทยที่นิยมซื้อผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น สามารถส่งเอกสารให้ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงสามารถส่งเอกสารออนไลน์ให้กรมสรรพากรได้ทันทีเช่นกัน ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ธุรกิจ SMEs สามารถจัดการกับเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  ข้อมูลจำเป็นที่ต้องทราบเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากรูปแบบเอกสารเปลี่ยนมาอยู่บนโลกออนไลน์ ทำให้มีข้อมูลรายละเอียดจำเป็นเล็กน้อยที่เจ้าของกิจการควรรู้ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของเรานั้นถูกต้องทุกประการ เพื่อให้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องมีการลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature) หรือการปรับทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยเสมอ หลังจากลงลายมือชื่อหรือประทับแล้ว เอกสารฉบับดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางกฎหมายได้ ทำไมธุรกิจ SMEs ต้องใช้ e-Tax Invoice? หลังจากที่เรารู้จักใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้นแล้ว ในส่วนถัดมาเรามาดูข้อดีที่เจ้าของเจ้าของกิจการ SMEs จะได้รับหากเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ใบกำกับภาษีกระดาษรูปแบบเดิมกันดีกว่า ซึ่งข้อดีหลัก ๆ สามารถแบ่งได้ 4 ข้อดังนี้ ลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร หนึ่งในปัญหาที่เจ้าของกิจการ SMEs หลายท่านต้องประสบพบเจอคงหนีไม่พ้นเรื่องของเอกสารที่เยอะจนบางครั้งทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่สามารถโฟกัสกับธุรกิจได้เต็มที่เท่าที่ควร การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยลดปัญหาส่วนนี้ลงไปได้อย่างแน่นอน เพราะด้วยเอกสารที่อยู่บนออนไลน์ ไม่จำเป็นต้องหาที่จัดเก็บ หรือคอยหาเอกสารให้วุ่นวาย นอกจากนี้ยังลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร เพราะความสะดวกรวดเร็วในการส่งให้ผู้ซื้อและสรรพากรได้อย่างง่ายดาย หมดห่วงเรื่องเอกสารสูญหาย ต่อยอดจากข้อที่แล้ว นอกจากการลดเวลาการทำงานด้านเอกสาร ยังเป็นการป้องกันข้อมูลสูญหายที่เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของการเก็บเอกสารแบบกระดาษ ซึ่งการเก็บเอกสารที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์นั้น หากจัดให้เป็นระเบียบรับรองว่าข้อมูลไม่มีทางสูญหายแน่นอน อีกทั้งเวลาต้องการเรียกดูเอกสารก็ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุน หลายท่านอาจสงสัยว่าการเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนให้แก่ธุรกิจ SMEs ได้อย่างไร แต่ถ้าลองคำนวนดูแล้วการออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษ 1 แผ่นนั้น มีต้นทุนที่แฝงมาด้วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่ากระดาษ ค่าหมึกสำหรับพิมพ์เอกสารออกมา อาจรวมไปถึงค่าซองเอกสาร และค่าจัดส่งอีกด้วย หากเปลี่ยนมาใช้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็บอกลาต้นทุนเหล่านี้ไปได้เลย ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากภาครัฐ เพื่อกระตุ้นให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมในส่วนนี้ ยกตัวอย่างเช่น Easy E-Receipt นโยบายที่ในปีพ.ศ. 2568 ก็กลับมาอีกครั้ง โดยเป็นนโยบายที่ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำใบกำกับภาษีออนไลน์จากสินค้าหรือบริการที่ซื้อในช่วงเวลาที่กำหนด มายื่นเพื่อขอลดหย่อนภาษีได้ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ ยังช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น  “การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากจะช่วยจัดการเอกสารแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนแฝง และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายผ่านนโยบายของภาครัฐอีกด้วย” e-Tax Invoice มีกี่รูปแบบ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง? e-Tax Invoice มีทั้งหมด 2 รูปแบบประกอบไปด้วย ซึ่งแต่ละรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร แต่ละแบบเหมาะกับธุรกิจประเภทไหน และมีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง มาดูกันต่อเลย 1. e-Tax Invoice & Receipt ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทแรกแบ่งได้เป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Recepit) ซึ่งเอกสารรูปแบบนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) แบบไม่จำกัดรายได้เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ก่อนทำการส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ รวมไปถึงกรมสรรพากรจำเป็นต้องลงลายมือชื่อดิจิตอลให้เรียบร้อยเพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้การส่ง e-Tax Invoice & Receipt ให้กรมสรรพากรจะต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ XML หรือ PDF/A3 เท่านั้น คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice & e-Receipt ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice & Receipt  สำหรับขั้นตอนการใช้งานใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ประเภท e-Tax Invoice & Receipt มีขั้นตอนทั้งหมด 3 ส่วนที่สะดวก รวดเร็ว เข้าใจง่าย ไม่เป็นการเพิ่มงานแน่นอน 2. e-Tax Invoice by Time Stamp ในส่วนของ e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจ SMEs ขนาดเล็กที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท และได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว เป็นรูปแบบที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่มีการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จำนวนที่ไม่มาก โดยการส่งเอกสาร e-Tax Invoice by Time Stamp จะเป็นการที่ธุรกิจออกร่างใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากนั้นทำการส่งอีเมลให้ลูกค้า และ CC อีเมลไปที่ [email protected] เพื่อให้ระบบทำการ Time Stamp หรือประทับเวลาให้ หลังจากนั้นระบบจะส่งเอกสารที่ประทับเวลาแล้วให้ลูกค้าและธุรกิจอีกครั้ง คุณสมบัติของผู้ยื่นขอจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp เจ้าของกิจการที่ต้องการยื่นขอการจัดทำ e-Tax Invoice by Time Stamp ต้องมีคุณสมบัติดังนี้  ขั้นตอนการจัดทำและส่งมอบ e-Tax Invoice by Time Stamp ขั้นตอนของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบ e-Tax Invoice by Time Stamp อาจมีขั้นตอนมากกว่าเล็กน้อย แต่สะดวกไม่แพ้กัน อยากลดความยุ่งยากเรื่องเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คือคำตอบ ตอนนี้ทุกท่านรู้จักกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นแล้ว ทราบถึงข้อดีที่ทำให้การเปลี่ยนมาใช้ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นั้นช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดปัญหาความยุ่งยากในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเอกสารต่าง ๆ รวมไปถึงเป็นการลดต้นทุน และช่วยเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายให้แก่ธุรกิจผ่านนโยบายต่าง ๆ ที่รัฐบาลออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย  สำหรับเจ้าของกิจการ SMEs ท่านไหนที่กำลังมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการใบกำกับภาษีเป็นเรื่องง่าย ที่ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่รองรับการทำ e-Tax Invoice ช่วยให้การจัดการบัญชีในธุรกิจของคุณสะดวก สามารถจัดการบัญชีได้อย่างเป็นระบบ เตรียมความพร้อมมุ่งสู่การเติบโตในอนาคต ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

24 Jan 2025

PEAK Account

12 min

“ภาษี” บริหารได้อย่าหนี กับ 4 วิธีทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องสำหรับธุรกิจ SMEs

“ภาษี” กับ “ความตาย” คือ สองสิ่งบนโลกที่มวลมนุษย์อย่างเราไม่อาจหนีได้ คือประโยคอันโด่งดังของเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) หนึ่งในรัฐบุรุษผู้สร้างชาติอเมริกา ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของโลกใบนี้ เรื่อง “ความตาย” นี่ เราเห็นกัน 100% แล้วว่าเป็นสิ่งที่หนีไม่ได้จริงๆ แต่ทำไมเรายังเห็นหลายคนไม่จ่ายภาษีทั้งๆ ที่ต้องจ่าย งั้นแบบนี้ “ภาษี” ก็เป็นสิ่งที่หนีได้ใช่ไหม? คำตอบ คือ หนีได้ แต่ผิดกฎหมายนะ! และยังไม่พอ ยังเป็นการหนีได้ชั่วคราวอีกด้วย เพราะจากที่เราเห็นกันในโซเชียลหรือจากการทำบัญชีให้ผู้ประกอบการจะพบเรื่องที่สรรพากรมาตรวจย้อนหลังและโดนปรับแพงๆ จนหลายคนทำธุรกิจต่อไม่ไหวหรือหาเงินมาจ่ายคืนไม่ได้ สุดท้ายก็คือ หนีไม่ได้อยู่ดีนั่นแหละครับ จะดีกว่าไหม ถ้าเราทำเรื่องภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่แรก โดยไม่หนี แต่ใช้การบริหารภาษีแทน มาดูกันครับ ผมอยากให้ทุกคนทำภาษีให้ถูกต้อง ยังไม่พอยังทำให้ประหยัดภาษีได้อีกทีด้วย บทความนี้จะไม่ได้พูดเรื่องการวางแผนภาษีแบบละเอียด แต่เริ่มจากเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการทุกคนควรจะรู้ว่าถูกต้องและประหยัดจะทำได้อย่างไรบ้าง เริ่ม! 4 วิธีทำเรื่องภาษีให้ถูกต้อง ก่อนจะประหยัด เราควรรู้ว่าการจัดการภาษีให้ถูกต้องให้กรมสรรพากรยอมรับต้องทำอย่างไร ดังนี้ 1. บันทึกค่าใช้จ่ายให้ครบถ้วน พื้นฐานที่สุด คือ ธุรกิจควรบันทึกค่าใช้จ่ายทุกประเภทอย่างละเอียดและครบถ้วน เพราะเมื่อค่าใช้จ่ายจริงเยอะ กำไรที่จะนำไปคำนวณภาษีจะลดลง ทำให้จ่ายภาษีประจำปีได้ประหยัดมากขึ้น 2. มีเอกสารประกอบค่าใช้จ่ายทุกใบ การมีเอกสารประกอบค่าใช้จ่าย เช่น ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษี จะช่วยให้การบันทึกค่าใช้จ่ายมีความน่าเชื่อถือ และสามารถใช้เป็นหลักฐานในหักค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง อีกทั้งสามารถยืนยันค่าใช้จ่ายได้ในกรณีที่มีการตรวจสอบภาษีจากกรมสรรพากร  3. ไม่มีเอกสารประกอบ ก็เป็นค่าใช้จ่ายได้ ในบางกรณีที่จ่ายเงินแต่ไม่ได้รับเอกสาร เช่น ค่าแท็กซี่ เมื่อเราจ่ายเงิน คนขับรถคงไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้เราได้แน่ แต่ไม่ต้องห่วงเพราะสรรพากรก็เข้าใจในสิ่งนี้เป็นอย่างดี จึงออกคู่มือประกอบการลงค่าใช้จ่ายที่ไม่มีเอกสารมาให้ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก! 4. ระบุผู้รับเงินให้ได้ ทุกการจ่ายเงินต้องบอกให้ได้ว่าผู้รับเงินเป็นใคร ไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามได้ว่าเป็นการสร้างรายจ่ายปลอมรึเปล่า? เพราะแม้จะมีการจ่ายเงินจริง แต่ไม่สามารถระบุผู้รับเงินได้ แบบนี้ก็คงไม่มีใครเชื่อ  วิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ พยายามจ่ายเงินผ่านการโอนเงิน เพราะในสลิปโอนเงินจะระบุผู้รับเงินได้ ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นเงินสดถ้ายอดเงินน้อยๆ หลักสิบ หลักร้อย เช่น ค่าแท็กซี่ การทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จตามคู่มือของสรรพากรก็เพียงพอ แต่ถ้าจ่ายเงินสดเป็นหลักหมื่น หลักแสนขึ้นไป ควรต้องขอสำเนาบัตรประชาชนและให้ผู้รับเซ็นรับเงินมาด้วยจะทำให้พิสูจน์ผู้รับได้ปลอดภัยขึ้น การทำเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จ สามารถช่วยยืนยันการจ่ายเงินสดได้ในกรณีที่ไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินอย่างเป็นทางการได้ โดยในระบบ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ สามารถออกเอกสารใบรับรองแทนใบเสร็จได้อย่างสะดวกและง่ายดาย พร้อมรูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ทำให้การจัดการเอกสารเป็นระบบและช่วยลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบย้อนหลังจากสรรพากร 4 วิธีพื้นฐานประหยัดภาษี  เมื่อรู้วิธีจัดการภาษีที่ถูกต้องแล้ว เราจะขยับขึ้นมาอีกสเต็ปหนึ่ง คือ การวางแผนภาษีเบื้องต้นเพื่อประหยัดภาษีกัน ซึ่งผมยกตัวอย่างมาให้ ดังนี้ 1. จ่ายเงินตัวเองให้ถูกวิธี ผู้ประกอบการมักคิดว่าเงินบริษัทคือเงินของตัวเอง แต่ในทางกฎหมายถือว่าบริษัทกับผู้ประกอบการเป็นคนละคนกัน ดังนั้นผู้ประกอบไม่สามารถนำเงินบริษัทมาใช้ได้ตามอำเภอใจ เพราะจะทำให้ระบบบัญชีและภาษีมีปัญหา เช่น การเกิดบัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการจำนวนมาก  วิธีที่ถูกต้องในการดึงเงินออกจากบริษัท เช่น การจ่ายเงินเดือนให้ตัวเองในฐานะกรรมการ หรือการจ่ายค่าเช่าออฟฟิศถ้ากรรมการใช้บ้านตัวเองในการทำงาน หรือถ้าบริษัทมีกำไรและอยากนำเงินมาใช้ก็สามารถนำเงินออกมาในรูปแบบของการจ่ายเงินปันผลได้ เป็นต้น 2. การซื้อประกันผู้บริหารคนสำคัญ (Keyman)  สำหรับบุคลากรที่สำคัญในองค์กร เช่น ผู้ประกอบการที่เป็นกรรมการ สามารถขออนุมัติผู้ถือหุ้นเพื่อให้สวัสดิการซื้อประกันชีวิตสำหรับผู้บริหาร หรือประกัน Keyman ได้ ข้อดี คือ ค่าเบี้ยประกันสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้  แต่ต้องจำไว้ว่า ค่าเบี้ยที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการนั้น ถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีของกรรมการด้วย ดังนั้นอีกมุมที่ต้องพิจารณา คือ เมื่อนำรายได้ค่าเบี้ยประกันมารวมกับเงินได้ทั้งหมดของกรรมการแล้ว ทำให้ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงเกินกว่าฐานภาษีนิติบุคคลไหม ถ้าฐานภาษีบุคคลยังต่ำกว่าฐานภาษีนิติบุคคลแบบนี้ประกันคีย์แมนจะช่วยประหยัดภาษีของกิจการได้ และกรรมการก็ได้สวัสดิการนี้ไปด้วย 3. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ครบ ภาครัฐมีการออกกฎหมายหลายตัวที่เอื้อประโยชน์ให้ภาคธุรกิจใช้ลดหย่อนภาษีธุรกิจ เช่น การจ้างคนพิการหรือผู้สูงอายุ จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น หรือลดหย่อนภาษีสำหรับการลงทุนในอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นต้น ผู้ประกอบการควรติดตามกฎหมายที่มีผลในปัจจุบัน และที่จะออกในอนาคตเพื่อใช้สิทธิ์ที่ภาครัฐออกมาช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ เพราะจากที่ผ่านมาหลายคนเสียสิทธิเพราะไม่รู้ว่ามีสิทธิประโยชน์เหล่านี้ด้วย  4. จัดโครงสร้างกิจการ เช่น การทำธุรกิจที่ผ่านมาอาจทำในรูปแบบของบุคคลธรรมดาซึ่งเสียภาษีสูงสุดที่ 35% ซึ่งอาจพิจารณาเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจมาเป็นนิติบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดที่ 20% อาจทำให้ช่วยประหยัดภาษีได้มหาศาล นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจหลายประเภท อาจปรึกษากับนักบัญชีเพื่อพิจารณาแยกบริษัทสำหรับธุรกิจบางประเภทที่จะช่วยให้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้มากขึ้น เช่น แยกธุรกิจ VAT กับ Non VAT เพื่อหลีกเลี่ยงการเฉลี่ยภาษีซื้อ หรือการแยกบริษัทเมื่อรายได้รวมใกล้จะถึง 30 ล้านบาท เพราะจะทำให้อัตราภาษีสูงขึ้น หรือแม้แต่การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งเพื่อถือหุ้นในบริษัทลูกก็ยังมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมาย ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงในบทความ ภาษี คือ สิ่งที่ “หนีอย่างถาวร” ไม่ได้ เราจึงควรทำภาษีให้ถูกต้องและวางแผนภาษีให้ประหยัดตั้งแต่แรก เพื่อขจัดปัญหาทางด้านบัญชีและภาษีในภายหลัง การบริหารจัดการภาษีอย่างมีประสิทธิภาพไม่เพียงแค่ช่วยลดภาระภาษีแต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจ SMEs ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญและทำการศึกษาแนวทางต่าง ๆ เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างสูงสุดในการดำเนินธุรกิจของตนเองครับ สำหรับตอนถัดไปเป็นบทสิ้นสุดการเดินทางของซีรีส์ 10 กฎพื้นฐานด้านการเงินสำหรับ SMEs กันแล้ว ผมจึงอยากจะพาทุกท่านไปค้นหาบุคคลผู้ที่จะมาเป็นเบื้องหลังจัดการปัญหาบัญชี ภาษีให้กิจการ และให้คำแนะนำว่านักบัญชีที่เก่งนั้นควรจะมีทักษะและความสามารถใดที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จครับ โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAK ช่วยผู้ประกอบการจัดการบัญชีอย่างเป็นระบบ รองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

ธุรกิจ

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

6 Feb 2025

PEAK Account

7 min

สำนักงานบัญชี ประหยัดเวลาการทำบัญชีด้วยการใช้ AI

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ การใช้ AI ได้กลายเป็นตัวช่วยสำคัญในการยกระดับการทำงานของสำนักงานบัญชี ทำให้กระบวนการต่างๆ รวดเร็ว แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับข้อดีของการใช้ AI ในการทำบัญชีและวิธีการนำมาใช้เพื่อช่วยประหยัดเวลาในงานของคุณ ทำไมการทำบัญชีด้วยการใช้ AI ถึงสำคัญสำหรับสำนักงานบัญชี? นำ AI มาปรับใช้ในงานของสำนักงานบัญชีได้อย่างไร 1. การบันทึกบัญชีด้วยระบบ AI ระบบบัญชีที่มี AI ช่วยแนะนำ รายการบันทึกบัญชีที่ใช้บ่อย จะช่วยให้นักบัญชีทำงานได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น เพราะ AI จะเรียนรู้พฤติกรรมการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน และเสนอรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องแบบอัตโนมัติ ลดเวลาการค้นหารายการบัญชีที่ซับซ้อนหรือใช้บ่อย ตัวอย่างเช่น ข้อดี 2. การวิเคราะห์งบการเงินและคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจ PEAK ใช้ AI วิเคราะห์งบกำไรขาดทุน ช่วยให้นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจเห็นภาพรวมผลประกอบการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมทั้งคาดการณ์แนวโน้มทางการเงินในอนาคต AI จะดึงข้อมูลในระบบมาคำนวณและสรุปเป็นกราฟหรือรายงานแบบเข้าใจง่าย เช่น ข้อดี 3. การตรวจสอบความผิดพลาดในการทำบัญชี AI สามารถ ตรวจสอบความถูกต้องของงบทดลอง (Trial Balance) ได้อัตโนมัติ หากพบข้อผิดพลาดหรือยอดไม่ตรง ระบบจะแสดง สัญลักษณ์ธงสี (Flag) เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้งานทันที เช่น ข้อดี ข้อดีของการทำบัญชีด้วยการใช้ AI ลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดเวลาและทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการบัญชี ทำให้สำนักงานบัญชีสามารถลดต้นทุนได้ เพิ่มคุณค่าให้กับลูกค้า เวลาที่ประหยัดได้จากการใช้ AI สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์และให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น รองรับการขยายตัวของธุรกิจ สำนักงานบัญชีสามารถรองรับลูกค้าใหม่ได้มากขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มทีมงานหรือทรัพยากรเพิ่มเติม PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ ช่วยสำนักงานบัญชีและธุรกิจประหยัดเวลาและเพิ่มความแม่นยำด้วยระบบ AI ที่สามารถแนะนำรายการบันทึกบัญชีที่ใช้บ่อยๆได้ เพราะ PEAK ตระหนักเห็นถึงความสำคัญในการนำ AI มาปรับใช้ในสำนักงานบัญชีไม่เพียงช่วยประหยัดเวลา แต่ยังช่วยเพิ่มคุณภาพและความแม่นยำในการทำงาน ช่วยให้สำนักงานบัญชีสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

31 Jan 2025

PEAK Account

5 min

บอจ.5 คืออะไร ธุรกิจประเภทไหนต้องยื่นบ้าง ยื่นได้ตอนไหน

บอจ.5 หรือ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น เป็นเอกสารสำคัญที่บริษัทจำกัดต้องจัดทำและนำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทุกปี เพื่อแสดงโครงสร้างการถือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของบริษัท โดยการยื่น บอจ.5 นั้นจะช่วยแสดงว่าธุรกิจเรามีความโปร่งใสและทำตามกฎหมาย จึงเป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญมาก ๆ  บอจ.5 คืออะไร สำคัญอย่างไร บอจ.5 เป็นแบบฟอร์มทางกฎหมายที่ใช้บันทึกและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด โดยจะแสดงรายละเอียดของผู้ถือหุ้นทั้งหมด จำนวนหุ้นที่ถือ และมูลค่าหุ้น  การยื่น บอจ.5 มีความสำคัญในหลายด้าน ทั้งแสดงว่าธุรกิจเรามีความโปร่งใส ทำตามกฎหมาย และมีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ บอจ.5 ยังเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การเข้าร่วมประมูลงาน การขอสินเชื่อ หรือการทำสัญญาทางธุรกิจอีกด้วย บอจ.5 จะประกอบด้วย เอกสาร บอจ.5 จะประกอบด้วยข้อมูลสำคัญโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล สัญชาติ และที่อยู่ของผู้ถือหุ้นแต่ละราย จำนวนหุ้นที่ถือครอง เลขที่ใบหุ้น มูลค่าหุ้นที่ชำระแล้ว วันที่จดทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้น และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในรอบปี นอกจากนี้ บอจ.5 ยังต้องระบุรายละเอียดของบริษัท เช่น ชื่อบริษัท เลขทะเบียนนิติบุคคล ทุนจดทะเบียน และจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทด้วย บอจ.5 ใครต้องยื่นบ้าง ยื่นได้ตอนไหน การยื่น บอจ.5 เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัทจำกัดทุกแห่ง โดยมีกำหนดเวลาและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อให้การรายงานข้อมูลผู้ถือหุ้นถูกต้องและทันเวลา  ใครต้องเป็นคนยื่น กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจะต้องลงชื่อรับรองความถูกต้องและเป็นผู้ยื่น บอจ.5  โดยการยื่น บอจ.5 สามารถทำได้ทั้งด้วยตัวเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนก็ได้ เพียงแต่ผู้ยื่นต้องเตรียมเอกสารประกอบให้ครบถ้วน เช่น แบบ บอจ.5 ที่กรอกข้อมูลครบถ้วน สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ และหนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) ต้องยื่นเมื่อไหร่ หากไม่นำส่งจะมีค่าปรับอะไรบ้าง การยื่น บอจ.5 มีกำหนดให้ยื่นภายใน 14 วันนับจากวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี หรือไม่เกินเดือนมกราคมของทุกปี แล้วแต่กรณีไหนจะถึงก่อน หากบริษัทไม่นำส่ง บอจ.5 ตามกำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 500 บาทจนกว่าจะนำส่งได้ถูกต้อง ซึ่งการนำส่งไม่ตรงเวลาอาจทำให้ธุรกิจมีความน่าเชื่อถือลดลง จนส่งผลต่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วย การจัดทำและยื่น บอจ.5 อย่างถูกต้องและตรงเวลาเป็นหน้าที่สำคัญของบริษัทจำกัด นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ยังแสดงถึงความโปร่งใสในการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญและจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับการยื่น บอจ.5 ตามกำหนดเวลา โดย PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ เราพร้อมช่วยผู้ประกอบการจัดการเรื่องภาษีและบัญชีได้อย่างถูกต้องรองรับการเติบโต ช่วยให้ธุรกิจก้าวไปสู่ความสำเร็จ ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 30 วัน มูลค่า 1,200 บาทคลิก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)PEAK Call Center : 1485LINE : @peakaccountสอบถามเพิ่มเติม คลิก

อ่านบทความเพิ่มเติม

การใช้โปรแกรม

ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน PEAK

อ่านบทความเพิ่มเติม

13 Feb 2025

PEAK Account

5 min

อัปเดตฟังก์ชัน PEAK 13/02/2025

เอาใจผู้ใช้งานโปรแกรม PEAK ด้วยฟังก์ชันใหม่ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ✨ 1. เพิ่มระบบคำนวณสูตรที่ช่องจำนวนและราคา ในหน้าสร้างเอกสารรายรับ-รายจ่าย 📢สำหรับกิจการที่ออกเอกสารรายรับ-รายจ่าย ระบบเพิ่มการคำนวณด้วยสูตรที่ช่องจำนวนและราคา เมื่อผู้ใช้งานพิมพ์เครื่องหมาย เท่ากับ (=) ลงในช่อง จะเป็นการเรียกใช้ฟังก์ชันการคำนวณโดยอัตโนมัติของระบบ เช่น =100+50 ระบบจะคำนวณและเปลี่ยนตัวเลขเป็น 150 ให้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ทำข้อมูลในเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 2. เพิ่มประวัติการใช้งานในแต่ละสินค้า/บริการ ช่วยให้ตรวจสอบรายการได้สะดวกยิ่งขึ้น 📢ระบบเพิ่มช่องการดูประวัติแต่ละสินค้า/บริการ โดยจะเก็บประวัติการสร้าง การแก้ไขรายการ รวมถึงราคาขาย โดยผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลสินค้าย้อนหลังได้ด้วยตนเอง ช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 3. ปรับให้ระบบอัปเดตข้อมูลหน้าเอกสารอัตโนมัติ กรณีเพิ่มหรือแก้ไขข้อมูลใบกำกับภาษี ช่วยให้ดูข้อมูลได้สะดวกมากยิ่งขึ้น 📢เมื่อผู้ใช้งานออกเอกสารค่าใช้จ่ายและมีการเพิ่มใบกำกับภาษี ระบบจะทำการอัปเดตข้อมูลที่หน้าเอกสารค่าใช้จ่ายให้อัตโนมัติ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานดูข้อมูลในเอกสารได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ✨ 4. เพิ่ม Hyperlink ในรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก PEAK TAX ช่วยให้ดูเอกสารได้สะดวกยิ่งขึ้น 📢ระบบปรับรายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่ดาวน์โหลดจาก PEAK TAX ให้มี Hyperlink เชื่อมไปยังเอกสารหัก ณ ที่จ่ายแต่ละรายการโดยตรง ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลเอกสารได้สะดวกขึ้น ลดขั้นตอนการค้นหา และช่วยให้นำรายงานไปใช้งานต่ออย่างมีประสิทธิภาพ ✨ 5. เพิ่มการรองรับเงินได้ประเภท 40(2) ในแบบและใบแนบ ภ.ง.ด.1ก ที่ PEAK Payroll ลดข้อผิดพลาดในการทำภาษี 📢สำหรับผู้ใช้งาน PEAK Payroll ระบบปรับให้แบบและใบแนบ ภ.ง.ด.1ก สามารถแสดงข้อมูลเงินได้ทั้งประเภท 40(1) และ 40(2) ได้อย่างถูกต้องตามประเภทเงินได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดในการจัดทำเอกสารภาษีและช่วยให้การยื่นภาษีเป็นไปอย่างแม่นยำและครบถ้วน ✨ 6. เพิ่มฟังก์ชันการกล่าวถึงผู้ใช้งานอื่นที่กล่องความคิดเห็นในบัญชีรายวัน 📢สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการกล่าวถึงผู้ใช้งานอื่นในกล่องความคิดเห็นบนบัญชีรายวัน สามารถกล่าวถึงได้ โดยระบบจะทำการแจ้งเตือนผู้ใช้งานที่ถูกกล่าวถึงที่กระดิ่ง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารระหว่างกันได้สะดวกยิ่งขึ้น ✨ 7. เพิ่มฟังก์ชันการบันทึกร่างในใบลดหนี้แบบอ้างอิงเอกสาร 📢สำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการบันทึกใบลดหนี้แบบอ้างอิงเอกสารเป็นแบบร่างก่อนบันทึกจริง ระบบรองรับให้ผู้ใช้งานสามารถกดบันทึกร่างใบลดหนี้ได้ ซึ่งการบันทึกร่างใบลดหนี้ ระบบจะแสดงข้อมูลใน เสมือนมีการบันทึกเอกสารจริง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูล และลดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูล

13 Feb 2025

PEAK Account

2 min

Update Function 13/02/2025

PEAK with the new function designed to enhance efficiency. ✨ 1. Add Formula Calculation in the Quantity and Price Fields on Income-Expense Documents. 📢 For businesses issuing income-expense documents, entering an “=” symbol in the quantity or price field will trigger an automatic calculation function. For example, typing =100+50 will automatically compute and display 150, making data entry more convenient. ✨ 2. Add Usage History for Each Product/Service for Easier Tracking. 📢 The system now records the creation, modifications, and sales price history of each product. Users can review past product details for better tracking and data accuracy. ✨ 3. Enhanced the system to Automatically Document Updates When Modifying Tax Invoices for Better Data Accuracy. 📢 When users add a tax invoice to an expense document, the system will automatically update the relevant document, ensuring that the latest data is displayed correctly. ✨ 4. Add Hyperlinks in Withholding Tax Reports from PEAK TAX for Quick Access to Documents. 📢 Withholding tax reports downloaded from PEAK TAX now include direct hyperlinks to the corresponding tax documents. This allows users to access information quickly, reducing search time and improving workflow efficiency. ✨ 5. Add Support for Income Type 40(2) in PND 1 Kor Forms on PEAK Payroll to Reduce Tax Errors. 📢 PEAK Payroll now correctly displays income types 40(1) and 40(2) in PND 1 Kor forms, ensuring accurate tax filing and minimizing errors in tax document preparation. ✨ 6. Add User Mentions in the Journal Entry Comment Box for Better Communication. 📢 Users can now mention others in journal entry comments. The mentioned user will receive a notification via the bell icon, improving communication and collaboration within the system. ✨ 7. Add Draft Saving for Credit Notes with Document References to Prevent Errors. 📢 Users can now save draft credit notes before finalizing them. Draft credit notes will appear in the Document Reports and Accounts Receivable Aging Reports as if they were finalized, allowing for better review and error prevention before submission.

อ่านบทความเพิ่มเติม

ข่าวสาร

อัปเดตข่าวประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น และเรื่องต่างๆ ที่น่าสนใจ

อ่านบทความเพิ่มเติม

30 Apr 2024

PEAK Account

14 min

ระเบียบการแข่งขัน PEAK Digital Accounting Championship 2024

ไฟล์ระเบียบการแข่งขัน หมายเหตุ: กำหนดการมีการเปลี่ยนแปลง ปิดรับสมัครในวันที่ 7 มิ.ย. 2567 เวลา 23.59 น. และประกาศผลรอบคัดเลือก 12 มิ.ย. 2567 เวลา 17.00 น. โครงการค้นหา “สุดยอดว่าที่นักบัญชี” แห่งยุคดิจิทัล ครั้งที่ 1 ประจำปี 2567วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น.ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อสร้างเวทีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาได้แสดงความสามารถและทดสอบความรู้การใช้งานโปรแกรมบัญชีออนไลน์1.2 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาทบทวนและเพิ่มพูนความรู้ด้านการบัญชี1.3 ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีมและเสริมสร้างความสามัคคีให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา1.4 มอบโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนจากสถาบันอื่น 2. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน 2.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรี โดยต้องมีสถานภาพเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ณ วันสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน2.2 สมาชิกทีมละ 2 คน อายุไม่เกิน 25 ปี และศึกษาอยู่สถาบันเดียวกัน2.3 แต่ละสถาบันสามารถมีอาจารย์ประจำภาควิชาได้ไม่เกิน 2 ท่าน 3. ขอบเขตเนื้อหาการแข่งขัน 3.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับบัญชีและภาษี3.2 การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์3.3 การวิเคราะห์และประยุกต์การใช้งาน PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ตามประเภทของธุรกิจ 4. การรับสมัคร 4.1 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 29 เมษายน 2567 4.2 ทีมผู้เข้าแข่งขันสามารถสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ bit.ly/peak-dac-2024 เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับอีเมล์ยืนยันจากระบบ โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเริ่มส่งผลงานได้หลังจากได้รับอีเมลยืนยันการสมัครเท่านั้น 4.3 ปิดรับสมัครการแข่งขันและส่งผลงานวันศุกร์ ที่ 7 มิถุนายน 2567 ภายในเวลา 23.59 น.4.4 ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำส่งผลงานรอบคัดเลือกโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 4.4.1 ทำวิดีโอบน TikTok เพื่อแนะนำ PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์สำหรับ SMEs ไทย ภายใต้หัวข้อ “PEAK, Friend of Business”4.4.2 ความยาวไม่เกิน 2 นาที4.4.3 รูปแบบวิดีโอเป็นแนวตั้ง (9:16)4.4.4  อัปโหลดบนแอปพลิเคชัน TikTok พร้อมเปิดสาธารณะ4.4.5  Mention @peakaccount และติดแฮชแท็ก จำนวน 3 แฮชแท็ก ดังต่อไปนี้   #PEAKDAC2024 #PEAK #โปรแกรมบัญชีออนไลน์4.4.6 หลังจากวิดีโอถูกเผยแพร่บน TikTok ผู้สมัครต้องคัดลอกลิงก์ของวิดีโอ เพื่อนำ ไปกรอกในฟอร์มตามลิงก์ข้อ 4.24.4.7 แต่ละทีมสามารถส่งผลงานวิดีโอได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น หากมีการส่งผลงานมากกว่า 1 ครั้ง ทางคณะกรรมการจะพิจารณาจากการส่งผลงานครั้งแรกเท่านั้น 4.5  คณะกรรมการจะประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 24 ทีม เพื่อแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ผ่านทางอีเมลผู้เข้าแข่งขัน และเฟสบุ๊คแฟนเพจ PEAK – โปรแกรมบัญชีออนไลน์ PEAKaccount.com วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2567 หมายเหตุ : หากทีมใดไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 5. วัน เวลา และสถานที่จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 24 ทีม ต้องเข้าร่วมแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในวันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 3 สำนักงานวิทยทรัพยากร หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หมายเหตุ : ไม่มีบริการที่จอดรถ ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตามสามารถจอดพาหนะได้บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ อาคารจามจุรี 9 หรือศูนย์การค้าเเอมพาร์ค หรือศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ โดยอัตราค่าบริการที่จอดรถเป็นไปตามระเบียบของผู้ให้บริการ 6. กำหนดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 08.30 – 09.00 น. พิธีเปิดการแข่งขัน09.00 – 10.00 น. กิจกรรมสานสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน10.00 – 10.30 น. เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าแข่งขัน10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15 นาที10.45 – 11.45 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 1 (ข้อสอบปรนัย)11.45 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน13.00 – 14.30 น. การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ส่วนที่ 2-3 (ภาคปฎิบัติและวิเคราะห์)14.30 – 15.30 น. กิจกรรมให้ความรู้จากวิทยากรพิเศษ15.30 – 15.35 น. ประกาศผลผู้ผ่านเข้ารอบเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์15.35 – 16.30 น. การนำเสนอผลการวิเคราะห์16.30 – 17.00 น. ประกาศผลการแข่งขัน พิธีมอบรางวัล และกล่าวปิดงาน หมายเหตุ : ไม่มีบริการอาหารกลางวันให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ติดตาม ผู้เข้าสอบต้องนั่งประจำที่สอบ ก่อนเวลาสอบ อย่างน้อย 10 นาที 7. รูปแบบและเกณฑ์การพิจารณาในการตัดสินผลการแข่งขัน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่รอบคัดเลือก และรอบชิงชนะเลิศ โดยแต่ละรอบมีเกณฑ์และรายละเอียด ดังนี้ 7.1  รอบคัดเลือก คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาจากผลงานคลิปวิดีโอของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เพื่อคัดเลือกทีมผู้เข้ารอบแข่งขันชิงชนะเลิศ จำนวน 24 ทีม ได้แก่ โดยมีเกณฑ์การพิจารณารอบคัดเลือก ดังนี้ 7.2  รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศประกอบด้วยการสอบ 3 ส่วน ผลรวม 100 คะแนน โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้ ส่วนที่ 1 การตอบคำถามความรู้ด้านบัญชีและภาษี (30 คะแนน)เป็นการตอบคำถามรูปแบบปรนัยผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ จำนวน 30 คะแนน โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมงเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี การบัญชี และ พ.ร.บ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่ 2 การใช้งานโปรแกรม PEAK บันทึกบัญชี และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (50 คะแนน)เป็นการบันทึกบัญชีตามโจทย์ที่กำหนด พร้อมนำข้อมูลทางบัญชีมาวิเคราะห์และตอบคำถาม โดยใช้ระยะเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาทีเนื้อหาประกอบด้วย การสมัครและสร้างกิจการ การบันทึกยอดยกมา การบันทึกรายการค้าระหว่างงวดบัญชี การเรียกดูรายงานเอกสาร และงบการเงิน ส่วนที่ 3 การนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชี (20 คะแนน)เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ให้แก่คณะกรรมการ โดยนักเรียน นิสิต นักศึกษาต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทำข้อสอบส่วนที่ 2 โดยใช้ระยะเวลาการนำเสนอ 3 นาที และถามตอบ 5 นาที รวมเป็น 8 นาที ต่อทีมเนื้อหาประกอบด้วย วิเคราะห์และเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และกำไรของธุรกิจ ถามตอบจากคณะกรรมการ ทั้งนี้ทางคณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่มีคะแนนสูงสุด 6 อันดับแรกเท่านั้น (ระดับปวส. 3 ทีม และระดับปริญญาตรี 3 ทีม) เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ในส่วนที่ 3 กับคณะกรรมการ เพื่อให้กรรมการได้ซักถามรายละเอียดเพิ่มเติม และตัดสินอันดับผู้ชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับ 1 และรองชนะเลิศอันดับ 2 ทั้งนี้ ผลการตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สิ้นสุด 8. ข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ 8.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องนำโน้ตบุ๊กมาจำนวน 1 เครื่อง ต่อ 1 ทีม โดยทางบริษัทจะจัดเตรียมปลั๊กชาร์จ ไฟสำหรับโน้ตบุ๊ก และ Wifi ให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.2 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องแต่งกายด้วยชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของสถาบัน8.3 ผู้เข้าแข่งขันทุกคนในทีมต้องรายงานตัวพร้อมกัน และแสดงบัตรประจำตัวนักเรียน นิสิต นักศึกษาหรือบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่ ภายในเวลาลงทะเบียน มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน8.4 ห้ามผู้เข้าแข่งขันนำเครื่องเขียน เครื่องมือสื่อสาร เครื่องคำนวณ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ รวมถึงนาฬิกา Smart Watch เข้าแข่งขัน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่จะมีการจัดเตรียมเครื่องเขียน และกระดาษทดให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน8.5 ห้ามผู้เข้าแข่งขันยืมอุปกรณ์ใด ๆ จากผู้เข้าแข่งขันทีมอื่นขณะแข่งขัน8.6 ห้ามผู้เข้าแข่งขันกระทำการใด ๆ ที่ทุจริตหรือส่อเจตนาทุจริต8.7 ผู้เข้าแข่งขันที่มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หรือมีน้ำมูก หรือผลการตรวจ ATK เป็นบวก จะไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ สามารถแข่งขันด้วยจำนวนสมาชิกที่เหลือได้ หมายเหตุ : หากฝ่าฝืนข้อปฏิบัติในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะตัดสิทธิจากการแข่งขัน ทั้งนี้ คำตัดสินของคณะกรรมการจัดการแข่งขันถือเป็นที่สิ้นสุด 9. รางวัลการแข่งขัน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล ระดับปริญญาตรี รางวัลชนะเลิศ : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 15,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 1 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 8,000 บาท จำนวน 1 รางวัล รองชนะเลิศอันดับที่ 2 : โล่รางวัล เกียรติบัตร และเงินรางวัล มูลค่า 5,000 บาท จำนวน 1 รางวัล สมาชิกของทีมที่เข้ารอบชิงชนะเลิศทั้ง 24 ทีม จะได้รับเกียรติบัตรโดย PEAK 10. ผู้รับผิดชอบโครงการ บริษัท พี ยู ยู เอ็น อินเทลลิเจนท์ จำกัด

7 Feb 2024

PEAK Account

2 min

BeNeat มอบสิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7%

BeNeat แอปพลิเคชันเรียกคุณแม่บ้านมืออาชีพ สะดวก ใช้งานง่าย เลือกใช้บริการได้ตามความต้องการ บริการทำความสะอาดแบบรายชั่วโมง ให้บ้านน่าอยู่ขึ้นได้ในพริบตา คุณแม่บ้านบีนีทมืออาชีพไปพร้อมอุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดแบบครบครัน พร้อมทั้งรับประกันความพึงพอใจ พิเศษ! ลูกค้า PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ รับส่วนลดสูงสุด 7% เมื่อจองบริการทำความสะอาดรายชั่วโมงแบบแพ็กเกจ 5 ครั้งขึ้นไป เพียงแจ้งโค้ดส่วนลดรับสิทธิ์ ผ่าน LINE @BeNeat เงื่อนไขในการรับสิทธิ์ – ระยะเวลาโปรโมชั่น วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 30 เมษายน 2567 – จำกัดเพียง 200 แพ็กเกจเท่านั้น ตลอดรายการส่งเสริมการขาย หรือจนกว่าสิทธิ์จะหมด – สามารถจองบริการไว้ล่วงหน้าได้ ไม่มีวันหมดอายุ – รหัสส่วนลดสามารถใช้ได้ 1 ครั้ง/ รหัสผู้ใช้งาน – พื้นที่ให้บริการ : กรุงเทพ ปริมณฑล เชียงใหม่ และชลบุรี – สิทธิพิเศษนี้ไม่สามารถแลกเปลี่ยน/ทอนเป็นเงินสด หรือใช้ร่วมกับส่วนลดอื่นๆ ได้ – เงื่อนไขการให้บริการเพิ่มเติมเป็นไปตามนโยบายทางบริษัทฯ หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2113-1138, [email protected] หรือ LINE @BeNeat

อ่านบทความเพิ่มเติม